การหลอมรวมปรัชญากฎหมายธรรมชาติเข้ากับปฏิฐานนิยมทางกฎหมายตามแนวคิดของ กุสตาฟ ร้าดบรุค: นิติปรัชญาสายที่ 3
ที่มา สรุปมาจากบทความของ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “กุสตาฟ ร้าดบรุคกับนิติปรัชญาสายที่สาม” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2545 หน้า 453-468
กุสตาฟ ร้าดบรุค (ค.ศ.1879 – 1949) นักปรัชญากฎหมายชาวเป็นชาวเยอรมนี ได้แนวความคิดนิติปรัชญาสายที่ 3 ขึ้นมาโดยการหลอมรวมแนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมเข้าด้วยกัน ดังนี้
1. ความคิดเบื้องต้นของกุสตาฟ ร้าดบรุค
กุสตาฟ ร้าดบรุค เริ่มต้นความคิดของเขาจากรากฐานของทฤษฎีความรู้ที่ อิมมานูเอล คานท์ วางไว้ คือ การแยกโลกของ “ความเป็น” ซึ่งเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ทางความเป็นจริงกับโลกของ “ความควรจะต้องเป็น” ซึ่งเป็นโลกของคุณค่าต่างๆ ออกจากกันอย่างเด็ดขาดก็ตาม แต่ในการอธิบายความหมายของกฎหมาย ร้าดบรุค ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่เฉพาะแต่การอธิบายกฎหมายในแง่ของ “ความเป็น” เท่านั้น แต่ยังอภิปรายไปถึงคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมายด้วย แนวทางการอธิบายกฎหมายของ ร้าดบรุค จึงแตกต่างจาก ฮันส์ เคลเซ่น ในสาระสำคัญ ทั้งๆ ที่ยอดนักนิติศาสตร์ของโลกทั้ง 2 คนนี้จัดว่าเป็นพวกคานท์ ใหม่เหมือนกัน เคลเซ่น ตัดการอภิปรายคุณค่าต่างๆ ออกไปจากวิชานิติศาสตร์อย่างสิ้นเชิงและมุ่งอธิบายกฎหมายเฉพาะในแง่รูปแบบ และลำดับชั้นของกฎหมายเท่านั้น เนื่องจาก เคลเซ่น เห็นว่าเรื่องของคุณค่าต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่อาจให้เหตุผลอย่างเป็นศาสตร์ได้ วิชานิติศาสตร์จึงต้องเป็นวิชาการที่พรรณนาและอธิบายกฎหมายที่เป็นอยู่จริงเท่านั้น ไม่ใช่กฎหมายที่ควรจะต้องเป็น ในขณะที่ ร้าด บรุค พยายามที่จะเชื่อมโยงคุณค่าต่างๆ กับการอภิปรายในทางนิติศาสตร์ “กฎหมาย” ในทรรศนะของ ร้าดบรุค จึงไม่ใช่ “ข้อความคิดที่ว่างเปล่าจากคุณค่า” ทำนองเดียวกับวัตถุต่างๆ ในโลกของปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสตร์เฉพาะสาขาต่างๆ มุ่งศึกษาค้นคว้าและอธิบาย แต่ในขณะเดียวกัน “กฎหมาย” ก็ไม่ใช่ “ ข้อความคิดในทางคุณค่า” หรือเป็นสิ่งเดียวกับข้อความคิดในทางคุณค่า (ความยุติธรรม) ซึ่งเป็นสิ่งที่วิชาปรัชญามุ่งศึกษาค้นคว้า สำหรับ ร้าดบรุค แล้ว “กฎหมายเป็นข้อความคิดทางวัฒนธรรม” กล่าวคือ เป็นข้อความคิดของโลกแห่งปรากฏการณ์หรือโลกแห่งความเป็นที่อ้างอิงเกาะเกี่ยวกันคุณค่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง “กฎหมายคือความเป็นจริงที่เชื่อมโยงคุณค่า” เป็นข้อความคิดที่มีความหมายในการรับใช้ความถูกต้อง ความยุติธรรม ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายจึงเป็นข้อความคิดที่มุ่งตรงไปหามโนคติแห่งกฎหมาย (ความยุติธรรม) ไม่ใช่สิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวขาดความเชื่อมโยงกับคุณค่าใดๆ
ในแง่ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย ร้าดบรุค แยกพิจารณาออกเป็น 3 ส่วน คือ วิชาสังคมวิทยากฎหมาย วิชานิติปรัชญาและวิชานิติศาสตร์โดยแท้ ทั้งนี้ตามรากฐานความคิดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถอธิบายได้ดังนี้
1) วิชาสังคมวิทยากฎหมาย เป็นวิชาการที่ศึกษาและพรรณากฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็นปรากฏการณ์ของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม (โลกแห่งความเป็นจริง)
2) วิชานิติปรัชญา เป็นวิชาการที่มุ่งศึกษากฎหมายในแง่ของคุณค่า (โลกแห่งความควรจะต้องเป็น) กล่าวคือมุ่งศึกษาแสวงหากฎหมายที่ควรจะเป็น
3) วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (วิชานิติศาสตร์ในความหมายอย่างแคบ) เป็นคำสอนทั้งหลายทั้งปวงเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง ซึ่งมีความเชื่อมโยงหรืออ้างอิงถึงคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมาย วิชานิติศาสตร์โดยแท้จึงเป็นวิชาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างวิชาการที่ศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์จริงในโลกของความเป็นจริงกับวิชาการที่มุ่งแสวงหากฎหมายที่ควรจะเป็นในแง่ของวัตถุที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้มุ่งศึกษา “กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง” ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ที่ได้รับการตราขึ้นตามกระบวนการบัญญัติกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในความเป็นจริงและมีผลใช้บังคับในสังคม ในแง่ของ “วิธีการศึกษา” วิชานิติศาสตร์โดยแท้มีวิธีการใช้และการตีความกฎหมายที่มีเป้าหมายในการค้นหาความหมายของบทกฎหมายที่มุ่งไปยังคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมายอาจเรียกว่า “การค้นหาเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย”
2.กุสตาฟ ร้าดบรุค: นิติปรัชญาสายที่ 3
เมื่อพิจารณาข้อความคิดว่าด้วย “กฎหมาย” ของ ร้าดบรุค แล้ว ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้วิเคราะห์ว่าไม่อาจที่จะจัดให้ ร้าดบรุค สังกัดอยู่ในสำนักกฎหมายบ้านเมืองหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติได้ ตามทรรศนะของสำนักกฎหมายบ้านเมือง กฎหมายคือกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานที่ได้รับการกำหนดโดยถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการ ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงว่ากฎหมายที่ได้รับการกำหนดขึ้นนั้นจะมีเนื้อหาอย่างไร สำหรับ ร้าดบรุค แล้วบรรทัดฐานใดบรรทัดฐานหนึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายก็ต่อเมื่อบรรทัดฐานดังกล่าวนั้นเป็นบรรทัดฐานที่มุ่งไปยังมโนคติแห่งกฎหมาย นั่นคือ “ความยุติธรรม” ไม่ใช่บรรทัดฐานที่มีเนื้อหาอย่างไรก็ได้ แม้กระนั้นเราก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าทรรศนะดังกล่าวของ ร้าดบรุค เป็นทรรศนะของนักคิดในสำนักกฎหมายธรรมชาติ เพราะ “กฎหมาย” ในทรรศนะของ ร้าดบรุค ไม่ใช่สิ่งเดียวกับความยุติธรรมซึ่งถือเป็นคุณค่าอันสัมบูรณ์ บรรทัดฐานที่มุ่งตรงไปยังมโนคติแห่งความถูกต้องเป็นธรรม แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับมโนคติดังกล่าวอย่างเต็มที่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายธรรมชาติคลาสสิค) ที่เห็นว่าบรรทัดฐานใดบรรทัดฐานหนึ่งจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อบรรทัดฐานนั้นสอดคล้องกับความยุติธรรมอย่างสมบูรณ์
ร้าดบรุค สร้าง “นิติปรัชญาสายที่ 3” คือ แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมืองและความคิดแบบสำนักกฎหมายธรรมชาติจากการประสานคุณค่า อยู่ 2 ประการระหว่างความยติธรรมกับหลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย ดังนี้
2.1 ความยุติธรรม
ความยุติธรรม (Justice) ซึ่งแสดงออกอย่างสมบูรณ์ในรูปของหลักความเสมอภาค อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่เราไม่อาจหา “มาตร” ในการชี้ว่าอย่างไรเสมอภาคหรือไม่เสมอภาคได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับความยุติธรรม เราจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์ของความยุติธรรมบนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคมให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (Purposiveness) ที่จะต้องพิจารณา “คุณค่าส่วนบุคคล” “คุณค่าส่วนรวม” (ประโยชน์สาธารณะ) และ “คุณค่าของงาน” มาเป็นเครื่องช่วยในการกำหนดเนื้อหาของความยุติธรรมนั้น ซึ่งการกำหนดการชั่งน้ำหนักของคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้อาศัยความรู้ทางวิชาการแต่อาศัยการยอมรับในทางการเมืองและจริยธรรม แต่อย่างไรก็ตามความยุติธรรมที่เป็นความเชื่อและความศรัทธามีลักษณะสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปตาม “ประวัติศาสตร์” และ “สังคม” ซึ่งความไม่แน่นอนของคุณค่าที่ได้กล่าว ข้างต้นจะได้รับการขจัดไปโดยหลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย
2.2 หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย
หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย (Legal Certainty) อันเป็นหลักการที่มีคุณค่าเสมอกันกับหลักการความยุติธรรม เป็นการตัดสินใจที่ผูกพันคนในสังคมและชี้ว่าสิทธิหน้าที่ต่างๆ ดำรงอยู่อย่างไร หากพิจารณาแนวคิดในทางนิติปรัชญาแล้วจะพบว่าสำนักกฎหมายบ้านเมืองถือเอาหลักความมั่นคงเด็ดขาดแห่งกฎหมายอันเกิดจากการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายเป็นหลักการเดียวที่มีคุณค่าสูงสุด ในกฎหมายนั้นจะไม่ยุติธรรม “กฎหมายนั้นก็มีค่าบังคับ” (Legal Validity) ที่บุคคลต้องปฏิบัติตาม ในขณะที่ “สำนักกฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law School) “เชื่อถือศรัทธาต่อหลักความยุติธรรมไม่เปลี่ยนแปลง” หากกฎหมายใดขัดกับหลักความยุติธรรมแล้วบุคคลหามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวไม่
3.ข้อวิจารณ์แนวคิดกุสตาฟ ร้าดบรุค
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า ร้าดบรุค จะคำนึงถึงคุณค่าของหลักความมั่นคงแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม แต่หากเกิดความขัดแย้งกันขึ้นระหว่างหลักการทั้ง 2 ประการ คือ ความขัดแย้งระหว่างความยุติธรรมกับความมั่นคงแห่งกฎหมาย กฎหมายที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ร้าดบรุค จะเลือกเดินทางใด ในช่วงก่อนที่รัฐบาลนาซีจะขึ้นเถลิงอำนาจในเยอรมัน อันเป็นช่วงที่ ร้าดบรุค ยังอยู่ในวัยหนุ่มนั้น ร้าดบรุค ให้ความสำคัญกับ “หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย” อย่างมาก แม้กระนั้นก็เห็นได้จากงานเขียนในช่วงนั้น (ค.ศ.1914) ว่า ร้าดบรุค ไม่ได้ยอมรับค่าบังคับของกฎหมายที่เห็นประจักษ์ชัดว่าไม่ถูกต้อง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประสบการณ์อันขมขื่นที่เกิดขึ้นในยุคที่รัฐบาลนาซีครองอำนาจ หลังจากฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้มีอำนาจปกครองเยอรมันได้ทำหนังสือลงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ปลด กุสต๊าฟ ร้าบรุค จากตำแหน่งศาตราจารย์ มหาวิทยาลัยไฮเดนเบริ์ก ภายใต้กฎหมายที่ตราโดยรัฐบาลฮิตเลอร์ (รัฐบัญญัติว่าด้วยการรื้อฟื้นจารีตธรรมเนียมแห่งอาชีพข้ารัฐการ) โดยไม่ปรากฏเหตุผลของการปลดออกว่าเหตุใดถึงปลดออก หลังจากเขาถูกปลดได้มีการยึดค้น เอกสาร จดหมาย หนังสือและทรัพย์สินอื่นๆไป และยังถูกเพิกถอนหนังสือการเดินทางไปด้วยทำให้ ร้าดบรุค หันมาให้น้ำหนักกับ “หลักความยุติธรรม” มากขึ้น แม้กระนั้นก็ต้องเข้าใจว่า ร้าดบรุค ไม่ได้ทิ้งความคิด “นิติปรัชญาสายที่ 3” ของตนและหันไปยอมรับนับถือข้อความคิดว่าด้วยกฎหมาย “สำนักกฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law School) แทน ร้าดบรุค ไม่เคยยอมนำหลักการว่าด้วยความมั่นคงแห่งกฎหมายอันเป็น “มโนคติทางกฎหมาย” ที่สำคัญไป “เซ่นสังเวย” กฎหมายธรรมชาติที่ยังคงเต็มไปด้วยความคลุมเครือในแง่เนื้อหาแต่อย่างใด
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า “บรรทัดฐานใดจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายหรือไม่” นั้น ร้าดบรุค อธิบายถึง คุณค่าของหลักความมั่นคงแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม จะเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานใดจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม จะพบว่ามาจากความขัดแย้งกันขึ้น คือ ความขัดแย้งระหว่างความยุติธรรมกับความมั่นคงแห่งกฎหมาย น่าจะต้องแก้ไขคลี่คลายโดยการให้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมือง อันเป็นกฎหมายที่ได้รับการตราขึ้นตามกฎเกณฑ์และโดยมีอำนาจนั้นอยู่ในฐานะเหนือกว่า ถึงแม้ว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นจะมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าความขัดแย้งระหว่างกฎหมายที่ตราขึ้นกับความยุติธรรมอยู่ในระดับที่ไม่อาจทนทานได้อีกต่อไป