วัยรุ่นอายุ 19 ปี ที่ต้องตัดขาทิ้งเพราะป่วยเป็นมะเร็ง แต่ขาที่เหลือเพียงข้างเดียว ไม่ได้ทำให้เค้าย่อท้อ เพราะเทอร์รี่มีเป้าหมายที่จะสร้างกองทุนเพื่อให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ต่อสู้กับโรคร้ายอย่างมะเร็ง ความมุ่งมั่นที่ทำให้เทอร์รี่ปักหมุดเป้าหมายออกวิ่งระยะทาง 8 พันกว่ากิโลเมตร ที่ไม่รู้ว่าจะทำได้สำเร็จหรือไม่ ....
กับเรื่องราวของคนสร้างแรงบันดาลใจ
เพราะแค่เปลี่ยนความคิด โลกของคุณก็เปลี่ยนไปแล้ว
#DesignThinking #คิดเปลี่ยนโลก #armpipat #armfontv #armadillohouse #armadillotv
同時也有40部Youtube影片,追蹤數超過68萬的網紅ULTRA CHANNEL,也在其Youtube影片中提到,#วันพีช1014 #สปอย1014 #onepiece1014 #onepiece #วันพีช #one piece ******************************************************************** -ร่วมพูดคุย หร...
「นักวิทยาศาสตร์」的推薦目錄:
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 Mygirl&i Facebook 的最佳貼文
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳貼文
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 ULTRA CHANNEL Youtube 的最讚貼文
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 Jubjang Ch. Youtube 的精選貼文
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 Jubjang Ch. Youtube 的最佳貼文
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 D GERRARD - นักวิทยาศาสตร์ (Scientist)【Official MV】 的評價
- 關於นักวิทยาศาสตร์ 在 หน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) คือ อะไร และ ... 的評價
นักวิทยาศาสตร์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก /โดย ลงทุนแมน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล เคยได้รับการจับตามองว่า จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงประเทศหนึ่งของโลก เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีมานี้ ความหวังนั้นค่อย ๆ ริบหรี่ลงไปเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ชาวบราซิลจำนวนมาก เริ่มสิ้นหวังและตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สมองไหล”
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศของบราซิลนั้นเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าการค้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการจ้างงานและการลงทุนต่าง ๆ ภายในประเทศเกิดขึ้นตามไปด้วย
การเปิดประเทศยังช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตในประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
ภาระหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศที่ลดลงจนเหลือสัดส่วนต่ำ ช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลให้โดดเด่นมากในเวลานั้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในช่วงปี 2003-2014 ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 68% ในขณะที่อัตราการผลิตต่อคนงานเพิ่มขึ้นเพียง 21%
พูดง่าย ๆ คือ ต้นทุนค่าแรงของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตนั้นเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามาก ซึ่งการขาดผลิตภาพในการผลิตส่วนสำคัญเกิดมาจากการลงทุนในนวัตกรรมของประเทศที่ต่ำ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยเฉพาะท่าเรือ ถนน หนทาง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ข้อมูลของ World Bank ระบุว่า ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของบราซิลนั้น ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 56 จาก 160 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
- ปัญหาคอร์รัปชันในบราซิล ถือว่ารุนแรงไม่แพ้หลายประเทศในแถบอเมริกาใต้
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ของประเทศนั้นได้คะแนนน้อยลงเรื่อย ๆ (ยิ่งน้อยลงคือยิ่งภาพลักษณ์ไม่ดีในเรื่องคอร์รัปชัน)
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในบราซิลไม่เพียงแต่ยังคงอยู่ แต่กลับเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
โดยเป็นการรับสินบนเพื่อแลกกับ การอนุมัติให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เข้าไปรับงานก่อสร้างจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อย่างปิโตรบาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่งชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ ที่ไม่พอใจการบริหารและเรื่องคอร์รัปชันของรัฐบาล ร่วมลงคะแนนประชามติเพื่อแสดงความต้องการแยกประเทศ ภายใต้แคมเปน “The South is My Country”
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บราซิลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับสะดุด จนเหมือนกลายเป็นคนป่วยแห่งทวีปอเมริกาใต้ไปแล้วในตอนนี้
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ปี 2014 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 6.0 ล้านคน
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลจาก Migration Policy Institute (MPI) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีชาวบราซิลอพยพออกนอกประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัญหาความขัดแย้งมากมายในประเทศที่ดูไร้ทางออก
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
คนเก่ง ๆ ที่หมดหวังกับประเทศและอพยพออกไป
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124
นักวิทยาศาสตร์ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳貼文
นักวิทยาศาสตร์คนใดที่ทำให้คนตายมากที่สุด?
