(สรุปจากบทความ "เจาะลึกฝุ่น PM2.5 ด้วยข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ฝุ่นมาจากไหน เรารู้อะไรบ้าง" โดย พสิษฐ์ คงคุณากรกุล)
1. ข้อมูลปริมาณฝุ่น PM2.5 จากสถานีวัดของกรมควบคุมมลพิษ - โฟกัสช่วงเดือน พ.ย. ถึง ก.พ. (เป็นฤดูหนาว และเป็นช่วงวิกฤต PM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
- ช่วง พ.ย. 63 – ม.ค. 64 : ปริมาณฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะไม่เกินค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มค./ลบ.ม.)
- แต่ช่วงกลางเดือน ม.ค. 64 ทุกพื้นที่ มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน เข้าสู่โซน ‘เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ’
- มี 7 สถานีวัด ที่มีปริมาณฝุ่นบางวัน แตะระดับ ‘มีผลกระทบต่อสุขภาพ’ (กรุงเทพฯ 3 จุด เช่น ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน และ ริมถนนดินแดง เขตดินแดง, สมุทรปราการ 3 จุด เช่น ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง และ ต.ปากน้ำ อ.เมืองสมุทรปราการ , และสมุทรสาครอีก 1 จุด คือ ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร)
2. ‘ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง’ ของไทย กำหนดไว้ที่ 50 มก./ลบ.ม. ซึ่งควรปรับค่าให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5
- กรมควบคุมมลพิษ ร่างประกาศเพื่อปรับ "ค่ามาตรฐาน 24 ชั่วโมง" จาก 50 มค./ลบ.ม. เป็น 37 มก./ลบ.ม. และปรับ "ค่ามาตรฐานรายปี" จาก 25 มก./ลบ.ม. เป็น 15 มก./ลบ.ม.
- ค่ามาตรฐานเดิมของไทยนั้นตัั้งเป้าหมายชั่วคราวระยะที่ 2 ขององค์การอนามัยโลก ส่วนค่าใหม่ตั้งตามเป้าหมายชั่วคราวระยะที่ 3
- หากค่ามาตรฐาน ถูกปรับลดเป็น 37 มก./ลบ.ม. ได้ สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จริงๆ จะยิ่งรุนแรงขึ้นอีก
3. ‘ปัจจัยที่สนับสนุนการสะสมตัวของฝุ่น’ ซึ่ง ‘ควบคุมไม่ได้’ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ และสภาพทางอุตุนิยมวิทยา
- ในช่วงฤดูหนาว ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศ ทำให้ "ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ" มีกำลังแรงขึ้น
- แต่บางช่วง ความกดอากาศสูงนี้ มีกำลังอ่อนลง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็อ่อนกำลังลงด้วย หรือเกิด ‘ลมสงบ’
- ประกอบกับมีปรากฏการณ์ผกผันกลับของอุณหภูมิ (Temperature Inversion) มีชั้นอากาศที่อุ่นกว่า (อาจจะพัดเข้ามาจากทิศใดทิศหนึ่ง หรือเกิดจากการคายความร้อนในเวลากลางคืนจากอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง) มาแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างชั้นอากาศเย็น ทำให้ฝุ่นควันไม่สามารถลอยผ่านขึ้นไปได้ การระบายในแนวดิ่งไม่ดี เป็น ‘ฝาชีครอบ’
- ลม จะส่งผลต่อการระบายฝุ่น PM2.5 ในรูปค่า ‘ดัชนีชี้วัดการระบาย’ (Ventilation Index) เป็นการคูณกันระหว่างความเร็วลมพื้นราบ กับระดับความสูงของชั้นบรรยากาศใกล้ผิวโลก (Planetary Boundary Layer , PBL) ถ้าดีทั้งสองปัจจัย การระบายฝุ่นก็จะดีมาก
- ส่วนฝน จะช่วยแก้ฝุ่น PM2.5 ได้ ก็ต้องตกเยอะ และต้องตกทั่วฟ้า ถ้าตกเป็นหย่อมๆ เช่น ขับเครื่องบินไปฉีดเป็นจุดๆ จะไม่ช่วยอะไรมาก (ความเห็นของ ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ จาก NIDA)
4. "แหล่งกำเนิดฝุ่นที่ ‘ควบคุมได้’ ซึ่งมาจากมนุษย์" ได้แก่ การขนส่งทางถนน การเผาในที่โล่ง และโรงงานอุตสาหกรรม
- การศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่น มี 2 แนว ได้แก่ 1. การจัดทำบัญชีการระบายสารมลพิษ (Emission Inventory) ว่าเมืองนั้นๆ ผลิต PM2.5 จากแหล่งไหน เท่าใด และ 2. การจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่น (Source Apportionment) โดยการเก็บตัวอย่างฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศของเมืองที่จะศึกษา ไปวิเคราะห์องค์ประกอบ
- ผลการศึกษาของ AIT ปี พ.ศ. 2560 เก็บตัวอย่างฝุ่นจากดาดฟ้าอาคารในกรุงเทพฯ และปทุมธานี ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ปรากฏว่า ในฤดูฝน ฝุ่น PM2.5 เกิดจากไอเสียรถดีเซล เป็นอันดับหนึ่ง / แต่ในฤดูแล้ง เกิดจากการเผาชีวมวล มากที่สุด / นอกจากนี้ ยังมี ‘ฝุ่นทุติยภูมิ’ (ซึ่งจากที่ก๊าซมลพิษเปลี่ยนสภาพกลายเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก) และฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม และดิน อีกด้วย
- ปี พ.ศ. 2561 งานวิจัยของ AIT ทำบัญชีการระบายสารมลพิษ ระบุว่า แหล่งที่ปล่อยฝุ่นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากที่สุดคือ การขนส่งทางถนน (72.5%) ตามมาด้วย โรงงานอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง และอื่นๆ
- งานวิจัยของ รศ.ดร.สาวิตรี การีเวทย์ (พระจอมเกล้าธนบุรี) ได้ผลคล้ายกันคือ แหล่งที่ปล่อยฝุ่นมากที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือการขนส่งทางถนน (50.79%) .. อย่างไรก็ตาม การเผาชีวมวลในที่โล่งจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลางอาจจะมีฝุ่น ลอยเข้ามาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้
- รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ (จุฬาฯ) เผยแพร่บทความวิจัย วิเคราะห์ผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ฤดูกาล การเผาในที่โล่ง และการจราจร ต่อระดับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ จากข้อมูลปี 2562 พบว่า การจราจร มีผลน้อยกว่าสภาพอากาศและการเผาชีวมวลในที่โล่ง
- เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง (มูลนิธิบูรณะนิเวศ) รายงานการพบสารไดออกซินปริมาณสูงในฝุ่นที่จับอยู่บนไข่ของไก่เลี้ยง (ไดออกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ การหล่อหลอมในอุตสาหกรรมต่างๆ) ทำให้เชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมน่าจะมีส่วนกับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากกว่าที่เห็น
