แอดเชื่อว่า หนึ่งในปัญหาโลกแตกของเด็กไอที ไม่ว่าจะเรียนอยู่หรือว่าจบแล้ว ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง “เรียนไอที แต่ไม่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ไปทำไรดี? 😢” เพราะงั้นวันนี้แอดเลยมัดรวม 8 อาชีพน่าสนใจด้าน IT ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์มาให้ทุกคนอ่าน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย 🔥
.
📊 Data Analyst
เริ่มต้นกันด้วยอาชีพดัง หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง นั่นก็คือ Data Analyst นั่นเอง โดย Data Analyst จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
.
แต่ถึงจะบอกว่าไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ แต่ Data Analyst ก็ยังต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับโค้ดอยู่บ้าง โดยหลัก ๆ ที่มักใช้กันก็จะเป็น Python, SQL หรือ R Programming คู่กับการใช้ Excel และเครื่องมือ Data Visualization ต่าง ๆ เช่น Tableau, Power BI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลค่ะ
.
💼 IT Business Analyst
มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า BA เป็นคนที่วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจแบบเจาะลึก เพื่อพัฒนากระบวนการ สินค้าและบริการของธุรกิจ สำหรับสาย IT แล้ว BA เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับงานฝั่ง Dev โดยจะเป็นคนไปคุยกับผู้ใช้ว่าอยากได้อะไรแบบไหน จากนั้นก็สรุปสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งไม้ต่อให้ Dev ว่างานที่ต้องทำนั้น เป็นยังไง ต้องทำอะไรบ้าง มีระยะเวลาเท่าไหร่ ฯลฯ
.
แต่เดี๋ยวก่อน ถึงแม้ Business analyst จะอ่านดูแล้วเหมือนไม่ได้แตะโค้ด แถมดูน่าจะใช้ Soft Skills เป็นหลัก แต่ก็เป็นอาชีพที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างด้าน IT และ Business นะคะ เพราะฉะนั้นเพื่อน ๆ ที่อยากมาทำงานด้านนี้ จะทิ้งความรู้ IT แบบทิ้งไปเลย 100% ไม่ได้น้า :D
.
🖌️ UX Designer
ไปต่อกันเลยกับอีกอาชีพสุดฮอตในตอนนี้ UX Designer เป็นคนที่ต้องทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานและออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience) ให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในองค์กร (ซึ่งในด้าน IT ส่วนใหญ่ก็เป็นเว็บหรือแอปอะแหละ) เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการ และใช้งานง่ายที่สุดให้กับผู้ใช้งาน
.
ทักษะที่ UX Designer ต้องมี ก็จะเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ทำความเข้าใจผู้ใช้งาน เช่น Design Thinking, Customer Journey, การทำ Wireframe หรือการสร้าง Prototype รวมไปถึงทักษะด้านศิลปะ การออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเรื่องจิตวิทยา ก็เป็นเรื่องที่ UX Designer ต้องให้ความสนใจเหมือนกันนะคะ
.
📋 Project Manager
สำหรับสาย IT แล้ว Project Manager คือคนที่จะทำให้ Project สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะงั้นหน้าที่ก็จะครอบคลุมตั้งแต่วางแผน รับมือกับคน เวลา และงบประมาณ รวมถึงควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้ Project เป็นไปตามขอบเขตที่วางไว้และเสร็จทันเวลาที่กำหนด ซึ่งอันที่จริง ดีเทลย่อย ๆ ก็จะแตกต่างกันไปในงานที่ต้องรับผิดชอบอีกค่ะ
.
ความท้าทายของงานนี้คือ ต้องเข้าใจภาพรวมของงานและทำให้คนในทีมมองเห็นภาพเดียวกัน เพราะงั้นส่วนใหญ่ Project Manager เป็นคนที่มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องมาก่อน แต่ก็ไม่แน่น้า บางโอกาสมักมาแบบไม่ทันตั้งตัว ถ้าเพื่อน ๆ สนใจ ก็สามารถศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมระหว่างรอโอกาสนั้นมาถึงนะคะ
.
📂 Product Manager
ตำแหน่ง Product Manager จะคอยดูแลทุกอย่างของ Product ตั้งแต่วางแผน ไปจนตอนสร้าง และบริหารจัดการ Product นั้น ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด เป็นเหมือน CEO ของแต่ละ Product นั่นแหละ และส่วนใหญ่ก็ต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อนเหมือนตำแหน่ง Project Manager เลย
.
