ทำไม สวีเดน จึงเป็นประเทศแห่ง ผู้ประกอบการระดับโลก? /โดย ลงทุนแมน
หากมีการจัดอันดับประเทศในโลก
ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่เหมาะแก่การทำธุรกิจมากที่สุด
หรือประเทศที่มีนวัตกรรมโดดเด่นที่สุด
จะต้องมีชื่อ “สวีเดน” ติดอันดับ Top 5 แทบทุกครั้ง
สวีเดนตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป มีทิวทัศน์อันสวยงามและเต็มไปด้วยทะเลสาบ
มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน
ถึงแม้จะมีประชากรน้อย แต่ชาวสวีเดนกลับสร้างสรรค์แบรนด์ระดับโลกประดับไว้ในแทบทุกวงการ
เฟอร์นิเจอร์มีแบรนด์ IKEA
เสื้อผ้ามีแบรนด์ H&M
รถยนต์มี Volvo
ส่วนเทคโนโลยีก็มี Spotify
อะไรที่ทำให้ประเทศที่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน
ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการ ก่อตั้งบริษัทใหญ่ที่ขายสินค้าให้คนทั้งโลก?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สวีเดน จึงเป็นประเทศแห่ง ผู้ประกอบการระดับโลก?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
สวีเดนเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่เรียกว่า สแกนดิเนเวีย
ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเดนมาร์ก และนอร์เวย์
ผู้คนในประเทศเหล่านี้ เป็นลูกหลานของบรรพบุรุษชาวไวกิง ที่มีฝีมือขึ้นชื่อในเรื่องของการสู้รบและการเดินเรือ
ด้วยการทำอาวุธและการต่อเรือนี่เอง ที่ทำให้ทักษะงานช่าง และความเป็นนักประดิษฐ์
แฝงอยู่ในสายเลือดของชาวสวีเดนมาตั้งแต่ยุคโบราณ
สวีเดนเป็นประเทศที่มีประชากรน้อย สินค้าและบริการที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา
จึงจำเป็นที่จะต้องมีตลาดต่างประเทศเป็นฐานรองรับ
“การขายสินค้าให้คนทั้งโลก” จึงเป็นความตั้งใจหลักของผู้ประกอบการชาวสวีเดน
แต่การที่จะมี Vision ในการขายสินค้าให้คนทั้งโลกไม่ใช่เรื่องง่าย
ชาวสวีเดนจำเป็นต้องมี Action ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายประการร่วมกัน
ประการแรก คือ “องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์”
รู้หรือไม่ว่า สิ่งรอบตัวที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากการประดิษฐ์คิดค้น
ของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิองศาเซลเซียส,
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต และระเบิดไดนาไมต์
ความรุ่งเรืองทางวิทยาการมีจุดเริ่มต้นย้อนไปในศตวรรษที่ 15
เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกในแถบสแกนดิเนเวีย คือ มหาวิทยาลัยอุปซอลา
(Uppsala Universitet) ในเมืองอุปซอลา ทางตอนเหนือของกรุงสต็อกโฮล์ม
เมื่อสวีเดนประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่จำกัดอำนาจของราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1719
กลายเป็นรากฐานของประชาธิปไตยและเสรีภาพ นำมาสู่ความเบ่งบานทางวิชาการและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ โดยมีมหาวิทยาลัยอุปซอลาเป็นกำลังสำคัญ ที่ผลิตบุคคลป้อนเข้าสู่แวดวงวิชาการ
ทั้ง Anders Celsius ผู้พัฒนาระบบการแบ่งช่องในเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “องศาเซลเซียส” ตามชื่อของเขา
Carl Linnaeus นักพฤกษศาสตร์ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ นำมาสู่การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาชีววิทยา
Linnaeus ยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ในปี ค.ศ. 1739
ซึ่งกลายเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในยุคต่อมา
โดยเฉพาะการก่อตั้ง KTH Royal Institute of Technology ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ในปี ค.ศ. 1824 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ผลิตนักประดิษฐ์มากมาย
หนึ่งในนั้นคือพ่อของนักประดิษฐ์ชาวสวีเดนผู้ยิ่งใหญ่ Alfred Nobel
Alfred Nobel ได้รับความรู้ด้านการประดิษฐ์คิดค้นมาจากผู้เป็นพ่อ ต่อมาเมื่อย้ายไปอยู่รัสเซียได้ศึกษาด้านเคมีจนสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์มากมาย โดยเฉพาะ “ระเบิดไดนาไมต์” ที่ช่วยปฏิวัติการทำเหมืองแร่
Nobel เป็นผู้นำสิ่งประดิษฐ์มาแปรเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ทำรายได้มหาศาล
ในช่วงบั้นปลายชีวิตเขาได้ตัดสินใจก่อตั้งรางวัลโนเบล
