การควบคุมการกระทำทางปกครองโดยศาลปกครองของประเทศฝรั่งเศส
การควบคุมการกระทำของศาลปกครองนี้จะกล่าวถึงการควบคุมการกระทำทางปกครองโดยศาลปกครองของประเทศที่เป็นต้นแบบของศาลปกครองของประเทศไทย การควบคุมการกระทำทางปกครองโดยศาลปกครองประเทศฝรั่งเศส จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของศาลปกครอง คดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง เรื่องที่ไม่ถือเป็นคดีปกครอง ลักษณะทั่วไปของวิธีพิจารณาคดีปกครอง ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของศาลปกครองประเทศฝรั่งเศส
ในช่วงหลังการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส การกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง นอกจากไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นอำนาจตุลาการและมีลักษณะเป็น “เขตอำนาจทางศาล” อื่นใดอีก การควบคุมที่มีอยู่ในเวลานั้นเป็นไปในลักษณะของการร้องเรียนภายในฝ่ายบริหาร ต่อมาได้มีการตั้งสภาแห่งรัฐ หรือ กองเซย์ เดตาท์ ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์ ขึ้นในปี ค.ศ. 1799 ในสมัยพระเจ้านโปเลียน โบโนปาร์ต ต่อมาได้ตั้งแผนกคดีปกครองขึ้นมาในปี ค.ศ. 1806 อันเป็นการเริ่มแยกฝ่ายปกครองที่ทำหน้าที่ทางปกครองโดยตรง แต่กองเซย์ เดตาท์ ก็ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทเอง ต้องเสนอไปให้ปะมุขของรัฐ (กษัตริย์) เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดและถือว่าเป็นอันยุติ
ในปี ค.ศ. 1872 ได้มีการมอบอำนาจให้กองเซย์ เดตาท์ เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองเอง โดยไม่ต้องเสนอไปยังประมุขแห่งรัฐอีกต่อไป รวมไปถึงการตั้งศาลระงับความขัดแย้งขึ้น เพื่อวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดคดีหนึ่งจะฟ้องต่อองค์กรใด คือ ระหว่างศาลยุติธรรมกับกองเซย์ เดตาท์
สรุปได้ว่า กองเชย์ เดตาท์ ของฝรั่งเศสจะแยกออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ กองเซย์ เดตาท์ ที่มีลักษณะเป็นสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ กับ กองเซย์ เดตาท์ ที่ลักษณะวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง ก็คือ ศาลปกครอง ดังนั้นในส่วนจะกล่าวกองเซย์ เดตาท์ที่เป็นศาลปกครองเท่านั้น
2. คดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
คดีปกครอง หมายถึง คดีที่รวมถึงกฎเกณฑ์ทั้งปวงที่ใช้แก่การแก้ปัญหาในลักษณะทางศาล (juridictional) ในข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการกระทำทางปกครอง ซึ่งข้อพิพาทนั้นเกิดจากกิจกรรมของฝ่ายปกครองสาธารณะ แต่ไม่รวมถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับปัญหาข้อเท็จจริงธรรมดา ซึ่งไม่ได้ขึ้นไปสู่การวินิจฉัยของผู้พิพากษา หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วิธีการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เกิดจากกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่ไม่ได้ขึ้นสู่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาดจะไม่รวมอยู่ในคดีปกครอง
3. เรื่องที่ไม่ถือว่าเป็นคดีปกครอง
เรื่องที่ไม่ถือว่าเป็นคดีปกครองซึ่งถือว่าไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง นั้นจะแยกออกได้ 2 ประเภท คือ กระบวนการแก้ปัญหาข้อพิพาททางปกครองที่เกี่ยวกับศาลปกครอง กับข้อพิพาทที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของคดีปกครอง
3.1 กระบวนการแก้ปัญหาข้อพิพาททางปกครองที่เกี่ยวกับศาลปกครอง
กระบวนการแก้ปัญหาข้อพิพาททางปกครองที่เกี่ยวกับศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองจะไม่รับไว้พิจารณา ดังนี้
