โจเซฟ ราซ (Joseph Raz) ได้ให้ความเห็นว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดเงื่อนไขความสมบูรณ์ของกฎหมายที่จะตราขึ้นใช้บังคับ กฎหมายใดๆ ที่ถูกตราขึ้นแล้วตรงตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ กฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวมันเองโดยมิได้ผูกอิงความสมบูรณ์ของมันอยู่กับรัฐธรรมนูญอีกต่อไปถึงแม้รัฐธรรมนูญสูญสิ้นไป กฎหมายทั่วไปก็ยังคงอยู่
ซึ่งทรรศนะของ โจเซฟ ราซ เช่นนี้คงคล้ายกับอุปมาเรื่อง การให้กำเนิดทารกหรือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นมารดากับทารกระหว่างที่อยู่ในครรภ์ โดยเมื่อทารก (กฎหมายทั่วไป) คลอดออกมาแล้ว ความมีชีวิตหรือลมหายใจของทารก (กฎหมายทั่วไป)นั้นย่อมปรากฏเป็นอิสระเอกเทศจากมารดา (รัฐธรรมนูญ) แม้ผู้เป็นมารดา (รัฐธรรมนูญ) จะเสียชีวิตทารก (กฎหมายทั่วไป) นั้นก็ยังคงมีชีวิตอยู่ได้
「กฎหมายทั่วไป」的推薦目錄:
- 關於กฎหมายทั่วไป 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於กฎหมายทั่วไป 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於กฎหมายทั่วไป 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於กฎหมายทั่วไป 在 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป #เป็นต่อ - YouTube 的評價
- 關於กฎหมายทั่วไป 在 EP. 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป #รามคำแหง - YouTube 的評價
- 關於กฎหมายทั่วไป 在 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 5 หลักและทฤษฎีภาษี ... 的評價
กฎหมายทั่วไป 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
“หลักการใช้กฎหมายของประเทศไทย”
สิทธิกร ศักดิ์แสง
เดินออกกำลังกายสนามกีฬา คิดอะไรเพลินๆ เดินไปพิมพ์ไป และได้บทความนี้ขึ้นมา
ถาม ประเทศไทย กำหนดให้กฎหมายอะไร เป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายต่ำกว่าขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่สูงกว่าได้หรือไม่
ตอบ ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 วรรค 1 กำหนดให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดปกครองประเทศ กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับอื่นใด จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะใช้บังคับไม่ได้
ซึ่งเกิดลำดับชั้นทางกฎหมาย อยู่ 3 ระดับ คือ
ระดับชั้นที่ 1 คือ รัฐธรรมนูญ
ระดับชั้น ที่ 2 คือ กฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราขบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนดและพระราขกฤษฎีกาที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นกฎหมาย
ระดับชั้นที่ 3 คือ กฎหมายลำดับรองที่เรียกว่า “กฎ” คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่เป็นการทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง
สรุป กฎหมายชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 จะขัดหรือแย้งกับชั้นที่ 1 ไม่ได้ และชั้นที่ 3 จะขัดหรือแย้งกับชั้นที่ 2 ไม่ได้เช่นกัน
ถาม กฎหมายไทยใช้บังคับกับใคร ที่ไหน เวลาใด
ตอบ กฎหมายไทยใช้บังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย และใช้บังคับในเวลาที่มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา
รวมไปถึงกฎหมายอาญาไทยใช้บังคับกับ เรือ อากาศยานที่มีสัญขาติไทยไม่ว่าอยู่ที่ไหนในโลก ถือว่าเป็นเขตแดนของประเทศไทยใช้กฎหมายอาญาไทย
แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้มีการยกเว้นไม่ใช้บังคับกับ พระมหากษัตริย์ ใช้บังคับฑูตและบริวาร ที่มีปฏิบัติภารกิจในประเทศไทย เป็นต้น
ถาม การใช้บังคับกฎหมายไทยระหว่างกฎหมายเฉพาะเรื่อง กับ กฎหมายทั่วไป เมื่อขัดแย้งกัน จะใช้กฎหมายใดบังคับ
ตอบ ภายใต้หลักกฎหมายทั่วไปและภายใต้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
กำหนดให้ใช้กฎหมายเฉพาะเรื่องใช้บังคับ
ตัวอย่างเช่น การโค่นไม้ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ จะมีความผิดกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 กับ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ก็ต้องใช้บังคับกฎหมายเฉพาะคือ พระราชบัญญัติอุทยานฯ
แต่อย่างไรก็ตามถ้ากฎหมายเฉพาะเรื่องบางฉบับ บางเรื่องที่มีมาตรฐานต่ำกว่ากฎหมายทั่วไป ให้ใช้กฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป
ถาม กฎหมายไทยมีผลใช้บังคับ เวลาใด
ตอบ กฎหมายมีผลบังคับในเวลาที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยทั่วกฎหมายจะกำหนดไว้ใน มาตรา 2 ยกเว้น รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ในประกาศราชกิจจานุเบกษา นั้นได้กำหนดลักษณะการบังคับ อยู่ 4 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 กฎหมายมีผลใช้บังคับย้อนหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งโดยหลักทั่วไปการใช้บังคับย้อนหลังได้นั่นต้อง “เป็นคุณ” เท่านั้น “เป็นโทษ” ไม่ได้
กรณี่ที่ 2 กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่เห็นได้คือ รัฐธรรมนูญ จะปรากฏอยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ
กรณี่ที่ 3 กฎหมายมีผลใช้บังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กรณี่ 4 กฎหมายมีผลใช้บังคับในอนาคต กล่าวคือ ในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ใช้ในอนาคตหลังจากประกาศราชกิจจาไปแล้ว อาจเป็น เดือน ปี เพื่อให้มีการเตรียมตัวถึงการใช้บังคับ
ถาม หลักการใช้กฎหมายบังคับ ในกรณีที่ขณะดำเนินการอยู่ภายใต้กฎหมายเก่า ต่อมีกฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับ จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ต้องดำเนินการตามกฎหมายเก่าดำเนินการถึงแม้จะถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูเพิ่มเติมว่ากฎหมายใหม่ระบุเงื่อนไขไว้อย่างไร เช่นระบุเงื่อนไขไว้ให้ใช้กฎหมายใหม่ ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผลกระทบที่เป็นโทษ จะกระทำไม่ได้ “ภายใต้หลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ”
ดังนั้นการนำกฎหมายใหม่ กฎระเบียบที่ออกมาใหม่ที่เป็นการสร้างภาระ กับบุคคลที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายเก่า กฎระเบียบเก่าจะกระทำไม่ได้
ถาม การใช้อำนาจทางปกครอง คือ การใช้อำนาจผูกพัน อำนาจดุลพินิจ อำนาจนี้มีการใช้อย่างไร
ตอบ “อำนาจผูกพัน” เป็นอำนาจที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้าไม่ปฏิบัติจะถือ ว่ามีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้ อำนาจผูกพันนี้กฎหมายจะกำหนดไว้ข้อความของกฎหมาย เช่น คำว่า “ให้” คำว่า “ต้อง” เป็นต้น
ส่วนอำนาจดุลพินิจ เป็นอำนาจที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่เลือกที่จะกระทำ จะกำหนดไว้ในข้อความในกฎหมาย เช่น คำว่า “มีสิทธิ” “อาจกระทำการ” “สามารถ” เป็นต้น การใช้ดุลพินิจเป็นการใช้อำนาจอิสระของฝ่ายบริหาร ศาลไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ เว้น การใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่มีความผิดวินัยฐานที่อยู่ในขั้นภาคฑัณ แต่กลับใช้อำนาจไล่ออกเจ้าหน้าที่ผู้นั้นออก ถือว่าเป็นการใข้ดุลพินิจที่ไม่ชอบศาลสามารถเข้าตรวจสอบได้ เป็นต้น
และที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ มักจะใช้ “อำนาจผูกพัน” กับ “อำนาจดุลพินิจ” ไม่ถูก บางเรื่อง เป็นอำนาจผูกพันกลับใช้อำนาจดุลพินิจ บางเรื่องเป็นอำนาจดุลพินิจ กลับใช้อำนาจผูกพัน
ถาม กฎหมายห้าม กฎหมายให้สิทธิ กฎหมายให้อำนาจ กฎหมายไม่ได้ห้าม คำเหล่านี้ คืออะไร
ตอบ
“กฎหมายห้าม” จะเป็นกฎหมายกำหนดห้ามบุคคลทุกคนไปละเมิดบุคคลอื่นทั้งทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครองทางรัฐธรรมนูญ
“กฎหมายให้สิทธิ” เป็นกฎหมายที่รับรองคุ้มครองให้ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่างๆ พระราชบัญญัติ ต่างๆ ประมวลกฎหมายต่างๆ พระราชกำหนด และรวมไปถึง กฎหมายลำดับรองต่างๆ
“กฎหมายให้อำนาจ” จะเป็นกฎหมายที่ให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจ ภายใต้หลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” ตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ
กฎหมายทั่วไป 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ขอบเขตของการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ขอบเขตของการใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีลักษณะสำคัญคือ เป็นกฎหมายกลาง การออกคำสั่งทางปกครองต้องให้เหตุผลในการออกคำสั่ง และผู้ออกคำสั่งทางปกครองนั้นจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้
การเป็นกฎหมายกลาง
การเป็นกฎหมายกลางเนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายปกครองหลายฉบับด้วยกัน ซึ่งแต่ละฉบับก็บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครองแตกต่างกัน การบัญญัติให้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายกลางที่จะเข้าไปแทนที่กฎหมายปกครองต่างๆทั้งหมด เพื่อให้มีขั้นตอนเป็นเช่นเดียวกันหมด ซึ่งเป็นเทคนิคในการบัญญัติกฎหมายอย่างหนึ่งให้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายกลางหรือกฎหมายทั่วไปสำหรับการใช้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ และมี“หลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม” หรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนั้น
ดังนั้น พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงเป็น“กฎหมายกลาง”หรือ“กฎหมายทั่วไป” สำหรับการใช้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเกี่ยวกับการออก“คำสั่งทางปกครอง” การที่กฎหมายหากมีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการออกคำสั่งทางปกครองไว้อย่างไรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็จะต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายเฉพาะนั้น เว้นแต่กรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานไว้หรือมีกฎหมายเฉพาะ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะที่ประกันความเป็นธรรมไว้ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หรือกฎหมายเฉพาะกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไว้ต่ำกว่ามาตรฐานการปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะใช้กฎหมายเฉพาะฉบับนั้นไม่ได้ แต่จะต้องใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บังคับแก่กรณี แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นกรณีของขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องใช้กฎหมายเฉพาะนั้นๆบังคับแก่ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งเสมอ ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงว่าขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งนั้นจะมีหลักประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หรือไม่
