เคยไหม... เขียนโค้ดแล้วติด Bug แต่ไม่รู้จะแก้ไงดี แล้วก็วนลูปอยู่ตรงนั้นเป็นวัน? 🤔 ไม่ก็รู้สึกว่า เราเขียนโค้ดนานกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ ที่เจอโจทย์หรือปัญหาเดียวกัน? 😔
.
👉 ปัญหาพวกนี้จะลดลง ถ้าเรา “ฝึกอ่านโค้ด”
.
เพราะในยุคที่สื่อการสอนออนไลน์เฟื่องฟูแบบนี้ ไม่ว่าใครก็เขียนโค้ดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือประสบการณ์มาก่อน แต่ “การอ่านโค้ด” นี่ตรงข้ามกับการเขียนเลย เพราะจะอ่านเข้าใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของคนอ่านเป็นหลัก
.
เอาล่ะ วันนี้ก็เลยจะพาทุกคนไปดู 5 ข้อดีของการอ่านโค้ด ที่ได้อะไรมากกว่าเขียนอย่างเดียว ถ้าพร้อมก็ไปกัน ! 🔥
.
.
📍 1) ออกจากกรอบแนวคิดเดิม ๆ
.
ทุกคนมีความคิดที่ต่างกัน รวมถึงโปรแกรมเมอร์ด้วย ถึงเจอโจทย์เดียวกัน ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะเขียนโค้ดออกมาเหมือนกัน ดังนั้น การอ่านโค้ดจึงเป็นวิธีที่ดีมากในการศึกษา ทำความเข้าใจความคิดของโปรแกรมเมอร์คนอื่น รวมถึงได้วิธีเขียนโค้ด/แก้ปัญหาเด็ด ๆ ที่เราอาจคาดไม่ถึง !
.
ยิ่งเราอ่านเยอะแค่ไหน กรอบความคิดเราก็จะยิ่งขยายมากขึ้น นอกจากจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ไปปรับใช้กับการเขียนโค้ดแล้ว เราอาจจะคิดอะไรที่เจ๋ง ๆ ออกอีกด้วย แถมพอรู้เทคนิคเยอะ ๆ เราก็จะประหยัดเวลาเขียนโค้ดขึ้นไปอีก ถ้าปัญหานั้นเราเคยอ่านวิธีแก้มา 😂
.
.
📍 2) เราจะเขียนโค้ดได้ Clean มากขึ้น
.
บางคนอาจจะรู้สึกว่า “เขียนโค้ดไม่ดีแล้วไง แค่ใช้ได้ก็พอไหม?” ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ ก็ขึ้นอยู่กับโปรเจกต์ที่เราทำ ถ้าโค้ดชุดนั้นเป็น Prototype ที่ทำขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าโปรเจกต์นั้นจะเป็นประมาณไหน มันก็อาจไม่ได้เป็นไรมากนัก เพราะไม่ได้หยิบโค้ดชุดนี้ไปใช้ใน Product จริง
.
แต่สมมติว่าโค้ดชุดนั้น อยู่ในโปรเจกต์ที่มีคนอื่นทำกับเราด้วย แถมต้อง Maintain ในอนาคตล่ะ? 🤔 การเขียนโค้ดที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ก็ย่อมดีกว่ากับเคสแบบนี้
.
แล้วถ้าเราเป็นคนนึงที่รู้สึกว่า การเขียนโค้ดให้อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน ราวกับถูกวางไว้มาเป็นอย่างดีนั้นมันช่างยากซะเหลือเกิน... การอ่านโค้ดเนี่ยแหละ คือจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราเขียนโค้ดอ่านง่ายได้ !
.
การอ่านโค้ดของคนอื่น (ที่เขียนโค้ดได้ดี) จะทำให้เราได้เสพโค้ดที่มีคุณภาพ และถ้าเราอ่านบ่อยจนเป็นนิสัย ก็เหมือนเราได้ศึกษาโค้ดคุณภาพแบบซ้ำ ๆ จนถึงจุดที่เราอ่านมากพอประมาณนึง ถ้าเจอโค้ดที่รันไม่ผ่าน เราก็จะรู้ว่าทำไมโค้ดนั้นรันไม่ผ่าน กลับกันถ้าเจอโค้ดที่รันผ่าน เราก็จะเข้าใจเหมือนกันว่าทำไมโค้ดนี้จึงรันผ่าน 👏
.
สรุปแล้ว การอ่านโค้ดจะทำให้เราเข้าใจว่า เราควรทำยังไงกับโค้ดตัวเอง ถ้าอยากให้โค้ดนั้นมัน Clean และมีคุณภาพนั่นเอง
.
.
📍 3) เพิ่มสกิล Analytical Intelligence
.