อ่าน ๆ ไปก็ดูคล้ายกับ Project Manager ใช่ไหม? แต่จริง ๆ แล้ว Product Manager จะโฟกัสที่ “Product” เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับ Outcome ในการปรับปรุงและพัฒนา Product ให้ตอบโจทย์ลูกค้า ส่วน Project Manager จะให้ความสำคัญกับ Output และการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคน เวลา และงบประมาณของการทำ Project ชิ้นนึงมากกว่า
.
🔍 QA Engineer
QA Engineer จะเป็นคนทดสอบเว็บหรือแอปเพื่อหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้งาน เพื่อให้เว็บหรือแอปนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ไม่มี Bug หรือข้อผิดพลาดมากวนใจผู้ใช้ (หรือมีให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้) โดย QA Engineer ต้องเข้าใจ Requirement จากฝั่งผู้ใช้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะคิด Case ของการทดสอบได้ตรงจุดและครอบคลุม
.
ที่จริงแล้ว ตำแหน่งนี้อาจจะแบ่งได้อีก 2 ประเภทคร่าว ๆ คือ Manual (ทดสอบด้วยมือของคนทำ QA นั่นแหละ) กับ Automation (เขียนโค้ดมาช่วยทดสอบ) ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับองค์กรที่เราอยู่ และซอฟต์แวร์ที่เราทดสอบค่ะ และที่สำคัญ ถึงอาชีพนี้จะเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โดยตรง แต่ก็ไม่ได้ใช้ทักษะโปรแกรมมิ่งหนักมากค่ะ :D
.
⚙️ System Admin
คิดถึงอินเทอร์เน็ตในบริษัทให้คิดถึงคนนี้ค่ะ System Admin หรือผู้ดูแลระบบ คือคนที่คอยดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร ทำตั้งแต่ลง OS ติดตั้ง ดูแลทั้งซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ในระบบ ไม่ว่าจะเป็นสาย Cable หรือ Server รวมถึงเป็นคนที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับทุกคนในยามคับขัน (เรื่อง Technical Issues) ด้วยค่ะ
.
ซึ่งในไทยเอง ถ้าไม่ใช่บริษัทเฉพาะด้านนี้โดยตรง ตำแหน่ง System Admin อาจจะไปคาบเกี่ยวกับตำแหน่ง Network Admin หรือบางที่ก็ All in one กันไปเลย 😂 แต่งานคร่าว ๆ ของ System Admin ก็จะครอบคลุม 4 คีย์เวิร์ดหลัก ๆ ของระบบ นั่นก็คือ “ติดตั้ง-สนับสนุน-ดูแล-แก้ไขปัญหา” ค่ะ
.
📈 Growth Hacker
เห็นคำว่า Hacker แบบนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าแอดจะชวนไปเจาะระบบใครเขานะ ความจริงแล้วคำว่า Hack เนี่ย มีความหมายประมาณว่า การทำบางอย่างเพื่อจัดการบางสิ่งให้ได้ พอมารวมกับคำว่า Growth เลยหมายถึง การทำยังไงก็ได้ให้บางสิ่งเติบโตเร็วที่สุด ซึ่งหลายแบรนด์ดังก็ใช้ Growth Hacking กับบริการของตัวเองจนมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกัน
.
ถ้าถามว่า คติประจำใจของ Growth Hacker คืออะไร? คำตอบก็คงจะเป็น การพยายามทำให้ธุรกิจเติบโตให้ได้ โดยจะเป็นคนที่จะเฟ้นหาการตลาดหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้า และคอยจัดการกลยุทธ์นั้นให้สำเร็จตามที่หวัง หรือเปลี่ยนเป็นแนวทางที่ดีกว่านั่นเอง
.
เรียบร้อยครบทั้ง 8 อาชีพที่แอดอยากเล่าวันนี้ ที่จริงอาชีพสาย IT ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์มีอีกเยอะมาก เยอะจนเล่า 3 วันก็ไม่หมด เช่นแอดเองก็จบ IT แล้วมาทำ Content ให้เพื่อน ๆ อ่าน 😆 เพราะงั้นที่เอามาฝากวันนี้ก็เป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น (แอบกระซิบว่า แต่ละบริษัท ถึงชื่อตำแหน่งจะเหมือนกัน แต่การทำงานอาจไม่เหมือนกัน เพราะงั้นอ่าน Job Description ตอนไปสมัครงานกันให้ดีน้า)
.
