Because we don't have planet B. We must help each other make love with this amazing planet. 🇺🇳🙏🏼 🌎 🙏🏼🇺🇳
❤💖🧡💛💚💙💜🤎🖤
THE GLOBAL GOALS
In 2015, world leaders agreed to 17 Global Goals (officially known as the Sustainable Development Goals or SDGs). It's now five years on, and we have more work than ever to do. These goals have the power to create a better world by 2030, by ending poverty, fighting inequality and addressing the urgency of climate change. Guided by the goals, it is now up to all of us, governments, businesses, civil society and the general public to work together to build a better future for everyone.
The 17 SDGs are:
(1) No Poverty,
(2) Zero Hunger,
(3) Good Health and Well-being,
(4) Quality Education,
(5) Gender Equality,
(6) Clean Water and Sanitation,
(7) Affordable and Clean Energy,
(8) Decent Work and Economic Growth,
(9) Industry, Innovation and Infrastructure,
(10) Reducing Inequality,
(11) Sustainable Cities and Communities,
(12) Responsible Consumption and Production,
(13) Climate Action,
(14) Life Below Water,
(15) Life On Land,
(16) Peace, Justice, and Strong Institutions,
(17) Partnerships for the Goals.
🙏🏼🙏🏼🙏🏼🙏🏼🙏🏼🙏🏼🙏🏼🙏🏼
#GlobalGoals
#UnitedNations
#pridemonth
#LOVEWINS
#MiMiTao
#ปฏิบัติหน้าที่
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅Miss Japan,也在其Youtube影片中提到,Hej Hej! 榎元 幸奈 (えのもと ゆきな) です! 今回のテーマは、 「私が考えるSDGs」です!! 17の世界目標の中でも、 【5.ジェンダー平等を実現しよう】 【10. 人や国の不平等をなくそう】 の二つの項目に着目して考えてみました🌸 溢れ出る憤りの感情にご注目ください(笑) ...
「economic inequality」的推薦目錄:
- 關於economic inequality 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於economic inequality 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於economic inequality 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於economic inequality 在 Miss Japan Youtube 的最讚貼文
- 關於economic inequality 在 Dan Lok Youtube 的精選貼文
- 關於economic inequality 在 How do Americans view economic inequality? - YouTube 的評價
economic inequality 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
สรุป ความเหลื่อมล้ำประเทศไทย ในมุมมองเกียรตินาคินภัทร /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าทั่วโลกโดยรวม ความเหลื่อมล้ำจะมีทิศทางที่ลดลงมาโดยตลอด
แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย กลับไม่เป็นไปเช่นนั้น
จากข้อมูลของธนาคารโลกช่วงระหว่างปี 2015 ถึง 2018 พบว่าประชากรไทย
ที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มจาก 4.9 ล้านคนเป็น 6.7 ล้านคน
ในขณะที่ปีที่แล้ว ธนาคารโลกก็ได้คาดการณ์ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น
อีก 1.5 ล้านคน ซึ่งจะกินสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ
และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP
ก็ได้ออกรายงาน “เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม แก้อย่างไร ?”
