รู้จัก AUKUS ของสหรัฐ และการโต้กลับด้วย CPTPP ของจีน /โดย ลงทุนแมน
เรื่อง AUKUS เป็นประเด็นใหม่ที่คนทั้งโลกจับตา
สนธิสัญญา AUKUS เป็นข้อตกลงที่สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จะสนับสนุนการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้แก่ออสเตรเลีย
คำว่า AUKUS ย่อมาจาก
Australia (AU)
United Kingdom (UK)
United States (US)
แต่รู้ไหมว่าสนธิสัญญา AUKUS ยังเกี่ยวข้องกับจีน และอาจทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคทะเลจีนใต้ระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน มากขึ้น
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร อ้างว่า การทำสัญญา AUKUS กับออสเตรเลีย เพราะอยากให้มีความปลอดภัยและสันติภาพ เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มองว่า สนธิสัญญานี้จะทำลายความสงบสุขในเอเชียมากกว่า เพราะอย่างที่รู้กันคือ สนธิสัญญานี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพออสเตรเลีย
การที่ออสเตรเลียได้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในครั้งนี้ ออสเตรเลียจะกลายเป็นประเทศที่ 7 ของโลก ที่มีเทคโนโลยีดังกล่าว
เรื่องทั้งหมดนี้ก็คงเป็นเพราะเหตุผลเบื้องหลังคือ สหรัฐฯ ต้องการคานอำนาจและท้าทายอิทธิพลของจีน ในเขตทะเลจีนใต้
แล้วสำหรับจีน มีมุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ?
จีนกล่าวหลังจากทราบเรื่องดังกล่าวว่า สหรัฐฯ นั้นใจแคบ และไร้ความรับผิดชอบ ที่อาจนำพาให้ประเทศอื่นเข้าสู่ยุคสงครามเย็น
และที่ทำให้ทุกคนประหลาดใจ หลังจากการแถลงข่าวเรื่อง AUKUS ได้ 1 วัน รัฐบาลจีนเลยเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP ในทันที
แล้ว CPTPP คืออะไร ?
CPTPP คือ ข้อตกลงสำหรับประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเด็นเรื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม
จริง ๆ แล้ว CPTPP เกิดจากโมเดลของ TPP ที่สหรัฐฯ ออกแบบมา เพื่อกีดกันทางการค้ากับจีนโดยเฉพาะ ดังนั้นหลายคนคิดว่าจีนอาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด CPTPP ได้เพราะติดเกณฑ์หลายเรื่องในข้อตกลง
แต่การที่จีนยอมเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP นี้ นอกจากจีนจะทำการโต้กลับเรื่อง AUKUS แล้ว จีนคงเห็นอะไรบางอย่างที่จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้
โดยก่อนหน้านี้ ในสมัยที่ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ได้ออกจากข้อตกลง TPP มาแล้ว ซึ่งการออกจากข้อตกลง TPP ในครั้งนั้นทำให้ขนาดเศรษฐกิจของประเทศทั้งหมดที่อยู่ในข้อตกลง ได้ลดลงจาก 27% ของ GDP โลก มาอยู่ที่ 15%
แต่การเข้ามาของจีนในครั้งนี้ จะทำให้ CPTPP มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 30% ของ GDP โลก และมีประชากรรวมเป็น 1,900 ล้านคน หรือ 25% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องติดตามกันอีกยาว ว่าจีนจะเข้าร่วม CPTPP ได้หรือไม่
เพราะตอนนี้หลายประเทศที่อยู่ใน CPTPP ก็ยังคงทำตัวไม่ถูก เนื่องจากในข้อตกลงนี้มีแต่ประเทศที่เป็นมหามิตรของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และแคนาดา ในขณะที่ จีนนั้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯ อย่างชัดเจน
ซึ่งน่าติดตามว่า พันธมิตรของสหรัฐฯ ในข้อตกลง CPTPP จะคิดเห็นอย่างไร ?
