“ทศพิศราชธรรมของกษัตริย์ในปรัชญากฎหมายไทย”
ทศพิศราชธรรม เป็นเสมือนหลักธรรมที่สำคัญในการใช้อำนาจการปกครองของกษัตริย์โดยชนชั้นปกครองทั้งหลายโดยที่ผู้ใช้อำนาจปกครองนี้ มิได้หมายเฉพาะกษัตริย์เท่านั้นแต่หมายถึงบุคคลทั้งหลายที่ใช้อำนาจในการปกครองด้วย ซึ่งจะเป็นการตีความในลักษณะของการขยายความให้เข้าสังคมปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันเราจะนำมาใช้กับคนที่เป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดและแม้กระทั่งในระดับครอบครัว
ทศพิศราชธรรม ในฐานะความคิดทางศีลธรรมการเมืองมีรากฐานที่มาจากคัมภีร์ชาดกในพุทธศาสนา นับเนื่องมาจากที่พุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเมืองการปกครองสมัยพระยาลิไทย คติความคิดนี้ก็ย่อมได้รับการเผยแพร่โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานเขียนหรือศิลาจารึก หลักธรรมอันสำคัญยิ่งสำหรับกษัตริย์หรือผู้ปกครองประกอบด้วยเนื้อหา10 ประการ ดังนี้คือ
1. ทาน หมายถึง การแจกวัตถุสิ่งของ การให้วิชาความรู้เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นและการให้ประการอื่น ๆ เช่น กำลังกาย กำลังความคิดตลอดจนคำแนะนำ
2. ศีล หมายถึงการควบคุมพฤติทางกาย วาจา และใจ ให้เป็นปกติ
3. ปริจจาจะ หมายถึง การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อระโยชน์สุขส่วนรวม
4. อาธชวะ หมายถึง ความซื่อตรง
5. มัทธวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน
6. ตยะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่แสดงการเกรี้ยวกราดโกรธแค้นต่อใคร ๆ
8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน
9. ขันติ หมายถึงความอดทนต่อความยากลำบาก
10. อวิโรธะนะ หมายถึง ความไม่ประพฤติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
หลักทั้ง 10 ประการ อาจสรุปให้เป็น 5 ประการ ได้ดังนี้คือ
1. การให้เสียสละ (ทาน และปริจจาจะ)
2. ความซื่อสัตย์สุจริต (ศีล และอาธชนะ)
3. ความมีไมตรีจิต (มัทธวะ และอักโกธะ)
4. ความอดทน ความเพียร (ตยะ และขันติ)
5. ความถูกต้องและยุติธรรม (อวิโรธนะ)
การตีความทศพิศราชธรรมให้เป็นดั่งหลักอุดมคติทางกฎหมายดังกล่าวอาจเทียบเคียงได้กับความในเชิงปรัชญากฎหมายธรรมในชาติของตะวันตก ในแง่ทศพิศราชธรรมอาจจัดให้มีค่าเสมือนรูปธรรมหนึ่งแห่งกฎหมายธรรมชาติตามแบบเสรีวิธีคิดของตะวันตก จริงอยู่ที่ในปรัชญากฎหมายของไทยเราไม่ถ้อยคำที่เรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Notural Law) แบบตะวันตกในความของกฎหมาย ซึ่งกำหนดแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิดและเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจหรือความสมบูรณ์จากธรรมชาติมิได้เกิดจากอำนาจสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักธรรมสำคัญทางพุทธศาสนาที่กำกับการใช้อำนาจรัฐทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมายของไทยก็จัดได้เป็นหลักธรรมที่มาจากธรรมชาติได้เช่นกัน เมื่อตีความผ่านการวิเคราะห์ รากศัพท์ คำว่า ธรรมะ ที่หมายรวมถึงธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ในเมื่อธรรมะคือธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ทศพิศราชธรรมในฐานะหลักธรรมทางการเมืองหรือกฎหมายก็ย่อมจักเข้าเป็นกฎธรรมชาติเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นธรรมะที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ มิได้เกิดจากการประดิษฐ์สร้างของมนุษย์ มนุษย์ (ผู้เป็นศาสดา) เป็นเพียงผู้ค้นพบธรรมนี้เท่านั้น แล้วประกาศธรรมนี้ให้แพร่หลายไปโดยเฉพาะหมู่ผู้ปกครองหรือราชาที่ต้องการ “ ทรง “ ทั้งอำนาจตนและสังคมที่ตนปกครองให้เป็นไปปกติสุข
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過282萬的網紅KunTi,也在其Youtube影片中提到,#ASMR คืออะไร เสียงกิน #เลย์ #มันฝรั่งทอด *ตอบคำถามQ&A eating #Lays #Potato fries #Mukbang :ขันติ สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล่นว่าขันติ มาเจอกันแบบใกล...
