การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield จะกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือ Bond Yield ในช่วงที่ผ่านมา
โดยเฉพาะ Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี กำลังเป็นปัจจัยทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
และหลายคนก็อาจกำลังสงสัยว่า
เรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับ Bond Yield ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ
คือ Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี
ในทางทฤษฎีนั้น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Bond Yield มักเป็นการส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงิน กำลังจะปรับตัวสูงขึ้น จากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็เพราะรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ให้เดินหน้าจากวิกฤติให้เร็วที่สุด
อย่างเช่น มาตรการก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำมากระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ก็เป็นเม็ดเงินสูงถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นกว่า 59 ล้านล้านบาท
โดยมีทั้งการนำเงินไปช่วยคนตกงาน สนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้
เมื่อประชาชนมีเงินในมือหรือได้รับการช่วยเหลืออุดหนุน จึงทำให้มีการคาดกันว่า ชาวอเมริกันจะออกมาจับจ่ายใช้สอย ท่องเที่ยว หลังจากอัดอั้นมานาน จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้
แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยจำนวนเงินที่มากขนาดนี้ อีกด้านหนึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า เงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา จะปรับเพิ่มขึ้นมากในอนาคตอันใกล้
และพอเป็นแบบนั้น สุดท้ายธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ก็จะต้องตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกั้นการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
นักลงทุนที่คาดการณ์แบบนี้ และกำลังถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีอยู่ จึงเริ่มพากันเทขายพันธบัตรดังกล่าวออกมา เพราะคาดว่าพันธบัตรรุ่นที่จะออกมาใหม่ในอนาคต จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรชุดปัจจุบันตามการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย
การเทขายพันธบัตรรัฐบาลรุ่นปัจจุบัน จึงทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริการุ่นอายุ 10 ปีนั้นลดลง และทำให้อัตราผลตอบแทน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกันตามกลไกของพันธบัตร
- สิ้นปี 2563 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ประมาณ 0.916%
- มีนาคม 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ประมาณ 1.674%
การเทขายพันธบัตร แล้วหันกลับมาถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ
หมายความว่า ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังกลับมาเพิ่มขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) ปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งหมายความว่า เงินดอลลาร์สหรัฐ กำลังแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น
- สิ้นปี 2563 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) อยู่ที่ประมาณ 89.894
- มีนาคม 2564 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) อยู่ที่ประมาณ 92.714
การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินบาทนั้นอ่อนค่าลงในเชิงเปรียบเทียบ
โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อช่วงต้นปี อยู่ที่ประมาณ 29.87 บาท
ในวันนี้ ค่าเงินบาทปรับตัวมาอยู่ที่ประมาณ 31.32 บาท
หรืออ่อนค่าลงมาแล้ว ประมาณ 4.9%
แน่นอนว่า เมื่อรวมกับการที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 การอ่อนค่าของเงินบาท ก็จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออก และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยในปี 2563 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยมีสัดส่วนกว่า 7.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 45% ของมูลค่า GDP
ค่าเงินที่อ่อนค่ายังจะส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเฉพาะการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมองว่าการท่องเที่ยวไทยมีต้นทุนที่ต่ำลง เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง
แม้ว่าตอนนี้ประเทศไทยจะยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เต็มที่เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศเริ่มฟื้นตัว ในช่วงเวลาเดียวกับที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
สรุปแล้ว การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา จะช่วยทำให้ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลบวกตามไปด้วย
แต่รู้ไหมว่า เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้น เรื่องนี้ก็ส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี
โดยจากสิ้นปีที่ประมาณ 1.165% มาวันนี้ ปรับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1.733%
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี มักเป็นปัจจัยที่ใช้กำหนดแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
นั่นหมายความว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี มีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทยนั้นปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย
แล้วเรื่องนี้จะกระทบอะไรกับเราบ้าง ?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้หากรัฐบาลไทยหรือบริษัทเอกชนไทย ต้องการจะออกหุ้นกู้ระยะยาว ก็จะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น
งบประมาณของภาครัฐ รวมทั้งงบประมาณของภาคเอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อการลงทุนก็อาจลดลง เนื่องจากงบประมาณบางส่วนต้องถูกแบ่งไปชำระภาระหนี้ในอนาคตที่เพิ่มสูงขึ้น
แต่ที่ดูแล้วน่าเป็นห่วงที่สุด น่าจะเป็นภาคครัวเรือนไทย
ปัจจุบันหนี้สินของภาคครัวเรือนไทย พุ่งไปถึง 87% ของมูลค่า GDP
หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 14 ล้านล้านบาท
ซึ่งถ้าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินของครัวเรือนไทยก็จะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
พอภาระของภาคครัวเรือนมีมากขึ้น ก็จะมีกำลังมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มากเพียงพอในวันนี้และในอนาคต
สรุปแล้ว การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวพวกเรา
แต่เมื่อลองมาวิเคราะห์กันดูแล้ว กลับเป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเราและเศรษฐกิจไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investing.com/currencies/us-dollar-index
-https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield-historical-data
-https://kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/savings/Pages/Invest_A125.aspx#
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/forex-markets-dollar.html
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeBalanceMonthly&Lang=Th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH
-https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=615
-https://th.investing.com/rates-bonds/thailand-10-year-bond-yield
u.s. bond index 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最佳貼文
Hong Kong’s Hang Seng Index closed 7.2% lower this week, following a global sell-off in shares triggered by a hike in U.S. bond yields.
