กรณีศึกษา Ben Ali ประธานาธิบดีตูนิเซีย กินรวบประเทศ จนโดนปฏิวัติ /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า “อาหรับสปริง” การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในช่วงปี 2011 ของกลุ่มประเทศอาหรับ ไล่มาตั้งแต่อียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน ไปจนถึงการเกิดสงครามกลางเมืองที่ซีเรีย ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการปฏิวัติในประเทศเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาที่มีชื่อว่า “ตูนิเซีย”
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การปฏิวัติตูนิเซียนี้
เกิดขึ้นโดยปราศจากผู้นำการปฏิวัติ และไม่ได้มาจากประเด็นทางการเมือง
แต่เป็นเรื่องของการว่างงานและสภาวะเศรษฐกิจที่ผลักดันให้ประชาชนในประเทศรวมตัวกันลุกขึ้นมาปฏิวัติ โดยมีจุดเริ่มต้นจากประธานาธิบดีของตูนิเซียที่มีชื่อว่า Ben Ali
เกิดอะไรขึ้นที่ตูนิเซีย ภายใต้การปกครองของ Ben Ali จนนำไปสู่การปฏิวัติในประเทศ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สาธารณรัฐตูนิเซีย เป็นประเทศอาหรับมุสลิมในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีขนาดพื้นที่ราว ๆ 160,000 ตารางกิโลเมตร พอ ๆ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ตูนิเซียมีประชากรเพียง 12 ล้านคน มากกว่า 90% นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แต่เนื่องจากเคยถูกปกครองโดยฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอารบิก
ประกอบกับผู้คนที่มีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ทำให้วัฒนธรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างอาหรับและยุโรป
ในอดีตประเทศตูนิเซียนั้นถูกปกครองโดยประธานาธิบดี Habib Bourguiba ซึ่งปกครองตูนิเซียมายาวนานตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปี 1956
แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ทั้งเศรษฐกิจและสังคมของตูนิเซียกลับเกิดขึ้นหลังจากการมาถึงของชายที่ชื่อว่า Ben Ali
Zine al-Abidine Ben Ali หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Ben Ali
ก่อนที่เขาจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีตูนิเซียนั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมามากมาย
ทั้งหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง เอกอัครราชทูต รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีมหาดไทย
จนในปี 1987 เขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของตูนิเซีย โดยถือได้ว่าเขาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจอย่างมากในรัฐบาลตูนิเซีย
ซึ่งในขณะนั้นประธานาธิบดีคนแรก Habib Bourguiba กำลังป่วยหนักและหลายฝ่ายเห็นว่าไม่เหมาะที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป
Ben Ali จึงได้ทำการรัฐประหารโดยสันติและปลด Bourguiba ออกจากตำแหน่ง จากนั้นจึงแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของตูนิเซียในปี 1987
หลังจากที่ Ben Ali ได้ขึ้นมาปกครองประเทศ เขาพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้การบริหารประเทศของเขาเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยตามเสียงเรียกร้องของผู้คนในประเทศ
โดยได้ดำเนินการหลากหลายมาตรการ เช่น
- การเปลี่ยนชื่อพรรคการเมืองของตัวเองจาก Neo-Destour Party เป็น Democratic Constitutional Rally
- การเปิดให้ประชาชนสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้
- การยกเลิกระบบพรรคการเมืองเดียว
- การปล่อยนักโทษทางการเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากการปกครองของประธานาธิบดีคนเก่า
แม้การเลือกตั้งใหม่ในปี 1989 มีขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองประเทศ และพรรคของเขาเองก็ได้ที่นั่งในสภามากกว่า 80% แต่ Ben Ali ก็ได้เริ่มจุดไฟแห่งความขัดแย้งขึ้น
Ben Ali เริ่มการจับกุมแกนนำและนักกิจกรรมของฝ่ายตรงข้ามที่เขามองว่ามีแนวโน้มจะได้รับความนิยมในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีรายงานการคุกคามนักกิจกรรมทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งการข่มขู่และทรมานจากภาครัฐ รวมถึงการบังคับให้ลี้ภัยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีการแก้กฎหมายเลือกตั้งให้เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายตนเอง ส่งผลให้การเลือกตั้งที่จัดขึ้นหลังจากนั้น เขาได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย ไร้คู่แข่งที่จะมาเทียบเคียง
