ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคปัจจุบัน ปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย
มีแนวความคิด ยืนยันเรื่องความเชื่อต่อที่จำเป็นต้องมีเสมอระหว่างกฎหมายและศีลธรรมหรือความยุติธรรมต่าง ๆ ดังเช่น แนวคิดนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญ คือ
ฟุลเลอร์ เป็นนักปรัชญากฎหมายร่วมสมัยที่เชื่อมั่นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม นอกจากนั้นเขายังปฏิเสธหลักกฎหมายธรรมชาติในแง่ความเป็นกฎหมายที่สูงกว่ากฎหมายธรรมดาและทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติใดๆ ซึ่งพยายามจะสร้างหรือวางประมวลหลักกฎหมายธรรมชาติล่วงหน้า
ที่เป็นนิรันดร เขาถือว่า ”วัตถุประสงค์” เป็นสาระลักษณะที่จำเป็นของกฎหมาย “กฎหมายจำต้องอยู่ภายใต้บังคับของศีลธรรมหรือต้องบรรจุด้วยหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมภายใน” เรียกว่า ”The Inner Morality of Law” (ศีลธรรมภายในกฎหมาย) ซึ่งมีเงื่อนไข 8 ประการ
จอห์น ฟินนิส นักทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ เสนอแนวคิดกฎหมายธรรมชาติในแบบฉบับ
การตีความของเขาเอง เริ่มต้นด้วยการหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะชีวิตที่มีคุณค่าหรือมีความหมายอันแท้จริง ฟินนิส เริ่มจากสมมุติฐาน หลัก 2 ประการ คือ
1) รูปแบบพื้นฐานแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง หมายถึง ชีวิต ความรู้ ความบันเทิง สัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับสุนทรียวิสัย (ความมีเหตุผลซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ประกอบ) และศาสนา ทั้งหมดนี้ คือ คุณประโยชน์พื้นฐานอันแท้จริงมิใช่เป็นหลักคุณค่าเชิงศีลธรรม แต่หากเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า
มีความหมายคือมั่งคั่งรุ่งเรือง
2) สิ่งจำเป็นเชิงวิธีการพื้นฐานของความชอบด้วยเหตุผลเชิงปฏิบัติ ได้แก่ การแสวงหาความดีงาม แผนการชีวิตอันเป็นระบบ การไม่เลือกรักค่านิยมตามอำเภอใจ การไม่เลือกรักบุคคลตามอำเภอใจ เป็นต้น
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคปัจจุบันมีบทบาทต่อสังคม 2 ลักษณะ คือ
1. ทฤษฎีกฎหมายที่สนับสนุนอุดมคติทางกฎหมายเชิงจริยธรรม เนื่องจากความเชื่อเรื่อง หลักคติ
ที่อยู่เหนือกฎหมายของรัฐ เป็นการยืนยันความเชื่อเรื่อง “ความยุติธรรม” และ “ความสัมพันธ์ที่จำต้องมี” ระหว่ากฎหมายกับความยุติธรรมหรือหลักศีลธรรม จริยธรรมต่างๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ถือว่าหลักความยุติธรรม
หรือ หลักกฎหมายอุดมคติซึ่งแน่นอน เป็นสากลหรือใช้ได้กับทุกสถานที่ ซึ่งกฎหมายธรรมชาติยุคปัจจุบัน
มีลักษณะผ่อนปรน และประนีประนอมมากขึ้น
2. ทฤษฎีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิซึ่งสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน จากเดิมมุ่งเน้นสิทธิของปัจเจกชนในแง่สิทธิของราษฎรและสิทธิการเมือง ได้มีการพัฒนาไปสู่สิทธิทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาสันติภาพ หรือการอนุรักษ์คุณภาพของสิ่งแวดล้อม
「ความบันเทิง หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於ความบันเทิง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於ความบันเทิง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ความบันเทิง หมายถึง 在 Facebook สำหรับความบันเทิงและสื่อ: โฆษณาและโซลูชั่นการตลาด 的評價
- 關於ความบันเทิง หมายถึง 在 แอนชิลี” ลั่นแม่ๆ ทุกคนใจเย็น ไม่ใช่หนู นางงามที่ไม่ได้ค่าตัว ยืนยันได้ ... 的評價
ความบันเทิง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
สรุปประเด็นปรัชญากฎหมายธรรมชาติทั้ง 5 ยุคพร้อมความเห็น (สิทธิกร ศักดิ์แสง)
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของปรัชญากฎหมายธรรมชาติในอารยธรรมตะวันตกแบ่งออกเป็นช่วงๆตามยุคสมัยของประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกได้ 5 ยุค ได้แก่
1.ยุคโบราณกรีกและโรมัน(500BC. - 5AD.)
