การท่องเที่ยวไทย ต้องปรับตัวอย่างไร หลังCOVID-19
เมื่อมีแนวโน้มว่า คนจีน นักท่องเที่ยวเบอร์1ของไทย มาไทยน้อยลง
.
อย่างที่เรารับรู้จากสื่อต่างๆ รวมถึงอ้ายจงก็เล่าให้ทุกคนได้ทราบมาโดยตลอด ถึงความPopularของประเทศไทยในหมู่นักท่องเที่ยวจีน ต้องบอกเลยว่า ตั้งแต่ปี 2016-2018 ประเทศไทยเข้าสู่จุดพีค ดังมากๆในจีน ติดอันดับหนึ่ง ประเทศยอดนิยมของชาวจีนมาโดยตลอด สร้างรายได้หลักแสนล้านบาทให้กับประเทศ
.
แต่ก็ต้องบอกกันตามตรง ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และคาดว่าหลังCOVID-19 หากคนจีนกลับมาเที่ยวนอกประเทศจีนอีกครั้งในปีนี้ ไทยเราไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกของนักท่องเที่ยวจีนอีกต่อไป
โดย ช่วงปีสองปีมานี้ ญี่ปุ่นกลายมาเป็นเบอร์1 ในหลายโพลสำรวจของจีน
.
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ตกอันดับ เกาหลีเองที่เคยติด TOP5 มาโดยตลอด ก็เริ่มถูกแทนที่โดยออสเตรเลีย
การมาแรงแซงโค้งของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ทำให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสายท่องเที่ยว เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? นักท่องเที่ยวจีนเริ่มสนใจอะไรในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย?
.
บางคนถึงขั้นมาถามอ้ายจงว่า
“หรือคนจีนจะเริ่ม เบื่อ เมืองไทยซะแล้ว?”
.
สำหรับอ้ายจง มีคำถามเดียวที่คิดว่าเราควรเริ่มและร่วมหาคำตอบกัน
“ประเทศไทยเรา จะปรับกลยุทธ์อย่างไร เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติอื่นเข้ามาเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน”
.
ในฐานะที่ทำงานทางด้านการตลาดจีน และนำเสนอเรื่องราวจีน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวไทยในกลุ่มคนจีน มาโดยตลอด ผนวกกับ ร่วมถก-แชร์ข้อมูลกับทาง Digilink Thailand ตัวแทนอย่างเป็นทางการของ Mafengfo สื่อออนไลน์ด้านท่องเที่ยว FIT ชื่อดังของจีน ทำให้อ้ายจงและทีม
.
# สรุปเหตุผลสำคัญที่อาจเป็นปัจจัยทำให้คนจีนเริ่มไปเที่ยวที่อื่นมากขึ้น นอกเหนือจากประเทศไทย ดังนี้
"การมาของนักท่องเที่ยว Gen Y ผู้เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี"
จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกรุงไทย 80% ของนักท่องเที่ยวจีนอยู่ในช่วง Gen Y วัย 26-40 ปี นับเป็นกลุ่มที่มีอำนาจจับจ่ายมากที่สุด เป็นคนรุ่นที่มีการศึกษา อยู่ในวัยทำงาน และมีรายได้ประจำ คนรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับโลกอินเตอร์เน็ต และเชื่อถือบล็อกท่องเที่ยวที่รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวโดยคนที่ไปเที่ยวจริง ๆ หรือที่เรียกว่า travel blogger มากกว่าหนังสือนำเที่ยว หรือ บริษัททัวร์
.
ธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่ยังพึ่งบริษัททัวร์ ยังเข้าถึงเทคโนโลยี อย่างยิ่งในส่วนที่เจาะกลุ่มเป้าหมายในจีน เช่น สื่อออนไลน์ในประเทศจีน ด้วยเหตุนี้ นำมาซึ่งการเสียโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว Gen Y และกำลังซื้อจำนวนมหาศาล นอกจากนี้นักท่องเที่ยวจีนยังชินกับการชำระเงินแบบไร้เงินสดผ่านคิวอาร์โค้ด แต่ก็ต้องยอมรับว่า มีผู้ประกอบการสายท่องเที่ยวไทยรวมถึงร้านค้า ร้านบริการต่างๆ ยังขาดการรับชำระเงิน WeChat Pay และ Alipay
.
