สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse จัดพอร์ตลงทุนยังไง ในไตรมาสนี้ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ลงทุนแมน ชวนผู้เชี่ยวชาญหุ้นเทคโนโลยีจากกองทุนบัวหลวง มาร่วมพูดคุยอัปเดตสถานการณ์การลงทุนครึ่งปีแรกที่ผ่านมา และแนวทางการจัดพอร์ตลงทุนให้เหมาะสม ในช่วง 3 เดือนต่อจากนี้
โดย 3 Speakers มากประสบการณ์จากกองทุนบัวหลวง ได้มาร่วมพูดคุย ร่วมให้ไอเดียกัน
- คุณสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน กองทุนบัวหลวง
- คุณเศรณี นาคธน AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
สถานการณ์โลกการลงทุนครึ่งปีแรกเป็นอย่างไร แล้วเราควรจัดพอร์ตลงทุนอย่างไรในไตรมาสนี้ ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
คุณสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน กองทุนบัวหลวง เริ่มต้นประเด็นแรก ด้วยการสรุปภาพรวมการลงทุนทั่วโลก ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
ตั้งแต่เริ่มปี 2021 มา เราเห็นเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากปีที่แล้วมากขึ้น ซึ่งทำให้หุ้นวัฏจักร ที่ฟื้นตัวได้ดีตามเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มน้ำมัน ธนาคาร ได้รับประโยชน์และฟื้นตัวกลับมาได้ดี
ขณะที่ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ หลังเข้าช่วงครึ่งปีหลังมา เริ่มลดลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ที่เคยขึ้นไปสูงช่วงต้นปีก็ลดต่ำลง ทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นหุ้นเติบโต (Growth Stock) เริ่มกลับมาเติบโตได้ต่อ
แล้วตลาดในแต่ละภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมา และตอนนี้ เป็นอย่างไร ?
เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป กำลังฟื้นตัวได้เร็วโดยมีปัจจัยสำคัญคือ มีประชากรได้รับวัคซีนในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ และเริ่มทยอยกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
ขณะที่ประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา อย่างเช่นแถว ๆ ไทยเรา ยังคงเผชิญปัญหาการระบาดระลอกใหม่ และประชากรยังได้รับวัคซีนน้อย ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปได้ล่าช้ากว่า
กองทุนบัวหลวงมองว่า โลกการลงทุนวันนี้มี “Unknown” หรือสิ่งที่เราไม่รู้ คือ รู้ว่าจะเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หรือไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าจะเป็นเช่นไร ทำให้ยังต้องติดตามสถานการณ์กันมากพอสมควร เช่น เรื่องไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่อาจควบคุมการระบาดได้ยากขึ้น, เงินเฟ้อที่รู้ว่ามาแน่ แต่ก็ไม่รู้ชัดว่าจะหนักและยาวนานแค่ไหน
เพราะฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนช่วงไตรมาสนี้และครึ่งปีหลัง แนะนำให้นักลงทุนจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง ไม่เน้นหนักไปที่ตลาดใดตลาดหนึ่ง
นอกจากนั้น การถือเงินสดบางส่วนไว้เตรียมลงทุน หากมีเหตุการณ์หรือจังหวะที่เหมาะสมเข้ามา ก็จะทำให้เราไม่พลาดโอกาสการลงทุนดี ๆ ได้เหมือนกัน
ในช่วงนี้กองทุนบัวหลวงยังให้มุมมองเชิงบวกกับตลาดของประเทศพัฒนาแล้วมากกว่า โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่ให้จับตาช่วงครึ่งปีหลัง ที่เงินทุนจะเริ่มไหลเข้าตลาดฝั่งเอเชีย
ปัจจุบันบริษัทในเอเชียเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เช่น TSMC, Samsung Electronics และที่หลายคนอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูอย่าง ASUSTek ที่ถือเป็นหุ้นคุณภาพ ราคาไม่แพง มีการเติบโตสูง ในช่วงปีที่ผ่านมา
ขณะที่บริษัทในดัชนี MSCI All Country Asia Ex Japan ที่ถือเป็นตัวแทนของตลาดเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น มี P/E อยู่ที่ 14 เท่า เท่านั้น ซึ่งถือว่าราคาถูกและน่าสนใจ หากเอเชียควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ดีขึ้นในอนาคต
ทางกองทุนบัวหลวง ก็มีกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นเอเชีย คือ B-ASIA ที่ไปลงทุนในหุ้นเอเชียที่มีศักยภาพเติบโตเหล่านี้
คราวนี้ มาเจาะลึกกันที่ “จีน” กันบ้าง..
