ข่าวประชาสัมพันธ์..
“แอสเซทไวส์” ก้าวสู่ปีที่ 17 ทะยานสู่ความสำเร็จ
เคาะขายไอพีโอหุ้นละ 9.82 บาท เตรียมเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.นี้ ได้ฤกษ์ดีเข้า SET วันที่ 28 เม.ย.นี้
บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (AssetWise) หรือ “ASW” ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยคุณภาพ เพื่อจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตที่ดี ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) นับเป็นผู้พัฒนาโครงการที่น่าจับตาอย่างมากในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมานี้
โดยที่ในช่วงไตรมาส 1/2564 แม้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ แต่ ASW ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่อง บนทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ บวกรวมกับความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์นักพัฒนารุ่นใหม่ ที่พร้อมมุ่งสู่แผนสร้างศักยภาพของบริษัทฯ ให้แข็งแกร่ง สอดรับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ผันแปร
· วิสัยทัศน์นักพัฒนารุ่นใหม่ สู่ความแข็งแกร่งของ ASW
คุณกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า ทิศทางของ ASW ในปี 2564 ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่คุณภาพคับแก้วทั้งแนวสูงและแนวราบ เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์แห่งยุคได้หลากหลาย พร้อมตั้งเป้าขยายตัวรุกตลาดคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง และยังมีแผนระดมทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ ในอนาคต
· ลุยตลาดอสังหาฯ คนรุ่นใหม่ ตอบทุกโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง
กว่า 16 ปีที่ ASW เติบโตในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ที่เข้าใจตลาดเป็นอย่างดี มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยรอบด้าน ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” ผ่านแบรนด์คอนโดมิเนียมหลัก 3 แบรนด์สำคัญ ได้แก่ MODIZ (โมดิซ), ATMOZ (แอทโมซ) และ KAVE (เคฟ)
โดยในปี 2564 ASW ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ และก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการพัฒนาโครงการบนทำเลที่เจาะกลุ่มตลาดบลูโอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เน้นทำเลใกล้มหาวิทยาลัย และเพิ่มฟังก์ชันสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการอยู่อาศัยที่โดนใจไลฟ์สไตล์หนุ่ม-สาวรุ่นใหม่ อาทิ ห้องดูหนัง, ห้องเล่นเกม, ห้องร้องเพลง, Co-Working Space ที่กว้างขวาง
โดยแบรนด์คอนโดที่โดดเด่นในกลุ่มนี้คือ KAVE (เคฟ) แบรนด์คอนโดมิเนียมใกล้สถานศึกษา (Campus Condo) ที่มีการออกแบบดีไซน์พื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ มาพร้อมพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เพื่อให้รองรับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่
นอกจากนั้น ยังมีแบรนด์ที่เน้นตอบโจทย์วัยทำงานที่ทุกตารางนิ้วเนรมิตขึ้นมาภายใต้คอนเซปต์ “คอนโดรีสอร์ทกลางเมือง” เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะโลดแล่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในแต่ละวัน และสามารถคลิกสู่ “โหมดพักผ่อน” (Rest Mode) ได้ทันที ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่น เงียบ สงบ และส่วนกลางขนาดใหญ่ บนทำเลศักยภาพ NEW CBD ที่มีความคล่องตัวในการเดินทางสูง สามารถเข้า-ออกได้หลากหลายเส้นทาง อาทิ โครงการแอทโมซ รัชดา – ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada – Huaikwang) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มเริ่มสร้างครอบครัวและกลุ่มคนเริ่มทำงานเป็นอย่างดี
· เพิ่มฟังก์ชัน “สุขภาพ” เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนยุคใหม่
หนึ่งในแนวคิดของ ASW คือ “การมีสุขภาพที่ดี คือจุดเริ่มต้นสำคัญของการอยู่อาศัยที่มีความสุข” สอดรับกับปัจจุบันที่ผู้คนต้องเผชิญกับปัญหามลพิษและสถานการณ์โรคระบาด “สุขภาพ” จึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรก ๆ ที่ ASW ให้ความใส่ใจในรายละเอียดการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ภายใต้คอนเซปต์ "Health Solution" ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ ไปจนถึงมอบสิทธิประโยชน์ที่ช่วยสนับสนุนการมีสุขภาพดี ผ่าน 4 หัวใจหลัก ได้แก่