👉 ว่าแต่เพื่อน ๆ พี่ ๆ คนไหน หลังเรียนจบไปทำงานอะไรกันบ้าง มาแชร์ให้น้อง ๆ ฟังกันเร็ววว 🔥
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
sql server คือ 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的精選貼文
+++8 ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี (มือใหม่) ในปี 2020 +++
ใครที่อยู่ในสาย Tech คงหนีไม่พ้นเรื่องของการปรับตัว เตรียมตัว และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ก่อนจะไปเริ่มไล่ดู 8 ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี ลองมาดูเรื่องความต้องการของบริษัทในไทยดีกว่า ว่าอาชีพไหนมาแรง และเงินเดือนเริ่มต้นเยอะที่สุด!!
ขอต้อนรับเข้าสู่ปี 2020 ปีแห่งความต้องการ อาชีพโปรแกรมเมอร์ แน่นอนว่า เด็กจบใหม่ต่างก็ต้องหางานทำ และหนึ่งในอาชีพที่บริษัททั่วไทยต้องการมากที่สุดในปีนี้ ก็หนีไม่พ้น อาชีพโปรแกรมเมอร์ ....
อีกทั้ง อาชีพโปรแกรมเมอร์ ยังเป็นอาชีพที่มีรายได้เริ่มต้นมากที่สุดอีกด้วย
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าว่า 8 ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี (มือใหม่) ในปี 2020 มีอะไรบ้าง??!!
_____________________________
1 Containers (Docker & Kubernetes)
ทักษะด้าน Containers : Containers หรือเครื่องมือที่ใช้ช่วยจัดการให้สามารถปรับนู่นนี่นั้นได้ง่ายขึ้น เช่น การใช้ Containers ของ Docker หรือ Kubernetes (ตัวที่โปรแกรเมอร์ส่วนใหญ่ใช้กัน) ไม่ว่าจะในแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์
เมื่อแอพเป็น Container ถ้าในอนาคตบริษัทอยาก Scale หรือโยกย้ายเครื่อง ก็จะสามารถเอาทั้ง Container ไปวางบนเครื่องใหม่ได้เลย โดยที่ไม่ต้องมานั่ง Setup อะไรใหม่อีก
จากทั้งหมดที่กล่าวมา คือ Containers นี้จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย สามารถ Deploy งานได้ง่าย สะดวก และเร็วขึ้น
#เครื่องมือที่แนะนำ
- Docker
- Kubernetes
_____________________________
2 Cloud Platform (AWS, GCP & Azure)
ทักษะด้าน Cloud Platform : Cloud Platform คือ การเลือกใช้แพลตฟอร์มที่ให้บริการด้าน Cloud นั่นแหละ โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวม Cloud Platform จะมีหน้าที่ช่วยประมวลผล จัดเก็บข้อมูลอันมหาศาล โดยผ่านระบบ Cloud ที่สามารถใช้งานได้ทุกทีทุกเวลาตลอด 24 ชม. ผ่านอินเทอร์เน็ต
อีกทั้งยังช่วยลดความยุ่งยาก และลดต้นทุนในการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายของตัวเอง ซึ่งการใช้งานไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย แถมยังสะดวก รวดเร็ว และใช้งานได้ง่ายอีกด้วย
อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม หรือลดจำนวนทรัพยากร (ขนาดความจุ) ได้ ตามความต้องการในการใช้งาน อาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของจำนวนทรัพยากร
#เครื่องมือที่แนะนำ
- Amazon Web Service (AWS)
- Google Cloud Platform (GCP)
- Microsoft Azure (Azure)
_____________________________
3 Data Structure & Algorithm
ทักษะด้าน Data Structure & Algorithm : Data Structure & Algorithm คือ พื้นฐานที่โปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ควรมีอยู่แล้ว โดย Data Structure & Algorithm ที่ว่า...มัน หมายถึง พื้นฐานด้านกระบวนการคิดที่เป็นขั้นเป็นตอน สามารถจัดเรียงข้อมูล และวางโครงสร้างระบบ หรืออะไรก็ตามได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
โดยส่วนใหญ่ทักษะด้านนี้จะช่วยให้ โปรแกรมเมอร์ ทั้งหลาย มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และมองเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
อีกทั้งยังสามารถช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
#เพิ่มเติม
