70 ปีผ่านไป ประเทศไหน รวยขึ้นสุด? / โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน หรือช่วงปี 1950 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
กลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก ก็ได้เปลี่ยนจากยุโรปมาเป็นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทั่วโลก อยู่ในช่วงการฟื้นฟูจากความเสียหายหลังสงคราม
จากวันนั้นมาจนถึงตอนนี้
ประเทศไหนที่สามารถฟื้นฟูและเติบโตได้อย่างโดดเด่น
จนทำให้คนในประเทศรวยขึ้นมากที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละประเทศ วัดได้จาก GDP per Capita
คำนวณจากมูลค่าของ GDP หรือรายได้รวมของประเทศ หารด้วยจำนวนประชากร
หากตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น หมายความว่าคนในประเทศโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้มากขึ้น หรือว่ารวยขึ้นนั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบ GDP per Capita ที่เป็นข้อมูลในปัจจุบันกับปี 1950
ซึ่งถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ และความแตกต่างของราคาในแต่ละประเทศแล้ว
ประเทศที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 38.0 เท่า
อันดับ 2 โอมาน เพิ่มขึ้น 36.7 เท่า
อันดับ 3 อิเควทอเรียลกินี เพิ่มขึ้น 35.8 เท่า
อันดับ 4 บอตสวานา เพิ่มขึ้น 32.4 เท่า
อันดับ 5 ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 30.6 เท่า
ส่วนประเทศจีนอยู่ในอันดับ 11 มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 16.4 เท่า
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 12.8 เท่า
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า
จะเห็นได้ว่า “ประเทศเกาหลีใต้” เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัว
เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา
ถ้าให้ย้อนกลับไป การเติบโตนี้ มีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ปัก ชอง-ฮี และกลุ่มแชโบล แล้วทั้ง 2 ปัจจัยนี้ สำคัญอย่างไร ?
ย้อนไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศเกาหลี ได้ถูกแบ่งแยกประเทศและรูปแบบการปกครอง เป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปี 1948 หลังจากนั้น 2 ปี ก็เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จนสงครามจบลงในปี 1953 จากการเซ็นสัญญาสงบศึก
จากสงครามที่ยาวนาน เกาหลีใต้เลยได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนตอนนั้นลดลงไปมาก
ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้ว ในตอนนั้นคนไทยมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าเกาหลีใต้เสียอีก
ช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เกาหลีใต้ได้เริ่มฟื้นฟูประเทศ
ซึ่งขณะนั้นเกาหลีใต้ยังเป็นประเทศเกษตรกรรม เหมือนกับประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ
โดยเน้นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ทดแทนการนำเข้า
แต่ความไม่สงบของประเทศก็กลับมาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลในขณะนั้นได้คอร์รัปชันงบประมาณการฟื้นฟูประเทศ จนนำไปสู่การทำรัฐประหารในปี 1961 นำโดยนายพล ปัก ชอง-ฮี
ซึ่งต่อมา เขาคนนี้ก็ได้กลายเป็นประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในปี 1963 และดำรงตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปี
ปัก ชอง-ฮี ได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ออกฉบับแรกมาในปี 1962
ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเช่นกัน
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนี้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงฉบับที่ 7 ที่ได้สิ้นสุดลงในปี 1996
การออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือจุดเริ่มต้นของยุคที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนช่วงเวลานี้ถูกเรียกว่า “Miracle on the Han River” หรือปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน
ซึ่งคือแม่น้ำที่ไหลผ่านกลางกรุงโซลนั่นเอง
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว เป็นการวางรากฐานให้เกาหลีใต้
สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้
ซึ่งทางรัฐบาลจะสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษกับภาคเอกชนอย่างเต็มที่
เพื่อหวังให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ช่วยเพิ่มการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
และกลุ่มธุรกิจที่ว่านี้ มีชื่อเรียกในยุคปัจจุบันว่า “แชโบล”
ซึ่งคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้ถูกส่งไม้ต่อรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
เช่น Samsung, Hyundai, LG, SK และ Lotte ที่ต่างก็เริ่มก่อตั้งและเติบโตมาจากในช่วงนี้
