นักบริหารทึ่ง! ถอดรหัสภาวะผู้นำวิถีพุทธ
ยังทันสมัยแม้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล
ฟังคลิปภาวะผู้นำวิถีพุทธ ep 2
https://youtu.be/TnIkYe8ND70
แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมาเนิ่นนานถึง 2500 กว่าปี
แต่บรรดาซีอีโอและนักบริหารชั้นนำ
ต่างพากันประหลาดใจ เมื่อได้ถอดรหัสการสร้างองค์กร
ที่ยั่งยืนของพระพุทธเจ้าที่ทรงวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์
การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ
การสื่อสาร และการกำกับดูแล สามารถนำไปประยุกต์ใช้
ได้กับองค์กรยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ย้อนฟัง ภาวะผู้นำวิถีพุทธ ep 1
https://youtu.be/rh8DrZsf83M
รายการ #Human_Talk #ThinkingRadio
「การบริหารงานบุคคล」的推薦目錄:
- 關於การบริหารงานบุคคล 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於การบริหารงานบุคคล 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於การบริหารงานบุคคล 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於การบริหารงานบุคคล 在 การบริหารงานบุคคล... - สอบท้องถิ่น โดยประพันธ์ เวารัมย์ | Facebook 的評價
- 關於การบริหารงานบุคคล 在 การบริหารงานบุคคล Updat 2565 - YouTube 的評價
- 關於การบริหารงานบุคคล 在 ทิศทางการบริหารคนอย่างยั่งยืน - ปตท. 的評價
การบริหารงานบุคคล 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"คำสั่งหัวหน้า คสช. ตาม ม.๔๔ รธน. ๕๗"
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๑/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมือง และกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๗/๒๕๕๗ เรื่อง ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ กําหนดให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้บังคับสิ้นสุดลง และให้การดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยุติลงจนกว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายอื่นใดจะกําหนดไว้เป็นประการอื่น และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๐/๒๕๕๘ เรื่อง ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ กําหนดให้ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อ เป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓ ไปจนกว่าจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
อีกทั้งต่อมายังปรากฏว่ามีสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองบางส่วนได้พ้นจาก ตําแหน่งเพราะเหตุครบวาระ ทําให้ต้องมีการสรรหาสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองแทนตําแหน่งที่ว่างลง ตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่องค์กรดังกล่าวได้ชะลอการดําเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง บัดนี้สมควรกําหนดทิศทาง การดําเนินการต่อไปให้ชัดเจนตามข้อเท็จจริงที่ว่าขณะนี้อยู่ในช่วงการดําเนินการเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปประเทศ และการประกาศใช้บังคับของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งต่อไปจะต้องดําเนินการจัดตั้ง องค์กรขึ้นใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์กรดังกล่าวเพื่อรับผิดชอบดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ ซึ่งรวมถึงงานด้านการพัฒนาการเมือง การปฏิรูปกฎหมาย การให้คําปรึกษา ทางเศรษฐกิจและสังคม
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ด้านต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ซ้ําซ้อนกัน และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทํางานตลอดจนบริหาร จัดการด้านบุคลากร งบประมาณ ทรัพย์สิน อาคาร สถานที่ อํานาจหน้าที่ และด้านอื่น ๆ ได้อย่างประหยัด และสอดคล้องกัน เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปและการบริหารราชการแผ่นดิน จึงเห็นเป็นการสมควร ให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไปจนกว่าจะมีกฎหมายอื่นใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น หรือนายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๗/๒๕๕๗ เรื่อง ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๐/๒๕๕๘ เรื่อง ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคล เพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓ และพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ยกเว้นมาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๗/๒ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายอื่นใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น หรือนายกรัฐมนตรีมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ยกเว้นหมวด ๓ สํานักงานสภาพัฒนาการเมือง และหมวด ๔ กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ให้ยังคงมีผลใช้บังคับ ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายอื่นใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นหรือนายกรัฐมนตรีมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการบริหารสํานักงานสภาพัฒนาการเมือง และคณะกรรมการบริหารกองทุน พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง พ้นจากตําแหน่งตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และให้บรรดาอํานาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองและคณะกรรมการบริหารกองทุน พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เป็นอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓ ยกเว้น หมวด ๓ สํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายอื่นใด บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นหรือนายกรัฐมนตรีมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ ให้สํานักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงานสภาพัฒนาการเมือง และสํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ของนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี อาจมอบหมายให้ไปช่วยปฏิบัติงานในองค์กรอื่นได้ ในระหว่างยังไม่มีกฎหมายหรือคําสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรี กําหนดให้สํานักงานตามวรรคหนึ่งโอนหรือไปเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดหน่วยงานอื่นใด ให้บรรดาผู้ซึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และเงินงบประมาณของสํานักงานดังกล่าวที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่ คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับยังคงเป็นของสํานักงานนั้น ๆ ทั้งนี้ ให้การบริหารงานบุคคล การเบิกจ่ายและ ใช้งบประมาณกระทําได้เท่าที่จําเป็น ในกรณีที่การสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่อื่นใดของสํานักงานคณะกรรมการ ปฏิรูปกฎหมายตามข้อ ๓ ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๐/๒๕๕๘ เรื่อง ระงับการสรรหา และคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ยังอยู่ในระหว่างดําเนินการในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ให้ยังคงดําเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๖ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติ คณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงประธานสภาตามพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓ ประธานสภาตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือประธานกรรมการ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ถือว่าอ้างถึงนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี บรรดาระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การรักษาการแทนและการปฏิบัติการแทน การกําหนดอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน สวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่น และการดําเนินการอื่นของสํานักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงานสภาพัฒนาการเมือง และสํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่
