อ้อ เรือไดหมึก ส่องแสงขึ้นฟ้า
แสงสีเขียวปริศนา เหนือน่านฟ้าไทย
เมื่อวานนี้ (28 ตุลาคม 2563) มีการแชร์ภาพจากพื้นที่ในจังหวัดระนอง ที่เห็นแสงสีเขียวแปลกประหลาดส่องสว่างขึ้นเหนือขอบฟ้าในทางทิศตะวันตก และตั้งข้อสงสัยว่าเป็นอะไรกันแน่
แสงสีเขียวนั้นเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากในธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้หากมีอุกกาบาตไฟร์บอลลูกใหญ่ๆ ที่มีโลหะนิกเกิลเป็นองค์ประกอบ จะสามารถส่องเป็นแสงสีเขียวได้ แต่ก็จะเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีก่อนที่จะดับไป จึงไม่ใช่ อีกความเป็นไปได้หนึ่งก็คือแสงจากออโรร่า ที่เปล่งออกมาเป็นสีเขียว แต่ออโรร่านั้นไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากแถบใกล้ศูนย์สูตรเช่นประเทศไทย ยกเว้นเสียแต่จะมีพายุสุริยะที่รุนแรงมาก ซึ่งก็จะต้องได้รับรายงานเห็นในที่ละติจูดที่สูงกว่าเช่นกัน รายนี้ก็ตกไปเช่นกัน
ความเป็นไปได้เดียวที่หลงเหลืออยู่ ก็คือแสงที่มนุษย์สร้าง ซึ่งหากพิจารณาจากว่าในริมชายฝั่งประเทศไทยมีการประกอบการประมงใช้ "เรือไดหมึก" ซึ่งปล่อยแสงสีเขียวสว่างจ้าไปทั่วท้องฟ้ากันเป็นประจำ คำอธิบายที่ชัดเจนและง่ายที่สุดก็คือแสงจากเรือไดหมึกนั่นเอง ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับภาพที่ผมถ่ายเอาไว้เองเมื่อปี 2014 (ภาพบนซ้าย) จะเห็นได้ว่าไม่ต่างอะไรกันมากนัก
อาจจะแค่บังเอิญว่าวันนั้นสภาพอากาศทำให้แสงเรือไดหมึกสะท้อนออกมามากที่สุดก็ได้ ก็เลยดูแปลกตา แตกตื่นกันเป็นพิเศษ แสงสีเขียวเดียวกันนี้เคยทำให้แตกตื่นกันไปถึงในอวกาศทีเดียว เพราะนักบินอวกาศที่ส่องลงมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ ก็ต้องอึ้งกับแสงสีเขียวเหนือท้องทะเลไทยเช่นกัน (ภาพขวา)[2]
แต่สุดท้าย ทั้งหมดนี่ก็เป็นแค่แสงจากเรือไดหมึก ปริศนาไขกระจ่างแล้ว ปิดคดี จบข่าว แยกย้าย
(อัพเดต: ล่าสุดมีรายงานว่าแหล่งแสงที่มนุษย์สร้างอีกแหล่ง อาจจะมาจากประเทศเพื่อนบ้านครับ ซึ่งก็เป็นไปได้เช่นกัน และอาจจะทำให้เกิดแสงสว่างส่องไปบนเมฆได้อย่างที่เห็น แต่จะเก็บเนื้อหาเกี่ยวกับเรือไดหมึกเอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน)
แต่มาถึงตรงนี้เราอาจจะถามอะไรกันต่อ ว่าแต่ว่า แล้วทำไมต้องสีเขียว??? แสงสีเขียวมีความพิเศษอย่างไร? อันนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจ และไม่ได้ตอบกันง่ายๆ ต้องพิจารณากันหลายแง่มุม เป็นคำถามที่ส่งเสริม STEM ศึกษาอย่างแท้จริง
เราอาจจะเริ่มจากคำตอบในเชิงฟิสิกส์ แสงสีเขียวมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไรหรือไม่กับน้ำทะเล? เป็นช่วงความยาวคลื่นพิเศษที่ส่องได้ดีหรือเปล่า? ปรากฏว่าแสงสีเขียวนั้นไม่ได้มีความพิเศษอะไร อยู่ตรงกลางๆ ของสเปกตรัม น้ำทะเลนั้นจะดูดกลืนแสงความยาวคลื่นมากได้ดีกว่า เป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำทะเลจึงเป็นสีน้ำเงิน และเพราะเหตุใดสัตว์ใต้ท้องทะเลลึกจึงเป็นสีแดง เพราะแสงสีแดงนั้นไม่ตกถึงพื้นทะเลเลย ซึ่งถ้าพูดเช่นนั้นแล้วเราก็น่าจะอนุมานได้ว่าแสงสีน้ำเงินน่าจะส่องทะลุทะลวงได้ดีกว่า แล้วทำไมถึงไม่ใช้แสงสีน้ำเงิน??
