“ความหมายของกฎหมาย”
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง คำว่า “กฎหมาย” (Law) มีนักปรัชญา นักกฎหมายทั้งในต่างประเทศและของประเทศไทยได้ให้ความหมายของกฎหมายไว้ ดังนี้
1.1 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายต่างประเทศ
การให้ความหมายของคำว่า “กฎหมาย” นักปรัชญากฎหมายของต่างประเทศจะพบว่าจะให้ความหมายของกฎหมายที่มีลักษณะคล้ายๆกันแต่จะมีความแตกแตกต่างกันไปตามสำนักคิด แต่ละสำนักจะมีสำนักคิดทางกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญได้ให้ความหมายของกฎหมายและความสมบูรณ์ของกฎหมาย เช่นสำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law school) สำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law school) และสำนักคิดกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical Law school) ดังนี้
1.1.1 สำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ
สำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) มีนักปรัชญากฎหมายได้ให้ความหมายของกฎหมายที่สำคัญ เช่น เซนต์ โทมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) กล่าวว่า กฎหมายของมนุษย์ หมายถึง กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเป็นระเบียบแห่งเหตุผลที่ผู้ปกป้องดูแลชุมชน ได้บัญญัติและประกาศใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกันซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายที่สูงกว่าก่อนหน้า ฌองชาครุสโซ (Jean Jacque Rousseau) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความหมายของกฎหมาย คือ เจตจำนงของประชาชนในชาติ ซึ่งแสดงออกรวมกัน ลอน ฟุลเลอร์ (Lon Lovois Fuller) กฎหมายเป็นเสมือนความพยายามร่วมมือที่จะตอบสนองหรือช่วยเหลือให้ความต้องการอันจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ได้รับตอบสนองอย่างพึงพอใจ กฎเกณฑ์ทางกฎหมายแต่ละเรื่องล้วนมีวัตถุประสงค์ซึ่งมุ่งต่อคุณค่าบางประการ เรื่องของวัตถุประสงค์จึงต้องถือเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวกฎหมายที่ซึ่งต้องนำไปใช้ตัดสินเรื่องพิพาทต่างๆต้องสอดคล้องกับศีลธรรม เสมอ เป็นต้น
1.1.2 สำนักคิดปฏิฐานนิยม
สำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) มีนักปรัชญากฎหมายได้ให้ความหมายของกฎหมายที่สำคัญ เช่น เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) กล่าวว่า กฎหมาย คือ การประชุมถ้อยคำประกาศแห่งเจตจำนงที่รัฏฐาธิปัตย์ได้คิดขึ้นหรือให้การรับรองโดยเป็นเรื่องของการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือชนหนึ่งๆที่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ต้องให้การเคารพเชื่อฟัง จอห์น ออสติน (John Austin) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าว กฎหมายคือ คำสั่งจะประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ สภาพบังคับซึ่งกินความไปถึงการก่อให้เกิด “หน้าที่” ที่บุคคลทั่วไปต้องปฏิบัติ การแสดงออกถึงความประสงค์หรือความปราถนาของผู้สั่งมีผลบังคับทั่วไปโดยที่ผู้มีอำนาจสูงสุดทางการเมืองอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรใน “ฐานะรัฏฐาธิปัตย์” (Sovereignty) เป็นผู้ออกคำสั่งนั้นถ้าไม่ปฏิบัติก็ต้องได้รับโทษ เป็นต้น
1.1.3 สำนักคิดกฎหมายประวัติศาสตร์
สำนักคิดกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical Law) มีนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญที่ให้ความหมายของกฎหมาย คือ ซาวิญยี่ (Friedric Carl Von Savigny) กล่าวว่า กฎหมายเป็นสิ่งซึ่งค้นพบมิใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เป็นผลผลิตของพลังภายในสังคมที่ทำงานของมันอย่างเงียบๆและมีรากเหง้าที่หยั่งลึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของประชาชาติ โดยมีกำเนิดและเติบโตเรื่อยๆ มาจากประสบการณ์และหลักความประพฤติทั่วไปของประชาชน ปรากฏอยู่ใน “รูปประเพณี” หรือ “จิตสำนึกร่วมของประชาชน” (Common Consciousness of the People) และเหนือสิ่งอื่นใดเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของกฎหมาย คือ ลักษณะของชาติหนึ่งๆที่จัดเสมือน “จิตวิญญาณของประชาชน” (The Spirit of the People) ในชาตินั้นๆ
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงความหมายของนักปรัชญากฎหมายต่างประเทศตามแนวคิดแต่ละสำนัก จะสรุปได้ว่า “กฎหมาย” (Law) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ที่ไปค้นพบกำหนดกติกาใช้บังคับร่วมกันและทุกคนยินยอมพร้อมใจยอมรับถือเป็นความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากคนผู้มีอำนาจปกครองกำหนดกติกาใช้บังคับคนในสังคมถ้าไม่ปฏิบัติก็จะถูกลงโทษถือเป็นแนวคิดสำนักปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดขึ้นจากจิตสำนึกร่วมกันที่มาจากจิตวิญญาณของคนในแต่ละสังคมที่แตกต่างก็คือ จารีตประเพณีของแต่ละชุมชนหรือแต่ละสังคม ถือเป็นแนวคิดสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์
1.2 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายไทย
การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายไทยต่างก็ให้ความหมายของ “กฎหมาย” ไปแนวทางเดียวกันกับสำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) เช่น กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ให้ความหมายของกฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วธรรมดาต้องรับโทษ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ได้อธิบายว่ากฎหมาย ได้แก่ ข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศ ได้บัญญัติขึ้นและบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม ซึ่งความหมายของกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ได้ถ่ายทอดมายังนักกฎหมายไทยและศาลไทยมาตลอด ดังเห็นได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 คำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496: “…ข้อเท็จจริงได้ความว่าใน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์……” คำพิพากษาฎีกาที่ 1662/ 2502: “.....ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วย ความแนะนำหรือความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสถาบันนิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 45/2496 ฉะนั้นคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองนั้นด้วย…”เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามแม้นักกฎหมายไทยจะยอมรับความหมายของกฎหมายและความสมบูรณ์ของกฎหมายตามสำนักคิดปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย แต่ก็ได้รับอิทธิพลความคิดตามสำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ แต่ในระยะหลังซึ่งอาจจะพบเห็นได้จากนักกฎหมายรุ่นหลังได้ให้ความหมายและความสมบูรณ์ของกฎหมายไว้ เช่น ประสิทธิ โฆวิไลกูล ได้อธิบายว่า กฎหมาย คือ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคมซึ่งมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นจะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statute) หรือกฎหมายจารีตประเพณี (Customary Law) เพื่อให้ใช้บังคับสมาชิกในสังคม จุลกิจ รัตนมาศทิพย์ ได้กล่าวว่า กฎหมาย มิใช่คำสั่งของผู้ปกครองโดยตรง แต่เป็นการรวบรวมจากวิธีการที่เป็นธรรม (Legitimate) หรือวิธีปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม (Due Process) ของสังคมนั้นๆ โดยมีจุดประสงค์ในการเยียวยาหรือแก้ไขข้อพิพาทต่างๆของบุคคลในสังคมนั้นเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความงบสุขของประชาชน เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป “กฎหมาย” (Law) คือ บรรดากฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมกำหนดแบบแผน ความประพฤติของบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายให้คนในสังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยุติธรรม มีกระบวนการบังคับที่แน่นอนอย่างเป็นกิจจะลักษณะถ้าไม่ปฏิบัติก็จะถูกลงโทษ จะเห็นได้ว่า กฎหมายเป็นเรื่องของกฎระเบียบแบบแผน เป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องของคุณธรรม เป็นกติกาของสังคมมนุษย์ที่มีการจัดตั้ง เป็นเครื่องประสานประโยชน์ของมนุษย์ทุกคนที่อยู่รวมกัน กฎหมายต้องยุติธรรมเสมอไปหรือไม่ จะเห็นได้ว่าไม่เสมอไป แต่กฎหมายจะต้องเที่ยงธรรมและเมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้น กฎหมายต้องหาทางยุติโดยเที่ยงธรรม สามารถทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
「กฎหมายคือ」的推薦目錄:
- 關於กฎหมายคือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於กฎหมายคือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於กฎหมายคือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於กฎหมายคือ 在 กฎหมายคืออะไร มุมมองทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ... 的評價
- 關於กฎหมายคือ 在 ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ - กฎหมายคืออะไร "ในแง่ของนิติปรัชญา ... 的評價
กฎหมายคือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ความหมายของกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง คำว่า “กฎหมาย” (Law) มีนักปรัชญา นักกฎหมายทั้งในต่างประเทศและของประเทศไทยได้ให้ความหมายของกฎหมาย ไว้ ดังนี้
1.1 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายต่างประเทศ
การให้ความหมายของคำว่า “กฎหมาย” นักปรัชญากฎหมายของต่างประเทศจะพบว่าจะให้ความหมายของกฎหมายที่มีลักษณะคล้ายๆกันแต่จะมีความแตกแตกต่างกันไปตามสำนักคิด แต่ละสำนัก ซึ่งจะมีสำนักคิดทางกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญได้ให้ความหมายของกฎหมายและความสมบูรณ์ของกฎหมาย ได้แก่ สำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law school) สำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law school) และสำนักคิดกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical Law school) ดังนี้
1.1.1 สำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ
สำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) มีนักปรัชญากฎหมายได้ให้ความหมายของกฎหมายที่สำคัญ เช่น เซนต์ โทมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) กล่าวว่า กฎหมายของมนุษย์ หมายถึง กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเป็นระเบียบแห่งเหตุผลที่ผู้ปกป้องดูแลชุมชน ได้บัญญัติและประกาศใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกันซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายที่สูงกว่าก่อนหน้า ฌองชาครุสโซ (Jean Jacque Rousseau) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความหมายของกฎหมาย คือ เจตจำนงของประชาชนในชาติ ซึ่งแสดงออกรวมกัน ลอน ฟุลเลอร์ (Lon Lovois Fuller) กฎหมายเป็นเสมือนความพยายามร่วมมือที่จะตอบสนองหรือช่วยเหลือให้ความต้องการอันจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ได้รับตอบสนองอย่างพึงพอใจ กฎเกณฑ์ทางกฎหมายแต่ละเรื่องล้วนมีวัตถุประสงค์ซึ่งมุ่งต่อคุณค่าบางประการ เรื่องของวัตถุประสงค์จึงต้องถือเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวกฎหมายที่ซึ่งต้องนำไปใช้ตัดสินเรื่องพิพาทต่างๆต้องสอดคล้องกับศีลธรรม เสมอ เป็นต้น
1.1.2 สำนักคิดปฏิฐานนิยม
สำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) มีนักปรัชญากฎหมายได้ให้ความหมายของกฎหมายที่สำคัญ เช่น เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) กล่าวว่า กฎหมาย คือ การประชุมถ้อยคำประกาศแห่งเจตจำนงที่รัฏฐาธิปัตย์ได้คิดขึ้นหรือให้การรับรองโดยเป็นเรื่องของการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือชนหนึ่งๆที่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ต้องให้การเคารพเชื่อฟัง จอห์น ออสติน (John Austin) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าว กฎหมายคือ คำสั่งจะประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ สภาพบังคับซึ่งกินความไปถึงการก่อให้เกิด “หน้าที่” ที่บุคคลทั่วไปต้องปฏิบัติ การแสดงออกถึงความประสงค์หรือความปราถนาของผู้สั่งมีผลบังคับทั่วไปโดยที่ผู้มีอำนาจสูงสุดทางการเมืองอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรใน “ฐานะรัฏฐาธิปัตย์” (Sovereignty) เป็นผู้ออกคำสั่งนั้นถ้าไม่ปฏิบัติก็ต้องได้รับโทษ เป็นต้น
1.1.3 สำนักคิดกฎหมายประวัติศาสตร์
สำนักคิดกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical Law) มนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญที่ให้ความหมายของกฎหมาย คือ ซาวิญยี่ (Friedric Carl Von Savigny) กล่าวว่า กฎหมายเป็นสิ่งซึ่งค้นพบมิใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เป็นผลผลิตของพลังภายในสังคมที่ทำงานของมันอย่างเงียบๆและมีรากเหง้าที่หยั่งลึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของประชาชาติ โดยมีกำเนิดและเติบโตเรื่อยๆมาจากประสบการณ์และหลักความประพฤติทั่วไปของประชาชน ซึ่งปรากฏอยู่ใน “รูปประเพณี” หรือ “จิตสำนึกร่วมของประชาชน” (Common Consciousness of the People) และเหนือสิ่งอื่นใดเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของกฎหมาย คือ ลักษณะของชาติหนึ่งๆที่จัดเสมือน “จิตวิญญาณของประชาชน” (The Spirit of the People) ในชาตินั้นๆ
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงความหมายของนักปรัชญากฎหมายต่างประเทศตามแนวคิดแต่ละสำนัก จะสรุปได้ว่า “กฎหมาย” (Law) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ที่ไปค้นพบกำหนดกติกาใช้บังคับร่วมกันและทุกคนยินยอมพร้อมใจยอมรับถือเป็นความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากคนผู้มีอำนาจปกครองกำหนดกติกาใช้บังคับคนในสังคมถ้าไม่ปฏิบัติก็จะถูกลงโทษถือเป็นแนวคิดสำนักปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดขึ้นจากจิตสำนึกร่วมกันที่มาจากจิตวิญญาณของคนในแต่ละสังคมที่แตกต่างก็คือ จารีตประเพณีของแต่ละชุมชนหรือแต่ละสังคม ถือเป็นแนวคิดสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์
1.2 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายไทย
การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายไทยต่างก็ให้ความหมายของ “กฎหมาย” ไปแนวทางเดียวกันกับสำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) เช่น กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ให้ความหมายของกฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วธรรมดาต้องรับโทษ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ได้อธิบายว่ากฎหมาย ได้แก่ ข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศ ได้บัญญัติขึ้นและบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม ซึ่งความหมายของกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ได้ถ่ายทอดมายังนักกฎหมายไทยและศาลไทยมาตลอด ดังเห็นได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 คำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496: “ …ข้อเท็จจริงได้ความว่าใน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์……” คำพิพากษาฎีกาที่ 1662/ 2502 : “.....ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วย ความแนะนำหรือความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสถาบันนิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 ฉะนั้นคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองนั้นด้วย…” เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามแม้นักกฎหมายไทยจะยอมรับความหมายของกฎหมายและความสมบูรณ์ของกฎหมายตามสำนักคิดปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย แต่ก็ได้รับอิทธิพลความคิดตามสำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ แต่ในระยะหลังซึ่งอาจจะพบเห็นได้จากนักกฎหมายรุ่นหลังได้ให้ความหมายและความสมบูรณ์ของกฎหมายไว้ เช่น ประสิทธิ โฆวิไลกูล ได้อธิบายว่า กฎหมาย คือ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคมซึ่งมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นจะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statute) หรือกฎหมายจารีตประเพณี (Customary Law) เพื่อให้ใช้บังคับสมาชิกในสังคม จุลกิจ รัตนมาศทิพย์ ได้กล่าวว่า กฎหมาย มิใช่คำสั่งของผู้ปกครองโดยตรง แต่เป็นการรวบรวมจากวิธีการที่เป็นธรรม (Legitimate) หรือวิธีปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม (Due Process) ของสังคมนั้นๆ โดยมีจุดประสงค์ในการเยียวยาหรือแก้ไขข้อพิพาทต่างๆของบุคคลในสังคมนั้นเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความงบสุขของประชาชน เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป “กฎหมาย” (Law) คือ บรรดากฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมกำหนดแบบแผน ความประพฤติของบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายให้คนในสังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยุติธรรม มีกระบวนการบังคับที่แน่นอนอย่างเป็นกิจจะลักษณะถ้าไม่ปฏิบัติก็จะถูกลงโทษ จะเห็นได้ว่า กฎหมายเป็นเรื่องของกฎระเบียบแบบแผน เป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องของคุณธรรม เป็นกติกาของสังคมมนุษย์ที่มีการจัดตั้ง เป็นเครื่องประสานประโยชน์ของมนุษย์ทุกคนที่อยู่รวมกัน กฎหมายต้องยุติธรรมเสมอไปหรือไม่ จะเห็นได้ว่าไม่เสมอไป แต่กฎหมายจะต้องเที่ยงธรรมและเมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้น กฎหมายต้องหาทางยุติโดยเที่ยงธรรม สามารถทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
กฎหมายคือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"ความหมายและลักษณะของกฎหมายของความคิดของข้าพเจ้า"