จีนยังคงเน้นการสร้างเสถียรภาพในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความเด็ดขาด ชัดเจน และเข้มแข็งในการกำกับดูแล นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับนโยบายเน้นการบริโภคภายในประเทศควบคู่ไปกับการส่งออก และพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ
แม้ที่ผ่านมาเราจะเห็นทางการจีน เริ่มเข้มงวดกับหลาย ๆ กลุ่มในตลาด เช่นกลุ่มเทคโนโลยี แต่ความเข้มงวดนี้ ก็น่าจะส่งผลดีต่อเสถียรภาพของจีนในระยะยาว
เมื่อบวกกับแนวโน้มการเติบโตต่อจากนี้ของจีน ที่คาดว่าจะโตเฉลี่ยปีละ 5% ซึ่งถือว่าไม่น้อยสำหรับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก ณ ตอนนี้ ก็ถือว่าการลงทุนในจีน เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
แล้วเราจะลงทุนในหุ้นจีนแบบไหนดี ?
พูดถึงการลงทุนในจีน หลายคนจะกังวลเรื่องหุ้นเทคโนโลยีจีนที่ดูทรงไม่ค่อยดีในช่วงที่ผ่านมา แต่การลงทุนในจีนนั้นไม่ได้มีแค่เรื่องหุ้นเทคโนโลยีเท่านั้น
ถ้าดูบริษัทในตลาดหุ้นจีนแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค, การสื่อสาร, การเงิน และการแพทย์ ส่วนบริษัทเทคโนโลยีนั้น มีสัดส่วนแค่ 6.5% ในดัชนี MSCI China
ตัวอย่างความน่าสนใจของจีนคือ กำลังบริโภคของคนรุ่นใหม่ในจีนนั้นมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก เพราะเป็นกลุ่มที่เติบโตมาในครอบครัวที่เริ่มมีฐานะแล้ว
โดยกลุ่มนี้ มีความนิยม Local Brand มากขึ้น เช่น ใช้สมาร์ตโฟนของ Xiaomi ใช้อุปกรณ์กีฬา Li-Ning, Anta Sports เพราะมองว่าสินค้าเหล่านี้คุณภาพคุ้มราคากว่าแบรนด์นอก นี่จึงเป็นปัจจัยทำให้หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากในอนาคต
ซึ่งบริษัทเหล่านี้ ก็เป็นบริษัทที่กองทุน B-CHINE-EQ ของกองทุนบัวหลวงไปลงทุนด้วย
คำถามต่อมาคือ ถ้าลองดูรายเซกเตอร์ มีเซกเตอร์ไหนบ้างที่น่าสนใจในตอนนี้ ?
มาเริ่มกันที่ “หุ้นเทคโนโลยี”
กองทุนบัวหลวงมองว่าหลังวิกฤติโควิด 19 บางสินค้า บางบริการที่คนเคยใช้แล้วติดใจ ใช้แล้วรู้สึกขาดไม่ได้แล้ว กลุ่มนี้จะยังเติบโตต่อไปได้เรื่อย ๆ
ส่วนอีกปัจจัยที่ทำให้หุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกยังไปต่อได้ คือภาครัฐโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและจีน ที่สนับสนุนด้านเทคโนโลยีกันอย่างชัดเจน เพื่อแข่งขันกันเป็นผู้นำเทคโนโลยีโลก
นอกจากนั้น ยิ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ปรับลดลงมาอย่างในตอนนี้ ก็ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้หุ้นเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อ Bond Yield เติบโตต่อได้
แล้วเราจะเลือกหุ้นเทคโนโลยีอย่างไรดี ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า ให้พยายามเลือกหุ้นเทคโนโลยีตัวใหญ่ ๆ ที่เป็นเจ้าของบริการที่ “คนขาดไม่ได้” อย่างเช่น Microsoft, Apple, Google, Facebook เอาไว้เป็นทางเลือกแรก ๆ
เพราะตอนนี้ตลาดมองหุ้นเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เหล่านี้ว่าเป็น Defensive Stock ไปแล้ว พูดง่าย ๆ ว่า เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ก็เติบโตได้
ซึ่งบางบริษัทเหล่านี้ ก็เป็นบริษัทที่กองทุน B-INNOTECH ของกองทุนบัวหลวงเน้นไปลงทุน
แล้วเซกเตอร์ Go Green หรือหุ้นกลุ่มเน้นความยั่งยืน น่าสนใจไหม ?
ระยะยาวทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันยังคงเป็นแค่เพียงช่วงเริ่มต้น และยังมีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อีกไกล
เช่น กลุ่มยานยนต์ ที่หันมาใช้พลังงานไฟฟ้า กลุ่มพลังงานที่หันมาพัฒนาพลังงานสะอาด หรือกลุ่มแบตเตอรี่ที่พัฒนาให้สามารถจัดเก็บพลังงานได้มากขึ้น
ซึ่งใครที่สนใจ Theme การลงทุนนี้ กองทุนบัวหลวงก็มี B-SIP กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในบริษัทที่เน้นความยั่งยืน และมีนวัตกรรมรักษ์โลก
ตัดภาพกลับมาที่หุ้นไทยกันบ้าง ช่วงนี้เป็นอย่างไร ?
ตลาดหุ้นไทยไม่ได้ตกใจกับตัวเลขผู้ติดเชื้อมากนัก คนมองไปข้างหน้ากันมากและให้ความหวังกับตลาดไปไกลแล้ว อีกทั้งสภาพคล่องในตลาดยังล้นอยู่ เพราะเอาเงินไปฝากธนาคารได้ผลตอบแทนน้อย คนก็หันมาลงหุ้นมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเราก็ต้องติดตามสถานการณ์รายวันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการควบคุมการระบาดในประเทศ ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน กองทุนบัวหลวงมองว่า ช่วงนี้ตลาดจะเคลื่อนไหวขึ้นลง Sideway ไปก่อน
โดยแนวทางการลงทุนหุ้นไทยตอนนี้ คือต้อง “เลือกหุ้น” จะดีกว่าลงแบบเหมารวม ให้เลือกลงทุนในบริษัทที่พื้นฐานดี ยืนหยัดแข็งแกร่งได้ในวิกฤติ
ซึ่งสำหรับกองทุนบัวหลวง ก็มี “กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล”
ที่เด่นเรื่อง Stock Selection เลือกลงทุนแค่ในหุ้น 10 ตัว ที่ดีที่สุดในไทย
ลองมาดูภาพรวมของตลาดพันธบัตรกันบ้าง
กองทุนบัวหลวงมองว่า ตอนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ในระยะสั้นจะยังคงต่ำอยู่ ทั้งจากความคาดหวังเงินเฟ้อที่อ่อนแรงลงจากต้นปี สภาพคล่องยังล้นระบบ
ต้องดูความเคลื่อนไหว Bond Yield สหรัฐอเมริกา เพราะเป็นตลาดพันธบัตรใหญ่สุดในโลก ถ้า Bond Yield ในสหรัฐอเมริกาปรับตัวสูงขึ้น เงินก็ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกามากขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็จะแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
ถ้าจะจัดสรรน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ ควรไปลงที่ไหนดี ช่วงไตรมาสนี้ ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า US High Yield หรือพันธบัตรที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงในสหรัฐอเมริกา ตอนนี้น่าสนใจ เพราะให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกต่ำมากในขณะนี้