ที่ได้กล่าวถึงสถานการณ์และความท้าทายเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
พร้อมเสนอกลไกในการลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
แล้วรายงานฉบับนี้ มีอะไรน่าสนใจบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรามาเริ่มกัน ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยอยู่ตรงไหน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก
ตรงนี้เราสามารถอ้างอิงได้จากดัชนี Gini ที่ใช้วัดการกระจายรายได้ของประชากรในประเทศ
โดยรวมแล้ว ประเทศไทยจัดเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำระดับกลางค่อนไปทางสูง
ซึ่งก็จะไม่ได้เหลื่อมล้ำมากเหมือนกับประเทศอินเดียและจีน
แต่ก็จะไม่ได้น้อยแบบประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป
ทีนี้ เรามาเริ่มจากมุมมองแรก
นั่นก็คือ “ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้”
รู้หรือไม่ว่ากลุ่มผู้ที่มีเงินเดือนสูงที่สุดในประเทศไทย กำลังมีสัดส่วนที่น้อยลง
ในขณะที่กลุ่มผู้ที่มีเงินเดือนตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับต่ำ มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น
หากดูจากตรงนี้ เราก็อาจจะตีความได้ว่า
เรากำลังจะมีความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ลดลง
แต่จริง ๆ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะว่าสาเหตุที่กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายของภาครัฐ ที่มีการอัดฉีดเงินลงไป และเกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่เข้ามาทำงานในเมืองที่ได้โอนเงินกลับไปยังชนบท
แม้ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ในประเทศไทยจะดูดีขึ้น แต่เป็นการดีขึ้นแบบไม่ได้ยั่งยืนในระยะยาว
ต่อมา เรามาดูกันที่ “ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง”
ส่วนนี้เป็นการวัดการถือครองสินทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น เงินฝากในธนาคาร หุ้น หรือที่ดิน
หัวข้อนี้ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรได้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่มากในประเทศไทย
เพราะ Credit Suisse หนึ่งในสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่จากยุโรปได้ประเมินว่า
กลุ่มคนที่มั่งคั่งที่สุด 10% ของประเทศไทยมีสินทรัพย์มากกว่า 77% ของประชากรทั้งประเทศ
ในขณะเดียวกัน กลุ่มคน 1% ของประเทศไทย เฉลี่ยแล้วมีทรัพย์สินคนละ 33 ล้านบาท
ซึ่งต่างกันถึง 2,500 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มคน 20% ที่จนที่สุดในประเทศ..
นั่นจึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางด้านการถือครองสินทรัพย์สูงที่สุดในโลก โดยสาเหตุสำคัญที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำนับตั้งแต่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997
ในขณะที่ ตลาดหุ้นไทยมีการฟื้นตัวจากช่วงวิกฤติได้ดีกว่าเศรษฐกิจในประเทศ
นั่นจึงทำให้กลุ่มคนที่มีทรัพย์สินที่อิงมูลค่าจากตลาดหุ้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเร็วกว่า
นอกจากนี้ ก็ยังมีเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยที่เป็นไปแบบไม่ทั่วถึง
และกลุ่มคนที่มีรายได้สูงมีอัตราการเติบโตที่ดี แต่กลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางจนถึงต่ำ
แทบจะไม่มีการเติบโตเลยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
คำถามที่ตามมาก็คือทำไมประเทศไทยยังเหลื่อมล้ำสูง ?
เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก
1. ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้
2. ปัจจัยภายในที่เกิดจากนโยบายในประเทศ
มาเริ่มกันที่อะไรที่ประเทศไทยควบคุมไม่ได้ ?