ถ้าพูดถึงวิทยาศาสตร์แน่นอนว่าเราจะต้องนึกถึงศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งนำมาซึ่งความเจริญ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ทำให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติได้ดีขึ้น แต่หากเราใช้วิทยาศาสตร์ไปในทางที่ผิด มันก็นำมาซึ่งความตาย และหายนะได้เช่นเดียวกัน
แล้วนักวิทยาศาสตร์คนใดในประวัติศาสตร์ที่นำมาซึ่งการเสียชีวิตของมนุษย์มากที่สุด?
เราอาจจะนึกถึง Josef Mengele หมอนาซีที่รมแก๊สชาวยิวเป็นผักปลา นำคนเป็นๆ ไปทดลองอย่างโหดร้าย หรือหน่วยวิจัยอาวุธชีวภาพ Unit 731 ของจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น การทดลองอาวุธทั้งหลาย และแน่นอนว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่คร่าชีวิตคนไปจากเมืองฮิโรชิม่า และนางาซากิกว่า 129,000-226,000 คน
แต่ความเป็นจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์ที่อาจจะส่งผลต่อการเสียชีวิตของมนุษย์มากที่สุดนั้น หาได้เป็นผู้ที่คิดค้นอาวุธแต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์การเกษตร ที่อ้างว่าทำไปเพื่อเพิ่มผลผลิตและความกินอยู่ของมนุษย์ที่ดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์คนนั้นก็คือ Trofilm Lysenko
Lysenko นั้น ถือกำเนิดขึ้นมาจากครอบครัวชาวนา เขาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนถึงอายุ 13 ปี และไม่เคยได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง แต่สิ่งที่เขามีก็คือชาตินิยมอันแรงกล้า และศรัทธาในวิถีแห่งสังคมนิยมอันท่วมท้น และด้วยเหตุนี้ บวกกับที่มาอัน "รากหญ้า" ของเขา จึงทำให้ "นักวิทย์ตีนเปล่า" อย่างเขานั้นถูกตาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ (ที่ต้องการสร้างภาพที่เชิดชูชนชั้นรากหญ้า) จนได้แต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายเกษตรกรรมของสหภาพโซเวียตทั้งปวง
Lysenko นั้น ต่อต้านแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ยึดถือกันในตอนนั้นเป็นส่วนมาก เขาต่อต้านแนวความคิดของพันธุศาสตร์ทุกประการ แม้ว่ารางวัลโนเบลเพิ่งจะมอบให้ผู้ค้นพบพันธุศาสตร์ไปในปี 1933 และแม้ว่าทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลจะเป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วในยุคนั้น แต่เขามักจะยึดถือแต่แนวความคิดของตัวเอง ที่เรียกว่า Lysenkoism ซึ่งเต็มไปด้วยไอเดีย "เพี้ยนๆ" มากมาย เช่น:
- เขาเชื่อว่าหากเอาเมล็ดพันธุ์ไปแช่น้ำเย็น ไม่เพียงแต่จะทำให้มันทนอากาศหนาวได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ลูกหลานรุ่นถัดไปของมันก็จะสามารถ "จดจำ" ลักษณะนี้ได้ด้วย
- หากเราตอนกิ่งเพื่อสร้างไม้ผสม เมล็ดที่ได้จากกิ่งตอนนี้ก็จะคงลักษณะลูกผสมและส่งทอดต่อไปได้เช่นกัน
- ต้นไม้นั้นไม่ได้ตายจากการขาดน้ำหรือแสงแดด แต่มันสละชีพลงเพื่อเปิดทางให้ต้นอื่นได้เติบโตขึ้น
- พืชชนิดเดียวกันไม่ได้แย่งน้ำและสารอาหารกัน แต่จะร่วมมือกันเพื่อเติบโต
- พืชไม่ได้ผสมพันธุ์แบบสุ่ม แต่จะมีการเลือกสายพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด
- การผลิตน้ำนมของวัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู ยิ่งเลี้ยงดูโคนมได้ดี ก็จะยิ่งผลิตนมได้เยอะ
