รู้จัก DITTO บริษัทที่เติบโตแรง จากเทรนด์ Digital Transformation ในไทย
Ditto x ลงทุนแมน
เราเคยสงสัยกันไหมว่า กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย มีกระบวนการจัดเก็บเอกสาร ค้นหา และเลือกดึงข้อมูล เพื่อนำออกมาใช้ได้อย่างไร ? ด้วยจำนวนเอกสารที่ต้องดูแลนับพันล้านหน้า จากคดีความเกือบ 2 ล้านคดีต่อปี และยังต้องจัดเก็บสำนวนคดีย้อนหลังเป็นเวลาถึง 10 ปี
หรือห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ที่ต้องเก็บข้อมูลบิล หรือข้อมูลการซื้อขายจำนวนมหาศาลในหนึ่งปี
เมื่อถึงวันที่ต้องคำนวณงบ หรือจ่ายภาษี เขาใช้เครื่องมืออะไรเป็นตัวช่วยการค้นหา จัดการ และประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ ?
คำตอบก็คือ องค์กรเหล่านี้ ใช้ระบบการจัดการข้อมูลต่าง ๆ คล้ายกับระบบในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
คือการจัดเรียงข้อมูลทุกอย่างให้เป็นระบบระเบียบไว้ในรูปแบบดิจิทัล
และเมื่อถึงวันที่ต้องการเรียกข้อมูลออกมาใช้ ก็จะทำได้อย่าง “ง่าย” และ “รวดเร็ว”
ซึ่งการนำเข้าข้อมูล โดยเปลี่ยนจากกระดาษ มาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลหรืออยู่บนคลาวด์นั้น
เรียกว่า การทำ “Digitization” ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญ ของกระบวนการ Digital Transformation
แต่ในวันนี้.. ยังมีองค์กรในประเทศไทยอีกจำนวนมาก ที่เพิ่งเริ่มปรับตัว
กำลังรอการทำ Digitization หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ยังมีเอกสารมากมาย ที่รอการนำเข้าสู่ระบบดิจิทัล
และนี่เองจึงเป็น “โอกาส” ของบริษัท DITTO..
บริษัท DITTO คือใคร มีเทคโนโลยีอะไรมาช่วยตอบโจทย์เทรนด์ Digital Transformation ได้บ้าง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DITTO
คือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการ Document and Data Management Solutions แบบครบวงจร
โดยออกแบบกระบวนการจัดการเอกสาร คัดเลือกและพัฒนาระบบบริหารงานเอกสาร ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย
ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และต้องการลดค่าใช้จ่ายองค์กร ด้วยการหันมาใช้งานเอกสารในรูปแบบดิจิทัล
โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเสริมให้การทำงานนั้นง่ายยิ่งขึ้น
มีบุคลากรและทีมงานออกแบบโซลูชัน ที่มีความเชี่ยวชาญ จัดหาแอปพลิเคชันที่เหมาะสม
เพื่อนำเอกสารและข้อมูลเข้าสู่ระบบให้พร้อมสำหรับการใช้งาน รวมถึงบริการจัดหาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ อีกด้วย
โดยบริษัททำงานให้กับหน่วยงานใหญ่ ๆ หลายราย
ทั้งบริษัทเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถาบันการเงิน และองค์กรที่เป็นรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการต่าง ๆ
การที่ DITTO เข้าไปช่วยบริหารจัดการและแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการจัดหาพื้นที่สำหรับเก็บเอกสาร
ที่เป็นแฟ้ม เป็นกระดาษแล้ว
ที่แน่นอนที่สุดคือ “ช่วยลดต้นทุนของเวลา” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของกระบวนการ Digital Transformation
หรือก็คือ การเอาเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลง หรือเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจ ด้วยการอำนวยความสะดวกในการเรียกใช้เอกสารได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็วมากขึ้น
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังตอบโจทย์การทำงานแบบ Digital Workplace
และนี่เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้องค์กรใหญ่ ๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง
ที่ต้องการเปลี่ยนตนเองสู่ Digital Transformation เลือกใช้บริการระบบบริหารจัดการเอกสารจากบริษัท DITTO
DITTO ยังมีอีก 2 ธุรกิจ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
1. ธุรกิจให้เช่า จำหน่าย และให้บริการด้านเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ และสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ
และได้มีการขยายธุรกิจไปยังระบบขายสินค้าหน้าร้าน (POS) และระบบไดรฟ์ทรู (Drive-Thru) โดยเป็นตัวแทนจากแบรนด์ HME ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่มีชื่อเสียงทางด้านระบบไดร์ฟทรู
2. ธุรกิจรับเหมาวิศวกรรมด้านเทคโนโลยีสำหรับโครงการของหน่วยงานราชการต่าง ๆ
