สรุปเรื่องประกันสังคม และศรีพันวา แบบไม่เข้าข้างใคร /โดย ลงทุนแมน
ประกันสังคม ลงทุนในศรีพันวา มันคืออะไร?
แล้วทำไมประกันสังคมต้องเอาเงินไปลงทุน
เรื่องนี้ ทำไมแต่ละคนพูดไม่เหมือนกัน
ลงทุนแมน จะสรุปเรื่องแบบง่ายๆ ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแฟลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
1) กองทุนประกันสังคมเป็นรูปแบบที่ทุกๆ ประเทศใช้ในเรื่องเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง กรณีของไทยจะคุ้มครองในเรื่อง อุบัติเหตุ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ว่างงาน ชราภาพ
2) ตอนเรายังเป็นหนุ่มสาวแข็งแรง เราก็คงจะไม่เห็นค่าของกองทุนนี้ว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่เมื่อบางคนเจอกับเหตุการณ์ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น มีบุตร เจ็บป่วย หรือแม้แต่ว่างงาน กองทุนนี้จะมีหน้าที่ที่จะจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือ
3) ทีนี้ประกันสังคมจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเรา คำตอบก็คือเงินที่หักจากเงินเดือนของลูกจ้างส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งก็คือ เงินสมทบจากนายจ้าง และ รัฐบาล
4) ประเด็นก็คือ ในอนาคตกองทุนประกันสังคมมีภาระที่ต้องจ่ายให้กับทุกคนมากขึ้น เพราะโดยเฉลี่ยแล้วคนที่อยู่ในกองทุนจะมีอายุมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมไปถึงจ่ายเงินกรณีชราภาพจะมากขึ้นในอนาคต
5) สิ่งที่กองทุนประกันสังคม รวมไปถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญ (Pension Fund) ทั่วโลกเขาทำกันก็คือ การนำเงินที่อยู่ในกองทุน กระจายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทน
6) แน่นอนว่าเงินหลักของกองทุน จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจ แต่ก็จะมีอีกส่วนหนึ่งที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นมาเช่น หุ้นกู้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ที่น่าจะมีความผันผวนที่สุดก็คือ หุ้น
7) ขอเจาะลึกการแบ่งประเภทสินทรัพย์ที่เป็นประเด็นในช่วงนี้ แค่ 2 เรื่อง คือ หุ้น กับ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มันต่างกันอย่างไร?
8 ) อธิบายง่ายๆ หุ้น คือ การมีส่วนร่วมการเป็นเจ้าของบริษัท บริษัทกำไรรับส่วนแบ่งกำไร บริษัทขาดทุนรับส่วนแบ่งขาดทุน
9) ส่วน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งรายรับของทรัสต์ก็คือ ค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่า
10) ตัวอย่างมีหลายเรื่อง และอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เช่น CPN เป็นบริษัทในเครือเซ็นทรัลที่พัฒนาศูนย์การค้า ซึ่งจะมีหน้าที่ไปซื้อที่ดินมาพัฒนาก่อสร้าง แต่กรณีของ CPNREIT จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์พื้นที่บางสาขาของเซ็นทรัล ซึ่งจะมีรายได้คือ ค่าเช่า
11) อีกตัวอย่างก็คือ DTC เป็นบริษัทที่พัฒนาโรงแรมเครือดุสิตธานี ซึ่งจะมีหน้าที่ไปซื้อที่ดินมาพัฒนาเป็นโรงแรม แต่กรณี DREIT จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงแรมบางโรงแรมของดุสิตธานี ซึ่งจะมีรายได้คือค่าเช่าเช่นกัน