คำตอบก็คือ “ราคาน้ำมัน”
ในความเป็นจริงแล้ว ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยลดลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
แต่ในปี 2015 ก็ได้เกิดวิกฤติราคาน้ำมัน
ที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบตกลงจาก 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
เหลือเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
วิกฤติครั้งนั้นส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงหนัก
หลังจากนั้นมา ราคาน้ำมันดิบก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับไปอยู่ในระดับเดิมได้อีกเลย
ซึ่งภาคการเกษตรถือเป็นหัวใจสำคัญในประเทศของเรา
เพราะมีสัดส่วนแรงงานอยู่มากถึง 1 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ
แต่ GDP ที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มคนเหล่านี้ กลับทำได้เพียง 6%
นอกจากราคาน้ำมันดิบแล้ว อีกส่วนสำคัญก็คือคนไทยยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ที่จะช่วยให้ผลผลิตต่อเกษตรกรดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้วยเรื่องเงินทุนหรือความรู้ก็ตาม
แต่เมื่อหลายประเทศทั่วโลกสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง นั่นก็หมายความว่าราคาสินค้าเกษตรก็จะปรับตัวลดลง
ผลที่ตามมาคือ ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรที่ปกติรายได้น้อยอยู่แล้ว
จะยิ่งมีรายได้น้อยลงไปอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คำถามที่ตามมาก็คือ ถ้าหากไม่ใช่เกษตรกร จะสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้หรือไม่
เรื่องนี้เราก็ต้องมาย้อนดูตั้งแต่เรื่องของ “โอกาสทางการศึกษา”
รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยมีการใช้จ่ายภาครัฐด้านการศึกษา ที่ใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่คุณภาพการศึกษากลับวิ่งไปในทางตรงกันข้าม
ผู้คนที่ร่ำรวยสามารถส่งเสริมให้ลูกเข้าเรียนกวดวิชาและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
ในขณะที่ผู้มีรายได้ต่ำไม่สามารถทำได้
เมื่อการเข้าถึงโอกาสแตกต่างกัน เด็กแต่ละคนจึงมีข้อจำกัด
ในการดึงศักยภาพของตัวเองออกมาได้ไม่เท่าเทียมกัน
สะท้อนให้เห็นได้จากผลสอบ O-NET ของสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ในเมืองและในกรุงเทพฯ
มีค่าเฉลี่ยคะแนนที่สูงกว่าโรงเรียนอื่น ๆ ในทุกสาขาวิชา อย่างมีนัยสำคัญ
สะท้อนว่ารัฐยังไม่สามารถกระจายคุณภาพการศึกษาให้ทั่วถึง
เมื่อจบการศึกษา สิ่งที่ตามมาก็คือการเข้าไปเป็นแรงงาน
มันก็กลับไปที่เรื่องเดิมที่ว่าแรงงานมีอัตราการเติบโตของรายได้ที่ต่ำมาตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง
โดยมีอัตราการเติบโตเพียง 0 ถึง 3% ต่อปีเท่านั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอกับการออม
เพราะอัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่า ๆ กัน
หรือหากเราจะเลือก ก่อตั้งธุรกิจเป็นของตัวเอง
ในประเทศไทยก็ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย
เพราะว่าเรายังขาดกฎหมายกำกับการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นระบบ
ซึ่งไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ต้องการพื้นที่ในการเติบโตมากนัก
รู้หรือไม่ว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดเพียง 5% แรกของประเทศไทย
สร้างรายได้มากถึง 46% ของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่งในประเทศไทยรวมกัน..
ปัญหานี้ยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นในช่วงวิกฤติโควิด 19
ที่ดูเหมือนจะซ้ำเติมให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแย่ลงอีก
เพราะในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าสถาบันการเงินสะดวกใจที่จะช่วยเหลือกลุ่มบริษัทใหญ่มากกว่าผู้ประกอบการรายย่อย เพราะมีความน่าเชื่อถือและฐานะการเงินที่ดีกว่าอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ปกติมีเนื้องานที่ไม่สามารถทำจากที่ห่างไกลหรือจากที่บ้าน
ก็ได้รับผลกระทบหนักกว่ากลุ่มคนรายได้ระดับอื่น ๆ
จึงทำให้ในช่วงโรคระบาดโควิด 19 กลายเป็นอีกตัวเร่งสำคัญที่ทำให้กลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้นอีก 1.5 ล้านคน
ในขณะเดียวกัน การที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ก็ถือเป็นตัวเร่งความเหลื่อมล้ำเช่นกัน
เพราะเมื่อเราแก่ตัวแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้ก็ยากที่จะสามารถสร้างรายได้คงเดิมต่อไป
แน่นอนว่าเมื่อรายได้ลดลง สิ่งที่ตามมาก็คือหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้จึงทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะที่ประชาชน
จะแก่ก่อนรวยและเป็นการสร้างช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้กว้างยิ่งกว่าเดิม
แล้วแก้ไขยังไงดี ?