แต่แน่นอนว่าเมื่อเป็น “High Yield” คือมีอัตราผลตอบแทนสูง ก็จะสวนทางกับเครดิตเรตติงที่ต่ำ ซึ่งมันก็ตามมาด้วยความเสี่ยงผิดชำระที่สูงกว่าพันธบัตรในระดับ Investment Grade
แต่ทางกองทุนเห็นสถิติในเวลานี้ว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ (Default Rate) ลดลงจนเกือบเท่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงควรกระจายลงทุนในหลาย ๆ บริษัท โดยวิธีการกระจายการลงทุนที่น่าสนใจก็คือการลงทุนในกองทุนรวมที่ไปลงทุนในพันธบัตรที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง
ซึ่งกองทุนบัวหลวงเองก็มี กองทุนเปิด “บัวหลวงไฮยิลด์” ที่มาตอบโจทย์การลงทุนในจุดนี้
และหากท่านใดที่สนใจจะลงทุนหรือต้องการจัดพอร์ตการลงทุนเอง ทางกองทุนบัวหลวง ก็มีการสรุปแนวทางการลงทุนอย่าง “B-SELECT” เพื่อให้นักลงทุนนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาในการจัดพอร์ตกองทุนด้วยตัวเองได้
- ถ้าชอบหุ้นเทคโนโลยี กองทุนบัวหลวงมี “B-INNOTECH”
- ถ้าชอบหุ้นกลุ่มยั่งยืน (มีเทคโนโลยีผสม) กองทุนบัวหลวงมี “B-SIP”
- ถ้าชอบหุ้นเอเชีย กองทุนบัวหลวงมี “B-ASIA”
- ถ้าชอบหุ้นจีน กองทุนบัวหลวงมี “B-CHINE-EQ”
- ถ้าชอบหุ้นไทย แบบคัดเอาแค่ 10 สุดยอดบริษัท กองทุนบัวหลวงมี “บัวหลวงทศพล (BTP)”
- ถ้าอยากลงทุนในพันธบัตรที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงในสหรัฐอเมริกา กองทุนบัวหลวงก็มีบัวหลวงไฮยิลด์ ให้เลือก 2 แบบ คือ กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ B-HY (UH) AI กับกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ B-HY (H75) AI
หรือถ้าไม่รู้จะเลือกอะไร อยากให้กองทุนบัวหลวงจัดพอร์ตลงทุนให้ตามความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้
ก็มีกองทุนรวม “BMAPS” ที่มีให้เลือกสัดส่วนการลงทุนในหุ้น สูงสุด 25%, 55% และ 100%
แล้วผู้จัดการกองทุนรวม BMAPS ก็จะนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ ตามสัดส่วนที่ผู้ลงทุนเลือก ให้เหมาะกับสถานการณ์ และโอกาสการเติบโตในอนาคตต่อไป
และทั้งหมดนี้ ก็คือบทสรุปของประเด็นที่ได้พูดกันในห้อง Clubhouse “จัดพอร์ตลงทุนยังไง ในไตรมาสนี้ ?”
สำหรับประเด็นพูดคุยกันใน Episode หน้าจะเป็นเรื่องอะไร รอติดตามได้ เร็ว ๆ นี้..
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過10萬的網紅hketvideo,也在其Youtube影片中提到,【香港經濟日報】MSCI明晟宣布,將234隻A股加入MSCI中國指數(MSCI China Index)及MSCI新興市場指數(MSCI Emerging Markets Index),惟中港股市今日表現異常冷淡。A股入摩概念是否已經炒完? 未來還有甚麼投資機會?當中影響和意義,你知道多少?……(更...
