กรณีศึกษา Pantone ผู้สร้างระบบ ให้กับเฉดสี /โดย ลงทุนแมน
การอธิบายเฉดสีด้วยคำพูดนั้น ยากที่จะสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้
เพราะคนแต่ละคนก็รับรู้สีจากคำพูดได้ไม่เหมือนกัน
ทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสี
จึงมีภาษาสี ที่ใช้สื่อสารได้เข้าใจตรงกัน
โดยหนึ่งในระบบสีที่ได้รับความนิยมสูงก็คือ “Pantone”
แล้วเรื่องราวของ Pantone ที่กว่าจะมาเป็นภาษาสากลของสีนั้นเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 1950s ซึ่งนับเป็นยุคทองของนิตยสาร
ที่เมืองนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คู่พี่น้อง Mervin และ Jesse Levine
ได้ก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับงานพิมพ์ ที่ชื่อว่า “M&J Levine”
ในปี 1956 Lawrence Herbert ที่เพิ่งเรียนจบด้านชีววิทยาและเคมี
แต่ด้วยความที่เขามีความสนใจเรื่องสิ่งพิมพ์มานานแล้ว
Herbert จึงได้มาสมัครเป็นพนักงานพาร์ตไทม์ที่บริษัทแห่งนี้
งานประจำวันของเขาก็คือ การดูแลคลังสีและการผสมสี
ทั้งสีแบบผงและสีหมึกสำหรับงานพิมพ์
Herbert ค้นพบว่าการสื่อสารเรื่องสีเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำงาน
กว่าเขาจะผสมสีให้ได้ตรงกับแบบที่ได้รับคำสั่งมา ก็ต้องลองผสมสีแล้วทิ้งอยู่หลายรอบ
กว่าจะพิมพ์งานออกมาให้ตรงกับแบบที่ต้องการ ก็ต้องพิมพ์แล้วทิ้งแล้วแก้ใหม่อยู่หลายครั้ง
Herbert จึงใช้ความรู้ทางเคมีที่เรียนมา นำมาใช้กับเรื่องสี
โดยเริ่มจากสร้างระบบและมาตรฐานสีให้กับคลังสีของบริษัท
เพื่อให้การสื่อสารเรื่องสีทำได้ง่ายขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนของสี
ที่ต้องทิ้งจากการต้องลองผิดลองถูกหลายครั้งอีกด้วย
หลังจากทำงานไปได้ 6 ปี กลับกลายเป็นว่า
ฝ่ายงานพิมพ์และหมึกที่พนักงานพาร์ตไทม์คนนี้ดูแล
กลับเป็นแผนกที่ทำกำไรให้บริษัท ขณะที่ฝ่ายอื่นยังมีผลขาดทุน
ในปี 1962 Herbert ได้ขอซื้อกิจการต่อจากคู่พี่น้อง Levine
และเปลี่ยนชื่อเป็น “Pantone” แบบในปัจจุบัน
ซึ่งชื่อนี้ก็มาจากคำว่า Pan ที่แปลว่าทั้งหมด และ Tone ที่หมายถึงสี
หนึ่งปีให้หลัง Pantone ได้ให้กำเนิด “Pantone Matching System” หรือ “PMS” ซึ่งเป็นระบบสีเพื่อใช้สื่อสารกันได้แบบสากล
โดยการตั้งชื่อและระบุรหัส ที่เป็นตัวเลขเฉพาะของแต่ละเฉดสี เพื่อใช้ระบุถึงสีสีหนึ่งได้ทันที
โดยเริ่มแรกมีอยู่ 500 สี และเพิ่มขึ้นมาจนมีมากกว่า 3,000 สีในปัจจุบัน
ซึ่งก่อนหน้าที่จะมี Pantone ระบบสีมาตรฐานที่งานพิมพ์ใช้กันมาอย่างยาวนาน
คือระบบ Cyan, Magenta, Yellow, Key หรือ CMYK ซึ่งเป็นการผสมสีมาจากสีพื้นฐาน 4 สี
แม้ว่าระบบดังกล่าวจะใช้งานได้ดีและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
แต่ระบบสี CMYK มีจุดอ่อนอยู่ที่ เฉดสีไม่ค่อยเสถียร