แม้เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่แก้ไขอะไรไม่ได้
แต่ในรายงานก็มีการนำเสนอ “กลไกลดความเหลื่อมล้ำ”
ซึ่งก็ได้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1. กลไกทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแข่งขัน
เริ่มต้นจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนแข่งขันกันอย่างเท่าเทียมและต้องมีการปฏิรูปกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการผูกขาด หากทำได้สำเร็จ ก็น่าจะทำให้การกระจุกตัวของทรัพยากรทางเศรษฐกิจเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
2. กลไกทางภาษี โดยใช้ระบบภาษีในอัตราก้าวหน้าและภาษีที่เก็บบนฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและภาษีมรดก
3. กลไกสวัสดิการของรัฐ ที่ต้องทำให้คนเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุขขั้นพื้นฐาน และสินเชื่อ มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
4. กลไกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกันการทุจริต
5. กลไกกระจายอำนาจการเมืองและการคลัง ควรมีการปรับนโยบายการจัดสรรอำนาจไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้ครอบคลุมการกระจายรายได้สู่ทุกพื้นที่ในประเทศ
ถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่าความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
เกิดขึ้นจากส่วนประกอบหลายอย่าง ซึ่งก็มีทั้งที่เราควบคุมไม่ได้
และที่เราสามารถควบคุมได้โดยใช้นโยบายในการผลักดันให้ดีขึ้นได้
จากกลไกการลดความเหลื่อมล้ำทั้ง 5 ข้อ
ที่ทางกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรได้ทำการนำเสนอเอาไว้
หากทำได้ข้อใดข้อหนึ่งจากตรงนั้น ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก ๆ แล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/inequality-situation-in-thailand
-https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/34496/9781464816024.pdf
-http://documents1.worldbank.org/curated/en/841701595602517692/pdf/Executive-Summary.pdf
economic inequality 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
70 ปีผ่านไป ประเทศไหน รวยขึ้นสุด? / โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน หรือช่วงปี 1950 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
กลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก ก็ได้เปลี่ยนจากยุโรปมาเป็นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทั่วโลก อยู่ในช่วงการฟื้นฟูจากความเสียหายหลังสงคราม
จากวันนั้นมาจนถึงตอนนี้
ประเทศไหนที่สามารถฟื้นฟูและเติบโตได้อย่างโดดเด่น
จนทำให้คนในประเทศรวยขึ้นมากที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละประเทศ วัดได้จาก GDP per Capita
คำนวณจากมูลค่าของ GDP หรือรายได้รวมของประเทศ หารด้วยจำนวนประชากร
หากตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น หมายความว่าคนในประเทศโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้มากขึ้น หรือว่ารวยขึ้นนั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบ GDP per Capita ที่เป็นข้อมูลในปัจจุบันกับปี 1950
ซึ่งถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ และความแตกต่างของราคาในแต่ละประเทศแล้ว
ประเทศที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 38.0 เท่า
อันดับ 2 โอมาน เพิ่มขึ้น 36.7 เท่า
อันดับ 3 อิเควทอเรียลกินี เพิ่มขึ้น 35.8 เท่า
อันดับ 4 บอตสวานา เพิ่มขึ้น 32.4 เท่า
อันดับ 5 ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 30.6 เท่า
ส่วนประเทศจีนอยู่ในอันดับ 11 มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 16.4 เท่า
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 12.8 เท่า
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า
จะเห็นได้ว่า “ประเทศเกาหลีใต้” เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัว
เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา
ถ้าให้ย้อนกลับไป การเติบโตนี้ มีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ปัก ชอง-ฮี และกลุ่มแชโบล แล้วทั้ง 2 ปัจจัยนี้ สำคัญอย่างไร ?