msci china 在 謝晨彦股怪教授 Facebook 的最佳貼文
#股怪教授 #晨彥有約
【5G電動車|港股ETF投資大解密】
先認識陸港股環境
由於ETF發行的數量多,種類也越來越多元,對於投資人來說選擇的彈性也比以往佳,但如何選到符合需求的ETF,也成了投資人的必修功課,因此這篇專欄和大家分享如何區分陸港股的ETF。基本上大陸有三個交易所,分別是上海交易所、深圳交易所以及香港交易所。這三家交易所提供給ETF追蹤的指數,在產業上又有一些區分。
上海交易所相關指數
投資人比較常聽到的上証50指數,就是由A股中前50大的股票所編製的指數,主要以金融跟地產為主,還有一些消費性的股票。例如中國平安、招商銀行、貴州茅台。另一個上證180的成分股和上証50很像,同樣都是金融地產以及酒類。
深圳交易所相關指數
深交所這邊的指數,投資人比較熟悉的有深圳100,顧名思義就是以深交所上市前100大股票所編製的指數,主要涵蓋的產業包含電器、白酒,如格力電器、五糧液等。深中小指數的組成較偏向科技類股,如立訊精密、海康威視等。
國際指數編制公司
目前兩大國際知名指數編製公司分別是富時羅素以及MSCI,這兩間公司針對陸港股也有發行相關的指數。富時指數所發行的是富時中國A50指數,雖然成分股包含了上海、深圳兩交易所的前50大股票,但在產業上仍是以金融地產與消費類股為主。MSCI比較常見的就是MSCI中國指數,在產業分布上以必要消費品、通訊和金融為主。
精準投資新經濟產業
陸、港股現在最為熱門的投資議題就屬新經濟題材,但是什麼是新經濟?只要了解新經濟的定義,就可以縮小選擇投資標的的範圍。所謂的新經濟指的是資訊科技、5G、電動車以及新能源產業,都屬於新經濟的重點產業,因此在投資時,只要鎖定上述的產業即可。目前在新經濟概念以MSCI China Free 50指數的產業與新經濟最為貼近。指數的編制方式,以在香港及美國掛牌上市的前50大港股或ADR作為成分股,主要包含阿里巴巴、騰訊、百度、小米、京東等,都屬於新經濟的產業。
(以上資訊僅供參考,並無任何推介買賣之意,投資人請自行承擔交易風險)
#5G
#MSCIChinaFree50
#華爾街見聞Podcast #EP256
msci china 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
BBLAM x ลงทุนแมน
“การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความท้าทายทุกด้านของจีน
จะทำให้เราเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในการลงทุนหุ้นจีนได้อย่างชัดเจนที่สุด”
นี่คงเป็นประโยค ที่สรุปใจความสำคัญได้สมบูรณ์ที่สุด
หลังจากที่ คุณทีน่า สุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA จากลงทุนแมน
ได้พูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวงในห้อง Clubhouse ในหัวข้อ “เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในจีนจากกองทุนบัวหลวงทั้ง 2 ท่าน ได้แก่
- คุณทนง ขันทอง Head of Strategic Communications กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
ความท้าทายและโอกาสของจีนในตอนนี้มีอะไรบ้าง แล้วลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ความท้าทายที่ 1: สงครามการค้าและเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
เรื่องสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่นักลงทุนรับรู้เรื่องนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวลามีข่าวดี หุ้นจีนก็พร้อมวิ่งไปต่อ
นอกจากนั้น ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเทคโนโลยี
ยังทำให้มูลค่าของบริษัทเทคโนโลยีจีนมีราคาที่ถูกลง
ถ้าเราลองดูภาพรวมของหุ้นกลุ่มนี้ผ่าน MSCI China Technology กับ S&P Technology
จะเห็นว่า บริษัทเทคโนโลยีจีนที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกามาตลอดหลายปี ถูกลด P/E ลงมา ทั้งที่ผลประกอบการไม่ได้แย่เลย ทำให้ P/E ของกลุ่มอยู่ที่ 25 เท่า สูงกว่า ค่าเฉลี่ย 15 ปีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความท้าทายที่ 2: ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ
ล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน คุณ Yi Gang ก็ออกมาบอกว่าเงินเฟ้อของจีนในช่วงนี้ จะต่ำกว่า 2% และเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคของจีนล่าสุดที่ออกมาอยู่ที่ระดับ 1.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ก็ช่วยให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่องเงินเฟ้อสูงไปตาม ๆ กัน
คุณมทินา ยังแนะนำเทคนิคดูการปรับตัวของหุ้นจีนแบบแม่น ๆ คือนอกจากดู “นโยบายการเงิน” ของธนาคารกลางจีนแล้ว ให้ดู “ยอดการระดมทุนรวมสุทธิของทั้งระบบ (Total Social Financing)” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า TSF
