ทักษะดิจิทัลที่คนไทยต้องมี มีอะไรบ้างมาสำรวจกัน
.
ETDA ( สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ) ได้รวบรวม ทักษะ และอาชีพที่มีความต้องการสูงในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งมีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ
“ Top 5 ทักษะสำคัญที่เป็นที่ต้องการในไทย ”
1.ทักษะคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม (Analytical Thinking and Innovation)
เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างถาม จับประเด็น แยกแยะและเชื่อมโยง นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
2. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-Solving)
เป็นคนที่มีทักษะในการจัดการกับปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา
3.การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning and Learning Strategies)
การเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตัวเอง ฝึกคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กลุ่มพร้อมร่วมกันแก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
4.ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking and Analysis)
เป็นคนที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดวิเคราะห์ตามหลักเหตุผล และประเมินความถูกต้อง มีความสมเหตุสมผล โดยใช้วิจารณญาณของความเป็นมนุษย์
5.ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Originality and Initiative)
เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดต่างไม่ซ้ำใคร (คิดนอกกรอบ) มีความคิดริเริ่มและกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่
.
ขอบคุณภาพ ข้อมูล จากบทความ “ทักษะดิจิทัลที่คนไทยต้องมี รับปี 2021”
โดย ETDA ( สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ) www.etda.or.th
#iT24Hrs #ETDA #ทักษะดิจิทัล #MayDay
「active learning คือ」的推薦目錄:
- 關於active learning คือ 在 IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี Facebook 的精選貼文
- 關於active learning คือ 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
- 關於active learning คือ 在 Capt.Benz Facebook 的最佳解答
- 關於active learning คือ 在 Getupteacher - Active Learning คืออะไร? สอนยังไงให้เป็น... 的評價
- 關於active learning คือ 在 การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning - YouTube 的評價
active learning คือ 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
ความเห็นน่าสนใจจาก จขพ ท่านเป็นพระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพุทธศาสนาโดยตรง อ่านแล้วน่าสนใจดี คือจริงๆ ถ้าเป็นรูปแบบการศึกษาแบบหลักสูตรที่จ่าเคยเรียนสมัยเด็กๆ มันน่าเบื่อจริงนะ ให้ท่องจำว่า วันนั้นวันนี้คือวันอะไร หลักธรรมนี้มีกี่ข้อ แต่ละข้อหมายถึงอะไร บลาๆ เพ่ือเอาไปสอบ แค่นั้น แต่ในแง่การเอาไปใช้ หรือประยุกต์ใช้กับชีวิตยังไง เราเรียนกันน้อยมาก ส่วนมากเน้นท่องจำมากกว่า เข้าใจไม่เข้าใจก็อีกเรื่อง ซึ่งก็ไม่แปลกถ้าเด็กรุ่นใหม่จะมองว่า ที่ๆเราเรียนกันมา มันไม่เวิรค ถ้าคนที่ทำงานในด้านการศึกษาศาสนามีไอเดียแบบหลวงพี่ท่านนี้ก็คงดี
#ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง
.
เหตุการณ์เร็วไวจริงครับ สองอาทิตย์ที่แล้วผมได้พูดเรื่องนี้กับลูกศิษย์ที่เป็นพระสอนศีลธรรมแกนนำอีสานรูปหนึ่ง ขณะนั่งรถไปเป็นวิทยากรพัฒนาครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างให้กับงานวิจัย ป.เอก นักศึกษาท่านหนึ่งที่ต่างจังหวัด ผมบอกว่า..
.
“..ท่านคอยดูนะ เดี๋ยวเด็กเยาวชนจะออกมาประท้วงวิชาพระพุทธศาสนาแน่นอน ยก 3 นิ้ว ท่านคอยดู”
“..ต่อไปพวกท่านจะเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียนยากขึ้น หรืออาจจะไม่ได้เข้าไปสอนที่โรงเรียนอีกเลย”
“.. พระจะพากันออกมาบ่นหรือประท้วงว่า ทำไมไม่ให้พระเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน”
“..ท่านรู้ไหมตอนที่พระเรามีโอกาสเข้าไปสอน ไปทำหน้าที่ พระเราหลายรูป (เยอะมาก) ไม่สนใจ ไม่ใยดี ไม่รักการสอน ไม่ไปสอน ไม่ห่วงเด็ก จะเอาแต่เงินแต่ไม่สอน ไม่ทำใบรายงานส่ง หน้าที่บกพร่อง การสอนก็มีปัญหา”
“..ท่านรู้หรือยัง หลักสูตรฐานสมรรถนะตัวใหม่ที่ สพฐ. จะประกาศใช้ปี 65 ทั้งประเทศไม่มีวิชาพระพุทธศาสนา สัญญาณเตือนมาแล้วนะท่าน”
“..ปี 61 ผมพูดเตือนสติ บนเวทีปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาให้คนร่วมงานเกือบ 500 คนจากทั่วประเทศที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซฟังว่า “ไม่มีพระเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน ไม่น่ากลัวและเลวร้าย เท่ากับมีพระเข้าไปสอนในโรงเรียนแล้วสอนแบบผิดๆ จนเด็กเบื่อ ไม่มีความสุข เครียด เบื่อพระ เบื่อธรรมะ หนีห่างพระพุทธศาสนา และเอาไปแก้ปัญหาชีวิตก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้ฝึกสอนแก้ แต่เน้นสอนจำตัวหนังสือ”
“...ไม่มีใครทำร้ายโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนได้ดี เท่ากับพวกท่านเอง (พระสอนศีลธรรม)”
“..เด็กถูกวางยาพิษสอนแบบผิดๆ มาเนินนานหลายปีแล้ว ด้วยการสอนแบบผิดๆ พากันไปสอนแต่ให้เด็กท่องจำตัวหนังสือไปสอบ เหมือนนกแก้วนกขุนทอง ไม่ได้สอนแก่นธรรม สอนคุณค่า ไม่สอนเครื่องมือปัญญาการใช้ชีวิตให้เขา ผ่านการสัมผัสสัมพันธ์จริง..”