โดยการเลือกตั้งในปี 1999 Ben Ali มีคู่แข่งเพียง 2 คนเท่านั้น และฝ่ายค้านไม่เคยได้ที่นั่งในสภาเกิน 25% เลยแม้แต่ปีเดียว
จนสุดท้ายแล้วตูนิเซียภายใต้การปกครองของ Ben Ali มีลักษณะทางการเมืองแทบไม่ต่างจากยุคของประธานาธิบดีคนก่อน ที่ถูกเรียกว่าเป็นระบอบเผด็จการ
นอกจากการแก้กฎหมายเพื่อความมั่นคงของตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่เขาทำในระหว่างที่อยู่ในอำนาจ คือการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง
โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่อยู่ในเครือข่ายของเขา
ในฉากหน้านั้น Ben Ali ได้ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ทันสมัยขึ้น
ทั้งการแก้กฎระเบียบต่าง ๆ ให้ผ่อนคลายลงจากสมัยอดีตประธานาธิบดีคนเก่า
การปรับโครงสร้างและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ Ben Ali อยู่ในอำนาจนั้น ตูนิเซียมีอัตราการเติบโตของ GDP ไม่น้อยกว่า 5% มาโดยตลอด และระบบเศรษฐกิจของตูนิเซียโดดเด่นและเติบโตเร็วกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน
จนแม้แต่ IMF และธนาคารโลกยังเคยยกย่องให้ตูนิเซียเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ทว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ไม่ได้ไปถึงประชาชนในประเทศ
แต่กลับตกอยู่ในมือเครือข่ายของ Ben Ali
Ben Ali มีเครือข่ายธุรกิจกระจายตัวอยู่ในทุกภาคส่วนของประเทศ
โดยมีการตรวจพบว่ามีบริษัทกว่า 220 บริษัทที่อยู่ในเครือข่ายดังกล่าว
ซึ่งมีทั้งธุรกิจสายการบิน โทรคมนาคม การขนส่ง การเงินและธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหารและอื่น ๆ อีกมาก และนาย Ben Ali ก็ได้เอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยการออกกฎหมายเพื่อกีดกันทางการค้า และกำจัดคู่แข่งทางธุรกิจ ส่งผลให้มีการทุจริตคอร์รัปชันโดยเจ้าหน้าที่รัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศ
โดยตั้งแต่ปี 1994 นาย Ben Ali ได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับกว่า 25 ฉบับ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อเครือข่ายธุรกิจของตน ซึ่งในบางธุรกิจถ้าไม่มีชื่อของเครือข่าย Ben Ali อยู่ในบริษัท ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
อย่างเช่นกรณีเชนร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง McDonald’s ที่ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับพาร์ตเนอร์ที่ไม่ใช่เครือข่ายของ Ben Ali สุดท้ายแล้วภาครัฐก็ได้ปฏิเสธข้อตกลงดังกล่าว และ McDonald’s ก็ต้องยอมถอยออกจากตลาดไป
หรืออีกกรณีหนึ่งคือการผูกขาดระบบโทรคมนาคมของประเทศ
ราคาค่าบริการโทรระหว่างประเทศที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 10-20 เท่า
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็เป็นรายได้เข้ากระเป๋ากลุ่มบริษัทในเครือข่ายของนาย Ben Ali
จากการออกข้อกฎหมายที่ยากต่อการแข่งขันและทำให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้การเติบโตของภาคเอกชนในประเทศกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มเครือข่ายของนาย Ben Ali
โดยจากรายงานของธนาคารโลกระบุว่า เครือข่ายของนาย Ben Ali ที่มีกว่า 220 บริษัท
มีผลกำไรคิดเป็น 21% ของภาคเอกชนทั้งหมดภายในประเทศ
และมีมูลค่าบริษัทประมาณ 4.22 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของ GDP ประเทศในปี 2010
เมื่อการกระจายความเติบโตของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง
ส่งผลให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานที่สูงมาก สวนทางกับ GDP ที่เติบโตต่อเนื่อง
บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งการส่งออก ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
ทำให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาวสูงถึง 30% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกมีเพียง 15% เท่านั้น
สุดท้ายแล้วเมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศถูกผูกขาดด้วยคนบางกลุ่ม ทำให้สินค้าหลายอย่างมีราคาสูง
บวกกับอัตราการว่างงานในประเทศที่ยากเกินกว่าจะแก้ไข ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนจึงเพิ่มมากขึ้นในตูนิเซีย
จนในที่สุดความอดทนของประชาชนในประเทศก็หมดลง..