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบับแรก จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้งโรงงานทำน้ำตาลและโรงงานผลิตผ้าเส้นใยขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
Hyundai เริ่มจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่เน้นงานโครงสร้างพื้นฐาน
LG เริ่มจากโรงงานพลาสติก ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศ
SK เริ่มจากโรงงานสิ่งทอ ซึ่งผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์เป็นแห่งแรกของประเทศ
Lotte เริ่มจากเป็นโรงงานผลิตหมากฝรั่ง
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 ถึง 4 ตั้งแต่ปี 1967 ก็ได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ
เพราะรัฐบาลเปลี่ยนมาเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างเหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร การต่อเรือ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้ง Samsung Electronics ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเซมิคอนดักเตอร์
Hyundai ก่อตั้ง Hyundai Motor ผลิตรถยนต์ และ Hyundai Heavy Industries ผลิตเรือขนส่ง
LG ก่อตั้ง GoldStar ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งต่อมาคือ LG Electronics
SK เริ่มทำธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Hanjin ก่อตั้ง Hanjin Shipping บริษัทเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดในประเทศ และซื้อกิจการสายการบิน Korean Air มาจากรัฐบาล
สังเกตได้ว่า ประเภทธุรกิจที่เริ่มก่อตั้งจากช่วงนี้ ได้กลายเป็นธุรกิจหลักของแต่ละบริษัทมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลานี้เอง ที่รายได้ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้แซงคนไทยได้ในปี 1969
และก็ได้ทิ้งห่างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และถ้าพูดถึง “จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด” ก็จะเกิดขึ้นในแผนฉบับที่ 5 ถึง 7
เริ่มตั้งแต่ปี 1982 โดยรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี
โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างเช่น
Samsung เริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ จนในปัจจุบันมียอดขายสมาร์ตโฟนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
Hyundai พัฒนารถยนต์ จนในปัจจุบันมียอดขายรถยนต์เป็นอันดับ 4 ของโลก
LG ที่โดดเด่นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ จนมียอดขายตู้เย็นติด 3 อันดับแรกของโลก
SK ก่อตั้ง SK Telecom ทำธุรกิจโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันใหญ่สุดในประเทศ
และผลลัพธ์ก็เป็นไปได้อย่างที่หวัง เพราะในปัจจุบัน เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับ
ให้เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันดับ 1 ของโลก
ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็มีงบสำหรับการวิจัยและพัฒนา คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP มากเป็นอันดับ 2 ของโลก จนนำไปสู่การเป็นประเทศส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำตั้งแต่ เซมิคอนดักเตอร์ ที่ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
นั่นจึงทำให้รายได้ของเกาหลีใต้พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออกในปี 2020 สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และคิดเป็นกว่า 40% ของ GDP
และเมื่อสิ้นปี 2020 เกาหลีใต้ก็ได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการผลักดันนายทุนรายใหญ่เป็นเวลานาน
สิ่งที่ตามมาก็คือ รายได้ของประเทศทั้งหมด กว่า 80% มาจากรายได้ของกลุ่มแชโบล
หรือเพียงแค่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Samsung Electronics ก็มีรายได้คิดเป็นกว่า 13% ของประเทศแล้ว
และเมื่อรายได้ของประเทศ เติบโตมาจากคนไม่กี่กลุ่ม แน่นอนว่าย่อมมีปัญหาตามมา
ปัญหาที่สำคัญอย่างแรกก็คือ การกระจายรายได้ที่ไม่ทั่วถึง หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุกจนกระจาย”
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ 43.8% ยังมีฐานะยากจน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดท่ามกลางกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ปัญหาอย่างที่สองคือ เรื่องการผูกขาด เพราะกลุ่มแชโบล ได้ขยายธุรกิจจนครอบคลุมทุกอย่าง ทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม ดิวตี้ฟรี ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงร้านกาแฟและร้านอาหาร
ส่งผลให้กลุ่ม SME ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ยาก
อีกปัญหาสำคัญก็คือเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งเรื่องที่อำนาจบริหารยังวนอยู่ในกลุ่มครอบครัว
รวมไปถึงเรื่องยักยอกเงินและติดสินบนรัฐบาล และแม้ว่าจะถูกจำคุก
แต่หลังพ้นโทษก็กลับมาบริหารงานต่อได้เหมือนเดิม..
