คำปรารถรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ไทย-อังกฤษ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF THAILAND
HIS MAJESTY KING MAHA VAJIRALONGKORN BODINDRADEBAYAVARANGKUN
Enacted on the 6th Day of April B.E. 2560;
Being the 2nd Year of the Present Reign.
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๖๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม กุกกุฏสมพัตสร จิตรมาส ชุณหปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล เมษายนมาส ฉัฏฐสุรทิน ครุวาร โดยกาลบริเฉท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลว่า นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้ดำรงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการปกครองให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หาทางออกไม่ได้ เหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มี
ผู้ไม่นำพาหรือไม่นับถือยำเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมืองทุจริตฉ้อฉลหรือบิดเบือนอำนาจ หรือขาดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งจำต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากกฎเกณฑ์ การเมือง
การปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้ความสำคัญแก่รูปแบบ และวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐาน
ในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรมของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการแตกต่างไปจากเดิมให้ได้ผล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘
จึงได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครอง และเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น โดยได้กำหนดกลไกเพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่
ด้วยการจัดโครงสร้างของหน้าที่และอำนาจขององค์กรต่าง ๆ
ตามรัฐธรรมนูญ และสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับ
ฝ่ายบริหารให้เหมาะสม การให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่น
ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต เที่ยงธรรมและมีส่วนในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤติของประเทศตามความจำเป็นและความเหมาะสม
การรับรอง ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจนและครอบคลุมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยถือว่าการมีสิทธิเสรีภาพเป็นหลักการจำกัดตัดสิทธิเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น แต่การใช้
สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองส่วนรวม การกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชนเช่นเดียวกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อรัฐ การวางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ และการกำหนดมาตรการป้องกันและบริหารจัดการวิกฤติการณ์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจน ได้กำหนดกลไกอื่น ๆ ตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ระบุไว้
เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศตามแนวนโยบายแห่งรัฐ
และยุทธศาสตร์ชาติซึ่งผู้เข้ามาบริหารประเทศแต่ละคณะจะได้กำหนดนโยบายและวิธีดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป ทั้งยังสร้างกลไกในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญและจำเป็นอย่างร่วมมือร่วมใจกัน รวมตลอดทั้งการลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อให้ประเทศมีความสงบสุข
บนพื้นฐานของความรู้รักสามัคคีปรองดอง การจะดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ จำต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประชาชนทุกภาคส่วนกับหน่วยงานทั้งหลายของรัฐตามแนวทางประชารัฐภายใต้กฎเกณฑ์ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและประเพณีการปกครอง
ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และลักษณะสังคมไทย หลักความสุจริต หลักสิทธิมนุษยชน และหลักธรรมาภิบาล อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งในทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในการดำเนินการดังกล่าว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ได้สร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ในหลักการและเหตุผลของบทบัญญัติต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงร่างรัฐธรรมนูญและความหมายโดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสารัตถะของร่างรัฐธรรมนูญด้วยการเสนอแนะข้อควรแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก็ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดยสรุปในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าใจ
เนื้อหาสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญได้โดยสะดวกและเป็นการทั่วไป และจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่
ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติเสนอประเด็นเพิ่มเติมอีกประเด็นหนึ่งเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในคราวเดียวกันด้วย การออกเสียงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยคะแนนเสียงข้างมากของ
ผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมดังกล่าว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงดำเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติม และได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเป็นการชอบด้วยผลการออกเสียงประชามติแล้วหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
แก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางส่วน และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการแก้ไขตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา
แก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระราชานุมัติ
จึงมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม
ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตั้งแต่
วันประกาศนี้เป็นต้นไป
ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์
ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้
เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของ
ปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ
May there be virtue. Today is the tenth day of the waxing moon in the fifth month of the year of
the Rooster under the lunar calendar, being Thursday,
the sixth day of April under the solar calendar,
in the 2560th year of the Buddhist Era.
His Majesty King Maha Vajiralongkorn
Bodindradebayavarangkun is graciously pleased to
proclaim that the Prime Minister has respectfully informed that since PhrabatSomdet Phra Paramintharamaha Prajadhipok Phra Pokklao Chaoyuhua graciously granted
the Constitution of the Kingdom of Siam, B.E. 2475 (1932), Thailand has continuously and always maintained
the intention to adhere to a democratic regime of government with the King as Head of State. Even though Constitutions have been annulled, amended and promulgated on several occasions to suitably reorganise governance, there was still no stability or order due to various problems and conflicts. At times, those events degenerated into Constitutional crises which cannot be resolved. This was partially caused by there being persons ignoring or disobeying governance rules of the country, being corrupt and fraudulent, abusing power, and lacking a sense of responsibility towards the nation and the people, resulting in the ineffective enforcement of law. It is, therefore, necessary to prevent and rectify these matters by reforming education and law enforcement, and strengthening the system of merits and ethics.
