การลงทุนต่างประเทศเลือกโบรคยังไงดี?ทำอย่างไรได้บ้าง วันนี้ผมรวบรวมมาให้ครับ
อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า การจะหาหุ้นไทยที่มีการเติบโตถึง3เท่า 7 เท่าหรือ 10เท่าอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆในไทย ในยุคที่เศรษฐกิจโลก เเละเศรษฐกิจเราไม่ค่อยเป็นใจเท่าไหร่ เเต่ถ้าไปตามดูหุ้นในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา จีน หรือ เกาหลี เเละประเทศอื่นๆ ต่างเติบไปด้วยหุ้นศักยภาพสูง เเละ เติบโตกันไม่หวั่นไม่ไหว
ซึ่งหาหุ้น 3-5 เด้งง่ายกว่ากันเยอะ หรือในบางตัวก็ปาไป 100 เท่า ซึ่งสามารถฝากความหวังให้กับการถือยาวในหุ้นเหล่านั้นได้ เเต่พอมาเป็นหุ้นไทย คำว่าถือยาวอาจะเริ่มดูเป็นเรื่องยากไปเเล้ว เพราะคุณต้องคอยดูภาพรวมเศรษฐกิจตลอดว่าเติบโตไหวไหม หรืออาจจะต้องหา ตัวอื่นมาลงทุน
วันนี้ผมจึงอยากเสนอทางเลือกในการลงทุนต่างประเทศไว้สามวิธีดังนี้
1.การซื้อหุ้นผ่านกองทุนในไทย
ซึ่งจะไปลงทุนต่อในหองทุนเเม่ต่างประเทศ(master fund) ที่มีการลงทุนในหุ้นต่างประเทศให้ หรือบางกองทุนในไทยที่อาจจะไปลงทุนในต่างประเทศให้เองเลย
ข้อดี: -เงินเริ่มต้นไม่ต้องเยอะ
-ไม่ต้องจัดการเรื่องเอกสารเยอะ
-ซื้อ ขายง่าย
-มีผู้จัดการกองทุนคอยจัดพอร์ตให้
ข้อเสีย:-ไม่สามารถจัดพอร์ตตามต้องการ
-โดนค่าธรรมเนียมรายปี
2.การซื้อขายเอง
การลงทุนเเบบนี้ต้องศึกษาด้วยตัวเองตั้งเเต่การเลือกโบรคเกอร์ไปจนถึงจัดพอร์ตด้วยตนเอง เเละ จัดการเอกสารด้วยตนเอง เเถมยังโดนค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเข้าออก(เเลกเปลี่ยนสกุลเงิน)ที่สูงหากคิดเป็นเปอร์เซนต์ ถ้าเงินลงทุนไม่มาก(โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ1000-5000ต่อครั้ง) เเล้วยังมีค่าคอมมิชชั่นอีกขึ้นกับโบรค เเละในบางโบรคอาจโดนค่าธรรมเนียมราย3ปี เพื่อรักษาพอร์ต ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากกว่า เเละ ต้องใช้เงินตั้งต้นที่สูง เเต่หากคุณทำการบ้านมาอย่างดีเเละคิดถูก การได้หุ้น10 เด้งอาจะไม่ใช่ของยากเลย
ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลเเต่ละโบรคไว้ให้ดังนี้
เเบ่งเป็น 2 ประเภท...