- ลูกนกกาเหว่าในรังอีกาไม่ได้เกิดจากนกกาเหว่าไปวางไข่ แต่เกิดจากอีกาซึ่งได้รับบุ้งเป็นอาหารเมื่อยังเล็ก
- ฯลฯ
ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นด้วยเหตุผลใด แต่ Josef Stalin ผู้นำแห่งสหภาพโซเวียตก็ถูกใจ Lysenko เป็นอย่างมาก จึงบังคับแนวคิดของเขาไปใช้อย่างแพร่หลาย ผลที่ตามมาก็คือสภาวะอดอยากอย่างรุนแรงในช่วงปี 1932-1933 และคร่าชีวิตคนไปกว่า 7 ล้านคน แต่อิทธิพลของ Lysenkoism นั้นส่งต่อไปอีกนานมาก ในอีกสี่ปีต่อมา แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะเพิ่มพื้นที่การเกษตรไปถึงกว่า 162 เท่า แต่ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้นั้นกลับน้อยลงกว่าเดิม
ซึ่งผลจากความฉิบหายที่เกิดขึ้นจาก Lysenko นั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ในสหภาพโซเวียตเพียงเท่านั้น แต่เมื่อมิตรสหายพันธมิตรแท้อย่างท่านประธานเหมา ได้นำเอาแนวคิดของ Lysenkoism ไปประยุกต์ใช้ใน "The Great Leap Forward" ของประเทศจีนด้วย โดยสั่งให้ชาวนาไถนาลึกกว่าปรกติ กลายเป็นว่าขุดเอาหินกรวดขึ้นมาแทนที่ และกลบฝังหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ลงไป การหว่านเมล็ดที่ถี่กว่าเดิม ทำให้ผลผลิตที่ได้กลับลดลง ซึ่งบวกกับนโยบายการบริหารหายนะอื่นของ The Great Leap Forward เช่น การไล่จับนกกระจอกอย่างบ้าคลั้งภายใต้ four pest campaigns อันเป็นการส่งผลให้ทำลายห่วงโซ่อาหาร และแมลงศัตรูพืชระบาดอย่างหนัก การหลอมหม้อหุงข้าวส่วนตัวไปทำเป็นกระสุนปืน และให้ประชาชนพึ่งรัฐในการหุงหาอาหารให้กิน ระบบการเมืองท้องถิ่นที่มีปัญหา การจับประชาชนไปใช้แรงงาน และอุทกภัยใหญ่ที่ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้ว ยิ่งแย่ลงไปอีก
ผลที่เกิดขึ้นก็คือหายนะที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกที่เกิดขึ้นจากเงื้อมมือของมนุษย์ ที่ทุกวันนี้เราเรียกกันว่า The Great Chinese Famine มีการประมาณการกันว่ามีผู้คนเสียชีวิตจากการอดอยากระหว่างปี 1959-1961 ไปทั้งสิ้น ระหว่าง 15-55 ล้านคน (เยอะยิ่งกว่าชาวจีนที่ตายไปจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมด) ผู้คนที่ล้มตายหน้ายุ้งฉางของรัฐระหว่างที่ตะโกนร้องขอท่านประธานเหมาและพรรคคอมมิวนิสต์ให้ช่วยด้วย ผู้คนต้องเก็บเปลือกไม้มาต้มกิน ครอบครัวต้องกินศพกันเองเพื่อประทังชีวิต
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนหนึ่ง ได้รายงานเอาไว้ว่า
"ผมไปเมืองหนึ่งก็เห็นศพเกลื่อนกลาดเป็นร้อยศพ ไปอีกเมืองก็เห็นอีกร้อย ถูกทิ้งเอาไว้แบบนั้นไม่มีใครสนใจ บางคนบอกว่ามีศพอีกมากที่ถูกสุนัขข้างทางกินไปหมดแล้ว ผมยืนยันว่านี่ไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน เพราะสุนัขถูกคนจับกินหมดไปตั้งนานแล้ว"
ซึ่งหากเรารวมการอดอยากที่เกิดขึ้นในสหภาพโซเวียต และใน The Great Chinese Famine แล้ว เราก็จะพบว่า Trofilm Lysenko เป็น "นักวิทยาศาสตร์" ที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตของมนุษย์มากที่สุด เว้นเสียแต่เราจะยอมนับผู้ที่เสียชีวิตจากการยิงกันในทุกสงครามตั้งแต่มีการคิดค้นดินปืนเข้าไว้ด้วยกัน
แล้วเพราะเหตุใดสหภาพโซเวียตจึงปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น? เพราะเหตุใดนักวิทยาศาสตร์โซเวียตจึงปล่อยให้ประเทศถูกครอบงำไปด้วย pseudoscience? คำตอบก็คือ เพราะคนที่ต่อต้านและวิพากษ์วิจารณ์นั้นถูกจับไปหมดแล้ว