3.1.1 การประนีประนอม
การประนีประนอม คือ วิธีการแก้ปัญหาข้อพิพาทโดยมีผู้ไกล่เกลี่ย คู่กรณีมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับข้อเสนอแก้ปัญหาของผู้ไกล่เกลี่ยก็ได้ ตัวอย่างของการประนีประนอมจะพบได้ในเรื่องเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง ซื้อขาย จ้างทำวัสดุต่างๆของฝ่ายปกครอง เช่น ข้อกำหนดในประทานบัตรสัมปทานการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองโดยกฤษฎีกา ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 ข้อ 11 กำหนดถึงกรณีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอัตราค่าไฟฟ้าไว้ว่า ให้ใช้วิธีการประนีประนอมโดยมีคณะกรรมการร่วม เป็นต้น
3.1.2 การร้องเรียนไปยังเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีชื่อว่าเมดิอาเตอร์
การให้มีเมดิอาเตอร์ ขึ้นนั้นเป็นแนวคิดที่ได้รับมาจาก ออมบุสแมน (Ombudsman) ของกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ของฝ่ายนิติบัญญัติ ของอังกฤษ เมดิอาเตอร์นั้นได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหาร คือ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสโดยกฤษฎีกาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีวาระ 6 ปี และไม่สามารถได้รับกรแต่งตั้งใหม่เมื่อครบวาระ
เมดิอาเตอร์ ไม่อาจเข้าไปดำเนินการกับการกระทำทางปกครองที่ตนเห็นว่าไม่ชอบด้วยกำหมายได้ด้วยตนเอง ต้องมีเรื่องเข้ามาสู่ตนจึงจะดำเนินการได้ กล่าวคือ เรื่องราวร้องทุกข์ต้องร้องโดยปัจเจกชนหรือบุคคลธรรมดา (นิติบุคคลจะร้องทุกข์ไม่ได้) ไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จากนั้นก็อยู่ในดุลพินิจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ที่จะส่งเรื่องต่อไปให้เมดิอาเตอร์หรือไม่ และการยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ไปยังเมดิอาเตอร์นั้ก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องคดีปกครองสะดุดหยุดลง
3.1.3 การประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส
มาตรา 2044 ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ได้นิยามความหมาย การประนียอมความ ว่าคือ “ข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทอ้นใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่จะเกิดขึ้นโดยวิธียอมผ่อนผันให้แก่กัน” การประนีประนอมยอมความตามกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสเอามาใช้ในทางปกครองด้วย โดยกฎหมายบางเรื่องบัญญัติไว้ เช่น ประมวลกฎหมายปกครองว่าด้วยเทศบาล มาตรา 75,7 กฎหมายลงวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1871 มาตรา 46,16 หรือโดยคำพิพากษาของศาลปกครอง
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาทางแพ่งและเมื่อนำมาใช้ในทางปกครองโดยทั่วไปก็มักไม่มีข้อกำหนดที่หนักกว่าปกติ อันอาจจะทำให้กลายเป็นสัญญาทางปกครองไปได้ ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ไม่ใช่ศาลปกครอง แต่ในบางกรณีก็อาจอยู่ในอำนาจของศาลปกครองได้ ได้แก่ การกระทำของฝ่ายปกครองที่แยกออกจากประนีประนอมได้ เช่น มติของสภาเทศบาลที่ให้เทศบาลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มตินี้ไม่ใช่การประนีประนอม แต่เป็นการกระทำทางปกครอง
3.1.4 วิธีการอนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการ ตามความหมายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฝรั่งเศส หมายถึง วิธีการที่คู่กรณีที่พิพาทต้องการระงับข้อพิพาทนั้นโดยมอบให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดและยอมรับในคำชี้ขาดดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นการกระทำทางศาลอย่างหนึ่ง จึงไม่เรียกว่าไม่เป็น “คดีปกครอง” จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
