先鋒正關閉日本、香港業務,將亞洲業務重點放在中國
在為中國投資者推出機器人顧問不到一年的時間裡,先鋒集團和螞蟻金服表示他們合資的企業(幫你投)已經達到100萬用戶。
Vanguard的女發言人Dana Grosser在一份聲明中說:公司對國際業務的願景是直接或通過金融中介替個人投資者服務,也專注於能使用相類似業務模式的國家。
Dana Grosser說:「先鋒集團將亞洲業務整合到中國大陸符合我們的整體國際戰略,在該戰略中我們側重於個人投資者和為其提供服務的中介機構。」
先鋒一直盯著中國很久了。
2017年,該公司宣布了將其在上海的員工人數增加兩倍的計劃。
12月表示,它正在與全球領先的支付和生活方式平台支付寶運營商螞蟻金融服務集團(Ant Financial Services Group)合作,為中國的零售消費者帶來新的數字投資諮詢服務。
https://www.bizjournals.com/philadelphia/news/2020/08/26/vanguard-closing-japan-hong-kong-operations.html
ant financial services group 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก “ลูซี เผิง” หญิงสาวผู้ร่วมก่อตั้ง Alibaba /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงผู้ก่อตั้ง Alibaba บริษัท E-commerce ยักษ์ใหญ่ของประเทศจีน
คนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงชื่อ “แจ็ก หม่า” เป็นคนแรก
แต่รู้หรือไม่ว่า ความจริงแล้ว Alibaba ยังมีผู้ร่วมก่อตั้งอยู่อีก 17 คน
ซึ่งหนึ่งในคนสำคัญ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Alibaba รวมทั้งบริษัทในเครืออย่าง Ant Group
คือ ผู้หญิงที่ชื่อว่า “ลูซี เผิง”
เรื่องราวของเธอคนนี้น่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อีกครั้งกับกรณีศึกษาธุรกิจมากมายที่จะช่วยเปิดกว้างมุมมองความรู้ของคุณ
ใน ลงทุนแมน 13.0 เล่มล่าสุด สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ลูซี เผิง (Lucy Peng) เป็นนักธุรกิจหญิงชาวจีน เธอเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1972 ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 48 ปี
เธอจบการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ และทำงานเป็นอาจารย์สอนภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเงิน ที่มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง เป็นเวลา 5 ปี
หลังจากนั้น เธอลาออกมาแต่งงานกับสามี ซึ่งเคยทำงานร่วมกับ แจ็ก หม่า ที่ China Yellow Pages เว็บไซต์สมุดหน้าเหลือง ซึ่งเป็นที่รวบรวมข้อมูลสถานที่ตั้งและช่องทางการติดต่อของบริษัทต่างๆ ในประเทศจีน
ด้วยการที่สามีของเธอ มีความใกล้ชิดกับ แจ็ก หม่า จึงทำให้ทั้งคู่มีโอกาสได้ฟังแนวคิดเกี่ยวกับการเริ่มทำธุรกิจ E-commerce ในประเทศจีนของ แจ็ก หม่า ทั้งคู่เลยตัดสินใจเป็นผู้ร่วมลงทุนเพื่อก่อตั้ง Alibaba ในปี 1999
กลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง Alibaba มีอยู่ทั้งหมด 18 คน โดยเป็นผู้หญิงถึง 6 คน และ ลูซี เผิง ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ถึงแม้ ลูซี เผิง ไม่ได้มีพื้นฐานเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเท่ากับคนอื่น
แต่ประสบการณ์จากอาชีพอาจารย์ ทำให้เธอมีจุดเด่นในด้านการบริหารบุคลากรให้สามารถทำงานต่างๆ ให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงทำให้ ลูซี เผิง ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรบุคคล หรือ HR ของบริษัท Alibaba
เธออยู่ในตำแหน่งนี้นานถึง 10 ปี ดูแลพนักงานมากกว่า 35,000 คน
และมีผลงานที่โดดเด่น คือ การวางโครงสร้างองค์กรให้แต่ละหน่วยงานมีผู้บริหาร 2 บทบาท
โดยคนหนึ่ง ดูแลด้าน Hard Side ขับเคลื่อนผลการดำเนินงานของธุรกิจ
ส่วนอีกคนหนึ่ง ดูแลด้าน Soft Side สร้างสภาพแวดล้อมและแรงจูงใจ และ Soft Skills ในการทำงานให้กับพนักงาน