「ขันติ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於ขันติ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ขันติ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於ขันติ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ขันติ หมายถึง 在 KunTi Youtube 的最佳貼文
- 關於ขันติ หมายถึง 在 ขันติคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับชีวิต - YouTube 的評價
- 關於ขันติ หมายถึง 在 คำว่าขันติในที่นี้ท่านหมายถึง อธิวาสนขันติ ได้แก่ความอดทนอดกลั้น ... 的評價
ขันติ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
หลักพุทธธรรมนนิยมภายใต้ทศพิศราชธรรมและธรรมราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
หลักพุทธธรรมนนิยมภายใต้ทศพิศราชธรรมและธรรมราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2493- 2559) นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และพระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยคำว่า “ครองแผ่นดินโดยธรรม” หมายถึง “ครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม” ดังนี้
1. ทาน หรือการให้ หมายถึง การพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครองแผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์ นับแต่ปีพุทธศักราช 2493 หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีมากมายจนเหลือที่จะพรรณนาได้สุดสิ้น คือ “ธรรมทาน” ซึ่งถือเป็นทานอันเลิศทางพระพุทธศาสนา สามารถแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางจิตใจ ทำให้ใจเป็นสุขและตั้งอยู่ในความดีงาม โดยได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจในเรื่องต่าง ๆ แก่พสกนิกรตามสถานะและวาระโอวาทอยู่เสมอ ในท้องถิ่นที่ต้องการความรู้ ได้พระราชทานความรู้และตรัสแนะนำในสิ่งอันจะทำประโยชน์มาให้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงช่วยดับทุกข์ความเดือดร้อนในจิตใจของประชาชนทั้งมวล
2. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ ในด้านศีลในการปกครอง คือ การประพฤติตามกฎหมายและจารีตประเพณีอันดีงามนั้น ไม่เคยปรากฎเลยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์เหนือกฎหมาย และไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่จะทรงละทิ้งจารีตประเพณีอันดีงามของชาติและของพระราชวงศ์ พระเกียรติคุณในข้อนี้เป็นที่ซึมซาบในใจของชาวไทยเป็นอย่างดี นับจากกาลเวลาที่ล่วงผ่านมาตราบจนถึงทุกวันนี้
3. บริจาค (ปริจจาจะ) ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ วัตถุสิ่งของและที่ดินจำนวนมหาศาล รวมทั้งการที่ทรงเสียสละปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งนอกและในประเทศ พระราชภารกิจในโครงการพระราชดำรินับพัน ๆ โครงการทั่วประเทศนี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดในความเสียสละอันใหญ่หลวงของพระองค์ ด้วยทรงเสียสละเวลา พระปรีชาสามารถ และความสำราญพระราชหฤทัยทั้งมวล ทรงยอมรับความเหน็ดเหนื่อยพระวรกายทุกประการเพื่อพสกนิกร อย่างไม่มีประมุขประเทศใดในขณะนี้ จะเสียสละได้เทียบเท่าที่พระองค์ทรงเสียสละให้แก่พสกนิกรไทยมาเนิ่นนานไม่น้อยกว่า 70 ปี
4. ความซื่อตรง (อาชชวะ) ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร นับแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493-2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรทั่วประเทศว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” วันเวลาที่ล่วงผ่านไปเนิ่นนานจากวันนั้นถึงวันนี้ 41 ปีเศษแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาสัจจะที่ได้พระราชทานให้แก่พสกนิกรทั้งสองประการ มาอย่างสมบูรณ์สม่ำเสมอ พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งพสกนิกร ด้วยทรงถือเอาความทุกข์เดือดร้อนของพสกนิกรเป็นความทุกข์เดือดร้อนของพระองค์เอง เหตุนี้เมื่อเกิดความเดือดร้อนหรือภัยพิบัติในส่วนใดของประเทศ พระองค์จะเสด็จฝ่าไป ไม่ว่าระยะทางจะใกล้ไกล ทุรกันดารเพียงใด แดดจะแผดกล้าร้อนแรง หนทางจะคดเคี้ยวข้ามขุนเขา พงไพรจะรกเรื้อแฉะชื้นเต็มไปด้วยตัวทาก ฝนจะตกกระหน่ำจนเหน็บหนาว น้ำจะท่วมเจิ่งนอง พระองค์ก็มิได้ทรงย่อท้อที่จะเสด็จไปประทับเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรผู้ทุกข์ยาก เพื่อทรงดับความเดือดร้อนให้กลับกลายเป็นความร่มเย็น