ถัดไปเราอาจจะลองหาคำตอบเชิงชีววิทยาดูบ้าง เป็นไปได้ไหมที่แสงสีเขียวนี้เป็นแสงที่ตอบสนองได้ดีที่สุดในสัตว์จำพวกหมึก ว่าแต่ว่าทำไมไฟมันถึงล่อหมึกได้? มันจะพุ่งเข้ามาหาพระแสงอะไร?
ซึ่งคำตอบหลังนี้นั้นตอบได้ยากกว่ามาก ในงานวิจัยทีตีพิมพ์ในปี 1979 ได้ตั้งสมมติฐานการตอบสนองต่อแสงในสัตว์กลุ่ม Cephalopodd เอาไว้ 7 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1) positive phototaxis 2) intensity preference
(brightness) 3) wavelength preference (color response) 4) conditioned or unconditioned response where light is associated with
food 5) curiosity6) photic disorientation and 7) hypnosis อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวไม่สามารถยืนยันได้ว่าเพราะเหตุใดหมึกจึงพุ่งมาหาแสงไฟ
สำหรับแมลงบนบกนั้น เราพอจะทราบว่าสาเหตุทื่ "แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ" นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะพวกมันพยายามใช้แสงจันทร์ในการนำทาง ดังที่เคยเขียนเอาไว้แล้ว[4] เป็นไปได้ว่าสัตว์น้ำอาจจะใช้วิธีเดียวกัน นอกจากนี้ เราทราบว่าเหล่าแพลงก์ตอนนั้นอาจจะถูกดึงดูดเข้าสู่แสงไฟ (แพลงก์ตอนส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ผลิตที่สังเคราะห์แสง) และอาจจะล่อฝูงปลาขนาดเล็กตามมา ซึ่งล่อนักล่าลำดับถัดไปในห่วงโซ่อาหาร เช่น หมึก ให้ตามมาอีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถทราบเหตุผลที่แน่ชัดที่ดึงดูดหมึกมาได้ (เว้นแต่จะลองไปถามหมึกดูเอาเอง)
อย่างไรก็ตาม เราทราบว่าทั้งแพลงก์ตอนและหมึก ต่างก็ถูกล่อได้ด้วยทั้งแสงสีฟ้า และสีเขียว ไม่ต่างกัน ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะใช้แสงสีอื่น เช่นแสงจากหลอดโซเดียมที่มีสีเหลือง เราก็จะพบว่าแสงเหล่านั้นก็จะยังสามารถกระตุ้นเซลล์รับแสงของเหล่าสัตว์ทะเลได้เช่นเดียวกัน และปัจจัยที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ความสว่างเสียมากกว่าสเปกตรัมที่ใช้[5]
หรือว่าคำตอบอาจจะอยู่ในวิชาคณิตศาสตร์/เศรษฐศาสตร์? เป็นไปได้ไหมว่าหลอดไฟสีเขียวนั้นเป็นหลอดไฟที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด? ซึ่งก็ไม่ใช่อีกเช่นกัน เพราะว่าค่าไฟ หรือปริมาณพลังงานที่ใช้ไปในการปล่อยแสงไฟนั้น คิดเป็นส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าน้ำมัน ค่าเรือ และค่าแรงที่ต้องใช้ไป
สุดท้าย คำตอบเพียงคำตอบเดียวที่อาจจะอธิบายแสงสีเขียวได้ดีที่สุด อาจจะอยู่ในวิชาสังคมศาสตร์ เราใช้แสงสีเขียว เพียงเพราะว่ามันเป็นแสงที่ "ฮิต" หรือได้รับความนิยมมากที่สุด เพียงเท่านั้นเอง และหากเราไปพิจารณาดูอุตสาหกรรมในการตกหมึกทั่วโลก เราก็จะพบว่าแต่ละประเทศนั้นมีสีที่ได้รับความนิยมที่แตกต่างกันออกไป
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5207937
[2] https://earthobservatory.nasa.gov/…/fishing-in-green-living…
[3] https://www.aoml.noaa.gov/…/Cl…/St.%20Croix/salt_river11.pdf
[4] https://www.facebook.com/…/a.2551016080333…/580687202141490/
[5] https://en.wikipedia.org/wiki/Fishing_light_attractor
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「color light wavelength」的推薦目錄:
- 關於color light wavelength 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
- 關於color light wavelength 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
- 關於color light wavelength 在 ITRI Taiwan Facebook 的最佳解答
