ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有103部Youtube影片,追蹤數超過16萬的網紅ファミ通TUBE,也在其Youtube影片中提到,ファミ通がお送りする声優・ゲームバラエティー番組『今井麻美のニコニコSSG』第141回! “ファミ選!”のコーナーでプレイするゲームは、ヘンテコ病院経営シミュレーションとして話題の『ツーポイントホスピタル:ジャンボエディション』です。お楽しみに~♪ ※21時からのオマケ放送はニコニコ生放送でお届けし...
「corporation limited」的推薦目錄:
corporation limited 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
‘SASOM’ สตาร์ตอัพไทยกับความสำเร็จของดีลระดมทุนในเกาหลี
SASOM x ลงทุนแมน
ใครที่ทำธุรกิจ หรือดูซีรีส์เกาหลีที่เคยเป็น Talk of the Town อย่าง Start-Up
คงพอเห็นภาพว่า การจะเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะขั้นตอนการระดมทุนหรือ Funding
ซึ่งแผนธุรกิจจะต้องสามารถดึงดูด และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
เพื่อให้ได้ผู้สนับสนุน พร้อมเม็ดเงินลงทุน ที่จะทำให้โครงการในแผน กลายเป็นธุรกิจในโลกความจริง
รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้มี Startup ไทยที่ไปไกลถึงขั้นระดมทุนในระดับ Pre-Series A จากบริษัทในเครือ Naver ที่เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation แล้ว
Startup รายนี้เป็นใคร แล้วระดับ Pre-Series A คืออะไร ?
‘SASOM’ (สะสม) เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายของสะสมแบรนด์เนมและของหายาก
เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 โดยทีมผู้ก่อตั้งเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาแพลตฟอร์ม หลังกลับจากเรียนต่อในต่างประเทศ แล้วพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีแพลตฟอร์มการซื้อขายของสะสม ทำให้คนไทยที่อยากซื้อหรืออยากขาย ของสะสมแบรนด์เนมหรือของหายาก ก็ต้องใช้บริการเว็บไซต์ต่างประเทศ
ซึ่งแน่นอนว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายด้านภาษีหรือการนำเข้า แถมยังใช้เวลานาน
ที่สำคัญ ถ้าซื้อใน Social Media ก็เสี่ยงที่จะเจอสินค้าลอกเลียนแบบอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ เป็น Pain Point ที่ SASOM เล็งเห็น และตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มให้ออกมาตอบโจทย์ โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือ Community ในการซื้อขาย
ภายใต้คอนเซปต์ “Next Generation Platform for Authentic Luxurious Transactions”
หรือการเป็นแพลตฟอร์มยุคใหม่ สำหรับซื้อขายของสะสมแบรนด์เนมหรือของหายาก
ปัจจุบัน SASOM ให้บริการในรูปแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยเป็นแหล่งรวบรวมสินค้ามือใหม่และมือสองกว่าหมื่นรายการ ทั้งในรุ่นยอดนิยม และรุ่น Limited Edition ที่มีเพียงไม่กี่ชิ้นบนโลก ตั้งแต่ราคาหลักพัน ถึงหลักล้าน
มีสินค้าหลายประเภท ทั้งรองเท้านักกอล์ฟ Sneaker Nike, Jordan, Adidas, Yeezy จนถึงของสะสมหายาก อย่างงานศิลปะ อัลบั้มเพลง และโมเดลของเล่น BE@RBRICK ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่ม Millennial เเละ Gen Z
ซึ่งสินค้าเหล่านี้ โดยเฉพาะรุ่นที่มีจำนวนจำกัดหรือเป็น Limited Edition นั้น
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ ไม่แพ้การลงทุนอื่น ๆ
และอีกส่วนที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ หมัดเด็ดที่ทำให้ SASOM ประสบความสำเร็จ
นั่นคือการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อว่า สินค้าทุกชิ้นเป็นของแท้ 100%
โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบสินค้าที่ลงประกาศอย่างละเอียด แล้วติดป้ายสัญลักษณ์เพื่อเป็นการรับประกัน และมีบริการก่อนและหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมตสินค้า บริการลูกค้าสัมพันธ์ การให้ข้อมูลที่เป็นราคากลาง
นอกจากนี้ SASOM ยังพัฒนา Price Chart ฟีเชอร์ใหม่ล่าสุด ที่รวบรวมข้อมูลราคาซื้อ-ขาย ทำให้สามารถประเมินราคาและมูลค่าของสินค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจ
และในอนาคต ก็มีแผนจะนำระบบ AR (Augmented Reality) เข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าอีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนไทยได้เสนอขายหรือซื้อสินค้าที่เป็นของสะสมกับชาวต่างชาติ บนจุดนัดพบแห่งใหม่
ปัจจุบัน SASOM มียอดขายสินค้าเฉลี่ยเดือนละกว่า 10 ล้านบาท และมีเป้าหมายเพิ่มยอดขายเป็นเดือนละ 30 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้
โดยจะเน้นการขยายฐานผู้ซื้อ ผู้ขาย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มนักลงทุนของสะสมในไทยและต่างประเทศ
จากความโดดเด่นของแพลตฟอร์ม ทำให้ Startup อย่าง SASOM สามารถสร้างความเชื่อมั่น และประสบความสำเร็จในการระดมทุนระดับ Pre-Series A
ซึ่งเป็นการระดมทุนในระดับที่ 2 จาก 5 ระดับ ของธุรกิจ Startup โดยในขั้นนี้ ธุรกิจจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน และมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
จากจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ Startup ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันการระดมทุนที่ประสบความสำเร็จในระดับนี้ ถือว่ามีจำนวนไม่มากนัก โดยผู้มาลงทุนกับ SASOM ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับเอเชีย
อย่าง Kream Corporation ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ในเครือ Naver หรือที่หลายคนรู้จักว่า เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation
ถือเป็น Startup ไทยรายแรก ๆ ที่สามารถระดมทุนจากบริษัทแนวหน้าในเกาหลีใต้ ทำให้มีมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านบาท และมีเงินทุนไปพัฒนาแพลตฟอร์ม ให้เข้าถึงและรองรับจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายได้มากขึ้น
โดย SASOM จะจับมือเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) กับ Kream Corporation
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี Machine Learning ที่นำมาใช้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ใช้ในการตรวจสอบสินค้า
ไม่เพียงเท่านี้ ในปีหน้า SASOM ยังมีแผนระดมทุนต่อเนื่องกับทาง Kream Corporation ในระดับ Series A ที่เป็นระดับสูงขึ้น
เพื่อยกระดับจากธุรกิจ Startup เป็นบริษัทชั้นนำ และก้าวสู่การเป็น The Collectors Paradise of Asia หรือสวรรค์ของนักสะสมแห่งเอเชีย ที่สามารถเทียบชั้นกับแพลตฟอร์มซื้อขายของสะสมและของหายากในระดับโลก
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://sasom.co.th
Reference
- Press Release Sasom
corporation limited 在 龔成 Facebook 的最佳貼文
corporation limited 在 ファミ通TUBE Youtube 的精選貼文
ファミ通がお送りする声優・ゲームバラエティー番組『今井麻美のニコニコSSG』第141回! “ファミ選!”のコーナーでプレイするゲームは、ヘンテコ病院経営シミュレーションとして話題の『ツーポイントホスピタル:ジャンボエディション』です。お楽しみに~♪
※21時からのオマケ放送はニコニコ生放送でお届けします。冒頭数分は無料でご視聴いただけます!