หนุ่มชาวตูนิเซีย Mohamed Bouazizi อายุ 27 ปี ตัวเขาเรียนไม่จบและต้องออกมาขายผลไม้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวตั้งแต่เด็ก ซึ่งเขามักจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกสินบนและริบสินค้าของเขาอยู่หลายครั้ง
จนกระทั่งในวันที่ 17 ธันวาคม 2010 เจ้าหน้าที่ได้ยึดสินค้าและอุปกรณ์ในการค้าขายของเขา โดยอ้างว่าเขาไม่มีใบอนุญาตสำหรับขายผลไม้ในพื้นที่ และมีพยานในเหตุการณ์กล่าวว่าเขายังถูกเจ้าหน้าที่ตบเข้าที่หน้าอีกด้วย
Bouazizi ได้ไปร้องเรียนที่สำนักงานเทศบาลในเมือง Sidi Bouzid แต่กลับไม่มีใครรับฟังข้อร้องเรียนของเขา Bouazizi จึงราดน้ำมันและจุดไฟเผาตัวเองทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเดือนมกราคม ปี 2011
หลังจากการเผาตัวเองของ Bouazizi เรื่องราวของเขาก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook และ Twitter ซึ่งยากต่อการควบคุมและตรวจสอบโดยภาครัฐ
ทำให้ไม่กี่วันหลังจากนั้นมีผู้คนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนและโกรธแค้นรัฐบาล โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในขณะนั้น ซึ่งเกือบทั้งชีวิตของพวกเขาเติบโตมาภายใต้การปกครองของ Ben Ali
คนหนุ่มสาวได้ออกมาชุมนุมประท้วงในเมือง Sidi Bouzid จำนวนมากและจากการประท้วงในท้องถิ่น จนกลายเป็นระดับภูมิภาคและแพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
Ben Ali ได้ออกประกาศตำหนิผู้ประท้วงและใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
จึงมีภาพการปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์ทั่วโลก
เมื่อแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายแล้ว Ben Ali จึงได้ประกาศจะไม่ลงเลือกตั้งอีกหลังจากหมดวาระในปี 2014 และจะให้เสรีภาพรวมถึงดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
แต่ตัวเขากลับปฏิเสธว่าตำรวจไม่ได้ยิงใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะขัดแย้งกับภาพที่อยู่บนสื่อออนไลน์ ทำให้การชุมนุมแผ่ขยายมากขึ้นไปอีก
Ben Ali ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและออกคำสั่งให้ทหารใช้ปืนยิงผู้ชุมนุมที่ต่อต้าน แต่ทหารปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว เมื่อเห็นว่าตัวเขาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อีกต่อไป Ben Ali จึงหนีออกนอกประเทศและลี้ภัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย
เมื่อ Ben Ali พ้นจากตำแหน่ง ศาลธรรมนูญวินิจฉัยให้นาย Fouad Mebazaa ประธานรัฐสภาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี
นาย Fouad Mebazaa จัดตั้งรัฐบาลโดยแต่งตั้งผู้ที่เคยอยู่ในระบอบเก่า และภักดีกับอดีตประธานาธิบดี Ben Ali เป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่สำคัญ
เมื่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีประกาศออกมา จึงเกิดความไม่พอใจอย่างมากตามมา ฝ่ายค้านลาออกจากรัฐสภา, เยาวชนหนุ่มสาวออกมาประท้วงอีกครั้ง และเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ในที่สุด ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการชุดนี้ก็ต้องลาออก
