อุเบกขา การมีสติ ดำรงตนในฆราวาสธรรม มีความรู้ ประสบการณ์ เพื่อขับเคลื่อน ดำเนินชีวิต
เราไม่ได้เกิดมาชาตินี้ ชาติเดียว และไม่ใช่ชาติสุดท้าย ในทางธรรม เราไม่ต้องสุดโต่ง เราค่อยๆ อบรมขัดเกลา กาย วาจา จิต ด้วยธรรมของฆราวาส ไม่ใช่ ธรรมของพระสงฆ์ ศีลสำหรับ ฆราวาสมี 5 ข้อ ศีลของพระสงฆ์มี 227 ข้อ สามเณร มี 10 ข้อ ฯลฯ
วิถี ที่ดำเนิน มีทั้งประเพณี วัฒนธรรม ที่ดีงาม ของประเทศ ของชาติ เป็นแนวทางมาแต่ บรรพบุรุษ บรรพสตรี แยกไปตามท้องถิ่น ภูมิภาคต่างๆ
ผมเป็นฆราวาส ถือศีล ๕ ขาดบ้างครบบ้าง เหมือน ประชาชนส่วนใหญ่ แต่ ก็พยายาม อบรมขัดเกลา ตน ในหนทาง บุญกิริยาวัตถุ 10 ต่อเนื่อง มีผลประจักษ์เชิงสัมฤทธิ์ ชัดเจน มีคณะศิษย์ สาธุชน มีส่วนร่วม มายาวนาน เกิน 15 ปี แนวทางเช่นนี้ อริยบุคคลในอดีต เช่นท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ท่านวิสาขาอุบาสิกา พึงปฏิบัติ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เช่นพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พึงปฏิบัติ มาแต่สมัยพุทธกาล ทันพระพุทธองค์ ไม่มี ใคร เอาแบบ สุดโต่ง แบบ ต้องตัดโลก ละความเป็นฆราวาส และออกบวช ทันที ทั้งมวลนี้ คือ วิถี แห่งฆราวาส ผู้มีธรรม มีความพอดี ได้สะสมบุญกิริยา อบรมขัดเกลาตน สุดท้าย ย่อมไป เวียนไป ในภพภูมิที่ดี และ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด
ในวัย 50 ปี ผมไม่ ออกตำหนิ บริภาษ พระภิกษุสงฆ์(ผู้มีศีล 227) เพราะ ผมเป็นฆราวาส มีศีลน้อยกว่าท่าน แต่ ก็รับรู้ได้ และเห็นถึง ความไม่งามในศีลในธรรม และความไม่งามในอาจาระ(กิริยา อาการของพระสงฆ์) สุดท้ายเเล้ว จะบังเกิดความเสื่อมขึ้นในตน ของท่านเอง (กรรมอันใดผู้ใดกระทำ กรรมนั้นๆย่อมตกต้องกับผู้กระทำ ) ผู้ปกครอง(ที่มีศีลเสมอกัน) ไม่ควบคุมจัดการ ต่อไปก็ไม่มีอำนาจในการปกครอง ที่อันสูงกลายเป็นของเล่นหัวได้ กลายเป็นของตำ่ สารพัด ไม่มี ความ สงบ ร่มเย็น ปิติสุข ในทางธรรม เกิดขึ้น จะกลายเป็น วุ่นวายจริงหนอ เราเป็นฆราวาส เรายังแสวงหาความสงบ
ปิติสุข สุขในทางธรรม เป็นความสงบ ร่มเย็น สบายกาย สบายใจ โดยไม่ต้องมีการปรุงแต่ง เล้าประโลม ด้วยสิ่งใดๆ คือ สิ่งที่ ตัวผมได้เคยฝึกปฏิบัติ กรรมฐานกับหลวงพ่อบุญมา จ.ชัยภูมิ เมื่อครั้งบวชและตั้งใจไปปฏิบัติ จนได้มาเป็น แนวทางในการปฏิบัติ ตามกาล หลังจากลาสิกขา จนถึงปัจจุบัน
สรรพสิ่งไม่เที่ยง ทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง มีเกิดขึ้น และต้องดับไป ใกล้ถึงเวลา ปริวรรต เปลี่ยนแปลง ไปตามสัจธรรม ขอให้ธรรมจงรักษา ผู้มีธรรม บุญจงรักษาผู้สร้างบุญ
วันที่ 28 กันยายนนี้ จุดเริ่มต้น การปริวรรต ของดาวพฤหัสบดี ตามหลักสถิติโหร ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างจะดีขึ้น ครับ
ลักษณ์ ราชสีห์
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過265萬的網紅WOODY,也在其Youtube影片中提到,UNHCR มีแนวคิดนำหลักธรรมและคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ประสบความยากลำบาก โดยเฉพาะผู้ลี้ภัย มาเป็นแนวทางแก่พุทธศาสนิ...