เฮราคริตุส ปรัชญาเมธีกรีกคนสำคัญในยุคนี้ ได้กล่าวว่า “มนุษย์ไม่อาจกระโดดลงสู่กระแสธารได้สองครั้ง” นอกจากนั้นเขาพยายามค้นหาสัจธรรมเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉพาะความจริงเกี่ยวกับแก่นสารของชีวิต ซึ่งค้นพบว่าธรรมชาติ คือ ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง แก่นสารของชีวิต คือ ธรรมชาติ และแก่นสารของชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ประกอบด้วย จุดหมายปลายทาง ระเบียบและเหตุผลอันแน่นอน เป็นการยืนยันว่ากฎเกณฑ์ซึ่งใช้เป็นตัวควบคุม “แก่นสารของชีวิต” ย่อมปรากฏอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นภววิสัยหรือเป็นจริงอยู่เองโดยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการบัญญัติหรือเจตจำนงของมนุษย์ผู้มีอำนาจคนใด
แนวคิดของ เฮราคริตุส ได้รับการสนับสนุนจากจากพวกโสฟิสท์ (sophists) อันเป็นกลุ่มนักคิดที่ก่อตัวและมีบทบาทอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 4-5 ก่อนศริสตกาล ความหมายดั้งเดิมคือ “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ Expert พวกโสฟิสท์สนใจวิชาวิธีการใช้วาทะในการโต้แย้ง และก่อตั้งวิชาวาทศิลป์ (Rhetoric) ขึ้น นอกจากนั้นยังได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องกฎเกณฑ์ อันเป็นภววิสัยหรือธรรมชาติด้วย
โซโฟคริส (sophocles : 490-405 BC) ได้เขียนหนังสือ “แอนทีโกนี” (Antigone) (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า / ร.6 ได้ทรงแปลเป็นไทย โดยตั้งชื่อว่า “อันตราคนี”) โดยอาศัยทฤษฎีหรือปรัชญากฎหมายธรรมชาติอันเป็นละครโศกนาฏกรรม ซึ่งบรรจุหลักการสำคัญในการแยกกฎหมายอันเท็จจริงออกจากโครงสร้างอำนาจของรัฐ และยืนยันการเป็นโมฆะของกฎหมายแผ่นดินที่ขัดแย้งกับกฎหมายธรรมชาติหรือยุติธรรม และในยุคกรีกโบราณที่มีผู้ไม่ยอมรับในปรัชญากฎหมายธรรมชาติอยู่ไม่น้อย อาทิเช่น Protagoras Antiphon Callicles Thrasymachus ซึ่งมีความเชื่อมั่นในทางตรงข้ามว่า กฎหมายเป็นสิ่งซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง มิใช่กฎเกณฑ์อุดมคติเลิศลอย การปฏิเสธเรื่องคุณธรรมหรือการดำรงอยู่ของความดีร่วมในสังคม ทำให้ปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ในยุคใกล้เคียงนั้น คือ โสเกรติส และเพลาโต ลุกขึ้นมาคัดค้านเป็นการใหญ่
เพลโต สรุปว่า กฎหมายธรรมชาติเป็นความคิดหรือ”แบบ” อันไม่มีวันเปลี่ยนแปลงที่ใช้เป็นบรรทัดฐานต่อกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) โดยกฎหมายที่ตราขึ้นใดๆ ต้องสอดคล้องกับ”แบบ” แห่งกฎหมายธรรมชาติ มิฉะนั้นก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นกฎหมายได้และมีเพียงปรัชญาเมธีผู้มีญาณปัญญาอันบริสุทธิ์เท่านั้นที่สามารถเข้าถึง ”แบบ” หรือเนื้อหาแห่งกฎหมายธรรมชาตินี้ได้
อริสโตเติ้ล เป็นสานุศิษย์ของเพลโตเห็นถึงความบกพร่องในความคิดของอาจารย์เค้าเองและไม่เห็นด้วยกับแบบจำลองของรัฐอุดมคติสองแบบในทรรศนะของเพลโต (Law State/ Non-Law State) แต่เชื่อมั่นว่ามีแต่รัฐที่ปกครองภายใต้กฎหมายเท่านั้นซึ่งเป็นรัฐอุดมคติ
