#เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องราวระบบการศึกษาฟินแลนด์
#ชวนอ่านหนังสือ2เล่ม
#เรื่องที่ฟินแลนด์ไม่ได้กล่าว_แต่เราเขียนกันไปเอง
.
หลายครั้ง เวลาหมอไปบรรยาย
พ่อแม่ตอบหมอเสียงดังได้ว่า
ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดี คือ
ฟินแลนด์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น
แต่ที่ตอบเสียงดังที่สุด คือ ฟินแลนด์
หมอก็ยิ้มและก็คิด
ว่าพ่อแม่ยุคใหม่ติดตามข่าวสารนะเนี่ย
แต่ถ้าหมอถามใหม่ว่า "รู้ได้อย่างไร"
ว่าประเทศฟินแลนด์มีระบบการศึกษาดีที่สุด
เราเอาอะไรมาวัด....คำตอบก็จะเงียบๆลงไป
.
แล้วที่ผ่านมา
ที่เรารู้ว่าประเทศฟินแลนด์
เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาดี
เพราะเรารับรู้ข้อมูลจากสื่อ...ใช่หรือไม่
เวลามีบทความชื่นชม
เรื่องทำไมเด็กประเทศฟินแลนด์ถึงได้เก่งและมีควาสุข
จะมีผู้คนสนใจ และแชร์บทความกันมาก
ยิ่งเป็นบทความเปรียบเทียบให้เห็นความต่าง(ที่สุดขั้ว)
ยิ่งกระตุ้นความรู้สึก และยิ่งได้รับความสนใจ
หมอก็เป็น คุณแม่คนหนึ่ง ที่ติดตามข่าวสาร
เรื่องระบบการศึกษาที่ดีจากหลายๆประเทศ
หมอก็ชื่นชอบ ชื่นชม ประเทศฟินแลนด์
หมอก็เลยติดตาม อ่านหนังสือ เข้าไปดูสารคดี
แล้วหมอก็พบว่า สิ่งที่เราคิดว่า ฟินแลนด์เป็น
บางเรื่องเป็นสิ่งที่เราคิดกันเอง...เขียนต่อๆกันไปเรื่อย
.
พอดีเพิ่งอ่านหนังสือ Teach like Finland จบ
เลยจะสรุปประเด็นรวมกับหนังสือ Finnish Lesson 2.0
ที่อ่านจบไปนานแล้ว เพื่อให้คนที่ผ่านมาอ่าน
ได้รู้ข้อเท็จจริง เพิ่มเติมบางประการ
สำหรับผู้ที่สนใจเชิญอ่านได้เลยค่ะ
(คงถูกติเรื่องยาวเหมือนเดิม ซึ่งชินแล้ว😅😅😅)
____________________________
1.#ทั้งโลกควรขอบคุณการสอบ_PISA
ที่หมอกล่าวเช่นนี้ เพราะในหนังสือหลายๆเล่ม
เกริ่นถึง ระบบการศึกษาของโลก
ที่เกิดจากนโยบายที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ
ต้องการจะแข่งขันกันในเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี
จึงกำหนดว่าเด็กต้องเรียนอะไร
และนับวันสิ่งที่ต้องเรียน
มีแต่จะเพิ่มขึ้น คือ ของเก่าไม่ทิ้ง ของใหม่ต้องรู้....
ส่งผลให้การศึกษา ตัดวิชา เช่นศิลปะ
คหกรรม วิชาการเรือน และอีกหลายๆอย่าง ทิ้งไป
แล้วมาเพิ่มเวลา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เนื้อหายากขึ้นๆและเอาไปใช้ประโยชน์มิได้
หมอเคยอ่าน วิทยาศาสตร์ ป.4 แล้วตกใจ
เรียนระบบร่างกายละเอียดเหมือนตอนหมอเรียนแพทย์
ออกข้อสอบให้ยากเข้าไว้ กางตำรา
เอาเนื้อหาเชิงลึกมาออก
อารามว่า ยิ่งเด็กจำเรื่องยากๆได้ นั่นแปลว่าเก่ง!
