กรณีศึกษา ทำไมคนญี่ปุ่น ชอบถือเงินสด มากกว่าลงทุนในหุ้น /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1878 หรือเมื่อ 143 ปีที่แล้ว และมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากกว่า 2,000 บริษัท ในปัจจุบัน
และรู้หรือไม่ว่า ต้นปี 2021 มูลค่าของตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นสูงกว่า 190 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
หลายคนอาจคิดว่า คนญี่ปุ่นคงชอบลงทุนในหุ้น มากกว่าสินทรัพย์อื่น
แต่ความจริงแล้ว กลับไม่เป็นเช่นนั้น..
แล้วคนญี่ปุ่นเมื่อมีเงินแล้ว พวกเขาเอาไปเก็บไว้ที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราลองมาเทียบกันดูก่อนว่า ส่วนใหญ่แล้วคนญี่ปุ่นชอบถือครองสินทรัพย์อะไร และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ในปี 2018 ครัวเรือนญี่ปุ่น ถือครองสินทรัพย์มูลค่ารวมกันกว่า 558 ล้านล้านบาท
โดยจำนวนนี้ ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะเป็น
- เงินสดและบัญชีเงินฝาก 52%
- ประกันและบำนาญ 28%
- หุ้นและกองทุนรวม 15%
- อื่น ๆ 5%
ที่น่าสนใจคือ เมื่อเทียบกับคนยุโรปและคนอเมริกัน ที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ต่อมูลค่าสินทรัพย์ถือครอง เท่ากับ 28% และ 31% ตามลำดับ
จึงแสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยสนใจการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมมากนัก และยังชอบถือครองเงินสด ด้วยการฝากเงินไว้ในธนาคารจำนวนมากอีกด้วย
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในญี่ปุ่นนั้น อยู่ในระดับที่ต่ำมาต่อเนื่องหลายปี แม้กระทั่งในปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 0%
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมคนญี่ปุ่น ยังเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคารจำนวนมาก แทนที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ?
เหตุผลที่อธิบายเรื่องนี้ สามารถสรุปออกมาได้ 3 ประเด็น คือ
1. ประสบการณ์ที่เลวร้ายจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ระยะของการฟื้นฟูประเทศ ช่วงหลังจากนั้นเป็นต้นมา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เติบโตแบบก้าวกระโดด
ในช่วงปี 1961-1971 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยกว่า 9% ต่อปี และเติบโตมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงในช่วงทศวรรษ 1980
ในตอนนั้น ผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และธนาคารหลายแห่งมีการปล่อยกู้ให้แก่บริษัทจำนวนมาก
การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งบริษัทและผู้คนในญี่ปุ่นต่างร่ำรวย จนเกิดการเข้าไปเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์
ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ดัชนี Nikkei ที่สะท้อนตลาดหุ้นญี่ปุ่น พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง จนเกือบแตะ 40,000 จุด ในปี 1989 จากระดับประมาณ 8,000 จุดในปี 1982
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% ในปี 1989 มาอยู่ที่ 6% ในปี 1990 เพื่อเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม ไม่ให้เกิดการกู้ไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ
จนสุดท้าย เมื่อแรงเก็งกำไรเริ่มอ่อนลง ก็ถึงคราวฟองสบู่ลูกใหญ่ระเบิดออก
ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ และราคาอสังหาริมทรัพย์ ก็เริ่มปรับตัวลดลง และลดลงเรื่อย ๆ จนหลายคนเจ็บตัวอย่างหนักจากการลงทุน
วิกฤติฟองสบู่ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากนั้นมาหลายสิบปีแทบจะหยุดอยู่กับที่ และเป็นแบบนี้มาแล้วราว 3 ทศวรรษ
ซึ่งนี่เองเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก รู้สึกขยาดกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น รวมทั้งยังปลูกฝังความคิดนี้มายังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อ ๆ มา จนถึงตอนนี้
2. ภาวะเงินเฟ้อฝืด
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลโดยตรงต่อภาคครัวเรือน
รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนญี่ปุ่นนั้นลดลง จากการที่หลายคนต้องตกงาน ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า ในช่วงปี 1990-2020
ญี่ปุ่นประสบกับภาวะเงินฝืด (เงินเฟ้อติดลบ) ทั้งหมด 14 ปี
ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด นั่นหมายความว่า ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะลดลง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวญี่ปุ่นจึงเกิดแรงจูงใจในการถือเงินสด มากกว่าที่จะนำเงินออกไปใช้จ่าย หรือชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน เพราะพวกเขาเชื่อว่า ในอนาคตเงินจำนวนเท่าเดิมนั้นจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากกว่าในปัจจุบัน และนำเอาเงินไปฝากกับธนาคารไว้ก่อนนั่นเอง
3. ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน ของคนญี่ปุ่น
หลายคนคงแปลกใจถ้าบอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ด้านการเงิน
ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการสำรวจของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นนั้นมีความรู้ด้านการเงินน้อยกว่าประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
การขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก กลัวการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และชอบในการเก็บเงินออมด้วยการฝากธนาคารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
นอกจากนี้ โรงเรียนในญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนเท่าที่ควร โดยศาสตราจารย์ Nobuyoshi Yamori ที่สอนสาขาวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยโกเบ ระบุว่า
“โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น ใช้เวลาสอนเรื่องการเงินการลงทุนให้นักเรียนน้อยมาก ขณะที่ครูที่มาสอนวิชาดังกล่าวก็ไม่ได้รับการฝึกอบรม หรือมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการเงินการลงทุนที่ดีมากนัก”
จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นจำนวนมากขาดความรู้ด้านการเงิน ซึ่งส่งผลให้เมื่อทำงานมีรายได้แล้ว พวกเขาเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคาร มากกว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเฉพาะหุ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเข้าใจว่าทำไมที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นจำนวนมากตัดสินใจถือเงินสด หรือฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างมากและไม่ค่อยชอบการลงทุนในหุ้นมากนัก ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่าปัจจุบัน เงินเยนของญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินที่ถูกใช้ซื้อขายบิตคอยน์มากที่สุดอันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่เงินดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเราอาจบอกได้ว่า แม้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก จะไม่ชอบสินทรัพย์เสี่ยงสูง และนิยมฝากเงินไว้ในธนาคาร
แต่ในทางกลับกันก็มีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย ที่หันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง อย่างบิตคอยน์
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.stat.go.jp/english/data/handbook/pdf/2020all.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Stock_Exchange
-https://www.statista.com/statistics/710680/global-stock-markets-by-country/
-https://tradingeconomics.com/japan/deposit-interest-rate
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-https://data.worldbank.org/country/JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decades
-https://www.statista.com/statistics/270095/inflation-rate-in-japan/
-https://www.fsa.go.jp/frtc/kenkyu/event/20150305/s3_2.pdf
-https://www.investopedia.com/tech/top-fiat-currencies-used-trade-bitcoin/
-https://globalriskinsights.com/2021/06/japans-cryptocurrency-market-set-to-bloom-or-wither/
同時也有1644部Youtube影片,追蹤數超過26萬的網紅はつめ,也在其Youtube影片中提到,はつめです。 よろしければチャンネル登録、高評価、SNSのフォローよろしくお願いします! 👶今日のコラボ相手 @オパシの実況チャンネル 🎉メンバーシップ解禁!【 https://www.youtube.com/channel/UCq1FEiGmyh-52yYGeOMTVLA/join 】 ...
instagram data 在 Vietcetera Facebook 的精選貼文
Bạn có thấy bị “peer pressure” khi lướt LinkedIn?
Bạn đã bao giờ lướt LinkedIn và tự nhủ, dường như ai cũng thành công hơn mình? Cũng dần giống như Instagram và Facebook, LinkedIn cho bạn cái nhìn không trung thực về thế giới việc làm. Vậy đâu là những "sắc hồng" được tô quá đậm trên LinkedIn? Dưới đây là những chia sẻ từ tác giả Travelling Kat với Vietcetera.
1. Từ điển những chức danh hoành tráng
Nếu có một tổ chức nào nhiều quản lý, giám đốc, phó chủ tịch hay chủ tịch nhất trên hành tinh này, thì đó có lẽ là LinkedIn.
Đơn giản bởi, trên LinkedIn, bạn có thể tự phong mình với bất kỳ chức danh gì, với bất kỳ công việc kiêm nhiệm gì mà ít người có thể kiếm chứng.