ปรัชญาสำนักสโตอิค (Stoic School) ก่อตัวขึ้นในราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล โดยมีเซโน เป็นผู้ก่อตั้งสำนักนี้ สำนักนี้มีความคิดพื้นฐานว่า ในจักรวาลซึ่งโลกของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งนั้นประกอบไปด้วยแก่นสาร อันสำคัญคือ เหตุผล เหตุผลหรือความเป็นเหตุผลนี้จะเป็นเสมือนกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มีลักษณะแน่นอนทั่วไป หรือเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ซึ่งคอยควบคุมความเป็นไปของจักรวาลมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติของจักรวาลและเป็นสัตว์โลกที่รู้จักคิดใช้เหตุผล
ความเห็น ยุคกรีกโบราณเป็นยุคแรกเริ่มแห่งปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะเป็นอภิปรัชญามากเกินไปและไม่มีการผ่อนปรนในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอนว่ากฎเกณฑ์ใดมีความยุติธรรมและสามารถนำไปใช้ในสังคมได้
2.ยุคมืด (5AD.-12AD.) และยุคกลาง (12AD.-16AD.)
นับแต่จักรวรรดิโรมันได้ล่มสลายลงใน ศตวรรษที่5 ยุโรปก็เข้าสู่ยุคมืดและยุคกลางอันยาวนานเกือบ 990 ปี ซึ่งสังคมมีลักษณะพื้นฐานแบบศักดินา ภายใต้การครอบงำของศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิคที่มีสังฆราชแห่งกรุงโรมเป็นประมุข
เซนต์ ออกุสติน (ST.Agustine) เป็นผู้เสนอความคิดว่า “กฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามกฎศาสนาเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับไม่ได้” ดังนั้นจึงบังคับให้รัฐอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนา
เซนต์ โทมัส อไควนัส (ST.Thomas Aquinas) เป็นนักบวชและนักปรัชญาชาวอิตาเลียนผู้สร้างงานนิพนธ์ชิ้นสำคัญ เรื่อง “Suma Theologica” ซึ่งเป็นการเชื่อมวิธีคิดแบบเหตุผลนิยม(Rationalism) และเจตนานิยม (Voluntarism) เข้าด้วยกัน โดยนำปรัชญาของอริสโตเติลมาสังเคราะห์กับปรัชญาทางคริสต์ศาสนา ในขณะที่อริสโตเติลยืนยันว่า มนุษย์สามารถค้นพบกฎหมายธรรมชาติได้โดยอาศัย “เหตุผล” ในตัวมนุษย์เอง อไควนัส ได้พยายามเชื่อมโยง “เหตุผล” ดังกล่าวเข้ากับ “เจตจำนง” (Will) ของพระเจ้า โดยถือว่า เหตุผลที่สมบูรณ์ถูกต้องมากกว่าซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้ากฎหมายธรรมชาตินั้นปรากฏอยู่ใน ”เหตุผลของพระเจ้า”หรือ “เจตจำนงของพระเจ้า” ซึ่งถือว่ามีความบริสุทธิ์ถูกต้องมาก “เหตุผล” ของมนุษย์ เขาสรุปว่าหลักธรรมหรือโองการหรือเจตจำนงของพระเจ้าคือมีที่มาของกฎหมายธรรมชาติ
อไควนัส ได้แบ่งแยกกฎหมายออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.กฎหมายนิรันดร ถือเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นเหตุผลหรือปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ที่บงการความเคลื่อนไหวหรือการกระทำทั้งปวงในจักรวาล มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ล่วงรู้ถึงกฎหมาย มนุษย์ทั่วไปไม่อาจหยั่งรู้ได้
2.กฎหมายธรรมชาติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายนิรันดรที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัย “เหตุผล” อันเป็นคุณสมบัติธรรมชาติที่พระเจ้าประทานให้