TSF คือยอดการปล่อยสินเชื่อรวมในระบบ ที่สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบขณะนั้น ซึ่งถ้าเอาข้อมูล TSF มาพลอตเทียบกับ ตลาดหุ้น A-shares (ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่) ก็จะมีความสัมพันธ์สูง ไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างเช่น ในช่วงที่ผ่านมา การเติบโตของ TSF ลดลง แสดงถึงสภาพคล่องในระบบที่ลดลง และสะท้อนไปยังราคาหุ้นของจีนที่ปรับตัวลดลงได้นั่นเอง
คำถามคือ สภาพคล่องของทั้งระบบเศรษฐกิจ จากการที่ TSF ที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา น่ากลัวไหม ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า “ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่คิด” เพราะการลดสภาพคล่องของจีน ค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวังมาหลายเดือนแล้ว และตลาดก็ได้สะท้อนความกลัวนั้นไปมากแล้วก่อนหน้านี้
เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงในด้านขาลงของหุ้นจีน (Downside Risk) ควรจะเริ่มจำกัดแล้วในตอนนี้
ความท้าทายที่ 3: ปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
จีน มีปัญหาในเชิงการเมืองกับหลายฝ่าย ทั้งไต้หวัน ฮ่องกง และโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี บารัก โอบามา สหรัฐอเมริกา เน้นเข้ามามีบทบาทในเอเชียและตะวันออกกลางมากขึ้น เพื่อคานอำนาจของจีนที่เริ่มสานสัมพันธ์กับนานาประเทศในหลายภูมิภาค
ขณะที่สมัยประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็เริ่มก่อสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยีที่ชัดเจน และยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมาโจมตีจีน เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชนในเขตซินเจียง เรื่องการวางอำนาจของจีนในทะเลจีนใต้ ไปจนถึงเรื่องการเป็นต้นตอของวิกฤติโรคระบาดโควิด-19
คุณทนงเชื่อว่า ความเข้มข้นของเรื่องการเมืองโลกเหล่านี้ จะนำไปสู่การประนีประนอมในท้ายที่สุด อีกทั้งจะมีการปรับระเบียบโลกครั้งใหม่ สู่ระบบหลายขั้วผู้นำ (Multipolar) และจีนมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งขั้วมหาอำนาจโลกได้
ความท้าทายที่ 4: การเติบโตระยะยาวของจีน ที่เริ่มแผ่ว
ล่าสุดทางการจีนออกมาประกาศ ตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง จากเดิมที่โตเฉลี่ย 7-8% ต่อปี เหลือ 5-6% ต่อปี
เรื่องนี้ คุณทนงมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจีนเติบโตเร็วมาตลอด พอฐานเศรษฐกิจเริ่มใหญ่ขึ้น 5-6% ก็ยังคงถือว่าไม่ได้แย่ ถึงแม้จะไม่ได้ร้อนแรงเหมือนเดิม
ส่วนคุณมทินา มองว่าสไตล์การดำเนินนโยบายการเงินของจีน จะทำให้จีนแข็งแกร่งได้ในระยะยาว
เพราะถ้าลองเทียบสไตล์การใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนกับสหรัฐอเมริกา
ประการแรก - เราจะเห็นว่า สหรัฐอเมริกา จะใช้นโยบายทางการเงินที่จัดหนักจัดเต็ม มีการอัดฉีดเงินมูลค่ามหาศาลเข้ามาในระบบแบบไม่ยั้ง ขณะที่จีนค่อนข้างมีความรัดกุม เช่น เมื่ออัดฉีดเงินเข้าระบบแล้วเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ก็จะรีบพยายามหาทางลดความร้อนแรง โดยการดูดเงินออกจากระบบทันทีที่มีโอกาส
ประการที่สอง - จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของจีนนั้น ไม่ได้ต้องการโฟกัสไปที่ตลาดหุ้น แต่ต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม แตกต่างกับทางสหรัฐอเมริกา ที่จะเน้นที่การกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไปตามเป้าหมายในทันที
ซึ่งคุณมทินามองว่า สไตล์การใช้นโยบายทางการเงินของจีน จะทำให้ตลาดหุ้นจีนมีเสถียรภาพในอนาคต
ความท้าทายที่ 5: ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน ต่อบริษัทเทคโนโลยีจีน
อย่างเช่น ที่หน่วยงานกำกับและดูแลตลาดจีน เคยสั่งปรับ Alibaba ในข้อหาผูกขาดตลาดและใช้นโยบายเอาเปรียบผู้บริโภค และเรียกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีนหลายรายไปพูดคุย
เหตุการณ์เหล่านี้ กำลังทำให้หุ้นเทคโนโลยีจีนตอนนี้ถูก Discount หรือลดมูลค่าลงไปพอสมควร เพราะนักลงทุนกังวลว่า หลายบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบของทางการจีน
แต่ความเข้มงวดตรงนี้ ทางกองทุนบัวหลวงมองว่าเป็นผลดีในระยะยาว เพราะแม้เรื่องนี้ อาจกระทบบางบริษัท หรือทั้งกลุ่มเทคโนโลยีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะทำให้เส้นทางการเติบโตของบริษัทเหล่านี้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมั่นคงในอนาคต
ความท้าทายที่ 6: ภาพลักษณ์ของจีน ที่ถูกมองว่าไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง
กองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าลองมาดูตัวเลขในเรื่องเหล่านี้จะเห็นว่า
- งบประมาณด้านเทคโนโลยีอยู่ในแผน 5 ปี และรัฐบาลจีนตั้งเป้า % งบวิจัยพัฒนาต่อ GDP ให้เทียบเท่ากับสัดส่วนของสหรัฐอเมริกา
- จำนวนการยื่นจดสิทธิบัตร อ้างอิงจาก World Intellectual Property จีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกา, เยอรมนี ญี่ปุ่น ไปแล้ว
- จำนวนสตาร์ตอัป (สตาร์ตอัปมูลค่ามากกว่า 31,000 ล้านบาท) ในปักกิ่ง แซงหน้า San Francisco และ New York ไปแล้ว
ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เห็นว่ารัฐบาลจีนจริงจัง และให้ความสำคัญกับงบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีมาก ๆ และจีนเองก็เป็นเจ้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายไม่แพ้ใคร
ซึ่งจากโอกาสและความท้าทายที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ถ้าถามว่ากองทุนรวมแบบไหน ที่พร้อมยืดหยุ่นในการลงทุน และเติบโตไปกับโอกาสเหล่านี้
“B-CHINE-EQ” หรือ “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน” ที่บริหารจัดการโดยกองทุนบัวหลวง ก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่มองข้ามไม่ได้
เพราะ B-CHINE-EQ ลงทุนทุกตลาดของจีน มีนโยบายการลงทุนที่ยืดหยุ่น แบ่งการลงทุนเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกใช้วิธีใช้ Outsource Fund Manager มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited (AGI) เป็นผู้รับดำเนินการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่ง AGI เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีความชำนาญในการค้นหาโอกาสเชิงรุก และเก่งเรื่องการคัดเลือกหุ้นรายตัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในตลาดหุ้นจีนเป็นอย่างดี
โดยปัจจุบัน AGI นำเงินไปลงทุนใน 2 กองทุนหลัก คือ Allianz All China Equity และ Allianz China A-Shares โดยในส่วนที่ AGI ดำเนินการ ตามนโยบายหลักกำหนดไว้ที่ 80% ของ NAV
ส่วนที่สอง อีก 20% ที่เหลือเปิดให้กองทุนบัวหลวงพิจารณาเลือกลงทุนหุ้นจีนได้ด้วยตัวเอง ทำให้กองทุนหุ้นจีนของกองทุนบัวหลวงมีสไตล์ความเป็นกองทุนบัวหลวงจริง ๆ อยู่ในนั้น
เพราะการลงทุนในจีนนั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย
แต่ความท้าทายที่มากนั้นก็หมายความว่า มีโอกาสที่แฝงอยู่มากตามไปด้วย
และ B-CHINE-EQ ก็คือหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด
สำหรับคนที่อยากเติบโตไปกับหุ้นจีนในตอนนี้ และอนาคต..
msci china 在 hketvideo Youtube 的最讚貼文
【香港經濟日報】MSCI明晟宣布,將234隻A股加入MSCI中國指數(MSCI China Index)及MSCI新興市場指數(MSCI Emerging Markets Index),惟中港股市今日表現異常冷淡。A股入摩概念是否已經炒完? 未來還有甚麼投資機會?當中影響和意義,你知道多少?……(更多內容:http://video.hket.com/video/2073598 )
msci china 在 The Satrix MSCI China ETF - YouTube 的推薦與評價
One of the benefits of investing in an offshore ETF is that it allows you access to global markets - another way to offset risk and ... ... <看更多>