- 關於color light wavelength 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於color light wavelength 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於color light wavelength 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
color light wavelength 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
แสงสีเขียวปริศนา เหนือน่านฟ้าไทย
เมื่อวานนี้ (28 ตุลาคม 2563) มีการแชร์ภาพจากพื้นที่ในจังหวัดระนอง ที่เห็นแสงสีเขียวแปลกประหลาดส่องสว่างขึ้นเหนือขอบฟ้าในทางทิศตะวันตก และตั้งข้อสงสัยว่าเป็นอะไรกันแน่
แสงสีเขียวนั้นเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากในธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้หากมีอุกกาบาตไฟร์บอลลูกใหญ่ๆ ที่มีโลหะนิกเกิลเป็นองค์ประกอบ จะสามารถส่องเป็นแสงสีเขียวได้ แต่ก็จะเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีก่อนที่จะดับไป จึงไม่ใช่ อีกความเป็นไปได้หนึ่งก็คือแสงจากออโรร่า ที่เปล่งออกมาเป็นสีเขียว แต่ออโรร่านั้นไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากแถบใกล้ศูนย์สูตรเช่นประเทศไทย ยกเว้นเสียแต่จะมีพายุสุริยะที่รุนแรงมาก ซึ่งก็จะต้องได้รับรายงานเห็นในที่ละติจูดที่สูงกว่าเช่นกัน รายนี้ก็ตกไปเช่นกัน
ความเป็นไปได้เดียวที่หลงเหลืออยู่ ก็คือแสงที่มนุษย์สร้าง ซึ่งหากพิจารณาจากว่าในริมชายฝั่งประเทศไทยมีการประกอบการประมงใช้ "เรือไดหมึก" ซึ่งปล่อยแสงสีเขียวสว่างจ้าไปทั่วท้องฟ้ากันเป็นประจำ คำอธิบายที่ชัดเจนและง่ายที่สุดก็คือแสงจากเรือไดหมึกนั่นเอง ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับภาพที่ผมถ่ายเอาไว้เองเมื่อปี 2014 (ภาพบนซ้าย) จะเห็นได้ว่าไม่ต่างอะไรกันมากนัก
อาจจะแค่บังเอิญว่าวันนั้นสภาพอากาศทำให้แสงเรือไดหมึกสะท้อนออกมามากที่สุดก็ได้ ก็เลยดูแปลกตา แตกตื่นกันเป็นพิเศษ แสงสีเขียวเดียวกันนี้เคยทำให้แตกตื่นกันไปถึงในอวกาศทีเดียว เพราะนักบินอวกาศที่ส่องลงมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ ก็ต้องอึ้งกับแสงสีเขียวเหนือท้องทะเลไทยเช่นกัน (ภาพขวา)[2]
แต่สุดท้าย ทั้งหมดนี่ก็เป็นแค่แสงจากเรือไดหมึก ปริศนาไขกระจ่างแล้ว ปิดคดี จบข่าว แยกย้าย
(อัพเดต: ล่าสุดมีรายงานว่าแหล่งแสงที่มนุษย์สร้างอีกแหล่ง อาจจะมาจากประเทศเพื่อนบ้านครับ ซึ่งก็เป็นไปได้เช่นกัน และอาจจะทำให้เกิดแสงสว่างส่องไปบนเมฆได้อย่างที่เห็น แต่จะเก็บเนื้อหาเกี่ยวกับเรือไดหมึกเอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน)
แต่มาถึงตรงนี้เราอาจจะถามอะไรกันต่อ ว่าแต่ว่า แล้วทำไมต้องสีเขียว??? แสงสีเขียวมีความพิเศษอย่างไร? อันนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจ และไม่ได้ตอบกันง่ายๆ ต้องพิจารณากันหลายแง่มุม เป็นคำถามที่ส่งเสริม STEM ศึกษาอย่างแท้จริง
เราอาจจะเริ่มจากคำตอบในเชิงฟิสิกส์ แสงสีเขียวมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไรหรือไม่กับน้ำทะเล? เป็นช่วงความยาวคลื่นพิเศษที่ส่องได้ดีหรือเปล่า? ปรากฏว่าแสงสีเขียวนั้นไม่ได้มีความพิเศษอะไร อยู่ตรงกลางๆ ของสเปกตรัม น้ำทะเลนั้นจะดูดกลืนแสงความยาวคลื่นมากได้ดีกว่า เป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำทะเลจึงเป็นสีน้ำเงิน และเพราะเหตุใดสัตว์ใต้ท้องทะเลลึกจึงเป็นสีแดง เพราะแสงสีแดงนั้นไม่ตกถึงพื้นทะเลเลย ซึ่งถ้าพูดเช่นนั้นแล้วเราก็น่าจะอนุมานได้ว่าแสงสีน้ำเงินน่าจะส่องทะลุทะลวงได้ดีกว่า แล้วทำไมถึงไม่ใช้แสงสีน้ำเงิน??