3.กฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ หมายถึงกฎเกณฑ์หรือหลักธรรมต่างๆที่ถูกจารึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิล
4.กฎหมายของมนุษย์ หมายถึง กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นใช้ในสังคม อยู่ใต้บังคับของกฎหมายที่สูงกว่า กฎหมายมนุษย์เรื่องใดมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรมและขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ ย่อมไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
ความเห็น ยุคมืดให้ความสำคัญกับศาสนามาก ความขัดแย้งอันเกิดขึ้นและเป็นการล่วงละเมิดอำนาจของศาสนา ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องต่อต้านอำนาจรัฐ
3.ยุคฟื้นฟู (14 AD.-16 AD) และยุคปฏิรูป (16 AD.-17 AD.)
ยุคปฏิรูปอารยธรรมตะวันตกหรือยุคที่ฝ่ายอาณาจักรสามารถตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแยกตัวเป็นอิสระออกจากศาสนจักร ในยุคสมัยนี้มีความขัดแย้งด้านต่างๆ ในยุคนี้
ฮูโก โกรเชียส (Hugo Grotius) นักกฎหมายชาวเนเธอแลนด์ได้นำเอาหลักกฎหมายธรรมชาติมาใช้สร้างรากฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ควบคุมกิจการและกติกาในการทำสงครามต่างๆระหว่างรัฐชาติที่เกิดขึ้นใหม่ต่างๆ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคนี้ยังมีแนวโน้มที่เน้นระบบแห่งกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ซึ่งเป็นรูปธรรมและมีรายละเอียดมากขึ้นอันสร้างขึ้นด้วยการอนุมานโดยตรงจากเหตุผลของมนุษย์
ความคิดเห็น ยุคฟื้นฟูหันมาให้ความสนใจด้านปัจเจกชนและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยพ้นจากการครอบงำของศาสนาและมุ่งล้มล้างระบบศักดินา ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่เป้นธรรมการ จึงก่อให้มีการปฏิวัติสังคมในอังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศส ได้อาศัยปรัชญาหรือตรรกะของกฎหมายธรรมชาติเข้าเป็นเหตุผลรองรับความชอบธรรมของการก่อการหรือสนับสนุนเรื่องสิทธิธรรมชาติในการล้มล้างรัฐ และมีผลกระทบด้านกฎหมาย อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาตินำไปสู่การตอกย้ำความสำคัญของเนื้อหาของกฎหมายที่เป็นธรรม
4.ยุครัฐชาติหรือชาติรัฐนิยม (18 AD)
ความเสื่อมและการฟื้นตัวของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ความเชื่อถือศรัทธาในปรัชญากฎหมายนี้ได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น
-กระแสของลัทธิชาตินิยม
-ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิธีคิดเชิงประจักษ์วาทแบบวิทยาศาสตร์ได้ลบล้างพลังความเชื่อถือของวิธีคิดแบบเหตุผลนิยมหรืออนุมานนิยมของปรัชญาสำนักนี้
ปลายศตวรรษที่ 19 ปรัชญากฎหมายธรรมชาติได้ฟื้นตัวสู่การเชื่อถืออีกครั้งหนึ่ง หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ระบบนาซีเยอรมันได้ทำลายสังคมเยอรมันยับเยินแทบทุกด้าน โดยมีกลไกทางกฎหมายมาร่วมรับผิดชอบด้วย นักปรัชญากฎหมายเยอรมัน รวมทั้งองค์กรตุลาการได้หันไปยึดถือปรัชญากฎหมายธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับข้อเท็จจริงและวิกฤติการณ์ทางคุณค่า