การจัดตั้งคณะรัฐบาลรักษาการเกิดขึ้นอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีรักษาการคนใหม่สั่งการให้จับกุม, สอบสวน และดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่พรรคของรัฐบาล ครอบครัวและญาติของอดีตประธานาธิบดี Ben Ali
รวมทั้งดำเนินการยุบพรรคและยึดทรัพย์สินของพรรค ขณะเดียวกันก็ประกาศปล่อยนักโทษการเมือง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปีนั้นเอง
เรื่องราวทั้งหมดนี้นอกจากจะสะท้อนความล้มเหลวในการบริหารประเทศและการทุจริตคอร์รัปชันจนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและนำไปสู่การปฏิวัติแล้ว
ในวันที่ Mohamed Bouazizi จุดไฟเผาตัวเองเพียงคนเดียว
แต่เรื่องราวของเขาบนโลกอินเทอร์เน็ต ก็ได้ปลุกให้ผู้คนทั่วประเทศ
ต่างมารวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาล จนบานปลายเป็น “อาหรับสปริง” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทั่วโลกกล่าวถึง..
เหตุการณ์นี้ยังเป็นกรณีศึกษาชั้นดี ของอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย
ยิ่งสื่อเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เข้าหากัน ภายในเวลาอันรวดเร็วเท่าไร
ก็ยิ่งทำหน้าที่เผยแพร่ “สิ่งที่พยายามปกปิด” ออกไปสู่สาธารณชน
ในเวลาอันรวดเร็วได้เท่านั้น
ในยุคที่มีคนโจมตีความน่ากลัวของโซเชียลมีเดีย ว่าจะทำให้เกิดข่าวปลอมเผยแพร่ได้โดยง่าย
แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้ข่าวจริงที่ถูกปิดไว้ ถูกเผยแพร่ได้ง่ายขึ้น เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.washingtonpost.com/news/monkey-cage/wp/2014/03/27/tunisias-golden-age-of-crony-capitalism/
-https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/17726/WPS6810.pdf?sequence=1&isAllowed=y\
-https://www.aljazeera.com/news/2020/12/17/bread-and-gas-economic-boost-needed-after-arab-spring
-https://www.wider.unu.edu/publication/youth-unemployment-arab-world
-https://www.pewresearch.org/journalism/2012/11/28/role-social-media-arab-uprisings/
-https://www.silpa-mag.com/history/article_55976
-https://www.aljazeera.com/features/2011/1/26/how-tunisias-revolution-began
-https://www.dw.com/en/zine-el-abidine-ben-ali-the-robber-baron-of-tunisia/a-50501648
-https://www.britannica.com/event/Jasmine-Revolution
-https://theconversation.com/ben-ali-the-tunisian-autocrat-who-laid-the-foundations-for-his-demise-124786
-https://www.theatlantic.com/technology/archive/2011/09/so-was-facebook-responsible-for-the-arab-spring-after-all/244314/
同時也有7部Youtube影片,追蹤數超過134萬的網紅Point of View,也在其Youtube影片中提到,อ้างอิง - Garge, S. (2018, July 7). Suez Crisis. Alchetron. https://alchetron.com/Suez-Crisis - n.savvides. (2021, March 25). Update: Suez high tide...