12) ไม่ต่างอะไรกับกรณีของศรีพันวา บริษัทที่พัฒนาก็คือ ชาญอิสสระ ส่วนคนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงแรมศรีพันวาก็คือ SRIPANWA ซึ่งปกติแล้วชื่อมันควรจะต่อด้วยคำว่า REIT แต่ในกรณีนี้คนตั้งชื่อ ดันตั้งชื่อเป็น SRIPANWA (ถ้าตั้งว่า SREIT ก็อาจจะเข้าใจง่ายกว่านี้)
13) SRIPANWA จะเหมือน REIT ทั่วไปคือ มีรายได้จากค่าเช่า ซึ่งกรณีนี้ ผู้เช่าก็ดันไปมีชื่อคล้ายกันว่า ศรีพันวา แมเนจเมนท์ มันก็เลยยิ่งทำให้ง่ายต่อการสับสนขึ้นไปอีก
14) สรุปแล้ว SRIPANWA คือ REIT ที่ได้รับค่าเช่า ส่วน ศรีพันวา แมเนจเมนท์ คือผู้เช่าที่จ่ายเงินค่าเช่าให้กับ SRIPANWA
15) ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ถือเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ชาญอิสสระ โดยชาญอิสสระถือหุ้น 85% ในบริษัทนี้ ปกติการถือหุ้นมากขนาดนี้ งบการเงินจะถูกรวมเข้ามากับบริษัทแม่ และเสมือนหนึ่งเป็นกิจการของบริษัทแม่
16) บริษัทชาญอิสสระ (ตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า CI) ถือหุ้นใหญ่โดย นายสงกรานต์ อิสสระ 29.4% และ นายทวีฉัตร จุฬางกูร 23.5% และยังมีผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีกมากมายรวมกัน 1,750 คน
17) คำถามต่อไปก็คือแล้ว SRIPANWA กับ บริษัทชาญอิสสระ รายได้และกำไรเป็นอย่างไร?
ปี 2019 บริษัท SRIPANWA มีรายได้สุทธิ 234 ล้านบาท และบริษัทชาญอิสสระ มีกำไร 270 ล้านบาท
ส่วนบริษัทศรีพันวา แมเนจเมนท์ ขาดทุน 157.5 ล้านบาท
18) จากตัวเลขก็น่าจะสรุปได้ว่า ชาญอิสสระ ที่ยอมจ่ายค่าเช่าให้ SRIPANWA เป็นการจ่ายที่ดำเนินกิจการไปแล้วขาดทุน แต่อย่างไรก็ยังมีกิจการอื่นของบริษัทชาญอิสสระที่ทำให้บริษัทมีกำไรในปี 2019
19) ทำไมถึงยอมจ่ายค่าเช่า ทั้งที่กิจการขาดทุน สาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะในตอนแรกบริษัทชาญอิสสระน่าจะต้องการได้เงินก้อนใหญ่ตอนนำสินทรัพย์เข้าจดทะเบียนเป็น REIT ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้ในข้อ 29
20) ในปี 2020 โรงแรมศรีพันวาน่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด 19 แต่อย่างที่บอกไป คือ ต่อให้คนมาเที่ยวโรงแรมศรีพันวาน้อยลงมากๆ SRIPANWA ก็จะได้รับค่าเช่าที่ตกลงกันไว้จาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ซึ่งอยู่ใต้ชาญอิสสระ อยู่ดี
21) แต่อย่าชะล่าใจ เพราะประเด็นก็คือ จดหมายวันที่ 17 กรกฎาคม 2020 ที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ขอเลื่อนจ่ายค่าเช่าเดือน 2, 3, 6, 7 ของปีนี้ ออกไปอีก 6 เดือน และขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น SRIPANWA ให้ยอมงดเว้นจ่ายเดือน 4 และ 5 ของปีนี้ สรุปแล้ว เดือน 2-7 ของปีนี้ผู้ถือ SRIPANWA ยังไม่ได้รับค่าเช่าสักบาทจาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์
22) เรื่องที่เกิดขึ้นนักลงทุนก็ทราบถึงความเสี่ยง และราคา SRIPANWA ในตลาดลดลงอย่างรวดเร็วจาก 11.6 บาท เหลือ 8 บาท ซึ่งเกิดขึ้นตามสถานการณ์โควิด 19 ที่รุนแรงในบ้านเราในช่วงเดือนมีนาคม
