ประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ : ต้นรากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
ในระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ (คอมมอนลอว์ Common law) เริ่มต้นจากขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เช่นเดียวกับระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil law) แต่ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์(Common law) ไม่ได้รวบรวมเอากฎหมายประเพณีบันทึกเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) เริ่มมาจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ทั้งนี้เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ในทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมตลอดจน รากเหง้าของกฎหมายมาจากลัทธิศักดินา (Feudalism) และเหตุการณ์ต่างๆ สืบเนื่องมาจากลัทธิดังกล่าว สามารถแบ่งประวัติศาสตร์อังกฤษออกได้ 4 ยุคด้วยกัน ดังนี้
1.1 ยุคกฎหมายแองโกล-แซกซอน
ยุคกฎหมายแองโกล-แซกซอน ระหว่างปี ค.ศ. 600-1485 นักประวัติศาสตร์ถือกันว่ากฎหมายอังกฤษเริ่มต้นเมื่อชนเผ่าเยอรมันได้แก่ พวก แซกซอน (Saxons) แองเจิล (Angles) จู๊ตส์ (Jutes) และพวกเดนิส (Denish) เข้าปกครองดินแดนอังกฤษ และได้ยอมรับนับถือศาสนาคริสเตียนเป็นศาสนาของตน ใน ปี ค.ศ. 596 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 600 กษัตริย์แห่ง Kent ได้จัดทำกฎหมายขึ้นหนึ่งฉบับ โดยใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน กฎหมายฉบับนี้มีข้อความ 90 ประโยค ถือว่าเป็นกฎหมายที่ข้อความสั้นและมีความคล้ายคลึงกับกฎหมายชาวบาวาเรียน (กฎหมายเยอรมัน) โดยทั่วไป คือ บทบัญญัติถึงเฉพาะความสัมพันธ์ของประชาชนผู้อยู่ร่วมกันในสังคมเท่านั้น
ต่อมา ปี ค.ศ. 1028 กษัตริย์เชื้อชาติเดนมาร์ก คือ กษัตริย์ Canuteได้จัดทำกฎหมายขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง ประกาศใช้เป็นกฎหมายที่ Winchester ระหว่างปี ค.ศ. 1028-1035 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีผลใช้บังคับแก่ทุกเผ่าในอังกฤษ แต่ความพยายามนี้ยังไม่เป็นผลสำเร็จและอาจกล่าวได้ว่าในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่สามารถใช้บังคับได้ทั่วทั้งอังกฤษ
1.2 ยุคการก่อตัวของ คอมมอนลอว์ (Common Law)
ยุคการก่อตัวของ คอมมอนลอว์ (Common Law) นี้จะอธิบายถึงการเข้าครอบครองอังกฤษของชาวนอร์แมน การเกิดศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) และการเกิดขึ้นคอมมอนลอว์ การจัดตั้งศาลหลวง และวิวัฒนาการคอมมอนลอว์ สมัยกลาง ดังนี้
1.2.1 การเข้าครอบครองอังกฤษของชาวนอร์แมน
การเข้าครองครองอังกฤษของชาวนอร์แมน (Norman) ในปี ค.ศ. 1066 โดยพระเจ้าวิลเลี่ยม เข้ามาปกครองอังกฤษแต่ไม่ต้องการที่จะบังคับประชาชนให้ปฏิบัติตามกฎหมายของชานนอร์แมน ตรงกันข้าม พระเจ้าวิลเลี่ยมได้ประกาศชัดแจ้งว่าให้ใช้กฎหมายแองโกล-แซกซอน ใช้บังคับต่อไป โดยไม่กระทบกระเทือนจากการเข้ามายึดครองเกาะอังกฤษและกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งปัจจุบันนี้นักกฎหมายและผู้พิพากษายังคงนพกฎหมายแองโกล-แซกซอนมาบังคับใช้เป็นครั้งคราว
1.2.2 การเกิดศักดินาสวามิภักดิ์ของอังกฤษ
การเกิดศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ของอังกฤษ เนื่องจากชาวนอร์แมนมีความรู้ทางด้านการปกครองมากโดยเฉพาะหลักการปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์ ของชาวนอร์แมนมาใช้ในอังกฤษด้วย สืบเนื่องมาจกบรรดาสวามิน (ลูกน้องผู้ติดตาม)ชาวนอร์แมนซึ่งติดตามกษัตริย์วิลเลี่ยมพูดภาษาพื้นเมืองของอังกฤษไม่ได้และดูถูกเหยียดหยามชาวพื้นเมืองว่าไม่มีความเจริญ รวมทั้งความรู้สึกว่าชาวพื้นเมืองทำตัวเป็นปรปักษ์กับพวกตน ดังนั้นจึงมีความต้องการที่จะรวมกันอยู่ใกล้ๆกษัตริย์ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการที่จะรวมกันปราบปรามผู้ถูกยึดครองหรือปกป้องทรัพย์สินของตน ส่วนตัวกษัตริย์เองก็ไม่ต้องการให้บรรดาสวามินเหล่านี้มีอำนาจมากเกินไปซึ่งอาจจะกลายเป็นภัยต่อพระองค์ ดังนั้นพระองค์จะพระราชทานที่ดินให้แก่บรรดาสวามินที่มีความสวามิภักดิ์ทั้งหลายก็ไม่โปรดฯพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่เกินไปอันจะเป็นช่องทางให้มีการสร้างอำนาจมากขึ้น นอกจากนั้นบรรดาสวามินทั้งหลายยังจะต้องจัดทหารให้แก่กษัตริย์ตามจำนวนที่ดินที่ได้รับพระราชทาน โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่พวกสวามินก็มีทางหารายได้ชดเชยโดยการทำประโยชน์จากที่ดินและจัดแบ่งที่ดินให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์โดยจะต้องแบ่งเงินเป็นค่าตอบแทน
เมื่อพิจารณาถึงการจัดทหารให้กับกษัตริย์ของบรรดาสวามิน ก็คือ การที่กษัตริย์จัดตั้งกองทัพส่วนกลางขึ้นมานั่นเองและมีจำนวนมากมากขึ้น ก็จำต้องมีกฎเกณฑ์ มีกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆเพื่อให้ทหาได้อยู่ร่วมกันโดยมีระเบียบวินัยและการจัดแบ่งส่วนของกองทัพได้เป็นไปโดยเรียบร้อย จึงได้จัดทำกฎดังกล่าวขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1086 และอาจกล่าวได้ว่ากฎนี้อาจเป็นจุดเริ่มแรกของ คอมมอนลอว์ ของอังกฤษ
1.2.3 การก่อตัวของคอมมอนลอว์
การก่อตัวของคอมมอนลอว์ (Common Law) คำว่า Common law มาจากคำภาษาโบราณว่า “Comune ley” ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะภาษาพูดที่นักกฎหมายใช้กันอยู่ในอังกฤษตั้งแต่สมัยที่ชาวนอร์แมนเข้ามายึดครองได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาเขียนได้แก่ภาษลาตินจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ความหมายที่แท้จริงของ Common law หรือ Comune ley ได้แก่ กฎหมายที่เกิดขึ้นในอังกฤษ มีรากฐานมาจากประเพณีและมิได้จัดทำขึ้นเป็นรูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกจากนั้น Common Law ยังได้รับอิทธิพลจากกฎหมายอื่นๆมาผสม เช่น กฎหมายโรมัน และกฎหมาย Cannon Law อันเนื่องมาจากการที่ศาล Common Law ได้นำกฎหมายเหล่านี้มาใช้และในที่สุดคำพิพากษาของศาลได้กลายเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของ Common Law
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าใน ปี ค.ศ. 1066 อังกฤษยังไม่มีกฎหมายที่สามารถใช้บังคับได้ทั่วไป เพราะฉะนั้นศาลต่างๆจึงต้องนำเอาจารีตประเพณีประเพณีท้องถิ่นมาใช้บังคับ ศาลต่างๆในขณะนั้นคือ County Court หรือ Hundred Court ในระยะหลังต่อมาพวกนอร์แมนเข้ายึดครองอังกฤษแล้ว แม้ว่า County Court และ Hundred Court ยังคงศาลที่มีอำนาจอยู่ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยมีศาลที่เรียกว่า “ศาลสวามิน” (Seignoral Court) เพราะเป็นศาลที่อยู่ภายใต้อำนาจของสวามินและได้เรียกชื่อว่า “Court Baron” “Court Leet” “Manorial Court” แต่ศาลเหล่านี้ก็ยังคงนำจารีตประเพณีที่สำคัญมาใช้บังคับอยู่นั้นเอง นอกจากนั้นภายหลังการยึดครองของนอร์แมนแล้ว ได้มีศาลใหม่เกิดขึ้นอีกได้แก่ ศาลพวกพระ (Ecclesiaatical) ซึ่งนำเอา Cannon law อันเป็นกฎหมายที่สามารถใช้บังคับกับชาวคริสเตียนทั่วไปมาใช้บังคับ
1.2.4 การจัดตั้งศาลหลวง
การจัดตั้งศาลหลวง (The King Court) จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าที่ประชาชนมีปัญหาข้อพิพาทเกิดขึ้นจะต้องฟ้องร้องกันยังศาลต่างๆดังกล่าวมาแล้วและกฎหมายที่นำมาใช้ในศาลก็ได้แก่จารีตประเพณีท้องถิ่น หรือกฎหมายคริสต์ศาสนาก็แล้วแต่กรณีที่เกิดมีคดีที่มีความสำคัญพิเศษ เช่น กรณีที่มีความคุกคามต่อสันติภาพแห่งราอชอาณาจักรหรือในพฤติการณ์ใดซึ่งคู่ความไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมได้จากศาลธรรมดา จึงจะเสนอคดีให้กษัตริย์ทรงพิจารณา เพื่อให้มีผู้ช่วยเหลือในการพิจารณาคดีของกษัตริย์ จึงได้ทรงจัดตั้ง ศาลหลวง (The King Court) โดยให้ศาลนี้เป็นศาลพิเศษ มีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีใหญ่ๆที่เป็นข้าราชบริพารใกล้ชิดกับกษัตริย์เท่านั้น
ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ 13 ได้มีการจัดตั้งศาลหลวงขึ้นอีกต่างหากจากศาลหลวง The King Court และมีชื่อเรียกตามเมืองที่กษัตริย์ประทับอยู่ คือ มีชื่อว่า Westminster Courtทั้งนี้เพื่อให้เป็นศาลที่สามารถตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างศาลต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของสวามินและคดีที่มีความสำคัญถึงขนาดที่กษัตริย์ควรจะเข้าแทรกแซง ซึ่งคดีที่มีความสำคัญ มีอยู่ 3 ประการ คือ
1.คดีที่เกี่ยวกับการเงินขอกษัตริย์ เช่น ภาษีอากร เป็นต้น
2.คดีที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครองอสังหาริมทรัพย์
3. คดีอาญาร้ายแรงที่เกี่ยวกับสันติภาพแห่งราชอาณาจักร เช่น การกบฏ เป็นต้น
เนื่องจากคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล Westminster Court มีอยู่ 3 ประเภท ข้างต้น ศาลหลวงจึงได้แบ่งออกเป็น 3 ศาล คือ
1.Court of Exchequer
2.Court of Common Pleas
3. King’s Bench
ซึ่งศาลทั้ง 3 มีหน้าที่แยกกันพิจารณาคดีทั้ง 3 ประเภทกล่าวคือ Court of Exchequerพิจารณาคดีเกี่ยวกับการภาษีอากรของรัฐ Court of Common Pleas พิจารณาคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ King’s Bench พิจารณาคดีอาญาที่เป็นภัยต่อความสงบสุขแห่งรัฐหรือราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตาม หลังจากตั้งขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย ศาลทั้ง3 ต่างก็มีอำนาจพิจารณาคดีที่อาจนำขึ้นสู่ศาลหลวงได้ทุกประเภท
นอกจากคดีทั้ง 3 ประเภทที่ ศาลหลวงทั้ง 3 พิจารณาแล้ว ศาลธรรมดา คือ ศาลCounty Court ,ศาลHundred Court,ศาลSeignoral Courtและศาล Ecclesiaatical ยังคงเป็นศาลที่มีอำนาจอยู่
ข้อสังเกต การขยายเขตอำนาจของศาลหลวง
เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลหลวง คือ ศาลThe King CourtและศาลWestminster Court ขึ้นแล้ว ต่อมากษัตริย์ได้พยายามที่จะให้ศาลเหล่านี้มีอำนาจมากยิ่งขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นทางที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนร้องขอเพื่อนำคดีมาสู่ศาลได้ในบางคดี ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชน เพราะศาลหลวงเป็นศาลที่สูงกว่าศาลอื่นอื่นๆ การที่คดีของตนถูกวินิจฉัยโดยศาลหลวงน่าจะทำให้คดีนั้นได้รับความเป็นธรรมและมีความแน่นอนมากกว่าการพิจารณาโดยศาลธรรมดา เช่น การเรียกพยานมาให้การต่อศาลโดยศาลหลวงสามารถทำได้มีประสิทธิภาพกว่าศาลธรรมดา การบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาก็มีประสิทธิภาพกว่า นอกจากนั้นการให้คู่ความสาบานตนก่อนเบิกความจะทำได้เฉพาะในศาลหลวงเท่านั้น
นอกจากนั้นศาลหลวงยังได้นำวิธีพิจารณาคดีแบบใหม่ โดยการให้มีคณะลูกขุน (Jury) เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่แตกต่างกับวิธีพิจารณาที่ใช้ในศาลอื่นๆ เพราะศาลอื่นๆยังคงรักษาระบบดั้งเดิมเอาไว้ เช่น การสืบพยานด้วยวิธีการให้มีการดำน้ำ ลุยไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กัน เป็นต้น
จนกระทั้งปลายยุคกลาง (Middle Age) ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีทั่วๆไป ได้แก่ ศาลหลวงเท่านั้น ส่วนศาลศาลCounty Court ,ศาลHundred Court ,ศาลSeignoral Court จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเล็กๆน้อยๆที่ไม่มีความสำคัญ ส่วนศาลของพวกพระ คือ ศาลEcclesiaatical ก็มีอำนาจเฉพาะการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับแบบพิธีการสมรสและการกระทำที่เกี่ยวกับวินัยของพวกพระเท่านั้น และเพื่อขจัดข้อขัดแย้งต่างๆที่อาจเกิดขึ้นระหว่างศาลหลวงกับศาลพระ ได้มีการบัญญัติกฎหมายออกมาใช้บังคับฉบับหนึ่ง คือ Clarendon Constitution ค.ศ. 1164 วางหลักเกณฑ์กำหนดอำนาจของศาลหลวงไว้ในกรณีที่บุคคลธรรมดามีคดีพิพาทกับพระด้วย
แม้ในทางปฏิบัติจะยอมรับกันทั่วไปว่าศาลหลวงมีอำนาจมากขึ้นแต่ในทางทฤษฎีศาลหลวงยังเป็นศาลพิเศษที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้เฉพาะในกรณีพิเศษเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่ต้องการให้ศาลหลวงพิจารณาคดีของตนจึงต้องทำคำร้องเสนอไปยัง Office of The Crown ที่เรียกว่า Chancellor (ซึ่งเป็นราชเลขาของกษัตริย์) แล้ว Chancellor ออกเอกสารสำคัญที่เรียกว่า “Writ” ให้ คดีนั้นๆจึงจะเสนอเข้ารับการพิจารณาของศาลหลวงได้ เมื่อมีผู้ร้องขอให้ศาลหลวงพิจารณาคดีมากขึ้น Writ ที่ออกให้ก็มากตามไปด้วยและไม่ว่าศาลจะปฏิบัติตามทั้งหมดหรือไม่ก็ตาม Writ เหล่านี้ก็ยังถือว่าเป็นหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาของศาลหลวงพิจารณา อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการขยายอำนาจของศาลหลวงออกไปในท้องถิ่นต่างๆ จึงทำให้บรรดาขุนนางชั้น Baron เกิดความไม่พอใจเพราะถือว่าตนถูกริดรอนอำนาจและมีการคัดค้านเกิดขึ้น
ในที่สุดได้มีการตกลงรอมชอมกันเพื่อให้ขจัดข้อบาดหมางระหว่างกษัตริย์กับพวกบรรดาขุนนางชั้น Baron โดยการจัดทำ Status of Westminster I ขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1285 ซึ่งผลของ Status ฉบับนี้ทำให้การขยายอำนาจของศาลหลวงยุติลงและกลับไปใช้วิธีการเดิมที่เคยเป็นอยู่ก่อนการขยายอำนาจของศาลหลวงและผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ไม่มีการออก Writ ขึ้นมาใหม่อีกและนำคดีสู่ศาลหลวงก็ลดลง
1.2.5 วิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ ในสมัยยุคกลาง
วิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ (Common Law) ในสมัยยุคกลาง (Middle Age) ประเทศอังกฤษได้ให้ความสำคัญต่อกฎหมายวิธีพิจารณามากทำให้การพิจารณาคดีในศาลเป็นเรื่องการโต้เถียงเกี่ยวกับวิธีพิจารณาเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นทนายความที่สามารถอาจถ่วงคดีให้ล่าช้าไปเป็นเดือนหรือไปเป็นปีก็ได้ โดยยกปัญหาวิธีพิจารณาขึ้นมาโต้เถียงกัน ทำให้หน้าที่ส่วนใหญ่ของผู้พิพากษาในศาลหลวงเป็นเรื่องวินิจฉัยกฎหมายวิธีพิจารณา ส่วนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของลูกขุน โดยผู้พิพากษาเกือบจะไม่ได้มีบทบาทอะไร จนกว่าจะถึงเวลาทำคำพิพากษาภายหลังที่ลูกขุนตัดสินแล้ว
วิวัฒนาการที่เห็นชัดอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การไม่แบ่งแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนออกจากัน ทั้งนี้เพราะอังกฤษในสมัยนั้นถือว่ากฎหมายที่มีความสำคัญได้แก่ กฎหมายมหาชนไม่ใช่กฎหมายเอกชน เหมือนกับประเทศในกลุ่มกฎหมายโรมัน กล่าวคือ ในกรณีที่มีข้อพิพาทไปสู่ศาลหลวงก็เป็นเรื่องข้อพิพาททางด้านกฎหมายมหาชนเกือบทั้งสิ้น เพราะศาลหลวงเองที่จัดตั้งขึ้นมาในชั้นแรกก็เพื่อผลประโยชน์ของกษัตริย์ และคดีที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลหลวงได้ ก็แต่เฉพาะคดีที่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกษัตริย์หรือความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์เท่านั้น ส่วนข้อพิพาทตามกฎหมายเอกชนจะไม่ได้รับการพิจารณาในศาลหลวงเลย ดังนั้นกฎหมายมหาชนจึงมีความสำคัญมาก ส่วนกฎหมายเอกชนมีความสำคัญน้อยหรือเกือบไม่มีความสำคัญเลย เพราะฉนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งแยกระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนออกจากกัน
ข้อสังเกต ความเกี่ยวพันระหว่างกฎหมายอังกฤษและกฎหมายโรมัน ซึ่งแม้ว่าโดยหลักการแล้วกฎหมายทั้งสองมีความแตกต่างกันก็จริง แต่อาจมีความคล้ายคลึงกันบ้างในในบางกรณี ดังต่อไปนี้
1.ศาลในประเทศต่างๆของยุโรปซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ต่างก็มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภท และนับวันอำนาจของศาลจะมากขึ้นทุกที ทำให้อำนาจของกษัตริย์ลดน้อยลง
2.ศาลแต่ละศาลต่างก็มีอิสระในการกำหนดวิธีพิจารณาในศาล ทำให้สามารถรับเอาแบบอย่างวิธีพิจารณาที่เหมาะสมมาใช้ในศาล เช่น วิธีพิจารณาของกฎหมายพระ เป็นต้น ที่เอาแบบอย่างมาจากกฎหมายโรมัน
เมื่อพิจารณาถึงศาลในอังกฤษโดยเฉพาะศาลหลวง คือ ศาล Westminster Courtเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีได้เฉพาะบางประเภทเท่านั้น ดังนั้นในการพิจารณาคดีทุกคดี จึงต้องแสดงเหตุผลและกำหนดหลักเกณฑ์ให้เห็นว่า เพราะเหตุใดศาลหลวงจึงมีอำนาจพิจารณาคดีเหล่านั้น และมีหลักกฎหมายอย่างไรในการพิจารณาคดีและหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้จะได้รับการยึดถือให้เป็นแบบอย่างแก่คดีต่อๆไป และนำคดีไปใช้ทั่วไปในอังกฤษจึงกลายเป็นกฎหมายสำหรับประชาชนทั่วไป คือ Common law หรือ Commune ley –ขึ้น อย่างไรก็ตามการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆของ ศาลWestminster Court นอกจากจะรับแบบอย่างมาจากจารีตประเพณีท้องถิ่นแล้ว ยังได้รับแบบอย่างจากกฎหมายโรมันด้วย โดยดัดแปลงให้เข้ากันได้กับแบบวิธีพิจารณาของศาลหลวงของอังกฤษในทางปฏิบัติ แต่กล่าวโดยสรุป ศาลWestminster Court นอกจากจะเรียกว่าศาลหลวงแล้ว ยังอาจเรียกว่า “Common law Court” ได้อีกด้วย
1.3 กฎหมายอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ. 1485-1832
กฎหมายอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ. 1485-1832 กล่าวถึงการปฏิรูป คอมมอนลอว์ (Common law) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Common law ของอังกฤษในยุคก่อนขึ้นอยู่กับวิธีพิจารณาในศาลหลวงเป็นสำคัญ จึงทำให้การแก้ไขปรับปรุงทำได้ลำบากและไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในยุคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดหลักกฎหมายขึ้นมาอีกหลักหนึ่งเพื่อแก้ไขความไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นธรรมอันเกิดจาก Common law ซึ่งหลักดังกล่าว ก็คือ หลัก Equity การขัดแย้งระหว่าง Common law กับ Equity และการรวมกฎหมายพาณิชย์เข้ากับ Common law ดังนี้
1.3.1 ความจำเป็นที่ต้องปฏิรูป Common law
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Common law ของอังกฤษในยุคก่อนขึ้นอยู่กับวิธีพิจารณาในศาลหลวงเป็นสำคัญ จึงทำให้การแก้ไขปรับปรุงทำได้ลำบากและไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในยุคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดหลักกฎหมายขึ้นมาอีกหลักหนึ่งเพื่อแก้ไขความไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นธรรมอันเกิดจาก Common law ซึ่งหลักดังกล่าว ก็คือ หลัก Equity
สาเหตุสำคัญและแท้จริงที่ทำให้เกิดหลัก equity ขึ้นเป็นเพราะ Westminster Court ไม่สามารถวินิจฉัยข้อพิพาทให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณีอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากการที่ศาลต้องยึดมั่นอยู่กับวิธีการของ Common law ซึ่งไม่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ ดังนั้นคู่กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่พอใจจึงถวายฎีกาต่อกษัตริย์ เพื่อให้ทรงวินิจฉัย แต่ในระยะแรกกรณีเช่นว่านี้ ถึงแม้จะเกิดขึ้นบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็มีจำนวนน้อย
ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 บรรดาคู่กรณีซึ่งไม่พอใจในคำวินิจฉัยของ Westminster Court ต่างก็ถวายฎีกาต่อกษัตริย์เพื่อให้เข้าแทรกแซงและช่วยเหลือ ซึ่งฎีกาเหล่านี้จะมีบุคคลซึ่งเป็นข้าราชบริพารใกล้ชิดของกษัตริย์ คือ Chancellor เป็นผู้รับฎีกา และนำเข้าปรึกษาในคณะกรรมการที่มีกษัตริย์ทรงเป็นประธาน สำหรับคดีที่ Chancellor พิจารณาเห็นสมควร ซึ่งการพิจารณาเช่นนี้ไม่ได้นำหลัก Common law มาใช้ แต่ใช้หลัก Equity แทน
ในระยะแรกวิธีการดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการคัดค้านแต่ประการใด เพราะการที่คู่กรณีถวายฎีกาต่อกษัตริย์เพื่อร้องขอความเป็นธรรม เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของกษัตริย์อยู่แล้วและการถวายฎีกาก็ทำกันเฉพาะกรณีพิเศษบางกรณีเท่านั้น แต่ในระยะต่อมามีผู้ถวายฎีกาต่อกษัตริย์มากขึ้น จนทำให้กษัตริย์ไม่สามารถจะทรงนั่งเป็นประธานพิจารณาได้ทุกเรื่อง ทำให้อำนาจของ Chancellor มีมากขึ้น จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15 Chancellor กลายเป็นผู้พิพากษาที่มีอำนาจวินิจฉัยฎีกาที่ถวายต่อกษัตริย์เด็ดขาด โดยกษัตริย์ทรงมอบอำนาจให้ แต่ Court of Chancery ใช้หลัก equity ในการวินิจฉัยคดีดังกล่าวแล้ว ทำให้การวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับหลักการวินิจฉัยของศาลหลวงซึ่งใช้หลัก Common law จึงเหมือนกับว่าหลัก equity ได้ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลัก Common law ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า Common law ได้เริ่มมีการปฏิรูปโดยการยอมรับหลัก equity เข้ามาแก้ไขหลัก Common law
1.3.2 Equity ในสมัย Tudors ในคริสศตวรรษที่ 16
อำนาจของกษัตริย์อังกฤษเพิ่มากขึ้น โดยเฉพาะหลังสงครามกลางเมือง ได้มีการปราบปรามผู้กระทำความผิดทางอาญาอย่างรุนแรง โดยการจัดตั้ง Star Chamber ขึ้นที่ Westminster ทั้งนี้เพื่อสถาปนาความสงบเรียบร้อยขึ้น แม้ว่าเสรีภาพของประชาชนจะถูกลิดรอนลงอย่างมากก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่ง อำนาจของ Court of Chancery ก็ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยทำหน้าที่เป็นศาลอย่างแท้จริงแต่มีวิธีพิจารณาผิดกับ Common law Courts กล่าวคือ Court of Chancery ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นลายลักษณ์อักษร คล้ายกับวิธีการของศาลพระ ส่วนกระบวนการวิธีพิจารณาของ Common law Courts กระทำโดยวาจาต่อหน้าสาธารณชนนอกจากนั้น Court of Chancery ยังยกเลิกและแก้ไขวิธีการเก่าๆ ที่ใช้อยู่เดิมในศาล Common law ด้วย รวมทั้งการวินิจฉัยคดี ยึดหลักประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่ ดังนั้นทั้งกษัตริย์และประชาชนจึงมีความนิยมชมชอบในศาลใหม่นี้มากกว่าศาล Common law
นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว Court of Chancery ยังได้รับความนิยมเพราะเหตุที่ได้นำหลักกฎหมายโรมันและกฎหมายพระมาใช้ในการวินิจฉัยคดีด้วย เพราะทำให้คู่กรณีที่มีความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมมากกว่าการวินิจฉัยคดีโดยศาล Common law จนกระทั่งกฎหมายอังกฤษเกือบจะเข้ามาอยู่รวมกลุ่มกับกฎหมายประเทศภาคพื้นยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะความนิยมของประชาชนและกษัตริย์ที่มีต่อ Court of Chancery ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก กฎหมายโรมัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ศาล Common law หรือ Westminster Court ไม่พอใจ เพราะเหตุที่เสียความสำคัญ และถูกริดรอนอำนาจลง
1.3.3 การขัดแย้งระหว่าง Common law และ Equity
การขัดแย้งระหว่างอำนาจของศาลทั้งสองประเภทได้รุนแรงขึ้นทุกที จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1616 ศาล Common law ได้ร่วมมือกับรัฐสภายับยั้งการใช้อำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์รวมทั้งสกัดกั้นการขยายเขตอำนาจของศาล Chancery ด้วย แม้ว่าในครั้งนั้นกษัตริย์อังกฤษ (King Jack I) จะตัดสินให้ Court of Chancery เป็นฝ่ายชนะก็ตาม แต่ Court of Chancery ก็ไม่ได้ชัยชนะนี้ไปทำลายความสำคัญของศาล common law และรัฐสภา กล่าวคือได้ยอมลดอำนาจตัวเองกลับไปสู่สถานะเดิม (status quo ) ไม่ก้าวก่ายอำนาจของศาล Common law ต่อไป ทำให้ข้อกล่าวหาที่ว่า Court of Chancery วินิจฉัยคดีตามอำเภอใจลดน้อยลง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1621 Court of Chancery ได้กำหนดหลักเกณฑ์ยอมอยู่ภายใต้การควบคุมของ House of Lords อีกด้วย ส่วนศาล Common law เองก็ยอมรับรู้อำนาจของ Court of Chancery ในกรณีที่มีตัวอย่างการพิพากษาของศาลนี้ในกรณีเช่นเดียวกันมาแล้ว
1.3.4 การรวมกฎหมายพาณิชย์เข้ากับ Common law
ตั้งแต่เริ่มต้นของ Common law ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งได้มีหลัก equity เพิ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 อันเป็นยุคที่มีความประนีประนอมกันระหว่าง Common law กับ equity ได้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือ การรวมกฎหมายพาณิชย์ (Commercial law ) เข้ากับ Common law อันที่จริงกฎหมายพาณิชย์ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในอังกฤษ โดยอังกฤษถือว่าเป็นกฎหมายที่มีลักษณะต่างประเทศ และประโยชน์สำหรับพ่อค้าวาณิช (merchants) เท่านั้น แต่เมื่อได้มีความพยายามที่จะทำกฎหมายเอกรูปขึ้นในอังกฤษตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (เช่นเดียวกับการจักทำกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ในยุโรป)กฎหมายพาณิชย์จึงขาดความเป็นเอกเทศ เพราะต้องเข้ารวมอยู่กับ Common law ทำให้อภิสิทธืของบรรดาพ่อค้าวาณิชย์บางประการสิ้นสุดลงด้วย
1.4 กฎหมายอังกฤษยุคปัจจุบัน
กฎหมายอังกฤษยุคปัจจุบันจะกล่าวถึง การปฏิรูปกฎหมายในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กฎหมายอังกฤษในยุครัฐสวัสดิการในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดังนี้
1.4.1 การปฏิรูปกฎหมายในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1832-1833และ 1852 นับได้ว่าเป็นยุคที่มีการปฏิรูปทางกฎหมายในอังกฤษอย่างแท้จริง คือ มีการปฏิรูปวิธีพิจารณาเสียให้โดยให้ความสำคัญต่อกฎหมายวิธีพิจารณาลดลง และหันไปให้ความสำคัญแก่กฎหมายสาระบัญญัติมากขึ้นเหมือนกับประเทศในภาคพื้นยุโรป (ในกลุ่มประเทศใช้ที่ใช้กฎหมายโรมัน) นอกจากนั้นยังได้พยายามจัดทำคำพิพากษาให้เป็นหมวดหมู่
ในด้านการจัดระเบียบศาลยุติธรรมก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างขนานใหญ่ ในปี ค.ศ. 1873-1875 โดยกฎหมายที่เรียกว่า “Judicature Acts” ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญในการยกเลิกความแตกต่างของอำนาจศาล Common law กับCourt of Chancery กล่าวคือ ให้ศาลทั้ง 2 มีอำนาจพิจารณาโดยนำหลัก Common law กับ หลัก equity มาใช้ได้ทั้ง 2 หลัก ไม่ต้องมีการแบ่งแยกเหมือนในสมัยก่อน นอกจากนั้นยังมีการยกเลิกกฎหมายเก่าที่ล้าสมัย รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายสาระบัญญัติอื่นๆอีกมาก แต่การแก้ไขปรับปรุงนั้นยังคงรักษารูปแบบเดิมของกฎหมายอังกฤษไว้ คือ ยังให้ความสำคัญต่อศาลอยู่มาก คือ คำพิพากษาของศาล แม้ฝ่ายนิติบัญญัติจะเข้ามามีบทบาทในบัญญัติกฎหมายมากขึ้นก็ตามแต่ก็เพื่อเข้ามาบัญญัติกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่ออุดช่องว่างแห่งกฎหมายที่ไม่ยังมีคำพิพากษาของศาลมาใช้บังคับ
14.2 กฎหมายอังกฤษในยุครัฐสวัสดิการ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงยุคปัจจุบัน คริสต์ศตวรรษที่ 21
กฎหมายอังกฤษในยุครัฐสวัสดิการ (welfare state) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าได้มีการปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปฏิรูปดังกล่าวได้ดำเนินต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 20-ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลง ทางสังคมจากระบบเสรีนิยมมาเป็นระบบสังคมนิยมมากยิ่งขึ้นทำให้กฎหมายอังกฤษต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามไปด้วย กล่าวคือ กฎหมายในระบบเสรีนิยมค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1914 และเริ่มยอมรับกฎหมายในรูปสังคมนิยมเข้ามาแทนที่ ทั้งนี้เพื่อให้ทันกับความต้องการของสังคมยุคใหม่ ซึ่งมีวัฒนาการและมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีผลต่อเนื่องของระบบกฎหมายอังกฤษยุคปัจจุบัน (คริสต์ศตวรรษที่ 21) กับกฎหมายภาคพื้นยุโรป (กลุ่มกฎหมายที่ใช้กฎหมายโรมัน หรือเรียกว่า กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil law) มีความโน้มเอียงเข้าหากัน เพราะประเทศเหล่านี้มีวัฒนธรรมที่เหมือนกันหลายอย่าง จึงมีปัญหาทางสังคมและกฎหมายเช่นเดียวกันหรือคล้ายกัน ดังนั้นในระยะหลังกฎหมายอังกฤษจึงได้รับแบบอย่างของกฎหมายจากกลุ่มกฎหมายภาคพื้นยุโรปไปผสมด้วย
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「house of lords คือ」的推薦目錄:
house of lords คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา
ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) หมายถึง ระบอบการปกครองหรือรัฐบาลรูปหนึ่งซึ่งมีการปกครองที่ราษฎรใช้อำนาจทางผู้แทน หรือ โดยทางกึ่งผู้แทนและมีการแบ่งแยก “อำนาจ” หรือ “ภารกิจหน้าที่” อย่างไม่เด็ดขาด เพื่อให้มีความร่วมมือประสานกันระหว่างฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) กับฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ระบบรัฐสภาเป็นระบบที่พัฒนามาโดยอาศัยระยะเวลานานที่สุด และเป็นระบบที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งระบบรัฐสภาอาจมีได้ทั้งระบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศไทย ประเทศโมร็อคโค ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กับระบบรัฐสภาที่มีบุคคลธรรมดาเป็นประมุข (ประธานาธิบดี) เช่น ประเทศบังคลาเทศ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเนปาล ประเทศตุรกี ประเทศตรินิแดดและโตเบโก เป็นต้น
ระบบรัฐสภาเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบรัฐสภาเป็นการจำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยของพระเจ้าจอห์น พระมหากษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษ ค.ศ. 1215 และการประกาศใช้มหาบัตร (Magna Carta) ซึ่งต่อมาก็มีการพัฒนาสภาที่ปรึกษาราชการ จนกลายเป็นสภานิติบัญญัติ มีการตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีหรือนายกรัฐมนตรีขึ้นควบคุมคณะเสนาบดีทั้งหลาย มีการแยกคณะเสนาบดีหรือรัฐมนตรีออกจากพระมหากษัตริย์ มีการแบ่งสภาออกเป็น 2 สภา คือ สภาสามัญหรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Common) กับ สภาขุนนาง หรือวุฒิสภา (House of Lords) มีการเลือกตั้งและการต่อสู้ระหว่างสภาทั้งสอง และการต่อสู้ระหว่างสภาสามัญกับพระมหากษัตริย์ การลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงในขณะที่สภาสามัญหรือสภาผู้แทนราษฎรกลับรุ่งโรจน์มากขึ้นทุกที การให้สภาทั้งสองควบคุมรัฐบาลได้ การให้พระมหากษัตริย์ยุบสภาสามัญเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ เป็นต้น