ย้อนไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศเกาหลี ได้ถูกแบ่งแยกประเทศและรูปแบบการปกครอง เป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปี 1948 หลังจากนั้น 2 ปี ก็เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จนสงครามจบลงในปี 1953 จากการเซ็นสัญญาสงบศึก
จากสงครามที่ยาวนาน เกาหลีใต้เลยได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนตอนนั้นลดลงไปมาก
ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้ว ในตอนนั้นคนไทยมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าเกาหลีใต้เสียอีก
ช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เกาหลีใต้ได้เริ่มฟื้นฟูประเทศ
ซึ่งขณะนั้นเกาหลีใต้ยังเป็นประเทศเกษตรกรรม เหมือนกับประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ
โดยเน้นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ทดแทนการนำเข้า
แต่ความไม่สงบของประเทศก็กลับมาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลในขณะนั้นได้คอร์รัปชันงบประมาณการฟื้นฟูประเทศ จนนำไปสู่การทำรัฐประหารในปี 1961 นำโดยนายพล ปัก ชอง-ฮี
ซึ่งต่อมา เขาคนนี้ก็ได้กลายเป็นประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในปี 1963 และดำรงตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปี
ปัก ชอง-ฮี ได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ออกฉบับแรกมาในปี 1962
ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเช่นกัน
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนี้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงฉบับที่ 7 ที่ได้สิ้นสุดลงในปี 1996
การออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือจุดเริ่มต้นของยุคที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนช่วงเวลานี้ถูกเรียกว่า “Miracle on the Han River” หรือปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน
ซึ่งคือแม่น้ำที่ไหลผ่านกลางกรุงโซลนั่นเอง
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว เป็นการวางรากฐานให้เกาหลีใต้
สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้
ซึ่งทางรัฐบาลจะสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษกับภาคเอกชนอย่างเต็มที่
เพื่อหวังให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ช่วยเพิ่มการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
และกลุ่มธุรกิจที่ว่านี้ มีชื่อเรียกในยุคปัจจุบันว่า “แชโบล”
ซึ่งคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้ถูกส่งไม้ต่อรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
เช่น Samsung, Hyundai, LG, SK และ Lotte ที่ต่างก็เริ่มก่อตั้งและเติบโตมาจากในช่วงนี้
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบับแรก จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้งโรงงานทำน้ำตาลและโรงงานผลิตผ้าเส้นใยขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
Hyundai เริ่มจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่เน้นงานโครงสร้างพื้นฐาน
LG เริ่มจากโรงงานพลาสติก ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศ
SK เริ่มจากโรงงานสิ่งทอ ซึ่งผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์เป็นแห่งแรกของประเทศ
Lotte เริ่มจากเป็นโรงงานผลิตหมากฝรั่ง
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 ถึง 4 ตั้งแต่ปี 1967 ก็ได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ
เพราะรัฐบาลเปลี่ยนมาเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างเหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร การต่อเรือ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้ง Samsung Electronics ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเซมิคอนดักเตอร์
Hyundai ก่อตั้ง Hyundai Motor ผลิตรถยนต์ และ Hyundai Heavy Industries ผลิตเรือขนส่ง
LG ก่อตั้ง GoldStar ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งต่อมาคือ LG Electronics
SK เริ่มทำธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Hanjin ก่อตั้ง Hanjin Shipping บริษัทเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดในประเทศ และซื้อกิจการสายการบิน Korean Air มาจากรัฐบาล
สังเกตได้ว่า ประเภทธุรกิจที่เริ่มก่อตั้งจากช่วงนี้ ได้กลายเป็นธุรกิจหลักของแต่ละบริษัทมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลานี้เอง ที่รายได้ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้แซงคนไทยได้ในปี 1969
และก็ได้ทิ้งห่างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และถ้าพูดถึง “จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด” ก็จะเกิดขึ้นในแผนฉบับที่ 5 ถึง 7
เริ่มตั้งแต่ปี 1982 โดยรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี
โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างเช่น
