ผ่านไปแต่ละปี เรารวยขึ้น หรือจนลง
.
ทำงานกันมา 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี เคยตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่าครับ ถ้ายังไม่เคย วันนี้ผมชวนคิดชวนคุยเรื่องนี้กัน
.
จะว่าไปแล้วมันเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำปีของผมเลยก็ว่าได้ ที่เมื่อผ่านพ้นไปในแต่ละปี ผมจะกลับมานั่งทบทวนถึงจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินที่ตัวเองมี เช็คเป็นสถานะปัจจุบัน แล้วก็เทียบกันกับปีก่อน
.
วิธีทำก็ง่ายๆ ครับ หยิบกระดาษ A4 มาหนึ่งแผ่น ขีดเส้นแบ่งครึ่งตรงกลาง ด้านซ้ายเขียนรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ (อะไรขึ้นชื่อว่ากองทุนนับให้หมด) หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ บ้าน รถยนต์ ทองคำ ทั้งหมดที่เราเป็นเจ้าของและมีมูลค่า ระบุใส่ช่องทางซ้ายมือนี้ให้หมด
.
ส่วนด้านขวามือ ให้เขียนรายการหนี้สินทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะหนี้บริโภค อาทิ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ผ่อนของ นอกระบบ จัดกันมาให้ครบ รวมถึงหนี้กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ กู้เรียน รวมทั้งหมดไว้ทางฝั่งขวา
.
สุดท้ายให้เอา มูลค่าทรัพย์สินรวม (ทางฝั่งซ้าย) ตั้งแล้วลบด้วยมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด (ทางฝั่งขวา) ได้ผลลัพธ์เป็นเท่าไหร่ เราเรียกเจ้าค่าที่ได้นี้ว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ” หรือ NET WORTH (บางตำราเรียก “ทรัพย์สินสุทธิ”)
.
ตัวอย่างเช่น ถ้า ณ วันที่ 1 มกราคม 2564 เรามีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 2,000,000 บาท และมีหนี้สินรวมคงค้างอยู่ 1,500,000 บาท แบบนี้ก็จะเท่ากับว่า เรามี “ความมั่งคั่งสุทธิ” เท่ากับ 2,000,000 - 1,500,000 หรือ +500,000 บาท นั่นเอง
.
โดยหลักการแล้ว ถ้าเรามีความมั่งคั่งสุทธิเป็น “บวก” ก็จะถือว่า “ดี” และยิ่งถ้าทุกปีเราทำตัวเลขนี้เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า แล้วพบว่า เป็นบวกมากขึ้นทุกปี แบบนี้ก็แสดงว่า “เรารวยขึ้น”
.
ในทางตรงกันข้าม หากความมั่งคั่งสุทธิปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว อันนี้ก็แสดงว่า “เราจนลง” ซึ่งก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการมีหนี้บริโภคเพิ่มมากขึ้น (ก่อหนี้ที่ไม่ได้ใช้ซื้อทรัพย์สิน) หรือไม่ทรัพย์สินบางกลุ่มของเราก็อาจมีมูลค่าลดลง อย่างเช่น กรณีหุ้นตก มูลค่ากองทุนรวมลดลง ก็จะเข้าข่ายในลักษณะนี้
.
จากที่สอนเรื่องการเงินมาหลายปี ผมพบว่าถ้าเราหมั่นตรวจสอบความมั่งคั่งของเราอยู่เสมอ และทุกปีเรามีความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้น หรือทรัพย์สินเพิ่ม (สะสมเพิ่ม) หนี้สินลดลงทุกปี (ทยอยใช้หนี้ตามกำหนด) แบบนี้รับประกันได้เลยว่าเกษียณสบายครับ เพราะถ้าทรัพย์สินสะสมเพิ่มเรื่อยๆ แถมหนี้สินยังลดลงเรื่อยๆ และเคลียร์หมดได้ก่อนเกษียณ แบบนี้รับประกันเลยว่า “Happy Retirement” แน่นอน
.