“.. แต่ปัญหาการนำธรรมสู่ใจเด็กเยาวชนด้วยการสอนไม่สมสมัยนี้ของพระ/ครูเอง ไม่ได้พึ่งเกิดท่าน เกิดขึ้นหลายทศวรรษ”
“...แต่ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรให้ถูกต้องบ้างเลย
ปัญหานี้ยิ่งจะซ้ำเติมทำร้ายเด็กเยาวชน ส่งผลด้านลบกลับมาที่พระพุทธศาสนา และสถาบันพระพุทธศาสนา”
.
ดังเช่น เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้
.
นี่คือเรื่องราวที่บอกกล่าวลูกศิษย์วันนั้น
เพราะผมรู้เห็นปัญหามานานโข
เราจึงพาท่านและเครือข่ายแกนนำมาร่วม
สร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาขับเคลื่อน
ช่วยเหลือท่านอื่นไปด้วยกัน
.
อะไรทำให้เด็กเขาเรียกร้องอย่างนั้น
เหตุและปัจจัยที่แท้จริง ที่เกี่ยวข้องคืออะไรบ้าง
ความรู้สึกของเยาวชนที่เรียกร้องเป็นอย่างไร
ทำไมเขาจึงรู้สึกอย่างนั้น
ผู้ใหญ่ คณะสงฆ์ ครู พระสอน จะเข้าใจความรู้สึก
ของเด็กๆ เยาวชนเหล่านั้น ได้อย่างไร
.
การตั้งคำถามเช่นนี้ทำให้เราไม่ด่วนสรุปตัดสิน
ว่าเด็กเยาวชนเหล่านั้นเป็นคนไม่ดี หัวรุนแรง
แต่การถามทำให้เรามีสติ ใคร่ครวญ
ทบทวน ไตร่ตรอง (reflect) ความจริงที่เกิดขึ้น
.
พระพุทธศาสนา เป้าหมายสอนเด็กให้เกิดอะไร
.
สอนชีวิตตามความจริงที่เป็นอยู่
สอนให้มีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)
หรือปรับชุดทิฏฐิ (Mindset) ร่องความคิด
ความเชื่อแบบผิดๆ ให้มีความถูกต้อง
สอนให้คิดเป็น รู้จักคิด แก้ปัญหาเป็น คิดแยกแยะ
วิเคราะห์ให้เห็นความจริงตามสภาวะของสิ่งนั้น
สืบสาวหาเหตุและผล ...เป็นต้น..
บ่มเพาะคุณธรรม ความดี ความงาม ความจริง
และความสุขในการเรียนรู้ (ฉันทะ) ใฝ่รู้ ใฝ่ดี
อยากแสวงหา ลงมือทำความดี
เป็นต้น...
.
หากเป้าหมายการสอนพระพุทธศาสนา ดังกล่าว
ครู พระสอนศีลธรรม สอนผ่านกระบวนการเรียนรู้
แบบใฝ่รู้ (active learning) ที่มีความหลากหลาย
และเหมาะสมกับความสนใจผู้เรียน เช่น PBL,MBL,PjBL,CBL,RBL,Contemplative Education, Transformative learning,.ABL(Ariyasacca,อริยสัจ) Wise reflections (โยนิโสมนสิการ)
Design Thinking, G-A-M-M (เกม,ศิลปะ,เพลง,
สื่อหนัง คลิปสั้น) เป็นต้น..
ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทจากนักพูด นักบรรยาย
นักป้อนหลัก/ข้อธรรม เนื้อหาให้เด็กเสพจำเท่านั้น
ไปสู่การเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้
เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้(fa) ให้เด็กได้เรียนรู้
ผ่านการลงมือทำ มากกว่าเรียนท่องจำตัวหนังสือ
ผู้สอนเป็นนักตั้งคำถาม (ปุจฉา) อย่างมีพลัง (PQ)
เป็นโค้ชคอยกระตุ้นให้เด็กคิดเป็น
ให้เด็กอยากตอบ (วิสัชนา) สู่นักสร้างสรรค์ธรรม
ค้นหา ค้นพบความจริงของชีวิต (ธรรมมะ/แก่นธรรม)
ด้วยตนเองผ่านกลุ่ม/เดี่ยว เป็นต้น
มีการไตร่ตรองสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection)
หลังการจัดกิจกรรม (aar) เพื่อให้เข้าใจตน
เข้าใจคน เข้าใจโลก ชีวิตมากขึ้น
.