“Analytical Intelligence” หรือแปลไทยตรง ๆ ว่า ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ 😎 คือความสามารถในการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยโฟกัสที่การย่อยข้อมูลเหล่านั้น เช่น ถ้าเจอปัญหา ทักษะนี้จะช่วยหาจุดเริ่มต้น ขุดไปจนถึงสาเหตุของปัญหา แล้วคิดวิธีแก้ พร้อมประเมินผลที่คาดหวังจะได้รับ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหานี้
.
และนี่เป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ควรจะมี และจำเป็นยิ่งขึ้น ถ้างานที่ทำมีความซับซ้อน ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มทักษะนี้ได้ ก็คือ “การอ่านโค้ด” นั่นเอง เพราะตอนที่เราต้องอ่านและพยายามทำความเข้าใจโค้ดตรงหน้า คือช่วงเวลาแห่งการฝึกใช้ Analytical Intelligence กว่าจะเข้าใจโค้ดเขา ก็ต้องวิเคราะห์ทั้งปัญหาที่เขาจะแก้ ตามด้วยการวิเคราะห์โค้ดที่เขาใช้ แล้วไปเทียบกับผลลัพธ์ตอนรันได้อีก โอ้โห นี่แหละ ! เวลาทองแห่งการอัปความฉลาด !! 📈
.
.
📍 4) ฝึกสกิล Debug ไปในตัว
.
ชาว BorntoDev เคยเจอ Error หรือ Bug ตอนเขียนโปรแกรมกันไหม? …เชื่อแหละว่าต้องเคยกันสักครั้ง แล้วเพื่อน ๆ คิดว่าคนที่โปรแกรมเมอร์ที่แก้ Error หรือ Bug กันเก่ง ๆ เขามีอะไรที่คนอื่นไม่มี? 🤔
คำตอบก็คือ ทักษะการ Debug นั่นเอง (ก็ใช่สิแอด จะแก้ Bug ก็ต้องมีทักษะแก้ Bug ไม่ใช่เหรอ !)
.
ทุกคนอย่าเพิ่งเลื่อนโพสต์หนีแอด ;-; ! ที่แอดบอกมันฟังดูเบสิกใช่ไหม? แต่ความจริงทักษะการ Debug เป็นทักษะที่ต้องใช้ประสบการณ์เยอะ แถมยังต้องฝึกเป็นประจำอีกต่างหาก ซึ่ง “การอ่านโค้ด” ช่วยเราได้อีกแล้ว
.
Debugging ทักษะนี้สร้างได้ด้วยมือเรา 🙌 เพราะประสบการณ์ไม่ได้มาจากในห้องเรียนหรือการทำโปรเจกต์จริงเท่านั้น แต่เราสามารถอ่านโค้ดของคนอื่น แล้วสวมบทเป็นนัก Debug 🧑💻 เพื่อลองปรับและแก้ Error ของโค้ดนั้นได้ ในทางกลับกัน ถ้าไปเจอโค้ดที่คนเขียน Debug เก่งมาก เราก็สามารถใช้การอ่านเพื่อศึกษาแนวคิดของเขาได้เช่นกัน
.
.
📍 5) อ่าน Source Code เร็วขึ้น
.
การอ่าน Source Code ได้ไว เป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ควรจะมี และยิ่งอ่านได้ไวแค่ไหน ก็ยิ่งเข้าใจโปรเจกต์ที่ต้องรับผิดชอบไวมากขึ้น ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าตัวเองยังอ่าน Source Code ไม่เร็ว หรืออยากพัฒนาสกิลนี้ ก็ต้องฝึกอ่านโค้ดให้เป็นนิสัย เพราะโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์จะอ่านโค้ดได้เร็วขึ้นนั่นเอง~ และทักษะนี้จะเป็นประโยชน์กับชีวิตโปรแกรมเมอร์ของคุณแน่นอน 😊
.
.
👉 แอดอยากบอกทุกคนว่า อย่ากลัวที่ต้องเริ่มฝึกอ่านโค้ด แอดรู้ว่ามันยากและต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราอยากให้เรื่องไหนง่ายขึ้น เราก็ฝึกฝน ทำมันบ่อย ๆ จนเข้าใจใช่ไหมล่ะ? เพราะมืออาชีพคือคนที่รอบรู้ในอาชีพนั้นทั้งมุมที่สำเร็จและผิดพลาด แล้วเพื่อน ๆ จะกลายเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพในอนาคตได้แน่นอน แอดจะเป็นกำลังใจให้ตรงนี้นะคะ
.
🔖 ขอบคุณข้อมูลจาก
https://betterprogramming.pub/6-reasons-why-reading-code-is-more-important-than-writing-21e7b0b62203
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
#การเขียนโปรแกรม #การเขียนโค้ด #Coding #BorntoDev
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過12萬的網紅prasertcbs,也在其Youtube影片中提到,เข้าใจการทำงานของ php tag การเขียนโค้ด php ที่ไม่ได้ฝังอยู่ภายใต้ html...