ครั้งหนึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ผมเล่าเรื่องนี้ในการบรรยายให้กับองค์กรแห่งหนึ่ง พี่ท่านหนึ่งที่เข้าฟังบรรยายบอกผมว่า เขาทำอย่างที่ผมบอกทุกปี และไม่เพียงแต่นั่งคำนวณตัวเลขทรัพย์สินหนี้สินเท่านั้น พี่เขายังจดรายละเอียดทุกรายการของทรัพย์สิน เช่น กองทุนซื้อกับที่ไหน หุ้นเปิดพอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์อะไร ประกันชีวิตซื้อกับที่ไหน และระบุข้อมูลเบอร์ติดต่อของผู้เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด ทำแบบนี้เป็นประจำทุกปี
.
พี่แกเล่าให้ฟังว่า การสรุปข้อมูลรายการทรัพย์สินหนี้สินในแต่ละปี สำหรับแกแล้วเหมือนการ “เตรียมตัวตาย” เพราะคนเราเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ เกิดเราลงทุน ซื้อประกัน สะสมทรัพย์สินอะไรไม่รู้จิปาถะ แต่ไม่ได้บอกคนข้างตัวไว้ เกิดตายวันตายพรุ่งไป คนข้างตัวก็ไม่รู้ว่าเรามีอะไรสะสมอยู่บ้าง หนี้สินแกก็คิดอย่างเดียวกัน ว่าต้องให้รู้ไว้บ้าง จะได้ไม่ตกใจ
.
“ถ้าเตรียมตัวตายดีๆ รับรองเลยว่าอาจารย์จะไม่ตาย อาจารย์จะอายุยืน ฮา ๆๆ” พี่แกบอกผมอย่างนั้นในวันที่เจอกันครั้งแรก
.
หลายปีต่อมา ผมยังไปบรรยายที่องค์กรของพี่เขาอยู่บ่อยๆ แม้จะไม่ได้เป็นคนเข้าฟังบรรยายในคลาส แต่แกก็จะแวะมาทักทายตอนพักอาหารว่าง หรือมาแวะส่งตอนกลับ เหมือนเจอน้องเจอที่รู้จักคุ้นเคย แล้วก็ต้องแวะมาเจอกันสักหน่อย แม้จะได้พูดคุยไม่กี่นาทีก็ตาม
.
เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เมื่อสิ้นปี 2563 ผมมีโอกาสไปบรรยายที่องค์กรของพี่ท่านนี้อีกครั้ง แล้วก็เจอแก คราวนี้ผมไปบรรยายเรื่องการจัดการเงินหลังเกษียณ พี่แกเข้ามาเป็นนักเรียนในคลาส เพราะสิ้นปีแกจะเกษียณแล้ว ตลอดการพูดคุยกันในคลาส สิ่งที่ผมรู้สึกได้เลยก็คือ แกไม่ได้เดือดร้อนที่จะต้องเกษียณ เพราะเตรียมตัวมาดีมาก (ดีมากจริงๆ)
.
หลังจบการบรรยาย แกเดินเข้ามาทัก แล้วก็บอกผมว่า “ยังทำรายการทรัพย์สินหนี้สินอยู่ทุกปีนะอาจารย์ เสียอย่างเดียว คนที่เราเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะลำบากถ้าเราไม่อยู่ เขาไปก่อนเราเสียแล้ว ฮาๆๆๆ” คนพูดแม้จะมีเสียงหัวเราะ แต่แววตาดูเศร้าชนิดสังเกตได้
.
“แต่อย่างน้อยที่ทำมาตลอด ก็ดีกับพี่เองต่อจากนี้นะครับ” ผมอยากจะปลอบใจแก แต่ไม่รู้จะพูดว่าอะไรดี
.
เราสนทนากันเป็นครั้งสุดท้าย เพราะรู้ดีว่าครั้งหน้าที่ผมมาสอนที่นี่ ก็คงไม่เจอพี่เขาอีกแล้ว ได้ยินว่าพี่เขาปลูกบ้านไว้ที่ภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดใกล้กรุงเทพ เตรียมทุกอย่างไว้พร้อม พร้อมที่จะเป็นคนเกษียณที่มีความสุขมากที่สุดคนหนึ่ง
.
ทั้งหมดเริ่มต้นง่ายๆ จากการวัดผลเล็กๆ ที่ว่า ในแต่ละปีเรารวยขึ้นหรือจนลง และใส่ใจกับผลของการวัดอย่างจริงจัง
.
ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าเราทำงานมาเป็น 10 ปี แต่ความมั่งคั่งสุทธิยังติดลบ มันบอกอะไรกับชีวิตเรา แน่นอนว่ามันไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นจะกลับตัวหรือแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยเห็นตัวเลขสำคัญทางการเงินของตัวเองตัวนี้เลย
.
หรือถ้าเห็นว่าตัวเลขไม่สวย แต่ละปีความมั่งคั่งสุทธิไม่เพิ่มขึ้น แถมยังลดลง แล้วยังอยู่เฉยได้ คนแบบนี้ก็ยากที่เราจะไปช่วยอะไรเขาได้ ทั้งนี้เพราะหัวใจของการสร้างสำเร็จทางการเงิน สิ่งแรก คือ ความรับผิดชอบทางการเงิน ที่คนแต่ละคนต้องเชื่อก่อนว่า “อนาคตทางการเงินของเรา เปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ดีขึ้นได้ และทั้งหมดขึ้นอยู่หนึ่งสมองและสองมือของเราเท่านั้น ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงอนาคตการเงินเราได้”
.
ใครยังไม่เคยลองทำ ผมเชิญชวนทุกท่านลองหยิบกระดาษ A4 ขึ้นมา แบ่งครึ่งซ้ายขวา ลิสต์รายการทรัพย์สิน หนี้สิน และมูลค่าทั้งหมด จากนั้นลองคำนวณ “ความมั่งคั่งสุทธิ” ณ วันปัจจุบัน ของตัวเองออกมาดูครับ
.
ใครทำเป็นปีแรก ลองดูสิว่า ความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกมั้ย ถ้าบวก ก็ถือว่า “โอเค”
.
ส่วนใครทำมาแล้วมากกว่า 1 ปี ลองดูสิว่า เทียบกับปีก่อน ความมั่งคั่งสุทธิของเรา เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าเพิ่มขึ้นแปลว่า เรารวยขึ้น และถ้าแต่ละปีเรารวยขึ้นเรื่อยๆ ด้วยทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนี้สินที่ทยอยลดลงเรื่อยๆ จากการผ่อนจ่ายของเรา เมื่อถึงวันหนึ่งที่เกษียณ เราจะเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่มีชีวิตเกษียณที่มีความสุขอย่างแน่นอนครับ ฟันธง!
.
ขอให้ทุกท่านรวยขึ้นทุกปีนะครับ
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過131萬的網紅ืNANAKE555,也在其Youtube影片中提到,"กองทุน" กับ "สลากออมทรัพย์" คืออะไร??? "กองทุน" กับ "สลากออมทรัพย์" ต่างกันยังไง??? ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เรียกได้ว่าเป็นแนวหน้าของประเทศอยู่ที...
สลากออมทรัพย์ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
3 ตะกร้าตัวช่วยเก็บออมเงิน 🧺💰
มีคำถามเข้ามาว่า “ควรจัดแบ่งเงินออมยังไงดี?” เพราะหลายคนเอาเงินออมไปกองไว้ในที่เดียวกัน แล้วก็หยิบใช้ และออมเพิ่มในที่เดียวกัน สุดท้ายเงินออมเลยไม่เติบโตสักที
.
วันนี้เลยอยากพูดถึงการ “แบ่ง” หรือ “จัดสรร” เงินออม สำหรับผู้ที่เริ่มออมเงินได้และมีเงินกับกันครับ
.
ที่จริงก่อนจะไปถึงเรื่องการจัดสรรเงินออม ก็ต้องชื่นชมก่อนครับ เพราะเอาเข้าจริงคนที่จะเก็บออมเงินได้ มีเงินออมให้บริหาร ในบ้านเราก็อาจเรียกได้ว่า “ครึ่งต่อครึ่ง” เลย
.
คือ ไม่มีเงินออมครึ่งนึง (รีบทำให้มีนะ) และอีกครึ่งคือมีเงินออม แต่ก็บริหารจัดการไม่ถูกต้อง เอาเงินออมทั้งหมดที่มีไปออมไว้ในที่เดียวกัน พอจะลงทุน ก็ยกโขยงไปลงทุนพร้อมกันทั้งหมด ที่ถูกต้องเราควรจัดสรรเงินออมที่มีออกจากกัน โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจจะใช้เงินก้อนนั้นในอนาคต
.