อุเบกขา คือ 在 Facebook 的最佳解答
สงบ นิ่ง ตั้งสติ เตรียมพร้อม ในห้วงเวลาที่ วิกฤติ น่ากลัว เลวร้าย สุดท้ายมันจะผ่านไป...
ครบรอบ 50 ปี และ 30 ปีในวิถีโหรของผม ผ่านทุกข์ ทุกข์ทรมาน มากน้อย ต่างกันไปเหมือนกับทุกๆคนครับ ตั้งแต่ปี 2559 ดาวมฤตยู โคจรทับชะตาโลกชะตาเมือง รอบเดียวในชีวิต (ยกเว้น คนที่อายุยืน 84 ปี ขึ้นไป)ในรอยต่ออายุ 40-50 ปีของผม ครูบาอาจารย์ สอนว่า ในยามแบบนี้ จะมีเรื่องวิปโยค ทั้งใกล้ ไกล ตัวเราสารพัดสารพัน แล้วมันจะอยู่กับเราแบบ วนๆ ไป 7 ปี นั่นหมายถึง ช่วงปี 2559-2565 อีกนิดปี2566(ต้นปีราวสงกรานต์)
ผมถามครูบาอาจารย์ ว่า "แล้วเราควรทำอย่างไรครับ"
"ตั้งสติ รู้รึกษาตัวรอดเป็นยอดดี" เป็นคำตอบสั้นๆ
เราคนไทย ชาติเชื้อ เชื้อชาติไทย เจอเรื่องวิปโยค โศกโศกาอาดูร ตั้งแต่ ย่างแรก ของดาวมฤตยูโคจร ทับ ดวงชะตาโลก ชะตาเมือง ตามวัฏฏะ ในรอบ 84 ปีตามคัมภีร์โหรจริงๆ และมีสารพัด สารพันเรื่องราว จนมาถึง วิกฤติ เรื่อง โรคระบาด โควิด 19 ที่ไม่ใช่ แค่เราคนไทย แต่ ทั้งโลก โดนเหมือนกันหมด
ผมต้องพิจารณา ตั้งสติ ให้รอบคอบรอบด้าน ในการ "พูด หรือแสดงทัศนะอะไร" เพราะ การสร้างความกลัว ความตื่นตกใจ ให้คณะศิษย์ คนที่ติดตาม นั่นคือ ไม่สมควร ไม่ควรกระทำ ผมจึงเงียบ หายไปบ้าง และ โพสต์สื่อสาร ถึง เรื่องราวที่พอจะเป็น มงคล ขวัญ กำลังใจ ตามวิถี ที่ผมมีความรู้ ประสบการณ์ โดยเฉพาะ เส้นทางสายบุญ และ มงคลหลากหลาย ที่ เป็น มงคลวัตถุ ประเพณี วัฒนธรรม ธรรมชาติ ความรู้ ที่ พอจะส่งต่อ ถึงทุกๆคนได้ และที่สำคัญ ข้อธรรม จากหลวงพ่อสมเด็จธงชัย วัดไตรมิตรฯ"อุเบกขา" ตามสภาวะ ในแต่ละบุคคล ที่ทำให้เรามีสติ สงบ ไม่เดือดร้อน กาย ใจ
วันที่ 28 กันยายนนี้ ตามปฏิทินโหร คัมภีร์สุริยยาตร์ ดาวพฤหัสบดี (๕) จะโคจรยกย้าย อีกครั้ง และ ปริวรรต เพื่อโคจรเดินหน้า ให้ อะไรๆ ดีขึ้น ดีขึ้น แล้วอย่าลืม ว่า ดีในร้าย คือ โอกาส ของผู้ที่มีสติ ผมจะทยอยให้ข้อมูลข่าวสาร ในทางโหราศาสตร์ ตามสายทาง ครูบาอาจารย์ และประสบการณ์ เพื่อเป็น ข้อมูล แนวทาง ขวัญ กำลังใจ ให้ คณะศิษย์ สาธุชนที่ติดตาม อีกครั้ง จากนี้ ทั้ง ในสื่อโซเชียลของผม ตลอดจน สื่ออื่นที่ ให้เกียรติ เชิญผมไปทำหน้าที่
ขอให้ ทุกๆคน มีสติ ขวัญ กำลังใจ และที่สำคัญ ธรรมสำหรับ ฆราวาส เพื่อจะเป็นเครื่อง คุ้มครอง ป้องกัน ตัวเรา ให้รอด ปลอดภัย และ เห็นแสงสว่าง บนการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้น จากนี้ เป็นต้นไป
จาก ปี 2559 ถึงปัจจุบัน เราทุกๆ ร่วมชะตากรรม ที่น่ากลัว กันมามากเกินไปแล้ว
จากนี้ ไปถึงต้นปี 2566 เวลาสั้นกว่า ที่เราทุกๆคน เดินทางมาแล้วนะครับ
ผมขอส่งคำสอนของครูบาอาจารย์ ให้ทุกๆคนอีกครั้ง
"ตั้งสติ รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี"
แล้วพบกันครับ ด้วยความปรารถนาดี
ลักษณ์ ราชสีห์
ติดตามไลฟ์สด วันศุกร์ 17 กันยายนนี้ เวลา 18.00 น.เป็นต้นไปครับ
