แอดเชื่อว่า หนึ่งในปัญหาโลกแตกของเด็กไอที ไม่ว่าจะเรียนอยู่หรือว่าจบแล้ว ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง “เรียนไอที แต่ไม่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ไปทำไรดี? 😢” เพราะงั้นวันนี้แอดเลยมัดรวม 8 อาชีพน่าสนใจด้าน IT ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์มาให้ทุกคนอ่าน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย 🔥
.
📊 Data Analyst
เริ่มต้นกันด้วยอาชีพดัง หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง นั่นก็คือ Data Analyst นั่นเอง โดย Data Analyst จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
.
แต่ถึงจะบอกว่าไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ แต่ Data Analyst ก็ยังต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับโค้ดอยู่บ้าง โดยหลัก ๆ ที่มักใช้กันก็จะเป็น Python, SQL หรือ R Programming คู่กับการใช้ Excel และเครื่องมือ Data Visualization ต่าง ๆ เช่น Tableau, Power BI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลค่ะ
.
💼 IT Business Analyst
มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า BA เป็นคนที่วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจแบบเจาะลึก เพื่อพัฒนากระบวนการ สินค้าและบริการของธุรกิจ สำหรับสาย IT แล้ว BA เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับงานฝั่ง Dev โดยจะเป็นคนไปคุยกับผู้ใช้ว่าอยากได้อะไรแบบไหน จากนั้นก็สรุปสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งไม้ต่อให้ Dev ว่างานที่ต้องทำนั้น เป็นยังไง ต้องทำอะไรบ้าง มีระยะเวลาเท่าไหร่ ฯลฯ
.
แต่เดี๋ยวก่อน ถึงแม้ Business analyst จะอ่านดูแล้วเหมือนไม่ได้แตะโค้ด แถมดูน่าจะใช้ Soft Skills เป็นหลัก แต่ก็เป็นอาชีพที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างด้าน IT และ Business นะคะ เพราะฉะนั้นเพื่อน ๆ ที่อยากมาทำงานด้านนี้ จะทิ้งความรู้ IT แบบทิ้งไปเลย 100% ไม่ได้น้า :D
.
🖌️ UX Designer
ไปต่อกันเลยกับอีกอาชีพสุดฮอตในตอนนี้ UX Designer เป็นคนที่ต้องทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานและออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience) ให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในองค์กร (ซึ่งในด้าน IT ส่วนใหญ่ก็เป็นเว็บหรือแอปอะแหละ) เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการ และใช้งานง่ายที่สุดให้กับผู้ใช้งาน
.
ทักษะที่ UX Designer ต้องมี ก็จะเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ทำความเข้าใจผู้ใช้งาน เช่น Design Thinking, Customer Journey, การทำ Wireframe หรือการสร้าง Prototype รวมไปถึงทักษะด้านศิลปะ การออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเรื่องจิตวิทยา ก็เป็นเรื่องที่ UX Designer ต้องให้ความสนใจเหมือนกันนะคะ
.
📋 Project Manager
สำหรับสาย IT แล้ว Project Manager คือคนที่จะทำให้ Project สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะงั้นหน้าที่ก็จะครอบคลุมตั้งแต่วางแผน รับมือกับคน เวลา และงบประมาณ รวมถึงควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้ Project เป็นไปตามขอบเขตที่วางไว้และเสร็จทันเวลาที่กำหนด ซึ่งอันที่จริง ดีเทลย่อย ๆ ก็จะแตกต่างกันไปในงานที่ต้องรับผิดชอบอีกค่ะ
.
ความท้าทายของงานนี้คือ ต้องเข้าใจภาพรวมของงานและทำให้คนในทีมมองเห็นภาพเดียวกัน เพราะงั้นส่วนใหญ่ Project Manager เป็นคนที่มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องมาก่อน แต่ก็ไม่แน่น้า บางโอกาสมักมาแบบไม่ทันตั้งตัว ถ้าเพื่อน ๆ สนใจ ก็สามารถศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมระหว่างรอโอกาสนั้นมาถึงนะคะ
.
📂 Product Manager
ตำแหน่ง Product Manager จะคอยดูแลทุกอย่างของ Product ตั้งแต่วางแผน ไปจนตอนสร้าง และบริหารจัดการ Product นั้น ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด เป็นเหมือน CEO ของแต่ละ Product นั่นแหละ และส่วนใหญ่ก็ต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อนเหมือนตำแหน่ง Project Manager เลย
.