3.1.5 การร้องเรียนภายในฝ่ายปกครอง
การร้องเรียนภายในฝ่ายปกครองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการคัดค้านการกระทำทางปกครอง ซึ่งอาจเป็นการร้องเรียนคัดค้านไปยังเจ้าหน้าที่ปกครอง ผู้กระทำหรือมีคำสั่งนั้นเองหรือไปยังเจ้าหน้าที่ปกครอง ผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำหรือออกคำสั่งนั้น หรืออาจจะเป็นการร้องเรียนไปยังเจ้าหน้าที่ปกครองที่มีอำนาจกำกับดูแลกำกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ปกครองผู้กระทำหรือออกคำสั่งนั้นก็ได้
การร้องเรียนภายในฝ่ายปกครองนี้สามารถดำเนินการได้ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้ร้องเรียนได้หรือไม่ก็ตาม และโดยทั่วไปไม่มีการกำหนดรูปแบบ ดังนั้นจึงสามารถทำด้วยปากเปล่าได้ ทั้งไม่มีอายุความหรือเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันเป็นข้อแตกต่างกับการฟ้องศาล ด้วยเหตุนี้ในการพิจารณาคำร้องเรียนฝ่ายปกครองจึงไม่ต้องผูกพันตนกับหลักทั่วไปในการพิจารณาทางศาล
3.2 ข้อพิพาทที่ไม่ถือว่าอยู่ในขอบข่ายของคดีปกครอง
ข้อพิพาทที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของคดีปกครอง คือ ข้อพิพาททางปกครองที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางนิติบัญญัติ ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางสภา ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางรัฐบาล และข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางศาลยุติธรรมดังนี้
3.2.1 ข้อพิพาททางปกครองที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
เงื่อนไขหลักที่จะทำให้ศาลฝรั่งเศสมีอำนาจพิจารณาได้ก็ คือ ข้อพิพาทจะต้องเกิดจากกิจกรรมทางปกครองของฝรั่งเศส ดังนั้นถ้ากิจกรรมทางปกครองไม่เป็นของฝรั่งเศส ไม่ว่าศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมฝรั่งเศส ย่อมไม่มีอำนาจ เช่น การกระทำขององค์การปกครองต่างชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งมีหลักใหญ่ๆในการพิจารณา 3 ประการ ดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้อำนวยการร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสกับเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ไม่ถือว่าเป็นกิจกรรมทางปกครองของฝรั่งเศส
2. กิจกรรมที่เป็นข้อตกลงที่รัฐฝรั่งเศสทำกับรัฐต่างชาติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากกองทัพของรัฐต่างชาติ โดยที่เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นกิจกรรมทางปกครองของฝรั่งเศส
3. กิจกรรมที่ภายใต้บังคับของกฎหมายฝรั่งเศส (กฎหมายภายใน) และกฎหมายระหว่างประเทศพร้อมๆกัน นั้นต้องพิจารณาถึงหลักการย้อนส่งของกฎหมายระหว่างประเทศ
3.2.2 ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำในทางนิติบัญญัติ
ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำในทางนิติบัญญัติ คือ เป็นการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติในขอบข่ายการตราพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 มาตรา 34 ได้แยกเรื่องที่อยู่ในขอบการตราพระราชบัญญัติ ของรัฐสภา ออก 2 ประเภท คือ
1. ประเภทที่มีพระราชบัญญัติ กำหนดเกณฑ์ เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและหลักประกันขั้นมูลฐานที่ให้แก่พลเมืองในการใช้เสรีภาพสาธารณะ พันธะของพลเมืองทั้งในแง่ร่างกายและทรัพย์สินในการป้องกันประเทศ สัญชาติ สภาพและความสามารถของบุคคล การสมรส เป็นต้น