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่าเกาหลีใต้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศ
ที่ประชากรรวยขึ้นมากที่สุดในโลก หากนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแชโบลที่รัฐบาลสมัยก่อนเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จของประเทศ
กลับกลายเป็นต้นตอของปัญหาทางสังคมให้กับเกาหลีใต้ และสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่
เพราะความไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน
ซึ่งก็ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลในยุคนี้
ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร
รอยร้าวและความแตกแยกทางสังคม ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นายพล ปัก ชอง-ฮี เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในปีที่ 16 จากการถูกลอบสังหาร
และ 34 ปีต่อมา หรือในปี 2013 เกาหลีใต้ ได้มีประธานาธิบดีหญิงคนแรก ที่ชื่อ ปัก กึน-ฮเย ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพล ปัก ชอง-ฮี
แต่เธอดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 ปี ก็ถูกศาลถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสินจำคุก 24 ปี
เนื่องจากรับสินบนจากกลุ่มแชโบล..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ourworldindata.org/grapher/gdp-per-capita-maddison-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/Miracle_on_the_Han_River
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=KR
-https://www.oecd.org/economy/surveys/korea-2020-OECD-economic-survey-overview.pdf
-https://data.oecd.org/inequality/poverty-gap.htm
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-03/south-korea-leads-world-in-innovation-u-s-drops-out-of-top-10
-https://exporthub.co/top-exporting-countries-in-the-world-for-2020/
-http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_business/949236.html
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20200802000122
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「korea gdp per capita」的推薦目錄:
korea gdp per capita 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ประเทศไทย จะหลุดพ้น กับดักรายได้ปานกลาง ได้อย่างไร? /โดย ลงทุนแมน
ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย มีพัฒนาการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน
สะท้อนจากที่ ตั้งแต่ปี 1960 จนถึงปี 2019
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นกว่า 78 เท่า
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยในตอนนี้
ถูกจัดอยู่ในประเทศรายได้ปานกลางมานานหลายปี
แล้วจะทำอย่างไร? ให้ประเทศไทย
สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางนี้ไปได้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
“ประเทศรายได้ปานกลาง” คืออะไร?
ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ตามเกณฑ์ของ World Bank คือ ประเทศที่ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเท่ากับ 31,000-374,000 บาท
ซึ่งประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ระดับ คือ
1. ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ คือมีรายได้ 31,000-121,000 บาทต่อปี
2. ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง คือมีรายได้ 121,001-374,000 บาทต่อปี
สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 1960-2019
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชากรไทย เพิ่มขึ้นถึง 78 เท่า
โดยในปัจจุบัน คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 234,000 บาท
ทำให้ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง
แต่ประเด็นสำคัญคือ เราติดอยู่ในกลุ่มรายได้ระดับปานกลางมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 30 ปี..
เรื่องที่น่าสนใจก็คือ
ถ้าลองไปเปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2561-2580)
ก็จะพบว่า หนึ่งในเป้าหมายที่น่าสนใจก็คือ
“การเปลี่ยนสถานะให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีรายได้สูงในปี 2580”
หมายความว่า ตอนนี้เราเหลือเวลาอีกประมาณ 16 ปี ที่จะทำให้ประเทศไทย หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง
สำหรับประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของไทย เติบโตด้วยอัตราที่ต่ำลง
จากที่เคยอยู่ที่ในระดับ 4.3% ต่อปี ในช่วงปี 2000-2009
ลดลงมาเหลือเพียง 3.6% ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า
ถ้าประเทศไทยต้องการจะเร่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ก็จะต้องเพิ่ม “ประสิทธิภาพการผลิต” และเร่งปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการลงทุน
เพื่อให้สามารถรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่เฉลี่ยแล้วมากกว่า 5% ต่อปี ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568
แล้วคำว่า ประสิทธิภาพการผลิตคืออะไร?
สมมติว่า เรามีโรงงานผลิตรองเท้าที่มีความสามารถในการผลิตได้ตามมาตรฐานวันละ 1,000 คู่ต่อวัน
หากโรงงาน สามารถผลิตได้มากกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ อย่างเช่น 1,200 คู่ต่อวัน ก็ถือว่า โรงงานเรามีประสิทธิภาพการผลิต
คำถามสำคัญคือ แล้วเราจะยกระดับประสิทธิภาพการผลิตขึ้น ได้อย่างไร?