ประเด็นการชำระเงินด้วย QRCode เป็นประเด็นที่มิอาจมองข้ามได้นะครับ เพราะตอนนี้ การชำระเงินแบบไร้เงินสด ไม่ใช่แค่การอำนวยความสะดวก แต่เสมือนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ กล่าวคือ นักท่องเที่ยวจีนแทบจะ100% พกเงินสดน้อยลง ใช้จ่ายผ่านมือถือหรือบัตรเครดิตมากขึ้น ดังนั้น ถ้าเราตอบสนองLifestyleของพวกเขา โอกาสที่เขาจะเลือกเรา ก็สูง
.
“การแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ”
ผลการศึกษาจาก McKinsey and Company บริษัทที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลกระบุว่านักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบันมีรสนิยมที่เปลี่ยนไปจากยุคทัวร์จีนมาก เพราะคนจีนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประสบการณ์โดยรวม ไม่ใช่แค่การShopping หรือการไปเที่ยวสถานที่สำคัญ
.
ผลการศึกษาข้างต้น สัมพันธ์กับผลการสำรวจบน Mafengwo แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวชื่อดังในจีน ที่ระบุว่า นักท่องเที่ยวจีนในปี2020 มีแนวโน้มจะชอบกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การเช่ารถเที่ยวซอกแซกไปที่ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง หรือ กิจกรรมผาดโผน เช่นการเล่นพาราไกลดิง ดำน้ำ ตกปลา
.
และสำหรับ Xiaohongshu อีกหนึ่งแพลตฟอร์มLifestyleที่คนจีนยุคใหม่นิยมใช้ โดยเฉพาะ ช้อป-กิน-เที่ยว ณ ต่างประเทศ เราก็จะได้เห็น คำค้นหาที่ติดเทรนด์บน Xiaohongshu เป็นคำที่เกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยว ,ร้านอาหาร รวมถึง การกิน-การใช้ชีวิต-เข้ารับบริการต่างๆ ในลักษณะของUnseen หรือยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักแต่น่าสนใจ
ถ้าลองสอบถามนักท่องเที่ยวจีน หรือค้นหาข้อมูลเที่ยวไทยในโลกออนไลน์จีน จะพบว่า ประเทศไทยยังคงเด่นเรื่องกิน-เที่ยว-ช้อป แต่มีจังหวัดท่องเที่ยวเด่น ๆ อยู่ไม่กี่จังหวัด ในขณะที่ญี่ปุ่นขึ้นชื่อในเรื่องการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ทุกภูมิภาค การจะปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของนักท่องเที่ยวจีน
.
ขอแนะนำว่า ธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องสร้างจุดสนใจใหม่ ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองรอง โดยในปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในเมืองรองมีการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะ ตราด ที่เพิ่มขึ้นถึง 56% และเชียงราย เพิ่มขึ้น 22% นับเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเมืองเล็กก็พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ประสบการณ์สดใหม่ ตรงใจนักท่องเที่ยว Gen Y ได้
.
"ปัจจัยด้านความปลอดภัย"
ศูนย์วิจัยกรุงไทยระบุว่า ปัจจัยในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของจีนอันดับหนึ่งคือเรื่องอาหารการกิน ตามมาด้วย ความปลอดภัย แม้ว่าประเทศไทยจะโด่งดังในเรื่องสตรีทฟู้ด แต่สถานการณ์โควิดในปีนี้อาจทำให้นักท่องเที่ยวกังวลที่จะรับประทานอาหารริมทาง ในแง่ความปลอดภัยประเทศไทยยังคงเป็นรองหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น
.