คําสั่งนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีกฎระเบียบบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นหรือนายกรัฐมนตรี มีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๗ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษา ความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๘ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
การบริหารงานบุคคล 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
หลักการพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือ เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างกว้างขวาง อันเป็นการสอดคล้องกับแนวคิดประชาธิปไตยที่ถือการปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน รัฐจึงมิอาจปฏิเสธการปกครองโดยประชาชนปกครองตนเองได้เลย แต่สิ่งที่สำคัญที่จะต้องมีการคำนึงและตระหนักให้มากเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ของราชการส่วนกลาง กับราชการส่วนภูมิภาคที่มีต่อราชการส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
1) ความเป็นอิสระทางการคลังของท้องถิ่น
2) หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายการกระทำทางปกครอง
3)ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น กับราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนกลาง
1.ความเป็นอิสระทางการคลังของท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ทุกฉบับได้กำหนดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรัฐจำเป็นต้องมีการกำหนดแผนให้มีการระบุขั้นตอนการกระจายอำนาจ โดยต้องมีเนื้อหาที่สำคัญ คือ
1.กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง
2.การจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากร ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยต้องคำนึงภาระหน้าที่ของรัฐกับท้องถิ่นด้วยกันเอง
3.ให้มีคณะกรรมการในลักษณะไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำหน้าที่ในการทบทวนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และการจัดสรรภาษีอากรทุก 5 ปี ในการทบทวนดังกล่าวเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและแจ้งให้รัฐสภาทราบ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
เมื่อมีการกระจายอำนาจทางปกครองแล้วก็จำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจทางการคลังควบคู่กันไปด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ของตนเองและตัดสินการใช้จ่ายเพื่อผลิตบริการต่างๆสำหรับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นปัญหาที่รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีว่าใครควรจะเก็บภาษีอากรประเภทไหนจึงจะเป็นการเหมาะสมที่สุด ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
1.ภาษีอากรที่รัฐบาลควรจะเป็นผู้เก็บ โดยทั่วไปแล้วภาษีอากรที่รัฐบาลควรจะเป็นผู้เก็บนั้น จะเป็นภาษีอากรที่สามารถทำรายได้ให้แก่รัฐบาลเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลกลางจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายในด้านต่างๆมากมาย ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องมีอำนาจการจัดเก็บภาษีอากรต่างๆดังนี้
1)ภาษีอากรที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งรวมถึงการรักษาฐานของดุลการชำระเงิน ได้แก่ ภาษีศุลกากร (customs duties) ของสินค้าที่ส่งออก (ภาษีขาออก) และสั่งเข้าประเทศ (ภาษีขาเข้า)
2)ภาษีอากรที่เกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายในประเทศ รัฐบาลจะพยายามป้องกันภาวะเงินเฟ้อและพยายามให้อัตราการจ้างงานของประเทศอยู่ในระดับสูง ภาษีอากรที่รัฐบาลมักจะใช้เป็นเครื่องมือ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบที่ก้าวหน้าและภาษีเงินได้ของนิติบุคคล รายได้ของภาษีดังกล่าวมักจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ภาษีการค้าในรูปต่างๆ เช่น ภาษีการค้าปลีก การค้าส่ง ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
3)ภาษีอากรที่เกี่ยวกับการกระจายรายได้และความมั่งคั่งของสังคม ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบที่ก้าวหน้า ภาษีที่เกี่ยวกับการตายในรูปต่างๆ เช่น อากรมรดก (Estate tax) อากรรับมรดก (Inheritance tax) ภาษีการให้โดยเสน่หา (Gift tax) ภาษีที่เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น (Capital gains tax) และภาษีทรัพย์สิน (Property tax) ในรูปต่างๆ เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง ภาษีรถยนต์ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาถึงภาษีอากรต่างๆที่จัดเก็บในแต่ละประเภทแล้ว สังเกตได้ว่าภาษีเกือบทั้งหมดจะเข้าลักษณะของภาษีอากรทั้งสามประเภทดังกล่าวที่รัฐบาลควรจะเป็นผู้ควบคุมหรือมีอำนาจในการจัดเก็บ ดังนั้นปัญหาที่สำคัญที่สุดที่ต้องพิจาณา คือ ภาษีอากรใดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นผู้จัดเก็บ โดยทั่วไปแล้วภาษีอากรที่รัฐบาลจะมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจในการจัดเก็บนั้นอาจพิจารณาได้ดังนี้
1.ภาษีอากรที่มอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละระดับต่างๆ ก็มีความต้องการที่จะใช้เงิน ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณามอบอำนาจจัดเก็บภาษีอากรบางอย่างให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมักพิจารณาหลักการสำคัญสองประการดังนี้
1)ภาษีที่เก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ กล่าวคือ ประชาชนผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการบริการสาธารณะ ควรจะต้องเป็นผู้เสียภาษีอากร เพื่อนำมาใช้ในการผลิตบริการนั้น ซึ่งจะมีผลเท่ากับว่าประชาชนเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อซื้อบริการสาธารณะโดยปริยายนั่นเอง
2)พิจารณาถึงความสามารถหรือความพยายามในการจัดเก็บ รายได้ของภาษีอากรบางประเภทนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับฐานและอัตราของภาษีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสามารถหรือความพยายามในการจัดเก็บภาษีอากรดังกล่าวด้วย ในเรื่องนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะมีข้อได้เปรียบเหนือรัฐบาลในการจัดเก็บภาษีอากรบางประเภท เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดกับการเสียภาษีและผู้เสียภาษีมีความสมัครใจที่จะเสียภาษีให้แก่ท้องถิ่นมากกว่าให้รัฐบาล