ในระบบรัฐสภา ของประเทศอังกฤษซึ่งต้นแบบของระบบรัฐสภาที่นำมาใช้กันทั่วโลก นั้นผู้เขียนจะขอกล่าวถึงหลักการสำคัญของระบบรัฐสภา รวมถึงการพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียของระบบรัฐสภาที่น่าศึกษา ดังนี้
1.1.1 หลักการสำคัญของระบบรัฐสภา
ในระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษได้พัฒนามาเป็นระยะเวลานานจนมีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆ และเป็นระบบที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกปัจจุบันมีข้อพิจารณาดังนี้
1.1.1.1 ไม่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างเคร่งครัด
ในระบบรัฐสภาไม่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) อย่างเคร่งครัดหากแต่ยึดหลักการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ (Function of Powers) ให้องค์กรกระทำ เช่น แบ่งแยกให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ทำหน้าที่ตรากฎหมาย แบ่งแยกให้ฝ่ายบริการ (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) บริหารราชการแผ่นดิน แบ่งแยกให้องค์กรตุลาการพิพากษาอรรถคดี โดยยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีการแบ่งแยกองค์กรและแบ่งหน้าที่ แต่ยอมให้แต่ละองค์กรเกี่ยวข้องกันได้มากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมหรือบังคับว่าให้ ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดซึ่งเป็นการถ่วงดุลหรือคานอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) ซึ่งในระบบรัฐสภามีการกระทำบางประการที่ฝ่ายบริหารมีอยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ คือ การยุบสภา การยังยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาได้ลงมติให้ใช้ได้แล้วชั่วระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไปก็ได้ รัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมกล่าวอภิปรายชี้แจงตอบโต้ในรัฐสภาก็ได้ แม้ตนมิได้เป็นสมาชิกของรัฐสภา ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็มีการกระทำหลายอย่างอยู่เหนือฝ่ายบริหาร ได้แก่ การให้ความไว้วางใจหรือการไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรี
1.1.1.2 ประมุขของรัฐเป็นคนละคนกับหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาประมุขของรัฐเป็นคนละคนกับหัวหน้าฝ่ายบริหาร (หัวหน้ารัฐบาล) ซึ่งแยกอธิบายประมุขของรัฐได้ 2 ลักษณะ คือ
1.ในประเทศที่ประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ ได้มีการกำหนดการจำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ เท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ โดยมีผู้สนองบรมราชโองการ กล่าวคือ อำนาจในการบริหารให้เป็นของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประมุขของรัฐแบบนี้ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
2.ในประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐก็ใช้วิธีเลือกตั้งประมุขของรัฐแทน เรียกว่า “ประธานาธิบดี” (President) แต่ก็ให้ประมุขของรัฐมีอำนาจระดับเดียวหรือใกล้เคียงกับประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์ ส่วนอำนาจในการบริหารให้เป็นของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เช่นเดียวกันกับประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ เช่น ประเทศอิตาลี ประเทศเยอรมนี ประเทศอินเดีย ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
1.1.1.3 ประมุขของรัฐไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง
ในระบบรัฐสภาประมุขของรัฐไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง ในกรณีประมุขของรัฐที่เป็นกษัตริย์ การกระทำของกษัตริย์มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทำให้ประมุขของรัฐไม่ต้องรับผิดทางการเมือง กษัตริย์จึงกลายเป็นสถาบันที่ผู้ใดจะละเมิดว่ากล่าวฟ้องร้องไม่ได้ (The King can do wrong) สำหรับประมุขของรัฐที่เป็นประธานาธิบดี ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง แต่ไม่อาจอยู่เหนือทางการเมืองหรือไม่รับผิดชอบใดๆทางการเมืองโดยเด็ดขาดได้ อย่างดีที่สุดคือ วางตัวเป็นกลาง ไม่ถือว่าเป็นคนของพรรคการเมืองใดเท่านั้นและไม่ต้องตอบกระทู้ในสภา ไม่ถูกฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ต้องรายงานต่อฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น แต่โดยปกติแล้วประมุขของรัฐจะทำสิ่งใดในหน้าที่เองโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีนายกรัฐมนตรีและหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามกำกับด้วยเอกสารทางราชการที่กระทำขึ้นในนามประมุขของรัฐนั้น นอกจากเรื่องที่รัฐธรรมนูญของบางรัฐได้มีบทบัญญัติชัดแจ้งให้ประมุขแห่งรัฐทำได้เอง โดยไม่ต้องมีรัฐมนตรีลงนามกำกับ แต่ก็จะเป็นเรื่องที่ประมุขของรัฐได้ใคร่ครวญและมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำแล้วอย่างรอบคอบ
1.1.1.4 สภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนและรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของสภา
ในระบบรัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของสภากติกาข้อนี้เป็นเงื่อนไขที่สำคัญมาก เพราะแสดงให้เห็นวิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยอ้อมที่เป็นลักษณะเฉพาะของระบบรัฐสภา เพราะรัฐสภาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมือง
ขั้นตอนของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาเริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) เมื่อได้สมาชิกรัฐสภาครบถ้วนและพร้อมแล้ว สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งรัฐบาล (ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี) โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง เพื่อจัดตั้งรัฐบาล หรือ ประกอบคณะรัฐมนตรี ปกติแล้วหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดหรือมีที่นั่งสมาชิกมากที่สุดในสภาก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง (ในระบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) หรือมีประกาศแต่งตั้งจากประมุขของรัฐ (ในระบบรัฐสภาที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข)
คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินบนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) เพราะถือว่ามาจากสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ไม่ใช่มาจากประชาชนหรือประมุขโดยตรง คณะรัฐมนตรีจึงต้องรักษาสัมพันธภาพกับสภาให้แนบแน่นและเข้ากันได้ จะลำพองหรือทระนงตัวว่าเป็นรัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) ตั้งโดยพระบรมราชโองการหรือได้รับคะแนนนิยมท่วมท้นจากประชาชนไม่ได้ วันใดที่สภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) หมดความไว้วางใจ วันนั้นรัฐบาลก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน
ข้อสังเกต รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้ประมุขของรัฐแต่งตั้งนั้นมาจากอาจจะมาจากสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นหรืออาจจะมาจากสภาผู้แทนราษฎรหรือมาจากบุคคลภายนอกก็ได้แล้วรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศกำหนด
1.1.1.5 สภามีอำนาจควบคุมการทำงานของรัฐบาล
ในระบบรัฐสภา รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้สภาจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า อำนาจในการควบคุมการบริหารราชแผ่นดิน การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน คือ มาตรการในการควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้วางนโยบายและเร่งรัดการปฏิบัติงานตามนโยบาย ผู้มีอำนาจควบคุม คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา)
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินทำได้หลายอย่างหลายมาตรการ ได้แก่
1. คณะรัฐมนตรีที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
2. สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตั้งกระทู้ถาม (question) ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้
3.การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (vote of no confidence) ทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายของฝ่ายนิติบัญญัติที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร เป็นต้น
1.1.1.6 ฝ่ายบริหารเสนอให้ประมุขของรัฐยุบสภาได้
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเป็นมาตรการที่แสดงว่าฝ่าย นิติบัญญัติ (รัฐสภา) อยู่เหนือฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) และมีผลกระทบฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ค่อนข้างมาก อย่างน้อยที่สุดการตั้งกระทู้บ่อยครั้งก็อาจ จู้จี้จุกจิก หรือการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็อาจเป็นที่น่าสะพรึงกลัวของฝ่ายบริหารในบางกรณี แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารก็สามารถเสนอให้ประมุขของรัฐยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่
ข้อสังเกต ระบบรัฐสภาที่ประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบนี้ประเทศต่างๆนำมาใช้โดยการดัดแปลงระบบรัฐสภาหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะเข้มงวดในบางกติกา ผ่อนคลายในบางกติกาตามความเหมาะของแต่ละประเทศ
ตัวอย่าง ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศอิตาลี ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสวีเดน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศลักแซมเบริ์ก ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศอินเดีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