ในปี 1940 Lysenko ได้ถูกเลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการแห่ง Institute of Genetics ภายใต้ Academy of Sciences ของสหภาพโซเวียต และเขาได้ใช้อำนาจที่เขาได้มาในการปิดปากผู้ที่เห็นต่าง ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์แนวความคิดเขา นักวิทยาศาสตร์โซเวียตที่ไม่ยอมต่อต้านพันธุศาสตร์ถูกขับไล่หรือโยกย้ายออกไป อีกนับร้อยนับพันถูกนำไปขัง และบางคนก็ถูกประหารชีวิต ในปี 1948 สหภาพโซเวียตได้ออกกฎหมายห้ามการเห็นต่างจากทฤษฎีของ Lysenko ทุกประการ
แต่หลังจากการตายของสตาลิน ทำให้อิทธิพลของ Lysenko จึงค่อยๆ ลดลงไปในที่สุด นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มออกมาต่อต้าน และเปิดโปงความลวงโลกของ Lysenko และกระแสต่อต้านจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้น จน Lysenko ต้องถูกถอดออกไปในที่สุด แม้กระนั้นก็ตาม Lysenko ก็ได้ทำให้ความก้าวหน้าทางด้านพันธุศาสตร์ของสหภาพโซเวียตต้องหยุดชะงักและล้าหลังไปอีกโดยไม่สามารถประเมินค่าได้
เราจะเห็นได้ว่า แม้ว่า Lysenko นั้นจะเป็นผู้ที่มีส่วนเป็นอย่างมากที่ทำให้เกิดหายนะเหล่านี้ แต่ส่วนที่สำคัญเลยที่ทำให้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นได้นั้น ก็คือทัศนคติที่ไม่เปิดกว้างต่อการแสดงความเห็น แม้ว่า Lysenkoism จะได้รับการแพร่หลายอย่างมากในสหภาพโซเวียต (เพราะผู้ที่ต่อต้านถูกจับไปหมดแล้ว) แต่ในโลกตะวันตกที่ปล่อยให้มีการเปิดกว้างต่อการวิพากษ์วิจารณ์แล้วนั้น ทฤษฎีนี้ไม่เคยจะได้เกิดขึ้นมาเลยแต่แรก
ตัว Lysenko เองนั้นมีทัศนคติที่ไม่เปิดกว้างต่อการวิพากษ์แต่อย่างใดเลย ครั้งหนึ่งที่เขาทำการทดลองและมีการใช้สถิติที่ผิดพลาด เมื่อถูกวิจารณ์ แทนที่เขาจะยอมรับ เขากลับกล่าวว่า "เรื่องของชีววิทยานั้นไม่จำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง" และเขาก็เลิกความพยายามที่จะใช้คณิตศาสตร์ทั้งปวงในการยืนยันผลงานของเขา (ซึ่งยิ่งนำไปสู่ confirmation bias ที่หนักกว่าเดิม) และเมื่อเขารู้ว่านักวิทยาศาสตร์ตะวันตกนั้นไม่ยอมรับผลงานของเขา เขาจึงเลิกที่จะพยายามสื่อสารกับตะวันตก และหันมาโฟกัสแต่เพียงในสหภาพโซเวียต และปิดปากทุกคนที่เห็นต่างจากแนวคิดของเขาต่อไป ไม่ต่างอะไรกับกบในกะลาที่พอใจอยู่เพียงแค่ในกะลาครอบเล็กๆ ของตัวเอง และแน่นอน ว่ามนุษย์อีโก้สูงเช่นนี้ คงจะไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด ถ้าหากว่า “ระบบ” ไม่ได้สนับสนุนคนแบบนี้ตั้งแต่แรก
สิ่งหนึ่งที่ทำให้วิทยาศาสตร์ปัจจุบันนั้นก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง หาได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง หรือแนวความคิดที่ดีแต่อย่างใด แต่คือพลังของการเปิดกว้างต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ระบบวิทยาศาสตร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ reproducibility ระบบ peer-review เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้ยึดติดกับเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อย่างที่เกิดขึ้นกับวงการ genetics ของสหภาพโซเวียตที่ผ่านมา