arab news 在 Rti 中央廣播電臺 Facebook 的最佳解答
【阿拉伯之春的民主成果面臨重大危機】
突尼西亞是阿拉伯世界在10年前的阿拉伯之春民主運動浪潮中,唯一成功走向民主化運作的國家。然而,突尼西亞現今卻陷於失控邊緣。突尼西亞總統薩伊德日前下令開除總理麥奇齊並凍結國會30天,薩伊德的舉動被反對派人士批評形同「政變」,也讓突尼西亞正陷入新一波的政治危機。
#突尼西亞
#阿拉伯之春
#民主
📌歡迎加入央廣Rti官方TG帳號📌
https://t.me/RadioTaiwan
📌Google新聞也可追蹤央廣Rti📌
https://reurl.cc/LdGL5L
https://www.rti.org.tw/news/view/id/2106862
arab news 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา คนเชื้อสายเลบานอน อยู่ในบราซิล มากกว่าประเทศตัวเอง /โดย ลงทุนแมน
211 ล้านคน คือจำนวนประชากรในบราซิล
ทำให้ประเทศแห่งนี้ มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก
ซึ่งนอกจากมีคนมากแล้ว บราซิลยังถือเป็นหนึ่งในประเทศ
ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากด้วย
เพราะบราซิลอยู่ในดินแดนใหม่ที่ถูกค้นพบโดยชาวตะวันตก
โดยปัจจุบันมีชาวพื้นเมืองเดิมที่อยู่ในบราซิลเป็นจำนวนไม่มาก
ประชากรจำนวนมากในบราซิล เป็นลูกหลานของผู้อพยพรุ่นแรกจากยุโรป เช่น โปรตุเกส และอิตาลี
รวมทั้งยังมีลูกหลานของผู้อพยพจากญี่ปุ่นอีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากนั้นยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่อพยพมายังบราซิล
นั่นคือคนเชื้อสายเลบานอน จนทำให้ตอนนี้มีคนเชื้อสายเลบานอนในบราซิลกว่า 8 ล้านคน
ซึ่งจำนวนนี้ มากกว่าประชากรในเลบานอนเอง ที่มีอยู่ 6.9 ล้านคนเสียอีก
เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบันเลบานอนมีประชากรในประเทศกว่า 6.9 ล้านคน
โดยประชากรในเลบานอนนับถือศาสนาอิสลามประมาณ 60%
ศาสนาคริสต์ประมาณ 35%
ที่เหลือเป็นศาสนาอื่น ๆ
ในอดีต เลบานอนเคยเป็นประเทศที่มีประชากรชาวคริสต์มากกว่าชาวมุสลิม
แต่สาเหตุที่ทำให้สัดส่วนของชาวคริสต์ลดลงมาเหลือ 35%
และกลายมาเป็นชนกลุ่มน้อยก็คือ ความขัดแย้งทางศาสนา
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับช่วงที่อาณาจักรออตโตมัน
ซึ่งเป็นอาณาจักรมุสลิมที่มีความแข่งแกร่งมากที่สุดในขณะนั้น สามารถเข้าครอบครองดินแดนในแถบตะวันออกกลางมากมาย รวมไปถึงเลบานอน
เรื่องนี้ทำให้ชาวคริสต์ต้องกลายเป็นประชากรชั้น 2 ของประเทศ
ตามมาด้วยความขัดแย้งทางศาสนา และเหตุการณ์ความรุนแรง ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์เรื่อยมา
จนเริ่มมีชาวเลบานอนทยอยอพยพไปยังหลายประเทศในยุโรป
ในช่วงเวลาเดียวกันอีกฟากหนึ่งของโลกในแถบอเมริกาใต้
หลายประเทศกำลังได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม
ประเทศในแถบนี้ กำลังเพลิดเพลินไปกับการพัฒนาชาติ
จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่อดีตเจ้าอาณานิคมได้เคยวางไว้
รวมกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “บราซิล”
ในช่วงนั้นบราซิลมีการปกครองประเทศแบบราชาธิปไตย คือยังปกครองประเทศด้วยกษัตริย์
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เกิดขึ้นในสมัยที่จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ขึ้นครองราชย์ในปี 1831
ซึ่งตอนนั้นบราซิลมีขนาดพื้นที่ประมาณ 8.3 ล้านตารางกิโลเมตร และยังมีประชากรไม่ถึง 10 ล้านคน