การเขียนโค้ด 在 Aur's Diary - อ๋อ ไดอารี่ Facebook 的最讚貼文
"สว. ทันโลก" เรื่อง การเขียนโค้ด(coding)
และตอบคำถามเรื่อง อาชีพในอนาคต
เชิญรับชมค่ะ🎬🧩🎥🎞🧮
การเขียนโค้ด 在 BorntoDev Facebook 的最佳貼文
🔥 การเขียนโค้ด
เหมือนการเรียนภาษาต่างประเทศจริงหรือ ?
.
กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมองขณะเขียนโค้ด ที่ทุกคนอาจไม่เคยรู้ !
.
🚀 ตามปกติแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะเปรียบการเขียนโค้ดเป็นการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาใหม่ แต่ในมุมมองของสมองเองกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น !!!
.
🧠 นักประสาทวิทยาจาก MIT ได้ค้นพบว่าการทำงานของสมองในขณะที่เขียนโค้ดนั้น แตกต่างจากการประมวลผลทางภาษาหรือการทำโจทย์คณิตศาสตร์
.
โดยนักวิจัยได้ทำการสแกน fMRI (Function Magnetic Resonance Imaging) กับสมองของคนหนุ่มสาวที่มีเข้าร่วมชาเล้นจ์การเขียนโค้ดที่ใช้ทั้งภาษา Python และภาษา ScratchJr เพื่อดูว่าส่วนใดของสมองที่เกิดการเรืองแสงขึ้นกันแน่
.
👉 ซึ่งผลลัพธ์นั้นน่าสนใจมาก เพราะแทบไม่เห็นการตอบสนองใด ๆ ในส่วนประมวลผลภาษาของสมองเลย !
.
แต่ดูเหมือนว่าการเขียนโค้ดจะเป็นการเปิดใช้งาน “Multiple Demand Network” ในสมองของเรา โดยเครือข่ายส่วนนี้จะมีหน้าที่ในการ "ทำงานด้านความรู้ความเข้าใจที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือ การแก้ปริศนาอักษรไขว้"
.
⭐ แต่ถึงจะบอกอย่างนั้น เมื่อมีการศึกษาโดยละเอียด ที่เปรียบเทียบสมองขณะเขียนโค้ดกับขณะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แล้ว กลับพบว่ารูปแบบการทำงานของสมองของทั้ง 2 กิจกรรมนั้นไม่ได้เหมือนกันไปซะหมด !
.
สำหรับการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เครือข่าย Multiple Demand จะแพร่กระจายไปทั่วกลีบสมองส่วนหน้าและส่วนข้าง โดยจะส่งผลกับสมองซีกซ้ายเป็นส่วนใหญ่
.
🏆 ในขณะที่การเขียนโค้ดนั้นจะทำให้เกิดการทำงานของเครือข่าย Multiple Demand ในสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา (การเขียนโค้ดด้วยภาษา ScratchJr จะเกิดการทำงานของสมองซีกขวามากกว่าซีกซ้ายเล็กน้อย)
.
ซึ่งมาหักล้างแนวคิดที่ว่าการเขียนโค้ดจะทำให้เกิดการทำงานของสมองแบบเดียวกับการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
.
✅ โดยสรุปแล้วก็คือ การเขียนโค้ดไม่เหมือนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ แต่ก็ไม่ใช่การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ซะทีเดียว ถึงจะมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน แต่การเขียนโค้ดก็ยังเป็นทักษะที่มีเอกลักษณ์ในตัวของมัน และควรค่าแก่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองของเรานั่นเอง !!!
.
📌 อ้างอิงข้อมูลจาก “Comprehension of computer code relies primarily on domain-general executive brain regions“ ผ่าน www.biorxiv.org
.
โดย Anna A. Ivanova, Shashank Srikant , Yotaro Sueoka, Hope H. Kean, Riva Dhamala, Una-May O’Reilly, Marina U. Bers, Evelina Fedorenko
.
😎 ต้องการอ่านงานวิจัยเพิ่มเติม (.PDF) : https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2020.04.16.045732v2.full.pdf
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
การเขียนโค้ด 在 prasertcbs Youtube 的最佳貼文
เข้าใจการทำงานของ php tag
การเขียนโค้ด php ที่ไม่ได้ฝังอยู่ภายใต้ html
การเขียนโค้ด 在 Codekids เพราะทุกการเรียนรู้สามารถโค้ดดิ้งได้ - Facebook 的推薦與評價
8 เหตุผล ว่าทำไมการเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะเรียนรู้สำหรับเด็ก การเขียนโปรแกรมช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา นอกจากสอนให้เด็กเขียนโปรแกรมแล้ว... ... <看更多>