เท่าที่อ้ายจงได้รับข้อมูลมา เป็นที่น่ายินดีทีเดียว ที่ตอนนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำลังดำเนินโครงการ SHA (Amazing Thailand Safety & Health Administration) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการสายท่องเที่ยว สร้างมาตรฐานความปลอดภัย แก่ผู้เข้ารับบริการ ซึ่งจุดนี้ สามารถชูเป็นจุดเด่นในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยได้อย่างมั่นใจและสบายใจ
.
# สรุปทิ้งท้าย หากธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน-นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับตัวในหลายด้าน
1. ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี
- หากต้องการโฆษณากับนักท่องเที่ยว Gen Y โซเชียลมีเดียจีน และ บล็อกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือคือสิ่งจำเป็น หากขาดการสื่อสาร นักท่องเที่ยวก็จะไปเที่ยวแต่สถานที่เดิม ๆ จนความนิยมเสื่อมไปในที่สุด
- ธุรกิจท่องเที่ยวต้องรองรับระบบ WeChat Pay หรือ Alipay เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจีน
2. การคมนาคม
- การคมนาคมเป็นสิ่งที่สำคัญหากต้องการพัฒนาเมืองรองเป็นจังหวัดท่องเที่ยว แม้จะมีการสร้างสนามบินในเมืองใหญ่ แต่การเดินทางระหว่างจังหวัดต้องสะดวกสบาย ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
3. มาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย
- ความสะอาดและความปลอดภัยจะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าที่ผ่านๆมา ธุรกิจไทยต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวจีน และปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐอย่างเคร่งครัด
.
อ้ายจงอ้างอิงบางส่วนจาก
- Krungthai Compass
- Mafengwo.cn
- McKinsey and Company
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดจีน #นักท่องเที่ยวจีน
「เที่ยว ตราด unseen」的推薦目錄:
เที่ยว ตราด unseen 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
การท่องเที่ยวไทย ต้องปรับตัวอย่างไร หลังCOVID-19
เมื่อมีแนวโน้มว่า คนจีน นักท่องเที่ยวเบอร์1ของไทย มาไทยน้อยลง
.
อย่างที่เรารับรู้จากสื่อต่างๆ รวมถึงอ้ายจงก็เล่าให้ทุกคนได้ทราบมาโดยตลอด ถึงความPopularของประเทศไทยในหมู่นักท่องเที่ยวจีน ต้องบอกเลยว่า ตั้งแต่ปี 2016-2018 ประเทศไทยเข้าสู่จุดพีค ดังมากๆในจีน ติดอันดับหนึ่ง ประเทศยอดนิยมของชาวจีนมาโดยตลอด สร้างรายได้หลักแสนล้านบาทให้กับประเทศ
.
แต่ก็ต้องบอกกันตามตรง ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และคาดว่าหลังCOVID-19 หากคนจีนกลับมาเที่ยวนอกประเทศจีนอีกครั้งในปีนี้ ไทยเราไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกของนักท่องเที่ยวจีนอีกต่อไป
โดย ช่วงปีสองปีมานี้ ญี่ปุ่นกลายมาเป็นเบอร์1 ในหลายโพลสำรวจของจีน
.
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ตกอันดับ เกาหลีเองที่เคยติด TOP5 มาโดยตลอด ก็เริ่มถูกแทนที่โดยออสเตรเลีย
การมาแรงแซงโค้งของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ทำให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสายท่องเที่ยว เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? นักท่องเที่ยวจีนเริ่มสนใจอะไรในญี่ปุ่นและออสเตรเลีย?
.
บางคนถึงขั้นมาถามอ้ายจงว่า
“หรือคนจีนจะเริ่ม เบื่อ เมืองไทยซะแล้ว?”
.
