ก่อนจะลงน้ำ ต้องรู้ !!! ตอนนี้ผมเห็นนักดำน้ำดำลงไปทำงานเกือบทุกวัน
มาลองดูกันครับว่า ความเสี่ยงของนักดำน้ำมีอะไรบ้าง อันนี้ขอพูดถึงเฉพาะนักดำน้ำแบบ SCUBA ก่อนนะครับ
ใครที่กำลังจะไปลงโลกใต้ทะเล ต้องจำให้ขึ้นใจ โดยเฉพาะผู้ที่สนใจจะไปเรียนดำน้ำนั่นเองครับ
มีอยู่ 4 โรคที่เกิดขึ้นได้จากการที่เราไปดำน้ำ ซึ่งจริงๆแล้วเรื่องพวกนี้จะถูกบรรจุอยู่ในการเรียนมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ผมขอเอามาสรุปอีกครั้งหนึ่งให้ได้อ่านกันนะครับ จะขึ้นเขาก็มีโรคแพ้ความสูง จะลงน้ำก็มีโรคเช่นกัน 🙂 ตอนนี้ผมขอเล่าเฉพาะในส่วนของ 2 ปัญหาแรกก่อนในตอนนี้
ก่อนอื่น เราจะเริ่มต้นด้วยเรื่องของ "ความดันบรรยากาศ" เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของภาวะความผิดปกติทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มมุดลงไปในน้ำตั้งแต่วินาทีแรก โดย ณ จุดที่เราอยู่ ณ ผิวน้ำ จะมีค่าความดันบรรยากาศคือ 1 ATM มีค่าเทียบเท่ากับ 760 mmHg
เมื่อเราลงไปลึกมาขึ้นเรื่อยๆ ความดันจะเพิ่มขึ้น แต่ปริมาตรจะลดลง ให้ลองคิดถึงที่ภาพ คนที่ถือขวดน้ำดำลงไปในน้ำลึกแบบในหนังครับ ถ้าเราลงไปได้สัก 10 เมตร เราจะเห็นขวดนั้นบูบี้ไปมาก ยิ่งลงไปลึกเท่าไร ก็จะยิ่งบูบี้มากขึ้นเท่านั้น โดยจะมีค่าคงที่ตามนี้
ที่ความลึก 0 เมตร ความดันคือ 1 ATM แต่ปริมาตรคือ 1
ที่ความลึก 10 เมตร ความดันจะเพิ่มเป็น 2 ATM แต่ปริมาตรจะเหลือ 1/2
ที่ความลึก 20 เมตร ความดันจะเพิ่มเป็น 3 ATM แต่ปริมาตรจะเหลือ 1/3
ที่ความลึก 30 เมตร ความดันจะเพิ่มเป็น 4 ATM แต่ปริมาตรจะเหลือ 1/4
จะเห็นว่าจุดที่ปริมาตรกับความดันปอดเปลี่ยนอย่างรวดเร็วคือ 10 เมตรแรก ที่ความดันเพิ่มขึ้น 100% ในขณะที่ปริมาณหายไป 50% ซึ่งผลลัพธ์ของปริมาตรกับความดันที่เปลี่ยนแปลง และพบได้เป็นอย่างแรกก็คือ อาการเจ็บหูนั่นเอง ที่กลายเป็นอุปสรรคทำให้หลายๆคนกลัวทะเลจนพาลไม่อยากดำน้ำไปโดยปริยาย
ทำไมถึงเจ็บหูในช่วงของ 10 เมตรแรกตอนที่ดำลงไป ต้องคิดถึงภาพหูของเราที่มีแยกส่วน ชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน โดยส่วนจุดที่แบ่งระหว่างหูชั้นนอกกับหูชั้นกลางคือ เยื่อแก้วหู ถ้าลองจินตนาการอีกสักเล็กน้อยก็จะพบว่า หูชั้นกลางของเราก็ไม่ต่างอะไรกับขวดน้ำชัดๆ โดยมีเยื่อแก้วหูคือผิวของขวดนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเราดำลงไปสัก 10 เมตร ตัวของปริมาตรภายในหูชั้นกลางที่ลดลงอย่างรวดเร็วจะดึงให้เยื่อแก้วหูถูกดึงจนตึงเข้ามาด้านใน ผลก็คือ เราก็จะเจ็บหูมาก เจ็บชนิดทีเรียกว่าบอกไม่ถูก