(ตอนเด็กๆหมอยังเรียน กพอ. สนุกสนานได้เย็บผ้า ทำกับข้าว ปักแผ่นเฟรม ถักโครเชต์ สนุกสนานอยู่เลย)
.
ผลคือ ระบบการศึกษา
เหมือนเป็นระยะเวลาทรมาณเด็ก
เพราะการเรียนรู้ ไม่อิงตามพัฒนาการ และไม่มีอิสระ
#ที่เด็กอยากรู้ไม่ได้เรียน #ที่บังคับให้เรียนคือไม่อยาก
เป็นปัญหาไปทั่วโลก
มีกลุ่มประเทศชั้นนำเรียกว่า OECD จัดการประเมินผลนานาชาติขึ้นมา ชื่อว่า PISA
#ประเมินสมรรถนะการเรียนรู้
ในเด็กอายุ 15 ปี (สมรรถนะ ไม่ใช่ knowlege)
โดยการสอบ จะให้เด็กตอบคำถาม ประวัติส่วนตัว
และคำถามประเมินเชิงจิตวิทยาร่วมด้วย
นัยว่า การจัดลำดับนี้
จะได้รู้กันไปเลยว่าประเทศไหนแน่จริง😁
จะได้เอาระบบการศึกษาของประเทศนั้นมาวิเคราะห์
สอบ PISA ครั้งแรกเมื่อปี 2000
.
จะกล่าวถึงฟินแลนด์ ที่เป็นประเทศนอกสายตา
แต่ผู้นำมีวิสัยทัศน์ยาวไกลมาก
ตั้งแต่ปี 1960 รัฐของฟินแลนด์
ตั้งใจ ปฏิรูปการศึกษา สาระสำคัญอยู่ที่อิสระในการจัดการเรียนรู้ของครู โดย เพิ่มคุณภาพของครู และไว้ใจครูเหล่านั้น ว่าจะให้การศึกษาที่ดีที่สุดแก่นักเรียน
แต่ละโรงเรียนก็มีอิสระ แต่ทำงานประสานกัน
#ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดที่ถูกใจทุกคน
ตอนแรกของการปฏิรูปในประเทศฟินแลนด์
ก็ปั่นป่วนเหมือนกัน
“โรงเรียนที่รับเด็กตามเขตแบบประสม
ไม่คัดเลือก หรือแบ่งแยกโดยเกณฑ์ใดๆ
ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ 1970 ถูกแนวร่วมหลายฝ่ายในสังคมฟินแลนด์วิพากษ์วิจารณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัยกล่าวหาโรงเรียนรูปแบบใหม่นี้ว่า กำลังทำให้ระดับความรู้และทักษะที่เด็กควรได้รับลดลง
นายจ้างผสมโรงเสริมว่า คนรุ่นใหม่(ฟินแลนด์)ถูกสอนให้แสวงหาความสบาย
และหลีกเลี่ยงงานหนัก” Pashi Sahlberg เขียนไว้ในบทนำ Teach like Finland
.
แต่เมื่อ ผลการสอบ PISA ครั้งแรกในปี 2001 ประกาศ!
ทำให้แนวความเชื่อเรื่องการศึกษาของโลก
เปลี่ยนไปทันที👍
เพราะประเทศฟินแลนด์ ที่ชม.เรียนน้อยกว่าประเทศอื่นๆ เกือบครึ่งได้อันดับ 1 ในทุกวิชาที่ประเมิน ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านจับใจความ
.
จะไม่ให้พูดว่า เราเป็นหนี้บุญคุณการสอบ PISA ได้อย่างไร
ถ้าไม่มีการสอบ PISA
ประเทศฟินแลนด์ ก็คงไม่ได้รับการยกย่อง ยอมรับ
ถ้าโลกไม่หันไปมองฟินแลนด์
#ระบบการศึกษาเดิมๆก็คงไม่ถูกตั้งคำถาม
นักเรียนก็คงต้องเรียนเนื้อหายากขึ้น
แต่เอาไปใช้งานไม่ได้อยู่เช่นเดิม
.