ประเทศสมาชิกใน CPTPP ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย มองว่าการเข้ามาใน CPTPP ของจีนเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคแปซิฟิกมากขึ้น
สำหรับญี่ปุ่นยังมีกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้กับจีน และนอกจากนั้นญี่ปุ่นเคยเจรจาเรื่อง CPTPP กับไต้หวันไว้ว่าจะยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
ดังนั้นไต้หวันย่อมกังวลว่า ถ้าจีนได้เข้าร่วม CPTPP ไต้หวันจะถูกกีดกันในการเป็นสมาชิกของ CPTPP ในอนาคต
สำหรับออสเตรเลียเอง ก็ยังมีข้อพิพาทกับจีนเช่นกัน
โดยจีนได้เพิ่มอัตราการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย ซึ่งมีเจตนาเพื่อโต้กลับออสเตรเลีย หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้จีนออกมารับผิดชอบว่าเป็นต้นเหตุของโรคระบาดโควิด
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย อาจไม่มีอำนาจมากพอที่จะห้ามจีนเข้า CPTPP ได้
แต่ทั้ง 2 ประเทศก็คงใช้วิธีเน้นย้ำว่า จีนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ CPTPP ให้ได้
ที่น่าสนใจก็คือ พันธมิตรของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้อยู่ใน CPTPP อย่างสหราชอาณาจักร ก็ต้องการเข้าร่วม CPTPP เพื่อขายสินค้าเกษตรกับประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น หลังไม่มีข้อผูกมัดกับสหภาพยุโรปแล้ว
คำถามต่อไปก็คือ จีนจะปฏิบัติตามเกณฑ์ของ CPTPP ได้หรือไม่
โดยในข้อตกลง CPTPP จะเน้นเรื่องความเป็นเสรี และรัฐบาลต้องไม่ไปอุดหนุนรัฐวิสาหกิจเพื่อบิดเบือนตลาด
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับรัฐบาลจีนเองที่มีแผนจะลดเงินสนับสนุนแก่รัฐวิสาหกิจ และดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้บริษัททำกำไรและดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังได้ประกาศเข้าร่วมพันธกรณีข้อตกลงปารีส และยุติโครงการสร้างโรงงานถ่านหินในต่างประเทศ เพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศและแก้ปัญหาโลกร้อน
ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการเข้าร่วม CPTPP ในประเด็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับจีน
อย่างไรก็ตาม จีนยืนยันว่าการเข้าร่วม CPTPP ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสนธิสัญญา AUKUS เพราะจีนต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มากกว่าจะผลักดันให้เกิดสงครามเหมือนสหรัฐฯ
แล้วสหรัฐฯ มีท่าทีอย่างไร หลังจีนต้องการเข้าร่วม CPTPP ?
การร่วมมือของสหรัฐฯ ทางการทหาร ผ่านสนธิสัญญา AUKUS อาจไม่พอที่จะหยุดอำนาจของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพราะสหรัฐฯ ยังขาดบทบาทการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชีย
ซึ่งนักธุรกิจ และสมาชิกในสภาคองเกรส ต้องการให้สหรัฐฯ กลับเข้ามาเป็นสมาชิก CPTPP ก่อนประเทศจีน เพื่อลดกำแพงภาษี และรองรับการเป็นสมาชิกของไต้หวันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
แต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจจะไม่เข้าร่วม CPTPP ในทันที จนกว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือนโยบาย “Build Back Better” จะสำเร็จเสียก่อน
ซึ่งนโยบายนี้ กีดกันทางการค้าและเทคโนโลยีกับจีนในทางอ้อม ด้วยการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศและใช้สินค้าที่ผลิตโดยคนอเมริกัน
ซึ่งดูเหมือนว่า สงครามการค้า หรือ สงครามเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตั้งแต่สมัยทรัมป์ ยังคงดำเนินต่อ เพียงแค่อยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
และสำหรับประเทศที่เหลือบนโลกใบนี้ ก็ยังต้องปรับตัวให้อยู่กับ 2 ขั้วทางการเมือง ที่ไม่น่าจะมีวันมาบรรจบกันได้อย่าง สหรัฐฯ และจีน ไปอีกนานเป็นทศวรรษ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.reuters.com/world/china/china-officially-applies-join-cptpp-trade-pact-2021-09-16/
-https://apnews.com/article/united-nations-general-assembly-joe-biden-6dd0382e93987500d714f9fa497602af
-https://www.bbc.com/news/world-asia-china-58647481
-https://www.posttoday.com/world/663460
-https://www.prachachat.net/economy/news-765984
-https://www.cnbc.com/2021/09/27/analysts-on-chinas-bid-to-join-cptpp-strategic-competition-with-us.html
-https://www.bbc.com/news/explainers-55858490
-https://www.globaltimes.cn/page/202109/1234584.shtml
-https://www.reuters.com/article/uk-davos-meeting-trade-truss-idUSKBN29Y14U
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/control-risks-on-biden-administration-rejoining-tpp-trade-deal.html
-https://www.piie.com/blogs/trade-and-investment-policy-watch/chinas-cptpp-bid-puts-biden-spot
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
同時也有40部Youtube影片,追蹤數超過15萬的網紅豐富,也在其Youtube影片中提到,主持人:陳鳳馨 來賓:丁學文 主題:一週國際經濟趨勢 📌《經濟學人》The threat from the illiberal left 談左翼思維對古典自由主義的威脅 📌《倫敦金融時報》The Great Divide over living with the virus 談亞太地區清零政策的不能...