รางวัลที่เป็นเกียรติยศสูงสุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะได้รับจากความสำเร็จของการศึกษาวิจัยค้นคว้า
ถึงแม้จะมีวิทยาการที่ก้าวหน้า แต่ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านก็ทำให้สวีเดนเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรปหลายสิบปี
แต่ข้อได้เปรียบของสวีเดนคือการมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะป่าไม้ และแร่เหล็ก สิ่งเหล่านี้เป็นที่ต้องการอย่างมากของประเทศที่กำลังรุ่งโรจน์ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส สวีเดนจึงดึงดูดการลงทุนจากนักธุรกิจของประเทศเหล่านี้
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่รอบๆ กรุงสต็อกโฮล์มและเขตเมืองใหญ่
ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมก็ปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนจากระบบหมู่บ้านที่เกษตรกรจะอาศัยทำกินในที่ดินร่วมกัน กลายเป็นต่างคนต่างเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต
แต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วครั้งนี้ ก็ทำให้ครัวเรือนเกษตรกรจำนวนมากปรับตัวไม่ทัน
ในขณะที่ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันที่อีกซีกโลกหนึ่ง ประเทศน้องใหม่อย่างสหรัฐอเมริกากำลังขยายประเทศ
มีกฎหมายที่สนับสนุนให้มีการขายที่ดินในราคาถูกจนเหมือนให้เปล่าแก่ผู้ที่กล้าเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังแถบตะวันตก
สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ ครัวเรือนเกษตรกรเกือบ 1 ล้านคน ตัดสินใจอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังสหรัฐอเมริกา
ซึ่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรสวีเดนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในครั้งนั้นเอง ได้นำมาสู่ปัจจัยสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ของสวีเดน
นั่นก็คือ..
ประการที่ 2 “ความเท่าเทียม”
การอพยพออกจากประเทศครั้งใหญ่ของชาวสวีเดนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ
ประการแรก ทำให้ประชากรวัยแรงงานลดลงอย่างมาก เมื่อสวีเดนปฏิวัติอุตสาหกรรมและมีโรงงานที่ต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น ผลที่ได้คือ แรงงานที่เหลืออยู่ได้รับค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น
ประการต่อมา เมื่อรัฐสภาได้สำรวจสาเหตุของการอพยพอย่างจริงจัง
เผยให้เห็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่มานาน นั่นก็คือ ความยากจน และความไม่เท่าเทียมในสังคม
เมื่อปัญหาสังคมถูกเปิดเผย ประกอบกับผู้คนที่มีรายได้มากขึ้น จึงเริ่มมีการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ท้ายที่สุดก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญที่สุดของสวีเดน นั่นคือ
“ก่อกำเนิดรัฐสวัสดิการ”
สหภาพแรงงานถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1898 เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
รัฐบาลที่มาจากพรรคสังคมประชาธิปไตยได้ให้การช่วยเหลือแรงงานในการเจรจาข้อตกลงกับเหล่านายทุน จนกลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เหล่าแรงงานมีสวัสดิการการทำงานที่ดีมากขึ้น
ทั้งการได้รับเงินสมทบ การลาพักร้อน และการประกันอุบัติเหตุระหว่างทำงาน
ในขณะที่สังคมทั่วไปก็มีระบบบำนาญสำหรับผู้สูงอายุ เงินช่วยเหลือสำหรับคนยากจนและคนพิการ เงินอุดหนุนเด็กและการศึกษา
จากจุดเริ่มต้น ระบบสวัสดิการของสวีเดน หรือ “Swedish Model” ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ
จนได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับชาวสวีเดนตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนถึงลมหายใจสุดท้าย
สิ่งนี้กลายเป็นส่วนผลักดันให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
เมื่อรวมกับการที่สวีเดนดำรงความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ผลที่ได้คือ เศรษฐกิจของสวีเดนเริ่มเติบโตอย่างโดดเด่นในช่วงหลังสงครามโลก
ความเท่าเทียมกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของสังคมสวีเดน
การมองว่าทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี ถูกถ่ายทอดมาสู่การสร้างสินค้า
และกลายเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของแบรนด์สวีเดน..