Ngoài ra, các từ phổ biến sau cũng được cho vào chức danh để thêm phần hoành tráng như: Guru (chuyên gia trong tiếng Sanskrit), Warrior (chiến binh), Sensei (sư phụ theo tiếng Nhật) rồi cả thêm cả tính từ "digital" (nền tảng số) hay “data-driven” (dựa trên số liệu) để thu hút các kết quả tìm kiếm.
Thú vị hơn cả, từ “President” (chủ tịch) cũng là một chức danh tự phong khá phổ biến. Những người chọn chức danh này không hoàn toàn nói dối. Họ có những dự án cá nhân như blog, các câu lạc bộ sở thích...Một số trong số họ nghĩ rằng tự phong chức chủ tịch cho những dự án kiểu đó thể hiện họ thú vị và hài hước. Còn một số khác thì… nói dối.
Nhiều nhà tuyển dụng, vì thế, chỉ tin vào các chức danh tại các công ty có trang LinkedIn công ty. Trang công ty càng nhiều người follow càng đáng tin cậy. Họ dùng số lượng người follow để đánh giá mức độ tin cậy của một tổ chức hay cá nhân.
2. Nơi này, không ai được quyền thất nghiệp
Có một sự thật là: trên LinkedIn, ít người nào dám nhận mình đang thất nghiệp cho dù đó là lý do chính vì sao họ dành rất nhiều thời gian trên LinkedIn và chăm chút cho profile của mình.
Joshua Waldman, tác giả cuốn “Cẩm nang tìm việc trên mạng xã hội cho người mới bắt đầu” cho rằng: “Nguyên nhân là do hiện tượng kỳ thị người thất nghiệp. Những nhà tuyển dụng luôn muốn tiếp cận những ứng viên vẫn có việc làm hơn các ứng viên đã thất nghiệp”. Trên thực tế, các nghiên cứu còn chứng minh các nhà tuyển dụng có xu hướng đánh giá thấp những ứng viên đã nghỉ việc mặc cho thời gian họ nghỉ việc ngắn đến thế nào (1 tuần hay 1 năm).
Chính vì thế, dù để dấu “Open to work” thì không ai trên LinkedIn để là họ đã nghỉ việc hay đang trong thời gian nghỉ giữa hai công việc. Một số người trong số họ sẽ tích cực đăng nội dung như ảnh sự kiện họ tham gia, quan điểm chuyên môn… Nhờ vậy, họ sẽ tăng tần suất xuất hiện của bản thân trên công cụ tìm kiếm và gây ấn tượng với người tuyển dụng.
Dù cố gắng khuyên mình đừng so sánh, bạn chắc không ít lần bị chạnh lòng, thậm chí bế tắc khi nhìn thành công của người khác trên LinkedIn. Nhưng đừng lấy những điều trên LinkedIn hay chính bài viết này làm lý do cho bạn ngừng cố gắng. Đúng là hiện giờ, không phải ai trên LinkedIn cũng thành công hơn bạn. Nhưng nếu bạn dừng lại để lo âu, bế tắc hay bỏ cuộc thì cũng chả lâu lắm đâu, ai ai cũng thành công hơn bạn đấy!
Đọc toàn bộ bài viết tại đây nhé: https://vietcetera.com/vn/nhung-dieu-linkedin-khong-noi-voi-ban
instagram data 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Jack Dorsey ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter ที่ไม่ได้รวยจาก Twitter /โดย ลงทุนแมน
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับ “Jack Dorsey” หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Twitter
โดยปัจจุบัน เขายังคงดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัทแห่งนี้
Twitter ได้เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อปี 2013 ซึ่งนั่นก็ได้ทำให้ Dorsey ก้าวขึ้นมาเป็น Billionaire หรือเศรษฐีที่มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านบาท ได้เป็นครั้งแรก
ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน Dorsey มีทรัพย์สินกว่า 458,000 ล้านบาท ซึ่งหลายคนก็น่าจะคิดว่าความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขามาจากบริษัท Twitter
แต่ข้อเท็จจริง กลับไม่ได้เป็นแบบนั้น..
