กรณีศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกันของกลุ่มมิตรผล เพื่อฝ่าวิกฤติโควิด 19
มิตรผล X ลงทุนแมน
การระบาดของโควิด 19 รอบนี้ เปรียบเสมือนคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ที่ซัดให้ หลาย ๆ บริษัทต้องเผชิญกับความยากลำบาก สิ่งที่ตามมาก็คือเราได้เห็นหลายบริษัทปรับตัว เพื่อรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้น
เรื่องนี้ก็ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก
อันดับหนึ่งในเมืองไทยและเป็นผู้ผลิตเอทานอล ไฟฟ้าชีวมวลรายใหญ่ของเอเชีย ที่ต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับวิกฤติโควิด 19
โดยสิ่งที่กลุ่มมิตรผลเลือกใช้คือการเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ธุรกิจ
รวมถึงผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในวงจรธุรกิจ
ที่น่าสนใจ ภูมิคุ้มกันที่ว่านี้ ไม่ใช่แค่จะทำให้กลุ่มมิตรผล ฝ่าวิกฤติครั้งนี้
ไปได้เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อวิกฤตินี้สิ้นสุดลง ก็น่าจะทำให้
กลุ่มมิตรผล แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม
ภูมิคุ้มกัน ที่ว่านั้นคืออะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
กลุ่มมิตรผล เริ่มต้นธุรกิจเมื่อ 75 ปีที่แล้ว โดยเป็นธุรกิจครอบครัว
ที่ผลิตน้ำเชื่อมขายให้โรงงานผลิตน้ำตาลทราย
จากนั้นก็ต่อยอดมาเป็นโรงงานผลิตน้ำตาลทราย และขยายมาในธุรกิจ
เอทานอลและไฟฟ้าชีวมวล จนปัจจุบันเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก และเป็นผู้ผลิตเอทานอล ไฟฟ้าชีวมวลรายใหญ่ของเอเชีย
กว่าจะมาถึงจุดนี้ กลุ่มมิตรผลเองก็ผ่านวิกฤติมาแล้วมากมาย
เพียงแต่..วิกฤติโควิด 19 ครั้งนี้ น่าจะเป็นโจทย์ใหญ่สุด
เพราะมันคือวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนที่อยู่ในวงจรธุรกิจของกลุ่มมิตรผล
ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท, ผู้บริโภค, ชาวไร่อ้อย, คู่ค้า เป็นต้น
ซึ่งนั่นแปลว่า หากกลุ่มมิตรผล ต้องการแข็งแกร่งในช่วงเวลาวิกฤติโควิด 19
ทุกคนในวงจรธุรกิจตัวเอง ก็ต้องแข็งแรงตามไปด้วย จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ก็เลยเป็นที่มาของการเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งไม่ใช่แค่สำหรับองค์กรอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ
โดยกลุ่มมิตรผล มีแนวคิดใช้ 8 วัคซีนที่จะเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง
1. เร่งจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด 19
รู้หรือไม่ว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของกลุ่มมิตรมีกว่า 9,000 คน
ใน 20 จังหวัด ทั้งพนักงานประจำ พนักงานรายวัน ชาวไร่อ้อยและผู้รับเหมา ซึ่งทุกคนได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว และกำลังเริ่มฉีดเข็มที่ 2 โดยทางกลุ่มมิตรผลลงทุนกับเรื่องการจัดหาวัคซีนถึง 20 ล้านบาท
ทำไมมิตรผลถึงฉีดวัคซีนได้เร็ว คำตอบก็คือ เพราะมีการคาดการณ์สถานการณ์และคิดวางแผนล่วงหน้ามาตลอด จึงทำให้สามารถฉีดได้เร็ว
เหตุผลของการเร่งฉีดวัคซีนให้ครบอย่างรวดเร็ว
ก็เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ
2. แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan)
หรือเรียกว่าสั้น ๆ ว่า BCP เปรียบเสมือนการฉีดวัคซีนให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่ดี
โดยแผนนี้คือการช่วยป้องกันไม่ให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักจากการระบาดของโควิด 19 ยกตัวอย่าง เมื่อปีที่แล้วที่เกิดการระบาดของโควิด 19 ครั้งแรก
พนักงานสามารถทำงานที่บ้านต่อเนื่องได้ทั้งหมดผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที
เนื่องจากมีความพร้อมจากการเตรียมตัวที่ดี และที่สำคัญ แผนนี้เองที่ช่วยให้สามารถวางแผนการผลิต ส่งมอบน้ำตาล และทุกผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าสถานการณ์วิกฤติจะหนักแค่ไหน
3. สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้ทุกคน เรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก
เพราะการจะผ่านวิกฤติไปได้อย่างราบรื่น จิตใจพนักงานต้องแข็งแรงก่อนเป็นอันดับแรก เรื่องนี้ก็เลยทำให้ทางผู้บริหารกลุ่มมิตรผลประกาศชัดเจนกับพนักงานทุกคนว่าบริษัทไม่มีนโยบายการเลิกจ้างและยังจ่ายเงินเดือนเต็มจำนวน พร้อมกับมีการทำประกันโควิด 19 เพื่อรองรับกรณีเกิดการติดเชื้อ พนักงานก็จะได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วและดีที่สุด
4. สร้างภูมิคุ้มกันจุดยุทธศาสตร์ของธุรกิจ
โดยทางกลุ่มมิตรผลใช้วิธีที่เรียกว่า Bubble & Seal หลายคนอาจจะงง
ว่ามันคืออะไร
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ภายในโรงงานของกลุ่มมิตรผล พนักงานจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ในการทำงาน และไม่มีการพบปะพูดคุยระหว่างกลุ่มกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ขณะเดียวกันก็ยังมีการตรวจคัดกรองโควิด 19 ด้วย Rapid Antigen Test Kit สม่ำเสมอ
5. สร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มอีกชั้นในกรณีที่เกิดเหตุ
ถึงจะมีการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 อย่างรัดกุมแค่ไหนก็ตาม แต่ก็อย่าลืมว่าเหตุไม่คาดฝันก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ
เลยทำให้มีการจัดตั้ง Factory Isolation ในโรงงาน
อธิบายง่ายๆ ก็คือ โรงพยาบาลประจำโรงงาน เพราะหากมีผู้ติดเชื้อโควิด 19
หรือบางคนมีความเสี่ยง ก็จะใช้สถานที่นี้กักตัว จนถึงหากติดเชื้อก็จะเป็นพื้นที่ใช้แยกผู้ป่วยเพื่อไม่ให้สัมผัสกับคนอื่นๆ
6. สร้างภูมิคุ้มกันด้วยอาหารสมอง
หนึ่งในนโยบายการบริหารพนักงานของกลุ่มมิตรผล
ก็คือ พนักงานทุกคนจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา
โดยมีหลักสูตรออนไลน์ที่พนักงานจะเรียนเมื่อไรก็ได้ จะเป็นการ Upskill-Reskill ให้ตนเอง เปรียบเสมือนการให้อาหารสมอง เพื่อให้พนักงานมีทักษะไอเดียใหม่ ๆ ในการทำงาน
7. สร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายให้ด่านหน้าสู้วิกฤติอย่างปลอดภัย
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าวิกฤติโควิด 19 ทำให้เราได้เห็น 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างธุรกิจ จับมือกันช่วยเหลือประเทศไทย นั่นคือ กลุ่มมิตรผล กับ บมจ.บ้านปู ที่ได้จัดตั้งกองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัยโควิด 19
โดยกองทุนนี้ตั้งขึ้นโดยเงินของทั้ง 2 บริษัทรวมกัน 500 ล้านบาท แบ่งเป็นบริษัทละ 250 ล้านบาท
โดยเงินก้อนนี้ก็จะถูกนำไปใช้สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ด้วยการซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาโควิด 19 เช่น เครื่องช่วยหายใจ, เครื่อง CT Scan, ห้องตรวจเชื้อความดันลบบวก, ชุด PPE, หน้ากาก N95 รวมถึงสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และเตียงสนาม
8. สร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายให้คนไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้รายได้ของประชาชน
ลดน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในชุมชนต่าง ๆ ที่รายได้ต่อวันลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย ตรงนี้เองที่ทำให้กลุ่มมิตรผล มาคิดต่อว่า ทางบริษัทจะมีส่วนในการช่วยเหลือคนเหล่านี้อย่างไร
คำตอบก็คือ การสร้าง “ตู้มิตรปันสุข” กระจายในชุมชนทั่วประเทศ
ที่ในตู้ก็จะมีอาหารแห้งและน้ำดื่มให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ขณะเดียวกันก็มีการบริจาคข้าวกล่องรักษ์สุขภาพ
พร้อมกับมอบผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่ร่วมกับหลายหน่วยงาน และที่สำคัญ
มิตรผลกำลังจะมีอีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่จะมอบอาหารและถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ลำบาก โดยจะนำผลผลิตทางการเกษตรและอาหารจากชุมชนที่มิตรผลเข้าไปร่วมพัฒนารอบๆ โรงงาน มาช่วยเหลือคนในเมืองและต่างจังหวัด ถือเป็นการช่วยเหลือปากท้องให้คนที่ลำบากได้อิ่มท้องจริงๆ และยังช่วยให้ชุมชนมีรายได้ด้วย
เรื่องนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของการปรับตัวในช่วงวิกฤติโควิด 19 ที่น่าสนใจ
เมื่อกลุ่มมิตรผล เลือกที่จะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตัวเอง รวมถึงสังคมไทย ก้าวข้ามวิกฤตินี้ไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
เพราะในความเป็นจริงของโลกธุรกิจ ไม่มีใครที่จะยั่งยืนอยู่ได้เพียงคนเดียว
แต่ทุกคนจะต้องเติบโตไปพร้อม ๆ กัน..
#Mitrphol #มิตรผล