เนื่องจากขนาดที่กว้างใหญ่ของประเทศ รวมกับทรัพยากรธรรมชาติที่มากมาย แต่ยังขาดแคลนแรงงาน
บราซิลจึงมีนโยบายต้อนรับผู้อพยพ เพื่อให้เข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการเกษตร และเริ่มมีคนจากทวีปยุโรปอพยพมาบราซิลจำนวนมาก เช่น ชาวโปรตุเกส ชาวอิตาลี และชาวเยอรมัน
นอกจากนั้น ในปี 1870 จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ยังเสด็จไปเยือนดินแดนต่าง ๆ เพื่อสร้างสัมพันธไมตรี
โดยหนึ่งในดินแดนที่พระองค์เสด็จไป
ก็คือดินแดนเลบานอน ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิออตโตมัน
โดยหนึ่งในภารกิจของพระองค์นอกจากการสร้างสัมพันธไมตรีแล้ว
ยังมีการเชิญชวนชาวเลบานอนที่กำลังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง
ให้ไปเป็นแรงงานสำคัญในอุตสาหกรรมเกษตร และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมบราซิล
ทำให้ชาวคริสต์เลบานอนและชาวยิวจำนวนหนึ่ง
ตัดสินใจอพยพไปยังดินแดนแห่งใหม่ที่ไม่ได้ปิดกั้นโอกาสอย่างบราซิล
การอพยพครั้งนี้เอง ที่ทำให้บราซิล เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของชาวเลบานอนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ซ้ำด้วยการเปลี่ยนแปลงอีกหนึ่งครั้งสำคัญ
คือความพ่ายแพ้ของอาณาจักรออตโตมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1
ที่ส่งผลให้อาณาจักรออตโตมันล่มสลายหลังจากนั้นไม่นาน
ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดยเฉพาะดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้อาณาจักรออตโตมันอย่างเลบานอน
ชาวเลบานอนที่เจอปัญหาความขัดแย้งทางศาสนามาก่อนหน้า
บวกกับต้องมาเจอปัญหาเศรษฐกิจขาลงของประเทศจากภาวะสงคราม
กลายเป็นอีกคลื่นลูกสำคัญที่ทำให้คนในประเทศ
อพยพไปแสวงหาโอกาสใหม่ที่ดีกว่าในต่างแดน
โดยหนึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญคือดินแดนในอเมริกาใต้
ที่ผู้ปกครองของพวกเขาเคยมาเชิญชวนให้พวกเขาอพยพไป อย่างบราซิล
คลื่นความเปลี่ยนแปลงอีกระลอก เกิดขึ้นในปี 1975
เมื่อเกิดสงครามกลางเมือง ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ขึ้นอีกครั้ง
ซึ่งเป็นสงครามที่มีความรุนแรงกว่าในอดีตมาก
สงครามดังกล่าวกินเวลานานถึง 15 ปี
และยังเปรียบเสมือนสงครามตัวแทน ที่มีผู้สนับสนุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาวคริสต์ที่มีผู้สนับสนุนหลักเป็นอิสราเอล และชาวมุสลิมที่สนับสนุนโดยชาติอาหรับมุสลิม
บาดแผลจากศึกสงครามจากทั้งในและนอกประเทศมากมาย
ทำให้ชาวเลบานอนจำนวนมากหมดความอดทน
ความฝันของชาวเลบานอนที่จะได้ยิ้มอย่างมีความสุขในบ้านเกิดตัวเอง กลายเป็นต้องการอพยพไปอยู่ในประเทศที่มีโอกาสมากกว่า
และคราวนี้ ไม่เพียงแค่ชาวคริสต์เท่านั้นที่อพยพไปนอกประเทศ แต่ยังรวมไปถึงชาวมุสลิมด้วย
ปัจจุบันมีชาวเลบานอน ทั้งสัญชาติเลบานอน
และที่มีเชื้อสายเลบานอนแต่ถือสัญชาติอื่น กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งสิ้นประมาณ 14 ล้านคน
โดยเป็นชาวเลบานอนที่อาศัยอยู่ในบราซิลมากถึง 8 ล้านคน
ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรในเลบานอนที่มีอยู่ประมาณ 6.9 ล้านคน เสียอีก..