「world gdp」的推薦目錄:
world gdp 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
BREAKING: จีนเจอปัญหา ขาดแคลนไฟฟ้าหนัก กระทบการส่งมอบ สินค้าทั่วโลก
จีนกำลังเจอกับวิกฤติด้านพลังงาน ที่ทำให้ประเทศขาดแคลนไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการผลิต และระบบซัปพลายเชนทั้งระบบ เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก
ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีต้นตอมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ
1) ทางการจีนต้องการลดมลพิษภายในประเทศ จึงได้ออกคำสั่งให้ 20 มณฑลของจีน จะต้องถูกตัดไฟบางส่วน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการสร้างมลพิษ
พร้อมกับขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟ และลดการใช้ไฟฟ้า
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกสั่งให้ตัดไฟฟ้าบางส่วน ครอบคลุม GDP มากกว่า 66% ของประเทศ
และมาตรการนี้ ยังมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานอะลูมิเนียม
2) ราคาถ่านหินที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งก็เพราะปัญหาที่จีนกับออสเตรเลียมีข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งเดิมออสเตรเลียเคยส่งออกถ่านหินให้จีนเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้จีนต้องพยายามจัดหาถ่านหินจากแหล่งอื่นแทน
ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านราคาไฟฟ้าของจีน ก็มีการควบคุมค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนและธุรกิจ ให้อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าขึ้นราคาได้ไม่มาก
จนทำให้โรงงานไฟฟ้าประสบปัญหาขาดทุนในทุก ๆ หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าเลือกที่จะชะลอการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสวนทางกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ต้องการสินค้าจากจีนในช่วงนี้
และนั่นก็เป็นที่มาของการขาดแคลนไฟฟ้าในประเทศจีนตอนนี้
ซึ่งถ้าถามว่า พลังงานไฟฟ้าจากการเผาถ่านหิน สำคัญกับจีนมากแค่ไหน ?
ก็ตอบได้เลยว่า คิดเป็นการผลิตพลังงาน 2 ใน 3 ของพลังงานที่จีนใช้ทั้งประเทศ..
ดังนั้น เรื่องนี้จึงกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของจีน ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า, สิ่งทอ และของเล่น จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากในช่วงปลายปีนี้ เป็นฤดูแห่งการช็อปปิง
ซึ่งตามปกติแล้ว ตอนนี้ก็ควรมีการเร่งการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันเวลา และเพียงพอต่อความต้องการ
นอกจากนี้ ผลกระทบของวิกฤติขาดแคลนไฟฟ้านี้ ยังลามไปถึงโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับบริษัทระดับโลก อย่าง Apple และ Tesla ด้วย
โดยเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวออกมาว่า ลูกค้าที่สั่งจอง iPhone 13 กับทาง Apple อาจต้องรอนานกว่า 1 เดือน
เนื่องจากติดปัญหาในระบบซัปพลายเชน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากโรงงานในจีน ที่ลดกำลังการผลิตลง ตามมาตรการของทางการจีน ที่ต้องการลดมลพิษ
ทั้งนี้ ด้านผู้ผลิตในจีน ได้ออกมาเตือนว่ามาตรการที่เข้มงวดดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
เพราะพื้นที่แค่ 3 มณฑล ซึ่งได้รับผลกระทบต่อมาตรการดังกล่าว เช่น เจียงซู, เจ้อเจียง และกวางตุ้ง รวมกัน
