เตรียมย้ายไปพรฮับ
RIP Youtube
เอาจริง ๆ เรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับแอดตรง ๆ หรอก
เพราะว่ามันเกี่ยวกับ Youtube
.
แต่การเปลี่ยนแปลงใน Youtube ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อ Caster หลายคนในบ้านเรา
แต่ก็ยังไม่มีการพูดถึงกันนัก
.
วันนี้จะพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้ Creator ส่วนใหญ่ในบ้านเราเสียรายได้ไป 90 %
(ข้อมูลอาจไม่สมบูรณ์ถูกต้อง 100% เพราะแอดไม่ได้เรียนกฏหมาย ใครสนใจก็สามารถศึกษาข้อมูลและมาพูดคุยกันได้)
.
.
เรื่องมันเริ่มตั้งแต่ปี 1998
FTC หน่วยงานหลักที่บริหารควบคุมกิจกรรมต่างๆในพาณิชย์อิเลคโทรนิกส์
ที่มีหน้าที่หลักในการปกป้องผู้บริโภคใน สหรัฐอเมริกา
ได้ออกกฏหมายใหม่ชื่อย่อว่า COPPA
(The Children's Online Privacy Protection)
ซึ่งเป็นกฏหมายที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
.
จุดประสงค์ของ COPPA คือป้องกันไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีเอาข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ไปให้กับเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยผู้ปกครองไม่ยินยอม
เพราะกลัวว่าข้อมูลเหล่านั้นจะถูกใช้ในทางผิดกฏหมาย
.
แต่ผ่านไป 15 ปี ในปี 2013
FTC เล็งเห็นว่าภัยที่แท้จริงไม่ใช่การที่เด็กจะเอาข้อมูลไปบอกเว็บต่าง ๆ หรอก
แต่เป็น Cookies ข้อมูลที่อยู่บนคอมพิวเตอร์/มือถือเรา
ที่มีข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ เบอร์โทร
ซึ่งเว็บไซต์ต่างมักเก็บข้อมูลจาก Cookies เราแล้วนำไปขาย ให้กับคนที่ลงโฆษณาออนไลน์ เพื่อที่จะสามารถแสดงโฆษณาได้ตรงกับที่แต่ละคนสนใจ
.
ซึ่งเว็บต่าง ๆ รวมทั้ง Youtube เองก็เก็บ Cookies และที่ FTC เล็งเห็นเว็บไซต์ต่าง ๆ เก็บ Cookies ที่สร้างโดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จึงแก้กฏหมาย COPPA
.
โดยให้ รวม Cookies เป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่สามารถเก็บได้หากถูกสร้างโดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี
ซึ่งหลาย ๆ เว็บก็ปรับตัวตามและเลิกเก็บ Cookies
แต่ว่า Youtube ไม่ปรับตามกฏแล้วอ้างว่า Youtube เป็นสื่อสำหรับคนที่อายุมากกว่า 13 ปีนะ ไม่ได้มีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก
.
ซึ่ง FTC ก็เชื่อและปล่อย Youtube ไป
.
.
แต่ก็อย่างที่เรารู้กัน Youtube มันเก็บข้อมูลทุกอย่างจริง ๆ เพื่อเอาไปขายให้กับคนอยากยิงโฆษณา และ เอาโฆษณาลงตามคลิปกันเพียบเลย
.
โฆษณาที่มีเป้าหมายเฉพาะบุคคลนั้น ๆ เรียก Personalize Ads เป็นการเอาข้อมูลจากเราแต่ละคนไปดูว่าสนใจอะไรอยู่แล้วก็ยิงโฆษณาที่เราน่าจะสนใจมาให้เรา
.
Personalize Ads เนี่ยสามารถทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้มากกว่าการโฆษณาแบบยิงสุ่ม ๆ ให้ทุกคนเห็น
มันจึงเป็นแหล่งเงินชั้นดีของ Youtube ซึ่ง Youtube ก็ได้แบ่งรายได้ส่วนนั้นให้กับ Creator Youtuber แคสเตอร์ต่าง ๆ เพื่อให้คนเหล่านี้ทำวีดีโอลงให้คนมาดูอีกเยอะ ๆ
.
แต่ในช่วงปีนี้ Youtube ก็เปลี่ยนนโยบายเรื่องความหยาบคาย
คือถ้าคลิปมีเนื้อหาผู้ใหญ่ เช่นเนื้อหาทางเพศ คำหยาบ การใช้คำรุนแรง มุข 18+ จะทำให้ไม่สามารถหารายได้จากคลิปนั้นได้
.
.
การเปลี่ยนนโยบายนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะมันทำให้ Youtuber ต่าง ๆ หันมาสร้างเนื้อหาที่สามารถให้เด็กดูได้เป็นหลักแทน ก็เพราะมันทำเงินได้
.
เนื้อหาที่เป้าหมายเป็นเด็กกลายเป็นเนื้อหาที่หารายได้มากที่สุดใน Youtube
ลองไปกดมาแรง หมวดเกมบน Youtube สิ
เกือบทั้งหมดเป็นเกมที่เด็ก ๆ ชอบเล่นทั้งนั้น Roblox Minecraft เกมที่เด็ก ๆ ชอบดู เห็นได้ชัดว่าเล็งกลุ่มเป้าหมายไปที่เด็ก
.
Youtuber ที่ทำเงินได้มากที่สุดในโลกก็คือช่อง
Ryan ToysReview ซึ่งก็เป็นช่องรีวิวของเล่นเด็ก
.
เห็นได้ชัดว่าเด็กกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของ Youtube ไป
.
.
ในปี 2019 Youtube เลยโดนฟ้องเพราะไปโกหกหน้าตายว่าเด็กไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลัก
แต่เห็น ๆ กันว่าใช่ แถมยังไปเก็บ Cookies มาทำโฆษณาให้เด็กดูอีก ผิดกฏหมาย COPPA เห็น ๆ
ซึ่งขอพูดกันตรง ๆ ว่าที่ Youtube แพ้เพราะปากตัวเองแท้ ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่ในเงื่อนไขการใช้งาน Youtube ก็เขียนบอกว่าต้องอายุ 13 ปีขึ้นไป ใช่เด็กอาจจะโกหกอายุและมาแอบดู Youtube ได้ แต่ว่านั้นก็เป็นเพราะเด็กอยากดูเอง เพราะพ่อแม่ยอมให้เด็กเล่นเอง Youtube ไม่ได้ผิด
แต่ที่ Youtube ผิดก็เพราะดันไปเที่ยวป่าวประกาศว่า Youtube เป็นเว็บที่เด็กดูมากที่สุดให้กับผู้ลงโฆษณา ทั้งที่ก่อนหน้านี้บอกว่าให้ไม่ให้เด็กต่ำกว่า 13 ดู
ดูยังไงก็แพ้คดีแน่นอน
.
Youtube จึงโดนปรับเงิน 170,000,000 $ พร้อมกับทำข้อตกลงกับ FTC ในการจัดการกับเนื้อบน Youtube ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ซึ่งบอกเลยว่าแย่มาก ๆ เพราะมันจะทำให้ Creator ขาดรายไปจนถึงช่องบินได้เลย
.
ตอนนี้ Youtube มีการตั้งค่าใหม่ให้กับผู้สร้างเนื้อบน Youtube ทุกคนว่า เนื้อหาของคุณเป็นเนื้อหา สำหรับเด็กหรือไม่ เพื่อปรับตามกฏหมาย COPPA โดย Youtube จะไม่เก็บข้อมูลจากคลิปคุณ และจะไม่ลงโฆษณาแบบ Personalize Ads ด้วย แปลว่าเนื้อหาคุณจะเสียรายได้ถึง 90% เลย
OMG
.
และถ้าคุณฝ่าฝืน หรือโกหกปรับไม่ตรงกับเนื้อหาของคุณ
เนื้อหาของคุณจะโดนลบ ช่องอาจโดนแบน และถ้าคุณอยู่สหรัฐอเมริกาคุณอาจโดนฟ้องโดย FTC และเสียค่าปรับ 40,000+ $
.
แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าเนื้อหาของคุณเข้าข่ายเนื้อหาเด็กหรือไม่
Youtube ก็ได้ให้กฏมาด้วยว่าเนื้อหาใดเข้าข่าย
.
ก็มีตั้งแต่แบบว่า เนื้อหาคุณมีเป้าหมายเป็นเด็กโดยตรงหรือไม่ซึ่งอันนี้คนที่รู้ดีที่สุดคือคนทำคลิป
เนื้อหาคุณมีตัวการ์ตูน Animation หรือไม่
มีของเล่น ขนมขบเคี้ยว อาหารเช้า Cereal หรือไม่
มีเด็กอยู่ในคลิปหรือไม่
มีกิจกรรมที่เด็กสนใจหรือไม่ เช่นการละเล่น วีดีโอเกม
มีภาษาวัยรุ่นที่เด็กสนใจหรือไม่
มีข้อความแสงสีดึงดูดเด็กหรือไม่
มีตัวการ์ตูนหรือคนดังที่เด็กชอบหรือไม่
และถ้าคุณไม่แน่ใจ Youtube ก็ให้คุณปรึกษานักกฏหมายเอานะจ๊ะ
.
.
ซึ่งฟังมาจากทั้งหมดแล้ว โคตรแย่
ใช่อยู่เนื้อหาสำหรับเด็กอย่างนิทานหรือการ์ตูน ต้องตีเป็นเนื้อหาเด็กอยู่แล้ว
แต่ว่าวีดีโอเกมละ
การที่คุณมีเนื้อหาเล่น วีดีโอเกม ก็สามารถถูกตีความเป็นเนื้อหาเด็กได้
เหล่าแคสเตอร์งานงอกเลย
โดยเฉพาะที่เล่น Roblox Minecraft
พี่เอกที่เล่น Planet Zoo ยังไม่รู้จะรอดมั้ย
แถมยังมีอีกหลาย ๆ ช่องที่รีวิวของเล่นต่าง ๆ
VRZO ก็มีภาษาวัยรุ่น และข้อความแสงสีไม่น้อย
ทั้ง ๆ ที่หลายช่องไม่ได้เล็งเป้าหมายหลักเป็นเด็ก แต่ถ้าตรงตามเงื่อนไขก็มีความเป็นไปได้ที่จะโดนด้วยเช่นกันจากคำนิยามด้านบน
.
ถ้าช่องเหล่านี้ถ้าถูกนับว่าเป็นเนื้อหาสำหรับเด็กจะถูกลดรายได้ถึง 90%!! หนักเอามาก ๆ
.
มิหนำซ้ำ เนื้อหาที่เป็นของเด็กยังตัด Features ไปเกือบหมด
คลิปจะไม่สามารถค้นหาได้ในช่องค้นหา
จะไม่เด้งเป็นแจ้งเตือนให้เห็น ไม่มีในช่องแนะนำด้านข้าง
ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้
คือถ้าคุณอยากดูคลิปใหม่ คุณต้องกดเข้าไปใน Profile ช่องเท่านั้นอะ
.
หักเงินไม่พอ ยังลดคนดูอีกต่างหาก
.
และถ้าคุณไม่ยอมจำแนกว่าคลิปคุณเป็นคลิปเด็กหรือเปล่า Youtube จะใช้ Machine Learning มาจำแนกให้คุณ
ซึ่งบอกตามตรงว่าทำงานได้โคตรแย่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
เตรียมเจอ Happy Tree Friends และ South Park ตีเป็นเนื้อหาเด็กแน่นอน
.
กฏหมาย COPPA โคตรแย่ FTC โคตรเลว
CEO ของ Youtube
Susan Wojcicki บอกว่าคนที่ออกกฏหมายของ FTC บางคนไม่มีมือถือด้วยซ้ำ
ให้คนที่ไม่มีแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ มาออกกฏหมายในยุค 2019
.
.
และถ้าคุณคิดว่าอยู่ไทยคงไม่เป็นไรละก็
ไม่ Youtube บอกว่ากฏนี้มีผลใช้ทั่วโลก
แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง เรื่องนี้แอดไม่แน่ใจ
เพราะว่า FTC ยังเปิดรับฟังความเห็นเพื่อปรับแก้กฏหมายและข้อตกลงอยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าเราในฐานะคนนอกสหรัฐอเมริกาจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
แต่ถ้าสนใจก็ไปค้นหาเเพิ่มเติมได้
.