ภาษีที่รัฐบาลมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บนั้นจะมีลักษณะของบริการสาธารณะบางอย่างที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับจะเป็นผู้จัดสรร ได้แก่ การป้องกันภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่ง บริการจัดหาน้ำสะอาดและสิ่งสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น ไฟฟ้าหรือการจัดเก็บขยะมูลฝอย การจัดสวนสาธารณะ การรักษาความสงบของท้องถิ่น บริการสาธารณะสุขและการศึกษาในระดับท้องถิ่นนั้น อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีเพื่อนำมาใช้จ่ายในการผลิตบริการเหล่านั้น ต้องคำนึงถึงฐานะหรือความสามารถของผู้เสียภาษี (Abillity to pay principle) เป็นสำคัญและในกรณีของการผลิตบริการเหล่านี้รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บภาษีอากรบางอย่างร่วมกับรัฐบาล ความจำเป็นในเรื่องของรายได้ที่จะต้องจ่ายเพื่อทำนุบำรุงท้องถิ่นนั้น รัฐบาลอาจจะยอมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการจัดเก็บภาษีอากรบางอย่างซึ่งเรียกว่า “Surcharged Tax” หรือ “Supplement Tax” ที่จัดเก็บจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น ลักษณะของภาษีชนิดนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะใช้ภาษีอากรบางอย่างที่รัฐบาลจัดเก็บอยู่แล้วเป็นรากฐานในการเก็บภาษีของท้องถิ่น เช่น ภาษีรายได้ท้องถิ่น (Static income tax) หรือ ภาษีการค้าที่เทศบาลจัดเก็บเพิ่มเป็นต้น ภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเพิ่มนั้นอาจจะแบ่งออกได้สองชนิด คือ
1)ภาษีที่ท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บเอง (Pure tax supplement) ภาษีชนิดนี้ หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นเอง โดยมีหน่วยงานจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะเลือกใช้อัตราภาษีที่ตนจะเก็บเพิ่มนั้นได้ตามความเหมาะสมของท้องถิ่น
2)ภาษีที่ท้องถิ่นให้รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บให้ (The tax piggybacking) ภาษีชนิดนี้ รัฐบาลจะมอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับมีสิทธิจัดเก็บภาษีอากรบางชนิดเพิ่มขึ้นตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดให้ แต่หน่วยงานของรัฐบาลจะเป็นผู้จัดกับเอง เช่น การจัดเก็บภาษีการค้าในเทศบาล ภาษีแบบนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งรายได้จากรัฐบาล หรือเรียกว่า “Revenue sharing”
3.รัฐบาลแบ่งรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การแบ่งรายได้ของภาษีอากรบางชนิดที่รัฐบาลจัดเก็บได้แต่ละท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเรียกว่า “Tax sharing” ในบางกรณีรัฐบาลอาจจะแบ่งรายได้ที่เก็บได้ในท้องถิ่นนั้นแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามอัตราส่วนที่กำหนด ซึ่งเรียกว่า “Revenue sharing” การแบ่งส่วนรายได้ทั้งสองรูปดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะแตกต่างกันก็เฉพาะแต่รายได้ที่รัฐบาลจะแบ่งให้ จะครอบคลุมกว้างขวางมากน้อยแค่ไหน รูปแบบของการแบ่งสรรรายได้นั้นยังแบ่งออกได้อีกสองชนิดด้วยกัน ดังนี้
1)การแบ่งส่วนรายได้โดยมีเงื่อนไข (Condition revenue sharing) ซึ่งหมายถึง การพิจารณาแบ่งรายได้ภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในแต่ละท้องถิ่น รัฐบาลจะพิจารณาให้ตามความเหมาะสม โดยใช้ปัจจัยหรือหลักการบางอย่างเป็นบรรทัดฐานในการแบ่งรายได้ซึ่งมักจะพิจารณาถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาถึงรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น รัฐบาลอาจจะแบ่งส่วนรายได้ให้แก่ท้องถิ่นที่ประชากรมีรายได้ต่อหัว (par capital income) ต่ำในอัตราที่สูง ส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้ต่อหัวสูง รัฐบาลอาจจะแบ่งรายได้ในอัตราที่ต่ำหรืออาจจะไม่ให้เลยก็ได้
(2) พิจารณาถึงความเจริญของแต่ละภูมิภาค ในกรณีที่รัฐบาลต้องการกระจายความเจริญให้แก่ภูมิภาคต่างๆอย่างทั่วถึง หรือต้องเน้นการพัฒนาในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น รัฐบาลอาจจะกำหนดอัตราส่วนรายได้ที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคได้ตามความเหมาะสม
(3) พิจารณาถึงจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่น
(4) พิจารณาถึงเหตุผลทางการเมือง
2)การแบ่งส่วนรายได้ที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Revenue Sharing) หมายถึง การที่รัฐบาลพิจาณาแบ่งรายได้ที่จัดเก็บได้ในแต่ละท้องถิ่น ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆมากนัก เช่น รัฐบาลอาจจะกำหนดแบ่งรายได้ที่จัดเก็บได้ในแต่ละท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นร้อยละ 10 ของภาษีอากรที่จัดเก็บได้เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการแบ่งส่วนรายได้โดยไม่มีเงื่อนไข อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างในทางการคลังระหว่างท้องถิ่นมีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าท้องถิ่นที่มีรายได้สูงขึ้นนั้นก็จะได้รับส่วนแบ่งรายได้มากกว่าท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย นอกเสียจากว่ารัฐบาลจะกำหนดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ท้องถิ่นในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน
4.รายได้อื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรในในรูปต่างๆตามที่กล่าวมาแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะได้รับรายได้จากแหล่งอื่นอีก เช่น
1)รายได้จากการประกอบกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เป็นผู้ผูกขาดการขายสินค้าหรือบริการ หรือผูกขาดการประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการพนัน เป็นต้น
2)การได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (Grant-in-aid) โดยปกติแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในรูปต่างๆ ทั้งในรูปทั่วไป (General grants) หรือในรูปที่มีเงื่อนไข (Selective grants) หรือบางกรณีที่รัฐบาลอาจจะกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องออกเงินร่วมสมทบกับเงินช่วยเหลือที่ได้รับจากรัฐบาล (Matching grants) หรืออาจจะให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Nonmatching grants)
นอกจากนี้หากพิจารณาถึงระบบภาษีร่วมการจัดสรร การแบ่งสรรรายได้ระหว่าง
รัฐบาลระดับชาติและระดับล่าง(จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)นั้น นอกจากจะใช้ระบบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแล้ว รัฐบาลยังสามารถใช้ระบบภาษีร่วม (Revenue-Sharing taxes) ได้อีกด้วย คำว่าภาษีร่วมในที่นี้ หมายถึง ภาษีที่เป็นฐานรายได้ร่วมกันระหว่างรัฐบาลระดับชาติและระดับล่าง (จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) นั่นเอง ภาษีที่นิยมใช้เป็นฐานภาษีร่วม คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีทรัพย์สิน (เฉพาะที่เก็บจากอสังหาริมทรัพย์บางประเภท) ภาษี Capital gain tax ภาษีสรรพสามิต และภาษีที่เก็บจากการผลิตและการบริโภคอีกหลายประเภท ฯลฯ เป็นต้น