23) ส่วนเรื่องประเด็นความถูกต้องของกรรมสิทธิ์จะทำให้หมดมูลค่าหรือไม่ และประกันสังคมได้ตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ ตรงนี้ต้องตรวจสอบกันต่อไป แต่การเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ต้องผ่านการตรวจสอบเรื่องนี้มาในระดับหนึ่งแล้ว ถ้ากรรมสิทธิ์ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่สำนักงานประกันสังคม คำถามต้องย้อนไปหาที่ปรึกษากฎหมาย และ สำนักงาน ก.ล.ต. แต่ในโลกของการลงทุน ทุกอย่างก็จะสะท้อนไปในราคาหลักทรัพย์ ถ้ามันมีความเสี่ยง ราคาก็จะตกลงมา แต่ถ้ามันไม่น่ากังวลก็จะมีคนที่ยอมซื้อขายในมูลค่าที่สูง ตลาดจะเป็นคนให้คำตอบในเรื่องมูลค่าที่ควรจะเป็น
24) แต่ถ้าตัดเรื่องโควิด 19 ออกไป การลงทุนใน SRIPANWA ของสำนักงานประกันสังคมก่อนหน้านี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ประกันสังคมต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากผู้เช่าเป็นงวดๆ ในแต่ละปี
25) แล้วกองทุนประกันสังคมเอาเงินไปลงทุนอะไรบ้าง?
ในกรณีนี้จะขอพูดถึงแต่สินทรัพย์เสี่ยงที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จากข้อมูลของ StockRadars วันที่ 22 กันยายน 2020 ประกันสังคมมีสินทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งหมด 216,466 ล้านบาท โดยกระจายไปในหลักทรัพย์หลายตัว ตัวที่มากสุดคือ ปตท. ซึ่งคิดเป็น 8.5% ของทั้งหมด
รายชื่อหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกันสังคมถือ
PTT, SCC, ADVANC, CPALL, BDMS, AOT, BBL, CPF, SCB, PTTEP, KBANK, WHART, HMPRO, CPN, FTREIT, BEM, LH, PTTGC, CRC, DIF, EGCO, BTS, BCP, TU, GPSC, BH, RATCH, BJC, TOP, GLOBAL, INTUCH, MINT, BCH, DTAC, IMPACT, IVL, BTSGIF, CPNREIT, SPALI, BGRIM, IRPC, TISCO, BANPU, M, TFFIF, DREIT, PSH, BKER, BOFFICE, LHSC, SRIPANWA, WHABT, BCPG, B-WORK, SPRIME, GVREIT, GAHREIT, LPN, FUTUREPF, MAJOR, TPRIME, QH, BRRGIF, BEC, EPG, PLAT
ซึ่ง SRIPANWA เป็นหนึ่งในนี้ โดยคิดเป็น 0.2% ของมูลค่าทั้งหมด
26) แล้วมีอะไรที่คล้าย SRIPANWA ที่ประกันสังคมถือบ้าง?
ถ้าเราวัดความคล้าย จากการเป็น REIT และ การที่ประกันสังคมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับต้นๆ ก็จะมี
ถือใน SRIPANWA 22.6%
ถือใน WHABT 27.0%
ถือใน DREIT 25.4%
ถือใน GAHREIT 21.6%
ถือใน WHART 16.7%
ถือใน BKER 13.14%
ถือใน FTREIT 12.3%
นอกจาก REIT ก็ยังมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานประกันสังคมเข้าไปถือ
ถือใน ERWPF 28.9%
ถือใน KPNPF 21.1%
ถือใน MJLF 30.9%
ถือใน POPF 16.8%
ถือใน QHOP 32.9%
ถือใน SIRIP 27.5%
ถือใน TLHPF 22.8%
ถือใน TU-PF 76.8%
ถือใน URBNPF 30.0%
เมื่อไปดูไส้ใน สรุปแล้วประกันสังคมกระจายถือในอสังหาริมทรัพย์หลายประเภท ครอบคลุมทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า คลังสินค้า รวมไปถึงออฟฟิศสำนักงาน
ซึ่งหลายหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคมถือหุ้นเป็นอันดับหนึ่ง คล้ายกรณี SRIPANWA เช่น ประกันสังคมเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่งของ ERWPF ซึ่งเป็นโรงแรมของเครือเอราวัณ
27) คำถามต่อไปก็คือ ทำไมสำนักงานประกันสังคมถึงได้ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท REIT หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หลายตัว มันมีความเสี่ยงแตกต่างจากหุ้นอย่างไร?