.
FTC ไม่ใข้คนผิดฝ่ายเดียวหรอก
Youtube เป็นตัวร้ายเช่นกันในเรื่องนี้
เพราะ Youtube เป็นคนที่เก็บข้อมูลจากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี
ทว่าพอตอนนี้กลับบอกว่า Youtuber ต้องมารับผิดชอบด้วยโดยตัดเงินโฆษณา ต้องบอกว่าเนื้อหาคุณเป็นเนื้อหาเด็ก และถ้าเนื้อหาคุณไม่ได้บอกว่ามีเป้าหมายเพื่อเด็ก แต่ FTC คิดว่ามันเป็น คุณก็มีโอกาสโดนฟ้อง โดนลบคลิปและปิดช่อง ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่ Youtuber แค่ทำคลิปออกมา ซึ่งไม่ได้ผิดกฏหมาย COPPA เลย
Youtube เองต่างหากที่ผลักความรับผิดชอบในการจัดการเนื้อหามาให้ Youtuber เป็นหลัก
.
Youtube สามารถที่จะจัดการระบบโดยเคร่งครัดไม่ให้เด็กต่ำกว่า 13 ปี มาดูเนื้อหาบน Youtube ได้ไม่ยาก
แค่บังคับให้ทุกคนต้องมีบัญชีและต้องยืนยันว่าตนอายุ 13 ปีก็จบแล้ว
.
ไม่ Youtube ไม่ทำแบบนั้น
ที่จริงความผิดของ Youtube คือการเก็บข้อมูลจากเด็ก
แค่ Youtube ไม่เก็บก็จบ
ไม่เห็นจำเป็นต้อง ยกเลิกการหารายได้โดยการไม่ลงโฆษณา
ไม่จำเป็นต้องยกเลิกการแจ้งเตือน หรือทำให้คลิปถูกค้นหาไม่เจอเลย
สิ่งที่ Youtube ทำเหมือนบอกใบ้ให้พวก Creator เลิกทำเนื้อหาเด็กแบบอ้อม ๆ
ทำไมนะหรอ เพราะว่า Youtube ไม่สามารถเก็บข้อมูลเอาไปขายให้กับลูกค้าที่ลงโฆษณาได้ยังไงละ
.
.
Youtube โคตรใจร้ายกับ Creator เลย
คือก่อนหน้านี้ทำเนื้อหาผู้ใหญ่ไม่ได้
ตอนนี้ก็ทำเนื้อหาเด็กไม่ได้ด้วย
แล้วที่นี้จะเหลืออะไรให้ Youtuber ทำ
.
และที่เลวร้ายที่สุด คือ มันมีทางออกทางกฏหมายแต่ Youtube ไม่บอกด้วย
คือ FTC ได้ให้เงื่อนไขของกฏหมาย COPPA ไว้ในปี 2015 ว่า มันมีสิ่งที่เรียกว่า เนื้อหาสำหรับทุกเพศทุกวัย
ซึ่งหมายความว่า เป็นเนื้อหาที่ไม่ได้เล็งแค่เด็ก แต่วัยอื่น ๆ ก็ดูได้
และกฏหมาย COPPA ไม่สามารถมีผลต่อเนื้อหาจำพวกนี้ได้
เพราะกฏหมายนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อเนื้อหาของคุณมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 และจงใจเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายนี้โดยเฉพาะ
.
หมายความว่าช่องเกมต่าง ๆ สามารถบอกว่าเนื้อหาเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย ก็สามารถที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฏหมายได้แล้ว
.
.
แต่ Youtube กลับบีบบังคับให้คนแยกเลยว่าให้เด็กดู หรือ ไม่ให้เด็กดู ซึ่งเป็นการจำกัดเกินไป เช่น พี่เอก HRK ถึงจะเล่นเกมแต่วัยรุ่นผู้ใหญ่ก็ดูได้ เด็กหลายคนก็ชอบ แต่ถ้าทำตามกฏของ Youtube พี่เอกก็จะกลายเป็นเนื้อหาสำหรับเด็กและจะไม่แจ้งเตือน ให้ใครเห็นอีก
มันแย่นะ การเหมารวมเอาแบบนี้หมด
.
วงในจาก Youtube ก็ออกมาใบ้ว่าทำไม Youtube ถึงไม่ให้ทางเลือก เนื้อหาสำหรับทุกเพศทุกวัยละ
คำตอบคือ เพราะจะทำให้บริษัทได้กำไรน้อยลง
.
WTF การที่ Youtube ไม่สามารถเก็บข้อมูลแบบเจาะจงหรือการยิงโฆษณาตรงกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เสียกำไร
จึงบีบบังคับ Youtuber ให้ดิ้นรนเพื่อจะได้กำไรมากขึ้น
Youtuber คนไหนอยู่ไม่ได้ก็ตายไป
.
.
Youtuber ทำคลิปที่เหมาะกับเด็กไม่ได้เพราะมันจะไม่แจ้งเตือนรายได้ก็ลดลง 90%
ทำคลิป 18+ ก็ไม่ได้เพราะจะะหารายได้ไม่ได้
คนที่หาเลี้ยงชีพด้วย Youtube อยู่ยากแน่ ๆ
ช่องใหญ่คงได้รับผลกระทบเยอะ
ช่องเล็ก ๆ คงดับเลย ไปหางานอื่นทำ
แล้วต่อไปจะเหลืออะไรบน Youtube ละ
.
.
.
สำหรับใครที่สนใจเรื่องนี้ก็มาดูคลิปที่แอดดูได้ที่นี่
https://youtu.be/pwnvjuCTb54
https://youtu.be/3GwDrHOe43E
https://youtu.be/pd604xskDmU
https://youtu.be/Ms2fXk7eaxQ
https://youtu.be/0veLrwd9CK4
https://youtu.be/xDJw4L1P_2s
https://youtu.be/GHMjD0Lp5DY
RIP Youtube
Seriously, this has nothing to do with add straight.
Because it's about Youtube
.
But this change on Youtube will impact many caster in our house.
But there is no mention yet.
.
Today I will talk about changes that will cost most creators in our home. 90 % of income.
(information may not be complete. 100 % correct because admin hasn't studied law. Anyone is interested can study information and let's talk)
.
.
The story started in 1998
Ftc main agencies that manage various activities in commercial electronics
The main duty to protect consumers in the United States.
Got a new law. Initials Coppa
(The Children's Online Privacy Protection)
Which is a law that protects personal information of children under 13
.
The purpose of coppa is to prevent children under the age of 13 years of 13 years of personal information such as names, addresses, phone numbers to websites without consent.
For fear that the information will be used in law.
.
But 15 years passed in 2013
The FTC sees that the real threat is not for kids to tell the web.
But cookies. Information on our computer / mobile phone.
With Personal Information, address, phone number.
Websites often collect information from cookies and sell to people who advertise online so they can show ads exactly what they are interested.
.
The Web, including Youtube, collect cookies and ftc, looking for websites that collect cookies created by children under the age of 13, so they solve coppa law.
.
Include cookies as personal information that cannot be collected if it is created by children under 13
Many web adapt and stop picking cookies
But Youtube doesn't adjust the rules and claims that Youtube is the media for people over 13 years old. They don't have kids as the main audience.
.
Ftc believes and releases Youtube
.
.
But as we know, Youtube really collect all the information to sell it to those who want to shoot ads and put ads on the clip at cuddle
.
Advertisement with a specific person called personalize ads to take information from each of us. See what they are interested in. Shoot us an ad we should be interested in.
.
Personalize Ads can make customers buy more products than random shooting advertising for everyone to see.
So it's a great source of Youtube, which youtube has shared that income for creator youtuber castor so these people can make videos for many people to watch.
.
But during this year, Youtube changed the policy on rudeness.
Well, if the clip contains adult content such as sexual content, profanity, using severe words, 18 + jokes will not earn money from that clip.
.
.
Changing this policy makes a huge change because it makes youtuber turn to create content that can show kids because they make money.
.
The content that targets kids becomes the most earning content on Youtube.
Try to hit the game category on Youtube
Most of them are games that kids love to play. Roblox Minecraft. The game that kids love to watch. Apparently aiming at kids.
.
Youtuber that makes the most money in the world is channel
Ryan toysreview which is also a review channel for children's toys.
.
Apparently kids become Youtube's main audience
.
.
In 2019, Youtube got sued because he lied to death that the kid is not the main audience.
But I see that it's right and I went to collect cookies to make advertisement for kids. It's illegal. Coppa. See.
Let me say that youtube lost because of his mouth. Even in terms of use, Youtube says that it has to be 13 years old or older. Yes, kids may lie to age and sneak peek at Youtube. But it's because kids want to watch it. Because parents let kids play by themselves. Youtube is not wrong.
But Youtube is wrong because I'm going to travel. I announced that Youtube is the most watched web for advertisers. I told you not to let kids under 13 watch.
No matter how I watch it, I will lose the case
.
So Youtube got paid 170,000,000 $ with ftc deal with meat on Youtube last September.
Which I can tell you that it's very bad because it will make creator to the flight channel.
.
Youtube now has a new set for all youtube meat creators whether your content is child content. to adjust according to coppa law. Youtube will not collect data from your clip and will not advertise ads. It means your content. I will lose 90 % of income.
OMG
.
And if you disobey or lie, adjust your content
Your content will be deleted. It may be banned and if you live in usa you may be sued by ftc and pay 40,000 + $
.
So how do you know if your content fits kid's content?
Youtube also gives rules which content fits.
.
It's like, is your content directly targeted as a kid. This is the one who knows best is the clip maker.
Content do you have an animation cartoon character?
Is there a cereal breakfast snack toy?
Is there a kid in the clip
Are there activities that kids are interested in such as playing video games
Is there a teenage language that children are interested in?
Is there a light message attracted to children?
Is there a cartoon character or celebrity that kids like?
And if you're not sure, Youtube will let you consult the lawyers.
.
.
Which has heard from all of them is so bad
Yes, kids content like tales or comics must be childish content
But video games
The way you have video game content can be interpreted as child content.
Castor. Work is growing.
Especially playing roblox minecraft
Brother Ek who plays planet zoo doesn't know if he will survive.
Plus, there are many more channels that review toys.
Vrzo also has teenage language and light messages
Although many channels are not aiming for the main goal as a kid, but if it meets the conditions, there is a possibility of getting hit as well from the definition above.
.
If these channels, if they are counted as content for children, they will be reduced to 90 %!! very heavy.
.
Repeated content that belongs to children still cut off most of the features
Clip will not be searched in search box
Won't bounce as a notification. No side suggestion.
Can't comment
Well, if you want to watch the new clip, you must click into profile channel only.
.
Not enough deduction. Still reduce the audience.
.
And if you don't classify that clip, are you a kid's clip? Youtube will use machine learning to classify you.
Which honestly works pretty bad from past experience
Get ready to meet happy tree friends and south park. It's content for sure.
.
Coppa law is so bad. FTC is so bad
CEO of Youtube
Susan Wojcicki says some ftc law people don't even have mobile phones
Let people who don't even have cell phones come to law in the 2019 s.
.
.
And if you think it's okay to live in Thailand.
No, Youtube says this rule is effective around the world.
So what can we do about this? I'm not sure.
Because the ftc is still open to hear opinions to solve laws and agreements, but not sure what we as outsiders can do.
But if interested, go find out more.
.
.
The FTC is not one on the wrong side.
Youtube is a villain as well on this
Because Youtube is the one who keeps data from children under 13
But now I say that youtuber is responsible by cutting off ad money. You have to say that your content is young content. and if your content is not saying that you are targeted for kids, but ftc thinks it is, you have a chance to be sued, deleted and close the whole channel What Youtuber just made a clip which is not illegal coppa
Youtube is primarily pushing the responsibility of managing content for youtuber.
.
Youtube can strictly manage the system from children under 13 years to watch content on Youtube.
Just forcing everyone to have an account and confirm that they are 13 years old is done.
.
No Youtube don't do that
In fact, Youtube's fault is keeping information from children.
Just Youtube doesn't keep it. It's done.
No need to cancel income without advertising
No need to cancel notifications or make the clip unsearchable
What Youtube does like hints for creators to stop making kid content indirectly
Why? Because Youtube can't sell it to customers who advertise
.