การสอนพระพุทธศาสนาด้วยวิธีดังกล่าว
หากผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้เช่นนี้
เขาจะมีความสุขในการเรียนรู้พระพุทธศาสนาไหม
คำตอบชัดอยู่แล้วจากการทดลองวิจัยว่า
ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้
คิดเป็น ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่สร้างสรรค์
และสามารถตอบเป้าหมายการสอนพุทธศาสนา
สำหรับเด็กและเยาวชนได้ทุกข้อเช่นเดียวกัน
.
คงไม่มีเด็กเยาวชนคนไหนออกมาเรียกร้อง
เพื่อให้สังคมมาทำร้ายความสุขของตนเองหรอก
คงไม่มีใครอยากทำร้ายความสุขตนเอง
เพราะเขามีความทุกข์ (น่าเบื่อ เซ็ง เครียด ฯลฯ)
จากการเรียนพระพุทธศาสนา ใช่ไหม
เขาเรียนแล้วไม่เกิดประโยชน์ ใช่ไหม
เขาเรียนแล้วไม่มีความหมาย
และคุณค่ากับตัวเขาเอง ใช่ไหม
.
ตั้งสติ ทบทวนไตร่ตรอง ย้อนถามตนเอง
ในบทบาทพระสอน ครูผู้สอนเสียก่อน
1) เราชัดใน “แก่นธรรม” ของเรื่องนั้นๆ ไหม
(ถ้าไม่รู้จักแก่น วิเคราะห์แก่นธรรมไม่เป็น
ท่านก็จะพาเด็กท่องจำเนื้อหาคืออะไร
เรื่องเป็นยังไง มีเท่าไร อะไรบ้าง วนเวียนแบบนี้)
2) ทำไมต้องสอนเรื่องนั้น เขาจะได้ประโยชน์อะไร
คุณค่า/แก่นธรรมที่เขาควรได้ คืออะไร
(ถ้าเขาได้แก่นธรรม ได้คุณค่า ที่เหลือ
เขาจะไปศึกษาค้นหาแสวงหาด้วยตนเอง
เรียนแล้วได้ passion คนเราไปต่อเอง ถ้าไม่คือจบ)
3) ใช้กระบวนการอะไรที่จะพาเด็กเข้าถึงแก่นธรรม
(ต้องไม่ใช้บรรยาย เทศน์ บอกท่องให้จำ)
4) จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเข้าถึงแก่นธรรมหรือคุณค่า
จากเรื่องที่เรียนนั้นๆ
(ประเมินผลที่สมรรถนะ เขาสามารถทำอะไรได้ จากสิ่งที่เขารู้ เขาทำ และคุณค่า รวมถึงการได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิดออกมา จากพฤติกรรมเชิงบวกที่แสดงออกมา เป็นความรู้ขาออก ซึ่งเครื่องมือการสอนที่หลากหลายได้กล่าวไว้ข้างต้น จะประเมินผลชัดเช่นเจน)
.
หากการสอนหลักธรรม พระพุทธศาสนา
เด็กไม่เกิดสมรรถนะทางการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
ขาดความสามารถในการ “นำธรรมไปทำ”
นั่นคือ ความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง
.
ผลเสียหายใหญ่หลวงที่ตามมา คือ
เด็กเขาจะเบื่อ วิชานี้ เบื่อพระ เบื่อพระพุทธศาสนา
แค่เห็นหน้าพระ ผู้สอน วิชานี้ (ส่วนใหญ่เป็น)
เขาตั้งชุดความคิด (mindset) อกุศล ลบๆ รอแล้ว
นั่นคืออะไรรู้ไหมครับ “การสอนผิดวิธี”
และไม่เหมาะสมกับเด็ก และความสนใจใฝ่รู้ (ฉันทะ)
คือบ่อนทำลายศรัทธาของเด็กเยาวชนที่มีต่อ
พระพุทธศาสนา เลยทีเดียว.. จบเลย !
.
นี่คือการทำร้ายความรู้สึกของเด็กเยาวชน
ไม่ให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
โดยไม่มีเจตนา (อวิชชา) แบบเนียนที่สุด
และน่ากลัวที่สุด
เพราะเด็กยาวชนเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย
จบเลย !! ลงท้ายก็กล่าวโทษเด็ก
.
ปัจจุบรนเยาวชนส่วนใหญ่ไม่อยากเข้าวัดอยู่แล้วครับ
การสอนแบบผิดวิธี ยิ่งไปกดทับความรู้สึกเด็กเพิ่มเติม
แทนที่การศึกษาพระพุทธศาสนา
จะต้องจัดกระบวนการทำลายอวิชชา-ตัณหา
เพื่อเสริมสร้าง ปัญญา-กรุณา
กลับไปตอกหมุดเสริมอวิชชา-ตัณหา ให้หนักไปอีก
.