1.1.2 ข้อดีข้อเสียของระบบรัฐสภา
เมื่อพิจารณาถึงระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่อธิบายดังกล่าวข้างต้น พบว่าระบบรัฐสภามีข้อดีข้อเสียโดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1.1.2.1 ข้อดีของระบบรัฐสภา
จากการที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ มาจากแหล่งเดียวกัน คือ มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ด้วยเหตุนี้ในการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารจึงมักดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เช่น รัฐบาลของประเทศไทยในปัจจุบันคุมเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น กฎหมายต่างๆที่มาจากนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลก็สามารถผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ได้อย่างไม่ยาก เพราะฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) คุมเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ระบบนี้ยังป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจเกินขอบเขตด้วยการที่ฝ่ายบริหารต้องรับผิดการปฏิบัติงานของรัฐมนตรี หากรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งในฝ่ายบริหารกระทำการเกินขอบเขต ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตั้งกระทู้ถามหรืออาจขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีคนนั้นได้
1.1.2.2 ข้อเสียของระบบรัฐสภา
ข้อจำกัดของระบบรัฐสภานี้เกิดจากการที่ระบบรัฐสภานี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งพรรคการเมืองมีความเข้มแข็งมาก หากนำระบบนี้ไปใช้ในประเทศที่พรรคการเมืองไม่มีความเข้มแข็ง คือ หัวหน้าพรรคการเมืองไม่สามารถคุมสมาชิกพรรคการเมืองได้ เพราะมีการแยกกันเป็นกลุ่มในพรรคการเมืองนั้น ที่เรียกว่า “หลายมุ้ง” รวมทั้งมีความขัดแย้งในฝ่ายนิติบัญญัติเนื่องจากการรวมกันของพรรคการเมืองหลายพรรค จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ที่ได้ไม่มีความมั่นคงและความเสถียรภาพทางการเมือง เพราะเป็นรัฐบาลผสม แต่ละพรรคจึงพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์ของตัวเองก่อให้เกิดความขัดแย้งในการบริหารราชการแผ่นดินนำไปสู่การยุบสภาทำให้การพัฒนาประเทศไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควรจะเป็น
house of lords คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ความรู้ทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองของรัฐ นับว่าเป็นกฎหมายที่สำคัญมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกฎหมายวางหลักในการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักกฎหมายเป็นใหญ่ที่เรียกว่าหลักนิติรัฐ ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้ คือ
1.ประวัติความเป็นมาและความหมายของรัฐธรรมนูญ
เมื่อเราศึกษาความรู้ทั่วไปของรัฐธรรมนูญให้เข้าใจนั้นในลำดับแรกเราต้องศึกษาประวัติความเป็นมาและความหมายของรัฐธรรมนูญให้เข้าใจเสียก่อนว่ารัฐธรรมนูญมีความหมายอย่างไรและมีความเป็นมาอย่างไร
1.1 ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการพัฒนาทั้งร่างกายและสมอง ทำให้มนุษย์เข้ามาอยู่รวมกันเป็นสังคมรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อความปลอดภัยและรักษาไว้ ซึ่งสิทธิเสรีภาพของตัวเอง โดยมอบหรือสละสิทธิเสรีภาพบางส่วนให้กับสังคม โดยมีผู้นำที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยแก่คนในสังคมนั้น และขณะเดียวกัน ผู้ปกครองหรือหัวหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีอำนาจปกครองที่เป็นที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนมากขึ้นและในระยะต่อมากลายเป็นรัฐ
ซึ่งความหมายของรัฐที่นักวิชาการ ไม่วาทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ให้คำจำกัดความไว้ใกล้เคียงกันเรื่องของ รัฐ คือ รัฐเป็นสังคมมนุษย์ ซึ่งมีระเบียบ หรือมีการจัดองค์องค์กรเป็นระเบียบแบบแผน และโดยเหตุที่การจัดตั้ง หรือการประกอบขึ้นเป็นรัฐ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง การปกครองคนในรัฐหรือในสังคมนั้น จึงเป็นสังคมการเมือง (Political Society) เมื่อรัฐมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง การปกครอง รัฐจึงต้องมีผู้ปกครองหรือ รัฐบาลที่มีอำนาจทางการเมือง
ดังนั้น การเป็นรัฐได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขหรือมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. การมีดินแดนที่กำหนดได้อย่างแน่ชัด
2. การมีประชากรที่อยู่ร่วมกันอย่างถาวร
3. การมีอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจซึ่งแสดงความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระไม่
ตกอยู่ภายใต้การบังคับของใครโดยปราศจากความยินยอม
4. การมีรัฐบาล กำหนดดำเนินการในทางการเมืองและการปกครองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
เมื่อมีองค์ประกอบ 4 ประการข้างต้นแล้ว รัฐย่อมเกิดขึ้นตามความหมายในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญและสามารถจัดกิจการภายในรัฐได้
รัฐต่างๆได้พัฒนาระบบการปกครองจากระบอบเทวาธิปไตยพัฒนามาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของทุกรัฐมีความคล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และไม่สามารถควบคุมตรวจสอบ การใช้อำนาจของผู้ปกครองให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้ จากหลักการดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจกดขี่เอารัดเอาเปรียบประชาชน จึงทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาขึ้น
โดยนักคิดนักปรัชญาการเมืองที่สำคัญ เช่น จอห์น ล็อค (John locke). มองเตสกิเออ (Montesquieu) ที่พยายามสร้างแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจ ในการใช้อำนาจการปกครองเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การแบ่งแยกอำนาจในการปกครองตามแนวความคิดของนักคิดดังกล่าวโดยเฉพาะแนวความคิดของ มองเตสกิเออ (Montesquieu) คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งอำนาจทั้งสามจะไม่อยู่ที่คนๆ เดียวเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งใช้อำนาจจนเกินควรให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนแก่ประชาชน
แนวคิดของจอห์น ล็อค (John locke) และ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้มีอิทธิพลมากในยุโรปและมีอิทธิพลต่ออเมริกาเมื่ออเมริกาปลดแอกจากอังกฤษ ได้นำแนวความคิดแบ่งแยกอำนาจ(Separation of Powers) เป็นแนวทางการเขียนหลักเกณฑ์ในการปกครองประเทศ เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” คือรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลักการสำคัญ ได้แก่
1.ทุกคนมีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน
2.ผู้ปกครองประเทศมาจากความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่
3.ผู้ปกครองจะต้องใช้อำนาจในการปกครองเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
และผลประโยชน์ของประชาชน
4. การใช้อำนาจของผู้ปกครองต้องสามารถควบคุมตรวจสอบให้อยู่ในความ
พอเหมาะพอดีได้
การประการใช้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกานั้นทำให้หลักการในการปกครองประเทศหลายประการ กลายเป็นต้นแบบให้แก่รัฐธรรมนูญนานาประเทศในเวลาต่อมา อาทิเช่น
1) การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ในการปกครองประเทศ 3 อำนาจ คือ
อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ดังที่ปรากฏเป็นรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) การมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่กำหนดความสูงสุดของ
กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายอื่น และเป็นแนวทางในการปกครองประเทศที่ร่างขึ้นโดยตัวแทนของประชาชน ตามความต้องการของประชาชน ให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการใช้อำนาจการปกครอง และผู้ปกครองต้องใช้อำนาจในการปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจนั้น ดังนั้นกระบวนการตรารัฐธรรมนูญต้องมีความพิเศษกว่ากฎหมายอื่น เพื่อต้องการไม่ให้ผู้ปกครองออกกฎหมายอื่นมายกเลิกได้ง่ายเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3) เกิดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจการปกครอง
เป็นของประชาชน ดำเนินการโดยประชาชนเพื่อประชาชน เกิดวิธีการได้ซึ่งอำนาจกระบวนการใช้อำนาจใหม่ที่สำคัญคือได้กระบวนการและวิธีในการควบคุมการใช้อำนาจให้อยู่ในความเหมาะสมได้ซึ่งหมายความว่าการใช้อำนาจของผู้ปกครองสามารถตรวจสอบ และการควบคุมให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้ด้วยกระบวนการต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตย
4)การรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
1.2 ความหมายของรัฐธรรมนูญ
ก่อนที่เราจะทราบความหมายของรัฐธรรมนูญเราจำเป็นศึกษาว่ารัฐธรรมนูญในโลกนี้มีรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศที่ตามสภาพความเป็นจริง ในโลกปัจจุบันประเทศต่างๆ จะปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง และระบอบคอมมิวนิสต์ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่บ้าง เช่น ประเทศสวาซิแลนด์ ซาอุอาระเบีย บรูไน เป็นต้น
ระบอบการปกครองที่สำคัญในโลก คือ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบประชาธิปไตยกับระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ในส่วนนี้ผู้เขียนมุ่งที่สนใจและให้ความสำคัญในการศึกษา คือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1.2.1 ความหมายของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
