ความฉลาดทางการเงิน … สร้างได้
คำว่า "ความฉลาดทางการเงิน" หรือ Money Literacy เป็นคำที่มีการพูดถึงกันเยอะ ในหนังสือการเงินส่วนบุคคลสมัยใหม่ เรียกว่า พูดกันเยอะ ได้ยินกันบ่อย หลายคนเลยถามว่า ไอ้เจ้า "ความฉลาดทางการเงิน" เนี่ย มันคืออะไร
เพราะถ้าจะศึกษาให้ครบถ้วน รอบด้าน ก็ต้องบอกว่า ความฉลาดทางการเงิน ก็คือ ความสามารถในการหารายได้ บริหารค่าใช้จ่าย เก็บออม และลงทุน ซึ่งฟังดูแล้วกว้างมาก
แต่ถ้าจะสรุปให้สั้น และง่าย ... "ความฉลาดทางการเงิน" ก็คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของตัวเอง
คนเคยมีรายได้น้อย แล้วเพิ่มพูนศักยภาพตัวเอง เปลี่ยนอาชีพจนมีรายได้เพิ่มได้ ... แบบนี้ก็เรียก มีความฉลาดทางการเงินในการสร้างรายได้เพิ่ม
คนเคยมีหนี้เหนื่อยหนัก อดทนกันฟัน ควบคุมค่าใช้จ่าย หารายได้เสริม จนค่อยๆปลดหนี้ได้ ... แบบนี้ก็เรียก มีความฉลาดทางการเงินในการแก้ปัญหาหนี้
คนไม่เคยเก็บออมเงินได้ เริ่มเก็บออมเงิน ใช้วิธีเก็บออมแบบอัตโนมัติ เริ่มจัดการเงินได้อยู่หมัด ไม่รั่วไหล ... แบบนี้ก็เรียก มีความฉลาดทางการเงินในการเก็บออม
หรือคนที่เคยลงทุนกี่ทีก็เจ๊ง เพราะเอาแต่ถามกับฟัง แล้วก็เชื่อแบบไม่รู้เรื่อง เริ่มต้นศึกษาพื้นฐานการลงทุน เริ่มต้นศึกษาหุ้นแต่ละบริษัทอย่างจริงจัง เริ่มลงทุนเป็น ลงทุนแล้วนอนหลับฝันดี ... แบบนี้ก็เรียก มีความฉลาดทางการเงินในการลงทุนหุ้น
แบบนี้เป็นต้น ...
ดังนั้นความฉลาดทางการเงินของคนเรา จะพัฒนาไปได้ดี และเร็ว เมื่อเราพยายามที่จะเรียนรู้แก้ไขปัญหาที่พบด้วยตัวเอง รู้สึกทนไม่ได้ ชีวิตไม่เป็นเหมือนที่อยากเป็น ไม่นิ่งดูดาย และไม่รอคอยความช่วยเหลือ
แต่ก็นั่นแหละ! ความรู้ทางการเงิน เป็นสิ่งที่เราไม่ได้เรียนกันในโรงเรียน ดังนั้น หลายครั้งพอเจอปัญหา เราก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำจากคนอื่น หรือต้องถามผู้รู้
ผมเองได้รับคำถามแบบนี้ทุกวัน วันละเยอะมากจนตอบไม่ทัน บางครั้งเห็นคำถามแล้วก็รู้สึกเหนื่อย เพราะน้อยคนที่จะลองคิดคำตอบ หรือแนวทางของตัวเองมาก่อน มาถึงก็เล่าเรื่อง แล้วถามเหมือนเชิงคิดให้หน่อย ว่าทำยังไง
ตรงกันข้ามกับบางคนที่เล่าเรื่องตัวเอง แล้วก็บอกวิธีคิดหรือแนวทางแก้ปัญหาของตัวเองมาด้วย ซึ่งในมุมของผม คนในแบบหลังนี่แหละที่จะพัฒนาความฉลาดทางการเงินให้กับตัวเองได้เร็วกว่า เพราะถ้าคิดมาผิด ก็จะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องกลับไป และเรียนรู้ได้เร็วกว่า เพราะใช้สมองเรียนรู้แนวทาง และประเมินทางเลือกให้กับตัวเองมาแล้ว ผิดกับกลุ่มแรก ที่เดี๋ยวมีปัญหา ก็กลับมาถามอีก ...
หลายครั้งผมจึงมักถามพวกเขากลับไปเสมอว่า "แล้วเรามีแผนจะทำ หรือแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง?"