ดังนั้น ที่บอกว่า ประเทศฟินแลนด์ มีระบบการศึกษาที่ดี
ก็มาจากการสอบวัดผล PISA นี่เองค่ะ
และทำให้ทั่วโลกตื่นตัว ว่าเรียนหนัก เนื้อหามากๆ
อาจจะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป
_________________________________________
2.ประเทศฟินแลนด์ ไม่มีโรงเรียนอนุบาล
เด็กๆเรียนหนังสือตอนอายุ 7 ปี แต่ยังเก่งได้
#ไม่จริงเลย
ความจริงคือ ประเทศฟินแลนด์
มีการศึกษาขั้นบังคับ เริ่มตอนเด็กอายุ 7 ปี
แต่ประเทศฟินแลนด์ ก็มีโรงเรียนอนุบาล
และเนิร์สเซอรี่ เหมือนประเทศอื่นๆนั่นแหละ
โครงสร้างในระบบการศึกษาของเค้า
ก็มีระบุเรื่องการศึกษาปฐมวัย
“ในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาปฐมวัย หมายถึง การศึกษาและการดูแลเด็กๆก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเมื่ออายุครบ 7 ปี เด็กทุกคนมีสิทธิ์จะได้รับการดูแล
ในศูนย์ดูแลเด็กเดย์แคร์ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ดูแลเด็กที่บริหารโดยครอบครัว หรือในโรงเรียนอนุบาล
เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เข้าสถานศึกษาก่อนวัยเรียนตามความสมัครใจ” (จากหนังสือ Finnish Lesson 2.0)
ในหนังสือยังบอกว่าอีกว่า การดูแลเด็กเล็ก
เป็นหน้าที่ของรัฐที่จัดสวัสดิการให้ครอบครัว
(เงินเดือน วันลาของแม่ และพ่อ) เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างเต็มที่ในขวบปีแรกของชีวิต
หลังจากนั้นส่งลูกไปเดย์แคร์ได้ตามสะดวก
โดยแน่นอนเดย์แคร์เหล่านี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
“การจัดการศึกษาปฐมวัยของฟินแลนด์ มีวัตถุประสงค์หลักคือ ทำให้เด็กทุกคนมีสุขภาวะที่ดี” สาระสำคัญที่เขียนคือ
ให้เด็กมีความสุข นึกถึงผู้อื่น และเป็นผู้ตัดสินใจได้อย่างอิสระ
สถิติพบว่า เด็กฟินแลนด์อายุน้อยกว่า 2 ปี
เกือบ 50% ไปเดย์แคร์
3-5 ปี อยู่เดย์แคร์ 75% ซึ่งถ้าดูจากจำนวน ก็จะพบว่าเด็กก็เข้าสู่ระบบการศึกษาตั้งแต่เล็กๆ
เหมือนกันกับประเทศอื่น รวมทั้งประเทศไทย
แต่ก็มีสิ่งที่ต่าง คือ #คุณภาพของการดูแลเด็กปฐมวัยนั่นแหละค่ะ
______________________________________
3.โรงเรียนฟินแลนด์ ไม่มีการบ้าน ไม่มีการสอบ
#ไม่จริง
อันนี้จากทที่อ่านหนังสือ ก็ไม่จริงซะทีเดียว
เนื่องจากจุดเด่นของโรงเรียนที่ฟินแลนด์
คือ ให้ครูทำหน้าที่เหมือน วาทยากร
คือ คิดว่าจะสอนอย่างไรให้นักเรียนได้เรียนรู้และเนื้อหาได้ดีที่สุด
จะประเมินนักเรียนอย่างไร
ครูอาจจะให้การบ้านในปริมาณที่เหมาะสม
ให้นักเรียนทำด้วยตัวเอง
ส่วน การสอบ เป็นหนึ่งวิธีของการประเมินผล
(การประเมินการเรียนรู้ทำได้หลายวิธี เพียงแต่ประเทศเราเลือกวิธีสอบเป็นหลัก)
คุณครูอาจจะให้นักเรียนสอบ
เพื่อให้ประเมินการเรียนรู้ของตัวเอง
เป็นการสอบเพื่อการประเมินตัวเอง ไม่ใช่การจัดลำดับ
(จากหนังสือ teach like Finland)
________________________________________
4.ระบบการศึกษา ไม่ใช่นโยบายที่จะเลียนแบบกันได้
เพราะระบบการศึกษา #มีชีวิต กล่าวโดย Pasi Sahlberg
การศึกษา สร้างโดยมนุษย์