Samsung เริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ จนในปัจจุบันมียอดขายสมาร์ตโฟนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
Hyundai พัฒนารถยนต์ จนในปัจจุบันมียอดขายรถยนต์เป็นอันดับ 4 ของโลก
LG ที่โดดเด่นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ จนมียอดขายตู้เย็นติด 3 อันดับแรกของโลก
SK ก่อตั้ง SK Telecom ทำธุรกิจโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันใหญ่สุดในประเทศ
และผลลัพธ์ก็เป็นไปได้อย่างที่หวัง เพราะในปัจจุบัน เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับ
ให้เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันดับ 1 ของโลก
ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็มีงบสำหรับการวิจัยและพัฒนา คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP มากเป็นอันดับ 2 ของโลก จนนำไปสู่การเป็นประเทศส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำตั้งแต่ เซมิคอนดักเตอร์ ที่ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
นั่นจึงทำให้รายได้ของเกาหลีใต้พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออกในปี 2020 สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และคิดเป็นกว่า 40% ของ GDP
และเมื่อสิ้นปี 2020 เกาหลีใต้ก็ได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการผลักดันนายทุนรายใหญ่เป็นเวลานาน
สิ่งที่ตามมาก็คือ รายได้ของประเทศทั้งหมด กว่า 80% มาจากรายได้ของกลุ่มแชโบล
หรือเพียงแค่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Samsung Electronics ก็มีรายได้คิดเป็นกว่า 13% ของประเทศแล้ว
และเมื่อรายได้ของประเทศ เติบโตมาจากคนไม่กี่กลุ่ม แน่นอนว่าย่อมมีปัญหาตามมา
ปัญหาที่สำคัญอย่างแรกก็คือ การกระจายรายได้ที่ไม่ทั่วถึง หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุกจนกระจาย”
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ 43.8% ยังมีฐานะยากจน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดท่ามกลางกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ปัญหาอย่างที่สองคือ เรื่องการผูกขาด เพราะกลุ่มแชโบล ได้ขยายธุรกิจจนครอบคลุมทุกอย่าง ทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม ดิวตี้ฟรี ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงร้านกาแฟและร้านอาหาร
ส่งผลให้กลุ่ม SME ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ยาก
อีกปัญหาสำคัญก็คือเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งเรื่องที่อำนาจบริหารยังวนอยู่ในกลุ่มครอบครัว
รวมไปถึงเรื่องยักยอกเงินและติดสินบนรัฐบาล และแม้ว่าจะถูกจำคุก
แต่หลังพ้นโทษก็กลับมาบริหารงานต่อได้เหมือนเดิม..
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่าเกาหลีใต้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศ
ที่ประชากรรวยขึ้นมากที่สุดในโลก หากนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแชโบลที่รัฐบาลสมัยก่อนเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จของประเทศ
กลับกลายเป็นต้นตอของปัญหาทางสังคมให้กับเกาหลีใต้ และสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่
เพราะความไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน
ซึ่งก็ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลในยุคนี้
ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร
รอยร้าวและความแตกแยกทางสังคม ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นายพล ปัก ชอง-ฮี เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในปีที่ 16 จากการถูกลอบสังหาร
และ 34 ปีต่อมา หรือในปี 2013 เกาหลีใต้ ได้มีประธานาธิบดีหญิงคนแรก ที่ชื่อ ปัก กึน-ฮเย ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพล ปัก ชอง-ฮี
แต่เธอดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 ปี ก็ถูกศาลถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสินจำคุก 24 ปี
เนื่องจากรับสินบนจากกลุ่มแชโบล..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ourworldindata.org/grapher/gdp-per-capita-maddison-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/Miracle_on_the_Han_River
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=KR
-https://www.oecd.org/economy/surveys/korea-2020-OECD-economic-survey-overview.pdf
-https://data.oecd.org/inequality/poverty-gap.htm
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-03/south-korea-leads-world-in-innovation-u-s-drops-out-of-top-10
-https://exporthub.co/top-exporting-countries-in-the-world-for-2020/
-http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_business/949236.html
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20200802000122
economic inequality 在 Miss Japan Youtube 的最讚貼文
Hej Hej!