“VIRTUAL HEALTH” การจัดพื้นที่ในโครงการพร้อมเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจสุขภาพในเบื้องต้น หรือ Health Station สำหรับลูกบ้านเพื่อติดต่อและรับคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพ จากแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำผ่านระบบออนไลน์
"HEALTHY PRIVILEGE" สิทธิพิเศษและบริการด้านสุขภาพที่หลากหลาย คัดสรรมาเพื่อลูกบ้าน ASW Club เช่น ส่วนลดค่ารักษาพยาบาล เรียกรถพยาบาลฟรี ส่วนลดบริการสปา ฯลฯ
"HEALTHY ACTIVITY" กิจกรรมด้านสุขภาพทั้งกายและใจในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน รวมถึงการอบรม CPR เพื่อการอยู่อาศัยที่ดีและเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในโครงการ
"HEALTHY LIVING" สาระน่ารู้ด้านสุขภาพที่สรรหามาเพื่อสมาชิก ASW Club
· มั่นใจก้าวต่อไปของแบรนด์ เติบโตอย่างยั่งยืน
กลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ที่ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า และธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า
ความภาคภูมิใจที่ผ่านมาของ ASW คือการได้รับรางวัล Top 10 Developers จากเวทีใหญ่ระดับเอเชีย BCI ASIA AWARDS 2019 ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและโดดเด่น จาก 3 โครงการเด่น ได้แก่ โครงการแอทโมซ ลาดพร้าว 71, โครงการแอทโมซ ลาดพร้าว 15, โครงการโมดิซ สุขุมวิท 50 โดยทั้ง 3 โครงการเป็นโครงการที่สะท้อนคุณภาพและการใส่ใจในรายละเอียด และยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งหมดจึงเป็นคุณภาพของการอยู่อาศัยที่ ASW จัดเตรียมไว้ให้ผู้ซื้อ ตอกย้ำแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่เพื่อคนรุ่นใหม่ที่ต้องการมีสังคมที่ดีในทุก ๆ วัน
และล่าสุด บมจ. แอสเซทไวส์ (ASW) เคาะขายไอพีโอหุ้นละ 9.82 บาท เตรียมเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย. นี้ ได้ฤกษ์ดีเข้า SET วันที่ 28 เม.ย.นี้ ที่ปรึกษาทางการเงิน และแกนนำอันเดอร์ไรท์ฯ มั่นใจนักลงทุนให้การตอบรับคึกคัก ชูจุดเด่นเป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯครบเครื่อง แบ็กล็อกรอโอนกว่า 7.8 พันล้านบาท ความสามารถการทำกำไรสูง Gross Profit Margin สูงกว่า 40% บิ๊กบอส “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ปักหมุดปี 64 เปิด 6 โปรเจคใหม่ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท หนุนผลงานเติบโตโดดเด่น
นางยอดฤดี สันตติกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ หัวหน้าสายงานตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญของบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW) เปิดเผยว่า ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 206 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท ในราคาหุ้นละ 9.82 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 8.54 เท่า (Post-IPO Dilution) ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ โดยจะเปิดให้จองซื้อหุ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน นี้ และคาดว่าสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายว่า "ASW" เข้าเทรดในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โดยมีผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
"การกำหนดราคาไอพีโอที่ 9.82 บาท/หุ้น คิดเป็น PE ที่ 8.5 เท่า คำนวณจากผลประกอบการปี 2563 เทียบกับ P/E ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ 11 เท่า คิดเป็นส่วนลดให้กับนักลงทุนประมาณ 23% ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน ซึ่ง ASW เป็นหุ้นที่น่าลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากที่โรดโชว์ไปแล้ว นักลงทุนมีความเข้าใจธุรกิจและทราบถึงแนวโน้มการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ทำให้ได้รับความสนใจอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนสถาบันซึ่งได้ bookbuild เกินยอดที่จัดสรรไปประมาณ 6 เท่า" นางยอดฤดีกล่าว