รัฐบาลควรพัฒนาระบบภาษีร่วมขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายความเจริญสู่จังหวัดและท้องถิ่น ระบบภาษีร่วมจะช่วยสร้างดุลภาพระหว่าง “ผลประโยชน์ภาระของการพัฒนา” ทั้งนี้เพราะรัฐบาลในระดับต่างๆทั้งระดับชาติ ภูมิภาคและท้องถิ่น ล้วนมีรายจ่ายในการจัดทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งก่อให้เกิดฐานภาษีชนิดนั้นขึ้น (เช่น รัฐบาลระดับชาติและท้องถิ่นร่วมกันส่งเสริมการลงทุนในท้องถิ่นอันก่อให้เกิดรายได้ การจ้างงาน การซื้อขายและการบริโภค) ดังนั้นควรมีส่วนในการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้ทรัพย์หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านั้นนั้นร่วมกัน
เป้าหมายการกระจายอำนาจทางการคลัง สิ่งที่ต้องพิจารณาถึงเนื้อหาหลักๆ 4 ประการดังนี้
1.ระบบการคลังที่สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิผล ปรับโครงสร้างระบบงบประมาณที่มีลักษณะ “แยกส่วนต่างคนต่างทำ” (Fragmented Budgeting) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้เป็นระบบงบประมาณแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ (Are-Integrated-Program Budgeting) โดยมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดและท้องถิ่นเป็นเครื่องชี้นำ
2.ระบบการคลังที่ช่วยสร้างดุลยภาพระหว่าง “ผลประโยชน์ภาระของการพัฒนา” ในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
3.จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความคล่องตัวและมีเสถียรภาพทางการคลัง
4.ระบบการควบคุมทางการคลังที่เน้นการประเมินผลงาน (Performance audit) เป็นหลัก และใช้มาตรการด้านบริการเสริม ยกเลิก/ผ่อนปรนการควบคุมแบบดั้งเดิมที่ใช้วิธีการอนุมัติ อนุญาต ฯลฯ และควบคุมปัจจัยการผลิต (Input control) แบบต่างๆผ่านงบประมาณแผ่นดิน
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการกระจายอำนาจทางการคลังเพื่อให้อิสระกับท้องถิ่นอย่างแท้จริงในการจัดทำงบประมาณของตนเองได้ ในการนี้รัฐบาลจะต้องยกเลิกมาตรการต่างๆที่ใช้ควบคุมการบริหารการคลังและงบประมาณของท้องถิ่นที่เป็นอุปสรรค เป็นต้นว่าเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์กร การบริหารงานบุคคล การบริหารงานพัสดุ การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายเงินบางประเภท โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการลักษณะไตรภาคี คือ กรรมการโดยตำแหน่ง 6 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และกรรมการในผู้แทนกรรมการกลางพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท รวม 5 คนและคณะกรรมการฯอยู่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ดังเช่น ในกรณีของเทศบาลให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการเทศบาล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ มีลักษณะไตรภาคีและรองอธิบดีกรมการปกครองเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล แต่ละแห่งมีคณะกรรมการข้าราชการเทศบาล โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานมีลักษณะไตรภาคีและปลัดเทศบาลเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการด้านบริหารงานบุคคลในเทศบาลนั้น กำหนดอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น วางหลักเกณฑ์การบรรจุแต่งตั้ง โอนย้ายและการดำเนินการทางวินัย ตลอดจนพัฒนาบุคคล จัดทำงบประมาณ เป็นต้น
2.หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายการกระทำในทางปกครองที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน) ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการวางรูปแบบในแง่ของโครงสร้างความสัมพันธ์ของราชการแต่ละส่วนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของส่วนราชการส่วนกลางที่มีต่อราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น หรือในระหว่างส่วนภูมิภาคกับส่วนท้องถิ่น รวมทั้งความสัมพันธ์ขององค์กรภายในส่วนราชการต่างๆเองด้วย ซึ่งในลักษณะของความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในระหว่างส่วนราชการต่างๆจะเป็นลักษณะรูปแบบการบังคับบัญชาและการกำกับดูแล ในกรณีของความสัมพันธ์ของส่วนราชการส่วนกลางที่มีต่อราชการส่วนภูมิภาค จะเป็นไปในลักษณะของการแบ่งอำนาจการปกครองจากส่วนกลาง โดยให้ราชการส่วนภูมิภาคเป็นตัวแทนของราชการส่วนกลางในการประสานงานกับส่วนราชการส่วนท้องถิ่น
หากจะพิจารณาความหมายและความแตกต่างของการควบคุมบังคับบัญชาและการกำกับดูแล ซึ่งจะต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วยเสมอ ก็คือ การใช้อำนาจดุลพินิจทั้งที่เป็นอำนาจดุลพินิจและอำนาจผูกพันในการที่จะมีการกระทำในทางปกครองต่อองค์กรหรือหน่วยงาน บุคคลตามระดับสายงานลงมา จึงเป็นเหตุให้ต้องมีหลักประกันควบคุมการใช้ดุลพินิจ เพื่อเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานถึงการทำงานโดยอิสระภายใต้การกำกับดูแลในขอบอำนาจที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองที่แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.การควบคุมการบังคับบัญชา ได้แก่ ลักษณะของการควบคุมบังคับบัญชาเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจทั่วไปที่ตนมีอยู่เหนือผู้ใต้บังคับบัญชากระทำการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา หากพบการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เหมาะสม ผู้บังคับบัญชามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนหรือแก้ไขการกระทำนั้นได้ การควบคุมบังคับบัญชาอาจกระทำต่อผู้ใต้บังคับบัญชาโดยพลการก็ได้
2.ส่วนการกำกับดูแลเป็นกรณีที่ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคใช้อำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ราชการส่วนท้องถิ่น) เช่น กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของร่างเทศบัญญัติที่เทศบาลต่างๆ ได้จัดทำขึ้นและหากเห็นว่าการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคก็มีอำนาจที่จะไม่อนุมัติให้การกระทำนั้นมีผลบังคับใช้หรือใช้อำนาจยกเลิกเพิกถอนการกระทำนั้นแล้วแต่กรณี
3.การควบคุมบังคับบัญชากับการกำกับดูแล มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ 2 ประการ
1)อำนาจของผู้บังคับบัญชาที่จะควบคุมการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชานั้นเป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการจัดระเบียบภายในหน่วยงาน ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ แต่อำนาจของผู้กำกับดูแลที่จะควบคุมการกระทำของผู้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เป็นอำนาจที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติให้ไว้โดยเฉพาะและผู้กำกับดูแลจะใช้อำนาจควบคุมเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดมิได้