หลายครั้งปลายทางตอบกลับ แต่บางครั้งก็เงียบไปเลย ไม่ติดต่อใดๆ กลับมา และมีอีกหลายครั้งต่อว่ากลับมาเล็กน้อยพองามประมาณ ... ถ้า (กู) รู้แล้วจะมาถาม (มึง) มั้ย"
ทั้งหมดก็สุดแท้แต่ ... เพราะผมเชื่อเสมอว่า ถ้าเป็นครูใจร้าย ที่ไม่หวังให้คนเรียนเติบโต และได้ดีด้วยตัวเอง ผมก็จะบอกทุกอย่าง เหมือนเขียนใบจ่ายยา
แต่ด้วยวิธีที่ทำอยู่ในปัจจุบันนั้น อยากช่วยให้แก้ปัญหาเองได้ และเปลี่ยนเขาเป็น Active Learner เป็นคนที่จะหาทางเรียนรู้และช่วยเหลือตัวเอง และที่สำคัญ ... หัด "คิดเอง" เองก่อน เพื่อประมวลความรู้ที่อ่าน ที่ดู และค้นขว้ามา (และที่ดีสุด คือ ลดภาระผมเองในอนาคตด้วย)
ผมเชื่อเสมอว่าการสร้างความฉลาดทางการเงินเป็นเรื่องสนุก! และในท้ายที่สุด คนที่ไม่หยุดคิดหาคำตอบ ไม่หยุดเรียนรู้ จะกลายเป็นคนที่เก่งเรื่องเงิน และสร้างความมั่งคั่งได้ในที่สุด
เป็นกำลังใจให้ทุกชีวิตที่มุ่งมั่นสู่อิสรภาพทางการเงินครับ
#TheMoneyCoachTH
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過31萬的網紅THE MONEY COACH,也在其Youtube影片中提到,[ความรู้การเงิน 4 ด้าน ที่ทุกคนต้องมี] หารายได้-ใช้จ่าย-ออม-ลงทุน ทักษะ 4 ด้านที่ต้องมีให้ครบ หากต้องการมีชีวิตการเงินที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน ที...
「ความฉลาดทางการเงิน」的推薦目錄:
- 關於ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
- 關於ความฉลาดทางการเงิน 在 THE MONEY COACH Youtube 的最佳解答
- 關於ความฉลาดทางการเงิน 在 THE MONEY COACH Youtube 的最讚貼文
- 關於ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach - ความฉลาดทางการเงิน … สร้างได้ คำว่า "ความฉลาด ... 的評價
ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
โครงการ FAMILY FINANCE
เปิดรับสมัคร 10 ครอบครัว เข้าร่วมกิจกรรมเชิงทดลอง ให้คำปรึกษาเพื่อวางการเงินครอบครัว โดยโค้ชหนุ่ม (Money Coach) (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
เรียนและให้คำปรึกษาผ่านระบบ ZOOM โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
1. ให้ความรู้การเงินกับพ่อแม่ ทั้ง 10 ครอบครัว
2. ให้คำแนะนำทางการเงิน แบบ 1:1 กับโค้ชหนุ่ม ผ่านระบบ ZOOM
3. ให้คำแนะนำให้การสอนการเงินเด็กๆ กับบุตรหลานของผู้เข้าร่วมโครงการ
หัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือ พัฒนาพ่อแม่ให้เป็นผู้มีความสามารถในการวางแผนการเงินครอบครัวตัวเองได้ และสอนการเงินให้กับลูกๆ ได้ ด้วยหลักการบริหารเงินส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
เพราะผมเชื่อเสมอว่า ครูการเงินที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ คือ พ่อแม่
และ "หลักประกันทางการเงินที่ดีที่สุด ที่เราควรให้กับลูกของเรา ไม่ใช่แค่ทรัพย์สินเงินทองที่เราทิ้งไว้ให้กับเขา แต่มันคือ ความฉลาดทางการเงิน ที่เราควรเริ่มต้นสร้างให้เขาตั้งแต่วันนี้
ครอบครัวใดที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทางลิงค์นี้นะครับ