วิชาพระพุทธศาสนาไม่ใช่วิชาที่จะจับเด็กมานั่งฟัง
“เน้นท่องจำๆ ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว”
(ส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ โดยเฉพาะพระสอน)
“การจำหลักธรรม” เป็นขั้นต้นของปัญญาขั่นต่ำสุด
การเรียนรู้เด็กต้องจำอยู่แล้ว
การสอนให้จำ มีหลายวิธี เช่น
ให้เด็กท่องจำเลย ให้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ
และอีกหลายวิธีการ
แต่ความรู้สึกในวิธีการจำนั่นต่างหาก สำคัญ
.
ปัจจุบันปัญหาคือ การสอน “หยุดแค่จำ” ครับ
การคิดขั้นสูง (โยนิโสมนสิการ) ให้เด็กคิดเป็น
ไม่ได้ฝึกคิดค้นหาความความจริง สืบสาวเหตุ
แยกแยะ สร้างสรรค์ความดี (ลงมือทำ)
ซึ่งขัดแย้งกับการสอนพระพุทธศาสนา
ที่มีเป้าหมายสอนให้คนเกิดปัญญา
คิดให้ถูกวิธี (อุปายมนสิการ)
คิดให้เป็นระบบ (ปถมนสิการ)
คิดให้มีเหตุผล (การณมนสิการ)
คิดดีให้เป็นกุศล (อุปปาทกมนสิการ)
โดยใช้โยนิโสมนสิการ คือเครื่องมือ
ในการพัฒนาการคิดที่หลากหลาย หรือ
เครื่องมือที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก เป็นต้น
.
พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์เหมือนกัน
ตรงที่ ต้องทดลอง ต้องปฏิบัติ เรียนฟิสิกส์
เคมี ชีววิทยา แล้วครูไม่พาเด็กทำ Lab
ก็ไม่แตกต่างจากอ่านตำราทฤษฎีปั่นจักรยาน 3 ปี
แต่ไม่เคยปั่นจักรยานเลย เด็กก็ไม่รู้จริง
ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น เอาไปใช้ต่อไม่ได้
เพราะขาดประสบการณ์การทดลอง (Lab)
พระพุทธศาสนาก็เช่นกัน ต้องทำ ต้องสัมผัส
จึงจะเห็นความจริง เข้าใจความจริง เห็นคุณค่า
ถ้าเขาไม่เห็นคุณค่า จะนำไปใช้จริงกับตนเอง
และใช้กับผู้อื่นได้อย่างไร
.
หากเด็กเรียนแล้วไม่ได้เกิดประโยชน์
เรียนแล้วไม่มีความหมาย หรือคุณค่าต่อชีวิตเขา
เด็กเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่อยากเรียนก็ได้
เพราะเรียนไปแล้ว มีแต่ “ความทุกข์”
เกิดความเครียด เซ็ง รู้สึกน่าเบื่อหน่าย..ฯลฯ
และเมื่อเด็กเยาวชนปฏิเสธพระพุทธศาสนา
.
อนาคตวันข้างหน้าเด็กเยาวชนเหล่านี้
เขาจะมาทำนุ บำรุง ดูแล รักษา และปกป้อง
พระพุทธศาสนาต่อไปไว้ได้อย่างไร
เพราะตัวเขาเข้าไม่ถึง “แก่นธรรมคุณค่า”
ของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด
.
คำถามบอกทิศ คำตอบบอกทาง
.
ใครละทำให้เด็กเยาวชนเข้าไม่ถึงคุณค่า
ของแก่นธรรมสาระเรื่องนั้นๆ
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้สอน พระสอนศีลธรรม
(ยังไม่รวมถึงรากแก้วต้นแบบ คือ ผู้ปกครอง)
เป็นตัวแปรหลักสำคัญในเรื่องนี้
เพราะเป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
แต่การจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนคงไม่ใช่กล่าวถึง
อยู่แค่ตัวผู้สอนเพีงประการเดียว
และมีเหตุผล ปัจจัยอะไรบ้างเกี่ยวข้อง
กับสิ่งที่เยาวชนเขาเรียกร้องคือ ผู้รับผลกระทบ
.
...ตัวหลักสูตรสาระ เนื้อหาเรียนเยอะ
เน้นความรู้ อันนี้ก็น่าเห็นใจครูครับ
ตัวชี้วัดเยอะ บีบรัดครู ครูเครียด เด็กก็เครียด
...แต่ที่หนักกว่าหลักสูตรแกนกลาง ก็คือ
“หลักสูตรธรรมศึกษา” ของแม่กองธรรม (คณะสงฆ์)
หนักว่าหลักสูตรแกนกลางอีก ก็บังคับให้สอบอีก
หนักกว่าอีก ก็พาเด็กทุจริตสอบเสียเอง
..วิธีการสอน ..ตัวผู้สอนเอง และ
..การวัดประเมินผล เน้นจำสอบ ฯลฯ คือเหตุปัจจัย
ถ้าเหตุปัจจัยดี จะต่อว่ากล่าวโทษเด็กไปใย
.