2)ผู้บังคับบัญชามีอำนาจควบคุมการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทั้งในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสม แต่โดยปกติผู้กำกับดูแลจะมีอำนาจควบคุมกำกับดูแลได้เฉพาะแต่ในแง่ความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จะก้าวล่วงเข้าไปควบคุมความเหมาะสมของการกระทำมิได้ เพราะจะเป็นการกระทำที่ทำลายความเป็นอิสระ(autonomy) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากรอบการใช้อำนาจดุลพินิจและอำนาจผูกพันของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการที่มีอยู่เหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้กฎหมาย มิได้เป็นไปโดยอำเภอใจ ข้ามขั้นตอน ปราศจากอำนาจ ล่าช้าใดๆ ทั้งสิ้น อันนำไปสู่ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจะสั่งการเลยไปถึงความเหมาะสมในเนื้อหาของการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมิได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ การบริหารงานบุคคล งบประมาณและการคลัง ซึ่งการใช้ดุลพินิจจะต้องกระทำภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เช่น อำนาจในการสั่งการ การอนุมัติ การอนุญาต การตอบข้อหารือ การพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นและร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับงบประมาณ มติต่างๆ การพิจารณาอนุมัติแผนพัฒนาท้องถิ่น การมีหนังสือเวียน ออกระเบียบ หรือการสั่งการ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำโดยอ้างแต่ความเหมาะสมมิได้ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายและบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแล เช่น การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐ (รัฐบาล) จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป การกำกับดูแลจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นเท่านั้น โดยเน้นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายหรือความถูกต้องของการกระทำโดยส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค จะก้าวล้ำไปบังคับบัญชา สั่งหรือชี้นำในการตัดสินใจของส่วนท้องถิ่นซึ่งได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่โดยชอบแล้วมิได้ ยกเว้นการปฏิบัติหรือการบริหารที่มิชอบหรือฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลย่อมมีอำนาจตามกฎหมาย เช่น การยกเลิก เพิกถอน หรือยุบสภา เป็นต้น
จากแนวคิดหลักการดังกล่าวส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนภูมิภาคที่มีต่อราชการส่วนท้องถิ่นจะเป็นไปลักษณะการควบคุมบังคับบัญชามากกว่าการกำกับดูแลส่งเสริม ซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำกับดูแลส่งเสริมราชการส่วนท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็ง ดังนั้นบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ที่ถือเป็นราชการส่วนภูมิภาคเป็นไปโดยลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่น มีลักษณะเช่นเดียวกันกับความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่น นั่นคือ การกำกับดูแลมากกว่าการควบคุมการบังคับบัญชา ทั้งนี้เพราะราชการส่วนภูมิภาคนั้นรับหน้าที่ในการกำกับดูแลราชการส่วนท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) มาจากราชการส่วนกลางนั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็อาจพบบทบาทที่เกี่ยวข้องกันระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ หรือแม้กระทั่งราชการส่วนกลางที่ยังคงอำนาจในการกำกับดูแล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป จากกฎหมาย กฎ ประกาศ หรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีต่างๆ ดังนี้
1.ในด้านการกำกับดูแลการกระทำที่เป็นอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ได้แก่
1) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
2) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
4) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
5) พระราชบัญญัติระเบียบริหารงานส่วนบุคคล พ.ศ. 2542
6) พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542
7) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
😎 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับประชุมสภาเทศบาล
9) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
10) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546
11) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารงานจังหวัด
แบบบูรณาการ พ.ศ. 2546
12) หนังสือสำนักงาน ก.พ. เรื่องการมอบอำนาจด้านการบริหารงาน
บุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
2.ในด้านการกำกับดูแลด้านงบประมาณและการคลังมีระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
2) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานส่วนบุคคล พ.ศ. 2542
5) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
6) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางละมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
7) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546
😎 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2535
9) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
10) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546
12) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
พ.ศ.2546
3.ในด้านการกำกับดูแลด้านบุคลากร มีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
2) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
6) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยลูกจ้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2536 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 เป็นต้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ มีหน้าที่โดยตรงตามกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาอีกชั้นหนึ่ง หรือการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในกรณีกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่ารทรวงมหาดไทยกำกับดูแล ส่วนเมืองพัทยาผู้ว่าราชจังหวัดชลบุรีกำกับดูแล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจและอำนาจผูกพันที่บุคลที่ดำรงตำแหน่งทั้งสองดังกล่าวได้ใช้อำนาจหน้าที่กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป ว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ภายใต้หลักการกำกับดูแลมิใช่การควบคุมบังคับบัญชา เพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของชาติส่วนรวมหรือเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย
การกำกับดูแลจะมีลักษณะ คือ ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ต่อเมื่อได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลไว้อย่างชัดแจ้ง โดยวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป ผู้ใช้อำนาจกำกับดูแลไม่มีอำนาจในการเข้าไปควบคุมความเหมาะสม ในการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นชอบด้วยกฎหมาย จึงพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลได้ 2 ทาง คือ การกำกับดูแลโดยตรงกับการกำกับดูแลโดยอ้อม
1.การกำกับดูแลโดยตรง เป็นการกำกับดูแลโดยผู้มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ ในกรณีที่เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไปซึ่งอาจเป็นคณะผู้บริหารหรือผู้บริหารท้องถิ่น ได้ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้มีอำนาจดังกล่าวข้างต้นอาจดำเนินการพิจารณายับยั้ง ยกเลิก หรือสั่งให้คณะผู้บริหารหรือผู้บริหารของท้องถิ่นนั้นออกจากตำแหน่งได้