Volvo รถยนต์ที่พลิกหน้าประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยแนวคิดเรื่อง “ความปลอดภัย” นำไปสู่การคิดค้นเข็มขัดนิรภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนที่นั่งอยู่บนรถ
IKEA แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านที่มีความหลากหลาย ดีไซน์สวยงาม พร้อมทั้งประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า ในราคาที่ผู้คนทั่วไปเป็นเจ้าของได้
H&M ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นที่ดูดี แต่ก็ยังคงไว้ด้วยราคาที่ทำให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่ายในราคาสบายกระเป๋า
สินค้าสวีเดนไม่ใช่สินค้าหรูหราราคาแพง แต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
และด้วยความเข้าถึงได้นี่เอง จึงทำให้แบรนด์สวีเดนค่อยๆ ก้าวขึ้นมาตีตลาดโลกจนเป็นผลสำเร็จ
ทศวรรษ 1970s - 1990s เมื่อแบรนด์เหล่านี้ออกสู่ตลาดโลก เศรษฐกิจของสวีเดนจึงเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แต่สวัสดิการสังคมที่ดีก็นำมาสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
อีกทั้งการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชีย ทำให้บริษัทสวีเดนเริ่มประสบปัญหาในการแข่งขัน
แบรนด์สวีเดนจะอยู่อย่างยั่งยืนไม่ได้ โดยปราศจากปัจจัยสุดท้าย ซึ่งก็คือ..
ประการที่ 3 การวางแผนจากรัฐบาล
เมื่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ของประเทศในแถบเอเชียเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทสวีเดนเริ่มสูญเสียศักยภาพในการแข่งขัน
เมื่อรวมกับปัญหาค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้รัฐบาลสวีเดนต้องเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ
องค์กรรัฐวิสาหกิจหลายแห่งถูกปฏิรูป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
ทั้งลดจำนวนคน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาแข่งขัน
อุตสาหกรรมหลายด้าน โดยเฉพาะเหล็กและยานยนต์ ถูกปรับให้มีความเฉพาะทางมากขึ้น
และจำเป็นที่จะต้องบุกเบิกอุตสาหกรรมใหม่ๆ นั่นคือ “อุตสาหกรรมเทคโนโลยี”
ปี ค.ศ. 1991 กระทรวงอุตสาหกรรมของสวีเดน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
กระทรวงผู้ประกอบการ และนวัตกรรม (Ministry of Enterprise and Innovation)
ที่ให้ความสำคัญในการวางนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่จะนำมาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
การสนับสนุนงบประมาณคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีตั้งแต่ในโรงเรียน รวมถึงสนับสนุนงบประมาณร่วมกับมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนในการวิจัยและพัฒนา
การลดภาษีนิติบุคคล จากอัตราสูงถึง 52% ในปี ค.ศ. 1990 เหลือประมาณ 22%
และลดภาษีสำหรับบริษัทที่ก่อตั้งมาไม่เกิน 10 ปี มีพนักงานไม่เกิน 50 คน และมีรายได้ไม่เกิน 80 ล้านโครนาสวีเดน หรือประมาณ 290 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กที่มีความสามารถ โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัป สามารถเข้ามาแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
จากการทุ่มเทเป็นเวลามากกว่า 10 ปี สวีเดนก็ให้กำเนิดบริษัทใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีและบริการ หนึ่งในนั้นคือ..