ถัดไปเราอาจจะลองหาคำตอบเชิงชีววิทยาดูบ้าง เป็นไปได้ไหมที่แสงสีเขียวนี้เป็นแสงที่ตอบสนองได้ดีที่สุดในสัตว์จำพวกหมึก ว่าแต่ว่าทำไมไฟมันถึงล่อหมึกได้? มันจะพุ่งเข้ามาหาพระแสงอะไร?
ซึ่งคำตอบหลังนี้นั้นตอบได้ยากกว่ามาก ในงานวิจัยทีตีพิมพ์ในปี 1979 ได้ตั้งสมมติฐานการตอบสนองต่อแสงในสัตว์กลุ่ม Cephalopodd เอาไว้ 7 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1) positive phototaxis 2) intensity preference
(brightness) 3) wavelength preference (color response) 4) conditioned or unconditioned response where light is associated with
food 5) curiosity6) photic disorientation and 7) hypnosis อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวไม่สามารถยืนยันได้ว่าเพราะเหตุใดหมึกจึงพุ่งมาหาแสงไฟ
สำหรับแมลงบนบกนั้น เราพอจะทราบว่าสาเหตุทื่ "แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ" นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะพวกมันพยายามใช้แสงจันทร์ในการนำทาง ดังที่เคยเขียนเอาไว้แล้ว[4] เป็นไปได้ว่าสัตว์น้ำอาจจะใช้วิธีเดียวกัน นอกจากนี้ เราทราบว่าเหล่าแพลงก์ตอนนั้นอาจจะถูกดึงดูดเข้าสู่แสงไฟ (แพลงก์ตอนส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ผลิตที่สังเคราะห์แสง) และอาจจะล่อฝูงปลาขนาดเล็กตามมา ซึ่งล่อนักล่าลำดับถัดไปในห่วงโซ่อาหาร เช่น หมึก ให้ตามมาอีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถทราบเหตุผลที่แน่ชัดที่ดึงดูดหมึกมาได้ (เว้นแต่จะลองไปถามหมึกดูเอาเอง)
อย่างไรก็ตาม เราทราบว่าทั้งแพลงก์ตอนและหมึก ต่างก็ถูกล่อได้ด้วยทั้งแสงสีฟ้า และสีเขียว ไม่ต่างกัน ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะใช้แสงสีอื่น เช่นแสงจากหลอดโซเดียมที่มีสีเหลือง เราก็จะพบว่าแสงเหล่านั้นก็จะยังสามารถกระตุ้นเซลล์รับแสงของเหล่าสัตว์ทะเลได้เช่นเดียวกัน และปัจจัยที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ความสว่างเสียมากกว่าสเปกตรัมที่ใช้[5]
หรือว่าคำตอบอาจจะอยู่ในวิชาคณิตศาสตร์/เศรษฐศาสตร์? เป็นไปได้ไหมว่าหลอดไฟสีเขียวนั้นเป็นหลอดไฟที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด? ซึ่งก็ไม่ใช่อีกเช่นกัน เพราะว่าค่าไฟ หรือปริมาณพลังงานที่ใช้ไปในการปล่อยแสงไฟนั้น คิดเป็นส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าน้ำมัน ค่าเรือ และค่าแรงที่ต้องใช้ไป
สุดท้าย คำตอบเพียงคำตอบเดียวที่อาจจะอธิบายแสงสีเขียวได้ดีที่สุด อาจจะอยู่ในวิชาสังคมศาสตร์ เราใช้แสงสีเขียว เพียงเพราะว่ามันเป็นแสงที่ "ฮิต" หรือได้รับความนิยมมากที่สุด เพียงเท่านั้นเอง และหากเราไปพิจารณาดูอุตสาหกรรมในการตกหมึกทั่วโลก เราก็จะพบว่าแต่ละประเทศนั้นมีสีที่ได้รับความนิยมที่แตกต่างกันออกไป
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5207937
[2] https://earthobservatory.nasa.gov/images/92152/fishing-in-green-living-in-yellow
[3] https://www.aoml.noaa.gov/general/lib/CREWS/Cleo/St.%20Croix/salt_river11.pdf
[4] https://www.facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386/580687202141490/
[5] https://en.wikipedia.org/wiki/Fishing_light_attractor
color light wavelength 在 ITRI Taiwan Facebook 的最佳解答
A new class of ultrathin light absorbent material can absorb any wavelength of light from UV to microwaves, and then rapidly heat up to as high as 160 oC under sunlight in an open environment. The technology is believed to be suitable for a wide variety of uses such as desalination of seawater, color displays, photodetectors, and optical components for communication devices as it could simply harvest solar energy, boil water, and work as an infrared detector.
#CoolTechoftheWeek #happyfriday IEEE Spectrum
https://spectrum.ieee.org/…/new-graphene-metamaterial-devic…