สิทธิกร ศักดิ์แสง
กฎหมายมีความสำคัญสำหรับสังคมอย่างยิ่ง กฎหมายเป็นเรื่องคู่กับสังคมตลอดมา คือ มีสังคมที่ไหนมีกฎหมายที่นั่น เป็นเพราะมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมโดยรวมตัวแบบชุมชนและรวมตัวแบบสมาคมผูกพันอยู่ติดกับดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกและมนุษย์ปรารถนาที่จะสนองตอบความต้องการของตนและปกปักษ์รักษาตน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันและมีความปราถนาดังกล่าวนั้นเพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “กติกา” ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์หรือกติกา คนในสังคมก็จะทำอะไรตามอำเภอใจของตนเกิดความสับสนวุ่นวาย สังคมก็ไม่อาจอยู่เป็นสุขได้ จึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือกติกาขึ้น มาเพื่อให้สังคมนั้นเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าเรามองถึงสังคมใดสังคมหนึ่งจะเห็นได้ว่าคนในสังคมนั้นสามารถกำหนดกติกาเพื่อบังคับใช้คนในสังคมคนในสังคมแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มผู้ปกครองกับกลุ่มผู้อยู่ใต้ปกครอง กติกาของสังคมจะต้องออกมาจากบุคคล 2 กลุ่มนี้ แต่กติกาส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มผู้ปกครอง ซึ่งจะมีอำนาจเป็นผู้ดูแลสังคม กลุ่มนี้ก็จะออกกติกาส่วนใหญ่ เราเรียกว่า “กฎหมาย”(Law)
1.ความหมายของกฎหมาย
ความหมายคำว่า “กฎหมาย” มีนักปรัชญา นักกฎหมายทั้งในต่างประเทศและของไทยได้ให้ความหมาย กฎหมาย ไว้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือในทำนองเดียวกัน ดังนี้
1.1 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายต่างประเทศ
การให้ความหมายของนักปรัชญากฎหมายของต่างประเทศได้ให้ความหมายของกฎหมายจะพบว่าจะให้ความหมายที่มีลักษณะคล้ายๆกันแต่จะมีความแตกแตกต่างกันไปตามสำนักคิด คือ สำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) เช่น จอห์น ออสติน (John Austin) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าว กฎหมายคือคำสั่งทั่วไปที่ผู้มีอำนาจเหนือสั่งต่อผู้อยู่ใต้อำนาจของตน ให้กระทำการหรือละเว้น ไม่กระทำการอย่างใด อย่างหนึ่ง ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติความผู้นั้นย่อมต้องได้รับโทษ เป็นต้น ส่วนสำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) เช่นฌองชาครุสโซ (Jean Jacque Rousseau) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความหมายของกฎหมาย คือ เจตจำนงของประชาชนในชาติ ซึ่งแสดงออกรวมกัน เซอร์พอล วิโนกราดอฟ (Sir Paul Vinogradoff) ได้ความหมายกฎหมาย คือ หลักข้อบังคับความประพฤติ ที่บัญญัติขึ้น และบังคับ โดยผู้ทรงอำนาจอธิปไตย เป็นต้น
1.2 การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายไทย
การให้ความหมายกฎหมายของนักกฎหมายของไทยต่างก็ให้ความหมายที่มีความหมายของกฎหมายไปแนวทางเดียวกันกับสำนักสำนักคิดปฏิฐานนิยม (Positive Law) เช่น กรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ให้ความหมายของกฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วธรรมดาต้องรับโทษ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ได้อธิบายว่ากฎหมาย ได้แก่ข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศ ได้บัญญัติขึ้นและบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม ประสิทธิ โฆวิไลกูล ได้อธิบายว่า กฎหมาย คือ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคมซึ่งมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นจะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statute) หรือกฎหมายจารีตประเพณี (Customary Law) เพื่อให้ใช้บังคับสมาชิกในสังคม และในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กฎหมายคือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป กฎหมาย คือ บรรดากฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมกำหนดแบบแผน ความประพฤติของบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ทั้งนี้ โดยจุดมุ่งหมายให้คนในสังคมที่จะให้เกิดเป็นระเบียบเรียบร้อย และยุติธรรม โดยมีกระบวนการบังคับอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จะเห็นได้ว่า กฎหมายเป็นเรื่องของกฎระเบียบแบบแผน เป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องของคุณธรรม เป็นกติกาของสังคมมนุษย์ที่มีการจัดตั้ง เป็นเครื่องประสานประโยชน์ของมนุษย์ทุกคนที่อยู่รวมกัน กฎหมายต้องยุติธรรมเสมอไปหรือไม่ จะเห็นได้ว่าไม่เสมอไป แต่กฎหมายจะต้องเที่ยงธรรมและเมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้น กฎหมายต้องหาทางยุติโดยเที่ยงธรรม ที่ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
2. ลักษณะของกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “ลักษณะของกฎหมาย” นั้น ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายว่าถึงลักษณะของกฎหมายนั้นแยกออกเป็น 2 ประเภท คือกฎหมายตามเนื้อความ กับกฎหมายตามแบบพิธี กล่าวคือ “กฎหมายตามแบบเนื้อความ” หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้คือ ได้แก่ข้อบังคับของรัฐ ซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ส่วน “กฎหมายตามแบบพิธี” หมายถึง กฎหมายที่ออกมาโดยวิธีบัญญัติกฎหมาย ไม่ต้องคำนึงว่ากฎหมายนั้น เข้าลักษณะเป็นกฎหมายความเนื้อความหรือไม่ ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี, พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ซึ่งกฎหมาย โดยปกติจะต้องมีทั้ง2 ลักษณะประกอบกัน กล่าวคือ เป็นทั้งกฎหมายความเนื้อความและกฎหมายความแบบพิธี เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น แต่ก็มีกฎหมายบางฉบับที่เป็นเฉพาะกฎหมายแบบพิธีเท่านั้น เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามมีนักนิติศาสตร์ ให้ความเห็นว่า กฎหมายที่แท้จริง คือ กฎหมายเป็นข้อกำหนดทั้งสิทธิและหน้าที่ให้กับบุคคลกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