2. ประเภทที่พระราชบัญญัติวางหลักพื้นฐาน เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบทั่วไปในการป้องกันประเทศ การปกครองตนเองขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษากรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน เป็นต้น
ข้อสังเกต ฝ่ายบริหารก็สามารถออกกฎหมายในลักษณะพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และรวมไปถึง กฎ หรือ กฎหมายลำดับรองที่ออกมาอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติ ล้วนอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ดังนี้
1. กำหนดว่า เรื่องที่นอกเหนือจากเรื่องที่อยู่ในขอบเขตของพระราชบัญญัติ เป็นเรื่องของการออกกฎหมายของฝ่ายบริหาร ถือว่าเป็นการกระทำทางปกครองกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติที่ออกมาในขอบเขตของฝ่ายบริหาร ย่อมถูกแก้ไขโดยกฤษฎีกาที่ออกโดยได้หารือกับกองเซย์ เดตาท์แล้วได้ (ซึ่งถือว่าอยู่ในขอบเขตของศาลปกครอง) แต่ถ้าออกมาหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว จะแก้ไขโดยกฤษฎีกาได้ก็ต่อเมื่อคระตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวอยู่ในขอบเขตของ การออกกฎหมายของฝ่ายบริหารก่อน
2. กำหนดให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมายในรูปพระราชกำหนด
3. กำหนดให้ฝ่ายบริหาร ออก กฎ หรือกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติ
3.2.3 ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางสภา
จากแนวคำพิพากษาศาลปกครองฝรั่งเศสหรือศาลยุติธรรมนั้นถือว่าการกระทำทางสภาไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของศาล เช่นเดียวกันกับการกระทำทางรัฐบาล ซึ่งพิจารณาดังนี้
1. สถาบันที่มีลักษณะของการกระทำทางสภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาและทั้งสองสภารวมกันเรียกว่า รัฐสภา
2. การกระทำรัฐสภาเช่น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือ การกระทำของแต่ละสภา เช่น การวางข้อบังคับการประชุม มติ วาระการประชุม การแต่งตั้ง จึงเป็นการกระทำทางสภา
แต่อย่างไรก็ตามได้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1958 กฎหมายฉบับนี้ออกมาเป็นข้อยกเว้นว่าด้วยการกระทำทางรัฐสภา ในความเสียหายทุกประเภทที่เกิดจาก “บริการสาธารณะทางสภา” ซึ่งคำว่า บริการสาธารณะทางสภา หมายถึง กิจกรรมในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติการที่กระทำโดยบุคลากรทางปกครองสภา บุคลากรนี้ก็คือ ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกสภา แต่เป็นผู้มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ (ข้าราชการสภา) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือสภาในการจัดดำเนินกิจการภายใน (เช่น การประชุม) และในการบริหารงานบุคคลและบริหารงานทั่วไปของบริการสภา ส่วนประธานสภานั้นถือเป็นองค์กรบริการทางสภา ได้เช่นกัน คือ เป็นผู้บังคับบัญชาบุคลากรทางปกครองสภา ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องการบริหารในการบริการสภา กระทำนั้นถือว่าเป็นเรื่องบริการสาธารณะทางสภาและหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ต้องรับผิด แม้จะเป็นเรื่องที่เกิดสัญญาก็ตาม ศาลปกครองฝรั่งเศสก็มีอำนาจพิจารณา
3.3.4 ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางรัฐบาล
การกระทำทางรัฐบาล (acts of government) เป็นการกระทำที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางศาลของฝ่ายปกครอง เป็นการกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือระหว่างรัฐบาลกับอำนาจต่างประเทศ