ดำเนินการโดยมนุษย์ มีกรอบของสังคม
ความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ดังนั้น เป็นเรื่องของสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่นโยบายกระดาษ
Pasi Sahlberg ในเรื่องที่เค้ามองระบบการศึกษา
ที่ทำตามๆกัน ว่า GERM (แปลว่าเชื้อโรค)
เค้ามองว่าระบบการศึกษาของฟินแลนด์
เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ
ให้ทุกประเทศเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้
แต่เราไม่สามารถ ถอดแบบระบบการศึกษาของฟินแลนด์
ไปใช้ที่ไหนก็ได้ในโลก...ประเทศไทยก็เช่นกัน
ส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบการศึกษาฟินแลนด์ประสบความสำเร็จ คือ เค้า focus ที่ “อยากให้เยาวชนทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีตามแบบของตัวเองไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีเศรษฐานะ หรือความต้องการพิเศษอย่างไร”
ไม่ได้ focus เรื่องการแข่งขัน
เมื่อไม่ focus ที่การแข่งขัน เค้าก็ชนะ
________________________________________
ท้ายที่สุด ระบบการศึกษาไทย
ขณะนี้เราก็กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง
แต่มันคงไม่สามารถเปลี่ยนได้ในชั่วข้ามคืน
บทเรียนจากฟินแลนด์ทำให้เรารู้ว่า
#ความสุขในการเรียน (ในหนังสือใช้คำว่า สุขภาวะ)
#ความอยากเรียนรู้ของนักเรียน
#มีอิสระที่จะเลือกทำหรือเรียนสิ่งต่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
สำคัญกว่าเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในวิชาเรียน
ในเวลาที่ลูกๆของเรายังติดอยู่กับการศึกษาระบบเดิมๆ
ก็มีสิ่งที่เราทำได้...ก็คือ
อย่าไปยึดติดกับผลสอบจัดอันดับหรือวัดระดับให้มากนัก...
focus คุณสมบัติพื้นฐานของลูก
เค้ามีความมุ่งมั่นมั้ย
เค้ารับผิดชอบมั้ย
เค้าเป็นคนไฝ่รู้มั้ย
เพราะท้ายที่สุด
ไม่มีข้อสอบ หรือการประเมินผลใดในโลก
ที่เอามาตัดสินความเก่งของคนคนหนึ่งได้หรอก
.
หมอก็เป็นคนที่ต้องออกข้อสอบเหมือนกัน
หมอรู้ดี
.
หมอแพม
ยินดีด้วย สำหรับคนที่อ่านจบ
ท่านอ่านหนังสือเกินค่าเฉลี่ยของปีนี้แล้ว 😁😁😁
ชวนอ่านหนังสือ2เล่ม 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
#เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องราวระบบการศึกษาฟินแลนด์
#ชวนอ่านหนังสือ2เล่ม
#เรื่องที่ฟินแลนด์ไม่ได้กล่าว_แต่เราเขียนกันไปเอง...
Continue Reading
ชวนอ่านหนังสือ2เล่ม 在 หนังสือชวนอ่าน | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
#อยากชวนอ่านหนังสือ เราจักไปรู้ได้อย่างไงว่า... หนังสือ...เล่มไหนดี เล่มไหนเหมาะกับเรา เล่มไหนจักช่วยเรา เล่มไหน...มากมาย ...นอกจาก ซื้อมา แล้ว อ่าน แค่อ่าน ... <看更多>
ชวนอ่านหนังสือ2เล่ม 在 อ่านหาแก่นทำ S1E3 : ชวนอ่านหนังสือที่ช่วยไขปริศนาชีวิต - YouTube 的推薦與評價
อ่าน หา แก่น ทำ Season 1 : ชวนอ่านหนังสือ ที่ช่วยไขปริศนาชีวิตEp.3 : The power of meaning - อะไรทำให้ชีวิตคนเรามีความหมาย#ไขปริศนาชีวิต ... ... <看更多>