https://forms.gle/DBDjTrkBGQxYjm9y6
#TheMoneyCoachTH #familyfinance
หมายเหตุ: ด้วยกำลังของผมและความไม่สะดวกในด้านการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ จึงต้องขอเริ่มด้วยด้วยขนาดที่พอเริ่มได้ก่อนนะครับ ต้องขออภัยที่เริ่มต้นทำได้เท่านี้ครับ
ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
ความฉลาดทางการเงิน คือ คำตอบ
“เงินไม่ชอบอยู่
กับคนที่ไม่มีความฉลาดทางการเงิน”
ครั้งหนึ่งผมเคยลงพื้นที่ไปให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้หนี้ ที่หมู่บ้านหนึ่ง ณ จังหวัดแห่งหนึ่ง ในโครงการ “คนไทยชนะหนี้”
วันนั้นเราจัดการบรรยายกลางตลาดสด คนมาฟังกันเป็นร้อยคน หลังจากสอนเรื่องหลักการแก้ปัญหาหนี้ และเริ่มให้ทำงบรายรับรายจ่าย ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งอดรนทนไม่ไหว ยกมือขึ้นแล้วโพล่งออกมากลางห้องว่า
“ไม่ต้องมาสอนหรอกไอ้เรื่องวิธีปลดหนี้อะไรนั่นหนะ แค่เอาเงินมาให้เราก็พอ ที่นั่งกันอยู่นี่ก็เป็นหนี้กันครอบครัวละประมาณ 6-7 แสน มีเงินมาให้พวกเราทุกคน ก็ปลดหนี้ได้แล้ว”
พูดจบก็มีเสียงปรบมือ โห่ฮากันยกใหญ่
คำถามคือ คนร้อยคน เป็นหนี้กันคนละ 6-7 แสน รวมกันแล้วตกราว 70 ล้านบาท (อ่านอีกครั้ง “เจ็ดสิบล้าน”) และนี่แค่หมู่บ้านเดียวนะครับ ถ้าคนที่เป็นหนี้คิดอย่างนี้กันหมด จะแก้ปัญหาหนี้สินให้คนไทยทั้งประเทศ มันต้องใช้เงินสักเท่าไหร่กัน
หรือไม่ต้องหามาให้ก็ได้ แค่ให้กู้เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ Soft Loan ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาเงินขนาดนั้นมาได้จากที่ไหน ปัญหาของตัวเองแท้ ๆ แต่มักง่าย คอยคิดแต่ว่าเมื่อไหร่จะมีคนมาช่วย แล้วเรียกตัวเองเสียเต็มปากเวลาขอความช่วยเหลือว่า “คนยากคนจน” ก็ที่ชีวิตมัน “ยาก” และมัน “จน” มันก็เริ่มตั้งแต่คำพูดที่ใช้เรียกตัวเองนี่แหละ
สุดท้ายวันนั้นผมก็ทู่ซี้สอนจนจบช่วงเช้าไป พร้อมกับความมั่นใจว่า ช่วงบ่ายคงไม่มีใครเข้ามาฟังแน่ ๆ สิ่งที่ผมพยายามทำในวันนั้น คือ พยายามเล่าให้ฟังว่า ความรับผิดชอบ ความรู้ และวินัยทางการเงิน จะช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากปัญหาได้อย่างไร
ได้ผลครับ ...
ช่วงบ่ายมีคนนั่งรอฟังผมพูดต่ออยู่แค่ 4 คนเท่านั้น ที่สำคัญเป็นสุภาพสตรีทั้งหมดด้วย ซึ่งจากการคุยสอบถามข้อมูล พี่ทั้งสี่ท่านมีหนี้ตกเฉลี่ยครอบครัวละ 4-5 แสนบาท
คำถามแรกที่ผมถามพี่ ๆ สุภาพสตรีทั้ง 4 ท่าน ก็คือ “ทำไมยังอยากฟังผมพูดอีก ในเมื่อคนแทบทั้งห้องหายไม่อยากฟังแล้ว” คำตอบของพี่ๆ เขาน่าสนใจครับ พี่เขาบอกว่า
“ใช้ชีวิตมา 50 กว่าปี เป็นหนี้มาตลอดชีวิต อีกไม่กี่ปีก็ตายแล้ว ขอมีชีวิตที่ไม่เป็นหนี้ดูสักครั้งเถอะอาจารย์ ว่าไงว่าตามกัน เอาไงเอากัน”
เด็ดมั้ยละครับ ... คนที่จะพ้นจากปัญหามันต้องคิดแบบนี้ ไม่ใช่แบมือรอเงิน