Data Structure คือ โครงสร้างของข้อมูล เป็นกระบวนการจัดการข้อมูลให้อยู่ในโครงสร้าง หรือ การจัดเตรียมรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลให้มีความเป็นระเบียบ และถูกต้อง
Algorithm คือ ขั้นตอนวิธีการ หรือที่เรียกว่า อัลกอริทึม นั้น เป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย มีขั้นตอน ลำดับวิธี หรือวิธีในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยอาศัยความเป็นระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน และชัดเจน (ต้องมีจุดประสงค์ในการทำ) จะต้องรู้ว่าสุดท้ายแล้ว จะต้องได้ผลลัพธ์อะไรในการทำ Algorithm
_____________________________
4 Version Control Tool (Git)
ทักษะด้าน Version Control Tool : Version Control Tool คือ อีกหนึ่งเครื่องมือที่เหล่าโปรแกรมเมอร์ทุกทีมต้องใช้กัน และต้องใช้เป็นด้วย อธิบายให้ง่ายๆอีกก็คือ Version Control เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ทำงานเขียนโค้ด หรือโปรแกรมร่วมกันได้ และง่ายต่อการเก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง ผ่านการ Backup และจัดเรียง Source Code อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เรียกได้ว่า เป็นการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากๆ สำหรับในการแก้ไขโค้ดไม่ให้ไปทับกับงานของโปรแกรมเมอร์คนอื่นๆภายในทีม นี่จึงเป็นอีกหนึ่งใน 10 ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี นั่นเอง
#เครื่องมือที่แนะนำ
- Git (Distributed Version Control System)
- SVN (Centralized Version Control System)
_____________________________
5 IDEs (Eclipse, NetBeans, IntelliJ IDEA, Jupyter Notebook, Visual Studio Code)
ทักษะด้าน IDEs : IDE จริงๆแล้วย่อมาจาก Integrated Development Environment คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีความสะดวกมากขึ้นสำหรับการพัฒนาโปรแกรม เช่น การใช้คำสั่ง Compile หรือ Run โปรแกรม ซึ่งการเลือกใช้ IDEs มีความสำคัญมาก หากเลือกใช้ได้ถูก และตรงตามมาตราฐานการใช้งานของคนภายในทีม ก็จะยิ่งทำให้ทำงานร่วมกับโปรแกรมเมอร์คนอื่นๆได้ง่ายมากขึ้น
#เพิ่มเติม
การเลือกใช้เครื่องมือ IDEs ย่อมแตกต่างกันออกไป แล้วแต่โปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ละคนว่าดูแลในส่วนไหนอยู่ ซึ่งแต่ละคนก็มีความถนัดที่แตกต่างกันออกไป จึงอาจจะใช้เครื่องมือ IDEs ที่ต่างกัน
#เครื่องมือที่แนะนำ
- Eclipse, NetBeans, และ IntelliJ IDEA สำหรับ ภาษา Java
- Jupyter Notebook สำหรับ ภาษา Python
- Visual Studio Code (VSCode) สำหรับ ภาษา C, ภาษา C++ และ ภาษา C#
_____________________________
6 Database & SQL
ทักษะด้าน Database & SQL : Database และ SQL คือ สิ่งที่อยู่กับโปรแกรมเมอร์มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ซึ่งเรื่องของ Database และ SQL ถือเป็นพื้นฐานที่โปรแกรมเมอร์ต้องมีอยู่แล้ว ที่สำคัญสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่ต้องทำในยุคนี้ ก็คือ ความรู้พื้นฐานในด้านการทำ Create / Read / Update / Delete หรือ CRUD นั้นเอง และสามารถเขียน SQL เพื่อดึง Database หรือข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้งานได้
เหล่าโปรแกรมเมอร์ควรศึกษา และเรียนรู้อย่างละเอียดว่าจะทำยังไง เมื่อดึงข้อมูลปุ๊ปต้องได้ปั๊ป ฐานข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ หากพลาด หรือเขียนผิดไปนิดเดียวอาจทำให้พังทั้งระบบก็ได้ ที่สำคัญอีกอย่างไม่แพ้กัน คือ ควรจะวิเคราะห์อย่างละเอียดก่อนว่าระบบที่กำลัฃจะพัฒนาขึ้นมา เหมาะกับฐานข้อมูลแบบไหน...จงให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลเป็นอันดับต้นๆจะดีที่สุด
#เครื่องมือที่แนะนำ
- Oracle
- MySQL
- Microsoft SQL Server