กลุ่มมิตรผล 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล
รู้หรือไม่ น้ำตาลเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ
โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลมากสุดอันดับ 2 ของโลก
คิดเป็น 11.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
อย่างไรก็ตามหากดูข้อมูลการผลิตอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรมย้อนหลังของไทย
ปี 2559 94 ล้านตัน
ปี 2560 92 ล้านตัน
ปี 2561 134 ล้านตัน
และล่าสุดในปี 2562 130 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่าปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความไม่แน่นอน
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่สถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ไปจนถึงราคาอ้อยที่ผันผวนที่อาจทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ในส่วนของน้ำตาลเองก็มีความผันผวนด้านราคาในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
และยังมีปัญหาจากการเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่มมิตรผล จึงได้เล็งเห็นและก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยขึ้นที่ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2540
เนื่องจากกลุ่มมิตรผลมองเห็นความสำคัญของอ้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ และมีศักยภาพสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในการดึงประโยชน์จากอ้อย น้ำตาล และสิ่งที่เหลืออยู่ในกระบวนการผลิตน้ำตาลให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
โดยเฉพาะการนำไปผ่านกระบวนการทางชีวภาพ (Biorefinery) เพื่อแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ BCG ของรัฐบาลไทย
ที่เน้นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
ปัจจุบัน ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ดำเนินงานวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยทีมนักวิจัย 70 คน และงบประมาณสนับสนุนปีละกว่า 250 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐอย่าง กระทรวงเกษตร, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคเอกชน อย่างบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น IBM
โดยศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมีการรองรับงานทั้งหมด 4 สาขา
1. งานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและ AI เพื่อการทำเกษตรแบบแม่นยำ
2. งานวิจัยด้านการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาล ผ่านการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำตาลให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เช่น น้ำตาลเพื่อสุขภาพ
3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยเน้นการแปรรูปเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Circular Economy) ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ในด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-economy) และเพิ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy)
4. ศูนย์ข้อมูลงานวิจัยระดับโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลการวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ต้องการผลักดันให้เกิดการต่อยอดเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างความมั่นคงและยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
ช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการแข่งขันด้วยราคา
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นแล้วว่า การวิจัยและพัฒนาของมิตรผล ส่งผลดีทั้งชาวไร่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ภาคเกษตรกรรม ผ่านการส่งเสริมให้ชาวไร่มีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดีขึ้น
ภาคเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
ภาคสังคม ผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำเกษตร ลดการเผาอ้อย และกระบวนการผลิตที่เน้นการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียให้ได้มากที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณค่าให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน..