5. ความอ่อนโยน (มัททวะ) หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมแด่ผู้เจริญโดยวัยและเจริญโดยคุณ และมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอพระองค์และต่ำกว่า ไม่เคยทรงดูหมิ่น การที่ทรงวางพระองค์เช่นนี้จึงก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่บ้านเมือง และความปิติศรัทธาแก่ชาวไทยอย่างไม่มีอะไรจะเปรียบ
6. ความเพียร (ตบะ) หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่เฉย ทรงพอพระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินออกทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ แม้ในถิ่นทุรกันดารและห่างไกล ขวางกั้นด้วยผืนน้ำกว้างใหญ่ ป่าทึบ หรือเขาสูงสุดสายตาเพียงเพื่อให้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขของราษฎร ด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง เมื่อทรงทราบแล้วก็มิได้ทรงนิ่มนอนพระราชหฤทัย แต่ได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เพื่อขจัดความทุกข์เดือดร้อนของราษฎรทั้งในด้านการอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย การศึกษาและอื่น ๆ ด้วยพระราชอุตสาหะ วิริยภาพเช่นนี้ พระองค์จึงทรงขจัดความขัดข้องความยากจนขัดสนทั้งหลายให้แก่ราษฎรได้โดยทั่วกัน
7. ความไม่โกรธ (อักโกธะ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธให้เป็นที่ประจักษ์ใจทั้งในหมู่ประชาชนชาวไทย และในนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน แม้มีเหตุอันควรให้ทรงพระพิโรธยังทรงข่มพระทัยให้สงบได้โดยสิ้นเชิง อย่างที่ปุถุชนน้อยคนนักจะทำได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2505 เป็นต้น ซึ่งยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้ตามเสด็จทุกคน
วันนั้นวันที่ 27 สิงหาคม 2505 เป็นวันแรกที่ทรงย่างพระบาทสู่ดินแดนออสเตรเลีย พร้อมด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการเสด็จเยือนมาสามประเทศแล้ว จากรถพระที่นั่งขณะเสด็จไปยังที่ประทับพระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น ชายคนหนึ่งชูป้ายเป็นภาษาไทยขับไล่พระองค์ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหวั่นไหวด้วยทรงพิจารณาว่าเป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียว มิใช่ประชาชนทั้งประเทศ จึงทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้แก่ประชาชนอื่น ๆ ที่โห่ร้องรับเสด็จไปตลอดทาง
ต่อมาที่นครซิคนีย์เหตุการณ์อย่างเดียวกันได้เกิดขึ้นอีก โดยกลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุนจากลัทธิการเมืองที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลไทย เริ่มจากการชูป้ายข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย ในทันทีที่รถพระที่นั่งแล่นเข้าสู่ศาลากลางเทศบาล ซึ่งจัดไว้เพื่อรับเสด็จ ติดตามด้วยใบปลิวมีข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย และกล่าวหารัฐบาลไทยว่าเป็นฆาตกรฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใบปลิวนี้โปรยลงมารอบพระองค์ขณะที่ตรัสตอบขอบใจนายกเทศมนตรี และประชาชนกลางเวที แต่พระองค์ยังคงตรัสต่อไป เสมือนมิได้มีสิ่งใดเกิดขึ้น