※配信媒体
ニコニコ生放送 https://ch.nicovideo.jp/asami-niconicossg
YouTube https://www.youtube.com/user/famitsutube
【放送日】2021年8月3日(火)20時00分
【パーソナリティー】今井麻美さん https://twitter.com/asamingosu
【ゲーム】ツーポイントホスピタル:ジャンボエディション https://two-point-hospital-jumboedition.sega.jp/
【番組メールアドレス】 asami-ssg@ml.gzbrain.jp
【番組Twitterアカウント】 https://twitter.com/asami_ssg
【推奨ハッシュタグ】 #asami_ssg #ミンゴス
【ミンゴス夏T販売中】
https://suzuri.jp/suzuri_famitsu/omoide/24606
【『今井麻美のニコニコSSG』ファン感謝祭グッズ販売中】https://suzuri.jp/suzuri_famitsu
【『今井麻美のSSG』LINEスタンプ販売中】
第1弾 https://store.line.me/stickershop/product/1000594/
第2弾 https://store.line.me/stickershop/product/1074760/
チャンネル登録お願いします!
→http://urx.blue/BUgk
00:00 準備画面
00:10 オープニングトーク
06:44 ミンゴスだよ! おたよりコーナー
29:22 ファミ選!(『ツーポイントホスピタル:ジャンボエディション』プレイ)
58:42 エンディングトーク
(C) Two Point Studios 2020. Developed by Two Point Studios.
Published by SEGA Publishing Europe Limited. Two Point, Two Point Hospital: JUMBO Edition, the Two Point Hospital: JUMBO Edition logo and Two Point Studios are either registered trade marks or trade marks of Two Point Studios Limited.
SEGA, the SEGA logo are either registered trademarks or trademarks of SEGA CORPORATION or its affiliates. SEGA is registered in the U.S. Patent and Trademark Office. All other trademarks, logos and copyrights are property of their respective owners.
corporation limited 在 電撃オンライン Youtube 的最佳解答
歴史ゲーム大好きライター・うどんが配信したいゲームを配信する生番組「うどんの野望 最後の聖戦」。
「うどんの野望」第162回目の放送では、『ツーポイントホスピタル:ジャンボエディション』をプレイします!
■ミルダム版「うどんの野望」
https://www.mildom.com/11838667
■書籍「絶対人に言いたくなる ろくでもない三国志の話」の購入はコチラから
kindle版
https://www.amazon.co.jp/ebook/dp/B07BNBS6FK/dengekionline-22
単行本
https://www.amazon.co.jp/dp/4048938096/dengekionline-22
■『ツーポイントホスピタル:ジャンボエディション』公式サイト
https://two-point-hospital-jumboedition.sega.jp/
■出演
うどん(歴史ゲー担当ライター)
https://twitter.com/udon0401
KYS(うどん担当編集)
https://twitter.com/KYS48
■スタッフ
F@CT
■チャンネル登録ボタンより登録をお願いします!
https://goo.gl/7nlGR0
© Two Point Studios 2020. Developed by Two Point Studios.
Published by SEGA Publishing Europe Limited. Two Point, Two Point Hospital: JUMBO Edition, the Two Point Hospital: JUMBO Edition logo and Two Point Studios are either registered trade marks or trade marks of Two Point Studios Limited.
SEGA, the SEGA logo are either registered trademarks or trademarks of SEGA CORPORATION or its affiliates. SEGA is registered in the U.S. Patent and Trademark Office. All other trademarks, logos and copyrights are property of their respective owners.
corporation limited 在 Square Enix Youtube 的最讚貼文
Announcing the G-Darius HD update’s contents, scheduled for Autumn 2021!
Darius Cozmic Revelation, including G-Darius HD and DariusBurst Another Chronicle EX+, is available for Nintendo Switch and PlayStation®4!
Official Site:
https://darius.jp/en/revelation/
Darius Cozmic Revelation- order now!
https://store.strictlylimitedgames.com/collections/darius
*Sold outside of Japan by Strictly Limited Games
About Darius:
Darius is a series of horizontally scrolling shooting games, dating back to the original game’s arcade debut in 1986. The original arcade release was followed by numerous releases on consoles and in the arcade. Darius Cozmic Collection was a carefully picked selection of the earlier, 2D games in the series, released on PlayStation®4 and Nintendo Switch.
All images taken from titles in development.
© TAITO CORPORATION 1986, 2020 ALL RIGHTS RESERVED.