คุณเคยรู้หรือไม่? ว่าจุดสมดุลของ “ความมั่นใจ” และ “ความสามารถ” ในตัวเองนั้นอยู่ที่ตรงไหน ถ้าเกิดวันนึง 2 สิ่งนี้เกิดไม่สมดุลกันหรือไม่ได้อยู่ในจุดที่เหมาะสม จะเป็นอย่างไร?
หนังสือ Think Again ของ Adam Grant ศาสตราจารย์แห่ง Wharton School ที่ Bill Gates แนะนำได้พูดถึงสิ่งที่จะเกิดต่อเมื่อความมั่นใจและความสามารถไม่สมดุลกัน นั้นมีด้วยกัน 2 อาการ คือ
Armchair Quarterback Syndrome หรือ ความมั่นใจที่มากกว่าความสามารถของตัวเอง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดในกลุ่มคนที่พอจะรู้เรื่องนั้น แต่ก็ตีความไปแล้วว่าตัวเองเป็นคนที่รอบรู้หรือเป็นเซียน ซึ่งเป็นการพูดออกมาจากความมั่นใจในตัวเองที่มากเกินความสามารถจริง ๆ คิดว่าตัวเองทำได้ดีกว่าคนอื่น แต่แท้จริงแล้วตัวเองอาจทำไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ดูฟุตบอล แล้ววิพากษ์วิจารณ์การเล่นหรือการคุมทีมของโค้ช เสมือนว่าถ้าตัวเองเป็นคนเล่นเองจะทำได้ดีกว่านี้ หรือถ้าเป็นโค้ช อาจคุมเกมได้ดีกว่านี้ แต่จริงแล้วอาจจะทำไม่ได้แบบนั้นก็ได้ นี่คืออาการของคนเป็น Armchair Quarterback Syndrome นั่นเอง
ปัญหาของคนที่มีอาการแบบนี้คือการ Rethinking ที่พวกเขามี เพราะคนที่ไม่มีความสามารถ แต่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่มีความสามารถ มั่นใจไปแล้วว่าตัวเองเป็นผู้รู้เยอะ ถึงแม้จะรู้ข้อมูลแค่เพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น และไม่ต้องการที่จะเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม ปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า Dunning – Kruger Effect แต่บางที ข้อมูลที่รู้นั้น อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ไม่เปิดโอกาสหรือช่องว่างที่จะรับข้อมูลที่ถูกต้องเข้าไป ไม่ได้ตั้งคำถามกับความคิดของตัวเอง หรือค้นหาว่านี่เป็นเรื่องจริงไหม
อีกหนึ่งอาการ เรียกได้ว่าเป็นขั้วตรงข้ามของ Armchair Quarterback Syndrome เลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ Imposter Syndrome ความไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง หรือ ความมั่นใจที่ต่ำกว่าความสามารถของตัวเอง คิดว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่เคยรู้ตัวเองว่าจริง ๆ แล้วตัวเองก็มีความสามารถเช่นกัน ซึ่งหนังสือ Think Again ได้เขียนไว้ว่า การเป็น Imposter Syndrome นั้นก็มีข้อดีเหมือนกัน ซึ่งข้อดีของอาการนี้คือ
ข้อดีที่ 1 : Imposter Syndrome สามารถกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้น เป็นแรงผลักดันที่จะทำงานตรงนั้นให้ดีมากขึ้น ทำงานเพื่อพิสูจน์ตัวเองให้คนรอบข้างยอมรับว่าเรามีความสามารถในงานนั้นจริง
ข้อดีที่ 2 : Imposter Syndrome สามารถกระตุ้นให้เรามีกระบวนการคิดและกระบวนการทำงานที่ฉลาดขึ้น เพราะเราเริ่มต้นทำด้วยตัวเองตั้งแต่ต้น การคิด การตัดสินใจแก้ปัญหาจะดีขึ้น
ข้อที่ 3 : Imposter Syndrome สามารถกระตุ้นให้มีการเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น การตั้งข้อสงสัยในความรู้ความสามารถของตัวเอง ทำให้ต้องค้นหาและเรียนรู้ที่มากขึ้น เราต้องยอมรับในตัวเองก่อนว่าไม่รู้ เพื่อเรียนรู้ให้มากกว่าเดิม
Imposter Syndrome หรือความไม่มั่นใจในตัวเอง ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มที่ผู้หญิงหรือกลุ่มที่โดนกีดกันทางสังคมมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่ Armchair Quarterback Syndrome มักพบในกลุ่มผู้ชาย ที่มีภาวะในความเป็นผู้นำและมีความมั่นใจตัวเองมากกว่า
ดังนั้น ถ้าหากหาจุดสมดุลของความมั่นใจและความสามารถได้ หรือมีทั้ง 2 อย่างนี้ในตัวอย่างพอเหมาะพอดี จะส่งผลดีต่อตัวเอง หรือที่เรียกว่า Confident Humility หรือการถ่อมตนอย่างมั่นใจ เป็นความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง แต่ก็รู้ว่ายังมีบางเรื่องที่ยังไม่รู้และพร้อมที่ยอมรับในความไม่รู้นั้น ทำให้ไตร่ตรองความคิดที่มีและพร้อมเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น
ที่มา : https://www.blockdit.com/posts/605d96be23471b0c30a6574a
https://www.youtube.com/watch?v=tFqPXlLKJk8&ab_channel=BooksDD
หนังสือ Think Again
#peoplepersona
#เขย่งก้าวกระโดด
imposter syndrome คือ 在 IMPOSTOR SYNDROME อาการคิดว่าตนเองไม่เก่ง . เป็นภาวะที่ ... 的推薦與評價
IMPOSTOR SYNDROME อาการคิดว่าตนเองไม่เก่ง . เป็นภาวะที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ เครียด วิตกกังวลและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหลายด้านรวมถึงคว ามไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง ... <看更多>
imposter syndrome คือ 在 จะหยุด "Imposter Syndrome" อาการคิดว่าตัวเองไม่เก่งได้อย่างไร 的推薦與評價
ทำไม่ได้หรอก” “ทำไมคนอื่นเขาเก่งกว่าเราหมดเลย” . พอทำงานไปสักพัก หรือหลังถูกเลื่อนตำแหน่ง คนทำงานมักจะเจออาการคิดว่าตัวเองไม่เก่ง หรือ " Imposter Syndrome " ... ... <看更多>