เพราะจริง ๆ แล้ว Dorsey มีทรัพย์สินจากการถือหุ้น Twitter เพียง 37,000 ล้านบาท หรือราว 8% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่เขามี ส่วนความมั่งคั่งอีกกว่า 419,000 ล้านบาท มาจากมูลค่าหุ้นของอีกบริษัทหนึ่ง
ซึ่งเขาก็เป็นทั้งผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO เช่นกัน โดยบริษัทนั้น มีชื่อว่า “Square”
ทำไม Dorsey ถึงได้ก่อตั้งอีกบริษัทหนึ่งที่ทำให้เขามีความมั่งคั่งมากขึ้น
แล้ว Square ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Twitter เปิดตัวในปี 2006 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 4 คน นั่นก็คือ Jack Dorsey, Evan Williams, Biz Stone และ Noah Glass ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็น CEO คนแรกของบริษัท ก็คือ Dorsey
แต่ในปี 2008 Williams และกรรมการบริหารได้ร่วมกันบังคับให้ Dorsey ออกจากตำแหน่ง CEO ด้วยเหตุผลที่ว่า Dorsey ทำตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ เขาจึงถูกแต่งตั้งเป็นประธานแทน ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้เขาไม่มีอำนาจในการบริหารงาน
ในขณะที่คนที่รับตำแหน่ง CEO แทน Dorsey ก็คือ Williams
แต่สุดท้ายแล้วในปี 2010 Williams ก็ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งเหมือนกัน
1 ปีหลังจากนั้น Dorsey จึงได้กลับมามีบทบาทที่ Twitter อีกครั้ง โดยการรับตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารที่ดูแลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะกลับมาเป็น CEO อีกครั้งในปี 2015
แล้วในช่วงที่ Dorsey ไม่ได้บริหารงานที่ Twitter เขาทำอะไร ?
วันหนึ่งในช่วงต้นปี 2009 หลังจากที่ Dorsey เพิ่งโดนบังคับให้ออกจากการเป็น CEO บริษัท Twitter ได้ไม่นาน เพื่อนของเขาที่ชื่อ Jim McKelvey ก็ได้โทรศัพท์มาหา
McKelvey เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นศิลปินเป่าแก้ว ที่เปิดสตูดิโอเครื่องแก้วไปด้วย
McKelvey โทรศัพท์หา Dorsey เพื่อเล่าว่าเขาเพิ่งหัวเสียจากการพลาดโอกาสขายเครื่องแก้วมูลค่า 66,000 บาท เพราะลูกค้ามีแต่บัตรเครดิต แต่เขาไม่มีเครื่องรูดบัตรเครดิต
ทั้ง Dorsey และ McKelvey กำลังคุยโทรศัพท์กันด้วย iPhone และก็เป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ก็เริ่มมี iPhone พกติดตัวตลอดเวลา Dorsey เลยเกิดไอเดียว่าทำไมเราไม่ทำให้ iPhone กลายเป็นอุปกรณ์ใช้รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้
Dorsey และ McKelvey ที่เคยคุยกันมาสักพักแล้วว่าอยากหาโอกาสทำโปรเจกต์เจ๋ง ๆ ด้วยกัน
พวกเขาจึงได้ตกลงต่อยอดไอเดียนี้ร่วมกันทันที
ผ่านไปเพียง 1 เดือน ทั้ง Dorsey และ McKelvey ก็สามารถเปลี่ยนสมาร์ตโฟนให้เป็นเครื่องรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้
สิ่งที่พวกเขาสร้างมี 2 ส่วน อย่างแรกก็คืออุปกรณ์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก ที่มีแจ็กเพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนทางรูเสียบหูฟัง ซึ่งใช้สำหรับรูดบัตรเครดิต
อย่างที่สองก็คือ แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ที่ใช้เป็นระบบรับชำระเงิน ซึ่งการเซ็นชื่อจะใช้นิ้วมือเขียนบนหน้าจอสมาร์ตโฟนได้เลย ส่วนใบเสร็จจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งเข้าไปที่อีเมล
พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อบริษัท ตามรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสของอุปกรณ์ที่ใช้รูดบัตร ชื่อว่า “Square”
Square สามารถระดมทุนในรอบแรกได้ 330 ล้านบาท จากนักลงทุน เช่น
- Biz Stone ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter
- Marissa Mayer ที่เป็นอดีต CEO ของ Yahoo!