2.1 กฎหมายเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์
กฎหมายเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ซึ่งหมายความว่า กฎหมายเป็นข้อความที่กำหนดบังคับให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามบุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่าง ดังนี้
2.1.1 กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่าง
กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างก็ดีหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างก็ดี เรียกว่า “กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ”ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ คือ หากบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ“หน้าที่กระทำการ” หากกฎหมายห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่งดเว้นกระทำการ” ซึ่งเป็น “ความผูกพัน” ที่ทำให้บุคคลตกอยู่ในสถานะที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำกิจการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการซึ่งเป็นหน้าที่ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่รับราชการทหาร มีหน้าที่เสียภาษี เป็นต้น
2.1.2 กฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง
กฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง เรียกว่า “กฎหมายให้สิทธิแก่บุคคล”ซึ่งเป็นการรับรองคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดอนุญาต คือ สิทธิในสภาพบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน ดังนี้
2.1.2.1 สิทธิในสภาพบุคคล
สิทธิในสภาพบุคคลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ได้แก่
1.สิทธิในตัวบุคคล หมายถึง สิทธิซึ่งบุคคลย่อมจะต้องมีในฐานะเป็นเจ้าของตัวของตนเอง สิทธิในตัวบุคคลได้แก่ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสภาพร่างกาย อนามัย ชื่อเสียงความคิดเห็น และสติปัญญา สิทธิในเคหสถาน สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการนับถือศาสนา เป็นต้น
2.สิทธิในครอบครัว หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองในเรื่องที่เกี่ยวด้วยครอบครัว ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติในการรับรองคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไว้ในบรรพ 5 ได้แก่ สิทธิของบิดามารดากับบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา มีสิทธิในการรับรองการศึกษาตามสมควรและได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาในระหว่างเป็นผู้เยาว์หรือแม้เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพ และหาเลี้ยงตนเองมิได้สิทธิของสามีกับภรรยา เมื่อหญิงกับชายกระทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิในครอบครัวขึ้นบางประการ สิทธิในการรับมรดก การเป็นสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลอีกประการหนึ่ง คือสิทธิได้รับทรัพย์สินอันเป็นมรดก ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งได้แก่การเป็นบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้
3.สิทธิในทางการเมือง หมายถึง สิทธิที่ให้เฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติของประเทศเมื่อมีอายุ และคุณสมบัติบางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มีโอกาสเข้าเกี่ยวข้อง หรือร่วมมือในการปกครองบ้านเมืองของตน ได้แก่ สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นต้น
2.1.2.2 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธิในทรัพย์สินสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ ดังนี้
1.ทรัพย์สิทธิเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอำนาจเหนือทรัพย์สินของตนซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์ จัดว่าเป็นสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินโดยตรง ได้แก่ .
1) กรรมสิทธิ์คือ ทรัพย์สินแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน เป็นสิทธิอันสมบูรณ์ที่สุดที่บุคคลจะพึงมีในทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ได้รวมเอาสิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับทรัพย์สินเข้าไว้ด้วยกัน คือ สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ ในการจำหน่ายทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดข้องเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2) สิทธิครอบครอง เป็นทรัพย์สิทธิประเภทเดียวกับกรรมสิทธิ์คือ เป็นทรัพย์สินที่แสดงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของก็มักจะมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบอยู่ด้วย แต่บางครั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจจะมอบการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นก็ได้ ดังนั้นสิทธิครอบครองจึงอยู่กับบุคคลอื่น เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์เอาทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นเช่า
3)ภาระจำยอม เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์โดยทำให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องงดเว้น การใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า “สามยทรัพย์” เช่นการที่เจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง มีสิทธิเดินผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่ง
4) สิทธิอาศัย เป็นสิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็โดยนิติกรรม และเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาท
5) สิทธิเหนือพื้นดิน เป็นสิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกบนดินหรือใต้ดินของผู้อื่น สิทธิเหนือพื้นดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ยกเว้นหลักส่วนควบ สามารถโอนและตกทอดไปยังทายาทได้