คำตอบนั้น ก็คงต้องเริ่มจาก การจริงจังกับการพัฒนา “พื้นฐาน” ในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้แก่
1. พัฒนาระบบการศึกษาภายในประเทศ
ให้เด็กไทยมีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านการคำนวณ และทักษะแห่งอนาคต เช่น ด้านเทคโนโลยี
เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความสามารถให้แข็งแกร่ง และแข่งขันได้ในอนาคต
2. ต้องจริงจังในเรื่องการลงทุนเพื่อการพัฒนาทักษะแรงงานไทย
ต้องลงทุนเพื่อให้แรงงานไทยมีความสามารถในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น
ที่สำคัญคือ ภาครัฐ และเอกชน ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจ
ให้แรงงานในไทยมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งของภาคเอกชน ในการลำเลียงวัตถุดิบและการจัดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ หรือส่งไปขายยังต่างประเทศ
4. รัฐบาลต้องมีมาตรการหรือสร้างสภาวะแวดล้อม ที่ดึงดูดการลงทุนระยะยาวจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะช่วยสร้างความต่อเนื่องให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต
และนอกจากเรื่องประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว
ในช่วงปี 2010-2019 การลงทุนโดยรวมของไทย ที่เกิดจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ก็ยังมีสัดส่วนเฉลี่ยเพียง 24% ต่อ GDP
โดยสัดส่วนเท่านี้ ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ของประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลาง ที่จะอยู่ที่ประมาณ 30% ต่อ GDP
ซึ่งถ้าอยากให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีกว่านี้
ภาครัฐและภาคเอกชน ก็คงต้องช่วยกันเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวขึ้นอีก
ถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่า
ถ้าอยากให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสูงขึ้น
2 เรื่องสำคัญ คือ ต้องยกระดับประสิทธิภาพการผลิตขึ้นให้ได้
และ ต้องมีการลงทุนในประเทศให้สูงขึ้นด้วย
ซึ่งทั้งหมดนี้ มันไม่สามารถทำได้ด้วยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเท่านั้น
แต่ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึง ตัวเราเองทุกคน ต้องร่วมมือกัน
ซึ่งถ้าทำได้ เราก็มีโอกาสที่จะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง
และเราคนไทยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เหมือนที่หลายคนคาดหวังเอาไว้ ในตอนนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://thaipublica.org/2020/12/world-bank-bot-thailand-manufacturing-firm-productivityreport/?fbclid=IwAR353HGXzKnGfkmzRESdNKggFxUuUFwQt-eIIfk0vFxpq0zBupN3t7ASDQI
-http://documents1.worldbank.org/curated/en/497151606302306312/pdf/Thailand-Manufacturing-Firm-Productivity-Report.pdf
-https://www.worldbank.org/en/country/mic/overview#:~:text=They%20are%20defined%20as%20lower,62%25%20of%20the%20world%27s%20poor.
-https://www.macrotrends.net/countries/KOR/south-korea/gdp-per-capita#:~:text=South%20Korea%20gdp%20per%20capita%20for%202019%20was%20%2431%2C762%2C%20a,a%201.94%25%20increase%20from%202015.
-https://www.statista.com/statistics/727592/gross-domestic-product-gdp-per-capita-in-taiwan/
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=TH
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_176.pdf
korea gdp per capita 在 Mordeth13 Facebook 的最佳解答
Taiwan's GDP higher than Japan and Korea.
Oh interestingly enough...the world's "richest country" doesn't make it into the top 5. But Ireland does.
korea gdp per capita 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
korea gdp per capita 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
korea gdp per capita 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
korea gdp per capita 在 South Korea GDP per capita - 2021 Data - 1960-2020 Historical 的相關結果
GDP per capita in South Korea averaged 12359.25 USD from 1960 until 2020, reaching an all time high of 31610.92 USD in 2019 and a record low of 1027.47 USD in ... ... <看更多>
korea gdp per capita 在 GDP per capita (Euros) Taiwan vs South Korea comparison 的相關結果
7,510K 2021Q4 Qu. GDP Per Capita
Annual GDP 2020 €584,973M €1,436,668M 2020 Annual GDP
Annual GDP 2020 $668,156M $1,638,260M 2020 Annual GDP
GDP per capita 2020 €24,828 €27,745 2020 GDP per capita ... <看更多>
korea gdp per capita 在 GDP per capita (current US$) - Korea, Rep. 的相關結果
GDP per capita (current US$) - Korea, Rep. from The World Bank: Data. ... <看更多>