ผมให้พี่ทั้งสี่ท่านลิสต์รายการหนี้ทั้งหมดที่มี และวางแผนเพื่อเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละราย ซึ่งก็ได้ผลต่างกัน บางรายลดดอกเบี้ยให้ บางรายไม่คิดดอกเบี้ย แต่ขอให้ผ่อนคืนเงินต้นให้หมด แต่ก็มีบางรายที่ไม่ช่วยเลย
หลังวางแผนเจรจาหนี้ ผมชวนพี่ ๆ คิดต่อว่า จะทำอะไรเพื่อหารายได้เพิ่มได้บ้าง
“พวกพี่ทำอะไรขายได้บ้างครับ” ผมถาม
“ทำหนะมันทำได้ แต่ติดตรงไม่มีทุนน่ะสิ จะทำยังไง” พี่คนที่ดูอาวุโสสุดในกลุ่มบ่นแบบตัดพ้อ
“อย่าพึ่งสนใจเรื่องทุนสิครับ คิดก่อนว่าจะทำอะไร แล้วค่อยมาดูว่าใช้เงินเท่าไหร่ ผมไม่มีเงินให้พี่ ๆ หรอกนะครับ แต่ผมมีวิธีคิดและวิธีการที่ช่วยให้มีเงินทุนได้ แต่ต้องคิดถึงสิ่งที่เราทำได้ก่อน เรื่องเงินไว้คิดทีหลัง” โค้ชพูดด้วยน้ำเสียงดุ
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คนเราพอสมองไม่ยึดติดกับเงินมากเกินไป ไอเดียทางธุรกิจก็พรั่งพรูออกมาเต็มไปหมด
4 คน 3 ธุรกิจ ... คนหนึ่งตำน้ำพริก คนหนึ่งขายไส้กรอกอีสาน อีกสองคนตัดเย็บผ้าส่ง
คุณพี่คนที่ตำน้ำพริกขาย มีฝีมือถึงขนาดเคยชนะเลิศประกวดงานโอท็อป เธอบอกว่าถ้าจะตำน้ำพริกขายต้องใช้เงินหมุนเวียน 5,000 บาทต่อสัปดาห์ ส่งไปขายที่ตลาดที่เชียงใหม่ ถ้าขายหมดจะได้ 10,000 บาท (กำไรเท่าตัวเลย) สิ่งที่พี่ท่านนี้ต้องการสำหรับเริ่มต้นธุรกิจ คือ เครื่องบดปั่นพริก ราคาประมาณ 15,000-20,000 บาท และเงินหมุนเวียนธุรกิจราว 10,000 บาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท ไม่ใช่ 6-7 แสน อย่างที่เพื่อนบ้านคนอื่น ๆ ขอ
เคสนี้ผมติดต่อขอสปอนเซอร์เครื่องบดปั่นไฟฟ้ามาให้ (ให้เครื่องใช้ไว้ทำกิน ดีกว่าให้เงิน) แล้วก็จัดหาทุนให้กู้ยืม 10,000 บาท ผมช่วยพี่เขากำหนดวิธีการบริหารเงินไว้ว่า ทุกครั้งที่ขายได้ให้หักทุนเก็บใส่กระป๋องไว้เพื่อหมุนเวียนกิจการ ห้ามเอาทุนไปกินใช้ในชีวิตประจำวันหรือจ่ายหนี้เด็ดขาด เพราะมันคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเราไปต่อได้ ธุรกิจไปต่อได้ เราก็มีเงินหมุนกินใช้ได้
ส่วนกำไร ให้บริหารส่วนหนึ่งสำหรับกินใช้ คนเราต้องมีข้าวกิน ท้องอิ่มสมองจึงทำงาน และอีกส่วนเอาไว้ใช้หนี้เขา สำหรับสัดส่วนในการแบ่งกำไรเพื่อการกินใช้กับจ่ายหนี้ ให้พี่เขาพิจารณาเอง
ผ่านไปได้สองเดือน พี่คนนี้ทำกำไรได้ตกเฉลี่ยเดือนละ 20,000 กว่าบาท แกบริหารเงินแบบง่ายๆ โดยหักเป็นค่าใช้จ่ายในบ้านเดือนละ 10,000 บาท ชำระหนี้ 8,000 บาท และเก็บออมเดือนละ 2,000 บาท
ถึงวันนี้กิจการของพี่ท่านนี้กำลังขยับขยาย ไม่ได้ส่งแค่ตลาดที่เชียงใหม่แล้ว แม้หนี้จะยังไม่หมด แต่สภาพคล่องเริ่มหมุนเวียนพอไปได้ เริ่มมีรอยยิ้มในการดำรงชีวิตประวันแล้ว
พี่สองคนที่ตัดเย็บเสื้อผ้า ได้กำไรต่อตัว ตัวละ 60 บาท วันหนึ่งตัดได้ 20 ตัว อยากได้จักรเย็บผ้าเพิ่มอีกตัว เพราะปัจจุบัน สองคนใช้จักรเย็บตัวเดียวทำให้งานช้า และรับงานไม่ได้มาก สุดท้ายผมช่วยหาจักรเย็บผ้าให้เพิ่มให้อีก 1 ตัว (รับบริจาคเพื่อนๆ ที่มีจักรเย็บผ้าไม่ใช้งาน)