6) สิทธิเก็บกิน เป็นสิทธิที่จะเข้าครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยจะเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาทได้และผู้ทรงสิทธิเก็บเกินผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นด้วย
7)ภารติดพันธ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น
8) ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า ดังนี้
(1) ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิอันมีแต่ผู้เดียวที่จะทำขึ้นทำซ้ำซึ่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมหรือส่วนสำคัญแห่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรและรวมถึงสิทธิในการนำออกเล่นแสดงต่อประชาชนด้วย ถ้าเป็นปาฐกถา หมายถึงสิทธิการนำออกกล่าวหรือ ถ้าวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นยังมิได้โฆษณา ก็หมายถึงสิทธินำออกโฆษณาด้วยแต่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำซ้ำเปลี่ยนแปลง เล่น แสดงโฆษณา ฯลฯ ซึ่งวรรณกรรมและศิลปกรรมนั้นๆ
(2) สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นเครื่องหมายซึ่งใช้หรืออาจจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าบุคคลผู้ใดจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อใช้เครื่องหมายสำหรับสินค้านั้นทั้งหมด ผู้ปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนแล้วย่อมมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
2.สิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ์)การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าการกระทำหรือการงดเว้นนั้นเป็นความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลด้วยกันในเรื่องหนี้ แม้เป็นเพียงบุคคลสิทธิมิใช่เป็นอำนาจที่ใช้ต่อทรัพย์สินโดยตรงอย่างทรัพย์สิทธิก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นทำประโยชน์ ในทางทรัพย์สินให้แก่ตน จึงนับว่าสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยอย่างหนึ่ง
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง กฎหมายเป็นระเบียบแบบแผนควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ กฎหมายจึงเป็นข้อตกลงให้คนในสังคมปฏิบัติโดยอยู่ในรูปแบบของ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งต่างๆนั้นมักจะมาจากวิธีปฏิบัติที่กระทำสืบเนื่องมาจากจารีตประเพณีนิยมที่เป็นบรรทัดฐานทางปฏิบัติทั้งหลายของสังคม (Practical Norms of Society)โดยคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาช้านานโดยถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomenal)ในลักษณะเช่นเดียวกันกับศาสนาและศีลธรรม จนกระทั่งเรียบเรียงขึ้นเป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนในสังคมให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ
2.2 กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับออกจากรัฐ
กฎหมายเป็นข้อบังคับออกจากรัฐ ซึ่งข้อบังคับนั้นไม่ใช่มาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องมาจากรัฐ (State) มาจากองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด คำว่า “รัฐ”หมายถึง สังคมมนุษย์ที่รวมกันแบบชุมชนและรวมตัวแบบสมาคมผูกพันกันกับดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกมีการปกครองภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนเอง ไม่ตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่นมีสภาพนิติบุคคลมหาชน จึงต้องมีการกระทำการแทนรัฐ คือ ผู้ปกครองในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ออกข้อบังคับโดยความตกลงยินยอมจากผู้อยู่ใต้ปกครอง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม
เมื่อพิจารณาศึกษากฎหมายเป็นข้อบังคับที่ออกจากรัฐ โดยรัฏฐาธิปัตย์นี้จะพบว่า รัฏฐาธิปัตย์จะมีอยู่ 2 ลักษณะในการออกกฎระเบียบข้อคับต่างๆ ดังนี้
2.2.1 รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ
รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ มาจากความยินยอมพร้อมใจของคนส่วนใหญ่ส่งตัวแทนขึ้นไปปกครองโดยการเลือกตั้ง หรือการแต่งตั้งตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายใช้บังคับกับคนในสังคม
2.2.2 รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ
รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ มาจากการใช้กำลังเข้าอำนาจปกครองโดยการปฏิวัติ หรือรัฐประหาร นอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายใช้บังคับกับคนในสังคม
แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายเป็นข้อบังคับที่ออกจากรัฐ ที่สมบูรณ์ได้นั้น จะต้องเป็น “รัฏฐาธิปัตย์”ที่คนส่วนใหญ่ยินยอมพร้อมใจส่งตัวแทนให้เป็นผู้ปกครอง ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญออกกฎหมายมาใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่คนส่วนใหญ่ยอมรับปฏิบัติตามโดยทั่วไป
2.3 กฎหมายเป็นข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างไปจากกฎเกณฑ์อื่นทางสังคม
กฎหมายเป็นข้อบังคับต้องกำหนดความประพฤติความประพฤติของบุคคลระหว่างกันและกันที่มีลักษณะทั่วไปซึ่งมีลักษณะบังคับอย่างเป็นกิจจะลักษณะ คือ การแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการงดเว้น การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ลำพังแต่จิตใจอย่างเดียวกฎหมายย่อมไม่มีผลบังคับและกรณีนี้เองทำให้กฎหมายแตกต่างกับกฎเกณฑ์ความประพฤติของสังคมในประเภทอื่น เช่น ข้อบังคับของศาสนาและข้อบังคับทางศีลธรรมและข้อบังคับจารีตประเพณีดังนี้
2.3.1 กฎหมายกับศาสนา
ศาสนา คือ กฎข้อบังคับที่ผู้นำของศาสนาต่างๆกำหนดขึ้นไว้ให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติแต่ความดีซึ่งกฎหมายกับข้อบังคับทางศาสนานั้นจะมีความคล้ายคลึงมีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
2.3.1.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายกับศาสนา
กฎหมายกับศาสนานั้นมีความคล้ายคลึง คือ ทั้งศาสนาและกฎหมายต่างก็กำหนดความประพฤติของมนุษย์เหมือนกันถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็จะกลายเป็นคนชั่วหรือได้รับผลร้ายตามมา
2.3.1.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศาสนา
กฎหมายกับศาสนา คือ ในทางกฎหมายนั้นถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีสภาพบังคับ(Sanction)เกิดขึ้นทันที เช่นสภาพบังคับทางอาญา มีโทษ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ริบทรัพย์สิน และปรับ หรือสภาพบังคับทางแพ่ง ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ส่วนทางด้านศาสนาสภาพบังคับหรือผลที่ตามมานั้นอยู่ที่ชาติหน้าหรือภายภาคหน้าไม่ได้เกิดทันทีเหมือนกฎมาย
2.3.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศาสนา
กฎหมายและศาสนามีความสัมพันธ์ต่อกันในเรื่องต่างๆหลายประเด็นด้วยกัน ดังนี้
1. กฎหมายและศาสนาต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน กล่าวคือ ถ้ากฎหมายมีข้อบังคับที่ดีย่อมเป็นการส่งเสริมศาสนาไปด้วยในตัว ส่วนศาสนาที่ดีย่อมทำให้รัฐออกกฎหมายที่ดีได้คือ กฎหมายต้องมาจากธรรม ต้องชอบธรรมและเพื่อธรรม พลเมืองที่นับถือศาสนาอย่างเคร่งครัดย่อมจะเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและยอมตนปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐโดยไม่คิดหลีกเลี่ยง
2.กฎหมายและศาสนาย่อมคำนึงถึงซึ่งกันและกัน กล่าวคือ กฎหมายก็ต้องคุ้มครองศาสนา เช่น การให้หลักประกันเสรีภาพในการนับถือศาสนาและเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตน ส่วนศาสนาก็ต้องคำนึงถึงกฎหมาย และสั่งสอนให้บุคคลปฏิบัติตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ศาสนาย่อมกำหนดข้อห้ามจิตใจของมนุษย์ เช่น ห้ามไม่ให้มนุษย์คิดร้ายต่อผู้อื่น สอนให้คนทำความดีคือปฏิบัติตามกฎหมายเป็นต้น
2.3.2 กฎหมายกับศีลธรรม
ศีลธรรม คือ ความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ว่าการกระทำนั้นผิดหรือถูกอย่างไร ซึ่งกฎหมายกับศีลธรรมจะมีความคล้ายคลึง มีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
2.3.2.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมจึงมีความคล้ายคลึงกันในข้อที่ว่า ต่างกำหนดข้อบังคับแห่งความประพฤติด้วยกันคือมีจิตใจหรือความรู้สึกที่จะกระทำการหรือไม่กระทำการใดๆเหมือนๆกัน
2.3.2.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมจะมีความแตกต่างกันในหลายๆประเด็นด้วยกัน ดังนี้
1. กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
2. กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
3. ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศีลธรรมนั้นไม่ได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
4. กฎหมายนั้นถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับโทษ แต่ศีลธรรมนั้นผู้ที่มีความรู้สึกนึกคิดของคนๆนั้นไปโดยเฉพาะเป็นแต่เพียงกระทบจิตใจมากน้อยเพียงใดเท่านั้น
2.3.2.3 ความเกี่ยวพันระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม
กฎหมายกับศีลธรรมมีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ใช้บังคับร่วมกันของคนในสังคมให้เกิดสำนึกปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้
1. ศีลธรรมกับกฎหมายมีอิทธิพลต่อกันมากและเกี่ยวข้องกับศีลธรรมเสมอ เช่น การที่มีศีลธรรมสูงเป็นที่เชื่อได้ว่าไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด ในทางกลับกันคนที่ไม่มีศีลธรรมกฎหมายก็จะช่วยยกฐานะให้คนๆนั้นมีศีลธรรมดีขึ้น เช่น การลักเล็กขโมยน้อยกฎหมายก็ให้ติดคุกเมื่อออกมาแล้วมีศีลธรรมสูงไม่กล้าลักขโมยอีกต่อไป
2.ศีลธรรมกับกฎหมายอาจเป็นศัตรูกันได้เช่นกฎหมายอาจบังคับให้มนุษย์งดเว้นกระทำการซึ่งศีลธรรมบังคับให้กระทำเช่น การเบิกความเท็จต่อศาลซึ่งกฎหมายลงโทษแต่ความจริงแล้วการกระทำนั้นกระทำลงไปเพื่อช่วยเหลือผู้มีอุปการะคุณต่อตน ดังนั้นกฎหมายจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรมก็ได้
2.3.3 กฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเวลาช้านานทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือคนของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ควบคุมความประพฤติภายนอกของมนุษย์เท่านั้นและเป็นการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เช่น การพูด การแต่งตัว ตลอดถึงวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายกับจารีตประเพณีจะมีความคล้ายคลึง มีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
2.3.3.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
กฎหมายและจารีตประเพณีต่างเป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ให้เป็นแบบเดียวกันและอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
2.3.3.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
กฎหมายกับจารีตประเพณีจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1.กฎหมายนั้น ผู้มีอำนาจในรัฐเป็นผู้บัญญัติและบังคับใช้แก่ทุกคนทั่วไปในรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับเฉพาะของสังคมบางหมู่คณะหรือคนในสังคมหรือชุมชนที่เห็นดีเห็นชอบเท่านั้น
2.กฎหมายเป็นข้อบังคับสำหรับความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีควบคุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
3.การกระทำความผิดกฎหมายย่อมได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง แต่จารีตประเพณีไม่มีผลบังคับอย่างกฎหมาย โดยปฏิบัติตามก็ได้ ไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ไม่มีสภาพบังคับ ผู้ไม่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีจะได้รับผลร้ายทางสังคม คือ ได้รับการตำหนิติเตียนจากสังคมเท่านั้น
2.3.3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณียังมีส่วนสัมพันธ์กับกฎหมายหลายประการทั้งในทางดีและไม่ดี ดังนี้
