UNIQLO กำลังรุกตลาดอินเดีย / โดย ลงทุนแมน
“ศักยภาพของประเทศอินเดียไม่ต่างอะไรไปจากประเทศจีน หรือ มันอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ..”
ประโยคนี้กล่าวโดย Tadashi Yanai ซีอีโอของ UNIQLO ซึ่งเป็นบุคคลที่รวยสุดในประเทศญี่ปุ่น
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา..
UNIQLO ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ในการขยายธุรกิจไปยังประเทศอินเดีย
แต่ที่น่าสนใจ คือ ZARA เข้ามาทำธุรกิจในประเทศอินเดียมากว่า 9 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับ H&M ที่เริ่มทำธุรกิจในประเทศนี้มาแล้ว 4 ปี..
แล้วทำไม UNIQLO
ถึงเพิ่งเริ่มลงทุนในประเทศอินเดีย?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรกก็คือ ความซับซ้อนของธุรกิจแฟชั่นในประเทศโซนเอเชียใต้ และตะวันออกกลาง
เนื่องจากวัฒนธรรม และความเคร่งครัดทางศาสนา
จากบทวิเคราะห์ของ McKinsey ระบุว่า..
ปัจจุบัน ผู้หญิงชาวอินเดียกว่าร้อยละ 70 ยังเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นท้องถิ่น
ถึงแม้ว่าเทรนด์จะเปลี่ยนมาเป็นแฟชั่นสมัยใหม่ แต่ก็ยังเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
มีการคาดการณ์ว่า ปี 2023 ส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจแฟชั่นในประเทศอินเดีย จะแบ่งออกเป็น
เสื้อผ้าแฟชั่นท้องถิ่น 65%
เสื้อผ้าแฟชั่นสมัยใหม่ 35%
หมายความว่า แบรนด์เสื้อผ้าทั่วโลก ต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งเค้กชิ้นที่ เล็กกว่า..
แต่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,370 ล้านคน
การขยายตัวของ GDP ที่ร้อยละ 6 ถึง 8
รวมถึงการเติบโตของธุรกิจเสื้อผ้าในประเทศอินเดีย
ปี 2010 มูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท
ปี 2022 มูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท
จึงทำให้การขยายธุรกิจเสื้อผ้าในประเทศอินเดีย ยังเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ..
อย่างไรก็ตาม กฎหมายประเทศอินเดียระบุให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและถือหุ้นเกินกว่า 51% จำเป็นที่จะต้องจัดหาแหล่งวัตถุดิบในประเทศมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30% ของต้นทุนการผลิต..
เรื่องนี้ทำให้..
ZARA ซึ่งก่อตั้งในประเทศอินเดียในปี 2010
เลือกที่จะร่วมทุนกับ Tata Group เครือธุรกิจใหญ่สุดในประเทศอินเดีย
ในขณะที่ ปี 2014 H&M เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทเอง
โดยบริษัทยินยอมที่จะจัดหาวัตถุท้องถิ่นให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด
เรามาดูภาพรวมปีที่ผ่านมาของทั้ง 2 บริษัท..
ZARA ประเทศอินเดีย
รายได้ 6,172 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 18% และมีจำนวน 22 สาขา
H&M ประเทศอินเดีย
รายได้ 4,292 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 29% และมีจำนวน 42 สาขา
ถึงแม้ว่า ZARA จะมีรายได้ที่สูงกว่า จากการเริ่มลงทุนก่อนหน้า H&M 5 ปี แต่ H&M มีอัตราการเติบโตที่มากกว่า และขยายสาขาได้มากกว่า
ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการที่ ZARA ร่วมทุนกับผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งในบางครั้งจะทำให้ตัดสินใจช้าลง ลงมือทำช้าลง ขั้นตอนทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับธุรกิจ Fast Fashion ที่ต้องขยับตัวไว..
และหากรายได้ทั้งสองบริษัทเติบโตในอัตราเท่าเดิม รายได้ H&M จะมากกว่า ZARA ในที่สุด
ทั้งหมดนี้ จึงกลายมาเป็นกรณีศึกษาให้ UNIQLO ตัดสินใจขยายธุรกิจในประเทศอินเดียปีนี้
โดยเลือกวิธีการลงทุนแบบ H&M คือ การลงทุนเองทั้งหมด ทั้งโรงงานการผลิต การขยายสาขา และจัดหาวัตถุดิบท้องถิ่นตามมูลค่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
แล้วผลประกอบการ UNIQLO ตอนนี้เป็นอย่างไร?