1.โบรคที่กำหนดเงินทุนขั้นต่ำ
-AIRA เงินขั้นต่ำ 200,000บาท
*มีค่าโอนเงินออก700บาท โอนกลับ 10เหรียญ+300บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.02เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ ที่10เหรียญ
-NOMURA เงินขั้นต่ำ 200,000บาท
*มีค่าโอนเงินออก1500บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.02%
ซี่งขั้นต่ำอยู่ ที่20เหรียญ
-PHILIP เงินขั้นต่ำ 50,000บาท
*มีค่าโอนเงินออก1000บาท โอนกลับ 2000บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.25%
ซี่งขั้นต่ำอยู่ ที่18.5เหรียญ
-TISCO เงินขั้นต่ำ 300,000บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.5%
ซี่งขั้นต่ำอยู่ ที่100เหรียญ
-Yuanta เงินขั้นต่ำ 500,000 บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่0.05 เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 15ที่เหรียญ
-KSCE เงินขั้นต่ำ500,000บาท
*มีค่าโอนเงินออก900 บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.08เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 20ที่เหรียญ
**โดนค่ารักษาบัญชีเเละจัดการภาษี 2000บาท/3ปี
-BLS เงินขั้นต่ำ500,000 บาท
*มีค่าโอนเงินออก1000บาท โอนกลับ 1000 บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.01เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 20ที่เหรียญ
2.โบรคที่ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำ
-SBITO
*มีค่าโอนเงินออก1000บาท โอนกลับ 1500 บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.02เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 4.99ที่เหรียญ
-KTZMICO
*มีค่าโอนเงินออก1000บาท โอนกลับ 1500 บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.06เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 10ที่เหรียญ
-MAYBANK KIM ENG
*มีค่าโอนเงินออก500บาท โอนกลับ 500 บาท
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.32%
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 600บาท
-ASIA PLUS
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.50%
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 3000 บาท
-SCBS
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.08เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 30ที่เหรียญ
***โดนค่ารักษาบัญชีเเละจัดการภาษี 2000บาท/3ปี
-FINANSIA
*มีค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายอยู่ที่ 0.08เหรียญต่อหุ้น
ซี่งขั้นต่ำอยู่ 30เหรียญ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆ ณ วันที่เเอดรวบรวมข้อมูล หากผู้สนใจควรไปศึกษาเพิ่มเติมเเละสอบถามกับโบรคอีกทีนะครับ เพราะยังมีเรื่องว่าเเต่ละโบรคเทรดได้กี่ประเทศ หรือ ซื้อขาย ได้ช่วงไหนบ้าง เป็นต้น
3.การซื้ออผ่านสัญญาCFD ในสตาร์ตอัพ
การซื้อผ่านสัญญาCFD คือการทำสัญญากับโบรคว่าถ้าหุ้นขึ้นกี่เปอร์เซนต์เราจะได้ส่วนต่างเท่านั้น หรือถ้า หุ้นลงกี่เปอรืเซนต์เราก้จะติดลบในสัดส่วนเดียวกัน เเละสามารถรับปันผลได้ โดยส่วนมากมักกำหนกเงินเงินต่ำไม่สูง
หากเเต่ข้อเสียคือ เราไม่ได้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของหุ้นนั้นจริงๆ ได้เเต่สัญญาเท่านั้น เเละ การเลือกโบรคหรือสตาร์ทอัพที่เชื่อใจก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา
ท้ายที่สุดนี้การลงทุนมีความเสี่ยง ควรคำนึงถึงความเสี่ยงเเละผลตอบเเทนก่อนการลงทุนเสมอนะครับ
ADตฤณ
หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณ
「finansia ข้อดี ข้อเสีย」的推薦目錄:
- 關於finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最讚貼文
- 關於finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 สอนเปิดพอร์ต(บัญชี)หุ้นผ่านมือถือ อายุ18ปีก็เปิดได้! พาทำ! - YouTube 的評價
- 關於finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 Vietnam Value Investor หุ้นเวียดนาม - Hot อีกหล่ะ ... 的評價
- 關於finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 SBITO Securities - ข้อเสียของการถือหุ้นระยะยาว การ ... 的評價
finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 Vietnam Value Investor หุ้นเวียดนาม - Hot อีกหล่ะ ... 的推薦與評價
... ข้อดีและข้อเสียต่างกันไป ปัจจุบันบางโบรกเกอร์เปิดให้ซื้อขายออนไลน์ได้ด้วย 1.1 โบรกเกอร์ในประเทศไทยที่บริการเปิดพอร์ตให้ลงทุนเวียดนามได้แก่ KT-Zmico / Finansia ... ... <看更多>
finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 SBITO Securities - ข้อเสียของการถือหุ้นระยะยาว การ ... 的推薦與評價
การถือหุ้นระยะยาว แม้จะมีข้อดีตรงที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างเหมือนกัน นั่นคือหากคุณเลือกแหล่งลงทุนผิด เท่ากับเอาเงินไปทิ้งเปล่าเลยทีเดียว เพราะ ... ... <看更多>
finansia ข้อดี ข้อเสีย 在 สอนเปิดพอร์ต(บัญชี)หุ้นผ่านมือถือ อายุ18ปีก็เปิดได้! พาทำ! - YouTube 的推薦與評價
คลิปนี้ก็จะสาธิตการเปิดพอร์ตกับโบรก finansia นะครับ หลังจากลองโทรเช็คหลายๆเจ้า เจ้านี้อายุ18เปิดพอร์ต(บัญชีซื้อขายหุ้น)ด้วยตัวเองได้เลย ... ... <看更多>