เช่น สีของงานที่พิมพ์ออกมาจริงเพี้ยนไปจากสีที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์
Pantone จึงเข้ามาช่วยเติมเต็มจุดอ่อนของสี CMYK
เพราะผู้สั่งพิมพ์งาน สามารถระบุรหัสสี Pantone ที่ต้องการกับทางโรงพิมพ์
โรงพิมพ์ก็สามารถผสมสีตามรหัส Pantone ที่ต้องการขึ้นมาได้เลย
อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบนี้ก็จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการพิมพ์ด้วยระบบสี CMYK
จึงเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการความแม่นยำของเฉดสีสูง และเป็นงานพิมพ์ที่ใช้จำนวนสีไม่มากจนเกินไป
ซึ่งระบบสีของ Pantone ก็ผสมออกมาได้หลากหลายกว่า จึงครอบคลุมสีที่ได้จากระบบ CMYK ด้วย
และยังสามารถแปลงไปเป็นรหัสของระบบสีอื่น อย่างเช่น RGB, HTML และ CMYK ได้อีกด้วย
ระบบสี PMS จะเหมาะกับงานจำพวกกราฟิก แพ็กเกจจิง สื่อดิจิทัล และงานสกรีน
ในปี 1988 Pantone จึงเพิ่มระบบสีที่เหมาะกับงานจำพวกสิ่งทอและเสื้อผ้า
การออกแบบตกแต่งภายใน หนัง สีทาบ้าน ไปจนถึงเครื่องสำอาง
โดยใช้ชื่อว่า “Pantone Fashion, Home + Interiors System” หรือ “FHI”
ความนิยมของ Pantone ได้เข้าไปอยู่ในทุกอุตสาหกรรมที่มีสีเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยความที่ Pantone เป็นระบบสีที่มีมาตรฐานและสามารถนำมาสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ทันทีด้วยรหัสที่เป็นสากล
ตัวอย่างเช่น สตูดิโอในนิวยอร์กได้ออกแบบและจะสั่งพิมพ์งานที่โตเกียว
เพียงระบุว่าใช้สี Pantone 550 C ก็จะเข้าใจได้ตรงกันทันที
ซึ่งถ้าอธิบายด้วยคำพูดว่าต้องการสีฟ้า ๆ เขียว ๆ อมเทา คงไม่มีทางนึกถึงสีเฉดเดียวกันได้
นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว
ระบบสีของ Pantone ยังทำให้สีของผลิตภัณฑ์จริง
ตรงกับสีที่ออกแบบโดยไม่ผิดเพี้ยน และในทุกครั้งที่ผลิต จะให้สีที่เหมือนเดิมเป๊ะ
มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงสงสัยว่า
แล้วธุรกิจอย่าง Pantone มีรายได้มาจากอะไรบ้าง ?
อย่างแรกก็คือการขาย Pantone Guide หรือสมุดรวมแถบเทียบเฉดสี
ซึ่งจะมีหลายรูปแบบ อย่างเช่น Fan Deck สมุดทรงแคบและยาวที่คลี่ออกมาได้คล้ายกับพัด
Color Bridge Guide Set สมุดใช้เทียบรหัสสี Pantone กับระบบสีอื่น เช่น RGB, HTML และ CMYK
อย่างที่สองก็คือค่า License จากซอฟต์แวร์โปรแกรมหลากหลายรูปแบบ
ที่ให้บริการกับบริษัทที่เลือกใช้ระบบสีของ Pantone
ซึ่งรวมถึงบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Adobe, Microsoft, Xerox และ Canon
อย่างที่สามก็คือค่าบริการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้สีแก่บริษัทต่าง ๆ
รวมถึงบริการคิดค้นสีใหม่ เพื่อสร้างสีที่เป็นอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์