อุเบกขา คือ 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นพรหมวิหารสี่
ก่อนไปถึง 'อุเบกขา' อยากชวนคุยถึงคำที่องค์ทะไลลามะพูดบ่อยที่สุดคำหนึ่งนั่นคือ compassion (กรุณา)
ท่านเขียนไว้ในหนังสือ 'Beyond Religion' / 'ข้ามพ้นศาสนา' ในหัวข้อเกี่ยวกับความยุติธรรมอย่างน่าสนใจ ที่นึกถึงองค์ทะไลลามะเพราะท่านคือนักบวชที่ใช้ธรรมะมาคลุกเคล้าเข้ากับสังคมการเมืองและความทุกข์ในชีวิตอยู่เสมอ ในแง่หนึ่งท่านคือผู้ถูกกระทำจากรัฐบาลจีนกระทั่งต้องเดินทางออกจากบ้านตนเอง
ท่านกล่าวว่า ความกรุณาเป็นฐานให้ระบบโลกวิสัยได้ หลายคนมองกรุณาว่าคือให้อภัย อาจขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมซึ่งต้องลงโทษผู้กระทำผิด กรุณามากเข้าอาจทำให้ผู้กระทำผิดไม่ได้รับการลงโทษ
องค์ทะไลลามะชี้ว่าอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะ 'ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์' ไม่ได้บอกให้เรายอมจำนนต่อการกระทำผิดของผู้อื่น หรือก้มหน้ารับความอยุติธรรม ความกรุณาไม่สนับสนุนให้เราอ่อนแอหรือยอมตกเป็นเหยื่อ ตรงกันข้าม, มันต้องอาศัยความแข็งแกร่งและกล้าหาญอย่างสูง
ความกรุณาในมุมท่านทะไลลามะจึงสามารถลุกขึ้นต่อต้านความอยุติธรรมอย่างกล้าหาญโดยไม่รุนแรง
เช่นนี้แล้ว เมื่อเกิดความอยุติธรรมขึ้น เช่น คอร์รัปชั่น การบริหารจัดการที่ผิดพลาด การใช้อำนาจในทางที่ผิด การลัดคิวให้ผู้มีอภิสิทธิ์ หรือการกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุโดยไม่ปฏิบัติตามหลักสากล เราสามารถต่อสู้กับความอยุติธรรมนั้นได้ด้วยหัวใจที่มีกรุณา มิใช่ให้อภัยหรือลืมๆ ไป
ในนิยามขององค์ทะไลลามะ การต่อสู้ด้วยกรุณาคือเน้นไปที่ 'การกระทำ' พยายามเปลี่ยนการกระทำชั่วของผู้กระทำให้กลายเป็นสิ่งถูกต้อง
ธรรมะจึงคลุกเคล้าอยู่กับชีวิต
เปื้อนดิน เปื้อนฝุ่น เจ็บปวด รู้สึกรู้สากับบาดแผล สะเทือนใจกับน้ำตา สั่นสะเทือนกับความตายและการสูญเสีย
...
เช่นนี้แล้ว อุเบกขาคืออะไร
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนไว้
แต่ถ้าคนมีธรรมะจะลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรมอย่างมีกรุณา ก็น่าจะสู้อย่างมีอุเบกขาได้เหมือนกัน อาจคล้ายกับคำพระที่บอกว่า 'รู้-แต่ไม่รู้สึก' ซึ่งปุถุชนไม่ใช่จะเป็นแบบนั้นได้ง่ายๆ (ผมนี่รู้สึกอยู่ตลอด)
นั่นคือต่อสู้กับความอยุติธรรมโดยไม่ให้กระทบใจตัวเอง แน่นอนว่าไม่ใช่การวางเฉย หรือไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ส่วนตัวแล้วคิดว่าสามารถเข้าไปร่วมขัดแย้งได้ ในเมื่อขัดแย้งกับความไม่ถูกต้อง แต่ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกนั้นก่อให้เกิดเจตนาร้ายต่ออีกฝ่าย เช่น ทำร้ายร่างกายหรือฆ่าฟัน (อันนี้ใช่ว่าทุกคนจะทำได้)
ดังที่องค์ทะไลลามะและผู้ติดตามท่านไม่เคยยอมรับการยึดครองอธิปไตยทิเบตของจีน เห็นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง กระนั้นก็ต่อสู้ด้วยหัวใจของนักปฏิบัติภาวนา
...
