การควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองของประชาชนโดยกฎหมายข้อมูลข่าวสาร
รศ.สทธิกร ศักดิ์แสง
สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารในกระบวนการกระทำทางปกครอง จะทำให้ฝ่ายปกครองระมัดระวังในการใช้อำนาจมากขึ้น เพราะถือเป็นของการควบคุมตรวจสอบจากประชาชน ดังนี้
1.เหตุผลของการมีกฎหมายของข้อมูลข่าวสารทางราชการ
เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารทางราชการ คือ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 ได้ให้เหตุผลของกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆของรัฐ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่ประชาชน จะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้ โดยถูกต้องกับความเป็นจริงอันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรับบาลของประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่เปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกป้องรักษาผลประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่ง ด้วยประกอบกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายนี้
2.ขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
ขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีข้อพิจารณา อยู่เรื่องใหญ่ๆ คือ ข้อมูลข่าวสารของราชการกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ดังนี้
2.1 ข้อมูลข่าวสารของราชการ
เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ จะกล่าวถึง คำนิยาม วิธีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ดังนี้
2.1.1 คำนิยามข้อมูลข่าวสาร
เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ จะมีคำนิยามความหมาย แยกคำนิยามออกมา คือ “ข้อมูลข่าวสาร” กับ “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ สิ่งที่สื่อความหมายนั้นจะทำได้ให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งใดๆไม่ว่าเป็นการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆและไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปแบบเอกสาร แฟ้มรายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏ
2. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารอยู่ในครอบครองหรือควบคุมของหน่วยของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับเอกชน
2.1.2 วิธีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
เนื่องจากข้อมูลข่าวสารของราชการมีอยู่หลายประเภทแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ มีความสำคัญและมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดประเภทข้อมูลข่าวสารของราชการ 3 ประเภทดังนี้
1. การเปิดเผยโดยการประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดประเภทที่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควรให้ประชาชนรับรู้ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลพื้นฐานที่กฎหมายกำหนดไปลงตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
1)โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่าง กฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5)ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2.ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดให้จัดให้มีการเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ ข้อมูลข่าวสารนอกเหนือจากประเภทที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นยังข้อมูลข่าวสารบางประเภทมีความสำคัญรองลงมาซึ่งจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนรับรู้เช่นกัน ซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ โดยคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีสถานที่สำหรับประชาชนสามารถใช้ในการค้นหาและศึกษาข้อมูลข่าวสารของราชการได้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ ดังนี้
1)ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
2)นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 7 (4)
3)แผนงาน โครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
4)สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาด ตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
5) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งส่งผลกระทบถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชน
6) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรค 2
7) มติคณะรัฐมนตรีหรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้ระบุรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
3. ประเภทข้อมูลข่าวสารที่ต้องการเปิดเผยข้อมูลตามคำขอ ข้อมูลข่าวสารนอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือจัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูหรือค้นคว้า หากบุคคลใดประสงค์จะขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการ และคำขอของผู้นั้นระบุข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่เข้าใจตามสมควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายใน เวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
2.1.3 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ต้องเปิดเผย
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดข้อยกเว้นของข้อมูลข่าวสารของราชการที่เจ้าหน้าที่จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มี 2 กรณี ดังนี้
1.ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่สักการะของประชาชน ดังนั้นข้อมูลข่าวสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจก็ได้
2.ข้อมูลข่าวสารของราชการประเภทที่มีความสำคัญ ข้อมูลข่าวสารบางประเภทที่มีความสำคัญที่ต้องไม่เปิดเผยโดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าทีตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่
1)การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
2)การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้เสื่อมประสิทธิภาพไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์
3)ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
4)การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่ง
5) รายงานแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
6)ข้อมูลข่าวสารของราชการที่กฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผยหรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการเปิดเผยต่อผู้อื่น
7)การอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
2.2 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนี้จะกล่าวถึงความหมายหรือคำนิยาม การจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การตรวจดูข้อมูลข่าวสารส่วนบุคลเจ้าของข้อมูล ดังนี้
2.2.1 ความหมายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวบุคคล เช่น การศึกษา ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรมหรือประวัติทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้มมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่ายและให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรม
2.2.2 การจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดในการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ไว้ดังต่อไปนี้
1.ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
2.พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่กระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น
3.จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้
1) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
2) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
3) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
4) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
5) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อข้อมูล
6) แหล่งที่มาของข้อมูล
4.ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
5.จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
2.2.3 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล คือ หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในกรณีดังต่อไปนี้
1.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
2.เป็นการใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
3.การเปิดเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผนหรือสถิติหรือสำมะโนต่างๆซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น
4.เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้ผู้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
5.การเปิดเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
6.การเปิดเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย สืบสวน สอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
7. เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
8.การเปิดเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อศาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
9.กรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
2.2.4 การตรวจดูข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยเจ้าของข้อมูล
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในการครอบครองของหน่วยงานของรัฐได้วางหลักการสำคัญ คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะได้รู้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้โดยเมื่อบุคคลผู้นั้นมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้น และถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก็มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ ซึ่งในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามคำขอ บุคคลผู้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร
2.3 การคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของผู้ใดให้เจ้าหนาที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านนั้นได้ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
3.องค์กรตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดองค์กรหรือจัดตั้งองค์กรขึ้นมา 2 องค์กร คือ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกับคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับประชาชนที่ถูกหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ คือ ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผย บันทึกข้อมูลข่าวสารของบุคคลไว้ไม่ถูกต้องและไม่ยอมให้เจ้าของข้อมูลข่าวสารแก้ไข ด้งนี้
3.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่มาของและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ดังนี้
3.1.1 ที่มาของคณะกรรมข้อมูลข่าวสารของราชการ
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 23 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวน 14 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก จำนวน 9 คน
3.1.2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมข้อมูลข่าวสารของราชการ
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.สอดส่องและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
2.ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการที่ได้รับคำขอ
3.เสนอแนะนำในการตราพระราชกฤษฎีกาและออกกฎกระทรวงหรือระเบียบของคณะรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
4.พิจารณาและให้ความเห็นชอบเรื่องร้องเรียน กรณีหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารในราชกิจจานุเบกษา ไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ ไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารตามคำขอของบุคคล
5.ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าหรือเห็นว่าไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
6.จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
7.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
8.ดำเนินการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3.2 คณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
พระราชบัญญัติข้อมูลข่างสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆตามความเหมาะสมและมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.2.1 ที่มาของคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ที่มาของคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประกอบคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆตามความเหมาะสมซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยคณะกรรมการคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขาประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน และให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
3.2.2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
คณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งมีให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หรือมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านของผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผย
「การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล」的推薦目錄:
- 關於การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 กฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บังคับใช้วันนี้ (1 มิ.ย ... 的評價
- 關於การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล - PTTEP 的評價
- 關於การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | PTT Global Chemical 的評價
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล - PTTEP 的推薦與評價
บริษัทจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไปให้บุคคลใดโดยปราศจากความยินยอม และจะเปิดเผยตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการแจ้งไว้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นประโยชน์ ... ... <看更多>
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | PTT Global Chemical 的推薦與評價
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง และการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ จะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนหรือ ... ... <看更多>
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 在 กฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บังคับใช้วันนี้ (1 มิ.ย ... 的推薦與評價
วันนี้ (1 มิ.ย. 65) เป็นวันแรก ที่จะมีการบังคับใช้กฎหมาย PDPA เพื่อแก้ปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิ และข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ยินยอมให้เปิดเผย ... ... <看更多>