อย่างเช่น สีส้มของ Hermès, สีฟ้าของ Tiffany & Co. และสีเหลืองของ Minions
ซึ่ง Pantone ได้ก่อตั้ง Pantone Color Institute มาเพื่อให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ
และองค์กรแห่งนี้ ยังรับหน้าที่ประกาศ “Pantone Color of the Year”
ที่เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2000 เพื่อนำเสนอสีที่จะเป็นเทรนด์หลักของปีนั้น และสีนั้นก็มักกลายมาเป็นสีที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบไปทั่วโลก
ด้วยความที่ Pantone ไม่ได้เพียงช่วยสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์อื่น แต่ยังมีอัตลักษณ์เองด้วย
Pantone จึงสามารถขายผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์อย่างพวกแก้ว ขวดน้ำ สมุดโน้ต เคสสมาร์ตโฟน ที่เป็นลายตามรูปแบบของแถบสี Pantone ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ Pantone ยังมีโอกาสได้ร่วมออกสินค้าคอลเลกชันพิเศษกับแบรนด์ชื่อดังมากมาย
อย่างเช่น เครื่องสำอาง Sephora, รองเท้า Nike, สมาร์ตโฟน OPPO และรถยนต์ KIA
ปัจจุบัน บริษัท Pantone ได้เข้าไปเป็นบริษัทในเครือของ Danaher
บริษัทโฮลดิงขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเริ่มมาจากการที่บริษัท X-Rite เข้าซื้อกิจการ Pantone ในปี 2007
ด้วยมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ก่อนที่ปี 2012 Danaher ได้เข้ามาซื้อกิจการ X-Rite อีกที
ถึงแม้ Pantone จะยังเป็นบริษัทเอกชนที่ไม่มีการเปิดเผยงบการเงินต่อสาธารณะ
แต่ก็มีการประเมินว่า Pantone มีรายได้ต่อปีโดยเฉลี่ยมากกว่าพันล้านบาท
เรื่องราวของ Pantone ก็ทำให้คิดได้ว่า “สี” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้กันได้ทั่วไป
ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ แต่ผู้ที่ตั้งชื่อให้กับเฉดสีเหล่านั้น และพัฒนาให้กลายเป็นระบบสากล
ก็สามารถสร้างมันเป็นธุรกิจที่ทำรายได้มหาศาลระดับพันล้านต่อปี เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.thefashionlaw.com/the-business-of-being-pantone/
-https://www.fastcompany.com/3050240/how-pantone-became-the-definitive-language-of-color
-https://www.referenceforbusiness.com/history2/63/Pantone-Inc.html
-https://bettermarketing.pub/how-pantone-saved-the-world-65708585d573
-https://en.wikipedia.org/wiki/Pantone
-https://www.pantone.com/hk/en/
pms pantone 在 轉角國際 udn Global Facebook 的精選貼文
#月經紅是驕傲紅 🔴
「都2020了,誰說月經是不能見光的恥辱?」全球色彩系統權威「彩通」(Pantone)日前發布了一款全新設計色調——以月經為色彩靈感,調配出的新款紅色「月經紅」(Period)。由於月經長期以來都被負面地認為,是不能公開談論、女性私密、甚至自我羞愧的汙穢,透過直接且正面地給予月經具體且鮮明的色彩專名,除了提倡月經去汙名化之外,也希望大眾以正常目光看待,這樣的顏色從來都不是只能以「那個」代稱、見不了光的羞恥禁忌,而是「能令人感到驕傲的月經紅」。