นางศิริพร เหล่ารัตนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.แอสเซทไวส์ (ASW) เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาโครงการที่ตรงความต้องการลูกค้า มีความโดดเด่นในด้านทำเลที่ตั้ง มีแบรนด์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรสูง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับสูงกว่า 40% จากการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมายาวนาน
"เชื่อมั่นว่า ASW จะเป็นหุ้นที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากมีการเติบโตต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปีที่แล้ว มีแบ็กล็อกรอโอนกว่า 7,800 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ ไปจนถึงปี 2566”
นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอสเซทไวส์ (ASW) กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนาโครงการ ชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการเปิดตัวโครงการใหม่ และการซื้อที่ดินเพื่อรองรับแผนการเปิดโครงการใหม่เพิ่มเติมในอนาคต โดยในปีนี้ เตรียมเปิด 6 โครงการใหม่ มูลค่า 10,850 ล้านบาท
“หลังการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ต้นทุนทางการเงินลดลง ยกระดับชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับประเทศ เพิ่มโอกาสการเติบโตในอนาคต และมั่นใจว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้” นายกรมเชษฐ์ กล่าวในที่สุด
อนึ่ง ASW มีโครงการในมือทั้งหมด 33 โครงการ มูลค่า 30,420 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแล้วเสร็จ 25 โครงการมูลค่า 19,043 ล้านบาท, โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างและเปิดขาย 8 โครงการ มูลค่า 11,377 ล้านบาท และ 11 โครงการ มูลค่ารวม 21,202 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการในอนาคต ที่จะเปิดขายและพัฒนาในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า
สามารถดูรายละเอียดบริษัทเพิ่มเติมได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=298870
หรือดูรายละเอียดโครงการต่าง ๆ และติดตามข่าวสารของ AssetWise ได้ที่
เว็บไซต์ : www.assetwise.co.th
เฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/AssetWiseThailand
ไลน์ : @assetwise (https://lin.ee/7PPfGRN)
ยูทูบ : www.youtube.com/AssetwiseChannel
อินสตาแกรม : www.instagram.com/assetwisethailand
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「gross margin ratio」的推薦目錄:
gross margin ratio 在 คุยการเงินกับที Facebook 的精選貼文
หุ้น Tencent : ผู้นำของอุตสาหกรรมเเพลตฟอร์มในจีน กับการเติบโต2หลักต่อปี
TCHEHY 80.43$(9/04/202)
PE ratio 31.50
Market cap 759พันล้านเหรียญ
หุ้น tencent เป็นบริษัทholding ที่ไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ ส่วนมากจะเป็นธุรกิจในจีน ซึ่งtencent ประกอบไปด้วย 4 ขาหลักๆ...
•social network 23%
•online games. 32%
•online ads. 17%
•fintech and bussiness service 27%
•อื่นๆ. 1%
โดยเเพลตฟอร์มที่โด่งดังเเละเป็นที่รู้จักอย่างมากของ tencent ก็มีอย่าง wechat,wetv,wechatpay(ที่ให้บริการเหมือนpaypal),qq
ในส่วนของเกมดังๆที่tencentได้เข้าไปลงทุนก็เช่น pubg(อันดับ2ในsmartphone game),league of legends(อันดับ2ในpc game)
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ cloud service ของ tencent ก็ติดtop10ของโลกเช่นกัน
ถ้ามาดูในส่วนของรายได้
2017 29,880ล้านเหรียญ
2018 44,757ล้านเหรียญ
2019 53,099ล้านเหรียญ
2020 72,699ล้านเหรียญ
มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 37.58%
เเละมีระดับ gross profit margin ในระดับ45-60% มาต่อเนื่อง5ปี
ณ สิ้นปี2020 มีเงินสดจากการดำเนินงานถึง 29,737 ล้านเหรียญ
มี D/E ณ สิ้นปี 2020 เพียง 0.78 เท่าเพียงเท่านั้นเอง
กลยุทธ์
เบื้องหลังความสำเร็จในการเติบโต2หลักของtencent มีกลยุทธ์หลักก็คือการเข้าไปซื้อกิจการอื่น เเละ เข้าเป็นพันธมิตร เพื่อ boost กิจการที่เข้าซื้อผ่านช่องทางที่เขามี ก็นับว่าสร้างการเติบโตได้ยอดเยื่ยมทีเดียว
ปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นตกไปเกือบ20%เเม้จะยังทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม คือ....