.
Youtube is so mean to creator
Well, I couldn't make adult content earlier.
Now can't make kids content too
So what's left for youtuber to do
.
And the worst thing is that there is a legal solution but youtube doesn't tell.
Well, the ftc provided coppa law conditions in 2015 that it has what is called content for all ages.
Which means it's content that is not only aiming for young but other ages can watch.
And Coppa law cannot affect these content
Because this law only applies when your content has a primary audience, children under 13 and deliberately collect information from this audience.
.
It means that game channels can say content is for all ages. It can avoid legal issues.
.
.
But Youtube forced people to separate whether they let kids watch or not to watch. Which is too limited. Such as brother ek hrk. Even if they play games, teenagers, adults can watch it. Many kids like it. But if they follow youtube rules, brother ek. Will become content for kids and won't notify anyone else
It's too bad. It's all like this.
.
The inner circle from Youtube also comes out why youtube doesn't provide content choices for all ages.
The answer is because it will make companies less profit.
.
WTF. Youtube can't store specific data or shooting ads straight to the audience makes profit.
So I forced youtuber to struggle to gain more profit.
Any Youtuber can't live then die
.
.
Youtuber can't make a clip that fits kids because they won't alert. Income is reduced by 90 %
I can't make a clip of 18 + because I can't earn money.
People who earn a living with Youtube will be hard to live.
The big channel must have affected a lot.
The small channel must have gone out so I went to find another job.
So what's left on Youtube
.
.
.
For those who are interested in this, check out the clip that you can watch here.
https://youtu.be/pwnvjuCTb54
https://youtu.be/3GwDrHOe43E
https://youtu.be/pd604xskDmU
https://youtu.be/Ms2fXk7eaxQ
https://youtu.be/0veLrwd9CK4
https://youtu.be/xDJw4L1P_2s
https://youtu.be/GHMjD0Lp5DYTranslated
「rule of law และ rule of person」的推薦目錄:
- 關於rule of law และ rule of person 在 JZB Studio Facebook 的最讚貼文
- 關於rule of law และ rule of person 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於rule of law และ rule of person 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於rule of law และ rule of person 在 Rule of Law กับ Rule by Law ต่างกันยังไง NOT ME | เขา...ไม่ใช่ ... 的評價
rule of law และ rule of person 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"การตีความกฎหมาย (Interpretation Law)"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
การตีความกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะการตีความกฎหมายนี้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายจะได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาในทางกฎหมายต่างๆ ได้เสมอ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ศึกษากฎหมายจะต้องศึกษาการตีความกฎหมาย วินิจฉัยข้อเท็จจริงมาปรับเข้ากับบทกฎหมายในการตอบปัญหาในทางกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นที่จะต้องศึกษาการตีความกฎหมายให้เข้าใจถ่องแท้
1. ความหมายและความจำเป็นที่ต้องตีความกฎหมาย
การที่เราจะเข้าใจของการตีความกฎหมายเราจำเป็นต้องเข้าใจความหมายการตีความกฎหมายหมายถึงอะไรและทำไมต้องมีความจำเป็นที่ต้องตีความกฎหมาย ดังนี้
1.1 ความหมายของการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมาย คือ การตี “ถ้อยคำ”ของกฎหมายให้ได้เป็น “ข้อความ” ที่จะนำไปใช้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท คำว่า “ตี” เป็นกริยาอาการอย่างหนึ่ง เมื่อใช้กับถ้อยคำก็คือการทำความหมายของถ้อยคำให้ชัดแจ้ง “การตีความหมาย” กับ “การแปลความหมาย” จะมีความใกล้เคียงกัน
แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อแตกต่างกัน คือ “การแปลความหมาย” เป็นการกระทำตรงไปตรงมา ไม่ต้องขบคิดค้นหาอะไรมาก ความในภาษาหนึ่งเป็นอย่างไร แปลงไปสู่อีกภาษาหนึ่งให้ตรงกันก็ได้ แต่ “การตีความหมาย” คือการขบคิดค้นหาอะไรที่ปกปิดอยู่ลึกลับให้เปิดเผยกระจ่าง
การตีความจึงจะต้องเป็นการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึกเพื่อนำไปสู่ผลสรุปที่ถูกต้องที่ดีและเป็นธรรม
ดังนั้น การตีความกฎหมาย หมายถึงการขบคิดค้นหาจากบทบัญญัติของกฎหมายโดยวิธีใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความของกฎหมายที่จะนำไปใช้วินิจฉัยคดีข้อพิพาทได้อย่างถูกต้อง คือ เหมาะสมและเป็นธรรม การตีความกฎหมายจึงมีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญ คือ
1. การตีความกฎหมายจะต้องตีความจากบทบัญญัติถ้อยคำของกฎหมาย
2. การตีความเป็นการขบคิดค้นหาคำตอบทางกฎหมายอย่างใช้เหตุผลไม่ใช่การทาย หรือเดาสุ่ม
3. การตีความเป็นการใช้สติปัญญาอย่างมุ่งวัตถุประสงค์ที่ขบคิดค้นหา “ข้อความ” ที่จะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ได้ผลที่ถูกต้องและเป็นธรรม
1.2 ความจำเป็นในการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายนั้นเกิดขึ้นเมื่อจะต้องปรับกฎหมายที่ต้องใช้ เข้ากับข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องเฉพาะรายที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย ความจำเป็นที่ต้องตีความกฎหมาย มีดังนี้คือ
1.2.1 ถ้อยคำในกฎหมายมีความหมายหลายนัย
คำทุกคำในทุกภาษามีความหมายได้หลายนัยและผู้ร่างกฎหมายเองเมื่อต้องใช้คำเหล่านี้ก็มักเลือกใช้คำที่มีความหมายกว้างพอควรเพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้มากพอ ยกตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราได้ ถ้ามีความจำเป็นรีบด่วนและลับ เป็นเรื่องที่ต้องตีความว่า อะไรรีบด่วน อะไรคือลับ จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายใช้ดุลพินิจให้ความหมายแก่บทบัญญัตินั้นๆ เพื่อนำมาใช้กับข้อเท็จจริงตามควร
1.2.2 องค์กรที่มีหน้าที่ใช้กฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมาย
องค์กรที่มีหน้าที่ใช้กฎหมายในระบบกฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมายทั้งสิ้น แต่ในระบบกฎหมายจะมีการจัดลำดับให้การตีความขององค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นที่ยุติไม่อาจโต้แย้งและมีผลในระบบกฎหมายได้เสมอ เช่น ในปัญหาการตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญ ก็ให้อำนาจองค์กรทั้งหลายไว้อย่างน้อย 4 องค์กร คือ คณะรัฐมนตรีผู้พิจารณาร่างพระราชกำหนด พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรมาภิไธย สภาทั้งสองสภา (วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร) ซึ่งจะต้องให้ความเห็นชอบ และท้ายที่สุด คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการตีความของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นที่สุดในระบบกฎหมาย
1.2.3 การตีความกฎหมายให้เหมาะสมกับ เวลา สถานที่และบุคคล
กฎหมายนั้นใช้โดยคนในเวลาที่ต่างๆ กัน เมื่อเวลาเปลี่ยนไปคนเปลี่ยนไปอุดมการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองเปลี่ยนไป เมื่อเราอ้างเจตนารมณ์นั้นในความเป็นจริงไม่ได้หยุดนิ่งตลอดเช่นนั้นแต่เปลี่ยนไปตามตัวผู้ใช้กฎหมายในยุคสมัยต่างๆ กัน
ดังนั้น การตีความกฎหมาย จึงหมายถึง การให้ความหมายต่อถ้อยคำในกฎหมายว่ามีความหมายใดและความหมายที่ให้นี้เองเป็นเกณฑ์ที่แท้จริงของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ในการใช้บังคับกฎหมายทุกกรณีจึงต้องมีการตีความกฎหมายอยู่เสมอไป แต่อย่างไรก็ตาม การตีความกฎหมายจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อกฎหมายมีบทบัญญัติ “ไม่ชัดเจน” ถ้าบทบัญญัติชัดเจนแล้ว ก็ไม่ต้องตีความ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะการที่จะทราบว่าบทบัญญัตินั้นมีความชัดเจน ก็ต้องเข้าใจความหมายหรือความหมายต่อบทบัญญัตินั้นเสียก่อน และการให้ความหมายต่อบทบัญญัตินี่เองคือการตีความ
2. หลักทั่วไปในการตีความกฎหมาย
หลักทั่วไปของการตีความกฎหมายนั้นจะมี หลักการตีความกฎหมาย 2 หลัก คือ การตีความตามตัวอักษรและหลักการตีความตามเจตนารมณ์ซึ่งจะต้องตีความควบคู่กันไป แยกอธิบายได้ดังนี้
2.1 การตีความตามตัวอักษร
การตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรตามที่ปรากฏหรือตามที่เข้าใจในวงการ แยกออกได้ดังนี้ คือ
1. ภาษาธรรมดา ย่อมมีความหมายธรรมดา เช่น คำว่า คนใช้ กับ คนงาน ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่วๆไปเข้าใจ คือ หมายความถึงบุคคลที่ทำงานเพื่อรับจ้างเป็นต้น หรือถือตามความหมายที่บัญญัติในพจนานุกรม เป็นต้น
2. ภาษาเทคนิค คือ ภาษาเฉพาะ จึงต้องเข้าใจตามภาษาของกฎหมายที่ใช้อยู่
เช่น คำว่า หนี้ ซึ่งความหมายทั่วๆไปอาจจะหมายถึง หนี้เงิน แต่ในทางกฎหมายนั้นหนี้ได้แก่พันธะหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นต้น
3. นิยามศัพท์ได้แก่คำที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษ ต่างจาก
ความหมายทั่วๆไป เช่นความหมายของคำว่า ป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 บัญญัติว่า “ป่า หมายความว่าที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน” ดังนี้ คำว่าป่าจึงอาจเป็นที่ดินที่ไม่มีต้นไม้แม้แต่ต้นเดียวก็ได้ หากไม่มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
4. ศัพท์กฎหมายที่ไม่แจ้งชัด บางทีกฎหมายบัญญัติถ้อยคำที่ไม่แจ้งชัด ทำให้
ต้องตีความ ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เป็นถ้อยคำที่ต้องตีความโดยอาศัยความรับผิดชอบ ประเพณี และกาลเทศะประกอบ เป็นต้น
2.2. การตีความตามเจตนารมณ์
การตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริง อาจพิจารณาจาก
1. บันทึกหลักการและเหตุผลในร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายนั้นๆ เป็นเครื่องช่วยในการตีความกฎหมายตามเจตนารมณ์ได้
2. ประวัติศาสตร์ของกฎหมายแต่ละฉบับ หรือ สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนวันใช้บังคับกฎหมายมีอยู่อย่างไรก็จะช่วยให้ทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น
3. พิจารณาจากกฎหมายในมาตรานั้นเองหรือหลายๆมาตราในเรื่องเดียวกัน ก็พอจะทราบได้ว่ากฎหมายในเรื่องนี้มีเจตนารมณ์อย่างไร
4. พิจารณาจากเหตุผลในการแก้กฎหมาย โดยดูว่า ก่อนจะมีกฎหมายที่แก้ไขนี้กฎหมายเดิมว่าไว้อย่างไร มีข้อบกพร่องประการใด และกฎหมายที่แก้ไขแล้วนี้ได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวอย่างไร
5. การบัญญัติกฎหมายย่อมมุ่งหมายที่จะให้ใช้บังคับได้ หากตีความแล้วปรากฏว่าใช้กฎหมายนั้นไม่ ย่อมไม่ใช่เจตนารมณ์
6. บทกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้น ย่อมเป็นเจตนารมณ์ที่จะให้ตีความอย่างแคบ จึงควรต้องตีความอย่างแคบ
3. การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายปัจจุบัน
การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายปัจจุบันที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันว่าระบบกฎหมายใหญ่ๆของโลกมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) กับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วระบบกฎหมายทั้งสองระบบนั้นการตีความกฎหมายจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของการตีความกฎหมายทั้งระบบ ดังนี้คือ