ก็คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP ทั้งประเทศแล้ว
นอกจากนี้ การลดกำลังการผลิตของโรงงานในจีน จะทำให้ร้านค้าหลายแห่งทั่วโลก มีปัญหาในการจัดการสินค้าในสต็อก ทำให้ของขาดตลาด และอาจทำให้สินค้าแพงขึ้น จนเกิดเงินเฟ้อได้
ซึ่ง ณ ตอนนี้ ตลาดโลกก็จะเริ่มรู้สึกถึงการขาดแคลนสินค้าต่าง ๆ ตั้งแต่สิ่งทอ, ของเล่น, เสื้อผ้า ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องจักร
เรียกได้ว่า ส่งผลกระทบต่อซัปพลายเชนทั้งระบบ ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
แน่นอนว่าพอเรื่องเป็นแบบนี้ หลายสถาบันการเงิน จึงได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์ GDP ของจีน ในปีนี้
เช่น ทางด้าน Nomura สถาบันการเงินของญี่ปุ่น ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เป็น 3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.4%
ที่สำคัญคือ เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบและลามมาถึงประเทศไทยด้วย
เพราะหากไปดูในปี 2020 ที่ผ่านมา มูลค่าสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีน สูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท
โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรต่าง ๆ
นอกจากนี้ ไทยยังมีสินค้าแฟชั่น ที่มีการนำเข้าจากจีนในปริมาณที่สูงมากเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าโรงงานในจีนลดกำลังการผลิตลง จนสินค้าในตลาดมีน้อยลง หรือขาดตลาด
และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ก็จะกระทบต่อการนำเข้าของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พอเห็นแบบนี้ ก็ยิ่งต้องลุ้นกันต่อไป ว่ารัฐบาลจีนจะแก้ปัญหานี้อย่างไรบ้าง
และประเทศไทย จะได้รับผลกระทบแค่ไหนจากวิกฤติไฟฟ้าของจีนในครั้งนี้..
References
-https://www.bloomberg.com/news/newsletters/2021-09-28/supply-chain-latest-china-s-power-curbs-to-hit-global-economy
-https://www.reuters.com/technology/many-apple-tesla-suppliers-halt-production-china-amid-power-pinch-2021-09-27/
-https://www.straitstimes.com/business/economy/chinas-electricity-shock-is-latest-supply-chain-threat-to-world
-https://tradingeconomics.com/thailand/imports/china
world gdp 在 Rti 中央廣播電臺 Facebook 的最讚貼文
【IMD數位競爭力排名 台灣首度進入前十名🎉】
#瑞士洛桑管理學院(#IMD)29日發布 #2021世界數位競爭力調查評比,台灣在全球64個主要國家及經濟體中排名第8名,較去年上升3名,也是該評比首次進入前十名。👍👍👍
本次調查評比指標中,包括「全國平均總研發人力」、「行動寬頻用戶」及「資訊科技與媒體股票市場資本額占GDP的比率」在全球排名居冠;其次「高等教育成就」、「研發占總支出的百分比」、「智慧型手機普及率」及「公司敏捷度」排名第3名,表現亮眼。💐💐💐
📌加入Juiker,即時掌握央廣新聞📌
https://jkgo.in/gt/j/bGiJAm
📌歡迎加入央廣Rti官方TG帳號,每日新聞不漏接📌
https://t.me/RadioTaiwan
📌Google新聞也可追蹤央廣Rti📌
https://reurl.cc/LdGL5L
world gdp 在 豐富 Youtube 的最佳解答
主持人:陳鳳馨
來賓:丁學文
主題:一週國際經濟趨勢
📌《經濟學人》The threat from the illiberal left 談左翼思維對古典自由主義的威脅
📌《倫敦金融時報》The Great Divide over living with the virus 談亞太地區清零政策的不能持續
📌《經濟學人》Delta and the world economy 談停滯性通貨膨脹的壓力
📌《經濟學人》China’s bad debts 談中國的財經風險
節目時間:週一至週五 7:00-9:00am
本集播出日期:2021.09.08
#陳鳳馨 #TheEconomist #一週國際經濟趨勢
🔔 圖片取自:The Economist
https://www.economist.com/weeklyedition/2021-09-04
📣 更多 #財經起床號 專題影音:https://bit.ly/2QvBR55
🔍 馨天地
Apple Podcast:https://apple.co/3uVbXdQ
Google Podcast:https://reurl.cc/O0VrrA