- อรรถพล เจริญชันษา (อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ) เปิดเผยว่า สามารถใช้แบบจำลอง แยกแยะแหล่งกำเนิดฝุ่น "เฉพาะช่วงเวลา" ได้แล้ว เช่น ฝุ่นที่ก่อตัวในกรุงเทพฯ ก็จะเกิดจากภาคการจราจร แต่ในพื้นที่ปริมณฑลและมีจุดความร้อน ก็จะเกิดจากการเผาในที่โล่ง
5. กระนั้น เรายังขาดความรู้อยู่อีกมากเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดฝุ่นจิ๋ว เช่น ปริมาณ PM2.5 ที่มาจากภาคการจราจรนั้น มาจากดีเซล จากเบนซิน ต่างกันแค่ไหน , รถติด ส่งผลอย่างไรกับ PM2.5 ลงไปถึงระดับพื้นที่ ระดับถนน เป็น Google Map ที่พยากรณ์ PM2.5
- ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ บอกว่า อยากให้สนใจสิ่งที่อยู่ในฝุ่น ที่ก่ออันตรายต่อร่างกาย อาทิ สารก่อมะเร็ง หรือโลหะหนัก มากกว่าปริมาณฝุ่น
กรมควบคุมมลพิษ สมุทรปราการ 在 Aur's Diary - อ๋อ ไดอารี่ Facebook 的最佳解答
กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2561 พบว่ามีบางจุดเกินค่ามาตรฐานและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
.
จาการตรวจวัดค่า PM2.5 พบค่าระหว่าง 44 - 103 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐานที่บริเวณต่างๆ 13 พื้นที่ ได้แก่
- ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ (มีผลกระทบต่อสุขภาพ)
- แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ
- แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
- แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ
- ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
- ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
- ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ
- ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม
- ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ
- ต.ตลาด อ.พระประแดง สมุทรปราการ
- ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปราการ
- ต.บางเสาธงอ.บางเสาธง สมุทรปราการ
- ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง สมุทรสาคร (มีผลกระทบต่อสุขภาพ)
.
โดยกรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่าในพรุ่งนี้ (21 ธ.ค.) คุณภาพอากาศในพื้นที่ริมถนนจะอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มสูงขึ้น
.
พร้อมเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ-มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยขณะอยู่กลางแจ้ง
กรมควบคุมมลพิษ สมุทรปราการ 在 สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว Facebook 的最佳解答
กทม. ฝุ่นละอองในอากาศ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบกับสุขภาพ ผู้มีโรคประจำตัวระบบทางเดินหายใจ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกอาคาร
กทม. เกิดปรากฎการณ์สภาพอากาศนิ่ง ทำให้ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผย กทม.เกิดสภาพอากาศนิ่ง และชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ใน กทม.เกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ ฝุ่นละออง PM 10 ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลัก ได้แก่ การจราจร รองลงมาคืออุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง
นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า สถานการณ์มลพิษทางอากาศ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 24 มกราคม 2561ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ (ค่ามาตรฐาน 50 มคก/ลบม.) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ณ 12.00 ณ วันที่ 24 มกราคม 2561 อยู่ในช่วง 54 – 85 มคก./ลบ.ม. สูงสุดที่ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี สมุทรปราการ 59 – 71 มคก./ลบ.ม. และสมุทรสาคร 114 มคก./ลบ.ม. สำหรับผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM10 ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐาน 120 มคก/ ลบม.) ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลักของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การจราจร รองลงมาคืออุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง ประกอบกับเกิดสภาพอากาศนิ่ง ลมสงบ และชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก ปรากฏการณ์นี้จะพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ PM 2.5 สูงขึ้นผิดปกติในช่วงนี้
นางสุณี กล่าว่า จากข่าวที่แชร์ในเว็บเพจต่างๆ ซึ่งเป็นรูปจากเว็บไซต์ http://aqicn.org/ ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เว็บไซต์ดังกล่าวใช้ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง เทียบกับดัชนีคุณภาพอากาศของ U.S. EPA ซึ่งต้องใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในการเทียบ จึงทำให้การรายงานดัชนีคุณภาพอากาศของเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ในช่วงสีแดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) ข้อเท็จจริง หากใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะอยู่ในเกณฑ์สีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ระบบทางหายใจหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร และขอความร่วมมือเจ้าของยานพาหนะดูแล รักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีและไม่ปล่อยควันดำ และถ้าเป็นได้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันไปใช้ระบบขนส่งมวลชนก็จะช่วยสถานการณ์และลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ได้