ซึ่งวิธีการแก้ก็คือการเอามือสองข้างบีบจมูกแล้วหายใจออกแรงๆ (เพราะมันมีท่อเล็กๆที่เชื่อมระหว่างรูจมูกกับหูชั้นกลางอยู่ครับ) การหายใจออกแรงๆทั้งที่บีบจมูกอยู่ คือ การอัดอากาศจากปอดเรากลับเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อดันเยื่อแก้วหูให้เรากลับไปตำแหน่งเดิม อาการปวดก็จะหายไป แต่เราจะทำแบบนี้ไม่ได้ถ้าตอนนั้นเราคัดจมูกอยู่ เพราะว่าเยื่อหุ้มโพรงจมูกจะบวมจนไปปิดรูที่ว่านี้ครับ เขาถึงบอกว่า ถ้าคัดจมูกแล้วก็ควรจะหลีกเลี่ยงการดำน้ำในเบื้องต้น
เมื่อสักครู่คือเป็นช่วงขาลงใช่ไหมครับ แล้วถ้าเป็นช่วงขาขึ้นละ เช่นกำลังจะขึ้นจากผิวน้ำ หลักการก็จะคล้ายๆกัน แต่เกิดตรงกันข้าม ปัญหาจะย้ายที่ไม่เกิดทีจมูกแล้ว แต่จะมาเกิดกับ "ปอด" แทน
สมมติเราอยู่ที่ความลึก 30 เมตร ตอนนั้นปอดเรามีปริมาตรปริมาณ 1/4 ของขนาดปอดปกติของเราขณะที่อยู่บนฝั่ง ถ้าให้เทียบกับขวดน้ำก็น่าจะบู้บี้พอสมควรแล้วครับ
สมมติว่าถ้าเราพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำในทันทีจาก 30 เมตรไปจนถึง 0 เมตร ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร
"ปอดแหก" นั่นเองครับ หรือ "ปอดแตก" เพราะว่า ปริมาตรของปอดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 1/4 มาถึง 1 หรือเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าในเวลาสั้นๆ การเพิ่มปริมาตรปอดอย่างรวดเร็วอาจจะเทียบกับเวลาเป่าลูกโป่งก็ได้ครับ การค่อยเป่าๆ ลูกโป่งจะแตกยากกว่าการเป่าพรวดเดียวด้วยลมในปริมาตรเดียวกัน
ซึ่งทำให้ตอนที่เราจะขึ้นจากระดับน้ำลึกมาจนถึงผิวน้ำ เขาถึงบอกว่าให้เราร้อง "อ้า" อยู่ตลอดเวลา เหตุผลคือ การร้องอ้า จะเปิดการช่องทางของอากาศภายในปอดให้ถ่ายเทออกสู่ด้านนอก เสมือนหนึ่งเป็นการลดปริมาตรของปอดไปอย่างช้าๆ เพื่อรักษาสมดุลกับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นในขณะที่เรากำลังพาตัวเองไต่ระดับความลึกขึ้นไปนั่นเองครับ
อันนี้ว่ากันแค่เรื่องของ ปริมาตร กับ ความดัน เท่านั้น ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องชนิดของก๊าซที่มีส่วนสำคัญมากอีกอย่าง ทีเป็นปัญหาสำคัญของการดำน้ำเลยก็คือเรื่องของ โรคน้ำหนีบ เดี๋ยวจะมาว่ากันอีกครั้งในครั้งต่อไปนะครับ
同時也有11部Youtube影片,追蹤數超過32萬的網紅TheBabyboom,也在其Youtube影片中提到,สัญญาณมือ การสือสารใต้น้ำ ดีที่สุด คือ ตกลงกันก่อนดำน้ำ และ เราสามารถออกแบบ สัญญาณมือเองในกลุ่มของเราได้ เรียนดำน้ำ อุดร อีสาน Udonscuba ครูบูมสอนดำน...