KKBOX:https://bit.ly/3bezcYP
-----
訂閱【豐富】YouTube頻道:https://www.youtube.com/c/豐富
按讚【豐富】FB:https://www.facebook.com/RicherChannel
▍九八新聞台@大台北地區 FM98.1
▍官網:http://www.news98.com.tw
▍粉絲團:https://www.facebook.com/News98
▍線上收聽:https://pse.is/R5W29
▍APP下載
• APP Store:https://news98.page.link/apps
• Google Play:https://news98.page.link/play
▍YouTube頻道:https://www.youtube.com/user/News98radio
▍Podcast
• Himalaya:https://www.himalaya.com/news98channel
• Apple Podcast:https://goo.gl/Y8dd5F
• SoundCloud:https://soundcloud.com/news98
world gdp 在 豐富 Youtube 的最佳貼文
主持人:陳鳳馨
來賓:丁學文
主題:一週國際經濟趨勢
📌《經濟學人》A 3°C world has no safe place 談極端天氣對全球氣候變化的影響
📌《倫敦金融時報》What crises teach us about innovation 談疫情期間跨產業合作的重要性
📌《經濟學人》Unicornucopia 談全球獨角獸現象及未來隱憂
📌《經濟學人》China offers a masterclass in how to humble big tech, right? 談中國和美國對科技業打壓的比較
節目時間:週一至週五 7:00-9:00am
本集播出日期:2021.07.28
#陳鳳馨 #TheEconomist #一週國際經濟趨勢
🔔 圖片取自:The Economist
https://www.economist.com/weeklyedition/2021-07-24
📣 更多 #財經起床號 專題影音:https://bit.ly/2QvBR55
🔍 馨天地
Apple Podcast:https://apple.co/3uVbXdQ
Google Podcast:https://reurl.cc/O0VrrA
KKBOX:https://bit.ly/3bezcYP
-----
▍九八新聞台@大台北地區 FM98.1
▍官網:http://www.news98.com.tw
▍粉絲團:https://www.facebook.com/News98
▍線上收聽:https://pse.is/R5W29
▍APP下載
• Apple App Store:https://news98.page.link/apps
• Google Play:https://news98.page.link/play
▍YouTube頻道:https://www.youtube.com/user/News98radio
▍Podcast
• Himalaya:https://www.himalaya.com/news98channel
• Apple Podcast:https://goo.gl/Y8dd5F
• SoundCloud:https://soundcloud.com/news98
world gdp 在 豐富 Youtube 的最佳解答
主持人:陳鳳馨
來賓:丁學文
主題:一週國際經濟趨勢
📌《經濟學人》The new fault lines on which the world economy rests 談全球經濟復甦繁榮背後的三大隱憂
📌《倫敦金融時報》Markets reconsider the reflation trade 市場重新思考通貨再膨脹行情
📌《經濟學人》Why convertible bonds are the asset class for the times 談疫情期間的可轉債炙手可熱
📌《經濟學人》China seems intent on decoupling its companies from Western markets 談中美科技互掐
節目時間:週一至週五 7:00-9:00am
本集播出日期:2021.07.14
#陳鳳馨 #TheEconomist #GlobalGrowth
🔔 圖片取自:The Economist
https://www.economist.com/weeklyedition/2021-07-10
📣 更多 #財經起床號 專題影音:https://bit.ly/2QvBR55
🔍 馨天地
Apple Podcast:https://apple.co/3uVbXdQ
Google Podcast:https://reurl.cc/O0VrrA
KKBOX:https://bit.ly/3bezcYP
-----
訂閱【豐富】YouTube頻道:https://www.youtube.com/c/豐富
按讚【豐富】FB:https://www.facebook.com/RicherChannel
▍九八新聞台@大台北地區 FM98.1
▍官網:http://www.news98.com.tw
▍粉絲團:https://www.facebook.com/News98
▍線上收聽:https://pse.is/R5W29
▍APP下載
• APP Store:https://news98.page.link/apps
• Google Play:https://news98.page.link/play
▍YouTube頻道:https://www.youtube.com/user/News98radio
▍Podcast
• Himalaya:https://www.himalaya.com/news98channel
• Apple Podcast:https://goo.gl/Y8dd5F
• SoundCloud:https://soundcloud.com/news98
world gdp 在 Top 20 Country GDP (PPP) History & Projection (1800-2040) 的推薦與評價
... 20 countries with highest GDP PPP from 1800 to 2040 based on 2011 international dollars. It gives a brief history of the world since... ... <看更多>