เช่น ระบบท้องฟ้าจำลองและพิพิธภัณฑ์, ระบบโทรมาตร (Supervisory Control And Data Acquisition: SCADA), ระบบเทคโนโลยีภายในอาคาร, ระบบควบคุมระบบคัดแยกขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และโครงการประเภทอื่น ๆ
และนี่คือผลประกอบการของธุรกิจของ DITTO และบริษัทในเครือ
ปี 2561 รายได้ 422 ล้านบาท กำไรสุทธิ 13 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 773 ล้านบาท กำไรสุทธิ 56 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 986 ล้านบาท กำไรสุทธิ 114 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าในปี 2561 - 2563 กำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 192 ต่อปี โดยการเติบโตนี้เกิดจากการที่หลายบริษัทในไทยต้องการทำ Digital Transformation กันมากขึ้น
และมีข้อมูลที่น่าสนใจ จากฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (Frost & Sullivan)
ที่ได้คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดการจัดการข้อมูลดิจิทัลในประเทศไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง
โดยคาดว่าในปี 2568 จะมีขนาดประมาณ 11,887 ล้านบาท
คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2563 ถึง 2568 เท่ากับร้อยละ 74.77 ต่อปี
โดยปัจจุบัน DITTO เป็นผู้นำในตลาดการจัดการข้อมูลดิจิทัลของประเทศไทย
จึงคาดว่า DITTO น่าจะมีโอกาสเติบโตได้อีกกับเทรนด์นี้
และ DITTO ก็กำลัง IPO โดยจะเข้าซื้อขายในตลาด mai วันแรก 6 พ.ค. นี้
ซึ่งก็ถือเป็นอีกช่องทางที่ทำให้ DITTO ได้ขยายการเติบโตให้เพิ่มขึ้นไปอีกขั้น
และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดของ DITTO บริษัทที่กำลังเติบโตได้ดีไปกับการจัดการข้อมูลให้ลูกค้า
เพราะลูกค้าสามารถลดต้นทุนของที่สำคัญ โดยเฉพาะ “ต้นทุนด้านเวลา” นั่นเอง..
Reference
- เอกสารประชาสัมพันธ์บริษัท บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- รายงานวิจัยตลาดอิสระ เกี่ยวกับตลาดการจัดการข้อมูลดิจิทัลในประเทศไทย จัดทำโดย ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (Frost & Sullivan)
「ธุรกิจ digital transformation」的推薦目錄:
ธุรกิจ digital transformation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
IIG x ลงทุนแมน
IIG บริษัทที่ปรึกษายุคดิจิทัล กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์
Digital Transformation หรือการปรับตัวทางธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัลถือเป็น
หนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นกับหลายองค์กรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
หากเราลองมาดูมูลค่าของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจดิจิทัลทั่วโลก
ปี 2560 มูลค่า 31.7 ล้านล้านบาท
ปี 2561 มูลค่า 37.4 ล้านล้านบาท
ปี 2562 มูลค่า 41.2 ล้านล้านบาท
คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าหลายบริษัทกำลังปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่
ซึ่งหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์ก็คือ ธุรกิจที่ปรึกษา
โดยเฉพาะผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการปรับองค์กรยุคดิจิทัล
สำหรับวันนี้ เรามารู้จักกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้
อย่างบริษัท ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป หรือ IIG
ที่กำลังจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แล้วบริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
IIG เป็นบริษัททำธุรกิจที่ปรึกษา และมีความเชี่ยวชาญ
เรื่องการออกแบบ และติดตั้งซอฟต์แวร์องค์กร
โดยปัจจุบันทางบริษัทแบ่งลักษณะการทำธุรกิจออกเป็น 4 ส่วน
เริ่มต้นที่ธุรกิจแรก คือ ธุรกิจให้คำปรึกษา และบริการออกแบบติดตั้ง
ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) และจำหน่ายซอฟต์แวร์ Oracle
อีกส่วนก็คือ ธุรกิจให้คำปรึกษา และบริการออกแบบติดตั้ง ระบบ
บริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) และจำหน่ายซอฟต์แวร์ Salesforce
นอกเหนือจากการเป็นผู้ออกแบบ และติดตั้งซอฟต์แวร์องค์กรแล้ว
IIG ก็ยังมีธุรกิจที่ปรึกษาด้านการทำตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) การบริหารจัดการประสบการณ์ลูกค้า (CEM) และให้บริการจัดหาบุคลากร (Placement Service) เช่นกัน
แล้วกลุ่มลูกค้าทางธุรกิจของ IIG มีใครบ้าง?