“Spotify” บริษัทที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2006
ทำธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มฟังเพลงออนไลน์ที่นำเอาเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ประวัติการฟังเพลงในอดีต เพื่อแนะนำ Playlist ที่น่าจะเหมาะกับความชอบส่วนตัวของแต่ละคน และต่อยอดมาสู่การเป็นแพลตฟอร์ม Podcast ที่นักฟังทั่วโลกคุ้นเคย
ปัจจุบัน สวีเดนเป็นประเทศที่ใช้งบวิจัยและพัฒนาสูงมาก คิดเป็นสัดส่วนถึง 3.37% ของ GDP
และจัดอยู่ในระดับ Top 5 ของโลกที่ใช้งบวิจัยและพัฒนาต่อ GDP สูงสุด
ซึ่งนอกจากงานวิจัยด้านเทคโนโลยีแล้ว สวีเดนยังเน้นหนักไปในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จนสามารถสร้างบริษัทระดับโลกด้านการแพทย์ เช่น
AstraZeneca บริษัทยาสัญชาติสวีเดน-อังกฤษ ที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
BioGaia บริษัทที่เป็นผู้นำในด้านการพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติก
สวีเดนยังมีกฎหมายที่อนุญาตให้พนักงานบริษัทสามารถลางานได้ถึง 6 เดือน แล้วออกไปเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง เพื่อต้องการกระตุ้นให้ประชาชนมีวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ และริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆสู่สังคม
มาถึงตรงนี้ การที่แบรนด์สวีเดนเติบโตจนเป็นแบรนด์ระดับโลก
ไม่ได้เกิดจาก Vision หรือเป้าหมายของผู้ประกอบการที่จะขายคนทั้งโลกเพียงอย่างเดียว
แต่ต้องมี Action คือ การพัฒนาองค์ประกอบหลายๆ ด้านไปพร้อมกัน
ทั้งองค์ความรู้ ที่ต่อยอดจากวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มาสู่นวัตกรรมขั้นสูง
ความเท่าเทียมของผู้คน ที่ส่งผลให้แบรนด์สวีเดนสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนส่วนใหญ่
และนโยบายจากภาครัฐ ที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เอื้อต่อการลงทุน และเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้พัฒนาต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
แบรนด์สวีเดนสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก และประเทศแห่งนี้ก็สร้างผู้ประกอบการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บนโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน มีไอเดียและความฝันเกิดขึ้นมากมาย
ประเทศแห่งนี้เตรียมพร้อมทุกอย่างที่จะทำให้สิ่งเหล่านั้น กลายเป็นความจริง
“สวีเดน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://eh.net/encyclopedia/sweden-economic-growth-and-structural-change-1800-2000/
-https://www.independent.co.uk/news/business/news/sweden-s-technology-powerhouse-shows-brexit-britain-positive-way-fix-its-ailing-economy-a8118641.html
-https://www.departures.com/lifestyle/home-design/swedish-companies-rule-the-world
-http://www.thaifta.com/thaifta/Portals/0/Sweden360_sep57.pdf
-https://www.government.se/contentassets/cbc9485d5a344672963225858118273b/the-swedish-innovation-strategy
-https://data.worldbank.org/indicator/GB.XPD.RSDV.GD.ZS
「branding strategy คือ」的推薦目錄:
branding strategy คือ 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
จริง ๆ เรื่อง Business Transformation กับ People & Organization Transformation เป็นเรื่องหลายองค์กรพูดคุยกันอย่างจริงจังมาระยะนึง โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มสัมผัสได้ว่าธุรกิจที่เราทำอยู่ กำลังจะถูก Disrupt