榎元 幸奈 (えのもと ゆきな) です!
今回のテーマは、
「私が考えるSDGs」です!!
17の世界目標の中でも、
【5.ジェンダー平等を実現しよう】
【10. 人や国の不平等をなくそう】
の二つの項目に着目して考えてみました🌸
溢れ出る憤りの感情にご注目ください(笑)
もっと詳しく知りたい方は、
下記のリンクへどうぞ!▼
Hej Hej!
I’m Yukina Enomoto!
Today’s theme is;
What I think about Sustainable Development Goals.
Among the United Nations’ 17 goals, I mainly talk about
[5. Gender Equality] in Japanese case and
[10. Reduced Inequality] in general.
You’ll probably see me getting angry😂
If you’re interested in ‘SDGs’,
the links I mentioned are down below!▼
【 外務省 / Ministry of Foreign Affairs of Japan 'JAPAN SDGs Action Platform’: https://www.mofa.go.jp/mofaj/gaiko/oda/sdgs/index.html 】
【 UNITED NATIONS 'Sustainable Development Goals’: https://www.un.org/sustainabledevelopment/ 】
【 男女共同参画局「共同参画」2021年5月号 / Gender Equality Bureau Cabinet Office (Written only in Japanese): https://www.gender.go.jp/public/kyodosankaku/2021/202105/202105_05.html 】
【世界経済フォーラム「グローバルジェンダーギャップ指数2021 / WORLD ECONOMIC FORUM ‘Global Gender Gap Report 2021’: https://jp.weforum.org/reports/global-gender-gap-report-2021 】
榎元幸奈のその他の動画はこちらから。
https://www.youtube.com/results?search_query=榎元幸奈
東京大会ファイナリストのその他の動画はこちらから。【TD】
https://www.youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO5so9VQhWoceM8DhcABqora
これまでの動画審査の様子はこちらから。
第5期 https://youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO575U6nLfitQSxQpYWpf_YI
第4期 https://www.youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO5jsvPXPJ0jGWJfLJ_b5oIp
第3期 https://www.youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO6FLk0Tzad0iZNPQxWb4IAH
第2期 https://www.youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO7m52Ko5xmP7o1QHSMIv6A0
第1期 https://www.youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO79coAzrsMn9slI47Di-l1U
☆☆☆ 2021ミスジャパン日本大会スペシャルリポーター募集 ☆☆☆
ミスジャパンでは、今年9月に開催する、2021ミスジャパンビューティーキャンプと日本大会の様子をリポートしていただける方を募集いたします。
採用された方には2022ミスジャパン大会での特典が用意されていますのでぜひご応募ください。
詳細についてはこちらから。
https://www.missjapan.org/reporter
ミスジャパンに挑戦してみませんか?
ミスジャパンに輝いた方にはチャリティ・芸能活動のサポートが受けられます。
http://www.missjapan.org/application
2020年ファイナリストの動画をまとめました↓
https://www.youtube.com/playlist?list=PLxW6DupHIFO6_aSyuG9DrAPKP3sAuYOQN
チャンネル登録お願いします↓
https://www.youtube.com/user/MUJTV?sub_confirmation=1
MJサポーターとは
ミスジャパンファイナリストやOGと一緒に様々な社会貢献活動を行い地域社会との共存共栄を目指します。
■活動内容
チャリティー活動(企画も行う) / オンラインでのイベントの企画、実施 / パーティーやイベントを通じての交流
■入会金
月会費500円/1ヶ月 年会費5,000円/12ヶ月
■参加資格
ミス・ジャパンの活動に興味が有る男女
http://www.missjapan.org/mjsupporter
ミスジャパン・ミスタージャパンページェント評議員
弊社は、一年間のミス・ミスタージャパンページェントイベント(MJP)を通して、日本の若者達の人生に於けるプラットホーム(=きっかけ)を与えることを1つの目的として活動しております。コンテストの出場者らは、大会を通して、地域の活動から世界規模のチャリティ活動まで様々な活動に従事し、個人として成長していきます。
これらの活動にご支援いただく機会の1つとして、評議員会を用意いたしました。是非、本年度の評議員会にご就任頂き、ご支援賜りたくお願いいたします。なお、ご支援いただいた支援金につきましては、社会貢献活動、各種イベント費用、交通・宿泊費、一部イベントの賞金等に利用させて頂きます。
http://www.missjapan.org/2019councilor
Miss Japanでは一緒にコラボしていただけるyoutuberを募集しております!