อ่าน ๆ ไปก็ดูคล้ายกับ Project Manager ใช่ไหม? แต่จริง ๆ แล้ว Product Manager จะโฟกัสที่ “Product” เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับ Outcome ในการปรับปรุงและพัฒนา Product ให้ตอบโจทย์ลูกค้า ส่วน Project Manager จะให้ความสำคัญกับ Output และการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคน เวลา และงบประมาณของการทำ Project ชิ้นนึงมากกว่า
.
🔍 QA Engineer
QA Engineer จะเป็นคนทดสอบเว็บหรือแอปเพื่อหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้งาน เพื่อให้เว็บหรือแอปนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ไม่มี Bug หรือข้อผิดพลาดมากวนใจผู้ใช้ (หรือมีให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้) โดย QA Engineer ต้องเข้าใจ Requirement จากฝั่งผู้ใช้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะคิด Case ของการทดสอบได้ตรงจุดและครอบคลุม
.
ที่จริงแล้ว ตำแหน่งนี้อาจจะแบ่งได้อีก 2 ประเภทคร่าว ๆ คือ Manual (ทดสอบด้วยมือของคนทำ QA นั่นแหละ) กับ Automation (เขียนโค้ดมาช่วยทดสอบ) ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับองค์กรที่เราอยู่ และซอฟต์แวร์ที่เราทดสอบค่ะ และที่สำคัญ ถึงอาชีพนี้จะเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โดยตรง แต่ก็ไม่ได้ใช้ทักษะโปรแกรมมิ่งหนักมากค่ะ :D
.
⚙️ System Admin
คิดถึงอินเทอร์เน็ตในบริษัทให้คิดถึงคนนี้ค่ะ System Admin หรือผู้ดูแลระบบ คือคนที่คอยดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร ทำตั้งแต่ลง OS ติดตั้ง ดูแลทั้งซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ในระบบ ไม่ว่าจะเป็นสาย Cable หรือ Server รวมถึงเป็นคนที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับทุกคนในยามคับขัน (เรื่อง Technical Issues) ด้วยค่ะ
.
ซึ่งในไทยเอง ถ้าไม่ใช่บริษัทเฉพาะด้านนี้โดยตรง ตำแหน่ง System Admin อาจจะไปคาบเกี่ยวกับตำแหน่ง Network Admin หรือบางที่ก็ All in one กันไปเลย 😂 แต่งานคร่าว ๆ ของ System Admin ก็จะครอบคลุม 4 คีย์เวิร์ดหลัก ๆ ของระบบ นั่นก็คือ “ติดตั้ง-สนับสนุน-ดูแล-แก้ไขปัญหา” ค่ะ
.
📈 Growth Hacker
เห็นคำว่า Hacker แบบนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าแอดจะชวนไปเจาะระบบใครเขานะ ความจริงแล้วคำว่า Hack เนี่ย มีความหมายประมาณว่า การทำบางอย่างเพื่อจัดการบางสิ่งให้ได้ พอมารวมกับคำว่า Growth เลยหมายถึง การทำยังไงก็ได้ให้บางสิ่งเติบโตเร็วที่สุด ซึ่งหลายแบรนด์ดังก็ใช้ Growth Hacking กับบริการของตัวเองจนมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกัน
.
ถ้าถามว่า คติประจำใจของ Growth Hacker คืออะไร? คำตอบก็คงจะเป็น การพยายามทำให้ธุรกิจเติบโตให้ได้ โดยจะเป็นคนที่จะเฟ้นหาการตลาดหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้า และคอยจัดการกลยุทธ์นั้นให้สำเร็จตามที่หวัง หรือเปลี่ยนเป็นแนวทางที่ดีกว่านั่นเอง
.
เรียบร้อยครบทั้ง 8 อาชีพที่แอดอยากเล่าวันนี้ ที่จริงอาชีพสาย IT ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์มีอีกเยอะมาก เยอะจนเล่า 3 วันก็ไม่หมด เช่นแอดเองก็จบ IT แล้วมาทำ Content ให้เพื่อน ๆ อ่าน 😆 เพราะงั้นที่เอามาฝากวันนี้ก็เป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น (แอบกระซิบว่า แต่ละบริษัท ถึงชื่อตำแหน่งจะเหมือนกัน แต่การทำงานอาจไม่เหมือนกัน เพราะงั้นอ่าน Job Description ตอนไปสมัครงานกันให้ดีน้า)
.
👉 ว่าแต่เพื่อน ๆ พี่ ๆ คนไหน หลังเรียนจบไปทำงานอะไรกันบ้าง มาแชร์ให้น้อง ๆ ฟังกันเร็ววว 🔥
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
user manual คือ 在 WI - YouTube 的推薦與評價
Work Manual หรือ Work Instruction เเละ User Manual ... WI - Manual คู่มือ คือ อะไร Manual (คู่มือ) คือ อะไร Work Manual เเละ User Manual ต่างกันอย่างไร. ... <看更多>