3.1 หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะอธิบายการตีความกฎหมายอังกฤษเป็นหลักซึ่งเป็นแม่แบบหรือต้นแบบของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ประกอบไปด้วยหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ หลักเอ๊กคิวตี้(หลักยุติธรรม)หลักกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ขึ้นโดยรัฐสภาที่เป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ ดังนั้นหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จะกล่าวถึงการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องเท่านั้น
หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เป็นที่ทราบทั่วไปมี 3 หลัก คือ
1. หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule)
2. หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
3. หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (Mischief Rule)
3.1.1 หลักการตีความถ้อยคำตัวอักษร (Literal Rule)
หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษรนี้ผู้พิพากษาหรือผู้มีหน้าที่ในการตีความกฎหมายจะแปลถ้อยคำในบทบัญญัติกฎหมายที่เป็นปัญหาด้วยการอาศัยความหมายธรรมดา หรือความหมายปกติของถ้อยคำนั้นๆ เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงว่าผลจากการแปลถ้อยคำตามความหมายธรรมดาเหล่านั้น จะมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด (ทั้งนี้เว้นแต่ถ้อยคำนั้น จะมีความหมายเฉพาะในลักษณะที่เป็นการกำหนดไว้เป็นบทนิยามศัพท์) โดยวิธีการตีความตามตัวอักษรนี้ ผู้พิพากษาหรือผู้ที่มีหน้าที่ตีความที่จะต้องพิจารณา ความหมายในทางภาษามากกว่าที่จะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆ เพราะในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นแนวความคิดของผู้พิพากษาของศาลอังกฤษถือว่าในการตีความกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นเป็น บทกฎหมายนั้น ศาลไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างหลักกฎหมาย กล่าวคือ ไม่เหมือนกับการทำหน้าที่ของศาลสูงในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่เกิดจากข้อพิพาททั่วไป ซึ่งในกรณีนั้นศาลสูงจะเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
ตัวอย่าง คดีที่ศาลสูงอังกฤษตัดสินคดีโดยใช้หลัก การตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule)คดี Rv Harris เมื่อปี ค.ศ.1836 ที่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดความผิดไว้สำหรับผู้ที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ คือ “stap cut or wound another person” ซึ่งในคดีนี้ปรากฏว่าในการต่อสู้กัน นาง Harris ได้กัดจมูกของเพื่อนเธอและได้กัดนิ้วของนายตำรวจที่เข้ามาห้ามปรามอีกด้วย มีปัญหาว่า นาง Harris กระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ ในคดีนี้ศาลตัดสินว่า นาง Harris ไม่มีความผิด เนื่องจากถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทนั้นแสดงให้เห็นว่าจะต้องเป็นการใช้สิ่งที่เป็นอาวุธ ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นเป็นการใช้ฟันกัดศาลไม่ถือว่าเป็นการใช้อาวุธ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ในการตีความตามถ้อยคำตามตัวอักษรได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากนักกฎหมายอังกฤษทั้งที่เป็นผู้พิพากษาในระดับสูงและนักกฎหมายทั่วไป 2 ประการคือ
ประการแรก เห็นว่าการยึดมั่นในถ้อยคำนั้นน่าจะอยู่บนสมมติฐานที่ผิดโดยการเข้าใจว่าถ้อยคำแต่ละถ้อยคำจะมีความหมายที่เข้าใจได้โดยตัวของมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาจากเนื้อความทั้งหมดของกฎหมาย
ประการที่สอง การที่ผู้ที่มีหน้าที่ตีความกฎหมายส่วนใหญ่ใช้การตีความตามตัวอักษรโดยให้ยึดมั่นต่อการใช้ความหมายจากพจนานุกรมนั้นน่าจะไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะพจนานุกรมนั้นโดยปกติแล้วจะให้ความหมายที่ไม่มีความหมายในทางกฎหมายและย่อมมีหลายความหมาย นอกจากนั้นยังอาจจะเปลี่ยนความหมายไปโดยกาลเวลาตามสังคมบริบทในท้องถิ่นของการใช้ภาษา หรือแม้แต่เมื่อใช้คำนั้นประกอบกับบทบัญญัติอื่นๆ ในกฎหมายนั้น
จากข้อวิจารณ์หรือผลที่เกิดขึ้นจากการตีความที่ใช้หลักเกณฑ์ในการตีความตามถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) นี้ทำให้ศาลสูงของอังกฤษปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมายผ่อนคลายจากหลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษรขึ้นบ้างได้ปรับปรุงหลักตีความหลักดังกล่าวขึ้นมา คือ หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
3.1.2 หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศนี้ เพื่อไม่ให้การใช้หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) ก่อให้เกิดผลที่ประหลาดหรือไม่สอดคล้องสมเหตุสมผล
หลักการตีความหลักนี้มีสาระสำคัญว่าถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะต้องตีความไปในทางที่ละเว้นไม่ให้เกิดผลอันไม่พึงปรารถนา คือ
1. ในกรณีที่กฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นอาจแปลความหมายไปได้เป็น 2 นัย หรือมากกว่านั้น ศาลย่อมจะตีความไปในทางที่มีความหมายอันสมควรและมิใช่ไปในทางที่ไม่ควรจะเป็นหรือบังเกิดผลประหลาด
ตัวอย่างเช่น มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ “The offence against the Person Act, 1861” บัญญัติว่า “Whosoever,being married,shall marry any other person during the life of the former husban or wife shall be guilty of bigamy” มีปัญหาในคดี Rv. Allen (1872) L.R.16 C.R.36 คำว่า “mary” มีความหมายว่าสัญญาทำการสมรสโดยสมบูรณ์หรือว่ามีความหมายว่าเข้าสู่พิธีสมรส ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ในความผิดฐานสมรสซ้อนการสมรสครั้งที่สองจะเป็นการสมรสที่สมบูรณ์ไม่ได้ ดังนั้น การให้ความหมายคำว่า “marry” ว่าเป็นการทำสัญญาที่สมบูรณ์ย่อมเป็นไปไม่ได้จึงต้องใช้ความหมายที่สอง คือ เข้าสู่พิธีสมรส
2. ในกรณีที่ถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นมีความหมายตามตัวอักษรเพียงประการเดียว แต่ศาลก็ยังไม่ยอมตีความตามความหมายนั้น ถ้าหากการตีความตามตัวอักษรนั้นจะทำให้เกิดผลประหลาดในแง่ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป
ตัวอย่าง หลักกฎหมายทั่วไป เช่น “ไม่มีผู้ใดที่พึงได้ประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนเอง” ในคดีหนึ่ง คือ Re Sigsworth(1935) ในคดีนั้น บุตรฆ่ามารดาของตนเองเพื่อหวังมรดกของมารดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรม กฎหมายที่ให้บุตรผู้สืบสันดานเป็นทายาทโดยธรรมนี้คือ พระราชบัญญัติ The Administration of Estates Act,1925 ในกฎหมายฉบับนี้ถือว่า ผู้ใดก็ตามที่เป็นผู้สืบสันดานเจ้ามรดกแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ แม้แต่กระนั้นก็ตามศาลอังกฤษก็ยังตัดสินว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน ฆ่าบุพการีของตน ผู้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกไม่มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกนั้น เพราะถ้าจะถือตามตรงบทกฎหมายฉบับนี้ ก็จะขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า “ไม่มีผู้ใดที่พึงได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนเองเป็นต้น
ข้อสังเกต หลักการตีความเล็งผลเลิศนี้ในบางกรณีได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ศาลตีความตามเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยอาศัยเหตุผลอื่นนอกจากถ้อยคำและความหมายธรรมดาแห่งถ้อยคำที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งศาลไม่สมควรจะมีอำนาจจะกระทำได้เช่นนั้น
3.1.3 หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์นั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (Mischef Rule)
หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Mischief Rule) ซึ่งเป็นหลักที่มีมาก่อนหลักการตีความเล็งผลเลิศ (Goden Rule) ซึ่งเป็นหลักที่เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาตราขึ้น โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายหมายที่ตราขึ้นใหม่นั้น แต่การจะใช้การตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์เป็นเครื่องช่วยตีความนี้ (Mischief Rule) ต่อเมื่อไม่อาจจะใช้หลักกฎหมายที่เกิดจากคอมมอนลอว์ (Common Law) บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งศาลสูงของอังกฤษได้วางหลักไว้ว่าศาลจำเป็นต้องพิจารณาจากแนวทาง 4 ประการดังต่อไปนี้ คือ
1. ต้องพิจารณาว่าก่อนที่มีการตราพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นนั้นหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ในเรื่องที่เป็นปัญหามีไว้ว่าอย่างไร
2. ข้อบกพร่องที่หลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) มิได้วางเอาไว้นั้นเป็นอย่างไร
3. สิ่งที่รัฐสภาออกกฎหมายดังกล่าวมานั้นมีวิธีแก้ไขจุดบกพร่องในเรื่องนั้นไว้อย่างไร
4. เหตุผลที่แท้จริงในการกำหนดวิธีการแก้ไขจุดบกพร่องนั้นคืออะไร
อนึ่ง การตีความกฎหมายอังกฤษมาโดยเฉพาะในกฎหมายอาญาเกี่ยวกับปัญหาว่าจะตีความให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่มิได้อยู่ในขณะที่ตรากฎหมายได้หรือไม่เพียงใด ซึ่งในเรื่องนี้เดิมการตีความให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ในขณะที่ออกกฎหมายนั้นจะใช้ในกฎหมายที่มุ่งเยียวยาความเสียหาย (ทางแพ่ง) เท่านั้น จะไม่ใช้ในคดีอาญา แต่ในเรื่องนี้ ต่อมานักกฎหมายอังกฤษได้คลายความเคร่งครัดในการตีความกฎหมายอาญาลงไป
3.2 หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law)
ในส่วนนี้จะอธิบายโดยสรุปหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิวลอว์ที่ใช้กันอยู่ในประเทศภาคพื้นยุโรปที่สำคัญ คือ
1. หลักการตีความตามตัวอักษร (Grammatical Interpretation)
2. หลักการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Construction)
การตีความตามกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์การใช้และการตีความกฎหมายจะกระทำโดยการพิจารณาถ้อยคำตามตัวอักษรควบคู่กับการค้นหาเจตนารมณ์ของบทบัญญัติกฎหมายนั้นไปพร้อมๆ กันหรือที่เรียกว่าหลักการตีความตามเหตุผลทางตรรก (Logical Interpretation) เนื่องจากเหตุผลดังนี้ คือ
1) สืบเนื่องจากประวัติความเป็นมาและนิติวิธีของระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ถือว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่กำหนดขึ้น ย่อมเป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพียงประการเดียวมิได้มาจากหลักกฎหมายอื่น ทำนองเดียวกันในประเทศอังกฤษที่มีทั้งหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ดั้งเดิมและกฎหมายที่บัญญัติเฉพาะเรื่อง ซึ่งนักกฎหมายอังกฤษถือว่ากฎหมายที่บัญญัติเฉพาะเรื่องเป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
2) นักกฎหมายในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) มีทัศนะต่อการใช้การตีความกฎหมายว่าถ้อยคำที่เข้าใจว่า สามารถแปลได้ตามความหมายธรรมดานั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะถ้อยคำที่เข้าใจได้ตามความหมายธรรมดานั้น ความจริงแล้วอาจมีความหมายอย่างอื่นก็ได้ ด้วยเหตุนี้แนวคิดดั้งเดิมที่เป็นคำกล่าวในภาษาลาตินว่า “in claris non fit interpretario” (เมื่อถ้อยคำมีความชัดเจนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตีความ) ในปัจจุบันนักกฎหมายของระบบกฎหมายซีวิลลอร์ (Civil Law) เห็นว่ามิได้เป็นเช่นนั้น
แนวทางหรือหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) ส่วนใหญ่ มาจากงานค้นคว้าในทางวิชาการและโดยที่ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบที่สำคัญ เพื่อพิจารณาถึงหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมาย ซีวิลลอว์ (Civil Law) เราอาจสรุปแนวทางหรือหลักการตีความกฎหมาย ซึ่งใช้หลักการตีความตามตัวอักษรกับการตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคู่กับหลักการตีความตามเหตุผลทางตรรก ดังนี้คือ