28) คำตอบคือ หุ้น จะมีความเสี่ยงระหว่างการพัฒนาสินทรัพย์ เช่นกรณีของ CPN ที่ต้องไปซื้อที่ดิน พัฒนาโครงการ กว่าจะเสร็จก็ใช้เวลาหลายปี เสร็จแล้วก็ไม่รู้ว่ามีลูกค้ามาใช้บริการหรือไม่
29) REIT จะมีรูปแบบที่ต่างออกไป เพราะกว่าที่จะเป็น REIT ได้ บริษัทต้องพัฒนาสินทรัพย์นั้นโดยเปิดดำเนินการไประยะหนึ่ง และมีค่าเช่าที่แน่นอนไม่ผันผวน หลังจากนั้นบริษัทก็จะขายสินทรัพย์นั้นเข้า REIT บริษัทจะได้เงินก้อนใหญ่ ส่วนคนที่มาลงทุนใน REIT จะได้เงินค่าเช่าเป็นงวดๆ ในแต่ละปี
30) ทำไมผู้ลงทุนใน REIT ถึงอยากจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อแลกเป็นงวดๆ ในแต่ละปี? คำตอบก็คือ การลงทุนแบบนี้มันได้ผลตอบแทนมากกว่าทางเลือกอื่น เช่น ซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทนแค่ 1% ต่อปี แต่การลงทุนใน REIT ให้ผลตอบแทน 6% ต่อปี โดยที่ REIT ยังมีหลักประกันคือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นอีกด้วย
31) และประเด็นที่สำคัญก็คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายค่าเช่าเป็นงวดๆ มันสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของ สำนักงานประกันสังคม ที่ต้องการได้รายรับเป็นงวดๆ เพื่อมาจ่ายผลประโยชน์แก่สมาชิกในแต่ละปี ซึ่งสังเกตได้ว่า บริษัทประกันอื่นๆ ก็ชอบสินทรัพย์ในรูปแบบนี้เช่นกัน ดังนั้นเราจะได้เห็นผู้ถือหุ้น SRIPANWA จะมีบริษัทประกันอื่นๆ อีกเช่น ทิพยประกันชีวิต เมืองไทยประกันภัย ไทยศรีประกันภัย
พออ่านถึงตรงนี้เราน่าจะเข้าใจมากขึ้นว่า REIT คืออะไร แตกต่างจากหุ้นอย่างไร และทำไมสำนักงานประกันสังคมถึงได้เข้าไปลงทุนใน SRIPANWA..
หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 เปิด pre-order วันนี้ จำนวนจำกัดเพียง 1,000 เล่ม
ราคาเต็ม 250 บาท ลดเหลือ 200 บาท
สั่งซื้อตอนนี้ได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแฟลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過40萬的網紅我要做富翁,也在其Youtube影片中提到,1) 基密部署基金講座:https://edu.money-tab.com/ronaldmak-fund-sharing 2) 我要做股神APP下載:http://onelink.to/mtapp 3) 緊貼我們社交平台,不錯過任何免費分析/教學: 訂閱YouTube頻道: https://yo...
fund ptt 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ระเบิดปรมาณู กองทุนดัชนี /โดย ลงทุนแมน
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ตลาดทุนหลายแห่งทั่วโลก
ก็ฟื้นตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่สิ่งที่ได้รับความนิยมควบคู่กับการฟื้นตัวของตลาดทุนก็คือ กองทุนดัชนี..