ชาวเลบานอนสามารถกลมกลืนกับวัฒนธรรมบราซิลได้อย่างลงตัว
ด้วยหน้าตาของชาวเลบานอนที่ไม่ได้มีความแตกต่างกับชาวยุโรปที่อพยพในบราซิลมากนัก
และด้วยมีผิวขาว จมูกโด่ง จึงทำให้ชาวบราซิลเชื้อสายเลบานอนถูกเหมารวมไปกับคนยุโรปผิวขาวในบราซิล
ชาวเลบานอนนำความเก่งในเรื่องการค้าขายและการเงินที่พวกเขามีมาตั้งแต่อดีตมาต่อยอด
จนมีชาวบราซิลเชื้อสายเลบานอน ที่สามารถสร้างตัวจนประสบความสำเร็จ และยังเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่กำหนดทิศทางของบราซิล อยู่มากมาย
ยกตัวอย่างเช่น
1. คุณ Joseph Safra อดีตบุคคลที่รวยที่สุดในบราซิล
ผู้นำอาณาจักร Safra Group ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงินและการธนาคารในอเมริกาใต้และยุโรป
ในตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ เขามีทรัพย์สินที่ถูกประเมินไว้กว่า 600,000 ล้านบาท
โดยครอบครัวของเขาอพยพจากเลบานอนมายังบราซิลในตอนที่เขามีอายุได้เพียง 14 ปี
2. คุณ Michel Temer อดีตประธานาธิบดีคนที่ 37 ของบราซิล ซึ่งพ่อแม่ของเขาอพยพมาจากเลบานอน
3. คุณ José Maria Alkmin อดีตรองประธานาธิบดีของบราซิล ซึ่งพ่อแม่ของเขาอพยพมาจากเลบานอน
นี่ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของเลบานอน
ที่มีคนอพยพออกจากประเทศเรื่อยมา เพราะประชาชนในประเทศไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ในแบบที่พวกเขาต้องการ และมองว่าการอพยพไปที่อื่นมีอนาคตที่ดีกว่า
ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ ก็อาจทำให้เลบานอน ขาดทรัพยากรบุคคลเก่ง ๆ ที่จะพัฒนาประเทศ
ในขณะเดียวกัน
คนเชื้อสายเลบานอนหลายคน กลับกลายมาเป็นคนสำคัญของประเทศอื่น และหนึ่งในนั้นก็คือ บราซิล..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://web.archive.org/web/20150923004630/http://www.itamaraty.gov.br/index.php?option=com_content&view=article&id=7223:lebanese-republic&catid=155&lang=en&Itemid=478
-https://anba.com.br/en/book-features-the-role-of-dom-pedro-ii-in-arab-immigration/
-https://www.ccab.org.br/en/news/book-features-the-role-of-dom-pedro-ii-in-arab-immigration
-https://anba.com.br/en/lebanese-immigration-to-be-celebrated-at-the-theater-stage/
-http://www.dailystar.com.lb/Business/Lebanon/2004/Jul-22/1572-the-lebanese-immigrants-who-became-brazils-business-leaders.ashx
arab news 在 Point of View Youtube 的最佳貼文
อ้างอิง
- Garge, S. (2018, July 7). Suez Crisis. Alchetron. https://alchetron.com/Suez-Crisis
- n.savvides. (2021, March 25). Update: Suez high tides could see major attempts to free Ever Given Sunday to Tuesday. Container News. https://container-news.com/work-to-free-ever-given-continues/
- Reality Check & Visual Journalism. (2021, March 29). Suez Canal: How did they move the Ever Given? BBC News. https://www.bbc.com/news/56523659
- Schuler, M. (2021, March 29). Ever Given Updates from the Ship Manager – Salvage Successfully Frees Ever Given. GCaptain. https://gcaptain.com/ever-given-grounding-the-latest-from-the-ship-manager/
- Smellyshirt5. (2018, November 19). File:1858 Suez Canal Company Equity Ownership.jpg - Wikimedia Commons. -. https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=74530470