ปัจจุบันพี่สองท่านนี้ขยายกิจการ มีจักรเย็บผ้า 4 ตัว พร้อมกับเริ่มจ้างคนมาช่วยเย็บผ้า โดยรับงานจากร้านใหญ่ประจำจังหวัด รวมวันหนึ่งทำงานได้ 100 ตัว ได้สบาย ๆ
สำหรับพี่ที่ทำไส้กรอกอีสาน ผมก็ช่วยโดยใช้ไอเดียเดียวกัน แล้วก็เริ่มมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น
ทั้งหมดที่เล่าให้ฟัง ไม่ใช่ความเก่งกาจอะไรของผมเลย เพราะมันคือ ความพยายามและความสามารถของพวกพี่ ๆ เขาเอง สิ่งที่ผมทำเพียงแค่เป็นเพื่อนคู่คิด ที่คอยพูดคุยให้คำแนะนำ ให้พวกพี่เขาเห็นความสามารถที่ยังมีอยู่ในตัวเองก็เท่านั้น
แทนที่จะรอเงินช่วยเหลือหลายแสนบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยข้าวของเครื่องใช้ และเงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก ผสมผสานกับความรู้ในการจัดการเงินรายได้ บวกด้วยความตั้งใจที่จะพ้นทุกข์จากปัญหาหนี้ ถึงวันนี้พี่ ๆ ทั้งสี่ท่าน ก็สามารถทยอยปลดหนี้ มีสภาพคล่องการเงินที่เพิ่มขึ้น และมีความสุขในชีวิตในแบบที่ต้องการได้
ที่สำคัญ คนที่พาตัวเองผ่านพ้นวิกฤตการเงิน ด้วยการต่อสู้บนน้ำพักน้ำแรงตัวเอง จะมี “ความฉลาดทางการเงิน” เป็นภูมิคุ้มกันติดตัวไปในภายภาคหน้าด้วยเสมอ พวกเขาจะระมัดระวังกับชีวิตมากขึ้น และเรียนรู้แล้วว่า จะมีชีวิตที่ปลอดภัยจาก “หนี้จน” ที่จ้องจะทำร้ายชีวิตของพวกเขาได้อย่างไร
แม้จะช่วยคนเป็นร้อยไม่ได้ แต่ทั้งสี่ท่านที่ประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ผมเชื่อมั่นได้ว่า ความฉลาดทางการเงิน คือ คำตอบที่แท้จริง ไม่ใช่ “เงิน” ที่ไหลผ่านกระเป๋าสตางค์เข้ามา แล้วก็ผ่านไป แต่ไม่ได้ประทับความฉลาดใด ๆ ไว้ในระบบความคิดของเราเลย
“ถ้าจะช่วยใคร จงยื่นมือ อย่ายื่นเงิน”
#TheMoneyCoachTH
หนึ่งในเนื้อหาใน หนังสือ "เปลี่ยนหนี้เป็นอิสรภาพการเงิน" Edition 2 ในงานหนังสือแห่งชาติ ตุลาคมนี้
ความฉลาดทางการเงิน 在 THE MONEY COACH Youtube 的最佳解答
[ความรู้การเงิน 4 ด้าน ที่ทุกคนต้องมี]
หารายได้-ใช้จ่าย-ออม-ลงทุน
ทักษะ 4 ด้านที่ต้องมีให้ครบ หากต้องการมีชีวิตการเงินที่ดี
โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน ที่ในปัจจุบันทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะผลตอบแทนของเงินออมไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการเงินของเราได้อีกต่อไปแล้ว
#MoneyEveryday #TheMoneyCoachTH #ความรู้การเงิน #ความฉลาดทางการเงิน
ความฉลาดทางการเงิน 在 THE MONEY COACH Youtube 的最讚貼文
"เงิน" เรื่องสนุก เรื่องง่าย : เรียนรู้การเงินส่วนบุคคลขั้นพื้นฐาน กับซีรีย์ 30 ตอน ที่ออกแบบมาเพื่อคนไทยทั้งประเทศ โดยโค้ชการเงิน อันดับ 1 ของเมืองไทย
ความฉลาดทางการเงิน 在 Money Coach - ความฉลาดทางการเงิน … สร้างได้ คำว่า "ความฉลาด ... 的推薦與評價
แต่ถ้าจะสรุปให้สั้น และง่าย ... "ความฉลาดทางการเงิน" ก็คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของตัวเอง คนเคยมีรายได้น้อย แล้วเพิ่มพูนศักยภาพตัวเอง เปลี่ยน ... ... <看更多>