2.การกำกับดูแลโดยอ้อม แยกออกได้ 2 กรณี คือ
1)การใช้เงินอุดหนุนเป็นมาตรการในกำกับดูแล ทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นเงินที่ระบุกิจการที่จะใช้จ่ายโดยตรงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจ่ายตามที่กำหนดไว้ และส่วนกลางจะดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปเงินอุดหนุนเฉพาะกิจพิเศษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้เสนอขอจากส่วนกลางเอง
2)การกำกับดูแลโดยใช้สัญญามาตรฐาน เป็นกรณีที่ส่วนกลางได้วางรูปแบบมาตรฐานของสัญญาอันเป็นลักษณะของการกำหนดขึ้นจากบุคคลที่สาม ผู้ใดจะต่อเติมเปลี่ยนแปลงเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบหรือสาระสำคัญอันจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสียเปรียบมิได้
ส่วนในแง่ของเนื้อหาของการกำกับดูแล หมายถึง ขอบเขตที่ผู้ที่มีอำนาจกำกับดูแลจะพึงกระทำ ได้แก่ การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายหรือควบคุมความถูกต้องของการกระทำ วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่กำหนดไว้ให้อำนาจท้องถิ่นกระทำการตามมาตรการกำกับดูแล วิธีที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีอำนาจกำกับดูแลต่อการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายมี 2 ลักษณะ คือ การกำกับดูแลการกระทำและการกำกับดูแลตัวบุคคล
1.การกำกับดูแลการกระทำ ได้แก่ การกระทำที่เป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นตามกฎหมาย มาตรการทั่วไปที่ใช้กำกับดูแล คือ การอนุมัติ การอนุญาต หรือการให้ความเห็นชอบ เป็นต้น การกำกับดูแลการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1)การให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ตามมาตรา 57 ทวิ มาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เป็นต้น
2)การสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เป็นต้น
2.การกำกับดูแลองค์กรหรือบุคคลผู้กระทำการในนามของท้องถิ่น เป็นการกำกับดูแลการปฏิบัติที่ใช้กับตัวองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เช่น การยุบสภาหรือการบริหารงานทั่วไป เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
3.ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองราชการส่วนท้องถิ่นกับการปกครองราชการส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง
หากจะพิจารณาถึงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ซึ่งถือว่ามีการแก้ไขเป็นฉบับที่เป็นปัจจุบันที่สุด ในขณะนี้ควบคู่กับการพิจารณาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2542 แล้วก็ตามก็จะพบว่าหลักการที่สำคัญที่ใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ยังคงมีแนวคิดและหลักการที่สำคัญๆ ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เป็นแต่เพียงว่ามีการจัดแบ่งภารกิจของงานในระหว่างราชการส่วนกลาง กระทรวง ทบวง กรม เสียใหม่ให้สอดคล้องกับแนวทางใหม่ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่ระบบการบริหารการจัดการกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับของราชการส่วนกลางก็ย่อมส่งผลกระทบถึงราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นบ้าง ในการเปลี่ยนแปลงสังกัดยุบรวมหรือตั้ง โอน ย้าย หน่วยงาน และข้าราชการต่าง ๆ แต่แนวความคิดที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ คือ การที่ประเทศไทยถือเป็นรัฐที่มีรูปแบบเป็นรัฐเดี่ยว และมีการปกครองโดยระบบรัฐสภา
ดังนั้นการวางระบบความสัมพันธ์ของส่วนราชการต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น จึงมีการวางระดับของความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ หากเป็นการบริหารราชการในส่วนกลางบรรดา กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ก็จะเป็นในลักษณะของการรวมอำนาจ ส่วนถ้าเป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้นก็จะยึดถือหลักการแบ่งอำนาจจากส่วนกลางมา (Deconcentration) กล่าวสำหรับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นจะยึดถือหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) โดยมีพื้นฐานที่สำคัญอยู่ที่ความไม่เท่าเทียมกันในสถานะ และอำนาจหน้าที่ของราชการแต่ละส่วนและความต้องการที่จะผสมผสานหลักการรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจและการกระจายอำนาจให้ไปด้วยกันได้
เมื่อพิจารณาหลักความไม่เท่าเทียมกันในสถานะและอำนาจหน้าที่ของการบริหารราชการแต่ละส่วนแล้ว จะพบว่าทั้งราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนกลางมีสถานะทางกฎหมายอำนาจหน้าที่ที่เหนือกว่าราชการส่วนท้องถิ่น โดยมีอำนาจในการจัดตั้ง ยุบเลิก และควบคุมบังคับบัญชาการปฏิบัติงานต่างๆ ของราชการส่วนท้องถิ่น ดังนั้นความสัมพันธ์ดังกล่าวของส่วนราชการส่วนท้องถิ่นกับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงสะท้อนได้จากมิติของกฎหมายในการจัดระเบียบบริหารราชแผ่นดินดังกล่าว ในลักษณะที่ราชการส่วนท้องถิ่นมีสถานะที่ต่ำกว่า อันส่งผลถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพิเศษอย่างกรุงเทพมหานคร ,เมืองพัทยาและในรูปแบบทั่วไปอย่าง เทศบาล,องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้เพราะความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่น แม้จะใช้หลักการกระจายอำนาจก็ตาม แต่ก็มีหลักการรวมอำนาจแฝงอยู่ โดยผ่านราชการส่วนภูมิภาคเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นในลักษณะเป็นการแบ่งอำนาจมาปกครองดูแลท้องถิ่น ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วความสัมพันธ์ขององค์กรปกครองท้องถิ่นกับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนั้นจะต้องเป็นไปในลักษณะของการกำกับส่งเสริมดูแล มิใช่เป็นการควบคุมบังคับบัญชา นั่นคือราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค จะไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องที่เป็นเนื้อหาสาระของการกระทำทางปกครองในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่จะเป็นการตรวจสอบดูเฉพาะความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรม หรือการกระทำในทางปกครองเหล่านั้นมากกว่า โดยพิจารณาถึงความถูกต้องของการกระทำหรือความถูกต้องของคุณสมบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการกำกับดูแล
แต่หลักการดังกล่าวมักเกิดปัญหาขึ้นเสมอในทางปฏิบัติทั้งนี้เพราะแม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่เห็นด้วยกับคำสั่งหรือการวินิจฉัยสั่งการของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม ทั้งที่โดยสถานะแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีสถานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกันกับราชการส่วนกลาง มีความสามารถในการทำนิติกรรมใดๆ กับบุคคลหรือองค์กรอื่นได้ในนามของตนเอง และหากพิจารณาความสัมพันธ์ในด้านบุคลากร แม้ว่าสถานะของบุคลากรที่ทำงานให้กับทั้งราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นจะเป็นข้าราชการประจำเช่นกัน แต่ข้าราชการประจำในราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคก็มีสถานะเป็นข้าราชการประจำตามหน่วยงานและกรม กอง ที่ตนปฏิบัติงานอยู่ ซึ่งต่างกับข้าราชการประจำที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ที่เป็นพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้การปกครองบังคับบัญชา การเลื่อนยศ ปลดย้าย และการปูนบำเหน็จความชอบ การลงโทษทางวินัย ไม่เหมือนกัน ทั้งที่มีสถานะเป็นข้าราชการประจำเช่นเดียวกัน