scuba คือ 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的最佳貼文
คนเราไปทำงานที่ใต้ทะเลลึกนานๆได้อย่างไร
มี 1 คำถามที่น่าสนใจครับ เนื่องจากการทำงาน Offshore จะมีงานบางส่วนที่ต้องไปทำงานใต้ทะเลที่ระดับความลึกมาก (ที่ดำเล่นๆ SCUBA นั้นไปที่ระดับความลึกราวๆ 18-35 เมตร ไม่เกินนี้ครับ) แต่คนที่ดำน้ำทำงานตรงนี้จะลงลึกกว่านี้มาก คือลงไปถึงที่พื้นทะเล (sea floor) เท้าแบบว่าแตะถึงพื้นครับ และ จำเป็นต้องอยู่ที่ระดับความลึกนั้นค่อนข้างนานมาก
คำถามคือ เขาทำได้อย่างไร
อ่าวไทยมีความลึกโดยเฉลี่ย 60-70 เมตร ดังนั้นตัวเลขนี้คือระดับความลึกที่นักดำน้ำจะลงไป โดยนักดำน้ำกลุ่มนี้จะเรียกว่า Commercial diver คือคนที่ดำน้ำเป็นอาชีพ ไม่มีการเรียนการสอนในเมืองไทย ใกล้สุดที่เรียนได้คือที่สิงค์โปร์ และเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถือว่าท้าทายและมีความเสี่ยงพอสมควรครับ เพิ่มเติมข้อมูลครับ เนื่องจากอ่าวไทยเราถือว่าไม่ลึกมาก ในพื้นที่ offshore บางแห่งเช่นใน อ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico) ความลึกอาจจะไปได้ถึง 200-300 เมตร เลยทีเดียว
กลับมาที่อ่าวไทย การทำงานที่ระดับความลึก 60-70 เมตร มีความแตกต่างจากการดำน้ำสันทนาการมากครับ โดยปกติถ้าดำน้ำแบบสนุก เราก็แค่ขึ้นเรือออกไปกลางทะเลแล้วก็โดดลงทะเล อยู่ในน้ำนานประมาณ 35 - 45 นาที ก็ขึ้นมาพักน้ำ แล้วก็ลงไปดำใหม่อีกครั้ง โดยอิงตามปริมาณก๊าซไนโตรเจนที่เหลืออยู่ในร่างกาย (วัดจากตารางดำน้ำหรือจาก dive computer) วันหนึ่งดำน้ำอย่างมากสุดก็ 3-4 dive ... อันนี้คือเรื่องราวของ SCUBA diving ครับ ต่อไปจะเป็นเรื่องของ SAT diving
SAT diving ย่อมาจาก Saturation Diving คำว่า Saturation คือ สภาวะที่ร่างกายเรามีความดันภายในเซลล์ของร่างกายเรา มีค่าเท่ากับความดันย่อยของก๊าซที่เราหายใจเข้าไป (พูดไปแล้วอาจจะลง ให้มองภาพแบบนี้ครับ เหมือนกับเราเอาขวดน้ำเปล่าปิดฝาดำลงไปในน้ำครับ ลงไปลึกๆ ขวดน้ำก็จะบู้บี้หมด เพราะความดันรอบตัวนั้นสูงกว่าความดันภายในขวดนั้นน้อยกว่า ความดันในขวดก็ให้คิดภาพมันคือความดันย่อยของก๊าซที่อยู่ภายในเซลล์ของร่างกายนั่นเอง)
ที่นี้ทำไม เราต้องทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะ saturation ก่อน เพื่อจะลงไปดำน้ำลึกๆขนาดนั้น คำตอบก็คือ เนื่องจากการลงไปทำงานในแต่ละครั้งนั้นมีระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน คือเป็นชั่วโมง อาจจะนานได้ถึง 8 ชั่วโมง และเป็นความลึกถึง 60-70 เมตร การที่ร่างกายเราอยู่ในสภาวะ saturation จะทำให้ร่างกายเราสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะเช่นนี้
โดยหลักการทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะ saturation ได้ ก็คือ การให้นักดำน้ำคนนั้นไปอยู่ในสถานที่ๆภายในมีความดันอากาศเท่ากับความดันเป้าหมายเลย เช่น ถ้าจะไปทำงานที่ความลึก 60 เมตร เราก็พานักดำน้ำไปอยู่ใน chamber ที่ข้างในมีเตียง มีโต๊ะ มีทีวี มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอยู่ รวมถึงห้องน้ำ โดยภายใน chamber จะค่อยๆมีการปรับความดันอากาศตลอดเวลา นักดำน้ำที่กำลังจะเริ่มต้นไปดำน้ำ SAT diving เขาก็ต้องมาใช้ชีวิตในห้อง ก่อนเข้าห้อง chamber เขามีความดันในร่างกายเท่ากับพวกเรา แต่หลังจากที่เท้าเขาเข้าห้องไปแล้วผ่านไป 1 วัน ความดันในร่างกายเขาจะค่อยๆสูงขึ้น จนถึงเป้าหมายเท่ากับความลึกของระดับพื้นทะเลที่เราจะไปครับ ซึ่งห้องนี้มีชื่อเรียกว่า Living Chamber