ปัจจุบันจากปัญหาของการ เป็นที่จับจ้องจากรัฐบาลจีน เพราะมีขนาดใหญ่เกินไปจนมีเเนวโน้มที่จะผูกขาด ในกรณีเเบบที่ alibaba โดนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับ การโดนผู้ถือหุ้นรายใหญ่(Prosusบริษัทย่อยของNasper) ขายหุ้นออกไป จากการถือ 31%ลดสัดส่วนเหลือ 29% รับเงินเข้าไปถึง 15พันล้านเหรียญ ซึ่งเหตุผลของการขายหุ้นออกมานั้นไม่ได้มาจากปัญหาใดๆของกิจการ เเต่เป็นเพียงการtake profit เพื่อนำไปลงทุนต่อก็เท่านั้น
เเต่นั่นก็ทำให้ราคาหุ้นตกลงมาเกือบ20%จากhigh เดิมเลยทีเดียว เเละกำลัง ซื้อขายกันในPE ที่31.5 เพียงเท่านั้นเอง กับการเติบโตในระดับ 20-30% ต่อปี
ความเสี่ยง
•ความเสี่ยงก็คือ อาจโดนควบคุมในการทำธุรกิจบางอย่างได้อย่างอิสระจาก regulators อย่างที่เห็นๆกัน ใน alibaba เเละอีกหลายบริษัท
•ดาบสองคมของการเติบโตเเบบซื้อกิจการก็คือ ถ้ากิจการที่ซื้อมาไม่perform อย่างที่คิดก็อาจทำให้เงินลงทุนมหาศาลที่tencent ทำในการซื้อเเต่ละครั้งสูญเปล่าไปได้เลยเหมือนกัน
โอกาส
•social and online ads
wechat ที่ได้ชื่อว่าfacebookของจีน เเล้วเเต่รายได้จากการโฆษณาของส่วนonline ads ยังมีเพียง หมื่นล้านเหรียญเท่านั้นเอง ในขณะที่FB สามารถทำรายได้จากads ได้ถึง 8.4หมื่นล้านเหรียญ นั่นหมายความว่ายังมีโอกาสในการเติบโตจากส่วนนี่อีกมาก
•online games
ในส่วนของเกม tencent ก็มีการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทเกม ที่ดังๆเข้ามาเรื่อยๆ ไปได้นิ่งนอนใจกับความสำเร็จเก่าๆ อย่าง epic games (ถือหุ้น40%),activision blizzard(ถือหุ้น5%),riots game,glu mobiles เป็นต้น
•fintech and services
ผู้บริโภคมีพฤติกรรมไปสู่การใช้บริการชำระเงินออนไลน์ เเละ บริหารสินทรัพย์มากขึ้น เเละมีเเนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นsuper appของwe chat ก็ทำให้tencent สามารถเสนอproductต่างๆได้ง่ายขึ้นไปอีกด้วย
........................................
ติดตามข้อมูล เศรษฐกิจ การลงทุนในต่างประเทศ ในไทย ได้ที่คุยการเงินกับที
สำหรับผู้สนใจสมัคร”ห้องเรียนพิเศษ” สามารถสมาชิกข้อมูลในการลงทุนในต่างประเทศเเละบทวิจัยเชิงลึก คลิ้กได้ที่ลิ้งค์นี้: https://www.youtube.com/channel/UC8qPSWixGtj9_Oz47-Y7wkQ/join
........................................
Ref: https://www.fool.com/premium/coverage/investing/2021/04/08/3-chinese-stocks-are-down-big-is-it-time-to-buy/
Tencent Stock Forecast: Buy, Sell, Or Hold?