ปี 2017 รายได้ 5.2 แสนล้านบาท กำไร 3.4 หมื่นล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 6.0 แสนล้านบาท กำไร 4.4 หมื่นล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 6.4 แสนล้านบาท กำไร 4.6 หมื่นล้านบาท
โดยรายได้ทุกๆ 100 บาทของ UNIQLO มาจาก
UNIQLO ต่างประเทศ 45 บาท
UNIQLO ญี่ปุ่น 38 บาท
GU และ Global Brands 18 บาท
แสดงให้เห็นว่า UNIQLO ประสบความสำเร็จสูงกับการลงทุนในต่างประเทศ
จนรายได้หลักของบริษัทเติบโตแซงหน้าธุรกิจในประเทศบ้านเกิด
ก็น่าติดตามว่า..
การเริ่มต้นของ UNIQLO หลังคู่แข่งอย่าง ZARA และ H&M จะทำได้ดีขนาดไหน
อย่างไรก็ตาม ข้อได้เปรียบของ UNIQLO คือการได้เรียนรู้จากคู่แข่ง
ได้ประเมินความพร้อมของตลาด
โดยที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์..
หากเราอยากเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรแล้วกลัวว่า เราจะเริ่มช้ากว่าคนอื่น
จริงๆ แล้ว การที่เราเริ่มช้ากว่า
มันสามารถทำให้เราได้รู้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จทำอย่างไร
และนั่นมันอาจเป็นความได้เปรียบของคนที่เริ่มช้ากว่า ก็เป็นได้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://asia.nikkei.com/…/Uniqlo-dreams-big-as-it-enters-In…
-https://www.mckinsey.com/…/The-State-of-Fashion-2019-final.…
-https://www.statista.com/…/gross-domestic-product-gdp-grow…/
-https://www.fastretailing.com/…/fr_ir_e_n20191010_4q_summar…
-https://finance.yahoo.com/quote/FRCOY/financials?p=FRCOY
-https://www.fastretailing.com/eng/ir/library/earning.html
-https://www.mckinsey.com/…/how-indias-ascent-could-change-t…
-https://www.worldometers.info/world-popul…/india-population/
-https://economictimes.indiatimes.com/…/article…/71432955.cms
「fast 42 2022」的推薦目錄:
fast 42 2022 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
UNIQLO กำลังรุกตลาดอินเดีย / โดย ลงทุนแมน
“ศักยภาพของประเทศอินเดียไม่ต่างอะไรไปจากประเทศจีน หรือ มันอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ..”
ประโยคนี้กล่าวโดย Tadashi Yanai ซีอีโอของ UNIQLO ซึ่งเป็นบุคคลที่รวยสุดในประเทศญี่ปุ่น
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา..
UNIQLO ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ในการขยายธุรกิจไปยังประเทศอินเดีย
แต่ที่น่าสนใจ คือ ZARA เข้ามาทำธุรกิจในประเทศอินเดียมากว่า 9 ปีแล้ว
เช่นเดียวกับ H&M ที่เริ่มทำธุรกิจในประเทศนี้มาแล้ว 4 ปี..
แล้วทำไม UNIQLO
ถึงเพิ่งเริ่มลงทุนในประเทศอินเดีย?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรกก็คือ ความซับซ้อนของธุรกิจแฟชั่นในประเทศโซนเอเชียใต้ และตะวันออกกลาง
เนื่องจากวัฒนธรรม และความเคร่งครัดทางศาสนา
จากบทวิเคราะห์ของ McKinsey ระบุว่า..
ปัจจุบัน ผู้หญิงชาวอินเดียกว่าร้อยละ 70 ยังเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นท้องถิ่น
ถึงแม้ว่าเทรนด์จะเปลี่ยนมาเป็นแฟชั่นสมัยใหม่ แต่ก็ยังเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
มีการคาดการณ์ว่า ปี 2023 ส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจแฟชั่นในประเทศอินเดีย จะแบ่งออกเป็น
เสื้อผ้าแฟชั่นท้องถิ่น 65%
เสื้อผ้าแฟชั่นสมัยใหม่ 35%
หมายความว่า แบรนด์เสื้อผ้าทั่วโลก ต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งเค้กชิ้นที่ เล็กกว่า..
แต่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,370 ล้านคน
การขยายตัวของ GDP ที่ร้อยละ 6 ถึง 8
รวมถึงการเติบโตของธุรกิจเสื้อผ้าในประเทศอินเดีย
ปี 2010 มูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท
ปี 2022 มูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท
จึงทำให้การขยายธุรกิจเสื้อผ้าในประเทศอินเดีย ยังเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ..
อย่างไรก็ตาม กฎหมายประเทศอินเดียระบุให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและถือหุ้นเกินกว่า 51% จำเป็นที่จะต้องจัดหาแหล่งวัตถุดิบในประเทศมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30% ของต้นทุนการผลิต..