- The Editors of Encyclopaedia Britannica. (n.d.). Arab-Israeli wars | History, Conflict, & Facts. Encyclopedia Britannica. https://www.britannica.com/event/Arab-Israeli-wars
- - - - - - - - - - - - - -
ติดต่องาน : [email protected] (งานเท่านั้น)
ทางไปซื้อสติกเกอร์ line http://line.me/S/sticker/1193089 และ https://line.me/S/sticker/1530409
ทางไปซื้อ วรรณคดีไทยไดเจสต์ http://godaypoets.com/thaidigest
ติดตามคลิปอื่นๆ ที่ http://www.youtube.com/c/PointofView
ติดตามผลงานอื่นๆได้ที่
https://www.facebook.com/pointoofview/
twitter @pointoofview
หรือ
IG Point_of_view_th
#evergiven #SuezCanal #tryingtofreetheEverGiven
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ฟัง นิทานไทย วรรณคดีไทย สนุกๆ https://www.youtube.com/playlist?list=PLfqt6BlTNYnWUtrSsqOEiTjxVsJH_WBJl
ฟังเรื่องเกี่ยวกับ รามเกียรติ์ รามายณะ https://www.youtube.com/playlist?list=PLfqt6BlTNYnXfrgoQ5GVLgbjpzgOWplHi
arab news 在 Ja is so fly Youtube 的最佳貼文
In this video, I'm going to share with you my Covid-19 vaccination experience in the UAE, where I live.
Sinopharm vaccine is one of the Covid-19 vaccines approved by the United Arab Emirates.
I have made a video review on my first dose. If you haven't watched it, here is the link?? https://youtu.be/q_0WXwAGMdA
So here is my personal experience of me getting the second dose of the Sinopharm vaccine. I've also included my personal side effects.
I'm not familiar with vlogging in English yet, but I do hope that this content is useful for many of you guys.
Please subscribe for more videos.
---------------------------------------------------------------
Follow me at:
YouTube ➞ http://www.youtube.com/jaissofly
Facebook ➞ http://www.facebook.com/jaissoflyblog
Twitter ➞ http://twitter.com/ja_is_so_fly
Instagram ➞ http://instagram.com/ja_is_so_fly
---------------------------------------------------------------
arab news 在 Ja is so fly Youtube 的最讚貼文
In this video, I'm going to share with you my Covid-19 vaccination in the UAE, where I live.
There are 2 types of Covid-19 vaccines approved by the United Arab Emirates, which are Pfizer and Sinopharm.
Currently, the Pfizer vaccine is out of stock. And I don't want to wait any longer since the risk of catching the Covid-19 is quite high for the cabin crew job in general.
So here is my personal experience of me getting the first dose of the Sinopharm vaccine. I've also included my personal side effects, which I haven't heard from any of my friends who got vaccinated.
I'm not familiar with vlogging in English yet, but I do hope that this content is useful for many of you guys.
Please subscribe for more videos.
---------------------------------------------------------------
Follow me at:
YouTube ➞ http://www.youtube.com/jaissofly
Facebook ➞ http://www.facebook.com/jaissoflyblog
Twitter ➞ http://twitter.com/ja_is_so_fly
Instagram ➞ http://instagram.com/ja_is_so_fly
---------------------------------------------------------------