ย้ำคำว่า "กำลัง" เพราะถ้าถูก Disrupt ไปแล้วคงไม่ใช่แค่พูดคุยแต่ต้องลงมือทำเพื่อพาธุรกิจให้อยู่รอดไม่ได้ ปรับตัวไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอด
แต่บริษัทที่ยังไม่ถูก Disrupt หลายบริษัทที่พูดคุยอย่างเดียวแต่ยังไม่ได้ลงมือจริงจัง ด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง ซึ่งจากประสบการณ์ของผมนะครับ เรื่องแบบนี้จะเอาจริงลงมือจริงได้ เบอร์หนึ่งขององค์กรต้องเห็นเรื่องนี้เป็น First Priority
อย่ารอให้หลังชนฝาแล้วค่อยทำ เตือนตัวเองกันบ่อย ๆ ว่าเราอยู่ใน VUCA Wold ที่อะไร ๆ ก็วิ่งหาเราเร็วขึ้นกว่าเดิม แปลว่าถ้าไม่ระวังหน้าระวังหลังให้ดี ธุรกิจเราอาจจะเจ๊งเร็วกวาที่คิด
Business Model จะเปลี่ยนไปยังไง กลยุทธ์จะใช้แบบไหน สิ่งที่ต้องคิดและปรับตามไปพร้อม ๆ กันคือคน และ 3 ที่องค์กรต้องผลักดันให้คนในองค์กรต้องมีเป็นพื้นฐานในการผลักดันองค์กร คือ 3D
Design
ทุกคนและทุกงานต้องออกแบบกระบวนการและวิธีการใหม่ ๆ ได้เสมอ มี Creativity ในทุกครั้งที่งานเกิดปัญหา ซึ่งแน่นอนว่า ปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าคนในองค์กรมีพื้นฐานในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมี Awareness ในการหาวิธีการที่ดีขึ้นในการทำงานอยู่เสมอ จะเจออีกกี่ปัญหา ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
Data
Speed หรือความเร็วในการตัดสินใจ จะเป็นอีกเงื่อนไขของการไปสู่เป้าหมาย หลายสถานการณ์บีบให้เราต้องตัดสินใจให้เร็วขึ้น แต่การตัดสินใจให้เร็วไม่ใช่เป้าหมายเดียวที่จะเอาชนะสถานการณ์ แต่คือการความถูกต้องด้วย และสิ่งที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นคือ การใช้ข้อมูลให้เป็น ร่วมกับ Sense ที่เรามี ดังนั้นสิ่งที่องค์กรต้องปรับคือ สร้างแนวทางในการทำงาน และส่งเสริมการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้จริงจัง
Digital
ถามกี่คน ทุกคนก็น่าจะตอบไปในทางเดียวกันว่า Digital คือทางรอด คำถามหลังจากนั้นคือ แล้วงานของเราปรับเอา Digital มาใช้แค่ไหน ประเด็นนี้กลับมาเรื่องพื้นฐานของธุรกิจคือ Speed & Quality คือเงื่อนไขในการเอาตัวรอด และ Digital คือคำตอบ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่บ่อย ๆ คือคนไม่พร้อมปรับตัว
ไม่มีทางเลือกนะครับ ถ้าไม่ผลักดันให้คนปรับตัว Digital ก็จะไม่เดินหน้าเช่นกัน
ลองไปพิจารณา 3 เรื่องนี้ให้ดี ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน คัดเลือกคนขึ้นไปเป็น Leader ไปจนถึงพัฒนาให้เป็น Culture ขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
____________________________________
หลักสูตร "Level Up Your HR Marketing" : Marketing Strategy for HR in Digital Age - Apply for Employer Branding and Organization Culture Communication
กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับ HR ในยุดิจิทัล และการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้าง Employer Branding และการสื่อสารวัฒนธรรมองค์กร
คลิ๊กเพื่ออ่านรายละเอียด https://bit.ly/3iC4yJC
#QGEN
#HRTheNextGen
branding strategy คือ 在 Ep.7 Branding Strategy กลยุทธ์สร้างแบรนด์อย่างไรให้แข็งแรง 的推薦與評價
Branding Strategy • สิ่งสำคัญที่ทำให้คุณอยู่ในตลาด โดยมีความได้เปรียบกว่าคู่แข่งขัน คือ การมีแบรนด์ที่แข็งแรง •... ... <看更多>
branding strategy คือ 在 Ep.7 Branding Strategy การสร้างแบรนด์อย่างไรให้แข็งแรง 的推薦與評價
Branding Strategy • สิ่งสำคัญที่ทำให้คุณอยู่ในตลาด โดยมีความได้เปรียบกว่าคู่แข่งขัน คือ การมีแบรนด์ที่แข็งแรง ... ... <看更多>