Read more: https://bit.ly/3stATqR
港股跌幅擴大,恆指失守兩萬九,收市跌1,093點,報28,980點;本周累跌2,091點,或7.2%。
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
u.s. bond index 在 JC 財經觀點 Facebook 的最讚貼文
📣📣📣新債王Gundlach的投資策略與思考📣📣📣
👉 在DoubleLine網站上新發布一篇文章《Jeffrey Gundlach Talks Total Return Strategy》,討論其Total Return Bond Fund所使用的策略與投資邏輯,還滿詳細的,有興趣的朋友可以參考。
簡單來說,Gundlach運用投資組合達到與Bloomberg Barclays U.S. Aggregate Index(綜合債券指數)同樣,甚至更多的報酬,與此同時承受相對較低的風險。要如何達到這樣的目標呢?Gundlach說:在他們長期觀察所有固定收益資產的歷史收益,數據顯示機構抵押貸款相較於其他類別,擁有相當的報酬,卻維持較低的波動率,也因為如此,機構抵押貸款的風險調整後收益也相對較高
Aggregate Index與Total Return Strategy的不同之處在於投資組合的佔比。在Agg. Index當中,政府公債、機構抵押貸款以及公司債佔比各約1/3。但是在Total Return Fund,並沒有持有公司債,而是以非機構抵押債券去取代公司債的部位。自Total Return Fund成立以來,Non-Agency credit securities的部位就佔了整體的1/3或更多一些,剩下的2/3則持有government agency securities,其中持有最多的則是agency mortgage securities。
為什麼Total Return Fund不持有公司債呢?原因是Gundlach認為公司債的yield-to-risk ratio並不吸引人。也就是所謂的風報比,你所承受的風險與你可獲得的報酬的比例,最好的情況是:風險極小,報酬極大。
我們評估債券時常用的風險指標「存續期間」(Duration),代表債券價格的對市場利率變動的敏感度。當存續期間越常,債券價格對於利率的敏感度越高,反之亦然。Gundlach說,考慮到目前經濟循環週期,與公司債大量發行下,公司債指數擁有非常高(very high)的存續期間:7年。而Total Return Fund採用主動調整結構信用證券組合,將存續期間大幅降低,創建一個利率風險比公司債券更低、收益率更高的投資組合,並在市場升息循環中佔有相對優勢。
除此之外,不管是在公司CFO面對低利率環境下的財務考量,或是投資人對於固定收益投資的嚮往,導致公司債的需求上升,目前公司債的發行數量已經比2007年之前高出一倍,公司債總額佔GDP也達到歷史新高水準。但是,在過去幾年裡已經大量購買了投資級公司債券的投資人,卻可能沒有察覺在經濟循環的後期,除了固有的信用風險之外,還需要考慮到利率風險帶來的後果。
在垃圾債市場,許多企業的信評甚至到BBB以下(非投資等級),公司的利息保障倍數下滑,更多公司的收入與現金流甚至無法負擔其利息費用,這些公司擁有高違約風險,我們該問的問題是:何時發生?或許在即將來臨的經濟下行,這些公司的問題才會一一顯現。
所以,在公司債無法提供高風報比的情況下,Gundlach認為不持有公司債是當前最「舒服」的決策。並且,就如同一開始所提,Total Return Fund致力於降低整體風險與波動率,並獲得更高的報酬。
👉 雖然這篇文章主要在講債券投資組合的方法,但是我認為不管是投資任何商品,其實都是依循相同的原則:
1️⃣ 追求風險極小,利潤極大
2️⃣ 分散投資
3️⃣ 降低波動率
投資股市也是如此,通常當我們看到上漲的空間大幅高於下跌的空間,我們才會選擇買入該公司的股票。要如何去評估公司的上漲空間?必須同時擁有財務思維以及商業思維,財務思維可以幫助你了解公司過去的經營情況,釐清公司報表上數字代表的意義,就好比你第一次見到一個人只能用客觀的資訊去評斷它。而商業思維則是幫助你進一步去認識這個人的內在,評估他是否具備成長的特質,以及支持未來擴展的潛能。
而分散投資與降低波動率,兩者之間也存在關聯性。當分散投資的程度越大,自然會降低波動率;而降低波動率不免會降低投資組合的整體報酬。但是以長期的資產配置投資組合來看,低波動率的投資組合並不會使得該投資組合的投資績效較差,而高波動性的投資組合也不會使該投資組合的基效較好,反而造成負面影響。(可以參考寰宇出版《資產配置投資策略》這本書的內容)。
⬇️⬇️⬇️全文連結⬇️⬇️⬇️
https://justininvesting.wordpress.com/…/total-return-strat…/
#美股投資 #新債王 #Gundlach #TotalReturn #債券投資