ประการแรก ศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายจะพิเคราะห์ถ้อยคำตามตัวอักษรเป็นหลัก ถ้าปรากฏว่าจากความหมายของถ้อยคำดังกล่าวนั้นจะก็ให้เกิดผลประหลาดหรือความหมายของถ้อยคำนั้นๆ มีความหมายกำกวมอาจแปลได้หลายความหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายนั้นบกพร่อง จำเป็นต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมาย ศาลหรือผู้มีหน้าที่ในการตีความย่อมสามารถที่จะค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งวิธีการที่ประเทศต่างๆ ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) ใช้เป็นเครื่องช่วยในการตีความกฎหมายและเป็นที่ยอมรับเหมือนกันในทุกประเทศ คือ เริ่มจากการพิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายนั้นทั้งหมดที่มีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งฉบับ ซึ่งน่าจะเริ่มด้วยการพิจารณาจากโครงสร้างของกฎหมายนั้นเป็นอันดับแรกและจากบทบัญญัติทั้งหลายตามโครงสร้างของกฎหมายที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นได้ชัดเจนขึ้น
ประการที่สอง ศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมาย อาจพิเคราะห์จากประวัติความเป็นมาของการจัดทำกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า การตีความโดยอาศัยประวัติกฎหมาย (Historical Interpretation) ซึ่งสามารถค้นหาได้จากตัวร่างกฎหมายเดิมที่เสนอต่อสภา บันทึกหลักการและเหตุผล บันทึกชี้แจงในการเสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนจากรายงานของคณะกรรมาธิการของรัฐสภา หรือแม้กระทั่งรายงานการประชุมสภา
นอกจากการตีความโดยอาศัยประวัติกฎหมายแล้วมีแนวทางการตีความตามเจตนารมณ์ หรือความมุ่งหมายของกฎหมาย (Construction) ในกรณีที่ปรากฏว่าภายหลังจากที่ได้ตรากฎหมายออกมาใช้บังคับแล้ว เมื่อมีปัญหาตีความกฎหมายเกิดขึ้นอันสืบเนื่องจากมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่คาดเห็นล่วงหน้าเกิดขึ้น ซึ่งบทบัญญัติในกฎหมายเรื่องนั้นไม่ได้กล่าวถึงว่าตี่ความบทบัญญัติในกฎหมายนั้นอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เป็นที่ยอมรับว่าอาจใช้บทบัญญัตินั้นแต่กรณีที่เกิดขึ้นในภายหลังได้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
ตัวอย่าง ในการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เช่น การใช้คำว่า “หรือ” กับคำว่า “และ” ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ และแม้ในการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาเองก็เคยเกิดมีปัญหาขึ้นมาแล้ว ซึ่งคำว่า “หรือ” แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีความหมายต่างกับคำว่า “และ” แต่ในบางกรณีที่เป็นปัญหาจากบทบัญญัติว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดล่าช้างและกวางโดยไม่ได้รับอนุญาต” ในกรณีนี้ต้องเข้าใจว่าผู้ร่าง หมายถึงการห้ามล่าสัตว์อย่างหนึ่งอย่างใดก็เป็นความผิดแล้ว คงจะไม่หมายความจะต้องล่าสัตว์ทั้งสองอย่างจึงจะมีความผิด ซึ่งถ้าตีความตามถ้อยคำโดยเคร่งครัดแล้วจะทำให้ตัวบทกฎหมายนั้นเกือบจะไม่มีประโยชน์ ตามความมุ่งหมายของกฎหมายแต่อย่างใด เป็นต้น
4. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความในระบบกฎหมายไทย
การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายไทย ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) แต่อย่างไรก็ตามก็ได้รับอิทธิพลมาจากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) มาไม่น้อย เราตั้งข้อสังเกตว่าศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายยึดถือการตีความของระบบกฎหมายใด
ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องพิจารณาศึกษาการตีความกฎหมายของไทยให้ชัดเจนว่าควรจะมีแนวทางหลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมายทั่วไปของประเทศไทยจะมีอยู่ลักษณะเดียวกับระบบกฎหมายซีวิลลอร์ คือกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเป็นรูปของประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ ซึ่งจะมีหลักการตีความกฎหมายคือ การตีความกฎหมายตามตัวอักษรควบคู่กับการตี ความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมกัน จึงไม่เหมือนกับสิ่งที่เกิดในระบบคอมมอนลอว์ คือ ตีความกฎหมายตามตัวอักษร ถ้าตีความตัวอักษรล้มเหลวให้ค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น
ซึ่งประเทศไทยเราเข้าใจผิดมาช้านานและปัจจุบันก็ยังมีผู้เข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องอีกมากมาย ไทยได้รับแนวคิดจากอังกฤษ คือ มองเจตนารมณ์ก็แต่เฉพาะเมื่อการแปลตัวอักษรล้มเหลวแล้วเท่านั้น นับได้ว่าการตีความตัวบทกฎหมายนั้นต้องตีความตามตัวอักษรก่อน ไม่ค่อยถูกต้องนักและที่สำคัญการตีความกฎหมายอาญานั้นจะต้องตีความโดยจำกัดหรือตีความแคบๆ แต่ความจริงที่บอกว่าตีความตามตัวอักษรนั้น ตีความกฎหมายได้ทั้งแคบและกว้าง ซึ่งอาจจะต้องไปดูความมุ่งหมายว่าบทบัญญัติกฎหมายเรื่องนี้ ต้องการให้ใช้ความหมายตัวอักษรอย่างแคบหรืออย่างกว้าง ซึ่งเป็นการตีความตามความมุ่งหมาย ไม่ได้หมายความว่าใช้ตีความตามตัวอักษร ดังนั้นการตีความตามกฎหมายอาญาจะต้องตีความให้แคบๆ บางครั้งอาจไม่ใช่ก็ได้
การตีความกฎหมายไทยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าในการใช้และการตีความกฎหมายแตกต่างไปจากการตีความในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) จึงเป็นเหตุให้ประเทศไทยมีอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบกฎหมายของไทย ดังนั้นศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายควรศึกษาเข้าใจในระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ คอมมอนลอว์ (Common Law) และซีวิลลอว์ (Civil Law) ให้เข้าใจถ่องแท้เพื่อที่จะนำมาปรับใช้พัฒนาการตีความกฎหมายของไทยให้ถูกต้องและเป็นธรรมต่อสังคม
5. บุคคลที่เกี่ยวข้องในการตีความกฎหมาย
เมื่อกฎหมายได้ตราขึ้นใช้บังคับและ การที่จะนำกฎหมายนั้นไปปรับใช้กับ กรณีใดในเบื้องต้นจะต้องอยู่ที่ว่าการใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายว่ามีผลบังคับอย่างไร ครอบคลุมปัญหาที่พิจารณาอยู่หรือไม่ ดังนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องในการตีความกฎหมายก็คือ บุคคลที่มีหน้าที่ใช้ในระบบกฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมายทั้งสิ้นแต่ในระบบกฎหมายจะมีการจัดลำดับให้การตีความกฎหมายขององค์กรใดเป็นที่ยุติไม่อาจโต้เถียงกันต่อไปและมีผลในระบบกฎหมายได้เสมอ ซึ่งขออธิบายสรุปในเรื่องของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายของประเทศไทยเป็น
หลักเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจการตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมาย ดังนี้คือ
1. ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
2. ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยตรง
5.1 ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อมนั้น ได้แก่ ประชาชน ทนายความ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ เป็นต้น
5.1.1 การตีความกฎหมายโดยประชาชน
ประชาชนในฐานะใช้กฎหมายย่อมต้องตีความในกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนในการทำนิติกรรมสัญญาระหว่างกันโดยถูกต้อง มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร แต่อย่างไรเมื่อเกิดคดีพิพาทเกิดผู้ตีความกฎหมายขั้นสุดท้ายก็คือ ศาล ดังนั้นเราถือได้ว่าประชาชนเป็นผู้ตีความกฎหมายเหมือนกันแต่เป็นผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
5.1.2 การตีความกฎหมายโดยทนายความ
ทนายความในฐานะเป็นผู้ปรึกษากฎหมายของคู่ความในคดีที่เป็นโจทก์ หรือ จำเลย ในการต่อสู่คดีในศาล ซึ่งเป็นผู้ตีความหมายกฎหมายเหมือนกัน แต่เป็นการตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยอ้อม คือ ศาลจะเชื่อหรือไม่ก็ได้ เป็นต้น
5.1.3. การตีความกฎหมายโดยนักวิชาการด้านนิติศาสตร์
นักกฎหมาย นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ในฐานะผู้ตีความกฎหมายตามหลักการแนวคิดทฤษฎีค้นคว้างานทางวิชาการ ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ศาลยอมรับหลักการตีความของนักกฎหมาย แต่เป็นการยอมรับการตีความของนักกฎหมายที่ไม่มีชีวิตแล้ว แต่ในระบบกฎหมาย
ซีวิลลอว์นั้นศาลยอมรับหลักการตีความของนักกฎหมายฝ่ายวิชาการที่ยังมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งนักกฎหมายมีอิทธิพลสูงมากในด้านให้ความคิดเห็นแก่ศาล นอกจากศาลจะอ้างอิงเสมอแล้ว คู่ความเองก็มักจะแสดงความคิดเห็นของนักกฎหมายฝ่ายวิชาการในปัญหาข้อกฎหมายสนับสนุนคดีของตนเพื่อให้ศาลวินิจฉัยด้วย
5.2 ผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยตรง
ผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยตรงนี้มีความสำคัญมากในการตีความกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
5.2.1 การตีความกฎหมายโดยศาล
การตีความกฎหมายโดยศาล ในกรณีที่ศาลตีความ คือผู้พิพากษา หรือตุลาการมีหน้าที่พิจารณาคดีซึ่งถือว่าเป็นผู้ตีความกฎหมาย การตีความโดยศาลนี้ มีน้ำหนักมากกว่าวิธีอื่นและมีความสำคัญที่สุดเพราะถ้าคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การตีความก็เด็ดขาดคดีนั้นต้องบังคับไปตามที่ศาลตัดสิน ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ระบบศาลมีอยู่ 4 ระบบศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร
1. การตีความกฎหมายโดยศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อพิพาทตามรัฐธรรมนูญ เช่น การตีความกฎหมายนั้นขัดต่อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นต้น
2. การตีความกฎหมายโดยศาลปกครอง ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีปกครองระหว่างหน่วยของรัฐกับเอกชน และหน่วยงานของรัฐด้วยกัน หรือหน่วยของรัฐด้วยกันหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐกระทำทางปกครองเช่น องค์กรวิชาชีพ เป็นต้น
3. การตีความกฎหมายโดยศาลยุติธรรม ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงเว้นแต่คดีรัฐธรรมนูญนี้ หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและศาลทหาร
4. การตีความกฎหมายโดยศาลทหาร ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายในการ
พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ไว้ให้อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเป็นผู้ตีความกฎหมาย เป็นต้น
5.2.2 การตีความกฎหมายโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ตีความกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในระดับชาติและท้องถิ่นว่าให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คณะกรรมการป้องกันปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เป็นองค์กรของรัฐในการตีความกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้มีความผิดในการทุจริต ซึ่งเป็นองค์กรในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น
5.2.3 การตีความโดยองค์กรรัฐสภา
องค์กรรัฐสภาในฐานะ เป็นองค์กรทางการเมืองที่อำนาจหน้าที่ใช้กฎหมายและต้องตีความกฎหมาย องค์กรรัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรใช้กฎหมายและตีความกฎหมายในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจตีความกฎหมายชี้ขาดถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติหรือ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น
5.2.4. การตีความกฎหมายองค์กรรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจในการตีความกฎหมาย แยกได้ 2 ลักษณะคือ
1.ฝ่ายการการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี มีอำนาจตีความกฎหมายว่าอะไรรีบด่วน
หรือจำเป็นที่ต้องพระราชกำหนด หรือ ออกมติคณะรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาในการบริหารประเทศ
2. ฝ่ายประจำซึ่งเรียกว่าองค์กรในฝ่ายปกครอง องค์กรในฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจตีความกฎหมาย ได้แก่ หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ อัยการ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คณะกรรมการฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาท เป็นต้น
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนยังคิดว่ายังมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมาย คือ พระมหากษัตริย์ เช่นในกรณีที่ร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาจากรัฐสภาแล้ว (คือร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ) ให้นายกทูลเกล้าถวายร่างกฎหมายนั้น เพื่อทรงพระปรมาภิไธยและถ้าไม่ทรงเห็นชอบด้วยก็พระราชทานคืนมายังรัฐสภา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการตีความกฎหมาย คือ การยับยั้งร่างกฎหมาย (veto) เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ อีกครั้งหนึ่ง
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ “การตีความกฎหมาย” โครงการตำราครูทางนิติศาสตร์
ครูทางนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดชวนพิมพ์,พิมพ์
ครั้งที่3 ,2539
อักขราทร จุฬารัตน “การตีความกฎหมาย” กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กฎหมายไทย,2542
rule of law และ rule of person 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
การตีความกฎหมาย (Interpretation Law)
การตีความกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะการตีความกฎหมายนี้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายจะได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาในทางกฎหมายต่างๆ ได้เสมอ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ศึกษากฎหมายจะต้องศึกษาการตีความกฎหมาย วินิจฉัยข้อเท็จจริงมาปรับเข้ากับบทกฎหมายในการตอบปัญหาในทางกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นที่จะต้องศึกษาการตีความกฎหมายให้เข้าใจถ่องแท้
1. ความหมายและความจำเป็นที่ต้องตีความกฎหมาย
การที่เราจะเข้าใจของการตีความกฎหมายเราจำเป็นต้องเข้าใจความหมายการตีความกฎหมายหมายถึงอะไรและทำไมต้องมีความจำเป็นที่ต้องตีความกฎหมาย ดังนี้
1.1 ความหมายของการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมาย คือ การตี “ถ้อยคำ”ของกฎหมายให้ได้เป็น “ข้อความ” ที่จะนำไปใช้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท คำว่า “ตี” เป็นกริยาอาการอย่างหนึ่ง เมื่อใช้กับถ้อยคำก็คือการทำความหมายของถ้อยคำให้ชัดแจ้ง “การตีความหมาย” กับ “การแปลความหมาย” จะมีความใกล้เคียงกัน
แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อแตกต่างกัน คือ “การแปลความหมาย” เป็นการกระทำตรงไปตรงมา ไม่ต้องขบคิดค้นหาอะไรมาก ความในภาษาหนึ่งเป็นอย่างไร แปลงไปสู่อีกภาษาหนึ่งให้ตรงกันก็ได้ แต่ “การตีความหมาย” คือการขบคิดค้นหาอะไรที่ปกปิดอยู่ลึกลับให้เปิดเผยกระจ่าง
การตีความจึงจะต้องเป็นการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึกเพื่อนำไปสู่ผลสรุปที่ถูกต้องที่ดีและเป็นธรรม
ดังนั้น การตีความกฎหมาย หมายถึงการขบคิดค้นหาจากบทบัญญัติของกฎหมายโดยวิธีใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความของกฎหมายที่จะนำไปใช้วินิจฉัยคดีข้อพิพาทได้อย่างถูกต้อง คือ เหมาะสมและเป็นธรรม การตีความกฎหมายจึงมีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญ คือ
1. การตีความกฎหมายจะต้องตีความจากบทบัญญัติถ้อยคำของกฎหมาย
2. การตีความเป็นการขบคิดค้นหาคำตอบทางกฎหมายอย่างใช้เหตุผลไม่ใช่การทาย หรือเดาสุ่ม
3. การตีความเป็นการใช้สติปัญญาอย่างมุ่งวัตถุประสงค์ที่ขบคิดค้นหา “ข้อความ” ที่จะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ได้ผลที่ถูกต้องและเป็นธรรม
1.2 ความจำเป็นในการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายนั้นเกิดขึ้นเมื่อจะต้องปรับกฎหมายที่ต้องใช้ เข้ากับข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องเฉพาะรายที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย ความจำเป็นที่ต้องตีความกฎหมาย มีดังนี้คือ
1.2.1 ถ้อยคำในกฎหมายมีความหมายหลายนัย
คำทุกคำในทุกภาษามีความหมายได้หลายนัยและผู้ร่างกฎหมายเองเมื่อต้องใช้คำเหล่านี้ก็มักเลือกใช้คำที่มีความหมายกว้างพอควรเพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้มากพอ ยกตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราได้ ถ้ามีความจำเป็นรีบด่วนและลับ เป็นเรื่องที่ต้องตีความว่า อะไรรีบด่วน อะไรคือลับ จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายใช้ดุลพินิจให้ความหมายแก่บทบัญญัตินั้นๆ เพื่อนำมาใช้กับข้อเท็จจริงตามควร
1.2.2 องค์กรที่มีหน้าที่ใช้กฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมาย
องค์กรที่มีหน้าที่ใช้กฎหมายในระบบกฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมายทั้งสิ้น แต่ในระบบกฎหมายจะมีการจัดลำดับให้การตีความขององค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นที่ยุติไม่อาจโต้แย้งและมีผลในระบบกฎหมายได้เสมอ เช่น ในปัญหาการตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญ ก็ให้อำนาจองค์กรทั้งหลายไว้อย่างน้อย 4 องค์กร คือ คณะรัฐมนตรีผู้พิจารณาร่างพระราชกำหนด พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรมาภิไธย สภาทั้งสองสภา (วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร) ซึ่งจะต้องให้ความเห็นชอบ และท้ายที่สุด คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการตีความของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นที่สุดในระบบกฎหมาย
1.2.3 การตีความกฎหมายให้เหมาะสมกับ เวลา สถานที่และบุคคล
กฎหมายนั้นใช้โดยคนในเวลาที่ต่างๆ กัน เมื่อเวลาเปลี่ยนไปคนเปลี่ยนไปอุดมการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองเปลี่ยนไป เมื่อเราอ้างเจตนารมณ์นั้นในความเป็นจริงไม่ได้หยุดนิ่งตลอดเช่นนั้นแต่เปลี่ยนไปตามตัวผู้ใช้กฎหมายในยุคสมัยต่างๆ กัน
ดังนั้น การตีความกฎหมาย จึงหมายถึง การให้ความหมายต่อถ้อยคำในกฎหมายว่ามีความหมายใดและความหมายที่ให้นี้เองเป็นเกณฑ์ที่แท้จริงของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ในการใช้บังคับกฎหมายทุกกรณีจึงต้องมีการตีความกฎหมายอยู่เสมอไป แต่อย่างไรก็ตาม การตีความกฎหมายจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อกฎหมายมีบทบัญญัติ “ไม่ชัดเจน” ถ้าบทบัญญัติชัดเจนแล้ว ก็ไม่ต้องตีความ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะการที่จะทราบว่าบทบัญญัตินั้นมีความชัดเจน ก็ต้องเข้าใจความหมายหรือความหมายต่อบทบัญญัตินั้นเสียก่อน และการให้ความหมายต่อบทบัญญัตินี่เองคือการตีความ
2. หลักทั่วไปในการตีความกฎหมาย
หลักทั่วไปของการตีความกฎหมายนั้นจะมี หลักการตีความกฎหมาย 2 หลัก คือ การตีความตามตัวอักษรและหลักการตีความตามเจตนารมณ์ซึ่งจะต้องตีความควบคู่กันไป แยกอธิบายได้ดังนี้
2.1 การตีความตามตัวอักษร
การตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรตามที่ปรากฏหรือตามที่เข้าใจในวงการ แยกออกได้ดังนี้ คือ
1. ภาษาธรรมดา ย่อมมีความหมายธรรมดา เช่น คำว่า คนใช้ กับ คนงาน ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่วๆไปเข้าใจ คือ หมายความถึงบุคคลที่ทำงานเพื่อรับจ้างเป็นต้น หรือถือตามความหมายที่บัญญัติในพจนานุกรม เป็นต้น
2. ภาษาเทคนิค คือ ภาษาเฉพาะ จึงต้องเข้าใจตามภาษาของกฎหมายที่ใช้อยู่
เช่น คำว่า หนี้ ซึ่งความหมายทั่วๆไปอาจจะหมายถึง หนี้เงิน แต่ในทางกฎหมายนั้นหนี้ได้แก่พันธะหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นต้น
3. นิยามศัพท์ได้แก่คำที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษ ต่างจาก
ความหมายทั่วๆไป เช่นความหมายของคำว่า ป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 บัญญัติว่า “ป่า หมายความว่าที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน” ดังนี้ คำว่าป่าจึงอาจเป็นที่ดินที่ไม่มีต้นไม้แม้แต่ต้นเดียวก็ได้ หากไม่มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
4. ศัพท์กฎหมายที่ไม่แจ้งชัด บางทีกฎหมายบัญญัติถ้อยคำที่ไม่แจ้งชัด ทำให้
ต้องตีความ ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เป็นถ้อยคำที่ต้องตีความโดยอาศัยความรับผิดชอบ ประเพณี และกาลเทศะประกอบ เป็นต้น
2.2. การตีความตามเจตนารมณ์
การตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริง อาจพิจารณาจาก
1. บันทึกหลักการและเหตุผลในร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายนั้นๆ เป็น
เครื่องช่วยในการตีความกฎหมายตามเจตนารมณ์ได้
2. ประวัติศาสตร์ของกฎหมายแต่ละฉบับ หรือ สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนวันใช้
บังคับกฎหมายมีอยู่อย่างไรก็จะช่วยให้ทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น
3. พิจารณาจากกฎหมายในมาตรานั้นเองหรือหลายๆมาตราในเรื่องเดียวกัน ก็
พอจะทราบได้ว่ากฎหมายในเรื่องนี้มีเจตนารมณ์อย่างไร
4. พิจารณาจากเหตุผลในการแก้กฎหมาย โดยดูว่า ก่อนจะมีกฎหมายที่แก้ไขนี้
กฎหมายเดิมว่าไว้อย่างไร มีข้อบกพร่องประการใด และกฎหมายที่แก้ไขแล้วนี้ได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวอย่างไร
5. การบัญญัติกฎหมายย่อมมุ่งหมายที่จะให้ใช้บังคับได้ หากตีความแล้วปรากฏ
ว่าใช้กฎหมายนั้นไม่ ย่อมไม่ใช่เจตนารมณ์
6. บทกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้น ย่อมเป็นเจตนารมณ์ที่จะให้ตีความอย่างแคบ จึง
ควรต้องตีความอย่างแคบ
3. การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายปัจจุบัน
การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายปัจจุบันที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันว่าระบบกฎหมายใหญ่ๆของโลกมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) กับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วระบบกฎหมายทั้งสองระบบนั้นการตีความกฎหมายจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของการตีความกฎหมายทั้งระบบ ดังนี้คือ
3.1 หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะอธิบายการตีความกฎหมายอังกฤษเป็นหลักซึ่งเป็นแม่แบบหรือต้นแบบของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ประกอบไปด้วยหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ หลักเอ๊กคิวตี้(หลักยุติธรรม)หลักกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ขึ้นโดยรัฐสภาที่เป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ ดังนั้นหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จะกล่าวถึงการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องเท่านั้น
หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เป็นที่ทราบทั่วไปมี 3 หลัก คือ
1. หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule)
2. หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
3. หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (Mischief Rule)
3.1.1 หลักการตีความถ้อยคำตัวอักษร (Literal Rule)
หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษรนี้ผู้พิพากษาหรือผู้มีหน้าที่ในการตีความกฎหมายจะแปลถ้อยคำในบทบัญญัติกฎหมายที่เป็นปัญหาด้วยการอาศัยความหมายธรรมดา หรือความหมายปกติของถ้อยคำนั้นๆ เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงว่าผลจากการแปลถ้อยคำตามความหมายธรรมดาเหล่านั้น จะมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด (ทั้งนี้เว้นแต่ถ้อยคำนั้น จะมีความหมายเฉพาะในลักษณะที่เป็นการกำหนดไว้เป็นบทนิยามศัพท์) โดยวิธีการตีความตามตัวอักษรนี้ ผู้พิพากษาหรือผู้ที่มีหน้าที่ตีความที่จะต้องพิจารณา ความหมายในทางภาษามากกว่าที่จะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆ เพราะในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นแนวความคิดของผู้พิพากษาของศาลอังกฤษถือว่าในการตีความกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นเป็น บทกฎหมายนั้น ศาลไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างหลักกฎหมาย กล่าวคือ ไม่เหมือนกับการทำหน้าที่ของศาลสูงในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่เกิดจากข้อพิพาททั่วไป ซึ่งในกรณีนั้นศาลสูงจะเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