企画内容について柔軟に考えておりますので、お気軽にお問い合わせください!
過去のファイナリストでこれからyoutube始めたい方も一緒に動画を作っていきましょう。
◆Twitter
https://twitter.com/MissJapannet
◆Instagram
https://www.instagram.com/missjapan_official/?hl=ja
◆Facebook
https://www.facebook.com/MissJapannet/?eid=ARCXP2-RhI_4GD91EffBYty_ZxV4XQPUDBAnNKpXxbXhvpgwrUkM200mqotphyKTp5MA9vJVT7fp-tmr
お問い合わせ先
info@missjapan.net
#missjapan #ミスジャパン #2021ミスジャパン #ミスジャパン2021 #小川千奈
economic inequality 在 Dan Lok Youtube 的精選貼文
What if YOU could join the 1%? Discover The shocking TRUTH About The 1% and Global Wealth Inequality. Hit the reminder bell to watch Dan Lok’s upcoming video this Saturday at 10:30AM EST. Dan will be there live and maybe you can get your questions answered live.
Want to get Dan’s best wealth and success secrets? Click here to sign up for his brand-new 2 hour masterclass: http://wealthinequality.danlok.link
? SUBSCRIBE TO DAN'S YOUTUBE CHANNEL NOW ?
https://www.youtube.com/danlok?sub_confirmation=1
Check out these Top Trending Playlists -
1.) Boss In The Bentley: https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46OWsrbWGPnPW8mvDtjge_6-
2.) Sales Tips That Get People To Buy - https://www.youtube.com/watch?v=E6Csz_hvXzw&list=PLEmTTOfet46PvAsPpWByNgUWZ5dLJd_I4
3.) Dan Lok’s Best Secrets - https://www.youtube.com/watch?v=FZNmFJUuTRs&list=PLEmTTOfet46N3NIYsBQ9wku8UBNhtT9QQ
Dan Lok is a Chinese-Canadian business magnate and global educator. Mr. Lok is leading a global education movement spanning across 120+ countries where Mr. Lok has taught millions of men and women to develop high income skills, unlock true financial confidence and master their financial destinies.
Beyond his success in business, Mr. Lok was also a two times TEDx opening speaker. An international best-selling author of over a dozen books. And the host of The Dan Lok Show – a series featuring billionaire tycoons and millionaire entrepreneurs.
Today, Mr. Lok continues to be featured in hundreds of media channels and publications every year and is widely seen as one of the top business leaders by millions around the world.
★☆★ CONNECT WITH DAN ON SOCIAL MEDIA ★☆★
Podcast: http://thedanlokshow.danlok.link
Instagram: http://instagram.danlok.link
YouTube: http://youtube.danlok.link
Linkedin: http://mylinkedin.danlok.link
#DanLok #GlobalWealthInequality #Wealth
This video is about Global Wealth Inequality - The TRUTH About The 1%
https://youtu.be/LQtXu4k44Mo
https://youtu.be/LQtXu4k44Mo
economic inequality 在 How do Americans view economic inequality? - YouTube 的推薦與評價
Economic inequality in the U.S. has been rising steadily over the past few decades, and this increase has not gone unnoticed by Americans. ... <看更多>