คำพิพากษาของศาลระงับความขัดแย้งและกองเซย์ เดตาท์ ในเรื่อง การกระทำทางรัฐบาล ใช้หลักว่าการกระทำใดจะเป็นการกระทำทางรัฐบาลก็ต่อเมื่อศาลระงับความขัดแย้งและกองเซย์ เดตาท์ เห็นว่าการกระทำนั้นเป็นเพราะเหตุผลแห่งความเหมาะสม แยกออก ได้ 2 กรณี ดังนี้
1. การกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภา ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
1) การดำเนินการเบื้องต้นเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา เช่น การออกกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการเกี่ยวกับการลงทะเบียนประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
2) การมีส่วนร่วมในกระบวนบัญญัติกฎหมายของรัฐบาล เช่น การเสนอร่างกฎหมาย การถอนร่างกฎหมาย ความล่าช้าในการจัดให้มีการโหวตในร่างกฎหมาย เป็นต้น
3) การประกาศใช้พระราชบัญญัติ เช่น การกล่าวหาพระราชบัญญัติที่มีกฤษฎีกาประกาศใช้นั้นมีเนื้อหาไม่ตรงกับร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากสภา เป็นต้น
4) การกระทำของประธานาธิบดี เช่น การตัดสินใช้มาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส (ค.ศ. 1958) หรือการเสนอร่างกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งให้ประชาชนลงประชามติ เป็นต้น
2. การกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีคำพิพากษาศาลถือว่า การกระทำทางรัฐบาล นั้นศาลไม่มีอำนาจ เพราะเป็นเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งศาลภายในไม่มีอำนาจพิจารณา ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1) การกระทำเกี่ยวกับการจัดทำหรือเลิกสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของรัฐกับรัฐ เช่น การดำเนินเจรจาทางการทูตต่างๆ ตลอดจนกรตีความอนุสัญญาระหว่างประเทศของรัฐบาล การปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นต้น
2) การกระทำทางผู้แทนทางทูตหรือกงศุลของฝรั่งเศสในต่างประเทศ เช่น การปฏิเสธไม่ให้ความคุ้มครองแก่คนฝรั่งเศส หรือการให้ความคุ้มครองไม่เพียงพอ เป็นต้น
3) การกระทำเกี่ยวกับการดำเนินคดียังศาลโลก เช่น การปฏิเสธไม่เสนอข้อพิพาทให้ศาลโลกตัดสิน เป็นต้น
4) การกระทำเกี่ยวกับสงคราม ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำในดินแดนต่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ไม่ใช่การกระทำทางรัฐบาลและรัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบอย่างใด เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
3.2.5 ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของศาลยุติธรรม
ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของศาลยุติธรรมที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง หรือ กองเซย์ เดตาท์ นี้เพื่อหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างศาลและเพื่อที่จะพิทักษ์ไว้ซึ่งความเป็นความเป็นอิสระขององค์กรศาลยุติธรรม ซึ่งการไม่มีอำนาจควบคุมทางปกครองของศาลปกครอง หรือกองเซย์ เดตาท์ ในเรื่องการดำเนินบริการสาธารณะทางศาลยุติธรรม มีดังนี้
1. การกระทำที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดี พิพากษาคดี ขององค์กรศาลยุติธรรม กล่าวคือ ศาลปกครองหรือกองเซย์ เดตาท์ ไม่มีอำนาจไปควบคุมคำพิพากษาหรือคำสั่งในทางตัดสินชี้ขาดคดีความขององค์กรศาลยุติธรรมทั้งหลายได้
2. การกระทำที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาทั้งหลายที่ไม่อาจแยกออกได้จากการกระทำที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาขององค์กรศาลยุติธรรม เช่น การออกหมายจับ การออกหมายขัง เป็นต้น
3. การกระทำที่เกี่ยวกับกระบวนการเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษในทางอาญาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอำนาจหน้าที่ ศาลปกครองจะไม่มีอำนาจควบควบคุม