ด้วยเหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้นึกถึงประโยคที่ Dr. Heidi Hayes Jacobs (2010) ได้เคยเสนอคำถามไว้ ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน สู่ศตวรรษที่ 21 ไว้ 3 ข้อว่า
✅ What do we cut? เราควรตัดสิ่งใดออกไปบ้าง?
✅ What do we keep? เราควรเก็บรักษาสิ่งใดไว้บ้าง?
✅ What do we create? เราควรสร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง?
.
สรุปคือ วิชาพระพุทธศาสนา
ควรจะต้อง ตัด-เก็บ-สร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง?
ที่สอดคล้องและเหมาะสมต่อการนำไปใช้จริง
ของเด็กเยาวชนในสภาวะการณ์ปัจจุบัน
.
เมื่อเป็นเช่นนี้ หวังว่าผู้ใหญ่ คณะสงฆ์
ต้องมีความใจกว้างมากพอ มีความเมตตาสูง
อย่ากล่าวโทษต่อว่าเด็กลูกหลานว่า ไม่ดี หัวรุนแรง
“ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง” โดยไม่ตัดสิน
อาจจะทราได้ว่า เขาทุกข์มากแค่ไหน
“เขาต้องใช้ความกล้ามากแค่ไหน
ที่ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องกับความทุกข์
กับความอยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ
ที่เขาไม่ได้ก่อขึ้น”
.
เมตตาทบทวน แก้ไขปัญหาที่สั่งสมมานาน
ควรตัด - เก็บ - สร้างสรรค์อะไรใหม่
เพื่อให้เด็กเยาวชน “ได้นำธรรมไปทำจริง”
ให้มีความสอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
.
ผมเตือนพระ มา 2-3 ปี หลายเวที ระวังนะท่าน
.
เรื่องนี้ผมเตือนสติพระสอน ลูกศิษย์หลายเวที
หากท่านไม่ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการสอน
เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับเด็ก
จัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองความสนใจใฝ่รู้ของเด็ก
ท่านอาจไม่มีโอกาสได้เข้าไปสอนในโรงเรียนอีกเลย
เพราะการจัดการเรียนรู้ของท่านไม่มีคุณภาพพอ
ที่จะบ่มเพราะปัญญา ศีลธรรม ความสุขให้กับผู้เรียนได้
สถานศึกษาขาดความมั่นใจ ไม่นิมนต์อีกเลย
และเด็กเยาวชนจะไม่อยากเรียนพุทธศาสนา
เขาจะออกมาเรียกร้องพวกท่านนะ ! !
2-3 ปี ที่ผมเคยพูดไว้หลายเวทีหลายจังหวัด ก็เกิดขึ้น
.
คำถามคือ พระเอง ครูผู้สอนเอง
จะทำให้ห้องเรียนพระพุทธศาสนา
เป็นห้องเรียนที่มีชีวิต
เป็นห้องเรียนที่ความสุขในการเรียนรู้ ใฝ่รู้
เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย
และมีคุณค่าต่อผู้เรียนได้อย่างไร
.
การจะช่วยบ่มเพราะปัญญา คุณธรรม ความสุข
ให้กับเด็กเยาวชน อยากสอนให้เป็นคนดี
อย่างน้อยๆ ผู้สอน / พระเอง ต้องมีของ D 4 อย่างกับตัว
D1 : #มีความประพฤติดี
—— อย่าหนีสอน ทิ้งห้องเรียน ไม่รับผิดชอบหน้าที่ รักการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีของคุณธรรมด้านต่างๆ จะสอนอบายมุข ยังสูบบุหรี่อยู่เลย ท่าที การจัดการอารมณ์ตนเองให้เป็น มีสติ ฯลฯ สรุป จรณะ (soft skills) ท่านต้องมีดี ถึงจะสอนเขาให้ได้ดี นึกถึงพระสารีบุตรที่เห็นแบบอย่างที่ดี จากพระอัสสชิ แล้วปฏิบัติตามครับ ชัดเจนสุด
D2 : #แผนการสอนดี
—— พระต้องเขียนแผนเป็น และต้องเป็นแผนเน้นกระบวนการใฝ่รู้ (AL) มากกว่า การท่องจำสอบ
เด็กเยาวชน ไม่ใช่ก้อนหิน ขอนไม้ เขามีความรู้สึก
พระไม่ใช่จะพูด จะทำอะไร ตามใจตนเอง
เกิดลูกเขาเป็นอะไรขึ้นมา รับผิดชอบไหวไหม
หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านแล้วเข้าห้องสอน ขาดการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงแก่นธรรม คุณค่า ถ้าแบบนั้นสอนเด็กให้เชื่อง อันตรายมาก จำหลักได้แต่เข้าไม่ถึงแก่นธรรมเรื่องนั้นๆ เด็กเอาไปใช้จริงไม่ได้ สอนแค่จำ คืออะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง (knowledge) เอาแค่จำสอบ สอนพุทธะต้องตื่นรู้ การตื่นรู้ต้องฝึกฟัง ให้ทำ ตั้งคำถามสอนคิด เปิดโอกาสให้คิด มากกว่าการสอนให้เชื่อตาม ถ้าไม่ได้ฝึกสมองคิด พัฒนาปัญญาเด็ก เมื่อเจอปัญหาในชีวิต เขาจะแก้ปัญหา (ทุกข์) ไม่ได้
D3 : #สอนดี
—— มีความเมตตา บรรยากาศอบอุ่น สนุก เร้า ท้าทาย เดินให้ทั่วถึงเด็ก ปรับจากห้องเรียนเงียบ ต่างคนต่างทำ เป็นห้องเรียนชีวิต มีความหมาย เรียนเป็นกลุ่ม สอนกันเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโค้ช ใช้คำถาม คือสอนคิด ใช้คำถามกระตุ้นส่งเสริมการคิดสู่ปัญญา ให้มองเห็นความจริงของชีวิต ฯลฯ...