https://seekingalpha.com/article/4417687-tencent-stock-forecast-buy-sell-hold
Trin T
gross margin ratio 在 強尼金口筆譯教學日記 Facebook 的最佳貼文
▌時事英文 ▌
股海茫茫,誰現在也住公園 🤣
股票相關單字中英日大對照
1. 股票(股數):Share(s) of Stock:株(かぶ)
2. 劇烈震盪:Bumpy / Fluctuate Violently:乱高下(らんこうげ)する
3. 成交量:Trading Volume:出来高(できだか)
4. 內線交易:Insider Trading:インサイダー取引(とりひき)
5. 股東:Principal / Shareholder:株主(かぶぬし)
6. 暴跌: Collapse / Slump / Drop Sharply:暴落(ぼうらく)する
7. 暴漲:Jump / Boom / Soar / Skyrocket:暴騰(ぼうとう)する
8. 套牢:Underwater / Tied Up:水浸し(みずびたし)、塩漬け(しおづけ)
9. 零股:Odd Lot:端株(はかぶ)、単位未満株(たんいみまんかぶ)
10. 道瓊工業指數:Dow Jones Industrial Average:ダウ平均株価(へいきんかぶか)
11. 那斯逹克:NASDAQ Composite:ナスダック
13. 跌幅: Fall / Decline:下げ幅(さげはば)
14. 漲停:Limit Up:ストップ高(だか)
15. 跌停:Limit Down:ストップ安(やす)
16. K 線圖:Candlestick Chart:ロウソク足チャート
17. 開盤價:Ex-Distribution:始値(はじめね)
18. 收盤價:Close:終値(おわりね)
19. 壓力線:Resistance Line:抵抗線(ていこうせん)
20. 支持線:Support Line:支持線(しじせん)
21. 跌破最低大關:Fall Below the Mark:底を割る(そこをわる)
22. 疲軟:Weak:軟調(なんちょう)
23. 利多消息:Good / Bullish / Positive /Favorable News:好材料(こうざいりょう)
24. 利空消息:Bad / Bearish / Negative / Unfavorable News:悪材料(あくざいりょう)、不安材料(ふあんざいりょう)
25. 分析師:Stock Analyst:アナリスト
26. 股利、股息:Dividend:配当金(はいとうきん)
27. 散戶:Retail Players / Retail Investors / Individual Investors:個人投資家(こじんとうしか)
28. 法人股東:Corporate Shareholder:機関投資家(きかんとうしか)
29. 投機客:Speculator:スペキュレーター
30. 前景:Outlook:先行き(さきゆき)
31. 上市企業:Listed Company:上場企業(じょうじょうきぎょう)
32. 回升反彈:Rebound:反発する(はんぱつする)
33. 停損:Stop Loss:損切(そんぎり)
34. 獲益了結:Book Profit / Lock in Profits / Profit-Taking:利益確定(りえきかくてい)
35. 槓桿:Leverage / Gearing:レバレッジ
36. 資本利得:Capital Gain:キャピタルゲイン
37. 攤平成本買進:Average Down / Add to a Losing Position:ナンピン買い(がい)
38. 本益比:Price-Earnings Ratio:株価収益率(かぶかしゅうえきりつ)
39. 基本面:Fundamentals:ファンダメンタルズ
40. 技術面:Technicals:テクニカル
41. 每股盈餘:Earnings Per Share:一株あたりの利益
42. 稅後盈餘:Net Income after Tax:税引き後利益(ぜいびきごりえき)
43. 漲跌幅限制:Price Limit:値幅制限(ねはばせいげん)
44. 毛利率:Gross Margin:粗利率(あらりりつ)
45. 產能利用率:Capacity Utilization:生産稼働率(せいさんかどうりつ)
46. 高處脫手:Sell at a High Point:売り抜け(うりぬけ)
47. 全年展望:Stock Market Outlook of the Year:通年の見通し(つうねんのみとおし)
48. 牛市:Bull Market:強気相場(つよきそうば)
49. 熊市:Bear Market:弱気相場(よわきそうば)
50. 多頭氣氛:Bull Position:強気(つよき)ムード
51. 空頭氣氛:Bear Position:弱気(よわき)ムード
52. 觀望氣氛:Wait-and-see Position:様子見(ようすみ)ムード
53. 下市:Delisting:上場廃止(じょうじょうはいし)
54. 熱門股:Popular Stock:人気株(にんきかぶ)
55. 績優股:Blue Chip:優良株(ゆうりょうかぶ)
56. 科技股:Technology Stock:ハイテク株
57. 概念股:Concept Stock:関連株(かんれんかぶ)
58. 總市值:Market Capitalization:時価総額(じかそうがく)
59. 以美元計價:Dollar-Denominated:ドル建て(だて)
60. 買超:Overbought:買いこし
61. 賣超:Oversold:売りこし
62. 損益平衡點:Break-even Point:損益分岐点(そんえきぶんきてん)
63. 護盤:Boost Market Confidence / Engage in Price Stabilization:買い支え(かいささえ)
64. 恐慌性賣壓:Panic Selling:パニック売り(うり)
65. 股票選擇權:Stock Option:ストックオプション
66. 股價創新低:Touch Another Low:安値を更新する(やすねをこうしんする)
67. 黃金交叉:Golden Cross:ゴールデンクロス
68. 死亡交叉:Death Cross:デッドクロス
#翻譯日常 #翻譯 #筆譯 #口譯 #自由譯者 #自由業 #英文 #中文