เราไม่ได้เชื่อทฤษฎี เพียงเพราะว่าคนพูดเป็นผู้ที่มีอำนาจ หรือความน่าเชื่อถือ เราไม่ได้ไม่ฟังการติชม เพียงเพราะเราไม่ต้องการฟัง หรือมันขัดแย้งกับสิ่งที่เราอยากจะเชื่อ แต่วิทยาศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์ที่เราตัดสินกันด้วยหลักฐานและเหตุผล หากใครก็ตามสามารถยกหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ที่ขัดแย้งกับทฤษฎีเดิมไว้ ทฤษฎีนั้นก็ย่อมที่จะต้องตกไป ไม่ว่าใครจะเป็นผู้คิดค้นก็ตาม
นั่นก็คือ เราเชื่อมั่นว่าทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เราใช้กันอยู่นี้ "น่าจะเป็นทฤษฎีที่ถูกต้องที่สุด" ไม่ใช่เพราะว่ามันไม่เคยผิด แต่เป็นเพราะว่าอันอื่นๆ ที่ผิดนั้นได้ถูกค้นพบว่าผิดไปหมดแล้ว
จึงเป็นเรื่องสำคัญในวิทยาศาสตร์ว่า คนทุกคนควรจะสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีใดก็ด้วย ด้วยหลักการ หลักฐาน และเหตุผล เพราะหากเราไม่เปิดกว้างให้วิจารณ์กันแล้วล่ะก็ เราอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของหายนะที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดจากมนุษย์สร้างครั้งถัดไปก็ได้
ภาพ: Soviet pseudoscientist Trofim Denisovich Lysenko - Wikipedia
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Trofim_Lysenko
[2] https://www.theatlantic.com/science/archive/2017/12/trofim-lysenko-soviet-union-russia/548786/
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Chinese_Famine
นักวิทยาศาสตร์ 在 ULTRA CHANNEL Youtube 的最讚貼文
#วันพีช1014 #สปอย1014 #onepiece1014 #onepiece #วันพีช #one piece
********************************************************************
-ร่วมพูดคุย หรือติดตามข่าวสารของช่องได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ
╔═════~ೋ✰❃✰ೋ~══════╗
✦Fanpage : https://www.facebook.com/ULTRA-channel-387839121840491/?modal=admin_todo_tour
✦channel : https://goo.gl/pK6phn
✦google+ : https://goo.gl/xmFWAb
╚═════~ೋ✰❃✰ೋ~══════╝
นักวิทยาศาสตร์ 在 Jubjang Ch. Youtube 的精選貼文
#Roblox #โรนัล ภาค 6 มาแล้วจ้า รอบนี้มาเอาชีวิตรอดในพิพิธภัณฑ์สยองกัน จะน่ากลัวขนาดไหน ไปดูกันเลย!!
Facebook : https://www.facebook.com/jubjang.chidchanok.9
Fanpage : https://www.facebook.com/JubjaNgFC/?fref=ts
#Jubjang
นักวิทยาศาสตร์ 在 Jubjang Ch. Youtube 的最佳貼文
#Roblox #โรนัล ภาค 5 มาแล้วจ้า มาเจอโรนัลที่ห้างร้าง น่ากลัวมากเลย
Facebook : https://www.facebook.com/jubjang.chidchanok.9
Fanpage : https://www.facebook.com/JubjaNgFC/?fref=ts
#Jubjang
นักวิทยาศาสตร์ 在 หน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) คือ อะไร และ ... 的推薦與評價
และสามารถเปลี่ยนวิกฤติธุรกิจเป็นโอกาสได้อย่างไร จากการเติบโตของ Big Data ทำให้อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล กำลังเป็นตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการในศตวรรษที่ 21 ... <看更多>
นักวิทยาศาสตร์ 在 D GERRARD - นักวิทยาศาสตร์ (Scientist)【Official MV】 的推薦與評價
นักวิทยาศาสตร์ (Scientist) ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร? ผู้คนต่างมีทฤษฎีมากมายและต่างค้นหาคำตอบต่างๆนานา ... ... <看更多>