กรณีศึกษา รถไฟความเร็วสูงในจีน ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว /โดย ลงทุนแมน
ประเทศจีนกลายเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของโลก
ทั้งความทันสมัย ขนาดโครงการ รวมถึงต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าประเทศอื่น
แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบัน ประเทศจีนกำลังเผชิญกับดักหนี้มหาศาลจากการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเช่นกัน
เทคโนโลยีรถไฟของจีนทันสมัยแค่ไหน
แล้วทำไมมันกลับสร้างภาระหนี้ให้กับประเทศ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในช่วงศตวรรษที่ 21 ประเทศจีนกลายมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด โดย GDP ของจีนเติบโตเป็น 11 เท่าภายในเวลาเพียง 20 ปี
บวกกับจำนวนประชากรทั้งประเทศกว่า 1.4 พันล้านคน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจีนมีมากขึ้น ซึ่งก็ผลักดันให้ความต้องการเดินทางระหว่างเมืองสูงขึ้นด้วย
ตั้งแต่ช่วงปี 1990 เป็นต้นมา รถไฟรูปแบบเดิมที่เคยได้รับความนิยมอย่างมาก
มีจำนวนผู้ใช้บริการน้อยลงจากการพัฒนาทางหลวงและการบินภายในประเทศ
แต่ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทยเกือบ 19 เท่า
ทำให้การเดินทางด้วยรถยนต์ระหว่างเมืองต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง
หากจะให้พึ่งพาเครื่องบิน ก็มีเฉพาะกลุ่มคนเพียงบางกลุ่มที่มีกำลังจ่ายบวกกับการเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับการเดินทางที่มีระยะทางไกล ซึ่งมันก็ยังไม่ตอบโจทย์กับการเดินทางระยะกลาง ที่มีระยะทางไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร
ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงตัดสินใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีนโยบายผลักดันการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว
โดยรัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2003 และสนับสนุนให้การเดินทางด้วยวิธีนี้เป็นตัวเลือกหลักในการเดินทางระหว่างเมือง
ในช่วงเริ่มแรก ประเทศจีนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจากยุโรปและญี่ปุ่น
แต่ต่อมา จีนก็ได้เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตโดยภาคเอกชนภายในประเทศ
ทำให้โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนเติบโตแบบก้าวกระโดด
ปัจจุบัน โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนมีระยะทางรวมกว่า 37,900 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นระยะทางรวมที่มากที่สุดในโลก ทิ้งห่างอันดับสองอย่างสเปนที่มีเพียง 3,200 กิโลเมตร และญี่ปุ่นที่มี 3,000 กิโลเมตร
นอกจากระยะทางแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ
ก็คือความเร็วในการสร้างรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน
รู้หรือไม่ว่ากว่าครึ่งหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน
ซึ่งครอบคลุมระยะทางราว 20,000 กิโลเมตร ใช้เวลาสร้างเพียง 5 ปี
ในขณะที่ส่วนต่อขยายเพิ่มเป็น 70,000 กิโลเมตร
ประเทศจีนวางแผนเอาไว้ว่าจะสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2035
โดยที่ประเทศจีนสามารถสร้างรถไฟความเร็วสูงได้อย่างรวดเร็ว
นั่นก็เพราะว่าต้นทุนสร้าง ที่ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
จากรายงานของธนาคารโลกระบุว่าต้นทุนในการสร้างรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนอยู่ที่ 510 ถึง 630 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
ในขณะที่ยุโรปมีต้นทุนประมาณ 750 ถึง 1,170 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
และสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งเทคโนโลยีกลับมีต้นทุนสูงถึง 1,680 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนในการสร้างของจีนต่ำ
ก็เพราะว่าประเทศจีนมีโรงงานผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงในประเทศทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างและขนส่งถูกลง
นอกจากนี้ การออกแบบการก่อสร้างรวมถึงวัสดุที่ใช้มีมาตรฐานเดียวกันตลอดทั้งโครงการ
จึงทำให้ช่วยลดความยุ่งยากในการก่อสร้างลงและประหยัดค่าใช้จ่าย
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนมีราคาถูกคือค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินที่ถูกมาก โดยคิดเป็นประมาณ 8% ของต้นทุนสร้าง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีค่าเวนคืนสูงถึง 17.6% ของต้นทุน
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่ตั้งของสถานีที่จะอยู่แถบชานเมืองหรือนอกเมืองเป็นหลักเพื่อขยายความเจริญให้กระจายออกจากตัวเมือง ซึ่งที่ดินที่เวนคืนโซนนอกเมืองมีราคาถูกกว่าพื้นที่กลางเมือง
และแม้ว่าต้นทุนที่ใช้ในการก่อสร้างจะมีราคาถูก แต่ระบบของรถไฟความเร็วสูงของจีนก็เรียกได้ว่ามีความทันสมัยและดีไม่แพ้ประเทศอื่น
ยกตัวอย่างเช่น รถไฟหัวกระสุนในเส้นทาง ปักกิ่ง-จางเจียโข่วในมณฑลเหอเป่ย ที่เป็นสายหลักในการรองรับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2022 เส้นทางดังกล่าวมีระยะทาง 174 กิโลเมตร ซึ่งปกติแล้วต้องใช้เวลาเดินทางถึง 3 ชั่วโมง
แต่ด้วยเทคโนโลยีในการพัฒนาของจีนทำให้ดันความเร็วสูงสุดที่ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ระยะเวลาเดินทางลดลงเหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น และที่สำคัญรถไฟขบวนนี้เป็นระบบไร้คนขับอีกด้วย
นอกจากนี้ รถไฟความเร็วสูงจีนยังมีการนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและหุ่นยนต์มาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้โดยสารภายในสถานีในการนำทาง จัดการสัมภาระ เช็กอิน และไม่มีการใช้ตั๋วกระดาษ
โดยขั้นตอนตั้งแต่การจองจนถึงเดินขึ้นรถจะใช้เพียงการสแกนบัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทางเท่านั้น
ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่าจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงเต็มตัวในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงจีน ก็ได้ทำให้หลายประเทศเริ่มให้ความสนใจ
อย่างเช่น รัสเซีย ที่มีแผนร่วมกับจีนในการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงปักกิ่งไปยังกรุงมอสโก ซึ่งกินระยะทางกว่า 7,000 กิโลเมตรและคาดว่าต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 7 ล้านล้านบาท
เส้นทางสายนี้จะยาวเป็นสามเท่าของสาย ปักกิ่ง-กว่างโจว
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางที่ข้ามเทือกเขาหิมาลัยไปยังอินเดีย ปากีสถาน และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจและการค้าของประเทศให้เติบโตไปพร้อมกัน
หากเรามาดูการเติบโตของการใช้บริการรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนจะเพิ่มขึ้น
จาก 10 ล้านเที่ยวในปี 2008 เป็น 2,300 ล้านเที่ยวในปี 2019
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเติบโตที่รวดเร็วมาก
อย่างไรก็ตาม การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจีนก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีเสมอไป เพราะทางรัฐบาลจีนที่เป็นผู้กระจายงบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูงไปยังแต่ละเมือง ได้คาดการณ์ผลตอบแทนผิดพลาด จนนำไปสู่การก่อหนี้มหาศาล เช่นกัน
ในปี 2018 มีรายงานว่า 60% ของผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงในจีนในแต่ละเมือง ขาดทุนอย่างน้อย 3 พันล้านบาท โดยเฉพาะผู้ให้บริการในเมืองเฉิงตู ที่ขาดทุนสูงถึง 5.4 หมื่นล้านบาท
โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้จำนวนความหนาแน่นของผู้ใช้บริการในบางสายที่ประชากรในละแวกนั้นยังไม่พร้อม ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการเดินรถ
ส่งผลให้ China State Railway Group (CR) ที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น โดย CR เป็นเจ้าของโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดในจีน มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงและเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทขาดทุนมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2015
จนมาถึงปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของ CR ก็ยังคงขาดทุนและจำเป็นที่จะต้องก่อหนี้กู้ยืมเงินก้อนใหม่เพื่อนำมาจ่ายหนี้ก้อนเก่า
จนกระทั่งในปีนี้หรือปี 2021 รัฐบาลจีนจึงได้สั่งทบทวนการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งประเทศ โดยเส้นทางการเดินรถของเมืองที่มีต้นทุนสูงและมีหนี้สินมากเกินไปจะถูกระงับการก่อสร้าง
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อหยุดภาระหนี้สินก้อนใหญ่ ก่อนที่มันจะสร้างความเสียหายไปมากกว่าที่เป็นอยู่..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.adb.org/sites/default/files/publication/504076/adbi-wp959.pdf
-https://edition.cnn.com/travel/article/china-high-speed-rail-cmd/index.html
-https://www.globalconstructionreview.com/sectors/why-china-can-build-high-speed-rail34socheaply7365/
-https://www.orfonline.org/expert-speak/chinas-high-speed-railways-plunge-from-high-profits-into-a-debt-trap/
-https://www.businessinsider.com/russia-builds-moscow-to-beijing-high-speed-train-2014-12
-https://www.statista.com/statistics/276054/number-of-train-passengers-in-china/
同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅JeaenのYouTube再生リスト,也在其Youtube影片中提到,上野発高崎行き211系普通電車で前5両籠原にて切り離す14号車モハ210で浦和→さいたま新都心間の車内・車窓です。手持ち撮影のため揺れ・ブレはご容赦くださいませ。...
「russia high-speed rail」的推薦目錄:
russia high-speed rail 在 旅行熱炒店Podcast Facebook 的最佳解答
(Photo taken on May 13, 2018 in Samarkand, Uzbekistan)
I've visited five former Soviet Union countries (Latvia, Estonia, Uzbekistan, Kyrgyzstan and Russia). Some people have asked me why I'm so interested in Soviet Union? To be honest, what interests me is not the Soviet Union itself, but the "cultural transition regions" within its territory.
每次和身邊朋友聊到旅行,常常被問到的問題是「去過哪些國家」和「最喜歡哪個國家」;而當我講完我的答案,地理感比較強的人便會開始好奇:你怎麼那麼喜歡去前蘇聯國家?過去兩年內就去了五個,在這些國家停留時間加起來超過一個月,然後今年計畫中的下一趟旅行又是前蘇聯國家⋯⋯。
其實並不是因為我特別喜歡前蘇聯國家。對我來說,旅行最迷人之處在於觀察不同文化之間的漸變與交會,而許多可以見到這種現象的國家正好都位於前蘇聯範圍內。
The photo was taken on my grand adventure last year. The city has the splendid mausoleum of Timur, a Turkic emperor who claimed to be the dependent of Genghis Khan, while half of its population are Tajik (descendants of ancient Persians). There are also Soviet architecture and Spanish high-speed-rail technology. The teenager in this photo found me while I had lunch at a bazaar, and I soon discovered the ethnic complexity on him -- half Uzbek and half Tajik, which reflects the actual population composition of the city.
More interestingly -- the Turkic vocabulary I learned in Uzbekistan/Kyrgyzstan also worked in Xinjiang, China, where the Uyghurs are culturally tied to Central Asia.