- Shawn Fanning ผู้ร่วมก่อตั้ง Napster
หลังจากนั้น Square ก็ได้เปิดตัวในปี 2010 โดยเริ่มจากการขายผลิตภัณฑ์ ผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง และบริการจัดส่งสินค้าให้ฟรี
จุดเด่นของ Square ก็คือ เมื่อสมาร์ตโฟนใช้เป็นเครื่องรูดบัตรเครดิตได้ ก็ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่แม้จะเป็นเพียงรถเข็นขายไอศกรีมหรือพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดนัด ก็สามารถรับบัตรเครดิตได้ เช่นกัน
ที่สำคัญก็คือ Square คิดค่าธรรมเนียมร้านค้าที่รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ต่ำกว่าเครื่องรับบัตรเครดิตจากสถาบันการเงิน นั่นจึงทำให้ร้านค้าขนาดเล็กที่เคยลังเลกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการรับบัตร หันมาเลือกใช้ Square
ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ ก็ได้ทำให้ Square ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ผ่านไปไม่ถึงปี Square สามารถขายอุปกรณ์รูดบัตรเครดิตไปได้กว่า 50,000 ชิ้น
ความสำเร็จนี้ ก็ทำให้ Square ได้รับเงินลงทุนจนสามารถเป็นยูนิคอร์นสตาร์ตอัป หรือบริษัทที่ถูกประเมินมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านบาท ได้ในปี 2011 หรือหลังจากเริ่มขายสินค้าเพียงปีเดียว
แต่ความนิยมของ Square ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในกลุ่มเจ้าของร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น
เพราะกลายเป็นว่าธุรกิจขนาดใหญ่ก็หันมาใช้ระบบรับบัตรเครดิตของ Square เช่นกัน
ในปี 2013 Square จึงได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์สำหรับร้านค้า โดยใช้ชื่อว่า Square Stand
ที่เป็นการเปลี่ยน iPad ให้เป็นเครื่องรับชำระเงินตามร้านค้าหรือที่เรียกว่า “POS”
โดย Square Stand เป็น POS ที่ใช้รูดบัตรเครดิตได้ในตัว ไม่ต้องซื้อเครื่องรูดบัตรเครดิตแยก
และสิ่งที่ทำให้ Square Stand ได้รับความนิยมสูงมาก ก็คือซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่อง POS
POS ของ Square มีระบบที่แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อร้านค้า เช่น ผลกำไรขาดทุน ประเภทสินค้าที่ขายดี และข้อมูลทางสถิติอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์ จึงทำให้ร้านค้า สามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจตัวเอง ในมุมมองที่กว้างขึ้นและสามารถปรับตัวได้เร็ว
เรื่องดังกล่าวก็ได้ทำให้ Square มีฐานลูกค้าตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก อย่างเช่น คีออสก์ขายกาแฟ ไปจนถึงเชนร้านกาแฟที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง Starbucks
อีกบริการที่มีส่วนสำคัญกับรายได้ของ Square ก็คือ Square Capital หรือการปล่อยสินเชื่อก้อนเล็ก ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก
โดย Square เข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ แต่ Square จะประเมินการให้สินเชื่อด้วยข้อมูลยอดขายจาก POS ของร้านค้าที่ใช้ Square Stand กับโมเดล AI ที่บริษัทพัฒนาเอง
นอกจากนั้น Square ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการจ่ายคืนหนี้ให้กับร้านค้า โดยอิงกับยอดการรูดบัตรเครดิตผ่าน Square Stand นั่นคือถ้ายอดขายดี ก็จะให้ร้านค้าจ่ายคืนหนี้จำนวนมากขึ้น ถ้ายอดขายลดลงก็จ่ายคืนหนี้น้อยลงได้ตาม
ทั้งหมดนี้ ก็ทำให้ Square เป็นระบบนิเวศที่มีบริการครอบคลุมความต้องการของร้านค้าอย่างครบวงจร ซึ่งนอกจากจะทำให้ Square ได้รับความนิยมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ร้านค้าที่คิดจะเปลี่ยนบริการจาก Square ไปใช้เจ้าอื่นก็ทำได้ยากขึ้นด้วย