ตัวอย่าง คดีที่ศาลสูงอังกฤษตัดสินคดีโดยใช้หลัก การตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule)
คดี Rv Harris เมื่อปี ค.ศ.1836 ที่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดความผิดไว้สำหรับผู้ที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ คือ “stap cut or wound another person” ซึ่งในคดีนี้ปรากฏว่าในการต่อสู้กัน นาง Harris ได้กัดจมูกของเพื่อนเธอและได้กัดนิ้วของนายตำรวจที่เข้ามาห้ามปรามอีกด้วย มีปัญหาว่า นาง Harris กระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ ในคดีนี้ศาลตัดสินว่า นาง Harris ไม่มีความผิด เนื่องจากถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทนั้นแสดงให้เห็นว่าจะต้องเป็นการใช้สิ่งที่เป็นอาวุธ ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นเป็นการใช้ฟันกัดศาลไม่ถือว่าเป็นการใช้อาวุธ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ในการตีความตามถ้อยคำตามตัวอักษรได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากนักกฎหมายอังกฤษทั้งที่เป็นผู้พิพากษาในระดับสูงและนักกฎหมายทั่วไป 2 ประการคือ
ประการแรก เห็นว่าการยึดมั่นในถ้อยคำนั้นน่าจะอยู่บนสมมติฐานที่ผิดโดยการเข้าใจว่าถ้อยคำแต่ละถ้อยคำจะมีความหมายที่เข้าใจได้โดยตัวของมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาจากเนื้อความทั้งหมดของกฎหมาย
ประการที่สอง การที่ผู้ที่มีหน้าที่ตีความกฎหมายส่วนใหญ่ใช้การตีความตามตัวอักษรโดยให้ยึดมั่นต่อการใช้ความหมายจากพจนานุกรมนั้นน่าจะไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะพจนานุกรมนั้นโดยปกติแล้วจะให้ความหมายที่ไม่มีความหมายในทางกฎหมายและย่อมมีหลายความหมาย นอกจากนั้นยังอาจจะเปลี่ยนความหมายไปโดยกาลเวลาตามสังคมบริบทในท้องถิ่นของการใช้ภาษา หรือแม้แต่เมื่อใช้คำนั้นประกอบกับบทบัญญัติอื่นๆ ในกฎหมายนั้น
จากข้อวิจารณ์หรือผลที่เกิดขึ้นจากการตีความที่ใช้หลักเกณฑ์ในการตีความตามถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) นี้ทำให้ศาลสูงของอังกฤษปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมายผ่อนคลายจากหลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษรขึ้นบ้างได้ปรับปรุงหลักตีความหลักดังกล่าวขึ้นมา คือ หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
3.1.2 หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศนี้ เพื่อไม่ให้การใช้หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) ก่อให้เกิดผลที่ประหลาดหรือไม่สอดคล้องสมเหตุสมผล
หลักการตีความหลักนี้มีสาระสำคัญว่าถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะต้องตีความไปในทางที่ละเว้นไม่ให้เกิดผลอันไม่พึงปรารถนา คือ
1. ในกรณีที่กฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นอาจแปลความหมายไปได้เป็น 2 นัย หรือมากกว่านั้น ศาลย่อมจะตีความไปในทางที่มีความหมายอันสมควรและมิใช่ไปในทางที่ไม่ควรจะเป็นหรือบังเกิดผลประหลาด
ตัวอย่างเช่น มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติ “The offence against the Person Act, 1861” บัญญัติว่า “Whosoever,being married,shall marry any other person during the life of the former husban or wife shall be guilty of bigamy” มีปัญหาในคดี Rv. Allen (1872) L.R.16 C.R.36 คำว่า “mary” มีความหมายว่าสัญญาทำการสมรสโดยสมบูรณ์หรือว่ามีความหมายว่าเข้าสู่พิธีสมรส ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ในความผิดฐานสมรสซ้อนการสมรสครั้งที่สองจะเป็นการสมรสที่สมบูรณ์ไม่ได้ ดังนั้น การให้ความหมายคำว่า “marry” ว่าเป็นการทำสัญญาที่สมบูรณ์ย่อมเป็นไปไม่ได้จึงต้องใช้ความหมายที่สอง คือ เข้าสู่พิธีสมรส
2. ในกรณีที่ถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นมีความหมายตามตัวอักษรเพียงประการเดียว แต่ศาลก็ยังไม่ยอมตีความตามความหมายนั้น ถ้าหากการตีความตามตัวอักษรนั้นจะทำให้เกิดผลประหลาดในแง่ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป
ตัวอย่าง หลักกฎหมายทั่วไป เช่น “ไม่มีผู้ใดที่พึงได้ประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนเอง” ในคดีหนึ่ง คือ Re Sigsworth(1935) ในคดีนั้น บุตรฆ่ามารดาของตนเองเพื่อหวังมรดกของมารดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรม กฎหมายที่ให้บุตรผู้สืบสันดานเป็นทายาทโดยธรรมนี้คือ พระราชบัญญัติ The Administration of Estates Act,1925 ในกฎหมายฉบับนี้ถือว่า ผู้ใดก็ตามที่เป็นผู้สืบสันดานเจ้ามรดกแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ แม้แต่กระนั้นก็ตามศาลอังกฤษก็ยังตัดสินว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน ฆ่าบุพการีของตน ผู้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกไม่มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกนั้น เพราะถ้าจะถือตามตรงบทกฎหมายฉบับนี้ ก็จะขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า “ไม่มีผู้ใดที่พึงได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนเองเป็นต้น
ข้อสังเกต หลักการตีความเล็งผลเลิศนี้ในบางกรณีได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ศาลตีความตามเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยอาศัยเหตุผลอื่นนอกจากถ้อยคำและความหมายธรรมดาแห่งถ้อยคำที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งศาลไม่สมควรจะมีอำนาจจะกระทำได้เช่นนั้น
3.1.3 หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์นั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (Mischef Rule)
หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Mischief Rule) ซึ่งเป็นหลักที่มีมาก่อนหลักการตีความเล็งผลเลิศ (Goden Rule) ซึ่งเป็นหลักที่เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาตราขึ้น โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายหมายที่ตราขึ้นใหม่นั้น แต่การจะใช้การตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์เป็นเครื่องช่วยตีความนี้ (Mischief Rule) ต่อเมื่อไม่อาจจะใช้หลักกฎหมายที่เกิดจากคอมมอนลอว์ (Common Law) บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งศาลสูงของอังกฤษได้วางหลักไว้ว่าศาลจำเป็นต้องพิจารณาจากแนวทาง 4 ประการดังต่อไปนี้ คือ
1. ต้องพิจารณาว่าก่อนที่มีการตราพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นนั้นหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ในเรื่องที่เป็นปัญหามีไว้ว่าอย่างไร
2. ข้อบกพร่องที่หลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) มิได้วางเอาไว้นั้นเป็นอย่างไร
3. สิ่งที่รัฐสภาออกกฎหมายดังกล่าวมานั้นมีวิธีแก้ไขจุดบกพร่องในเรื่องนั้นไว้อย่างไร
4. เหตุผลที่แท้จริงในการกำหนดวิธีการแก้ไขจุดบกพร่องนั้นคืออะไร
อนึ่ง การตีความกฎหมายอังกฤษมาโดยเฉพาะในกฎหมายอาญาเกี่ยวกับปัญหาว่าจะตีความให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่มิได้อยู่ในขณะที่ตรากฎหมายได้หรือไม่เพียงใด ซึ่งในเรื่องนี้เดิมการตีความให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ในขณะที่ออกกฎหมายนั้นจะใช้ในกฎหมายที่มุ่งเยียวยาความเสียหาย (ทางแพ่ง) เท่านั้น จะไม่ใช้ในคดีอาญา แต่ในเรื่องนี้ ต่อมานักกฎหมายอังกฤษได้คลายความเคร่งครัดในการตีความกฎหมายอาญาลงไป
3.2 หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law)
ในส่วนนี้จะอธิบายโดยสรุปหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิวลอว์ที่ใช้กันอยู่ในประเทศภาคพื้นยุโรปที่สำคัญ คือ
1. หลักการตีความตามตัวอักษร (Grammatical Interpretation)
2. หลักการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย (Construction)
การตีความตามกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์การใช้และการตีความกฎหมายจะกระทำโดยการพิจารณาถ้อยคำตามตัวอักษรควบคู่กับการค้นหาเจตนารมณ์ของบทบัญญัติกฎหมายนั้นไปพร้อมๆ กันหรือที่เรียกว่าหลักการตีความตามเหตุผลทางตรรก (Logical Interpretation) เนื่องจากเหตุผลดังนี้ คือ
1) สืบเนื่องจากประวัติความเป็นมาและนิติวิธีของระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ถือว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่กำหนดขึ้น ย่อมเป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพียงประการเดียวมิได้มาจากหลักกฎหมายอื่น ทำนองเดียวกันในประเทศอังกฤษที่มีทั้งหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ดั้งเดิมและกฎหมายที่บัญญัติเฉพาะเรื่อง ซึ่งนักกฎหมายอังกฤษถือว่ากฎหมายที่บัญญัติเฉพาะเรื่องเป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
2) นักกฎหมายในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) มีทัศนะต่อการใช้การตีความกฎหมายว่าถ้อยคำที่เข้าใจว่า สามารถแปลได้ตามความหมายธรรมดานั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะถ้อยคำที่เข้าใจได้ตามความหมายธรรมดานั้น ความจริงแล้วอาจมีความหมายอย่างอื่นก็ได้ ด้วยเหตุนี้แนวคิดดั้งเดิมที่เป็นคำกล่าวในภาษาลาตินว่า “in claris non fit interpretario” (เมื่อถ้อยคำมีความชัดเจนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตีความ) ในปัจจุบันนักกฎหมายของระบบกฎหมายซีวิลลอร์ (Civil Law) เห็นว่ามิได้เป็นเช่นนั้น
แนวทางหรือหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) ส่วนใหญ่ มาจากงานค้นคว้าในทางวิชาการและโดยที่ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบที่สำคัญ เพื่อพิจารณาถึงหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมาย ซีวิลลอว์ (Civil Law) เราอาจสรุปแนวทางหรือหลักการตีความกฎหมาย ซึ่งใช้หลักการตีความตามตัวอักษรกับการตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคู่กับหลักการตีความตามเหตุผลทางตรรก ดังนี้คือ
ประการแรก ศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายจะพิเคราะห์ถ้อยคำตามตัวอักษรเป็นหลัก ถ้าปรากฏว่าจากความหมายของถ้อยคำดังกล่าวนั้นจะก็ให้เกิดผลประหลาดหรือความหมายของถ้อยคำนั้นๆ มีความหมายกำกวมอาจแปลได้หลายความหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายนั้นบกพร่อง จำเป็นต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมาย ศาลหรือผู้มีหน้าที่ในการตีความย่อมสามารถที่จะค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งวิธีการที่ประเทศต่างๆ ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) ใช้เป็นเครื่องช่วยในการตีความกฎหมายและเป็นที่ยอมรับเหมือนกันในทุกประเทศ คือ เริ่มจากการพิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายนั้นทั้งหมดที่มีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งฉบับ ซึ่งน่าจะเริ่มด้วยการพิจารณาจากโครงสร้างของกฎหมายนั้นเป็นอันดับแรกและจากบทบัญญัติทั้งหลายตามโครงสร้างของกฎหมายที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นได้ชัดเจนขึ้น
ประการที่สอง ศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมาย อาจพิเคราะห์จากประวัติความเป็นมาของการจัดทำกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า การตีความโดยอาศัยประวัติกฎหมาย (Historical Interpretation) ซึ่งสามารถค้นหาได้จากตัวร่างกฎหมายเดิมที่เสนอต่อสภา บันทึกหลักการและเหตุผล บันทึกชี้แจงในการเสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนจากรายงานของคณะกรรมาธิการของรัฐสภา หรือแม้กระทั่งรายงานการประชุมสภา