Other causes are governance rules which are inappropriate to the situation of the country and the times,
the prioritisation of forms and procedures over basic principles of democracy, or the failure to effectively apply, during the crises, existing rules to individuals’ behaviours and situations, the forms and procedures of which differ from those of the past.
The Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014) Amendment (No. 1), B.E. 2558 (2015) accordingly provides that there shall be a Constitution Drafting Committee to draft a Constitution to be used
as the principle of governance and as a guide for preparing organic laws and other laws by prescribing
new mechanisms to reform and strengthen the governance of the country. This is to be carried out by: appropriately restructuring the duties and powers of organs under
the Constitution and the relationship between the legislative and executive branches; enabling Court institutions and
other Independent Organs that have duties to scrutinise
the exercise of State powers to perform their duties efficiently, honestly and equitably, and to participate in preventing or solving national crises, as necessary and appropriate; guaranteeing, safeguarding and protecting Thai people’s rights and liberties more clearly and inclusively by holding
that the Thai people’s rights and liberties are the principle, while the restriction and limitation thereon are exceptions, provided that the exercise of such rights and liberties must be subject to the rules for protecting the public; prescribing the duties of the State towards people,
as well as requiring the people to have duties towards the State; establishing strict and absolute mechanisms to prevent, examine and eliminate dishonest act and wrongful conduct to prevent executives who lack moral virtue, ethics and good governance from ruling the country or using power arbitrarily; prescribing measures to prevent and manage crises in the country more efficiently;
and, prescribing other mechanisms in accordance with the direction specified by the Constitution of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014). These are to be used as
a framework for developing the country, in line with
the directive principles of State policies and the National Strategy, from which each Administration shall prescribe
the appropriate policies and implementation. Additionally, this establishes mechanisms to work together to reform the country in various aspects that are important
and necessary, as well as to reduce the causes of conflict, so that the country can be at peace on the basis of unity and solidarity. The successful implementation of these matters demands cooperation among the people from all parts and all agencies of the State, in accordance with the direction of the Civil State, pursuant to the rules
under the principles of a democratic regime of government and constitutional conventions that are suited to
the situation and the nature of Thai society, the principles
of good faith, human rights and good governance.
This will in turn drive the country to progressively develop to become stable, prosperous and sustainable, politically, economically and socially, under the democratic regime of government with the King as Head of State.
Pursuant to the foregoing undertakings,
the Constitution Drafting Committee has periodically imparted knowledge and understanding to the people
of the principles and rationale of provisions of the Draft Constitution, has provided the people opportunities to widely access to the Draft Constitution and its meaning through different media, and has involved the people
in the development of the essence of the Draft Constitution
through receiving recommendations on possible revisions. Once the preparation of the Draft Constitution was complete, copies of the Draft Constitution and a brief primer
were disseminated in a way which allowed the people to easily and generally understand the main provisions of the Draft Constitution, and a referendum was arranged to approve the entire Draft Constitution. In this regard,
the National Legislative Assembly also passed a resolution
introducing one additional issue to be put to vote
in referendum on the same occasion. The outcome of the referendum was such that people having the right to vote, by a majority of votes of the people voting in the referendum, approved such Draft Constitution and additional issue. The Constitution Drafting Committee accordingly revised the relevant parts of the Draft Constitution to be
in accordance with the outcome pertaining to
the additional issue of the referendum, and referred
the revision to the Constitutional Court for consideration
as to whether it is in conformity with the outcome of the referendum. The Constitutional Court thereafter rendered
a decision for the Constitution Drafting Committee to partially revise the texts. The Constitution Drafting Committee has made a revision according to the decision of
the Constitutional Court. Accordingly, the Prime Minister respectfully presented the Draft Constitution to the King. Thereafter, the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 Amendment (No. 4), B.E. 2560 (2017) provides that the Prime Minister may respectfully ask for the return of that Draft Constitution from the King
to make an amendment thereto on certain issues.
After the amendment is complete, the Prime Minister thereby respectfully presented the Draft Constitution to the King for signature and subsequent promulgation
as the Constitution of the Kingdom of Thailand, and
the King deemed it expedient to grant His Royal assent.
Be it, therefore, commanded by the King that
the Constitution of the Kingdom of Thailand be promulgated to replace, as from the date of its promulgation,
the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014) promulgated on the 22nd July B.E. 2557.
May all Thai people unite in observing, protecting and upholding the Constitution of the Kingdom of Thailand in order to maintain the democratic regime of government
and the sovereign power derived from the Thai people, and to bring about happiness, prosperity and dignity to His Majesty’s subjects throughout the Kingdom according to the will of His Majesty in every respect.
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...