1.กฎหมายย่อมได้รับอิทธิพลจากจารีตประเพณี เพราะมีจารีตประเพณีกฎหมายจึงได้บัญญัติไว้เป็นกฎหมายได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆจารีตประเพณีจึงมีส่วนสำคัญในการเสริมการบังคับใช้กฎหมาย เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนปฏิบัติอยู่แล้ว
2. กฎหมายเกี่ยวพันกับจารีตประเพณีในบางเรื่องและจารีตประเพณีย่อมไม่ขัดต่อกฎหมายเพราะถ้าขัดแย้งแล้ว จารีตประเพณีอาจถูกขัดขวางและต้องยกเลิกไปในที่สุดแต่อย่างไรก็ตามกฎมายกับจารีตประเพณีต่างเป็นศัตรูกัน เช่น กฎหมายห้ามไม่ให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจารีตประเพณีให้ทำได้ คือ ประเพณีผู้หญิงต้องล้างเท้าให้สามีก่อนขึ้นบ้านทางภาคเหนือของไทยซึ่งกฎหมายให้เลิกเสีย เป็นต้น
2.4 กฎหมายเป็นข้อบังคับที่มีสภาพบังคับ
กฎหมายเป็นข้อบังคับถ้าฝ่าฝืนจะต้องได้รับผลร้าย หรือถูกลงโทษซึ่งเรียกว่า สภาพบังคับของกฎหมาย (Sanction) การที่กฎหมายผู้ฝ่าฝืนต้องมีสภาพบังคับ ย่อมเป็นการทำให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ สภาพบังคับที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนกฎหมายมี 4 ประเภท คือ สภาพบังคับทางอาญา สภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางปกครอง และสภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ ดังนี้
2.4.1 สภาพบังคับทางอาญา
สภาพบังคับทางอาญา การทำให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับทุกข์ทรมาน หรือต้องสูญเสียสิทธิและเสรีภาพบางอย่างบางประการเช่น สูญเสียเสรีภาพเพราะถูกจำคุกหรือกักขัง สูญเสียทรัพย์เพราะถูกริบทรัพย์สิน สูญเสียชีวิตเพราะถูกประหารชีวิตซึ่งเหล่านั้น คือ โทษทางอาญา
2.4.2 สภาพบังคับทางแพ่ง
สภาพบังคับทางแพ่ง การบังคับให้บุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการนั้น เพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากกฎหมายนั้น ได้กลับสู่ฐานะเดิมหรือมิฉะนั้นก็บังคับให้การกระทำบางอย่างบางประการที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการกระทำที่ไม่มีผลสมบูรณ์ตามความประสงค์ของผู้กระทำ เช่น ให้เป็นโมฆะหรือโมฆียะซึ่งเหล่าโทษเหล่านี้เป็นโทษทางแพ่ง
2.4.3 สภาพบังคับทางปกครอง
สภาพบังคับทางปกครอง การบังคับทางปกครองนั้นเป็นการบังคับกับหน่วยงานทางปกครองที่กระทำละเมิดต่อเอกชนผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นการบังคับชดใช้ค่าเสียหายหรือ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง อันเกิดจากการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรืออาจได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เป็นต้น
2.4.4 สภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ
สภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ การบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับ เช่น กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะใช้บังคับไม่ได้ หรือในกรณีของไทย เช่น บุคคลที่มีสิทธิมีหน้าที่ไปเลือกตั้ง ถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิ นั้นมีสภาพบังคับในการตัดสิทธิบางอย่าง คือ ในกรณีกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งย่อมเสียสิทธิที่กฎหมายบัญญัติ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 กำหนดประชาชนที่มีหน้าที่ไปเลือกตั้งไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิดังต่อไปนี้
1)ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ทุจริตเลือกตั้ง
2) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
บรรณานุกรม
โกเมศ ขวัญเมือง และสิทธิกร ศักดิ์แสง “แนวการศึกษาใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ทั่วไป”กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2549
กำธร จิตคงไทย(ผู้แปล) “ความรู้ทางนิติศาสตร์ เล่มหนึ่ง”แปลและเรียบเรียงจาก Common Sense
in Law by Sir Paul Vinogradoff Oxford University Preess, สภาวิจัยแห่งชาติ, 2515
จรัญ โฆษณานันท์“นิติปรัชญา”กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงม,2538
จรัญ โฆษณานันท์“นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 16,2552
จุลกิจ รัตนมาศทิพย์ “ฎีกามหาชน เล่ม 1 วาทกรรมว่าด้วยสังคม, กฎหมายและความยุติธรรมใน
ประเทศไทย”กรุงเทพฯ: บริษัทหลอแอนด์เล้ง พับลิชชิ่ง จำกัด, 2551
ประสิทธิ โฆวิไลกูล“เหลียวหลังดูกฎหมายและความยุติธรรม”กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์นิติธรรม,2540
พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 3-4
โภคิน พลกุล “เอกสารประกอบการสอน วิชาหลักกฎหมายมหาชน”กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยคำแหง,
2528
สิทธิกร ศักดิ์แสง “หลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม,2557
หยุด แสงอุทัย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก, 2545
โอสถ โกศิน“ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป”คำสอนชั้นปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์
สังคมศาสตร์และวารสารศาสตร์ พุทธศักราช 2503,พระนคร:แพร่การช่าง,2502.
John Austin “the Province of Jurisprudence determind”ed.H.L.A.Hart, London,1954.
กฎหมายคือ 在 ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ - กฎหมายคืออะไร "ในแง่ของนิติปรัชญา ... 的推薦與評價
กฎหมายคือ อะไร "ในแง่ของนิติปรัชญา" ปัญหาเรื่องกฎหมายคืออะไร? รัฐมีความชอบธรรมอย่างไรในการออกกฎหมาย? และปัญหาว่าอำนาจบัญญัติกฎหมายมีขอบเขตจำกัดเพียงใด?... ... <看更多>
กฎหมายคือ 在 กฎหมายคืออะไร มุมมองทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ... 的推薦與評價
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในงานเสวนา " กฎหมายคือ อะไร มุมมองทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และปรัชญา" ... ... <看更多>