อ่านบทความนี้บนเว็บไซต์ได้ที่ www.longtunman.com/20478
References:
-http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf
-https://www.khaosod.co.th/economics/news_2538870
-http://www.worldstopexports.com/sugar-exports-country/
กลุ่มมิตรผล 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล
รู้หรือไม่ น้ำตาลเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ
โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลมากสุดอันดับ 2 ของโลก
คิดเป็น 11.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
อย่างไรก็ตามหากดูข้อมูลการผลิตอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรมย้อนหลังของไทย
ปี 2559 94 ล้านตัน
ปี 2560 92 ล้านตัน
ปี 2561 134 ล้านตัน
และล่าสุดในปี 2562 130 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่าปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความไม่แน่นอน
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่สถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ไปจนถึงราคาอ้อยที่ผันผวนที่อาจทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ในส่วนของน้ำตาลเองก็มีความผันผวนด้านราคาในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
และยังมีปัญหาจากการเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่มมิตรผล จึงได้เล็งเห็นและก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยขึ้นที่ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2540
เนื่องจากกลุ่มมิตรผลมองเห็นความสำคัญของอ้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ และมีศักยภาพสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในการดึงประโยชน์จากอ้อย น้ำตาล และสิ่งที่เหลืออยู่ในกระบวนการผลิตน้ำตาลให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
โดยเฉพาะการนำไปผ่านกระบวนการทางชีวภาพ (Biorefinery) เพื่อแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ BCG ของรัฐบาลไทย
ที่เน้นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
ปัจจุบัน ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ดำเนินงานวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยทีมนักวิจัย 70 คน และงบประมาณสนับสนุนปีละกว่า 250 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐอย่าง กระทรวงเกษตร, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคเอกชน อย่างบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น IBM
โดยศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมีการรองรับงานทั้งหมด 4 สาขา
1. งานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและ AI เพื่อการทำเกษตรแบบแม่นยำ
2. งานวิจัยด้านการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาล ผ่านการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำตาลให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เช่น น้ำตาลเพื่อสุขภาพ
3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยเน้นการแปรรูปเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Circular Economy) ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ในด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-economy) และเพิ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy)
4. ศูนย์ข้อมูลงานวิจัยระดับโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลการวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ต้องการผลักดันให้เกิดการต่อยอดเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างความมั่นคงและยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
ช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการแข่งขันด้วยราคา
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นแล้วว่า การวิจัยและพัฒนาของมิตรผล ส่งผลดีทั้งชาวไร่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ภาคเกษตรกรรม ผ่านการส่งเสริมให้ชาวไร่มีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดีขึ้น
ภาคเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
ภาคสังคม ผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำเกษตร ลดการเผาอ้อย และกระบวนการผลิตที่เน้นการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียให้ได้มากที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณค่าให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน..
อ่านบทความนี้บนเว็บไซต์ได้ที่ www.longtunman.com/20478
References:
-http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf
-https://www.khaosod.co.th/economics/news_2538870
-http://www.worldstopexports.com/sugar-exports-country/
กลุ่มมิตรผล 在 ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำระดับโลก บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด - YouTube 的推薦與評價
กลุ่มมิตรผล เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล และธุรกิจต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมายาวนาน ... ... <看更多>
กลุ่มมิตรผล 在 Mitr Phol Sugar - หน้าหลัก - Facebook 的推薦與評價
. ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานกลุ่มมิตรผล. ... <看更多>