หากเป็นดังนั้นกฎหมายที่ตราขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม จะต้องจำนนต่อความยุติธรรม การขีดเส้นแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างกฎเกณฑ์ที่ตราขึ้นและเป็นกฎเกณฑ์ที่ “อยุติธรรม” ซึ่งไร้ผลบังคับกับกฎหมายที่แม้จะมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็ยังถือว่าเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้ เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้แม้กระนั้นก็ตามเราอาจหาเส้นแบ่งในลักษณะอื่นได้อย่างชัดเจน ที่ใดก็ตามที่ไม่มีความพยายามในการมุ่งแสวงหาความยุติธรรมแม้แต่น้อย ที่ใดก็ตามที่ไม่แยแสใยดีหลักความเสมอภาพอันเป็นแกนของความยุติธรรมในการตรากฎหมาย กฎหมายที่ได้รับการตราขึ้น ณ ที่แห่งนั้นย่อมไม่เป็นเพียงแค่กฎหมายที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องเท่านั้น แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่มีค่าเป็นกฎหมายเลยแม้แต่น้อย เพราะเราไม่สามารถที่จะให้นิยามความหมายของกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นหรือไม่ในลักษณะอื่นได้ นอกจากจะให้นิยามว่า “เป็นระเบียบและกฎเกณฑ์ที่โดยเนื้อแท้แล้วได้รับการกำหนดขึ้นเพื่อรับใช้ความอยุติธรรม”
หลักการที่ ร้าดบรุค ให้ไว้ดังกล่าวนั้น ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนาม “สูตรของร้าดบรุค” (Radbruchsche, Formel, Radbruch Formula) เกณฑ์ดังกล่าวที่ ร้าดบรุค ได้ให้ไว้นั้น ในเบื้องแรกได้รับความสนใจอย่างมากในทางวิชาการ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ใช้เป็น กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติ และในช่วงที่ประเทศเยอรมันรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันใน ค.ศ.1990 สูตรของร้าดบรุค ก็ได้รับการพูดถึงอย่างมากและเป็นแนวทางที่ศาลนำไปใช้ในการตัดสินคดีในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของรัฐที่เกิดขึ้นในเยอรมันตะวันออกช่วงก่อนรวมประเทศด้วย
สรุป ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมหรือปรัชญากฎหมายบ้านเมือง ถือเป็นปรัชญากฎหมายที่ทรงอิทธิพลต่อการปกครองประเทศทุกระบอบการปกครองไม่ว่าจะเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปกครองระบอบเผด็จการและการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถือเอาการปกครองโดยกฎหมาย ถือกฎหมายเป็นใหญ่ในการปกครองประเทศ ซึ่งก็คือ กฎหมายบ้านเองที่ออกมีอำนาจผู้ปกครองที่เรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ “รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจมาจากความยินยอมของประชาชน” กับ “รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจมากการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอำนาจปกครอง” ต่างก็ใช้ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมในการตรากฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามในสังคมประเทศที่ใช้การปกครองระอบประชาธิปไตยต่างให้ความสนใจหรือมุ่งเน้นนำปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมายมาหลอมรวมกับปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ดังที่ กุสตาฟ ร๊าดบรุค เสนอนิติปรัชญากฎหมายสายที่สาม ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกฎหมายปฏิฐานนิยมกับกฎหมายธรรมชาติ เกี่ยวกับความยุติธรรมสอดคล้องกับวัตถุแห่งประสงค์และความมั่นคงแห่งนิติฐานะทางกฎหมาย นำมาอธิบายสร้างแนวคิดระหว่างปรัชญากฎหมายกับการปกครองของรัฐและความสงบสุขของประชาชนและการยอมรับคุณค่าแห่งชีวิตของคนในสังคมตามกฎหมายธรรมชาติ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดของร๊าดบรุค มีบทบาทและความสำคัญต่อการตรากฎหมายในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
วิธีการศึกษา 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
นิติปรัชญาสายที่ 3 :การหลอมรวมปรัชญากฎหมายธรรมชาติเข้ากับปฏิฐานนิยมทางกฎหมายตามแนวคิดของ กุสตาฟ ร้าดบรุค