D4 : #เด็กคุณภาพดี
—— เด็กต้องเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เด็กได้ฝึกฟัง (สุตะ) ได้ฝึกคิด (จินตะ/โยนิโสมนสิการ) ได้ฝึกทำ (ภาวนา/ลงมือปฏิบัติ) นำไปสู่เกิดสมรรถนะ ทักษะ คุณธรรม ศีลธรรม และผลการเรียนดี
.
ทักษะ วิธีการสอน สำคัญกว่าเนื้อหาที่สอนก็จริง
แต่ที่สำคัญกว่าทักษะ วิธีการสอน คือ
จรณะ ความประพฤติ คุณธรรมของท่าน
ความประพฤติไม่ดี ก็สอนเด็กได้ไม่ดี
ลูกเป็นอย่างที่พ่อแม่/ผู้ปกครองเป็น
ศิษย์เป็นอย่างที่ครูเป็น
ต้องมีทั้งจรณะ (soft skills) วิชาการ (hard skills)
ควบคู่ผสานสอนเหนี่ยวนำกันไป
.
ให้กำลังใจพระสอนศีลธรรม และผู้สอน
มั่นฝึกฝนพัฒนาการสอนครับ
รักการสอน รักการพัฒนาเด็กเยาวชน
เป็นแบบอย่างของความดี ความงาม ความจริง
ให้กับเด็กเยาวชนลูกศิษย์
ศีลธรรม คือรากฐานความสุขของสังคม
คนขาดศีลธรรม คือ โรคป่วยของสังคม
ช่วยเด็ก บ่มเพาะเด็กเยาวชนต่อไป
ด้วยจิตใจที่เมตตาของท่านครับ
active learning คือ 在 Capt.Benz Facebook 的最佳解答
Ep.97 - “ความเห็น VS ความจริง ”
.
การเรียนรู้อะไรก็แล้วแต่
ความมุ่งหมายของเราคือ transformation
ไม่ใช่แค่ information
.
เรียนรู้อะไรก็ตามต้องลงมือทำ
ถ้าเรียนรู้อะไรไปแล้วไม่ลงมือทำ
ความรู้นั้นมันแค่ข้อมูล
แต่มันไม่ใช่ความจริง
.
กาลามสูตร 10
คุณจะเรียนรู้จากใคร
คุณจะฟังจากใครมาก็แล้วแต่
แม้ว่าเขาเป็นอาจารย์
แม้ว่าเขาเป็นพ่อแม่
แม้ว่าเขาเป็นพระพุทธเจ้า
ท้ายที่สุดแล้วคุณจะรู้ว่าความรู้นั้น
ใช่ หรือ ไม่ใช่ ได้ หรือ ไม่ได้
ต้องลงมือทำ
.
ความรู้เนี่ย
มันคือข้อมูล
มันคือ information
แต่มันไม่ใช่ความจริง
ความรู้กับความจริงเนี่ย
ไม่เหมือนกันความจริงมันจะเกิดขึ้น
หลังจากที่เราเอาความรู้มา
ปฏิบัติแล้วเท่านั้น
.
ความรู้ของคนนึง
อาจจะใช้ได้กับอีกคนนึง
ความรู้ของอีกคนนึงอาจจะใช้ไม่ได้
กับอีกคนนึงก็ได้
.
ทั้งนี้ทั้งนั้นความรู้มันเป็นแค่ครึ่งนึง
แต่อีกครึ่งนึงมันคือตัวเรา
เพราะฉะนั้นแล้ว
เรียนรู้อะไรมาเรียนไปเถอะ
เรียนรู้ให้เยอะยิ่งเยอะยิ่งดี
.
แต่อย่าลืมเด็ดขาด
เอากรวยตัวสำคัญที่สุด
ที่จะทำให้เราเนี่ย
ประสบความสำเร็จได้
ในความรู้นั้น ๆ
คือการลงมือทำเท่านั้นเอง
.
ปริยัติ ก็คือความรู้
ต้องเอาไปปฏิบัติ
ปฏิบัติก็คือการลงมือทำ
ถึงจะปฏิเวธ
ปฏิเวธก็คือ การรู้แจ้งแทงตลอด
รู้ว่าใช้ได้ รู้ว่าเวิร์คกับเรา
หรือไม่เวิร์คกับเรา
.