ในด้านของรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนท้องถิ่นและราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคหากพิจารณาถึงการให้การบริการสาธารณะจะพบว่าการบริหารราชการส่วนกลางมีพื้นที่ในการให้การบริการสาธารณะที่กว้างกว่าและครอบคลุมทั่วไป แต่ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ยังมีพื้นที่ในการจัดการบริการสาธารณะที่ทับซ้อนกัน ในจังหวัดและในอำเภอเดียวกันเสมอๆ จึงเกิดปัญหาการปัดความรับผิดชอบ และหาผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ยาก (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่พิเศษออกไป) หน่วยการปกครองท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้นว่า เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ทำหน้าที่แบ่งขอบเขตในการรับผิดชอบย่อยลงไป แต่ก็ยังรวมอยู่ในจังหวัดเดียวกัน ดังนั้นเมื่อราชการบริหารทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นมีการจัดตั้งและดำเนินการภายในพื้นที่เดียวกันเช่นนี้ กฎหมายจึงกำหนดความสัมพันธ์ต่อกันในแนวดิ่ง เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้โดยง่ายโดยกำหนดให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคมีอำนาจหน้าที่เหนือกว่าราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ดังนั้นราชการส่วนภูมิภาคจึงสามารถควบคุมการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกองค์กรที่อยู่ในเขตพื้นที่ของตนได้ อีกทั้งยังอาจได้รับมอบหมายอำนาจจากราชการส่วนกลางดำเนินการควบคุมบังคับบัญชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะหน้าที่ที่ระบุอยู่ในกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละรูปแบบจะมีหน้าที่ระบุไว้ค่อนข้างตายตัว และจะปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายได้กำหนดไว้มิได้ เช่น อำนาจหน้าที่ของเทศบาล นอกจากนี้ก็เป็นหน้าที่ที่อาจได้รับมอบหมายมาจากราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับอำนาจหน้าที่ของจังหวัดและอำเภอที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคที่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างกว้างขวางในการดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบ
อย่างไรก็ตามในตัวกฎหมายที่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของทั้งราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น จะพบว่ากฎหมายได้กำหนดหน้าที่ที่องค์กรเหล่านี้จะต้องปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบเป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยมิได้คำนึงถึงว่าองค์กรเหล่านี้แต่ละแห่งจัดตั้งอยู่ในส่วนใดของประเทศ มีขนาดของพื้นที่ จำนวนของประชากรผู้รับบริการ และระดับความเจริญ ของท้องที่มากหรือน้อยต่างกันเพียงใด เช่น จังหวัดการจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ ซึ่งหากพิจารณาถึงหลักการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นเป็นอิสระในการปกครองตนเอง
ภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐบาลหรือการบริหารราชการทั้งที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนกลาง แล้วน่าที่จะพิจารณากระจายการจัดการบริการสาธารณะไปสู่ท้องถิ่นบ้างเพื่อความคล่องตัว และประสิทธิภาพในการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนโดยคำนึงถึงหลักการสำคัญ 4 ประการคือ
(1) หลักผลประโยชน์สาธารณะ (Public interest)
(2) หลักความรับผิชอบ (Accountability) ในการจัดบริการ
(3) หลักประสิทธิภาพในการจัดการ (Management Efficiency) และ
(4) หลักความสามารถของท้องถิ่น (Local Capability) ในด้านของ หลักผลประโยชน์
สาธารณะ จะคำนึงถึงกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมสาธารณะของท้องถิ่นนั้นโดยเพาะโดยที่ไม่มีการส่งผลกรกระทบในทางบวกหรือทางลบไปยังผู้คนในท้องถิ่นอื่น (Spillover effects)
กิจการเหล่านี้ถือว่าควรให้เป็นกิจกรรมหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ แต่ถ้ากิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ โดยส่วนรวมหรือเป็นกิจกรรมที่กระทบต่อผลประโยชน์ของผู้คนหลายพื้นที่ (หลายท้องถิ่น) ก็ให้ถือเป็นกิจกรรมที่กระทบต่อผลประโยชน์ของผู้คนจำนวนมากควรมอบให้เป็นกิจกรรมของรัฐบาลที่อยู่ในระดับสูงขึ้นไปกว่าชุมชนย่อย ๆ หรือท้องถิ่น หรือถึงแม้จะทำได้ก็อาจจะก่อปัญหาการขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างชุมชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การประสานประโยชน์และรักษาความเป็นธรรมในสังคมควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลระดับชาติโดยตรง คือ
1.หลักความรับผิดชอบในการจัดบริการต่อสาธารณชน (Public Accountability) ถือเป็นหลักการที่สนับสนุนหลักการผลประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ กิจกรรมใดที่ต้องสนองตอบต่อความต้องการของหน่วยชุมชนระดับใดก็ควรมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับนั้นเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการนั้นสนองตอบความต้องการของประชาชนในชุมชนได้ดีที่สุด เช่น การจัดบริการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานในชุมชน การสาธารณสุขและสุขาภิบาลพื้นฐานของชุมชน การส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี และ เอกลักษณ์ของชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น ควรมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าของกิจกรรมเป็นผู้จัดการ และอยู่ภายใต้การตรวจสอบควบคุมของประชาชนในชุมชนนั้นๆ แต่ถ้าเป็นกิจกรรมที่ต้องสนองตอบความต้องการของหน่วยชุมชนที่สูงขึ้นไป เช่น เป็นกิจกรรมที่มุ่งสนองตอบปัญหาและความต้องการของผู้คนทั้งประเทศหรือปัญหาของชาติโดยส่วนรวม ก็สมควรมอบให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลระดับที่สูงขึ้นไปตามความเหมาะสม เป็นต้น
2.หลักประสิทธิภาพ นั้นหมายความว่า การจัดทำกิจกรรมใดๆ ควรต้องประหยัด ถ้าสามารถใช้เงินจำนวนน้อยที่สุดเพื่อทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนได้จำนวนมากที่สุด ซึ่งลักษณะพิเศษของบริการสาธารณะหรือที่เรียกกันตามภาษาเศรษฐศาสตร์ว่า “ Public goods” นั้น มักจะมีลักษณะโครงสร้างต้นทุนและการให้บริการที่เป็นแบบเฉพาะตัว กล่าวคือ มีต้นทุนคงที่ในสัดส่วนที่สูง มีต้นทุนแปรผันต่อหน่วยของการให้บริการต่ำ (ในบางกรณีอาจไม่มีต้นทุนแปรผันเลย ) และมีหลายกรณีที่มีต้นทุนแบบพิเศษเช่นเพิ่มขึ้นเป็นช่วงขั้นบันได เป็นต้น ฉะนั้นการจัดบริการสาธารณะบางประเภทจะต้องมีจำนวนผู้ใช้บริการมากๆ หรือเป็นชุมชนขนาดใหญ่พอสมควร จึงจะประหยัดต้นทุน ถ้าเป็นชุมชนเล็กๆ ก็อาจจะต้องจัดการผลิตบริการร่วมกันเพื่อให้เกิดการประหยัดและสามารถใช้ประโยชน์จากบริการเหล่านั้นได้เต็มที่ กิจการสาธารณูปโภคบางประเภท เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ ต้องผลิตให้คนทั้งประเทศใช้บริการจึงจะประหยัดและคุ้มค่ากับการลงทุน ในกรณีเช่นนี้ควรให้มีหน่วยงานในระดับชาติทำการผลิตและให้บริการแก่ทุกชุมชน