การพัฒนาองค์กรควบคู่กันไปทั้งสองด้าน ช่วยให้ Alibaba เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ทำให้ผู้บริหารและพนักงาน ต่างยอมรับในตัวของ ลูซี เผิง เป็นอย่างมาก
และต่อมา เธอก็ได้โอกาสแสดงฝีมือในการบริหารธุรกิจบ้าง
เมื่อแพลตฟอร์ม E-commerce ของ Alibaba มีผู้ใช้งานมากขึ้น
บริษัทจึงต้องการมีระบบชำระเงิน เพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์
ทำให้บริการ Alipay ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี 2004
และในปี 2010 คณะกรรมการของ Alibaba ได้แต่งตั้ง ลูซี เผิง เป็น CEO ของ Alipay
ซึ่งในเวลาต่อมา เธอได้นำ Alipay แยกตัวออกมาตั้งเป็นบริษัทแห่งใหม่ ชื่อว่า Ant Financial Services Group หรือชื่อในปัจจุบันคือ “Ant Group” นั่นเอง
โดยปัจจุบัน แพลตฟอร์มชำระเงิน Alipay มีผู้ใช้งานสูงถึง 1,000 ล้านบัญชี
และนอกเหนือจาก Alipay แล้ว บริษัท Ant Group ยังให้บริการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ธนาคารออนไลน์, สินเชื่อรายบุคคล, บริการเกี่ยวกับการลงทุน
ล่าสุด Ant Group ถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้สูงถึง 9.9 ล้านล้านบาท และกำลังดำเนินการ IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าระดมทุนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ประมาณ 1 ล้านล้านบาท (แต่ล่าสุด หน่วยงานกำกับดูแลของจีน มีคำสั่งให้ระงับการจดทะเบียนไว้ก่อน)
ทั้งนี้ ลูซี เผิง ออกจากตำแหน่งประธานบริษัท Ant Group เมื่อปี 2018 เนื่องจากเธอต้องการโฟกัสกับงานของอีกบริษัท นั่นก็คือ “Lazada”
Alibaba ได้มองหาโอกาสทำธุรกิจในตลาดต่างประเทศ และเลือกลงทุนใน Lazada โดยทยอยซื้อหุ้นมาตั้งแต่ปี 2016 จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
ซึ่งทาง Alibaba ก็ได้แต่งตั้งให้ ลูซี เผิง เข้ามาเป็น CEO ของ Lazada เมื่อปี 2018 ก่อนที่ต่อมาจะก้าวขึ้นเป็นประธานบริษัทแทน
โดยเธอได้พา Lazada ครองตลาดแพลตฟอร์ม E-commerce ในฐานะผู้เล่นรายใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีจำนวนผู้ซื้อสินค้าเป็นประจำ (Active Buyers) สูงถึง 50 ล้านบัญชีต่อปี
ทั้งนี้ จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินล่าสุดโดย Forbes
ลูซี เผิง มีทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 1.45 แสนล้านบาท
ถือเป็นบุคคลร่ำรวยอันดับที่ 108 ของประเทศจีน
นอกจากนั้น เธอยังถือหุ้นของบริษัท Ant Group อยู่ในสัดส่วน 1.7%
ซึ่งหากบริษัทสามารถจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ หุ้นของเธออาจมีมูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท เลยทีเดียว
และด้วยผลงานที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตของ Alibaba รวมไปถึง Ant Group
ทำให้เมื่อปี 2016 นั้น Forbes ได้จัดอันดับให้เธอเป็นผู้หญิงทรงอิทธิพลอันดับที่ 35 ของโลก และอันดับที่ 17 ของทวีปเอเชีย
จากเรื่องราวนี้ เราจะเห็นได้ว่า
ที่ผ่านมาหลายคนอาจคุ้นเคยกับ แจ็ก หม่า ซึ่งเป็นเหมือนหน้าตาของ Alibaba
แต่ส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ ผู้ร่วมก่อตั้งและทีมงานต่างๆ ที่คอยสนับสนุน แจ็ก หม่า ด้วยทักษะที่แต่ละคนถนัดแตกต่างกันออกไป
เหมือนที่ ลูซี เผิง ได้วางรากฐานในด้านทรัพยากรบุคคลเอาไว้
รวมถึงบริหารธุรกิจในเครือ อย่าง Ant Group และ Lazada
ซึ่งช่วยส่งเสริมอาณาจักรของ Alibaba ให้ครองความยิ่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้..