ธุรกิจ ERP เช่น เทสโก้ โลตัส, คาราบาว กรุ๊ป, โตโยต้า, ดีแทค และบ้านปู
ธุรกิจ CRM เช่น เมืองไทยประกันชีวิต, แสนสิริ, ธนาคารทหารไทย และ วิริยะประกันภัย
ธุรกิจ CEM และ Placement Service เช่น โรงพยาบาลศิครินทร์, ธนาคารไทยพาณิชย์ และปตท.
จะเห็นได้ว่า IIG มีฐานลูกค้าเต็มไปด้วยบริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
แล้ว ผลประกอบการที่ผ่านมาของ IIG เป็นอย่างไร?
ปี 2560 รายได้ 174.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 23.0 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 201.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 18.2 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 394.7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 47.8 ล้านบาท
รายได้เติบโตเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา 50%
กำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา 44%
ในขณะที่ หากเรามาดูโครงสร้างรายได้ของบริษัทในปี 2562 มาจาก
ธุรกิจ CRM 55.3%
ธุรกิจ ERP 36.9%
ธุรกิจการจัดหาบุคลากร 6.5%
ธุรกิจการตลาดดิจิทัล 0.9%
และอื่น ๆ อีก 0.4%
นอกจากการเติบโตแล้ว อีกสิ่งที่น่าสนใจก็คือโมเดลรายได้ของบริษัทที่มาจาก
รายได้ประจำ (Recurring Income) ซึ่งประกอบด้วยค่าเช่าใช้ software Salesforce, บริการให้คำปรึกษาและดูแลระบบหลังการติดตั้ง (AMS) ซึ่งรวมกันเป็น 58% ของรายได้ธุรกิจ CRM
แล้วการเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งนี้ของ IIG
จะนำเงินระดมทุนที่ได้ ไปขยายกิจการอะไรบ้าง?
IIG จะนำเงินที่ระดมทุนได้ไปก่อตั้งศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์
พัฒนา IIG Academy เพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลที่จำเป็น
และยังรวมไปถึงการลงทุนจัดตั้ง Innovation Lab
เพื่อเป็นฐานการวิจัย และพัฒนาแอปพลิเคชันของทางบริษัท
เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ และเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้าธุรกิจ
นอกจากการลงทุนข้างต้นแล้ว ทางบริษัทก็จะนำเงินบางส่วน
ไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในองค์กรเพื่อรองรับ
การขยายตัวจากการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
จากภาพรวมทางธุรกิจของ IIG ที่มีการเติบโตตามเทรนด์การปรับตัวของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
ประกอบกับการที่ทางบริษัทมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
ทั้งหมดนี้ก็น่าจะทำให้การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ของ IIG ในปีนี้
เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง..
หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุน
References
-https://www.statista.com/statistics/870924/worldwide-digital-transformation-market-size/
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 บริษัท ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)