ความคิดเห็น ยุคนี้เป็นการเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้การศึกษากฎหมายเป็นรูปธรรมมากขึ้น จึงทำให้กฎหมายธรรมชาติเสื่อมความเชื่อถือลง และเป็นยุคที่ปรัชญาปฏิฐานนิยมได้รับความนิยม
5.ยุคปัจจุบัน
นักปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัยมีแนวความคิด ยืนยันเรื่องความเชื่อมต่อที่จำเป็นต้องมีเสมอระหว่างกฎหมายและศีลธรรมหรือความยุติธรรมต่างๆ ดังเช่น แนวคิดนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญ คือ
ฟุลเลอร์ เป็นนักปรัชญากฎหมายร่วมสมัยที่เชื่อมั่นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม นอกจากนั้นเขายังปฏิเสธหลักกฎหมายธรรมชาติในแง่ความเป็นกฎหมายที่สูงกว่ากฎหมายธรรมดาและทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติใดๆ ซึ่งพยายามจะสร้างหรือวางประมวลหลักกฎหมายธรรมชาติล่วงหน้าที่เป็นนิรันดร เขาถือว่า ”วัตถุประสงค์” เป็นสาระลักษณะที่จำเป็นของกฎหมาย “กฎหมายจำต้องอยู่ภายใต้บังคับของศีลธรรมหรือต้องบรรจุด้วยหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมภายใน” เรียกว่า ”The Inner Morality of Law” (ศีลธรรมภายในกฎหมาย) ซึ่งมีเงื่อนไข 8 ประการ
จอห์น ฟินนิส นักทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ เสนอแนวคิดกฎหมายธรรมชาติในแบบฉบับการตีความของเขาเอง เริ่มต้นด้วยการหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะชีวิตที่มีคุณค่าหรือมีความหมายอันแท้จริง ฟินนิส เริ่มจากสมมุติฐาน หลัก 2 ประการ คือ
1)รูปแบบพื้นฐานแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง หมายถึง ชีวิต ความรู้ ความบันเทิง สัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับสุนทรียวิสัย (ความมีเหตุผลซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ประกอบ) และศาสนา ทั้งหมดนี้ คือ คุณประโยชน์พื้นฐานอันแท้จริงมิใช่เป็นหลักคุณค่าเชิงศีลธรรม แต่หากเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า มีความหมายคือมั่งคั่งรุ่งเรือง
2)สิ่งจำเป็นเชิงวิธีการพื้นฐานของความชอบด้วยเหตุผลเชิงปฏิบัติ ได้แก่ การแสวงหาความดีงาม แผนการชีวิตอันเป็นระบบ การไม่เลือกรักค่านิยมตามอำเภอใจ การไม่เลือกรักบุคคลตามอำเภอใจเป็นต้น
คามคิดเห็น ยุคปัจจุบันกฎหมายธรรมชาติฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีรูปธรรมมากขึ้นและมีลักษณะเป็นการผ่อนปรนประนีประนอม แต่ยังความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติอยู่ที่ศีลธรรมกับกฎหมาย
ความบันเทิง หมายถึง 在 แอนชิลี” ลั่นแม่ๆ ทุกคนใจเย็น ไม่ใช่หนู นางงามที่ไม่ได้ค่าตัว ยืนยันได้ ... 的推薦與評價
ติดตาม ความบันเทิง ต่อได้ที่ https://www.daradaily.com .รวมทุกประเด็นแซ่บคนบันเทิงไว้ที่นี่Facebook ... ... <看更多>
ความบันเทิง หมายถึง 在 Facebook สำหรับความบันเทิงและสื่อ: โฆษณาและโซลูชั่นการตลาด 的推薦與評價
Meta for Business (ชื่อเดิมคือ Facebook for Business). เริ่มต้นใช้งาน. ... <看更多>