彩通所發布的「月經紅」(Period)色調,是與瑞典女性生理產品品牌「Intimina」合作的倡議行動之一。這項名為「聽見你看見你」(Seen+Heard)的計畫,是為了讓無論男女,都能自在談論月經這回事,最終達到月經去汙名化的目的。
而視覺作為人類五感中,最衝擊、直接的感官之一,賦予月經這個對許多人來說總是曖昧朦朧、隱晦成塊的生理現象,一個明確、專有的色彩形象與稱謂,讓人們得以更自在如常地談論月經,這項極具社會意義的任務由色彩權威的彩通來推行,似乎再適合不過。
1960年代創立於美國的彩通,是當今全球最知名的色彩開發與色彩系統供應商。為了讓設計、時尚、印刷等與色彩緊密關連的產業,得以共同使用一套色彩標準來進行溝通,彩通於是設計並推出了一套完整的「彩通配色系統」(PMS),為目前全世界最權威的色彩系統之一。像是蘇格蘭、加拿大與南韓的國旗,其色彩便都是根據PMS的色彩編號作為指引。
自2000年以來,彩通每年也會推出「年度色」(Color of the Year),用以為每個新年的定錨,引領流行趨勢之餘,也隱含著一定的精神意涵。比如早已公布了的2020年代表色「經典藍」(Classic Blue,#0F4C81)就有著寧靜、沉穩的意涵;2019年的「活珊瑚橘」(Living Coral,#FF6F61),則象徵著鼓舞、生機蓬勃。彩通的2021年代表色目前仍尚未公布。
而相應於年度色,彩通近年推出的幾個新色調,則通常與社會議題倡議相互連動。比如最新設計調配的色調「月經紅」,彩通形容這是一種「活力與冒險並存的紅色色調」,其目的便是希望藉此「讓有月經的人們,也能對自己的模樣與現狀感到驕傲。」
「雖然全球幾十億人口,都共有月經這樣的生理現象,但月經在歷史上卻一直被視作見不得、說不得的私密議題。在大眾文化裡,月經也常被人們以極其錯誤、毫無同情心的方式描述,甚至被拿來開玩笑嘲諷。」與彩通合作倡議月經去汙名化的Intimina如此解釋。
在許多文化傳統中,月經依然被視為恥辱禁忌,也因此讓女性承受許多負面的社會壓力。比如:月經來潮的女性,被禁止進入特定的宗教、公共場所;過去十年,由於社經地位、貧富差距、衛教觀念等因素所致的「月經貧困」(period poverty),使女性無法負擔或取得衛生棉、衛生棉條等生理產品,這類的社會議題也引發諸多討論。
除了「月經紅」外,彩通過去曾推出過的全新色調還有以瑞典經典童書《長襪皮皮》主角為靈感的「長襪皮皮橘」(Pippi Longstocking Orange),倡議兒童議題關注;還有「發光藍」、「發光黃」、「發光紫」(Glowing Blue, Glowing Yellow and Glowing Purple),這三個珊瑚代表色,以喚起海洋暖化威脅珊瑚生存的環境議題。
Photo Credit:Pantone+Intimina
#月經紅 #Period #Red #彩通 #月經 #女性 #去汙名化 #Pantone #Intimina #menstruation #color #women #stigma #periodpoverty #國際新聞 #udnglobal #轉角國際
pms pantone 在 CSR在天下 Facebook 的精選貼文
每日一色你來挑戰 Zoom In & Zoom Out
#猜猜答
今日解答:是【未來放映機|直奔2030新世界的17項行動】。
【橘紅】
近期最重要的活動,你有跟上?http://bit.ly/SDGsfuturecinema
先坐好,帶上你的爆米花。
歡迎來到「未來放映機」,現在即將播映——
[ 您的放映發生未知錯誤 ]
… …Error 404 ( ){
message= “future_city”; “csr_cw”
};
-
原本想讓你們看看美好永續的未來,但世界必須優先處理完17項緊急任務!
性別平權、公共衛生、教育平權、國際夥伴合作、環境永續… …每個問題都需要大家分進合擊。
聽起來離你很遙遠?其實我們身邊早就很多人起身行動。例如, 阿滴英文 呼籲 #WHO 納入台灣聲音; 台客劇場 TKstory發起淨灘企劃,讓更多人加入海洋保護行列; 為台灣而教 Teach For Taiwan - TFT 耕耘偏鄉教育,把更多師資與創新送進小校;為了阻擋疫情蔓延, 衛生福利部 和更多醫學專業人士不辭辛勞,守護我們的健康… …。
這些日常的議題,你關注了、參與過,其實你早就是裡面的一份子。
而這17項目標,就是聯合國「2030永續發展目標」(Sustainable Develpoment Goals, SDGs),希望在2030年前,全球政府與企業共同解決難題、一起邁向永續。
現在,「未來放映機」正上映各國與全台的SDGs實行案例,從全球願景、城市策略到企業實踐,一同追求共好。
此外,我們邀請台灣城市首長、跨國及本地企業代表壓軸出場,分享他們對SDGs17項目標的思考與實踐。3/25準時首映,敬請期待活動頁!
最後,今日的橘紅色代表著SDGs的第5項目標,就是實現性別平等,並賦予婦女權力。
台灣女性國會議員比例居冠亞洲、還選出首任女性總統
蔡英文 Tsai Ing-wen ——我們正在實現這項目標的路上。
其他顏色挑戰,去 未來城市FutureCity
===
【橘紅】RED ORANGE
• PMS: BRIGHT RED C
• C 0 M 90 Y 94 K 0
• R 255 G 58 B 33
• HEX : #FF3A21
===
#colorchallenge #ZoomOut
#SDGs #永續發展目標 #聯合國永續發展目標
#未來城市 #智慧城市 #橘紅色 #顏色 #Pantone