หลังจากที่อยู่ใน Living Chamber ได้จนถึงจุดที่เหมาะสม นักดำน้ำก็จะถูกส่งลงไปใต้ทะเลโดยใช้ทุ่น ไม่ได้ดำลงไปเองนะครับ ในทุ่นนั้นก็จะเป็นห้องที่ไม่ต่างจาก chamber ครับ มีท่อสายอากาศ มีช่องทางการติดต่อกับคนบนบก โดยทุ่นอันนี้มีชื่อเรียกว่า Diving bell ซึ่งภายใน Bell ก็จะมีความดันมากกว่าความดันที่ก้นทะเลเล็กน้อย เพื่อให้เวลานักดำน้ำเปิดประตูที่พื้น Bell เวลาออกไปทำภารกิจ น้ำจะไม่ทะลักเข้ามาข้างใน หลังจากนั้นนักดำน้ำก็จะออกไปทำภารกิจจนสำเร็จแล้วก็จะกลับมาที่ Bell แล้วก็ถูกลากขึ้นกลับมาที่เดิม และกลับมาต่อกับ Living Chamber ปรับความดันจนเข้าที่ ก่อนที่นักดำน้ำคนนั้นจะออกกลับมาใช้ชีวิตในโลกภายนอกอีกครั้ง โดยในทุกๆกิจกรรมล้วนใช้เวลาทั้งสิ้น เพราะต้องรอให้ก๊าซต่างๆที่ละลายอยู่ในเนื้อเยื่อถูกขับออกไปจนหมดก่อนครับ
โดยชุดที่นักดำน้ำ SAT Diver ใส่ จะไม่ใช่ wet suit หรือ dry suit แบบ SCUBA ที่เรารู้จักกัน แต่จะเป็นชุดที่เรียกว่า Hot suit เนื่องจากชุดนี้จะมีพื้นที่วางให้สามารถอัดน้ำอุ่นเข้ามาในชุดได้ เพื่อรักษาอุณหภูมิให้กับนักดำน้ำ ซึ่งจะสามารถควบคุมอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิน้ำในสภาพแวดล้อม
อากาศที่ใช้ในการดำเนินภารกิจทั้งหมด ใช้ Heliox คือ เป็นส่วนผสมของ Helium กับ Oxygen ซึ่งก๊าซอันนี้จะมี Helium เป็นส่วนประกอบ 70%-90% และมี Oxygen อยู่ประมาณ 10%-20% แล้วแต่จุดประสงค์ของความลึกที่จะไปครับ (อากาศที่เราหายใจมี Oxygen 21% ไนโตรเจน 78% อื่นๆ 1%) การที่มี Helium ในสัดส่วนที่สูง จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะน้ำหนีบ (Decompression Sickness) ได้ และ ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะออกซิเจนเป็นพิษ (Oxygen Toxicity) ได้ เพราะสัดส่วนของออกซิเจนน้อยกว่าอากาศปกติ
เดี๋ยวไว้ผมจะมาต่อเรื่อง โรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับการทำ Saturation diving ครับ
ภาพ Creative Common
scuba คือ 在 HappyNancy Facebook 的最佳貼文
✨อีท้องหัก💙คือ Pickhandle barracuda เป็นปลาสากที่เรากินกันนั่นแหละ แต่ตัวนี้พิเศษ นางอยู่มานานเป็นเจ้าถิ่นในเกือกม้า ต้อนรับแขกทุกคน ชอบเล่นกล้อง ไม่ดุ เป็นมิตรเยี่ยงแมว ใครไปดำที่ dive site : ริเชริว อย่าลืมทีกทายน้องด้วยนะ 🧜🏾♀️ #barracuda #underwaterphotography #underwaterworld #scuba #scubalife #scubadiving @ กองหินริเชริว
scuba คือ 在 TheBabyboom Youtube 的最佳貼文
สัญญาณมือ การสือสารใต้น้ำ ดีที่สุด คือ ตกลงกันก่อนดำน้ำ และ เราสามารถออกแบบ สัญญาณมือเองในกลุ่มของเราได้
เรียนดำน้ำ อุดร อีสาน
Udonscuba ครูบูมสอนดำน้ำ
089 4774711
Line bybabyboom
scuba คือ 在 TheBabyboom Youtube 的最佳貼文
สัญญาณมือ การสือสารใต้น้ำ ดีที่สุด คือ ตกลงกันก่อนดำน้ำ และ เราสามารถออกแบบ สัญญาณมือเองในกลุ่มของเราได้
เรียนดำน้ำ อุดร อีสาน
Udonscuba ครูบูมสอนดำน้ำ
089 4774711
Line bybabyboom
#udonscuba #ครูบูมสอนดำน้ำ #scuba
scuba คือ 在 TheBabyboom Youtube 的最佳貼文
อากาศ คือ ออกซิเจน21% ไนโตรเจน78% อื่นๆ 1% ออกซิเจน 100% เอามาดำน้ำมีอันตราย ห้ามทำเด็ดขาด