มีคนออกมาพูดเยอะแยะมากมาย
ทั้งในออนไลน์ ทั้งอ่านหนังสือ
ฟังเยอะ ฟังได้
แต่ต้องปฏิบัติด้วย
.
ถ้าคุณไม่ปฏิบัติ
คุณไปฟังใครแทบเป็นแทบตายยังไง
มันก็ไม่ได้เกิดผลลัพธ์อะไร
การเรียนรู้มีสองแบบ
แบบแรกคือ Passive Learning
แบบที่สองก็คือ Active Learning
.
Passive Learning ก็คือ
เรารับอย่างเดียว
รับมาแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติอะไร
ไม่ได้ลงมือทำอะไร
ความรู้นั้นมันก็ใช้ไม่ได้มันก็เป็นแค่ information
.
การเรียนรู้อะไรก็แล้วแต่
ความมุ่งหมายของมัน
คือ transformation
ไม่ใช่แค่ information
มันต้องมีการเปลี่ยนแปลง
เกิดขึ้นจากความรู้นั้นครับ
.
เพราะฉะนั้นแล้วเนี่ย
เราต้องทำให้
ความรู้ที่เราได้รับมาเนี่ย
เป็น Active Learning
.
เริ่มต้นง่าย ๆ จากการได้ใช้ความรู้นั้นจริง ๆ
ในการถามตอบกัน ในการพูดคุยกัน
เนี่ยแบบนี้ เรานั่งคุยกันแบบนี้
discuss กันแบบนี้
เรารู้ความรู้อะไรมาเอามา discuss กัน
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้แบบ
Active Learning
.
มันจะดีขึ้นไปอีกก็คือ
ได้ลงมือทำตามความรู้นั้นจริง ๆ
ดีขึ้นไปอีกลองเล่นเกม
เล่นแบบจำลองอะไรบางอย่าง
.
แต่ดีที่สุดเลย
ของการเรียนรู้อะไรมาก็แล้วแต่
“ลงมือปฏิบัติตาม”
เพื่อพิสูจน์ เพื่อทดสอบ
และดียิ่งไปขึ้นกว่าดีอีกคือ
ปฏิบัติจนสามารถสอนคนได้
นี่คือคุณได้รู้ในเรื่องนั้น
แบบจริงจริงแล้ว
.
ระบบการศึกษาเนี่ย
บางครั้งบางทีมันเน้น Passive Learning เกินไป
คนในไหนไหวตัวทันก็ให้เด็กเรียนรู้
แบบ Active Learning
.
เหมือนกับที่ฟินแลนด์
เขาให้เด็กเรียนรู้
แบบ Active Learning
ลองไปศึกษาดูตั้งแต่อนุบาลเลย
เด็กนี่แบบเล่นจริงเจ็บจริง
แล้วก็เรียนรู้จริง ๆ
เด็ก 9 ขวบปลูกผัก ปลูกพืช
เลื่อยไม้ได้แล้ว
.
ประเด็นคือไม่ใช่ว่าออนไลน์แล้ว
มัน Active Learning ไม่ได้
มันอยู่ที่ว่าคุณออกแบบหลักสูตรยังไง
เพราะท้ายที่สุดแล้วก่อนที่จะไปปฏิบัติอะไร
มันต้องรู้ข้อมูลชุดนึงมาก่อนอยู่ดี
.
ออนไลน์เป็นแค่อุปกรณ์นึงเครื่องมือนึง
ในการทำให้คนเนี่ยได้รับความรู้
แต่ถ้าสอนออนไลน์
คุณต้องมีบริบทอะไรบางอย่าง
เพื่อให้เขารับรู้ข้อมูลในออนไลน์
แล้วก็เอาไปลงมือปฏิบัติตาม
.
ในคอร์สออนไลน์ของพี่เนี่ย
พี่สร้างการเรียนรู้
แบบ Active Learning อยู่แล้ว
ก็คือให้เขาได้ Live เลย
เรียนรู้อะไรมาปุ๊บ
ไปลองทำเลย
ไปลงมือจริงจังอย่างนั้นเลย
.
ออกแบบได้ ออกแบบเลย
เรียนรู้ที่จะเป็น Facilitator
ไม่ใช่แค่ Teacher
เรียนรู้ที่จะเป็นคนที่ออกแบบการเรียนรู้
ไม่ใช่แค่เอาข้อมูลไปให้ผู้เรียน
.
ปัญหาที่มันเกิดขึ้น
ทุกวันนี้ก็เพราะเสพรับแต่ข้อมูล
แต่ไม่เคยพิสูจน์ว่า
ข้อมูลนั้นมันจริงหรือเปล่า
.
คนบางคนเนี่ยยังเรียกเราว่าไลฟ์โค้ชอยู่เลย
ทั้ง ๆ ที่เราก็บอกแล้วว่าเราไม่ใช่ไลฟ์โค้ช
แล้วไลฟ์โค้ชจริง ๆมันไม่ใช่แบบเราเลย
.
ไลฟ์โค้ชเนี่ยเขาคือ
กลุ่มอาชีพอีกอาชีพนึงเลย
ซึ่งเขาฝึกฝนเขาอะไรมา
พอมีดราม่าปุ๊บ
ไลฟ์โค้ชเดือดร้อนเลย
.