แต่อย่างไรก็ตามศาลปกครองหรือกองเซย์ เดตาท์ ยังมีอำนาจควบคุมวิธีเกี่ยวกับการจัดระเบียบของหน่วยงานศาลยุติธรรมได้ เช่น เรื่องการหยุดดำเนินงานของศาล การยุบเลิกศาล เป็นต้น ตลอดจนวิธีการที่เกี่ยวกับสถานะของผู้พิพากษา เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนขั้น การลงโทษทางวินัย เป็นต้น
4. ลักษณะทั่วไปของวิธีพิจารณาคดีปกครอง
วิธีพิจารณาคดีปกครองใน ประเทศฝรั่งเศส ส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างหลักกฎหมายของศาลปกครอง หรือกองเซย์ เดตาท์ เพื่อประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันที่ดำเนินการโดยฝ่ายปกครอง จำต้องได้รับการคุ้มครองจากากรกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง ซึ่งอาจจำแนกหลักวิธีพิจารณาคดีปกครอง ของประเทศฝรั่งเศส ออกได้ 5 ประการ ดังนี้
4.1 หลักวิธีพิจารณาแบบไต่ส่วน
หลักวิธีพิจารณาคดี นั้นสามารถแยกออกได้ 2 ระบบ คือ ระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจหลักพิจารณาคดี ทั้ง 2 ระบบ เพื่อจะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในระบบพิจารณาคดีของศาลปกครอง ดังนี้
ระบบกล่าวหา หมายถึง กระบวนการพิจารณาคดีที่มีการกล่าวอ้างพยานหลักฐานต่อศาล โดยถือว่าพยานหลักฐานทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุเป็นของคู่กรณี ซึ่งนำมาสู่ศาลโดยเฉพาะ และถือว่าเป็นพยานหลักฐานของฝ่ายที่นำส่งคู่กรณีที่อ้างพยานหลักฐานทั้งหลายนั้นต้องพิสูจน์ให้เจือสมและยืนยันข้อเท็จจริงแห่งคดี คู่กรณีซึ่งมิได้อ้างพยานจะสืบหักล้าง ทำให้พยานหลักฐาน นั้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเชื่อถือได้ การนำสืบพยานหลักฐานที่เป็นพยานบุคคล จะมีวิธีซักถาม คัดค้าน และถามติง ระบบกล่าวหานี้ประเทศไทยก็ใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและทางอาญาคือ ศาลสถิตยุติธรรม ในการพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญา
ระบบไต่สวน หมายถึง กระบวนการพิจารณาคดีที่ตกเป็นหน้าที่ของศาลแต่ผู้เดียวที่จะสืบค้นข้อเท็จจริงแห่งคดี พยานหลักฐานทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุที่คู่กรณีนำไปสู่ศาล จะไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่จะถือว่าเป็นพยานหลักฐานของศาลทั้งสิ้น ศาลจะทำหน้าที่พิสูจน์พยานหลักฐานที่นำไปสู่ศาลนั้น ว่าเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด การนำสืบพยานบุคคล ศาลเป็นผู้ซักถามแต่ผู้เดียว แต่ไม่มีการถามด้าน หรือถามติง
ดังนั้นหลักวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองจะใช้ระบบไต่สวน ด้วยเหตุผลที่ใช้ระบบไต่สวนเพราะ รัฐกับเอกชนนั้นมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน เอกชนจะเสียเปรียบถ้าใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา เพื่อให้เกิดเป็นธรรมแก่คู่ความที่เป็นเอกชน
แต่อย่างไรก็ตาม แม้คดีปกครองจะใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหาปนอยู่ด้วย ที่เห็นได้ชัด เช่น ถ้าไม่มีการนำเสนอเรื่องราวหรือคดีโดยผู้เดือดร้อนเสียหายแล้ว ศาลย่อมไม่มีอำนาจไปพิจารณาเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอเพิกถอน การกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย เป็นต้น
4.2 หลักวิธีพิจารณาแบบกึ่งลับ