สำหรับอ้ายจง มีคำถามเดียวที่คิดว่าเราควรเริ่มและร่วมหาคำตอบกัน
“ประเทศไทยเรา จะปรับกลยุทธ์อย่างไร เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติอื่นเข้ามาเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน”
.
ในฐานะที่ทำงานทางด้านการตลาดจีน และนำเสนอเรื่องราวจีน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวไทยในกลุ่มคนจีน มาโดยตลอด ผนวกกับ ร่วมถก-แชร์ข้อมูลกับทาง Digilink Thailand ตัวแทนอย่างเป็นทางการของ Mafengfo สื่อออนไลน์ด้านท่องเที่ยว FIT ชื่อดังของจีน ทำให้อ้ายจงและทีม
.
# สรุปเหตุผลสำคัญที่อาจเป็นปัจจัยทำให้คนจีนเริ่มไปเที่ยวที่อื่นมากขึ้น นอกเหนือจากประเทศไทย ดังนี้
"การมาของนักท่องเที่ยว Gen Y ผู้เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี"
จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกรุงไทย 80% ของนักท่องเที่ยวจีนอยู่ในช่วง Gen Y วัย 26-40 ปี นับเป็นกลุ่มที่มีอำนาจจับจ่ายมากที่สุด เป็นคนรุ่นที่มีการศึกษา อยู่ในวัยทำงาน และมีรายได้ประจำ คนรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับโลกอินเตอร์เน็ต และเชื่อถือบล็อกท่องเที่ยวที่รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวโดยคนที่ไปเที่ยวจริง ๆ หรือที่เรียกว่า travel blogger มากกว่าหนังสือนำเที่ยว หรือ บริษัททัวร์
.
ธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่ยังพึ่งบริษัททัวร์ ยังเข้าถึงเทคโนโลยี อย่างยิ่งในส่วนที่เจาะกลุ่มเป้าหมายในจีน เช่น สื่อออนไลน์ในประเทศจีน ด้วยเหตุนี้ นำมาซึ่งการเสียโอกาสที่จะเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว Gen Y และกำลังซื้อจำนวนมหาศาล นอกจากนี้นักท่องเที่ยวจีนยังชินกับการชำระเงินแบบไร้เงินสดผ่านคิวอาร์โค้ด แต่ก็ต้องยอมรับว่า มีผู้ประกอบการสายท่องเที่ยวไทยรวมถึงร้านค้า ร้านบริการต่างๆ ยังขาดการรับชำระเงิน WeChat Pay และ Alipay
.
ประเด็นการชำระเงินด้วย QRCode เป็นประเด็นที่มิอาจมองข้ามได้นะครับ เพราะตอนนี้ การชำระเงินแบบไร้เงินสด ไม่ใช่แค่การอำนวยความสะดวก แต่เสมือนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ กล่าวคือ นักท่องเที่ยวจีนแทบจะ100% พกเงินสดน้อยลง ใช้จ่ายผ่านมือถือหรือบัตรเครดิตมากขึ้น ดังนั้น ถ้าเราตอบสนองLifestyleของพวกเขา โอกาสที่เขาจะเลือกเรา ก็สูง
.
“การแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ”
ผลการศึกษาจาก McKinsey and Company บริษัทที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลกระบุว่านักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบันมีรสนิยมที่เปลี่ยนไปจากยุคทัวร์จีนมาก เพราะคนจีนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประสบการณ์โดยรวม ไม่ใช่แค่การShopping หรือการไปเที่ยวสถานที่สำคัญ
.
ผลการศึกษาข้างต้น สัมพันธ์กับผลการสำรวจบน Mafengwo แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวชื่อดังในจีน ที่ระบุว่า นักท่องเที่ยวจีนในปี2020 มีแนวโน้มจะชอบกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การเช่ารถเที่ยวซอกแซกไปที่ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง หรือ กิจกรรมผาดโผน เช่นการเล่นพาราไกลดิง ดำน้ำ ตกปลา
.