โดยส่วนตัวผมมักจะแนะนำคนที่มาเรียนด้วย ให้แบ่งเงินออมเบื้องต้น ออกเป็นสามตะกร้า ดังนี้ (มีมากกว่านี้ได้นะ ถ้ามีวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เก็บเงินซื้อของ เก็บเงินเรียนต่อ ฯลฯ อันนี้แล้วแต่ละบุคคลเลยครับ)
.
1. ตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน (Emergency Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเก็บเงินสำรองเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ที่อาจจะส่งผลกระทบกับการเงินของเรา เช่น ตกงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ฯลฯ เป็นตะกร้าเงินที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงปกป้องสภาพคล่องของการเงินเรา
.
ขนาดที่เหมาะสมของตะกร้านี้ คือ 6-12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน โดยควรเก็บออมในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องดี รักษามูลค่าได้ไม่ผันผวนมาก เช่นเงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือทองคำ
.
2. ตะกร้าเงินเกษียณรวย (Retirement Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเก็บสะสมเงินไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณจากการทำงาน เน้นทยอยสะสมและลงทุนในเครื่องมือกลุ่มตราสารการเงิน ใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน ลงทุนแบบระยะยาว เป้าหมายคือ มีกินใช้หลังเกษียณสบายๆ 20-25 ปี
.
เครื่องมือที่ช่วยเก็บเงินสำหรับตะกร้านี้ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) , กองทุนรวมต่างๆ (ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น), กองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี (RMF และ SSF), ประกันชีวิต ประกันบำนาญ หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ เป็นต้น
.
ที่ดีควรเริ่มต้นวางแผนเงินเกษียณนี้ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นทำงาน ควบคู่ไปกับการวางแผนชำระหนี้ให้หมดก่อนเกษียณ เริ่มต้นลงทุนทีละน้อยสร้างประสบการณ์ ที่สำคัญ! เงินก้อนนี้ห้ามแบ่งให้ใครเด็ดขาด เพราะมันคือเงินที่เราต้องเก็บไว้กินใช้ในวันที่รายได้ลดลง
.
3. ตะกร้าเงินเกษียณเร็ว (Money Freedom Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเงินสะมที่จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด (Passive Income) เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว ทำให้หมดกังวลเรื่องการเงินได้ก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน
.
เป้าหมายของตะกร้านี้คือ รายได้จากทรัพย์สิน (Passive Income) มากกว่ารายจ่ายรวมต่อเดือน (Total Expenses) เครื่องมือที่ช่วยของตะกร้าเกษียณเร็วก็คือ ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ให้รายได้เราในรูปแบบ ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า และค่าลิขสิทธิ์ (หรือปัจจุบันจะมาในรูปแบบค่าโฆษณาก็ได้)
.
ทั้งหมดนี้คือ ตะกร้าเงินพื้นฐานที่ควรจะจัดแบ่งเงินออมไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ดี แต่ละคนมีความต้องการแต่ปัจเจก แตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นหากจะมีตะกร้าเงินอื่นๆ เพิ่มเติมจากนี้ หรือแบ่งเงินแตกต่างไปจากนี้ ก็ไม่ถือว่าผิดกติกา
.
ยังไงลองวางแผนจัดการเงินออมของตัวเองดูนะครับ หวังว่าแนวทางข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ
#TheMoneyCoachTH
สลากออมทรัพย์ 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
อยากเริ่มวางแผนการเงิน เค้าบอกว่าต้องทำงบการเงิน
แล้วงบการเงิน! นี่มันคืออะไรกันฮะ?
.
“งบการเงินส่วนบุคคล” (Personal Financial Statement) ประกอบด้วยงบการเงินสำคัญ 2 รายการ คือ “งบรายรับรายจ่าย” และ “งบแสดงสถานะการเงิน” ซึ่งเปรียบเหมือนกระดาษ 2 แผ่น ที่ช่วยแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องและความมั่งคั่งของแต่ละบุคคลในช่วงเวลาหนึ่งๆ ได้
.