3.หลักความสามารถท้องถิ่น (Local Capability) นั้นนับว่ามีความสำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีการปกครองท้องถิ่นและในหลักการจัดโครงสร้างการบริหารองค์การโดยทั่วไป กล่าวคือ ตามแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นประการหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันนานาประเทศนั้น ถือว่าการดำเนินกิจกรรมสาธารณะทั้งมวลเป็นหน้าที่ของหน่วยปกครองท้องถิ่นระดับล่างสุดเสมอ หน่วยการปกครองในระดับสูงขึ้นไปจะเลือกดำเนินกิจกรรมสาธารณะใดๆ ก็ต่อเมื่อท้องถิ่นระดับล่างไม่มีศักยภาพที่จะดำเนินการได้ หรือถึงแม้จะดำเนินการได้ก็อาจจะเกิดปัญหากระทบกับท้องถิ่นอื่นๆ หรืออาจเป็นผลเสียหายต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวมเท่านั้น สำหรับทฤษฎีการบริหารนั้นถือว่าการกระจายอำนาจ (ซึ่งหมายถึงการแบ่งหน้าที่ แบ่งทรัพยากร แบ่งอำนาจการตัดสินใจให้หน่วยงานระดับล่าง) จะประสบความสำเร็จได้ (ในที่นี้หมายถึงการส่งเสริมให้หน่วยงานระดับล่างมีความคล่องตัวและสามารถสนองตอบต่อสถานการณ์ภายนอกและลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว) ก็ต่อเมื่อหน่วยงานระดับล่างมีศักยภาพเพียงพอที่จะรับการกระจายอำนาจจากหน่วยงานระดับสูงลงมาเท่านั้น การกระจายอำนาจที่ปราศจากความพร้อมย่อมนำมาซึ่งความล้มเหลว
หากพิจารณาถึงผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนท้องถิ่นกับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตามโครงสร้างของกฎหมายก็จะพบว่าราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะที่ราชการส่วนท้องถิ่นจะอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชามากกว่าการกำกับดูแลและด้วยอาณัติของกฎหมายเช่นนี้ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดทำกิจกรรมหรือบริการสาธารณะอื่นใดที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ หากมิได้มีการระบุไว้ในกฎหมายหรือได้รับอนุมัติจากทั้งราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนกลาง จึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดอิสระในการปกครองตนเองอย่างแท้จริง อันถือได้ว่ามีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
ลักษณะดังกล่าวข้างต้นย่อมส่งผลถึงการที่ทำให้ราชการทั้งสามส่วนมีความขัดแย้งในการทำงานซึ่งกันและกัน เนื่องจากในการ บริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องพยายามตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ตามหลักการปกครองตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งนโยบายของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงเท่ากับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหมือนมีผู้บังคับบัญชา 2 คน 2 ฝ่าย ในเวลาเดียวกัน ทำให้เป็นการยากลำบากในการปฏิบัติงานแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอันมาก ยิ่งโดยเฉพาะความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นมีความขัดแย้งกับนโยบายจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วยแล้ว โอกาสที่จะได้รับการสนองตอบจึงน้อยลง ปัญหาดังกล่าวนี้จึงลุกลามมาถึงความไม่ลงรอยซึ่งกันและกัน ในระหว่างตัวข้าราชการที่มีสังกัดแตกต่างกันด้วยยิ่งโดยเฉพาะที่มีการบังคับใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มีการให้อำนาจกับท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนมากขึ้น จึงทำให้การประสานงานในระหว่างราชการส่วนภูมิภาคอันเป็นตัวแทนของราชการส่วนกลางที่ไม่เคยชินกับระบบการทำงานและวิธีคิดจากล่างสู่บน (Bottom up) และมีส่วนร่วมของท้องถิ่น จึงทำให้ก่อปัญหายิ่งขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ โดยมักจะลงเอยด้วยการถอดถอนคณะผู้บริหารระดับสูงหรือมีการยุบสภาท้องถิ่น แล้วแต่งตั้งข้าราชการของส่วนภูมิภาคเข้าไปดำรงตำแหน่งแทน กรณีดังกล่าวนี้จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างหลักประกันพื้นฐานให้กับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อป้องกันการให้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้ามขั้นตอน และอำเภอใจของราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ที่ใช้อำนาจตามกฎหมายอันส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นคือมีระบบการควบคุมการใช้อำนาจขององค์กรทั้งสองส่วนราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชการส่วนภูมิภาค (ผู้ว่าราชการจังหวัด ) ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนหวังผลได้ ซึ่งจะได้นำเสนอต่อไปถึงหลักประกันขั้นพื้นฐานดังกล่าว
นอกจากนี้ ก็ควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบวัฒนธรรม โครงสร้างของแต่ละท้องถิ่น มิใช่ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติใดพระราชบัญญัติหนึ่งเป็นการถือปฏิบัติร่วมกันทุกท้องถิ่น มิฉะนั้นแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซากอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้น โดยขาดความคิดริเริ่มในการจัดทำกิจกรรมที่จะสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
ทั้งนี้เพราะกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้นไม่อนุญาตให้ดำเนินการจึงเกรงว่าหากกระทำลงไปจะเป็นการผิดกฎหมายนั่นเอง ท้ายที่สุดของความสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะเป็นการนำระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตยในการพัฒนาและพึ่งพาตนเองของท้องถิ่นไกลออกไปจากประชาชน และถูกดึงเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจ โดยมีราชการส่วนภูมิภาคเป็นสะพานเชื่อมไปสู่การรวมอำนาจ ทำให้ประชาชนเองขาดการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางเท่าที่ควรจะเป็น และมีความรู้สึกเบื่อหน่าย ขาดศรัทธาต่อระบบ ซึ่งไม่เป็นผลดีในการบริหารและพัฒนาประชาธิปไตย
การบริหารงานบุคคล 在 การบริหารงานบุคคล Updat 2565 - YouTube 的推薦與評價
การบริหารงานบุคคล Updat 2565. Watch later. Share. Copy link. Info. Shopping. Tap to unmute. If playback doesn't begin shortly, ... ... <看更多>
การบริหารงานบุคคล 在 ทิศทางการบริหารคนอย่างยั่งยืน - ปตท. 的推薦與評價
สายงานทรัพยากรบุคคลองค์กรและสายงานพัฒนาศักยภาพองค์กร ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเป็นคู่คิดทางธุรกิจ และการพัฒนาองค์กรให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ... ... <看更多>
การบริหารงานบุคคล 在 การบริหารงานบุคคล... - สอบท้องถิ่น โดยประพันธ์ เวารัมย์ | Facebook 的推薦與評價
การบริหารงานบุคคล คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลกรภายในองค์การเริ่มตั้งแต่กา รวางแผนกำลังคน การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสร้างแรง ... ... <看更多>