พจนานุกรมกฎหมายอเมริกัน ได้ให้ความหมาย คำว่า “รัฐธรรมนูญ”(Constitution) ว่าหมายถึง กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์และเป็นพื้นฐานของรัฐ ซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยกำหนดลักษณะและแนวทางเกี่ยวกับรัฐบาล วางหลักพื้นฐานสำหรับให้รัฐบาลดำเนินตาม จัดรูปแบบของรัฐบาลและกำหนดกฎเกณฑ์กระจายและจำกัดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และวางหลักในการใช้อำนาจอธิปไตยว่ามีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เพียงไร
สำหรับในประเทศไทยได้อธิบายความหมายของรัฐธรรมนูญไว้ เช่น
1. หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่า “กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดินเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในแผ่นดินทั้งหลาย และวิธีการดำเนินการทั่วไปแห่งอำนาจเหล่านี้หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่ากฎหมายธรรมนูญการปกครองวางหลักทั่วไปแห่งอำนาจสูงสุดในประเทศ”
2. ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า รัฐธรรมนูญ “หมายถึง
กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งการใช้อำนาจสูงสุดในรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน”
3. ศาสตราจารย์ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ อธิบายว่า “ในปัจจุบันคำว่า “Constitution” หรือ “รัฐธรรมนูญ” มีความหมายสองนัยคือ ความหมายอย่างกว้างและอย่างแคบ
“ตามความหมายอย่างกว้าง รัฐธรรมนูญได้แก่ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Customs) และธรรมเนียมปฏิบัติ (Conventions) ซึ่งกล่าวถึง (1) บรรดาองคาพยพ (Organ) หรือสถาบันการเมืองของรัฐ...ฯลฯ... (2) หน้าที่ขององคาพยพ หรือสถาบันการเมืองของรัฐ...ฯลฯ... (3) ความสัมพันธ์ระว่างองคาพยพหรือสถาบันทางการเมืองของเอกชน...ฯลฯ... (4) ความสัมพันธ์ระหว่างองคาพยพหรือสถาบันการเมืองของเอกชน...ฯลฯ...ความหมายอย่างกว้างนี้ใช้ อยู่ในประเทศอังกฤษและหมายถึงรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ”
“ส่วนความหมายอย่างแคบ หมายถึง กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ ซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ เช่นการดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ การทำหน้าที่นิติบัญญัติ หน้าที่บริหาร หน้าที่ตุลาการ ฯลฯ และกฎหมายนี้ได้จัดทำตามวิธีการที่กำหนดเป็นพิเศษ แตกต่างจากกฎหมายธรรมดาและได้รับการยกย่องให้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความหมายนี้ได้แก่รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เช่นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ”
จากความหมายเหล่านี้เราอาจสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ วางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐ กล่าวคือ ว่าด้วยดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตยและรัฐบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ ที่กำหนดเพื่อทำหน้าที่แบ่งแยกกันออกไป
ในทางวิชาการ ถือว่ามีคำอีกคำหนึ่งซึ่งมักใช้สับสนกับคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เสมอ คือคำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” (Constitutional Law หรือ the Law of the Constitution) ซึ่งหมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญ กฎมณเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมืองและกฎหมายอื่นๆด้วย เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองโดยที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติหลักการไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ หรือแม้แต่จารีตประเพณีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยในการแต่งตั้งนายกฯพระราชทานเข้ามาทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งไปหลังเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้น กรณีแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังเหตุการณ์14 ตุลา 16 และการแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 เป็นต้น
โดยนัยแห่งความหมายนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นคำที่กว้างกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะคลุมถึงรัฐธรรมนูญด้วย คลุมถึงหลักเกณฑ์การปกครองประเทศทีไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย คลุมถึงกฎหมายทั้งหลายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันการเมืองใดสถาบันการเมืองหนึ่งด้วย คลุมถึงกฎหมายที่ขยายรายละเอียดที่รัฐธรรมนูญได้วางหลักการไว้นั่นก็คือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ตัวอย่างเช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มี 8 เรื่องด้วยกัน อาทิเช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง.กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
โดยสรุป เราอาจกล่าวได้ว่าประเทศใดมีรัฐธรรมนูญ ประเทศนั้นย่อมมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในกฎหมายหลายประการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ประเทศใดมีกฎหมายรัฐธรรมนูญประเทศนั้นอาจไม่มีรัฐธรรมนูญ เช่น อังกฤษมีกฎเกณฑ์การปกครองประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน แต่ไม่มีตัวบทกฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญ อย่างเช่นรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา หรือฝรั่งเศส เป็นต้น
1.2.2 ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
1.ความคล้ายคลึงระหว่างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของกฎหมาย) กับ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นชื่อรวมใช้เรียกกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันการเมือง) อยู่ที่ว่ากฎหมายทั้งสองประเภทเป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบเกี่ยวกับการเมืองการปกครองคล้ายกันเพียงแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนดรายละเอียดมากกว่า
2.ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็น
กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับเดียวและกำหนดความสูงสุดของกฎหมายไว้ แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญมีทั้งส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นลายลักษณ์อักษรรวมอยู่ด้วย
อนึ่งควรสังเกต ชื่อวิชาที่ใช้เรียนและเรียกกันอยู่ทั่วไปคือกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ถ้าเรียนรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีการปฏิวัติล้มเลิกรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่มีอะไรให้ศึกษากัน แต่ถ้าเรียกกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วแม้จะยกเลิกรัฐธรรมนูญเสียก็มีกฎหมายอื่นว่าด้วยสถาบันการเมืองที่เหลืออยู่ให้ศึกษากัน
2. ประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญในทางวิชาการ
ในทางวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ เราอาจแยกประเภท หรือ ชนิดของรัฐธรรมนูญออกได้หลายประเภทหรือหลายวิธี เช่น
การแบ่งแยกตามรูปของรัฐตามหลักเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ
1.รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย . ฝรั่งเศส เป็นต้น
2. รัฐธรรมนูญของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา . เยอรมัน เป็นต้น
การแบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติตามเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ไทย ฝรั่งเศส อเมริกา เป็นต้น
2.รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น อังกฤษ เป็นต้น
การแบ่งแยกตามวิธีการแก้ไขตามเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย เช่น อังกฤษ
2.รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส ไทย เป็นต้น
การแบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการใช้ ตามวิธีนี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.รัฐธรรมนูญชั่วคราว เช่น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เป็นต้น
2.รัฐธรรมนูญถาวร เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เป็นต้น
ข้อสังเกต การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกตามทฤษฎีเท่านั้น
ซึ่งแม้แต่ในทางทฤษฎีเอง ก็ยังมีความเห็นแย้งกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้แบ่งจะถืออะไรเป็นเกณฑ์
การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว จะขออธิบายประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญอย่างมากในทางวิชาการ คือ การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญตามวิธีการบัญญัติที่มีรูปแบบดังนี้ คือ รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Constitutional Law)กับ รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญประเพณี (Customary Constitutional Law)
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้บัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วทั้งสิ้น ยกเว้นประเทศอังกฤษที่ยังคงใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี
2.1 รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร คือเอกสารฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับที่รวมรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้และได้จัดทำด้วยวิธีการแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา สำหรับประเทศที่บัญญัติไว้ในเอกสารฉบับเดียว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1989 รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ.1958 เป็นต้น