8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร จากอดีตเรื่อยมาจนกระทั่งถึง ปี พ.ศ. 2559 นับเป็นเวลาเนิ่นนานไม่น้อยกว่า 70 ปี ที่ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทยได้รับความร่มเย็นมีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงบำเพ็ญอวิหิงสาบารมี คือ ไม่เบียดเบียนให้ผู้อื่นลำบาก ไม่ก่อทุกข์ยากให้แก่ผู้ใดแม้จนถึงสรรพสัตว์ ด้วยเห็นเป็นของสนุกเพราะอำนาจแห่งโมหะหรือความหลง ไม่ทำร้ายรังแกมนุษย์และสัตว์เล่นเพื่อความบันเทิงใจแห่งตน ดังเหตุการณ์อันเป็นที่เปิดเผยจากวงการตำรวจจราจรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2530 ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริว่าตามปกติเวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ใดเจ้าหน้าที่จราจรจะปิดถนนตลอดเส้นทางนั้นทุกครั้ง จึงทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่า ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ปิดการจราจรเวลาเสด็จพระราชดำเนินไม่ว่าที่ใด หากการจราจรเกิดติดขัดก็มีพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงร่วมอยู่ในสภาวะแห่งการติดขัดนั้น เช่นเดียวกับพสกนิกรของพระองค์
9. ความอดทน (ขันติ) คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงมีพระขันติธรรมเป็นยอดเยี่ยมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ บางครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะทรงอดทนได้ แต่พระองค์ยังทรงอดทนรักษาพระราชหฤทัย พระวาจา พระวรกาย และพระอาการ ให้สงบเรียบร้อยงดงามได้ในทุกสถานการณ์ ทรงอดทนต่อโทสะ จากการเบียดเบียนหยามดูหมิ่น ดังเช่น การถูกขับไล่โดยกลุ่มชนที่ไม่หวังดีต่อเมืองไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อปี 2505 เป็นต้น
10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ) คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ 4 ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติพระองค์ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณีทุกประการ ไม่เคยทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตรนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ทรงปฏิบัติพระองค์ได้อย่างงดงามไม่มีความบกพร่องให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้เลย
พระองค์ทรงรักษาพระราชหฤทัยได้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงมิได้ทรงหวั่นไหวต่ออำนาจแห่งอคติใด ๆ อันมีความรัก ความชัง ความโกรธ ความกลัว และความหลง เป็นต้น จึงไม่มีอำนาจใดที่อาจน้อมพระองค์ให้ทรงประพฤติทรงปฏิบัติไปในทางที่มัวหมองไม่สมควร หรือคลาดเคลื่อนไปจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องผู้ควรอุปถัมภ์ยกย่อง ทรงบำราบคนมีความผิดควรบำราบโดยทรงที่เป็นธรรม และในพระราชฐานะแห่งองค์พระประมุขของชาติไทยในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องมีพรรคการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน พระองค์ได้ทรงดำริอยู่ในความยุติธรรม ทรงเป็นหลักชัยของพรรคการเมืองทุกพรรค
ขันติ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"ทศพิศราชธรรมของกษัตริย์ในปรัชญากฎหมายไทย"
ทศพิศราชธรรม เป็นเสมือนหลักธรรมที่สำคัญในการใช้อำนาจการปกครองของกษัตริย์โดยชนชั้นปกครองทั้งหลายโดยที่ผู้ใช้อำนาจปกครองนี้ มิได้หมายเฉพาะกษัตริย์เท่านั้นแต่หมายถึงบุคคลทั้งหลายที่ใช้อำนาจในการปกครองด้วย ซึ่งจะเป็นการตีความในลักษณะของการขยายความให้เข้าสังคมปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันเราจะนำมาใช้กับคนที่เป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดและแม้กระทั่งในระดับครอบครัว
ทศพิศราชธรรม ในฐานะความคิดทางศีลธรรมการเมืองมีรากฐานที่มาจากคัมภีร์ชาดกในพุทธศาสนา นับเนื่องมาจากที่พุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเมืองการปกครองสมัยพระยาลิไทย คติความคิดนี้ก็ย่อมได้รับการเผยแพร่โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานเขียนหรือศิลาจารึก หลักธรรมอันสำคัญยิ่งสำหรับกษัตริย์หรือผู้ปกครองประกอบด้วยเนื้อหา10 ประการ ดังนี้คือ
1. ทาน หมายถึง การแจกวัตถุสิ่งของ การให้วิชาความรู้เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นและการให้
ประการอื่น ๆ เช่น กำลังกาย กำลังความคิดตลอดจนคำแนะนำ
2. ศีล หมายถึงการควบคุมพฤติทางกาย วาจา และใจ ให้เป็นปกติ