รายละเอียดของกระดาษ 2 แผ่น (หรือไฟล์ Excel) ที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง
.
1.
งบรายรับรายจ่าย คือ รายการแสดงรายรับรายจ่ายของแต่ละบุคคลในแต่ละเดือน จะได้เงินมาจากทางไหน เท่าไหร่ มีเก็บออมเท่าไหร่ และใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง? บ่งบอกถึง “สภาพคล่อง” ทางการเงินของแต่ละบุคคลในแต่ละเดือน
.
รายการที่จะระบุในงบนี้ก็แน่นอนว่า ต้องประกอบด้วย “รายรับ” “เงินออม” “รายจ่าย” และ “เงินคงเหลือ” โดยมีความสัมพันธ์กันเป็นคณิตศาสตร์ง่ายๆ ได้ว่า …
.
“รายรับ - เงินออม - รายจ่าย = เงินคงเหลือ”
.
ซึ่งงบรายรับรายจ่ายนี้ควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อให้เห็นว่าจะมีรายได้เข้ามาแต่ละเดือนเท่าไหร่ และต้องเตรียมจ่ายไปกับอะไรบ้าง จะได้สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้าได้
.
[ถ้าบันทึกรายการหลังจากใช้จ่ายไปแล้ว อันนั้น เรียก “บัญชีรายรับรายจ่าย” (จดสิ่งใช้จ่ายไป)]
.
2.
งบแสดงสถานะทางการเงิน คือ รายการแสดง “ทรัพย์สิน” และ “หนี้สิน” ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ (บางคนเรียกง่ายๆ ว่า “รายการทรัพย์สิน-หนี้สิน”) ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง บอกถึงระดับความ “มั่งคั่ง” ของบุคคล
.
ตัวอย่างทรัพย์สิน (Assets) ก็เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ พันธบัตร หุ้นกู้ ประกันชีวิต กองทุนรวม หุ้น บ้าน รถยนต์ และของมีค่าอื่นๆ ฯลฯ ทั้งหมดที่เราเป็นเจ้าของ
.
ส่วนหนี้สิน (Debts) อันนี้น่าจะรู้จักกันดี หนี้กู้ซื้อบ้าน หนี้กู้ซื้อรถยนต์ หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้สหกรณ์ และอื่นๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราติดค้างอยู่ทั้งหมด
.
งบแสดงสถานะทางการเงินควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อดูทรัพย์สินหนี้สินของเราว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อจะได้นำมาวางแผนการเงินกันอีกที
.
ตัวชี้วัดที่บ่งบอกสถานะทางการเงินว่าอยู่ในระดับที่ดีหรือไม่ ก็คือทรัพย์สินสุทธิ หรือ “ความมั่งคั่งสุทธิ” (Net worth) โดยคำนวณจาก มูลค่าทรัพย์สินรวม - หนี้คงค้างรวม ซึ่งควรจะเป็น บวก (+) และบวกเพิ่มขึ้นทุกปี
.
เชื่อว่าถึงตรงนี้ทุกท่านน่าจะพอเห็นรายละเอียดของงบการเงินทั้ง 2 รายการแล้ว ยังไงก็ลองทำกันดูนะครับ จะได้เริ่มวางแผนการเงิน เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีและมีความสุขกันทุกคนครับ
#TheMoneyCoachTH
สลากออมทรัพย์ 在 ืNANAKE555 Youtube 的最佳解答
"กองทุน" กับ "สลากออมทรัพย์" คืออะไร???
"กองทุน" กับ "สลากออมทรัพย์" ต่างกันยังไง???
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เรียกได้ว่าเป็นแนวหน้าของประเทศอยู่ที่นี่แล้ว ไปฟัง !!!
สลากออมทรัพย์ 在 สลากออมทรัพย์ ธอส. เกล็ดดาว... - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | Facebook 的推薦與評價
สลากออมทรัพย์ ธอส. เกล็ดดาว หน่วยละ 5000 บาท ลุ้น 1 ล้านบาท 24 งวด แถมพ่วงรางวัลเลขท้าย และเลขสลับเลขท้าย อายุสลาก 2 ปี จำหน่ายแล้ววันนี้... ... <看更多>