การพิจารณาดำเนินการของฝ่ายปกครองในประเทศฝรั่งเศสแต่ดั้งเดิมนั้นมีลักษณะของการดำเนินการแบบกึ่งลับ กล่าวคือ การดำเนินการก่อนจะมีการกระทำทางปกครองจะไม่เป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณะ และเมื่อมีการกระทำแล้วจะมีการแจ้งให้สาธารณะทราบก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นมีลักษณะบังคับทั่วไป วิธีพิจารณาคดีปกครองก็ได้รับอิทธิพลจากลักษณะดังกล่าวด้วย เช่น การตรวจสอบเบื้องต้นในมูลคดีจะไม่เป็นที่เปิดเผย ให้สาธารณะทราบ เพียงให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดีเท่านั้นที่มีสิทธิจะขอเอสารหลักฐานต่างๆ นอกจากนี้ การพิจารณาก็ไม่เปิดเผย เว้นแต่จะมีกฎหมายยกเว้น
4.3 หลักวิธีพิจารณาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลัก
เนืองจากคดีปกครอง เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการฝ่ายปกครอง การออกคำสั่งของฝ่ายปกครองส่วนมากจะออกเป็นคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร มากกว่าคำสั่งออกเป็นวาจา เพราะในระบบราชการจะใช้ระบบลายลักษณ์เป็นอักษร เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองนั้นมีอำนาจเหนือกว่าเอกชนจึงต้องมีหลักการที่แน่นอน ชัดเจน ดังนั้นการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครองจึงต้องพิจารณาคดีปกครองที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลัก
4.4 หลักวิธีพิจารณาที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ในประเทศฝรั่งเศส การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีปกครองนั้นจะถูกกว่าหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง คือ
1. การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง มีหลายกรณีที่ไม่จำเป็นต้องมีทนายความ เช่น การร้องขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการที่ไม่บังคับให้มีทนาย (จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าทนาย) ก็เพื่อให้บุคคลเข้าถึงศาลได้โดยง่าย เป็นต้น
2. ค่าธรรมเนียมศาลปกครองถูกกว่าศาลยุติธรรม
3. การส่งคำคู่ความโดยทั่วไปก็ทำโดยวิธีจดหมายลงทะเบียนหรือการแจ้งให้บุคคลทราบ เช่น วิธีการที่ฝ่ายปกครองใช้ปฏิบัติ ไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ธุรการของศาล ทำให้ค่าจ่ายลดลง เป็นต้น
4.5 หลักวิธีพิจารณาที่ได้รับอิทธิพลจากการเข้ามาเกี่ยวข้องของฝ่ายปกครอง
ในคดีปกครองจะพบถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเอกชนกับฝ่ายปกครองที่ใช้อำนาจรัฐ คือ ในการดำเนินการปกครอง ฝ่ายปกครองจะมีอำนาจเหนือกว่าเอกชน จะมีอำนาจเปลี่ยนสภาพการณ์ทางกฎหมายได้ โดยการกระทำฝ่ายเดียว ดังนั้นคดีปกครองมักเป็นผู้ถูกกล่าวหาและเป็นผู้ที่ปกป้องประโยชน์สาธารณะ ในขณะที่เอกชนมักเป็นผู้ฟ้องร้องคดีปกครอง การฟ้องร้องคดีปกครองไม่เป็นเหตุให้การดำเนินของฝ่ายปกครองนั้นหยุดชะงัก คือ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของฝ่ายปกครอง จะหยุดดำเนินการหรือยกเลิกเพิกถอนก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาล
หนังสือและเอกสารวารสารอ่านปกระกอบ
โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง “การศึกษาแนวใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2549
โภคิน พลกุล “ปัญหาชั้นสูงทางกฎหมายมหาชน 2 : คดีปกครองในฝรั่งเศส” เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา น.741 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาค 2 /2528 อัดสำเนา
อุตสาห์ โกมลปาณิก “กฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง,2537
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過164萬的網紅จดอ - JUSTดูIT.,也在其Youtube影片中提到," ข้ า ศึ ก ที่ แ ท้ จ ริ ง ไ ม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ น ส ม ร ภู มิ " เมื่อทหารมือพระกาฬ 5 คน ต้องเจอกับเหตุการณ์ลึกลับชวนขวัญผวา จากการสู้รบกับกองทัพนาซี สู...