กองทุนดัชนี (Index Funds) เป็นกองทุนในลักษณะเชิงรับ (Passive Fund) ที่เมื่อผู้ซื้อกองทุน ผู้จัดการกองทุนก็จะเข้าไปซื้อหุ้นที่อยู่ในดัชนีนั้น
โดยปกติแล้ว กองทุนดัชนี จะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนประเภทอื่น เพราะผู้จัดการกองทุนไม่ต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหาร
กองทุนดัชนีจึงกลายมาเป็นเครื่องมือการลงทุนยอดนิยม สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับผลตอบแทนระดับเดียวกันกับตลาด
ปี 2009 ดัชนีดาวโจนส์ 7,955 จุด
ปี 2020 ดัชนีดาวโจนส์ 28,508 จุด
จะเห็นได้ว่าตลอด 11 ปี ไม่ว่าเราจะลงทุนกองทุนดัชนีประเทศสหรัฐอเมริกาตอนไหน
เราก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม กองทุนอิงดัชนีก็ได้สร้างความเสี่ยง
ประเภทหนึ่งที่เราอาจคาดไม่ถึงขึ้นมา
แล้วความเสี่ยงนั้นคืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
----------------------
----------------------
ความเสี่ยงของกองทุนดัชนีนั่นก็คือ “สภาพคล่อง”
กองทุนดัชนี คือ กองทุนที่มัดรวมหลายๆธุรกิจรวมกันไว้
ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ เช่น กองทุนดัชนีประเทศไทยส่วนใหญ่
ก็จะประกอบไปด้วยเงินลงทุนในหุ้น เช่น PTT, AOT และ CPALL
ในสภาวะปกติ เราจะไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้มากเท่าไหร่
แต่เรื่องนี้กลับแสดงออกมาชัดเจนที่สุด
ตอนตลาดหุ้นมีความเคลื่อนไหวรุนแรง
ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสุดนั่นก็คือ ตอนนี้..
สถานการณ์โรคระบาด
สงครามราคาน้ำมัน
สหรัฐฯ แบนไม่ให้เดินทางไปยุโรป
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้น ถูกแรงเทขายกระหน่ำทั่วโลก
นั่นก็รวมไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนดัชนีที่ต่างพร้อมใจกันเทหน่วยลงทุนทิ้งพร้อมกัน
และเมื่อคนที่ถือกองทุนดัชนี ส่วนใหญ่จะถือหุ้นคล้ายๆกัน
นั่นก็เหมือนว่ามีแต่คนอยากออก ทั้งที่ทางออกมีประตูเล็กๆอยู่บานเดียว
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การแย่งขายทุกราคา..
ทีนี้ เราลองมาดูตัวอย่างเหตุการณ์ที่กองทุนดัชนีถูกเทขายที่ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ปี 2018 ดอนัลด์ ทรัมป์ประกาศสงครามการค้ากับประเทศจีน
มูลค่าเทขายกองทุนดัชนี SPDR S&P 500 ETF คือ 7.6 แสนล้านบาทใน 1 สัปดาห์
ปี 2020 โรคระบาด COVID-19 เริ่มระบาดหนักในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
มูลค่าเทขายกองทุนดัชนี SPDR S&P 500 ETF คือ 6.3 แสนล้านบาทใน 1 สัปดาห์
ในขณะที่ หุ้นในดัชนี S&P กว่า 266 บริษัทมีมูลค่าซื้อขายต่ำกว่า 4.6 พันล้านบาท ต่อหุ้นในแต่ละวัน
หมายความว่า หากกองทุนเกิด Panic ขายสินทรัพย์พร้อมๆกัน
สภาพคล่องของหุ้นในแต่ละบริษัทจะไม่พอต่อการซื้อขาย..
เรื่องนี้ Michael Burry ผู้ทำนายวิกฤตซับไพรม์ปี 2008
ก็ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับกองทุนดัชนีปลายปีที่ผ่านมา
เขาให้ความเห็นว่ากองทุนดัชนีมีลักษณะคล้ายหลักทรัพย์ CDOs (Collateralized Debt Obligations) ที่นำสินเชื่อที่อยู่อาศัยคุณภาพดีมามัดรวมกับสินเชื่อด้อยคุณภาพ
ซึ่งหลักทรัพย์ CDOs ก็เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วทุกมุมโลก
Michael Burry เปรียบเทียบสภาพคล่องกับโรงหนังที่มีแต่คนแห่เข้าไปดูมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
แต่ทางออกก็ยังมีทางเดียวเหมือนเดิม..