3. ปริจจาจะ หมายถึง การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อระโยชน์สุขส่วนรวม
4. อาธชวะ หมายถึง ความซื่อตรง
5. มัทธวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน
6. ตยะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่แสดงการเกรี้ยวกราดโกรธแค้นต่อใคร ๆ
8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน
9. ขันติ หมายถึงความอดทนต่อความยากลำบาก
10. อวิโรธะนะ หมายถึง ความไม่ประพฤติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
หลักทั้ง 10 ประการ อาจสรุปให้เป็น 5 ประการ ได้ดังนี้คือ
1. การให้เสียสละ (ทาน และปริจจาจะ)
2. ความซื่อสัตย์สุจริต (ศีล และอาธชนะ)
3. ความมีไมตรีจิต (มัทธวะ และอักโกธะ)
4. ความอดทน ความเพียร (ตยะ และขันติ)
5. ความถูกต้องและยุติธรรม (อวิโรธนะ)
การตีความทศพิศราชธรรมให้เป็นดั่งหลักอุดมคติทางกฎหมายดังกล่าวอาจเทียบเคียงได้กับความในเชิงปรัชญากฎหมายธรรมในชาติของตะวันตก ในแง่ทศพิศราชธรรมอาจจัดให้มีค่าเสมือนรูปธรรมหนึ่งแห่งกฎหมายธรรมชาติตามแบบเสรีวิธีคิดของตะวันตก จริงอยู่ที่ในปรัชญากฎหมายของไทยเราไม่ถ้อยคำที่เรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Notural Law) แบบตะวันตกในความของกฎหมาย ซึ่งกำหนดแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิดและเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจหรือความสมบูรณ์จากธรรมชาติมิได้เกิดจากอำนาจสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักธรรมสำคัญทางพุทธศาสนาที่กำกับการใช้อำนาจรัฐทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมายของไทยก็จัดได้เป็นหลักธรรมที่มาจากธรรมชาติได้เช่นกัน เมื่อตีความผ่านการวิเคราะห์ รากศัพท์ คำว่า ธรรมะ ที่หมายรวมถึงธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ในเมื่อธรรมะคือธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ทศพิศราชธรรมในฐานะหลักธรรมทางการเมืองหรือกฎหมายก็ย่อมจักเข้าเป็นกฎธรรมชาติเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นธรรมะที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ มิได้เกิดจากการประดิษฐ์สร้างของมนุษย์ มนุษย์ (ผู้เป็นศาสดา) เป็นเพียงผู้ค้นพบธรรมนี้เท่านั้น แล้วประกาศธรรมนี้ให้แพร่หลายไปโดยเฉพาะหมู่ผู้ปกครองหรือราชาที่ต้องการ “ ทรง “ ทั้งอำนาจตนและสังคมที่ตนปกครองให้เป็นไปปกติสุข
ขันติ หมายถึง 在 KunTi Youtube 的最佳貼文
#ASMR คืออะไร เสียงกิน #เลย์ #มันฝรั่งทอด *ตอบคำถามQ&A eating #Lays #Potato fries #Mukbang :ขันติ
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเล่นว่าขันติ
มาเจอกันแบบใกล้ชิดสนิทขัั้นสุดได้ที่นี่เลย….
Facebook : https://web.facebook.com/kuntimerman
..................................................................................................
ช่องนี้ผมทำขึ้นเพื่อความบันเทิงและอยากให้ทุกคนมีความสุข เท่านั้นถ้าชอบและสนุก
อย่าลืม!!! (กดติดตาม) เพื่อไม่พลาดคลิปใหม่ๆสนุกๆของ #ขันติ คนนี้นะครับ ขอบคุณครับ
https://www.youtube.com/channel/UCnaIbiEF7XWNZ3ZsHoqkErg
.ติดต่องานได้ที่
E-mail : jutharuj123@gmail.com
Line ID: jutharuj
……………………...................................................................
ขันติ หมายถึง 在 คำว่าขันติในที่นี้ท่านหมายถึง อธิวาสนขันติ ได้แก่ความอดทนอดกลั้น ... 的推薦與評價
อดทนเพื่ออะไรสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอดทนทรมานตนบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณนั่นคือ ผู้ปฏิบัติขันติต้องยึดเอาประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น ... ... <看更多>
ขันติ หมายถึง 在 ขันติคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับชีวิต - YouTube 的推薦與評價
ขันติคือ ความอดทน พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า นอกจากปัญาแล้ว เราสรรเสริญว่าขันติเป็นธรรมอย่างยิ่ง ในยุคสมัยปัจจุบันคนเรามีความอดทนอดกลั้นน้อยลง ... ... <看更多>