นอกจากการตีความโดยอาศัยประวัติกฎหมายแล้วมีแนวทางการตีความตามเจตนารมณ์ หรือความมุ่งหมายของกฎหมาย (Construction) ในกรณีที่ปรากฏว่าภายหลังจากที่ได้ตรากฎหมายออกมาใช้บังคับแล้ว เมื่อมีปัญหาตีความกฎหมายเกิดขึ้นอันสืบเนื่องจากมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่คาดเห็นล่วงหน้าเกิดขึ้น ซึ่งบทบัญญัติในกฎหมายเรื่องนั้นไม่ได้กล่าวถึงว่าตี่ความบทบัญญัติในกฎหมายนั้นอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เป็นที่ยอมรับว่าอาจใช้บทบัญญัตินั้นแต่กรณีที่เกิดขึ้นในภายหลังได้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
ตัวอย่าง ในการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เช่น การใช้คำว่า “หรือ” กับคำว่า “และ” ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ และแม้ในการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาเองก็เคยเกิดมีปัญหาขึ้นมาแล้ว ซึ่งคำว่า “หรือ” แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีความหมายต่างกับคำว่า “และ” แต่ในบางกรณีที่เป็นปัญหาจากบทบัญญัติว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดล่าช้างและกวางโดยไม่ได้รับอนุญาต” ในกรณีนี้ต้องเข้าใจว่าผู้ร่าง หมายถึงการห้ามล่าสัตว์อย่างหนึ่งอย่างใดก็เป็นความผิดแล้ว คงจะไม่หมายความจะต้องล่าสัตว์ทั้งสองอย่างจึงจะมีความผิด ซึ่งถ้าตีความตามถ้อยคำโดยเคร่งครัดแล้วจะทำให้ตัวบทกฎหมายนั้นเกือบจะไม่มีประโยชน์ ตามความมุ่งหมายของกฎหมายแต่อย่างใด เป็นต้น
4. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความในระบบกฎหมายไทย
การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายไทย ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) แต่อย่างไรก็ตามก็ได้รับอิทธิพลมาจากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) มาไม่น้อย เราตั้งข้อสังเกตว่าศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายยึดถือการตีความของระบบกฎหมายใด
ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องพิจารณาศึกษาการตีความกฎหมายของไทยให้ชัดเจนว่าควรจะมีแนวทางหลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมายทั่วไปของประเทศไทยจะมีอยู่ลักษณะเดียวกับระบบกฎหมายซีวิลลอร์ คือกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเป็นรูปของประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ ซึ่งจะมีหลักการตีความกฎหมายคือ การตีความกฎหมายตามตัวอักษรควบคู่กับการตี ความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมกัน จึงไม่เหมือนกับสิ่งที่เกิดในระบบคอมมอนลอว์ คือ ตีความกฎหมายตามตัวอักษร ถ้าตีความตัวอักษรล้มเหลวให้ค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น
ซึ่งประเทศไทยเราเข้าใจผิดมาช้านานและปัจจุบันก็ยังมีผู้เข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องอีกมากมาย ไทยได้รับแนวคิดจากอังกฤษ คือ มองเจตนารมณ์ก็แต่เฉพาะเมื่อการแปลตัวอักษรล้มเหลวแล้วเท่านั้น นับได้ว่าการตีความตัวบทกฎหมายนั้นต้องตีความตามตัวอักษรก่อน ไม่ค่อยถูกต้องนักและที่สำคัญการตีความกฎหมายอาญานั้นจะต้องตีความโดยจำกัดหรือตีความแคบๆ แต่ความจริงที่บอกว่าตีความตามตัวอักษรนั้น ตีความกฎหมายได้ทั้งแคบและกว้าง ซึ่งอาจจะต้องไปดูความมุ่งหมายว่าบทบัญญัติกฎหมายเรื่องนี้ ต้องการให้ใช้ความหมายตัวอักษรอย่างแคบหรืออย่างกว้าง ซึ่งเป็นการตีความตามความมุ่งหมาย ไม่ได้หมายความว่าใช้ตีความตามตัวอักษร ดังนั้นการตีความตามกฎหมายอาญาจะต้องตีความให้แคบๆ บางครั้งอาจไม่ใช่ก็ได้
การตีความกฎหมายไทยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าในการใช้และการตีความกฎหมายแตกต่างไปจากการตีความในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) จึงเป็นเหตุให้ประเทศไทยมีอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบกฎหมายของไทย ดังนั้นศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายควรศึกษาเข้าใจในระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ คอมมอนลอว์ (Common Law) และซีวิลลอว์ (Civil Law) ให้เข้าใจถ่องแท้เพื่อที่จะนำมาปรับใช้พัฒนาการตีความกฎหมายของไทยให้ถูกต้องและเป็นธรรมต่อสังคม
5. บุคคลที่เกี่ยวข้องในการตีความกฎหมาย
เมื่อกฎหมายได้ตราขึ้นใช้บังคับและ การที่จะนำกฎหมายนั้นไปปรับใช้กับ กรณีใดในเบื้องต้นจะต้องอยู่ที่ว่าการใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายว่ามีผลบังคับอย่างไร ครอบคลุมปัญหาที่พิจารณาอยู่หรือไม่ ดังนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องในการตีความกฎหมายก็คือ บุคคลที่มีหน้าที่ใช้ในระบบกฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมายทั้งสิ้นแต่ในระบบกฎหมายจะมีการจัดลำดับให้การตีความกฎหมายขององค์กรใดเป็นที่ยุติไม่อาจโต้เถียงกันต่อไปและมีผลในระบบกฎหมายได้เสมอ ซึ่งขออธิบายสรุปในเรื่องของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายของประเทศไทยเป็น
หลักเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจการตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมาย ดังนี้คือ
1. ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
2. ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยตรง
5.1 ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อมนั้น ได้แก่ ประชาชน ทนายความ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ เป็นต้น
5.1.1 การตีความกฎหมายโดยประชาชน
ประชาชนในฐานะใช้กฎหมายย่อมต้องตีความในกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนในการทำนิติกรรมสัญญาระหว่างกันโดยถูกต้อง มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร แต่อย่างไรเมื่อเกิดคดีพิพาทเกิดผู้ตีความกฎหมายขั้นสุดท้ายก็คือ ศาล ดังนั้นเราถือได้ว่าประชาชนเป็นผู้ตีความกฎหมายเหมือนกันแต่เป็นผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
5.1.2 การตีความกฎหมายโดยทนายความ
ทนายความในฐานะเป็นผู้ปรึกษากฎหมายของคู่ความในคดีที่เป็นโจทก์ หรือ จำเลย ในการต่อสู่คดีในศาล ซึ่งเป็นผู้ตีความหมายกฎหมายเหมือนกัน แต่เป็นการตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยอ้อม คือ ศาลจะเชื่อหรือไม่ก็ได้ เป็นต้น
5.1.3. การตีความกฎหมายโดยนักวิชาการด้านนิติศาสตร์
นักกฎหมาย นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ในฐานะผู้ตีความกฎหมายตามหลักการแนวคิดทฤษฎีค้นคว้างานทางวิชาการ ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ศาลยอมรับหลักการตีความของนักกฎหมาย แต่เป็นการยอมรับการตีความของนักกฎหมายที่ไม่มีชีวิตแล้ว แต่ในระบบกฎหมาย
ซีวิลลอว์นั้นศาลยอมรับหลักการตีความของนักกฎหมายฝ่ายวิชาการที่ยังมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งนักกฎหมายมีอิทธิพลสูงมากในด้านให้ความคิดเห็นแก่ศาล นอกจากศาลจะอ้างอิงเสมอแล้ว คู่ความเองก็มักจะแสดงความคิดเห็นของนักกฎหมายฝ่ายวิชาการในปัญหาข้อกฎหมายสนับสนุนคดีของตนเพื่อให้ศาลวินิจฉัยด้วย
5.2 ผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยตรง
ผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยตรงนี้มีความสำคัญมากในการตีความกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
5.2.1 การตีความกฎหมายโดยศาล
การตีความกฎหมายโดยศาล ในกรณีที่ศาลตีความ คือผู้พิพากษา หรือตุลาการมีหน้าที่พิจารณาคดีซึ่งถือว่าเป็นผู้ตีความกฎหมาย การตีความโดยศาลนี้ มีน้ำหนักมากกว่าวิธีอื่นและมีความสำคัญที่สุดเพราะถ้าคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การตีความก็เด็ดขาดคดีนั้นต้องบังคับไปตามที่ศาลตัดสิน ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ระบบศาลมีอยู่ 4 ระบบศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร
1. การตีความกฎหมายโดยศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อพิพาทตามรัฐธรรมนูญ เช่น การตีความกฎหมายนั้นขัดต่อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นต้น
2. การตีความกฎหมายโดยศาลปกครอง ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีปกครองระหว่างหน่วยของรัฐกับเอกชน และหน่วยงานของรัฐด้วยกัน หรือหน่วยของรัฐด้วยกันหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐกระทำทางปกครองเช่น องค์กรวิชาชีพ เป็นต้น
3. การตีความกฎหมายโดยศาลยุติธรรม ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงเว้นแต่คดีรัฐธรรมนูญนี้ หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและศาลทหาร
4. การตีความกฎหมายโดยศาลทหาร ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายในการ
พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ไว้ให้อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเป็นผู้ตีความกฎหมาย เป็นต้น
5.2.2 การตีความกฎหมายโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ตีความกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในระดับชาติและท้องถิ่นว่าให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คณะกรรมการป้องกันปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เป็นองค์กรของรัฐในการตีความกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้มีความผิดในการทุจริต ซึ่งเป็นองค์กรในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น
5.2.3 การตีความโดยองค์กรรัฐสภา
องค์กรรัฐสภาในฐานะ เป็นองค์กรทางการเมืองที่อำนาจหน้าที่ใช้กฎหมายและต้องตีความกฎหมาย องค์กรรัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรใช้กฎหมายและตีความกฎหมายในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจตีความกฎหมายชี้ขาดถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติหรือ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น
5.2.4. การตีความกฎหมายองค์กรรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจในการตีความกฎหมาย แยกได้ 2 ลักษณะคือ
1.ฝ่ายการการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี มีอำนาจตีความกฎหมายว่าอะไรรีบด่วน
หรือจำเป็นที่ต้องพระราชกำหนด หรือ ออกมติคณะรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาในการบริหารประเทศ
2. ฝ่ายประจำซึ่งเรียกว่าองค์กรในฝ่ายปกครอง องค์กรในฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจตีความกฎหมาย ได้แก่ หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ อัยการ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คณะกรรมการฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาท เป็นต้น
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนยังคิดว่ายังมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมาย คือ พระมหากษัตริย์ เช่นในกรณีที่ร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาจากรัฐสภาแล้ว (คือร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ) ให้นายกทูลเกล้าถวายร่างกฎหมายนั้น เพื่อทรงพระปรมาภิไธยและถ้าไม่ทรงเห็นชอบด้วยก็พระราชทานคืนมายังรัฐสภา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการตีความกฎหมาย คือ การยับยั้งร่างกฎหมาย (veto) เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ อีกครั้งหนึ่ง
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ “การตีความกฎหมาย” โครงการตำราครูทางนิติศาสตร์
ครูทางนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดชวนพิมพ์,พิมพ์
ครั้งที่3 ,2539
อักขราทร จุฬารัตน “การตีความกฎหมาย” กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์กฎหมายไทย,2542
rule of law และ rule of person 在 Rule of Law กับ Rule by Law ต่างกันยังไง NOT ME | เขา...ไม่ใช่ ... 的推薦與評價
Rule of Law กับ Rule by Law ต่างกันยังไง NOT ME | เขา...ไม่ใช่ผม ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20:30 น. ทางช่อง GMM25 และ AIS PLAY #NotmeSeries #NotmeEP1. ... <看更多>