และสำหรับ Xiaohongshu อีกหนึ่งแพลตฟอร์มLifestyleที่คนจีนยุคใหม่นิยมใช้ โดยเฉพาะ ช้อป-กิน-เที่ยว ณ ต่างประเทศ เราก็จะได้เห็น คำค้นหาที่ติดเทรนด์บน Xiaohongshu เป็นคำที่เกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยว ,ร้านอาหาร รวมถึง การกิน-การใช้ชีวิต-เข้ารับบริการต่างๆ ในลักษณะของUnseen หรือยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักแต่น่าสนใจ
ถ้าลองสอบถามนักท่องเที่ยวจีน หรือค้นหาข้อมูลเที่ยวไทยในโลกออนไลน์จีน จะพบว่า ประเทศไทยยังคงเด่นเรื่องกิน-เที่ยว-ช้อป แต่มีจังหวัดท่องเที่ยวเด่น ๆ อยู่ไม่กี่จังหวัด ในขณะที่ญี่ปุ่นขึ้นชื่อในเรื่องการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ทุกภูมิภาค การจะปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของนักท่องเที่ยวจีน
.
ขอแนะนำว่า ธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องสร้างจุดสนใจใหม่ ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองรอง โดยในปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในเมืองรองมีการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะ ตราด ที่เพิ่มขึ้นถึง 56% และเชียงราย เพิ่มขึ้น 22% นับเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเมืองเล็กก็พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ประสบการณ์สดใหม่ ตรงใจนักท่องเที่ยว Gen Y ได้
.
"ปัจจัยด้านความปลอดภัย"
ศูนย์วิจัยกรุงไทยระบุว่า ปัจจัยในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของจีนอันดับหนึ่งคือเรื่องอาหารการกิน ตามมาด้วย ความปลอดภัย แม้ว่าประเทศไทยจะโด่งดังในเรื่องสตรีทฟู้ด แต่สถานการณ์โควิดในปีนี้อาจทำให้นักท่องเที่ยวกังวลที่จะรับประทานอาหารริมทาง ในแง่ความปลอดภัยประเทศไทยยังคงเป็นรองหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น
.
เท่าที่อ้ายจงได้รับข้อมูลมา เป็นที่น่ายินดีทีเดียว ที่ตอนนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำลังดำเนินโครงการ SHA (Amazing Thailand Safety & Health Administration) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการสายท่องเที่ยว สร้างมาตรฐานความปลอดภัย แก่ผู้เข้ารับบริการ ซึ่งจุดนี้ สามารถชูเป็นจุดเด่นในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยได้อย่างมั่นใจและสบายใจ
.
# สรุปทิ้งท้าย หากธุรกิจท่องเที่ยวไทยต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน-นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับตัวในหลายด้าน
1. ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี
- หากต้องการโฆษณากับนักท่องเที่ยว Gen Y โซเชียลมีเดียจีน และ บล็อกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือคือสิ่งจำเป็น หากขาดการสื่อสาร นักท่องเที่ยวก็จะไปเที่ยวแต่สถานที่เดิม ๆ จนความนิยมเสื่อมไปในที่สุด
- ธุรกิจท่องเที่ยวต้องรองรับระบบ WeChat Pay หรือ Alipay เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจีน
2. การคมนาคม
- การคมนาคมเป็นสิ่งที่สำคัญหากต้องการพัฒนาเมืองรองเป็นจังหวัดท่องเที่ยว แม้จะมีการสร้างสนามบินในเมืองใหญ่ แต่การเดินทางระหว่างจังหวัดต้องสะดวกสบาย ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
3. มาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย
- ความสะอาดและความปลอดภัยจะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าที่ผ่านๆมา ธุรกิจไทยต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวจีน และปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐอย่างเคร่งครัด
.
อ้ายจงอ้างอิงบางส่วนจาก
- Krungthai Compass
- Mafengwo.cn
- McKinsey and Company
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดจีน #นักท่องเที่ยวจีน