╔═══════════╗
อีกครั้งกับกรณีศึกษาธุรกิจมากมายที่จะช่วยเปิดกว้างมุมมองความรู้ของคุณ
ใน ลงทุนแมน 13.0 เล่มล่าสุด สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Peng_Lei
-https://moneyinc.com/lucy-peng/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-10-28/alibaba-s-early-hr-head-to-get-5-billion-richer-on-ant-ipo
-https://www.forbes.com/profile/lucy-peng/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lazada_Group
ant financial services group 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก Ant Group เจ้าของ Alipay / โดย ลงทุนแมน
“Ant Group” หรือชื่อเดิมคือ “Ant Financial Services Group”
หลายคนอาจจะแค่เคยได้ยินผ่านๆ หรือไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ
แต่รู้หรือไม่ นี่คือเจ้าของ “Alipay”
แอปชำระเงินและศูนย์รวมบริการออนไลน์ของคนจีน
ความเป็นมาของบริษัทนี้เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ คือการเกิดขึ้นของ Alibaba Group ในปี 1999
ธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Jack Ma มหาเศรษฐีชาวจีน
พอแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Alibaba เริ่มเติบโตขึ้น
Jack Ma จึงอยากให้มีระบบชำระเงิน และเทคโนโลยีด้านการเงิน
มาช่วยส่งเสริม และรองรับการซื้อขายบนโลกออนไลน์
ในปี 2004 “Alipay” จึงถือกำเนิดขึ้น
เป็นระบบชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้แพลตฟอร์มของ Alibaba
Alipay เริ่มจากการพัฒนาระบบชำระค่าสินค้าผ่านเว็บไซต์ในช่วงแรก
ต่อมาในปี 2008 สามารถขยายไปชำระค่าสาธารณูปโภค
เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ผ่านช่องทางออนไลน์
และได้เปิดให้บริการชำระค่าบริการต่างๆ
ในรูปแบบ “Mobile Payment” อย่างเป็นทางการ ในปี 2009
จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้ คือในปี 2011
Alipay ได้แยกตัวออกมาจาก Alibaba
เพื่อตั้งเป็นหน่วยงานที่โฟกัสเรื่องของโครงสร้างและระบบการชำระเงินโดยเฉพาะ
จนในปี 2014 หน่วยงานที่แยกออกมานี้
ก็ก่อตั้งเป็นบริษัทอย่างเป็นทางการ ชื่อว่า “Ant Financial Services Group”
และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น “Ant Group”
โดยที่ Ant Group ไม่เพียงแต่เป็นเจ้าของ Alipay เพียงอย่างเดียว
ยังมีบริการอื่นอีก เช่น ให้สินเชื่อรายบุคคล และ SMEs, บริการเกี่ยวกับการลงทุน (Wealth Management), ธนาคารออนไลน์, ประเมินเครดิต และบริการคลาวด์สำหรับจัดเก็บข้อมูลของธุรกิจ
แต่ในบรรดาบริการต่างๆ Alipay จะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 1,000 ล้านบัญชี
ซึ่งคนจีนใช้จ่ายผ่านแอปฯ นี้ แทนการใช้เงินสดไปแล้ว
จะเห็นว่า หลายร้านค้าในไทย มีการรองรับการจ่ายด้วย Alipay
เพราะคนจีนเดินทางมาท่องเที่ยวที่ไทยจำนวนมาก
และนอกจากการใช้ชำระค่าสินค้าแล้ว
คนจีนยังสามารถทำได้แทบทุกอย่างใน Alipay
เช่น เรียกแท็กซี่, ซื้อตั๋วหนัง, จองโรงแรม ไปจนถึงนัดพบหมอ
นอกจากบริการที่ว่ามาทั้งหมดนี้แล้ว
Ant Group ยังร่วมลงทุนและเป็นพาร์ตเนอร์
กับบริษัทสตาร์ตอัป และบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินทั่วโลก
เช่น Paytm ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ของอินเดีย
KakaoPay ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ในเกาหลีใต้
ZhongAn Online P&C Insurance บริษัทประกันออนไลน์เต็มรูปแบบในจีน
โดยหนึ่งในนั้นก็คือ Ascend Money
บริษัท Fintech ของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ในประเทศไทย
เจ้าของ TrueMoney Wallet ที่เรารู้จักกัน
ซึ่งก็ต้องบอกว่า ธุรกิจทั้งหมดในเครือ Ant Group
มีไว้เพื่อคอยสนับสนุนธุรกิจของ Alibaba Group
ในแง่ของบริการ และโครงสร้างของระบบการเงินแทบทั้งสิ้น
ทีนี้มาดูผลประกอบการของ Ant Group ในปีงบประมาณ 2019
รายได้ 542,000 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 77,000 ล้านบาท
ซึ่งจากการระดมทุนรอบล่าสุดในปี 2018
Ant Group ถูกตีมูลค่าไว้สูงถึง 4.7 ล้านล้านบาท
แต่ล่าสุดปี 2020 Ant Group กำลังเตรียมที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์
โดยคาดกันว่ามูลค่าบริษัทอาจสูงถึง 6.3 ล้านล้านบาท
เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ Alibaba Group Holding
ถือหุ้นใน Ant Financial Services Group อยู่ 33%
หลังการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
คงได้เห็น Ant Group เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจมากขึ้นอีก
และไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจจะได้เห็นบริการจาก Ant Group
ขยับขยายเข้ามาในไทยมากขึ้น ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.antfin.com
-Alibaba Group Holding Limited. FY 2020 Annual Report.
-https://www.alibabagroup.com/en/ir/pdf/160614/12.pdf
-https://www.cnbc.com/2020/07/20/chinas-ant-financial-to-go-public-in-dual-shanghai-hong-kong-listing.html
-https://techsauce.co/tech-and-biz/ant-financial-plans-to-ipo-in-hongkong-next-year
-https://www.reuters.com/article/us-ant-financial-ipo-exclusive/exclusive-alibabas-ant-plans-hong-kong-ipo-targets-valuation-over-200-billion-sources-say-idUSKBN2491JU#:~:text=It%20won%20regulatory%20approval%20in,financial%20documents%20seen%20by%20Reuters.