ด้วยเหตุนี้ หากเป็นกรณีที่กฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกคำสั่งทางปกครองไว้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมต้องเปรียบเทียบกฎเกณฑ์ในกฎหมายเฉพาะที่ตนรับผิดชอบบังคับการกับกฎเกณฑ์ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ว่ากฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 หรือไม่ ถ้าใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมจะต้องใช้กฎเกณฑ์ที่ปรากฏในกฎหมายเฉพาะนั้นบังคับแก่กรณีตามกระบวนการและวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงการออกคำสั่งต้องแสดงเหตุในการออกคำสั่ง
การออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 37 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดให้คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองนั้นจะต้องแสดงเหตุผลในการออกคำสั่งทางปกครอง ในกรณีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะออกคำสั่งซึ่งมีผลเป็นการกระทบสิทธิของบุคคลผู้ต้องอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องให้โอกาสผู้นั้นทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ซึ่งหมายความรวมถึงการแจ้งผลกระทบต่อสิทธิที่จะเกิดขึ้นนั้นด้วย และข้อเท็จจริงที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบนั้นจะต้องเพียงพอเพื่อให้คู่กรณีสามารถโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนได้โดยเหมาะสม
ในการออกคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องคำนึงถึงปัญหานี้ก่อนเสมอ ถ้าหากมีผู้ซึ่งอาจจะถูกกระทบสิทธิอย่างสำคัญแต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมิได้ให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสชี้แจงหรือโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานย่อมถือเป็นความบกพร่องของการพิจารณา ซึ่งคู่กรณีอาจขอให้เพิกถอนกระบวนการเดิมและเริ่มกระบวนการใหม่ได้ การให้โอกาสแก่คู่กรณีอาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็นผู้ริเริ่มด้วยตนเอง หรือเมื่อได้รับคำขอจากคู่กรณีคนหนึ่งคนใดก็ได้ เช่น จะออกคำสั่งให้ปิดโรงงาน ก็ต้องแจ้งให้เจ้าของโรงงานทราบก่อนมีคำสั่งผิดโรงงาน เป็นต้น
เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ออกคำสั่งจะต้องมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย
การออกคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายเฉพาะทุกฉบับต้องปฏิบัติตามมาตรา 13 พระราชบัญญัติปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีส่วนได้เสียในการออกคำสั่ง จะออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นมาใช้บังคับไม่ได้ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาศึกษาถึงผู้ออกคำสั่งจะต้องมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามมาตรา 13 พระราชบัญญัติปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เป็น “คู่กรณี” เอง
2. เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
3. เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็น “บุพการี” หรือ “ผู้สืบสันดาน” ไม่ว่าชั้นใดๆหรือเป็น “พี่น้อง” หรือ “ลูกพี่ลูกน้อง” นับได้ภายใน 3 ชั้น หรือเป็น “ญาติเกี่ยวพันทางแต่งงาน” นับได้เพียง 2 ชั้น
4. เป็นหรือเคยเป็น “ผู้แทนโดยชอบธรรม” หรือ “ผู้พิทักษ์” หรือ “ผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี”
5. เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
6. กรณีอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
กฎหมายทั่วไป 在 EP. 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป #รามคำแหง - YouTube 的推薦與評價
[63/1] LAW1004 - EP. 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายทั่วไป #รามคำแหง. ... <看更多>
กฎหมายทั่วไป 在 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 5 หลักและทฤษฎีภาษี ... 的推薦與評價
(1) กฎหมายทั่วไป (Jus Generale) = กฎหมายที่ข้อความใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่จำกัดบุคคล สถานที่ เวลาหรือเหตุการณ์ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญ ... ... <看更多>
กฎหมายทั่วไป 在 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป #เป็นต่อ - YouTube 的推薦與評價
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายทั่วไป #กฎหมาย คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม ... ... <看更多>