นอกเหนือจากระบบรับชำระเงินของร้านค้าแล้ว Square ยังได้ต่อยอดไปทำแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “Cash App” ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนกว่า 30 ล้านคน
โดย Cash App เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล ที่ให้ผู้ใช้งานผูกบัญชีส่วนตัวเข้ากับบัญชีธนาคาร เพื่อใช้ชำระเงิน โอนเงิน หรือจ่ายบิลได้
ซึ่งลูกค้าที่ใช้ Cash App ชำระสินค้าผ่านร้านที่ใช้ POS ของ Square ก็จะมี Reward ให้ด้วย
รวมถึงผู้ใช้งาน Cash App ยังได้บัตรเดบิตที่เรียกว่า Cash Card ไปใช้ฟรีด้วย
ธุรกรรมที่ทำผ่าน Cash App เกือบทั้งหมดจะให้บริการฟรี แต่จะคิดค่าธรรมเนียมบางกรณี อย่างเช่น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากร้านค้าที่รับชำระด้วย Cash Card หรือค่าธรรมเนียมฝากถอนโอนเงินแบบด่วน
นอกจากนี้ Cash App ยังได้เริ่มให้บริการเกี่ยวกับการลงทุน โดยให้บริการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีได้แล้วด้วย
ในปี 2015 หลังจากที่ Dorsey กลับไปเป็น CEO ของ Twitter ได้ไม่นาน Square ก็จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ซึ่งจนถึงปัจจุบันราคาหุ้น Square ก็เพิ่มขึ้นมากว่า 27 เท่า
นั่นจึงทำให้มูลค่าหุ้น Square ที่ Dorsey ถืออยู่ มีมูลค่า 419,000 ล้านบาท
ซึ่งคิดเป็นเกือบทั้งหมดของมูลค่าทรัพย์สินที่ Dorsey มีกว่า 458,000 ล้านบาท
ขณะที่มูลค่าหุ้นของ Twitter ที่ Dorsey ถืออยู่ มีมูลค่า 37,000 ล้านบาท
จากเรื่องทั้งหมดนี้ ก็อาจทำให้เราคิดได้ว่า
ในวันที่เราถูกบังคับให้ออกจากสิ่งที่เราคิดว่าดี
แต่ในความเป็นจริง เราอาจพบกับสิ่งที่ดีกว่าหลังจากนั้นก็ได้
เหมือนกรณี Dorsey ที่ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขาในวันนี้ มาจากบริษัทชื่อ Square ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมา หลังจากที่ Dorsey โดนบีบให้ออกจากบริษัท Twitter ในวันนั้น นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cnbc.com/2019/10/10/how-square-became-26-billion-dollar-company.html
-https://www.businessinsider.com/fabulous-life-of-billionaire-jack-dorsey-taking-square-public
-https://www.businessinsider.com/how-jack-dorsey-came-to-invent-square-and-twitter-2012-9
-https://www.fool.com/investing/2018/11/21/square-stock-history-a-complete-timeline.aspx
-https://sec.report/Document/0001140361-21-014943/
-https://sec.report/Document/0001140361-21-012582/
-https://www.sec.gov/Archives/edgar/data/1418091/000119312513390321/d564001ds1.htm
-https://www.forbes.com/profile/jack-dorsey/?sh=570cdf2b2372
-https://finance.yahoo.com/news/rich-twitter-ceo-jack-dorsey-172600709.html
-https://squareup.com/us/en/about
instagram data 在 はつめ Youtube 的最讚貼文
はつめです。
よろしければチャンネル登録、高評価、SNSのフォローよろしくお願いします!
👶今日のコラボ相手
@オパシの実況チャンネル
🎉メンバーシップ解禁!【 https://www.youtube.com/channel/UCq1FEiGmyh-52yYGeOMTVLA/join 】
📌Twitter【https://twitter.com/hatsumememe 】
📌instagram【https://www.instagram.com/hatsumememe/?hl=ja 】
📌ほしいものリスト【http://amzn.asia/9QvLHWI 】
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
🖥⌨️使用デバイス
🕹PS4
【ArcadeController】 Razer Panthera
【HeadSet】 Razer Kraken Pro V2 Quartz
🖱PC
【Monitor】 I-O DATA EX-LDGC251UTB
【HeadSet】 Razer KrakenPro V2 Quartz
【Keyboard】 Razer HUNTSMAN TE
【Mouse】 Razer Viper ULTMATE
【MousePad】 Razer Invicta Quartz
Design: Asteroid (@Asteroid0000)
OP sound: 春野 (@xupxq_)
Illustration: ham (@HamHampy)
※敬称略
NCS https://www.youtube.com/user/NoCopyri...