ที่พูดมามิใช่ว่าทำได้ ตรงกันข้าม, ทำไม่ได้เลยต่างหาก ยังโกรธเกรี้ยว หงุดหงิด บางทีก็ไม่มีกรุณา และบางคราก็ประสงค์ร้าย (ไม่สิ ไม่ควร) แต่แค่อยากหารือกับมิตรสหายว่า ธรรมะอย่างพรหมวิหารสี่นั้นสามารถนำมาปรับใช้เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมและการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้โดยไม่ลอยอยู่เหนือโลก
หากเราตีความว่า 'เมตตา' คือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข 'กรุณา' คือปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ธรรมสองข้อนี้น่าจะทำให้หัวใจของเราสั่นไหวเมื่อเห็นคนถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกระทำ ถูกกระสุนยาง แก๊สน้ำตา ถูกแย่งวัคซีน หรือสูญเสียญาติมิตรในชีวิต
หัวใจที่สั่นไหวต่อความทุกข์ของเพื่อนร่วมสังคม น่าจะเป็นหัวใจที่มีเมตตากรุณา ใช้หัวใจนั้นต่อสู้เพื่อความถูกต้องอย่างมีอุเบกขา (ไม่ให้ความรู้สึกมาสร้างอารมณ์รุนแรงในใจ--แน่นอนว่าโคตรยาก) เพื่อสังคมที่เราอยากเห็น
สังคมที่เท่าเทียมน่าจะมีฐานของ 'มุทิตา' อยู่ในนั้น คือยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีชีวิตที่ดี อาจปรับมาใช้กับแนวคิดของการอยากเห็นผู้คนในสังคมมีสวัสดิการชีวิตที่ดี เกิดรัฐสวัสดิการขึ้น เพราะรู้สึกดีที่คนจนคนด้อยโอกาสมีมาตรฐานในการเรียนการรักษาพยายาลและโอกาสต่างๆ ดีขึ้น--เช่นนี้คือมุทิตาจิตใช่หรือไม่
...
พรหมวิหารสี่ คือ ที่อยู่ของพรหม
นั่นคือที่ที่ได้ดำรงชีวิตอย่างประเสริฐต่อตัวเองและผู้อื่น
จะว่าไปมันอาจหมายถึงสังคมที่ดี มีความเป็นธรรม มีความเท่าเทียม ไม่กระทำรุนแรงต่อประชาชน ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด ไม่เขียนกฎหมายเข้าข้างตัวเอง ไม่เอาเปรียบเสียงจากประชาชนโดยมีอีก 250 เสียงตุนไว้ ก่อให้เกิดบ้านเมืองที่อยู่กันได้อย่างสันติ ยุติธรรม เคารพและให้เกียรติให้ความแตกต่างหลากหลาย เกื้อกูลให้คนด้อยโอกาสมีโอกาสเสมอหน้ากัน
ไม่แน่ใจว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดตีความถูกต้องหรือไม่ แต่อยากโยนความคิดลงไปเพื่อหารือกัน และคิดว่าถ้าเราสามารถนำธรรมะมาปรับใช้กับสังคมได้โดยไม่ละเลยความทุกข์ยากของผู้คนและสิ่งบิดเบี้ยวที่เกิดขึ้นในสังคม ธรรมะนั้นก็น่าจะใกล้ชิดกับชีวิตจริง
จึงแอบหวังให้ 'อุเบกขา' มาพร้อม 'เมตตา กรุณา และมุทิตา' ด้วย
อุเบกขา คือ 在 WOODY Youtube 的最讚貼文
UNHCR มีแนวคิดนำหลักธรรมและคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ประสบความยากลำบาก โดยเฉพาะผู้ลี้ภัย มาเป็นแนวทางแก่พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติตาม โดยเฉพาะพรหมวิหารธรรม 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพื่อช่วยเติมความหวังและทำให้โลกเป็นโลกแห่งการช่วยเหลือ ต้องการช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันเพื่อเยียวยาความสูญเสีย และเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น