ภาพที่ละเอียดที่สุดของพื้นผิวดวงอาทิตย์
ภาพแรกสุดจากกล้องโทรทรรศน์ Daniel K. Inouye Solar Telescope (DKIST) เปิดเผยให้เห็นถึงรายละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ในระดับที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน
กล้องโทรทรรศน์ Inouye Solar Telescope นั้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ทำการสังเกตดวงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดบนโลก โดยมีขนาดถึง 4 เมตร ตั้งอยู่บนยอดเขา Haleakala บนเกาะ Maui ของหมู่เกาะฮาวาย โดยชื่อของเขา Haleakala นั้นมาจากภาษาฮาวายที่แปลว่า "ที่พำนักของดวงอาทิตย์" โดยตำแหน่งทีอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลทำให้หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์นี้สามารถหลีกหนีจากชั้นบรรยากาศบางส่วนไปได้ และยังได้อยู่เหนือมาจากเส้นขอบฟ้า ทำให้เห็นแสงอาทิตย์นานกว่าที่ระดับน้ำทะเลถึงวันละ 15 นาที
สิ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์นั้นจะปลดปล่อยสนามแม่เหล็กและอนุภาคพลังงานสูงเข้าสู่อวกาศและมายังโลกของเรา เรียกว่า "สภาพอวกาศ" (space weather) สภาพอวกาศที่แปรปรวนนี้อาจจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนเครื่องมือสื่อสาร ดาวเทียม ไปจนถึงระบบไฟฟ้าบนโลกของเราได้ การศึกษาดวงอาทิตย์ในระดับใกล้ชิดนี้จึงช่วยให้เราสามารถ "พยากรณ์" สภาพอวกาศล่วงหน้าได้ด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้น
ภาพแรกของ Inouye Solar Telescope นี้เผยให้เห็นถึงรายละเอียดพื้นผิวของดวงอาทิตย์ในระดับที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน พื้นผิวของดวงอาทิตย์นั้นประกอบไปด้วยพลาสมาร้อนที่เดือดอยู่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์ที่เห็นนี้ มีขนาดใหญ่พอๆ กับรัฐเท็กซัสในประเทศสหรัฐอเมริกา และเกิดขึ้นจากพลาสมาที่หมุนวนพยายามเอาความร้อนจากภายในดวงอาทิตย์ขึ้นมาสู่พื้นผิว และเมื่อนำมาสู่พื้นผิวแล้วจึงเย็นตัวลง และตกกลับลงไปยังเบื้องล่างอีกครั้ง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการพาความร้อน (convection) ในลักษณะเดียวกับหม้อซุปที่กำลังเดือดอยู่
การรวมพลังงานกว่า 13 กิโลวัตต์จากดวงอาทิตย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และก่อให้เกิดความร้อนที่สูง กล้องโทรทรรศน์จึงจำเป็นต้องมีระบบการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ ระบบท่อยาวกว่า 7 ไมล์ช่วยกระจายสารหล่อเย็นไปทั่วหอสังเกตการณ์ และใช้น้ำแข็งช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนี้ ยังมีระบบ adaptive optics ที่ขยับกระจกเพื่อชดเชยการแปรปรวนที่เกิดขึ้นจากชั้นบรรยากาศของโลก ผลที่ได้ก็คือความละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่ไม่มีกล้องใดเทียบเคียงได้ โดยรายละเอียดที่เล็กที่สุดที่กล้องสามารถบันทึกได้ มีขนาดเพียงแค่ขนาดเกาะแมนฮัตตันในมหานครนิวยอร์ก
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงภาพแรกของอุปกรณ์เพียงอุปกรณ์เดียวเพียงเท่านั้น หอสังเกตการณ์ DKIST นี้มีแผนจะปฏิบัติการไปอีกอย่างน้อย 44 ปี เพื่อที่จะได้บันทึกวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์ถึงสี่รอบ และอุปกรณ์อื่นๆ จะค่อยๆ ทยอยติดตั้งตามมาทีหลัง ข้อมูลที่ได้จาก DKIST รวมกับ Parker Solar Probe ขององค์การอวกาศ NASA และ Solar Orbiter ขององค์การอวกาศ NASA ร่วมกับ ESA จะช่วยทำให้เราสามารถไขความลับอีกมากเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ และต้นกำเนิดของลมสุริยะที่มีผลต่อโลกของเรา
ภาพ: NSO/NSF/AURA
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.nso.edu/inouye-solar-telescope-first-light/
[2] https://www.space.com/first-sun-image-from-massive-solar-te…
[3] https://phys.org/…/2020-01-nsf-solar-telescope-images-sun.h…
「parker solar probe images」的推薦目錄:
parker solar probe images 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最讚貼文
ภาพที่ละเอียดที่สุดของพื้นผิวดวงอาทิตย์
ภาพแรกสุดจากกล้องโทรทรรศน์ Daniel K. Inouye Solar Telescope (DKIST) เปิดเผยให้เห็นถึงรายละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ในระดับที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน
กล้องโทรทรรศน์ Inouye Solar Telescope นั้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ทำการสังเกตดวงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดบนโลก โดยมีขนาดถึง 4 เมตร ตั้งอยู่บนยอดเขา Haleakala บนเกาะ Maui ของหมู่เกาะฮาวาย โดยชื่อของเขา Haleakala นั้นมาจากภาษาฮาวายที่แปลว่า "ที่พำนักของดวงอาทิตย์" โดยตำแหน่งทีอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลทำให้หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์นี้สามารถหลีกหนีจากชั้นบรรยากาศบางส่วนไปได้ และยังได้อยู่เหนือมาจากเส้นขอบฟ้า ทำให้เห็นแสงอาทิตย์นานกว่าที่ระดับน้ำทะเลถึงวันละ 15 นาที
สิ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์นั้นจะปลดปล่อยสนามแม่เหล็กและอนุภาคพลังงานสูงเข้าสู่อวกาศและมายังโลกของเรา เรียกว่า "สภาพอวกาศ" (space weather) สภาพอวกาศที่แปรปรวนนี้อาจจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนเครื่องมือสื่อสาร ดาวเทียม ไปจนถึงระบบไฟฟ้าบนโลกของเราได้ การศึกษาดวงอาทิตย์ในระดับใกล้ชิดนี้จึงช่วยให้เราสามารถ "พยากรณ์" สภาพอวกาศล่วงหน้าได้ด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้น
ภาพแรกของ Inouye Solar Telescope นี้เผยให้เห็นถึงรายละเอียดพื้นผิวของดวงอาทิตย์ในระดับที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน พื้นผิวของดวงอาทิตย์นั้นประกอบไปด้วยพลาสมาร้อนที่เดือดอยู่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์ที่เห็นนี้ มีขนาดใหญ่พอๆ กับรัฐเท็กซัสในประเทศสหรัฐอเมริกา และเกิดขึ้นจากพลาสมาที่หมุนวนพยายามเอาความร้อนจากภายในดวงอาทิตย์ขึ้นมาสู่พื้นผิว และเมื่อนำมาสู่พื้นผิวแล้วจึงเย็นตัวลง และตกกลับลงไปยังเบื้องล่างอีกครั้ง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการพาความร้อน (convection) ในลักษณะเดียวกับหม้อซุปที่กำลังเดือดอยู่
การรวมพลังงานกว่า 13 กิโลวัตต์จากดวงอาทิตย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และก่อให้เกิดความร้อนที่สูง กล้องโทรทรรศน์จึงจำเป็นต้องมีระบบการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ ระบบท่อยาวกว่า 7 ไมล์ช่วยกระจายสารหล่อเย็นไปทั่วหอสังเกตการณ์ และใช้น้ำแข็งช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนี้ ยังมีระบบ adaptive optics ที่ขยับกระจกเพื่อชดเชยการแปรปรวนที่เกิดขึ้นจากชั้นบรรยากาศของโลก ผลที่ได้ก็คือความละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่ไม่มีกล้องใดเทียบเคียงได้ โดยรายละเอียดที่เล็กที่สุดที่กล้องสามารถบันทึกได้ มีขนาดเพียงแค่ขนาดเกาะแมนฮัตตันในมหานครนิวยอร์ก
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงภาพแรกของอุปกรณ์เพียงอุปกรณ์เดียวเพียงเท่านั้น หอสังเกตการณ์ DKIST นี้มีแผนจะปฏิบัติการไปอีกอย่างน้อย 44 ปี เพื่อที่จะได้บันทึกวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์ถึงสี่รอบ และอุปกรณ์อื่นๆ จะค่อยๆ ทยอยติดตั้งตามมาทีหลัง ข้อมูลที่ได้จาก DKIST รวมกับ Parker Solar Probe ขององค์การอวกาศ NASA และ Solar Orbiter ขององค์การอวกาศ NASA ร่วมกับ ESA จะช่วยทำให้เราสามารถไขความลับอีกมากเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ และต้นกำเนิดของลมสุริยะที่มีผลต่อโลกของเรา
ภาพ: NSO/NSF/AURA
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.nso.edu/inouye-solar-telescope-first-light/
[2] https://www.space.com/first-sun-image-from-massive-solar-telescope.html
[3] https://phys.org/news/2020-01-nsf-solar-telescope-images-sun.html
parker solar probe images 在 Parker Solar Probe - Facebook 的推薦與評價
Parker Solar Probe. Posts. About. Photos. Videos. More. Posts. About. Photos. Videos. Photos. Parker Solar Probe's Photos. Albums. More. ... <看更多>
parker solar probe images 在 Observations With Parker Solar Probe's 7th Solar Encounter 的推薦與評價
The configuration of this particular orbit placed Parker Solar Probe on ... Galaxy Images, Nasa Images, Nasa Photos, Black Eye Galaxy, Different Galaxies,. ... <看更多>