musmus http://musmus.main.jp/
魔王魂 http://maoudamashii.jokersounds.com/
ニコ二・コモンズ http://commons.nicovideo.jp/materials/
DOVA-SYNDROME http://dova-s.jp/
H/MIX GALLERY http://www.hmix.net/
Otolojic https://otologic.jp/
#はつめ #荒野行動 #FPS女子
instagram data 在 KANDAMA Theater Youtube 的精選貼文
▶️「だまラジオ」とは
特に喋るのが得意な訳でもなく、むしろ滑舌よくないかんだまが、皆様の質問・相談に答えながらゆるくだらだら語るコーナー。気分が良いと最後に1曲歌って終わるというマイペース企画☺️
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
質問等ございましたらコメント欄までお願いいたします。
__________________________________
MARW UNITED ARROWインスタグラム
https://instagram.com/marw_unitedarrows_official
公式サイト
https://store.united-arrows.co.jp/shop/ua/data/catalog/marw/21aw/
_________________________________
▽かんだま初代MC就任!
「リコーバックオフィスチャンネル」始まりました☺️
https://www.youtube.com/channel/UCzYVmsbxRt66qQSxG29r2MQ/featured
こちらもよろしくお願いいたします。
_________________________________
『ease style』
モノトーンコーデを簡単に、より楽しむためのリップを展開。
“モノトーンで自分らしさを表現できるように”
自分らしさを大切に、カラフルなモノトーンの世界をお楽しみください☺︎
●公式サイト
https://bit.ly/3fdwD9w
●公式Instagram
https://www.instagram.com/easestyle.s...
●ブランド説明動画
https://youtu.be/NOr-BIQE39A
●多く頂いた質問に答えたインスタライブ(ノーアイメイク)
https://www.instagram.com/tv/CH101A_F...
_________________________________
『白黒商店』
モノトーン好きなかんだまによる、生活雑貨グッズ。
“日常にちょっとした休憩所を”
そんな思いを込めて作った、モノトーンだけど可愛げあるアイテムたち☺︎
●白黒商店サイト
https://www.munican.jp/f/topics_detai...
●白黒商店Instagram
https://www.instagram.com/shirokuro_s...
_________________________________
▽Twitter
https://twitter.com/KOIKE_WEEKEND
▽Instagram
https://www.instagram.com/koike_weekend/
_________________________________
instagram data 在 Untyped 對啊我是工程師 Youtube 的最讚貼文
👇👇👇【凱心琳粉絲Himalaya專屬優惠】(提供30天免費試用!)👇👇👇
https://www.himalaya.com/mPmC6
(此連結已有我的優惠不用再輸入優惠碼!)
2. 點擊「領取30天免費暢聽」
3. 登入 or 注冊後右邊就會出現「優惠碼untyped已兌換 」
★ 如果沒有出現請在優惠碼欄位輸入「untyped」
(可隨時退訂,且30天內完全免費)
這集會聊到...
💬 Overview 💬
1:30 💙 不用早起通勤
2:40 💙 聊聊有聲書
6:30 💙 工作時間彈性
8:26 💙 工作地點彈性
9:09 💙 沒有免費食物
9:40 💙 不用看到同事
11:00 💙 凱心琳喜歡遠端工作嗎
📢 📣 📢 本頻道影片內容有輸出成 podcast 📢 📣 📢
可以在各大podcast平台搜尋「Untyped 對啊我是工程師」
請大家多多支持呀!!🙏🏻💁🏻♀️
#遠端工作 #WorkFromCar #Himalaya有聲書
一定要看到影片最後面並且在「YouTube影片下方」按讚留言訂閱分享唷!
【愛屋及烏】
YouTube 👉 https://www.youtube.com/c/Untyped對啊我是工程師
Podcast 👉 https://open.spotify.com/show/3L5GRMXmq1MRsliQt43oi2?si=3zgvfHlETeuGfp9rIvwTdw
Facebook 臉書粉專 👉 https://www.facebook.com/untyped/
Instagram 👉 https://www.instagram.com/untypedcoding/
合作邀約 👉 untypedcoding@gmail.com
-
Untyped 對啊我是工程師 - There are so many data types in the world of computer science, so are the people who write the code. We aim to UNTYPE the stereotype of engineers and of how coding is only for a certain type of people.
凱心琳: 一個喜歡電腦科學邏輯推理,在科技圈努力為性別平等奮鬥的工程師。