- PostgreSQL
_____________________________
7 OOP Programming language (C++, Java or Python)
ทักษะด้าน OOP Programming language : OOP หรือ Object Oriented Programming คือ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ยิ่งกว่าคำว่าพื้นฐาน เพราะมัน คือ พื้นฐานของพื้นฐานสำหรับโปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาอีกทีนึง การเขียนโปรแกรมแบบ OOP ยกตัวอย่าง เช่น ภาษา C++, ภาษา Java, ภาษา JavaScript และ ภาษา Python เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเขียนโปรแกรม ก่อนจะเข้าสู่นักพัฒนาอย่างเต็มตัว ถ้าหากโปรแกรมเมอร์มือใหม่สามารถเขียนโค้ดพวกภาษาที่เป็น OOP ได้แล้ว นั้นหมายความว่าคุณได้มีทักษะ Skill เพิ่มขึ้นมาแล้ว เมื่อคุณคิด หรือต้องการสร้างอะไรขึ้นมาก็สามารถเขียนขึ้นได้เลย ทำให้สามารถเอาไปต่อยอดในอนาคตต่อไปได้อย่างแน่นอน
_____________________________
8 Networking (Basics)
ทักษะด้าน Networking : Networking คือ ระบบเครือข่ายที่เป็นส่วนสำคัญของการทำงานสายโปรแกรมเมอร์อย่างมาก เนื่องจากการทำงานในส่วนของการพัฒนาเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น ของโปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องอาศัยระบบ Network อยู่แล้ว เพื่อที่จะเชื่อมต่อระบบที่พัฒนาไปยัง Server การทำงานของเหล่านักพัฒนาจึงจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องหลักการทำงานของระบบ Network เป็นพื้นฐานคร่าวๆอยู่แล้ว ทักษะด้าน Networking จึงเป็นอีกทักษะที่โปรแกรมเมอร์ในยุคนี้ขาดไม่ได้
_____________________________
ไม่ว่าจะเป็น Dev โปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาระดับไหน ถ้าขาด ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี ทั้ง 8 ข้อนี้ คงจะทำงานยากขึ้นหน่อย อย่าลืมที่จะเพิ่มทักษะเหล่านี้ขึ้นมาด้วย!!
หากใครสนใจอ่านเพิ่มเติมบทความนี้แบบเต็มๆได้ที่นี่ bit.ly/8SkillsProgrammerNOWASUCO
_____________________________
แล้วคุณหละ??
มี ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี อะไรแนะนำเราบ้าง...
ลอง comment, share หรือ tag บอกให้เรารู้ที!!
_____________________________
Source
+++ 8 ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ควรมี (มือใหม่) ในปี 2020 +++ - NOWASU
https://nowasu.co/…/8-skills-programmer-should-learn-in-20…/
11 Essential Skills Software Developers should Learn in 2020 - Javin Paul
https://dev.to/…/11-essential-skills-software-developers-sh…
_____________________________
#บทความที่เกี่ยวข้อง
9 ทักษะที่ควรมี ก่อนเรียนจบ เพื่อก้าวข้ามยุค "หุ่นยนต์ แย่งงาน"
http://bit.ly/9SkillsNOWASUCO
9 อันดับ งานด้านคอมพิวเตอร์ IT ที่บริษัทต้องการมากที่สุด!!
http://bit.ly/9JobsComputerNOWASUCO
ทักษะที่บริษัทต้องการมากที่สุด ในปี 2019 จากข้อมูลของ LinkedIn พร้อมเหตุผล!!
http://bit.ly/SoftAndHardSkills2019NOWASUCO
8 อาชีพมาแรง แซงทุกโค้ง ที่บริษัททั่วโลกต้องการ!! ภายในปี 2020
http://bit.ly/8Jobs2020NOWASUCO
5 งานด้านคอมพิวเตอร์ ที่เจ๋งที่สุด…และไม่ต้องเขียนโค้ด!!
http://bit.ly/5JobsComputerNOWASUCO
5 อาชีพอยู่รอด จากโลกยุค "หุ่นยนต์แย่งงานมนุษย์"
http://bit.ly/5JobsNOWASUCO
10 เทคโนโลยีใหม่ ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2019 และในอนาคต
http://bit.ly/Report10Tech2019NOWASUCO
MIT Technology Review เผย 10 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ในปี 2019 (Bill Gates ช่วยเลือก)
http://bit.ly/MITReport10TechNOWASUCO
8 เทรนด์ Digital Marketing มาแรง แซงทุกโค้ง ที่ควรนำมาใช้ ภายในปี 2019
http://bit.ly/8TrendsDigitalMarketingNOWASUCO