คือทุกวันนี้ที่สงสัยยังสงสัยอยู่เลยว่า
ไอ้คำว่าไลฟ์โค้ชในโลกทัศน์ของคนที่พูดคำนี้
ด้วยความคิด negative เนี่ย
มันไลฟ์ สะกดยังไงวะ
L - I - F - E
หรือ L - I - V - E
ถ้า L - I - V - E เนี่ยคือ
livecoach แบบว่า ออกมาทำ facebook live
อย่างนั้นคนที่ออกมาทำคลิป
ออกมา live เป็น livecoach หมดเลย
.
ไลฟ์ มันต้องเป็น life แบบชีวิต
ซึ่งอันนี้มันเป็นอาชีพมันเป็นวิชาชีพ
ที่จะต้องสอบไม่ใช่แบบอยู่ดี ๆ
อัดคลิปขึ้นมาแล้วเป็นไลฟ์โค้ชเลย
.
ไม่รู้จะพูดยังไงเหมือนกัน
เพราะว่าหลาย ๆ คน
เข้าใจอย่างนั้นไปแล้ว
ก็ปล่อยเขาไป
.
สิ่งที่เราเห็นตรงนี้ปุ๊บ
เราเห็นเรายิ่งเข้าใจไงว่า
อ๋อ…คนเนี่ย
เขาแสดงความคิดเห็นอะไร
หรือพูดอะไรตาม information
ตามข้อมูลที่เขามีน้อยมากที่จะพูด
ตามความเป็นจริง
.
น้อยมากที่จะเคยทดสอบอะไร
ไปรู้จักจริง ๆ
คนบอกว่าไลฟ์โค้ช
อย่างนี้ไลฟ์โค้ช อย่างนู้นไลฟ์โค้ช
อย่างนั้นไลฟ์โค้ช
ออกมาพูดปุ๊บใครออกมาไลฟ์ปุ๊บ
บอกเป็นไลฟ์โค้ช
.
สื่อต่าง ๆ ก็เหมือนกัน
เวลาเห็นคนพูดอะไร ก็เรียกเค้าว่าไลฟ์โค้ช
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว
ไลฟ์โค้ชมันไม่ใช่ความหมายอย่างนั้นไง
มันไม่ใช่แค่ความหมายแค่นี้ไง
พาหุสัจจัญจะ ไม่ใช่บอกว่า พาหุสุตตันตะ
สุตตันตะคือฟังเยอะ ๆ
.
แต่ถ้าบอกว่าพาหุสัจจัญจะ
พาหุสัจจัญจะคือ
หาความจริงเยอะ ๆ
ไม่ใช่คุณเรียนอย่างเดียว
แต่คุณเรียนแล้วลงมือทำด้วย
มันถึงจะเกิดสิ่งที่เกิดตามมาก็คือ
สิปปัญจะคือ รู้ศิลปะ
รู้เทคนิค รู้กลยุทธ์ รู้วิธีการ
ในการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ
ในการเอาความรู้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
มันควบคู่กัน
.
รู้ศาสตร์ แล้วก็ต้องรู้ศิลป์
คือทุกวันนี้หาได้น้อยนัก
คนที่จะเอาความจริงมาพูดกัน
คนเราแสดงความคิดเห็น
แสดงได้แค่ข้อมูลที่ตัวเองมี
แค่นั้น
.
ถ้าเขามีข้อมูลแค่นี้ แน่นอน
เขาแสดงได้แค่นี้
ไลฟ์โค้ชเป็นอย่างนี้
อย่างนี้เป็นความโลภ
อย่างนี้เป็นอะไรอย่างนี้
บ้าบอคอแตก
.
รู้ข้อมูลอะไรก็รู้ไปเถอะ
แต่ว่าคุณจะชัดเจนในข้อมูลนั้นได้
คุณต้องเอาข้อมูลนั้น
มาลงมือทำก่อน
.
คุณไม่มีทางที่จะว่ายน้ำเก่งได้
ด้วยการอ่านหนังสือว่ายน้ำ
เป็นร้อยเป็นพันเล่ม
คุณจะว่ายน้ำเก่งได้ต่อเมื่อ
คุณกระโดดลงไปในสระ
ฉันใดฉันนั้น
#ผู้กองเบนซ์
.
ปล. เรียนรู้ แล้วต้องลงมือทำ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
*ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 094-449-9464 (คุณจี้)
ช่องยูทูป : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
blockdit : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
IG : capt.benz
Line OA : @ captbenz
twitter : @ captbenz
active learning คือ 在 การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning - YouTube 的推薦與評價
EdTalk เปิดมุมมองโลกการศึกษา : Active Learning คือ อะไร. EdCA Institute. EdCA Institute. •. •. 2.6K views 10 months ago ... ... <看更多>
active learning คือ 在 Getupteacher - Active Learning คืออะไร? สอนยังไงให้เป็น... 的推薦與評價
Active Learning คือ อะไร? สอนยังไงให้เป็น Active Learning? Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ... ... <看更多>