ที่มา สรุปมาจากบทความของ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “กุสตาฟ ร้าดบรุคกับนิติปรัชญาสายที่สาม” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2545 หน้า 453-468
กุสตาฟ ร้าดบรุค (ค.ศ.1879 – 1949) นักปรัชญากฎหมายชาวเป็นชาวเยอรมนี ได้แนวความคิดนิติปรัชญาสายที่ 3 ขึ้นมาโดยการหลอมรวมแนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมเข้าด้วยกัน ดังนี้
ความคิดเบื้องต้นของกุสตาฟ ร้าดบรุค
กุสตาฟ ร้าดบรุค เริ่มต้นความคิดของเขาจากรากฐานของทฤษฎีความรู้ที่ อิมมานูเอล คานท์ วางไว้ คือ การแยกโลกของ “ความเป็น” ซึ่งเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ทางความเป็นจริงกับโลกของ “ความควรจะต้องเป็น” ซึ่งเป็นโลกของคุณค่าต่างๆ ออกจากกันอย่างเด็ดขาดก็ตาม แต่ในการอธิบายความหมายของกฎหมาย ร้าดบรุค ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่เฉพาะแต่การอธิบายกฎหมายในแง่ของ “ความเป็น” เท่านั้น แต่ยังอภิปรายไปถึงคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมายด้วย แนวทางการอธิบายกฎหมายของ ร้าดบรุค จึงแตกต่างจาก ฮันส์ เคลเซ่น ในสาระสำคัญ ทั้งๆ ที่ยอดนักนิติศาสตร์ของโลกทั้ง 2 คนนี้จัดว่าเป็นพวกคานท์ ใหม่เหมือนกัน เคลเซ่น ตัดการอภิปรายคุณค่าต่างๆ ออกไปจากวิชานิติศาสตร์อย่างสิ้นเชิงและมุ่งอธิบายกฎหมายเฉพาะในแง่รูปแบบ และลำดับชั้นของกฎหมายเท่านั้น เนื่องจาก เคลเซ่น เห็นว่าเรื่องของคุณค่าต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่อาจให้เหตุผลอย่างเป็นศาสตร์ได้ วิชานิติศาสตร์จึงต้องเป็นวิชาการที่พรรณนาและอธิบายกฎหมายที่เป็นอยู่จริงเท่านั้น ไม่ใช่กฎหมายที่ควรจะต้องเป็น ในขณะที่ ร้าด บรุค พยายามที่จะเชื่อมโยงคุณค่าต่างๆ กับการอภิปรายในทางนิติศาสตร์ “กฎหมาย” ในทรรศนะของ ร้าดบรุค จึงไม่ใช่ “ข้อความคิดที่ว่างเปล่าจากคุณค่า” ทำนองเดียวกับวัตถุต่างๆ ในโลกของปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสตร์เฉพาะสาขาต่างๆ มุ่งศึกษาค้นคว้าและอธิบาย แต่ในขณะเดียวกัน “กฎหมาย” ก็ไม่ใช่ “ ข้อความคิดในทางคุณค่า” หรือเป็นสิ่งเดียวกับข้อความคิดในทางคุณค่า (ความยุติธรรม) ซึ่งเป็นสิ่งที่วิชาปรัชญามุ่งศึกษาค้นคว้า สำหรับ ร้าดบรุค แล้ว “กฎหมายเป็นข้อความคิดทางวัฒนธรรม” กล่าวคือ เป็นข้อความคิดของโลกแห่งปรากฏการณ์หรือโลกแห่งความเป็นที่อ้างอิงเกาะเกี่ยวกันคุณค่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง “กฎหมายคือความเป็นจริงที่เชื่อมโยงคุณค่า” เป็นข้อความคิดที่มีความหมายในการรับใช้ความถูกต้อง ความยุติธรรม ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายจึงเป็นข้อความคิดที่มุ่งตรงไปหามโนคติแห่งกฎหมาย (ความยุติธรรม) ไม่ใช่สิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวขาดความเชื่อมโยงกับคุณค่าใดๆ
ในแง่ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย ร้าดบรุค แยกพิจารณาออกเป็น 3 ส่วน คือ วิชาสังคมวิทยากฎหมาย วิชานิติปรัชญาและวิชานิติศาสตร์โดยแท้ ทั้งนี้ตามรากฐานความคิดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถอธิบายได้ดังนี้
1) วิชาสังคมวิทยากฎหมาย เป็นวิชาการที่ศึกษาและพรรณากฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็นปรากฏการณ์ของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม (โลกแห่งความเป็นจริง)
2) วิชานิติปรัชญา เป็นวิชาการที่มุ่งศึกษากฎหมายในแง่ของคุณค่า (โลกแห่งความควรจะต้องเป็น) กล่าวคือมุ่งศึกษาแสวงหากฎหมายที่ควรจะเป็น
3) วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (วิชานิติศาสตร์ในความหมายอย่างแคบ) เป็นคำสอนทั้งหลายทั้งปวงเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง ซึ่งมีความเชื่อมโยงหรืออ้างอิงถึงคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมาย วิชานิติศาสตร์โดยแท้จึงเป็นวิชาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างวิชาการที่ศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์จริงในโลกของความเป็นจริงกับวิชาการที่มุ่งแสวงหากฎหมายที่ควรจะเป็นในแง่ของวัตถุที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้มุ่งศึกษา “กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง” ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ที่ได้รับการตราขึ้นตามกระบวนการบัญญัติกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในความเป็นจริงและมีผลใช้บังคับในสังคม ในแง่ของ “วิธีการศึกษา” วิชานิติศาสตร์โดยแท้มีวิธีการใช้และการตีความกฎหมายที่มีเป้าหมายในการค้นหาความหมายของบทกฎหมายที่มุ่งไปยังคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมายอาจเรียกว่า “การค้นหาเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย”
2.กุสตาฟ ร้าดบรุค: นิติปรัชญาสายที่ 3
เมื่อพิจารณาข้อความคิดว่าด้วย “กฎหมาย” ของ ร้าดบรุค แล้ว ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้วิเคราะห์ว่าไม่อาจที่จะจัดให้ ร้าดบรุค สังกัดอยู่ในสำนักกฎหมายบ้านเมืองหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติได้ ตามทรรศนะของสำนักกฎหมายบ้านเมือง กฎหมายคือกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานที่ได้รับการกำหนดโดยถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการ ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงว่ากฎหมายที่ได้รับการกำหนดขึ้นนั้นจะมีเนื้อหาอย่างไร สำหรับ ร้าดบรุค แล้วบรรทัดฐานใดบรรทัดฐานหนึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายก็ต่อเมื่อบรรทัดฐานดังกล่าวนั้นเป็นบรรทัดฐานที่มุ่งไปยังมโนคติแห่งกฎหมาย นั่นคือ “ความยุติธรรม” ไม่ใช่บรรทัดฐานที่มีเนื้อหาอย่างไรก็ได้ แม้กระนั้นเราก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าทรรศนะดังกล่าวของ ร้าดบรุค เป็นทรรศนะของนักคิดในสำนักกฎหมายธรรมชาติ เพราะ “กฎหมาย” ในทรรศนะของ ร้าดบรุค ไม่ใช่สิ่งเดียวกับความยุติธรรมซึ่งถือเป็นคุณค่าอันสัมบูรณ์ บรรทัดฐานที่มุ่งตรงไปยังมโนคติแห่งความถูกต้องเป็นธรรม แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับมโนคติดังกล่าวอย่างเต็มที่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายธรรมชาติคลาสสิค) ที่เห็นว่าบรรทัดฐานใดบรรทัดฐานหนึ่งจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อบรรทัดฐานนั้นสอดคล้องกับความยุติธรรมอย่างสมบูรณ์
ร้าดบรุค สร้าง “นิติปรัชญาสายที่ 3” คือ แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมืองและความคิดแบบสำนักกฎหมายธรรมชาติจากการประสานคุณค่า อยู่ 2 ประการระหว่างความยติธรรมกับหลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย ดังนี้
2.1 ความยุติธรรม
ความยุติธรรม (Justice) ซึ่งแสดงออกอย่างสมบูรณ์ในรูปของหลักความเสมอภาค อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่เราไม่อาจหา “มาตร” ในการชี้ว่าอย่างไรเสมอภาคหรือไม่เสมอภาคได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับความยุติธรรม เราจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์ของความยุติธรรมบนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคมให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (Purposiveness) ที่จะต้องพิจารณา “คุณค่าส่วนบุคคล” “คุณค่าส่วนรวม” (ประโยชน์สาธารณะ) และ “คุณค่าของงาน” มาเป็นเครื่องช่วยในการกำหนดเนื้อหาของความยุติธรรมนั้น ซึ่งการกำหนดการชั่งน้ำหนักของคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้อาศัยความรู้ทางวิชาการแต่อาศัยการยอมรับในทางการเมืองและจริยธรรม แต่อย่างไรก็ตามความยุติธรรมที่เป็นความเชื่อและความศรัทธามีลักษณะสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปตาม “ประวัติศาสตร์” และ “สังคม” ซึ่งความไม่แน่นอนของคุณค่าที่ได้กล่าว ข้างต้นจะได้รับการขจัดไปโดยหลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย
2.2 หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย
หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย (Legal Certainty) อันเป็นหลักการที่มีคุณค่าเสมอกันกับหลักการความยุติธรรม เป็นการตัดสินใจที่ผูกพันคนในสังคมและชี้ว่าสิทธิหน้าที่ต่างๆ ดำรงอยู่อย่างไร หากพิจารณาแนวคิดในทางนิติปรัชญาแล้วจะพบว่าสำนักกฎหมายบ้านเมืองถือเอาหลักความมั่นคงเด็ดขาดแห่งกฎหมายอันเกิดจากการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายเป็นหลักการเดียวที่มีคุณค่าสูงสุด ในกฎหมายนั้นจะไม่ยุติธรรม “กฎหมายนั้นก็มีค่าบังคับ” (Legal Validity) ที่บุคคลต้องปฏิบัติตาม ในขณะที่ “สำนักกฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law School) “เชื่อถือศรัทธาต่อหลักความยุติธรรมไม่เปลี่ยนแปลง” หากกฎหมายใดขัดกับหลักความยุติธรรมแล้วบุคคลหามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวไม่
3.ข้อวิจารณ์แนวคิดกุสตาฟ ร้าดบรุค
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า ร้าดบรุค จะคำนึงถึงคุณค่าของหลักความมั่นคงแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม แต่หากเกิดความขัดแย้งกันขึ้นระหว่างหลักการทั้ง 2 ประการ คือ ความขัดแย้งระหว่างความยุติธรรมกับความมั่นคงแห่งกฎหมาย กฎหมายที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ร้าดบรุค จะเลือกเดินทางใด ในช่วงก่อนที่รัฐบาลนาซีจะขึ้นเถลิงอำนาจในเยอรมัน อันเป็นช่วงที่ ร้าดบรุค ยังอยู่ในวัยหนุ่มนั้น ร้าดบรุค ให้ความสำคัญกับ “หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย” อย่างมาก แม้กระนั้นก็เห็นได้จากงานเขียนในช่วงนั้น (ค.ศ.1914) ว่า ร้าดบรุค ไม่ได้ยอมรับค่าบังคับของกฎหมายที่เห็นประจักษ์ชัดว่าไม่ถูกต้อง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประสบการณ์อันขมขื่นที่เกิดขึ้นในยุคที่รัฐบาลนาซีครองอำนาจ หลังจากฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้มีอำนาจปกครองเยอรมันได้ทำหนังสือลงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ปลด กุสต๊าฟ ร้าบรุค จากตำแหน่งศาตราจารย์ มหาวิทยาลัยไฮเดนเบริ์ก ภายใต้กฎหมายที่ตราโดยรัฐบาลฮิตเลอร์ (รัฐบัญญัติว่าด้วยการรื้อฟื้นจารีตธรรมเนียมแห่งอาชีพข้ารัฐการ) โดยไม่ปรากฏเหตุผลของการปลดออกว่าเหตุใดถึงปลดออก หลังจากเขาถูกปลดได้มีการยึดค้น เอกสาร จดหมาย หนังสือและทรัพย์สินอื่นๆไป และยังถูกเพิกถอนหนังสือการเดินทางไปด้วยทำให้ ร้าดบรุค หันมาให้น้ำหนักกับ “หลักความยุติธรรม” มากขึ้น แม้กระนั้นก็ต้องเข้าใจว่า ร้าดบรุค ไม่ได้ทิ้งความคิด “นิติปรัชญาสายที่ 3” ของตนและหันไปยอมรับนับถือข้อความคิดว่าด้วยกฎหมาย “สำนักกฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law School) แทน ร้าดบรุค ไม่เคยยอมนำหลักการว่าด้วยความมั่นคงแห่งกฎหมายอันเป็น “มโนคติทางกฎหมาย” ที่สำคัญไป “เซ่นสังเวย” กฎหมายธรรมชาติที่ยังคงเต็มไปด้วยความคลุมเครือในแง่เนื้อหาแต่อย่างใด
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า “บรรทัดฐานใดจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายหรือไม่” นั้น ร้าดบรุค อธิบายถึง คุณค่าของหลักความมั่นคงแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม จะเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานใดจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม จะพบว่ามาจากความขัดแย้งกันขึ้น คือ ความขัดแย้งระหว่างความยุติธรรมกับความมั่นคงแห่งกฎหมาย น่าจะต้องแก้ไขคลี่คลายโดยการให้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมือง อันเป็นกฎหมายที่ได้รับการตราขึ้นตามกฎเกณฑ์และโดยมีอำนาจนั้นอยู่ในฐานะเหนือกว่า ถึงแม้ว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นจะมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าความขัดแย้งระหว่างกฎหมายที่ตราขึ้นกับความยุติธรรมอยู่ในระดับที่ไม่อาจทนทานได้อีกต่อไป หากเป็นดังนั้นกฎหมายที่ตราขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม จะต้องจำนนต่อความยุติธรรม การขีดเส้นแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างกฎเกณฑ์ที่ตราขึ้นและเป็นกฎเกณฑ์ที่ “อยุติธรรม” ซึ่งไร้ผลบังคับกับกฎหมายที่แม้จะมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็ยังถือว่าเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้ เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้แม้กระนั้นก็ตามเราอาจหาเส้นแบ่งในลักษณะอื่นได้อย่างชัดเจน ที่ใดก็ตามที่ไม่มีความพยายามในการมุ่งแสวงหาความยุติธรรมแม้แต่น้อย ที่ใดก็ตามที่ไม่แยแสใยดีหลักความเสมอภาพอันเป็นแกนของความยุติธรรมในการตรากฎหมาย กฎหมายที่ได้รับการตราขึ้น ณ ที่แห่งนั้นย่อมไม่เป็นเพียงแค่กฎหมายที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องเท่านั้น แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่มีค่าเป็นกฎหมายเลยแม้แต่น้อย เพราะเราไม่สามารถที่จะให้นิยามความหมายของกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นหรือไม่ในลักษณะอื่นได้ นอกจากจะให้นิยามว่า “เป็นระเบียบและกฎเกณฑ์ที่โดยเนื้อแท้แล้วได้รับการกำหนดขึ้นเพื่อรับใช้ความอยุติธรรม”
หลักการที่ ร้าดบรุค ให้ไว้ดังกล่าวนั้น ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนาม “สูตรของร้าดบรุค” (Radbruchsche, Formel, Radbruch Formula) เกณฑ์ดังกล่าวที่ ร้าดบรุค ได้ให้ไว้นั้น ในเบื้องแรกได้รับความสนใจอย่างมากในทางวิชาการ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ใช้เป็น กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติ และในช่วงที่ประเทศเยอรมันรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันใน ค.ศ.1990 สูตรของร้าดบรุค ก็ได้รับการพูดถึงอย่างมากและเป็นแนวทางที่ศาลนำไปใช้ในการตัดสินคดีในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของรัฐที่เกิดขึ้นในเยอรมันตะวันออกช่วงก่อนรวมประเทศด้วย
สรุป ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมหรือปรัชญากฎหมายบ้านเมือง ถือเป็นปรัชญากฎหมายที่ทรงอิทธิพลต่อการปกครองประเทศทุกระบอบการปกครองไม่ว่าจะเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปกครองระบอบเผด็จการและการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถือเอาการปกครองโดยกฎหมาย ถือกฎหมายเป็นใหญ่ในการปกครองประเทศ ซึ่งก็คือ กฎหมายบ้านเองที่ออกมีอำนาจผู้ปกครองที่เรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ “รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจมาจากความยินยอมของประชาชน” กับ “รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจมากการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอำนาจปกครอง” ต่างก็ใช้ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมในการตรากฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามในสังคมประเทศที่ใช้การปกครองระอบประชาธิปไตยต่างให้ความสนใจหรือมุ่งเน้นนำปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมายมาหลอมรวมกับปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ดังที่ กุสตาฟ ร๊าดบรุค เสนอนิติปรัชญากฎหมายสายที่สาม ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกฎหมายปฏิฐานนิยมกับกฎหมายธรรมชาติ เกี่ยวกับความยุติธรรมสอดคล้องกับวัตถุแห่งประสงค์และความมั่นคงแห่งนิติฐานะทางกฎหมาย นำมาอธิบายสร้างแนวคิดระหว่างปรัชญากฎหมายกับการปกครองของรัฐและความสงบสุขของประชาชนและการยอมรับคุณค่าแห่งชีวิตของคนในสังคมตามกฎหมายธรรมชาติ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดของร๊าดบรุค มีบทบาทและความสำคัญต่อการตรากฎหมายในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
วิธีการศึกษา 在 มข. ปรับการศึกษาครั้งใหญ่ เน้นพัฒนาหลักสูตร และวิธีการ ... - YouTube 的推薦與評價
มข. ปรับ การศึกษา ครั้งใหญ่ เน้นพัฒนาหลักสูตร และ วิธี การเรียนรู้ มุ่งสู่ High Quality Education. 228 views · 1 month ago ...more ... ... <看更多>