จริงอยู่ว่ากองทุนดัชนีประกอบด้วยหุ้นหลายบริษัทที่มั่นคง
ต่างจากสินเชื่อด้อยคุณภาพเมื่อ 12 ปีก่อน
ซึ่งยากที่จะกลายไปเป็นฟองสบู่
อย่างไรก็ตาม การถูกถล่มเทขายพร้อมๆกัน
มันก็เหมือนระเบิดปรมาณูถล่มเข้าใส่ตลาดหุ้นรุนแรง
รุนแรงในระดับที่ดัชนี ลบระดับ 10% วันเว้นวัน..
ปิดท้ายด้วยคำตอบของ Michael Burry
กับคำถามที่ว่ากองทุนดัชนีจะกลายไปเป็นฟองสบู่เมื่อไหร่?
“มันก็เหมือนวิกฤตฟองสบู่ทุกครั้ง
ผมไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหน
แต่ที่แน่ๆ ยิ่งปล่อยไปนานเท่าไร
หายนะของมันก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น..”
----------------------
.
.
ราคาเพียง 220บาท ตกข้อละ2 บาทนิดๆ คุ้มค่า คุ้มราคามาก สั่งซื้อได้เลยที่แฟนเพจ Digital Tips Academy (m.me/thedigitaltips)
----------------------
Reference
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-09-04/michael-burry-explains-why-index-funds-are-like-subprime-cdos
fund ptt 在 小資族學理財 Facebook 的最佳貼文
R:【請益】哪些跡象能夠觀察「資金行情」呢?
原文恕刪…
請先思考:
近期公告的各國經濟數據都不好,但全球股市卻漲個不停,原因為何?
主要是推動股市上漲的動能不單單僅有 #基本面,還有 #資金面,其中資金面還夾雜著市場情緒,以台股為例,台股為全球股市的一環,不能只以「電視報導好多店面租不出去,景氣很差」來判斷台股動向,資金面也是影響股市的重要因素。
要如何觀察資金面?可以從 #五大跡象 觀察。
閱讀全文📖 https://etfs.tw/fund-flow-indicators/
[1樓] 有神快拜
[2樓] 你投資系?
[3樓] 以下開放繼續推文
每天關注 #台灣ETF投資學院,學習投資理財小知識!
📍官網:https://etfs.tw/
👍LINE@:https://line.me/R/ti/p/%40ulq5175u
#台股 #台灣股市 #這不是PTT
fund ptt 在 我要做富翁 Youtube 的最佳貼文
1) 基密部署基金講座:https://edu.money-tab.com/ronaldmak-fund-sharing
2) 我要做股神APP下載:http://onelink.to/mtapp
3) 緊貼我們社交平台,不錯過任何免費分析/教學:
訂閱YouTube頻道: https://youtube.com/channel/UCdWNwPuaS1o2dIzugNMXWtw?sub_confirmation=1
讚好Facebook專頁:https://facebook.com/203349819681082
==============================
中美貿易戰仍在進行中,狂人侵侵已急不及待開展下一個攻勢,今次的遊樂場就是「石油」!早前特朗普就公布會向伊朗實施制裁,要求各國停止從伊朗進口石油,更指會在11月5日(中期選前一天),按情況再實施第二輪制裁。背後是一石二鳥之策,一來令油價上升爭取國內油商支持,二來打擊伊朗經濟,阻礙中國一帶一路進程。
今集基密行動,Ronald Mak 會分享對未來油價的看法。而礙於條例所限,片中不方便為個別 ETF 或基金進行評論,想了解更多,請留意我們即將公布的分享會詳情。
#自己基金自己揀 #基密行動 #石油戰
喜歡我們的內容,記得 Like 及 Share !