「การสมรส」的推薦目錄:
- 關於การสมรส 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於การสมรส 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
- 關於การสมรส 在 tanaiwirat.com ทนายวิรัช Facebook 的精選貼文
- 關於การสมรส 在 จดอ - JUSTดูIT. Youtube 的最佳解答
- 關於การสมรส 在 รายการ กฎหมายน่ารู้ : การสมรส - YouTube 的評價
- 關於การสมรส 在 ถ้าคู่สมรสอายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 20 ... 的評價
การสมรส 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
ส่วนตัว กรูสนับสนุนการจดทะเบียนสมรสของ lgbt นะ
แต่ดูคลิปตอนเขาทำงี้กันแล้ว มันยังไงๆชอบกล
คือไม่ใช่แค่ lgbt นะ ต่อให้ ช ญ มาทำกันงี้ในสถานที่ราชการ กรูว่ามันก็ดูไม่ค่อยดีนะ
จริงๆแค่มายืนโอบ หรือจับมือกัน ภาพน่าจะออกมาดีกว่า ไม่น่าทำงี้เลย
LGBT จูบปากกลางสภา เรียกร้องแก้ กม.สมรส เปิดทางกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ
.
12.50 น. กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ภาคประชาชน ยื่นหนังสือต่อ คณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ให้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการแก้ไข ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องเงื่อนไขการสมรส เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิทางเพศความเท่าเทียมกัน
.
ขณะที่ นางมุกดา พงษ์สมบัติ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวรับพิจารณาด้วยความยินดี ย้ำว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นจะเป็นมิติใหม่ในสภาฯ เพราะมนุษย์ทุกคนต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน ยืนยัน คณะกรรมาธิการชุดนี้จะไม่ทำเฉพาะเรื่องการสมรสเท่านั้นแต่จะผลักดันเรื่องความเท่าเทียมกันของทุกเพศทุกวัยในทุกเรื่อง ภายหลังการแถลงข่าวกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการจูบ (เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2562)
.
PPTV PHOTO #ชินชมดี
#PPTVHD36 #PPTVNews #LGBT #การสมรส #ความเท่าเทียมทางเพศ #มุกดาพงษ์สมบัติ #สภา
การสมรส 在 tanaiwirat.com ทนายวิรัช Facebook 的精選貼文
เห็น #ณเดชน์ญาญ่า
รูปนี้แล้ว ❤️😊
ทำให้นึกถึงกฎหมาย
ครอบครัว
- การหมั้น ทำได้เพียงแค่
ส่งมอบของหมั้น
- การสมรส ทำได้เพียง
แค่ไปจดทะเบียนสมรส
โดยไม่ต้องจัดงานแต่ง
tanaiwirat.com
การสมรส 在 จดอ - JUSTดูIT. Youtube 的最佳解答
" ข้ า ศึ ก ที่ แ ท้ จ ริ ง ไ ม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ น ส ม ร ภู มิ "
เมื่อทหารมือพระกาฬ 5 คน ต้องเจอกับเหตุการณ์ลึกลับชวนขวัญผวา จากการสู้รบกับกองทัพนาซี สู่การเผชิญหน้าเรื่องราวเหนือธรรมชาติอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นภารกิจสุดลุ้นระทึก..เฮี้ยนสุดขีด!
จากผู้เขียนบท Final Destination 2 และ The Butterfly Effect
GHOSTS of WAR โคตรผีดุแดนสงคราม
10 ธันวาคม ในโรงภาพยนตร์
#จดอ #JUSTดูIT #GhostsOfWar
#โคตรผีดุแดนสงคราม #GoldenAEntertainment
ติดตามเพจของเรา https://facebook.com/JustDooItTH
การสมรส 在 ถ้าคู่สมรสอายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 20 ... 的推薦與評價
ทะเบียนสมรส” REGISTRATION OF MARRIAGE การจดทะเบียนสมรสมีความสำคัญทางกฎหมาย เพราะใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการยืนยันสิทธิต่างๆ... ... <看更多>
การสมรส 在 รายการ กฎหมายน่ารู้ : การสมรส - YouTube 的推薦與評價
รายการกฎหมายน่ารู้ ออกอากาศทุก วันเสาร์ - อาทิตย์ 15.00-15.30 น. ดำเนินรายการโดย ศุภรัตน์ นาคบุญนำ และ พ.ต.อ.บุญฤทธิ์ ชวีวัฒน์ (ข้าราชการบำนาญ / ทนายความ) ... ... <看更多>