เรื่องนี้ทำให้..
ZARA ซึ่งก่อตั้งในประเทศอินเดียในปี 2010
เลือกที่จะร่วมทุนกับ Tata Group เครือธุรกิจใหญ่สุดในประเทศอินเดีย
ในขณะที่ ปี 2014 H&M เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทเอง
โดยบริษัทยินยอมที่จะจัดหาวัตถุท้องถิ่นให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด
เรามาดูภาพรวมปีที่ผ่านมาของทั้ง 2 บริษัท..
ZARA ประเทศอินเดีย
รายได้ 6,172 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 18% และมีจำนวน 22 สาขา
H&M ประเทศอินเดีย
รายได้ 4,292 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 29% และมีจำนวน 42 สาขา
ถึงแม้ว่า ZARA จะมีรายได้ที่สูงกว่า จากการเริ่มลงทุนก่อนหน้า H&M 5 ปี แต่ H&M มีอัตราการเติบโตที่มากกว่า และขยายสาขาได้มากกว่า
ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการที่ ZARA ร่วมทุนกับผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งในบางครั้งจะทำให้ตัดสินใจช้าลง ลงมือทำช้าลง ขั้นตอนทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับธุรกิจ Fast Fashion ที่ต้องขยับตัวไว..
และหากรายได้ทั้งสองบริษัทเติบโตในอัตราเท่าเดิม รายได้ H&M จะมากกว่า ZARA ในที่สุด
ทั้งหมดนี้ จึงกลายมาเป็นกรณีศึกษาให้ UNIQLO ตัดสินใจขยายธุรกิจในประเทศอินเดียปีนี้
โดยเลือกวิธีการลงทุนแบบ H&M คือ การลงทุนเองทั้งหมด ทั้งโรงงานการผลิต การขยายสาขา และจัดหาวัตถุดิบท้องถิ่นตามมูลค่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
แล้วผลประกอบการ UNIQLO ตอนนี้เป็นอย่างไร?
ปี 2017 รายได้ 5.2 แสนล้านบาท กำไร 3.4 หมื่นล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 6.0 แสนล้านบาท กำไร 4.4 หมื่นล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 6.4 แสนล้านบาท กำไร 4.6 หมื่นล้านบาท
โดยรายได้ทุกๆ 100 บาทของ UNIQLO มาจาก
UNIQLO ต่างประเทศ 45 บาท
UNIQLO ญี่ปุ่น 38 บาท
GU และ Global Brands 18 บาท
แสดงให้เห็นว่า UNIQLO ประสบความสำเร็จสูงกับการลงทุนในต่างประเทศ
จนรายได้หลักของบริษัทเติบโตแซงหน้าธุรกิจในประเทศบ้านเกิด
ก็น่าติดตามว่า..
การเริ่มต้นของ UNIQLO หลังคู่แข่งอย่าง ZARA และ H&M จะทำได้ดีขนาดไหน
อย่างไรก็ตาม ข้อได้เปรียบของ UNIQLO คือการได้เรียนรู้จากคู่แข่ง
ได้ประเมินความพร้อมของตลาด
โดยที่ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์..
หากเราอยากเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรแล้วกลัวว่า เราจะเริ่มช้ากว่าคนอื่น
จริงๆ แล้ว การที่เราเริ่มช้ากว่า
มันสามารถทำให้เราได้รู้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จทำอย่างไร
และนั่นมันอาจเป็นความได้เปรียบของคนที่เริ่มช้ากว่า ก็เป็นได้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://asia.nikkei.com/Business/Company-in-focus/Uniqlo-dreams-big-as-it-enters-India-its-new-China
-https://www.mckinsey.com/~/media/McKinsey/Industries/Retail/Our%20Insights/The%20State%20of%20Fashion%202019%20A%20year%20of%20awakening/The-State-of-Fashion-2019-final.ashx
-https://www.statista.com/statistics/263617/gross-domestic-product-gdp-growth-rate-in-india/
-https://www.fastretailing.com/eng/ir/library/pdf/fr_ir_e_n20191010_4q_summary.pdf
-https://finance.yahoo.com/quote/FRCOY/financials?p=FRCOY
-https://www.fastretailing.com/eng/ir/library/earning.html
-https://www.mckinsey.com/industries/retail/our-insights/how-indias-ascent-could-change-the-fashion-industry
-https://www.worldometers.info/world-population/india-population/
-https://economictimes.indiatimes.com/industry/services/retail/japanese-retailer-uniqlo-debuts-in-india/articleshow/71432955.cms