第一次去的前蘇聯國家是2017年5月的拉脫維亞和愛沙尼亞,也就是一般人熟知的波羅的海三小國的上面那兩個。當初決定去動機的很單純,就只是覺得西歐和南歐難度比較低、為了挑戰自己應該要試試看觀光化程度比較低的東歐;沒想到去過之後發現不得了,這兩個國家雖然都很小,也沒什麼號稱「一輩子一定要去一次」的世界奇觀,但卻能感受到不同文化在此融合與衝撞的痕跡——日耳曼人帶來的建築與路德宗信仰、斯拉夫人帶來的社會主義風格,加上受北歐影響的簡潔前衛設計感與高科技產業,短短幾天內(我在兩個國家只個待了兩天)讓我留下深刻印象,就此走上了探索文化交會帶的這條不歸路。
(延伸閱讀:被我偷換概念的「波羅的海三小國」之旅
http://blog.jeromeyang.com/2017/08/527-61-my-twisted-baltic-states-trip.html )
第二次就是去年5月到6月間的42天中亞、北亞大旅行,從烏茲別克沿著絲路經過吉爾吉斯進入中國新疆,然後再從內蒙古經過西伯利亞穿越俄羅斯一路到芬蘭赫爾辛基。中亞又是另外一個文化極度複雜的地方,早在俄羅斯人介入之前,波斯、突厥、蒙古等遊牧強權就在這片乾燥土地上相遇。在最重要的觀光大城撒馬爾罕(Samarkand),壯觀的王陵裡葬的是自稱成吉思汗後裔的突厥統治者帖木兒,附近有著古代猶太人聚落遺跡,但烏茲別克政府一直都不願意承認這個城市有一半居民其實是塔吉克人(和伊朗同屬古波斯人後裔),同時又有蘇聯留下的共產風格建築與西班牙的高鐵技術。記得其中一天中午在市集吃飯時,一位當地青少年主動找我練英文,聊著聊著果不其然就發現他爸爸是烏茲別克人、媽媽是塔吉克人,馬上驗證了事前所做的功課;至於後來發現烏茲別克和吉爾吉斯學到的語言在中國新疆也能通,又是另一段故事了。
(延伸閱讀:在帖木兒帝國首都撒馬爾罕遇見全世界 http://blog.jeromeyang.com/2018/09/blog-post_16.html )
走過越多地方,就越感受到這個世界的複雜之處——很少有一個國家內部是單調且一致的(如果硬要說的話我可能會說美國算是相對單調的吧?但即使如此單調還是有很多差異,更別提那些異質性超高的國家),也很少見到一條國界兩邊是天差地遠的不同,多數時候我看到的都是好幾群人在超越國界的土地上糾纏不清,好幾種不同的文化認同層層交疊,有的彼此衝突、有的相互融合,有的看來看去還是看不出個所以然⋯⋯。但也就是因為這種複雜性,才讓我的每趟旅程都充滿著驚喜與趣聞。
所以說,下一趟又要去前蘇聯國家了嗎?是的,預計五月下旬將拜訪前蘇聯境內文化和語言最複雜的一塊區域,到時候再好好寫文章分享見聞吧。 (照片裡的就是和我在撒馬爾罕偶遇的青少年)
https://www.instagram.com/p/BwGVZgJBX1J/
https://www.instagram.com/lifetimesojourner/
russia high-speed rail 在 JeaenのYouTube再生リスト Youtube 的精選貼文
上野発高崎行き211系普通電車で前5両籠原にて切り離す14号車モハ210で浦和→さいたま新都心間の車内・車窓です。手持ち撮影のため揺れ・ブレはご容赦くださいませ。
russia high-speed rail 在 JeaenのYouTube再生リスト Youtube 的最佳貼文
上野発高崎行き211系普通電車で前5両籠原にて切り離す14号車モハ210でさいたま新都心→大宮間の車内・車窓です。手持ち撮影のため揺れ・ブレはご容赦くださいませ。
russia high-speed rail 在 JeaenのYouTube再生リスト Youtube 的精選貼文
上野発高崎行き211系普通電車で前5両籠原にて切り離す14号車モハ210で赤羽→浦和間の車内・車窓です。手持ち撮影のため揺れ・ブレはご容赦くださいませ。