การที่กล่าวว่าเป็นเอกสารที่มีวิธีการจัดทำเป็นพิเศษแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีลักษณ์พิเศษกว่ากฎหมายอื่นๆ ตรงที่มีศักดิ์และฐานะสูงกว่ากฎหมายอื่นๆทั้งหมด เพราะรัฐธรรมนูญจะกำหนด องค์กร กระบวนการและรูปแบบของกฎหมายอื่นๆ ในระบบกฎหมายทั้งหมด ซึ่งส่งผล 2 ประการในระบบกฎหมาย คือ กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ กับการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยากโดยองค์กรหรือวิธีการพิเศษยิ่งกว่าการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ เราเรียกสภาพนี้ว่าความเป็นกฎหมายสูงสุดที่มั่นคงของรัฐธรรมนูญ
2.2 รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือที่เรียกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ในปัจจุบันมีใช้อยู่น้อยมาก ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีประเทศอังกฤษ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี นี้จะไม่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะยึดถือแนวทางที่เคยปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนานในเรื่องอำนาจต่างๆ ในการบริหารประเทศ ถึงแม้จะไม่ได้บัญญัติรัฐธรรมนูญไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ก็จะมีบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนประกอบของรัฐธรรมนูญ ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสมบูรณ์ขึ้น
ตัวอย่างของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ ที่ปรากฏในรูปของกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น
1. ฉบับที่ 1 Pettition of Right ค.ศ.1628 เป็นเอกสารซึ่งพระมหากษัตริย์ยอมมอบสิทธิและเสรีภาพบางประการให้แก่ราษฎร
2. ฉบับที่ 2 Bill of Right ค.ศ.1638 เป็นเอกสารที่พระมหากษัตริย์ประทานสิทธิและเสรีภาพของราษฎรให้แก่ราษฎรเพิ่มเติมจากที่ปรากฎในเอกสารฉบับที่ 1 ซึ่งเอกสารฉบับนี้ได้วางหลักสำคัญไว้ว่า “ไม่มีภาษีโดยไม่มีผู้แทน” หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะเรียกเก็บภาษีอากรจากราษฎรได้แต่โดยความยินยอมของรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนเท่านั้น
3. ฉบับที่ 3 Parliament ค.ศ.1911 เป็นเอกสารที่ตราโดยรัฐสภา ซึ่งบัญญัติว่ารัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญ (House of Commons) และ สภาสูงหรือสภาขุนนาง (House of Lords) และกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภาตลอดจนกระบวนการที่แต่ละสภาจะต้องปฏิบัติ
4. ฉบับที่ 4 Regency Bill ค.ศ.1937 เป็นเอกสารที่ตราเป็นกฎหมายว่าด้วยการรักษาราชการแทนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะปกครองบ้านเมืองได้
ตัวอย่างของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ ในรูปแบบกฎหมายประเพณี เช่น
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ต้องทรงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายประเพณีที่ผ่านความเห็นชอบของสภาสูงและสภาสามัญ และพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ จะนำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาทันที โดยไม่มีพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ไม่ได้
2. การแยกรัฐสภาออกเป็น 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญและสภาสูง หรือสภาขุนนาง กล่าวคือ ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับใดบัญญัติว่ารัฐสภาอังกฤษประกอบไปด้วย 2 สภา แต่เป็นกฎหมายประเพณี
3. หลักความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะและรายบุคคล ต่อสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อสภาสูง(สภาขุนนาง) ซึ่งหมายความว่า เฉพาะแต่สภาผู้แทนราษฎร(สภาสามัญ) เท่านั้นที่จะเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคล ซึ่งข้อกำหนดนี้ไม่มีในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญประเพณี เป็นต้น
สรุป ได้ว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยทั้งส่วนที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและส่วนที่เป็นกฎหมายประเพณี นอกจากนั้นแล้วยังมีสิ่งที่เราเรียกว่าจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ สำหรับเหตุผลที่เรายังคงเรียกรัฐธรรมนูญอังกฤษว่าเป็นกฎหมาย รัฐธรรมนูญประเพณีก็เพราะว่าบรรดากฎเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญ คือ กฎเกณฑ์ที่จัดระบบรูปแบบของรัฐก็ดี ที่จัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในมุมใดมุมหนึ่งก็ดี จะกระจัดกระจายไม่อยู่รวมเป็นเอกสารฉบับเดียวกัน โดยกระจัดกระจายไปในกฎหมายที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหลายๆฉบับ ในส่วนที่เป็นกฎหมายประเพณีก็กระจัดกระจายไม่ได้มีการรวบรวมมาให้เป็นหมวดหมู่เป็นระบบระเบียบในเอกสาร ไม่เหมือนกับประเทศอื่นอย่างเช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
เป็นต้น
3. ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษกว่ากฎหมายอื่นๆ เป็นเบ้าหลอมรวมของระบบกฎหมาย โดยเป็นแก่นในการจัดระบบการสร้างกติกาและการบังคับใช้กติกาทั้งปวง จนมีการกล่าวกันว่า หากรัฐใดไม่มีซึ่งรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐนั้นก็ย่อมปราศจากระบบกฎหมายไปด้วย รัฐธรรมนูญจึงได้รับการยอมรับให้ทำหน้าที่พื้นฐานในการเป็นกติกาหลักทางการเมืองการปกครองใน 2 ประการคือ (1) ความเป็นกฎหมายสูงสุด (2) การเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครอง
3.1 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
เป็นหลักการพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็นแม่บทของกฎเกณฑ์ทั้งปวง โดยการวางแนวปฏิบัติให้กระบวนวิธีในการตรากฎหมายและเนื้อหาสาระในบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีกรอบในการกำกับควบคุมที่มีความแน่นอน สามารถช่วยในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้กฎหมายอื่นๆในระบบกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ไม่ว่าองค์กรใดก็ตาม ในปัจจุบันในโลกนี้ องค์กรคุ้มครองความสูงสุดของรัฐธรรมนูญมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. องค์กรทางการเมือง ได้แก่ คณะกรรมการรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญ
2. ศาลยุติธรรม
3. ศาลพิเศษหรือศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 นั้นกำหนดให้องค์กรพิเศษควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญ
3.2 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองรัฐ
เป็นหลักการพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็นความชอบธรรมในการปกครอง โดยการกำหนดที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรที่ทำหน้าที่หลักทางการเมืองการปกครอง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และการกำหนดระเบียบของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรดังกล่าวให้เป็นไปตามคลองธรรม สามารถรักษาความชอบธรรมอยู่ได้บนรากฐานของความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมาย
4. เนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญที่ควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดได้แก่
1. การกำหนดรูปแบบของรัฐ
2. การจัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ
4.1 การกำหนดรูปแบบของรัฐ
รัฐธรรมนูญจะกำหนดรูปแบบของรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งรูปแบบของรัฐในปัจจุบันนี้
จะมี 2 รูปแบบ คือ
1) รัฐเดี่ยว (Unitory States)
2) รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ (Federation states)
4.1.1 รัฐเดี่ยว (Unitory States)
รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีศูนย์กลางในทางการเมืองและการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กันเป็นรัฐซึ่งมีเอกภาพไม่ได้แยกออกจากกัน กล่าวคือ เป็นรัฐที่มีผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นศูนย์รวมอันหนึ่งอันเดียวกัน บุคคลทุกคนในประเทศ จะอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอำนาจแห่งเดียวกัน ทุกคนจะอยู่ในระบอบการปกครองเดียวกันและอยู่ใต้บทบัญญัติของกฎหมายอย่างเดียวกัน รัฐเดี่ยวมีอยู่มากในโลกนี้และมีในทุกทวีป เช่น ไทย ญี่ปุ่น ตุรกี สเปน ฝรั่งเศส สวีเดน นอร์เวย์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมักจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะว่าเป็นเรื่องที่สำคัญจะต้องบัญญัติไว้
ตัวอย่างเช่นประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้ประเทศไทย เป็นรัฐเดี่ยวและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ
ข้อสังเกต รูปแบบของรัฐเดี่ยวนี้อาจจะเป็นไปในลักษณะการปกครองที่สำคัญ 2 ระบบ คือ การปกครองแบบรวมอำนาจ (Centrallization) การปกครองแบบกระจายอำนาจ (Decentralisation)
1.การปกครองแบบรวมอำนาจจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การปกครองระบบรวมศูนย์อำนาจ (Concentration) กับการกระจายการรวมศูนย์อำนาจปกครอง (Deconcentration)
2.การปกครองแบบกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization) ซึ่งมี 2ลักษณะ คือ
1)การกระจายอำนาจการปกครองทางอาณาเขต
2)การกระจายอำนาจทางกิจการหรือทางบริการ
4.1.2 รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ (Federation states)
รัฐรวมในที่นี้ หมายถึง รัฐรวมที่รวมรัฐต่างๆ เข้าด้วยกันตามความหมายของกฎหมาย
ภายในนั้นคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญในลักษณะที่มีการสร้างรัฐขึ้นให้อยู่เหนือและซ้อนอยู่กับรัฐต่างๆ ที่มารวมกันที่เรียกสหพันธรัฐหรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งสหพันธรัฐเป็นรูปแบบที่รัฐเอกราชหลายๆ รัฐยอมรับที่จะอยู่รวมกันภายใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกัน โดยยอมสละอำนาจบางส่วนของตน ประเทศที่เป็นลักษณะของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา,สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นต้น
4.2 การกำหนดเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญในเรื่องที่สองนี้ คือ เรื่องของการจัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตย เราอาจสรุปแยกได้ 5 เรื่องคือ
1. การสถาปนาหรือจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันต่างๆในการใช้อำนาจอธิปไตย
2. การกำหนดวิธีหรือกระบวนการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปเป็น
สมาชิกในองค์กรหรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้น
3.การกำหนดขอบเขตหน้าที่และกระบวนการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น
4.การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น
5.การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เรียกว่า หลักนิติรัฐ
4.2.1 การสถาปนาหรือจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันต่างๆในการใช้อำนาจ
อธิปไตย
การสถาปนาหรือจัดตังองค์กรหรือสถาบันตางๆเพื่อให้องค์กรหรือสถาบันเหล่านั้นใช้
อำนาจอธิปไตยของรัฐและในนามของรัฐ การกระทำต่างๆ เช่น การกระทำทางนิติบัญญัติ การกระทำทางบริหาร การกระทำทางตุลาการ การสถาปนาหรือการจัดตั้งองค์กร ในการใช้อำนาจนี้เป็นหลักการที่สำคัญ ในระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) โดยมีเป้าหมายไว้ซึ่งผลประโยชน์และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในแต่ละประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยการจัดตั้งหรือสถาปนาจัดตั้งองค์กรต่างกัน เช่น องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หรือที่เรียกว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ นั้นอาจจำแนกได้ 5 ประการใหญ่ๆ คือ
1. องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่หลักในการออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญ คือ รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
2. องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่หลักในการบังคับใช้กฎหมาย ในการบริหารประเทศและในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของประชาชน
3. องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายศาลมีทั้งหมด 4 ศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร เป็นองค์กรของรัฐซึ่งในอำนาจอธิปไตยทางตุลาการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ระบบศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ศาลทหาร
ศาลปกครอง
ศาลยุติธรรมยุติธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครองสูงสุด
ศาลฎีกา
ศาลอุทธรณ์
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลชั้นต้น
องค์กรทั้งสามเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ใช้อำนาจอธิปไตย ในด้านนิติบัญญัติ ด้านบริหาร และด้านตุลาการ
4. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากองค์กรของรัฐ ซึ่งใช้อำนาจอธิปไตย 3 ด้านตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐขึ้นมาอีก ประเภทหนึ่งที่เป็นอิสระจากการกำกับดูแลของรัฐบาล อยู่ในส่วนของการใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 กลุ่มดังนี้
1)องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งมีอยู่ 3 องค์กรคือ
(1)คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
(2)ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(3)คระกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
2)องค์กรควบคุมตรวจสอบการเลือกตั้ง คือ คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.)
3)องค์กรอื่นซึ่งมีอยู่ 2 องค์กรคือ
(1)คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ
(2)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ กระจายเสียง
วิทยุโทร ทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม
5. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจในฝ่ายบริหาร ได้แก่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครองสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญต่างๆมีสำนักงานบริหารงานบุคคลงานบุคคลการงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ขึ้นตรงต่อประธานของศาลหรือ ประธานขององค์กรนั้นๆ
4.2.2 การกำหนดวิธีหรือกระบวนการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรหรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้น
การกำหนดวิธีการหรือกระบวนการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกขององค์กรหรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้น เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดว่าคุณสมบัติของบุคคลที่เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนการกำหนดว่าการสรรหาบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง เมื่อรวมสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาแล้วจะเรียกว่ารัฐสภาหรือ เรียกว่าองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ การสรรหาบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในองค์กรฝ่ายบริหารเรียกว่าคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล การสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่องค์กรตุลาการ(ศาล) ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลทหาร ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง เป็นต้น
4.2.3 การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น
การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจให้องค์กรที่จัดขึ้นใช้อำนาจอธิปไตย เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้อธิปไตยของรัฐกระทำการออกกฎหมายเป็นไปตามความต้องการของประชาชน การกำหนดให้องค์กรฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมาย การกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรตุลาการมีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
4.2.4 การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใด เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดว่ารัฐสภากับคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยให้สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งรัฐสภามีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ซึ่งการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลก็ดีหรือทั้งคณะก็ดี ในทางกฎหมายก็คือการให้ถอดถอนรัฐมนตรีคนนั้นหรือทั้งคณะออกจากตำแหน่งหรือปลดออก และในด้านกลับกันก็ให้คณะรัฐมนตรีมีสิทธิถวายคำแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็คือการถอนสมาชิกผู้แทนราษฎรทุกคนออกจากตำแหน่งถอนครบวาระนั่นเอง
เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญัติ)กับฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี จึงมีความสัมพันธ์ที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันหรือคานอำนาจกัน (Check and Balance) ในแง่ที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจถอดถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ รัฐสภาถอดถอนฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้ ฝ่ายบริหารก็ถอดถอนรัฐสภาออกจากตำแหน่งได้ เป็นลักษณะของความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจจะกำหนดให้ศาลมีอิสระในการทำหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้แก่ตนอย่างเป็นอิสระไม่ต้องฟังคำสั่ง หรือคำบังคับบัญชาของรัฐสภาและทั้งคณะรัฐมนตรี ศาลมีหน้าที่ผูกพันแต่เฉพาะกฎหมายเท่านั้นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ต้องเคารพและผูกพันปฏิบัติตามคำสั่งคำบังคับบัญชาของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
ข้อสังเกต ความเป็นอิสระของศาลไม่ผูกพันกับองค์กรใดและไม่ต้องรับผิดชอบกับองค์กรใด แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาและระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ก็จะมีลักษณะเหมือนกันกับความเป็นอิสระของศาลในการพิพากษาอรรถคดี
4.2.5 การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่เรียกว่า หลักนิติรัฐ
การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร
หรือสถาบันของรัฐกับราษฎร ซึ่งองค์กรของรัฐหรือสถาบันต่างๆของรัฐจะกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพหรือประโยชน์อันชอบธรรมของราษฎรคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งและเพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่มีกฎหมายให้อำนาจองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ของรัฐกระทำการใดๆองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ของรัฐเหล่านั้นก็จะต้องงดเว้นการกระทำนั้น มิฉะนั้นการกระทำจะไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันราษฎร ซึ่งถือเป็นหลักการทั่วไปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ของรัฐกับราษฎร และต้องมีการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นหลักการที่เราเรียกว่า นิติรัฐ
จากที่กล่าวพบว่าเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้มีอำนาจให้จัดทำ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือโดยคณะบุคคล หรือสภานิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าประชาชนเป็นผู้มีอำนาจจัดทำที่เป็นสภานิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากตัวแทนประชาชนรัฐธรรมนูญก็จะให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่ารัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยบุคคลเดียว หรือคณะบุคคลที่เรียกว่า คณะปฏิวัติ คณะรัฐประหาร ฉะนั้นในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจึงมีเนื้อหาแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่มาของอำนาจที่ให้จัดทำรัฐธรรมนูญนั้น
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
วิษณุ เครืองาม “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ ,2530
ไพโรจน์ ชัยนาม “สถาบันการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาค1 ความนำทั่วไป”
กรุงเทพฯ:สารการศึกษา,2524