"ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ CPTPP โดยเฉพาะในประเด็นด้านการเกษตร"
เล็งๆ อยู่นาน ว่าจะลงมาเปลืองตัวพูดเรื่องนี้กับเขาด้วยดีไหม เพราะกระแสคัดค้านเรื่อง CPTPP นั้นก็แรงเหลือเกิน ไม่แพ้กับตอนเรื่องแบนสารเคมีทางการเกษตร (หรือตอนคัดค้าน GMO) ... แต่ถ้าไม่พูดอะไรได้บ้างเลย ก็เหมือนกับปล่อยให้พวก NGO กลุ่มเดิมๆ กลุ่มนั้น ออกมาสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนคนไทยได้ ... เลยขอพูดอะไรหน่อยแล้วกัน แต่ไม่เข้าไปตอบโต้ด้วยเหมือนสมัยก่อนแน่ๆ
CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก นั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับบริษัท CP แต่เป็นแค่ชื่อใหม่ของความตกลง TPP ที่ไทยเราเคยจะเข้าร่วม แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เข้า
ปัจจุบัน CPTPP มีประเทศเข้าร่วม 7 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และเวียดนาม มีประชากรกว่า 415.8 ล้านคน ( 6% ของโลก) โดยในปี 2562 ไทยมีการค้ากับ CPTPP 7 ประเทศนี้ รวม 1.14 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (23.6% ของการค้าไทยกับโลก)
การเข้าร่วม CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว มี GDP ขยายตัว 0.12% ( 1.33 หมื่นล้านบาท) การลงทุนขยายตัว 5.14% (1.48 แสนล้านบาท) มีตัวอย่างว่า ตั้งแต่มี CPTPP เวียดนามส่งออกไปประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้น 7.85% และสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 9.92% (ไทยส่งออกไป CPTPP เพิ่มขึ้นเพียง 3.23%)
แล้วยิ่งมีวิกฤตโรคโควิด-19 ก็ยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ไทยต้องหาพันธมิตรใหม่ๆ หรือเข้าร่วมความตกลงการค้า (เช่น CPTPP) เพื่อให้ไทยยังสามารถอยู่ในห่วงโซ่การผลิตโลก เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รายละเอียดของเอกสารข้อตกลง CPTPP ฉบับเต็มนั้น สามารถอ่านได้ที่
https://www.dtn.go.th/th/negotiation/category/5cff753c1ac9ee073b7bd20b ซึ่งมีรายละเอียดในเชิงกฎหมายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
ปัญหาคือกลุ่มเครือข่าย NGO ที่คัดค้านเรื่องนี้ มักจะนำเอาข้อมูลมาย่อแนะนำไปเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดๆ ดังเช่น เรื่องที่บอกว่า การเข้าร่วม CPTPP จะทำให้เกษตรกรไทยต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากนายทุนรายใหญ่ ห้ามเก็บเมล็ดพืชไปปลูกใหม่ ทำให้ต้นทุนการผลิตพืชผักของเกษตรกรแพงขึ้น จนไม่สามารถทำมาหากินได้อีก .... แต่ถ้าหยุดคิดดีๆ จะเห็นว่า สมาชิกหลายประเทศของ CPTPP ก็เป็นประเทศเกษตรกรรม ทำไมเขาถึงไม่มีปัญหากับเรื่องพวกนี้ ?
คำตอบคือ เพราะมันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นเลยครับ ... สังคมไทยแค่โดนวิธีการรณรงค์แบบเดิมๆ ของเครือข่าย NGO พวกนี้ ที่พูดความจริงไม่ครบทุกด้าน และสร้างสีสันให้เลวร้ายจนเกินความจริง
ตัวอย่างเช่น อ้างว่าจะมีบริษัทต่างชาติมาดึงเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมืองของไทยไปปรับปรุงดัดแปลงได้ (ซึ่งอันนี้จริง ตามหลักการค้าเสรีในข้อตกลง CPTPP) แต่ไม่อธิบายเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ปี 2542 ที่ให้สิทธิแก่หน่วยงาน เอกชน หรือนักวิจัยนำพันธุ์พืชไปปรับปรุงได้อยู่แล้ว
หรือเรื่องที่บอกว่า เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์พืชจากบริษัทเอกชนในราคาแพง (ซึ่งมันก็ไม่แปลก เพราะมันเป็นเมล็ดพันธุ์ดี ที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว) แต่ไม่ได้อธิบายเรื่องที่ว่า ไม่มีใครไปบังคับให้เกษตรกรต้องซื้อจากบริษัทไหน เขาสามารถเลือกซื้อจากบริษัทอื่นๆ ที่ราคาถูกกว่า (แต่คุณภาพต่ำกว่า) หรือรับฟรีจากที่ราชการแจกจ่าย (ซึ่งคุณภาพยิ่งต่ำลงไปอีก) ก็ได้
ส่วนที่บอกว่า บริษัทต่างชาติจะนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไปจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเองนั้น ก็ทำไม่ได้ครับ เพราะพันธุ์พืชพื้นเมืองได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอยู่แล้ว ... ที่เขาจะจดทะเบียนกัน ก็มีได้แต่เฉพาะตัวของพันธุ์พืชสายพันธุ์ใหม่ ที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์แล้วเท่านั้น
และจริงๆแล้ว เกษตรกรก็สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ เพียงแต่จะลักลอบนำมาผลิตขายเป็นเมล็ดพันธุ์เองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ตามแบบปกติเลยนะ .. เหมือนกับเราซื้อแผ่นซีดีภาพยนต์มาเปิดดูที่บ้าน หรือ ก๊อปปี้ไปดูที่ทำงาน ก็ได้ แต่ไม่ใช่ปั๊มแผ่นไปขายแข่งกับเจ้าของแผ่นหนังนั้น
ลองมาอ่านคำชี้แจงโดยละเอียดของเรื่องนี้ กันดูนะครับ จะเห็นว่ามันคนละเรื่องกัน กับที่แชร์ภาพการ์ตูนง่ายๆ นั้นแล้วทำให้เราตกใจกลัวกันไปหมดเลย ว่าจะเกิดหายนะกับเกษตรกรไทย (ทั้งๆที่มันไม่ใช่เรื่องจริง)
1. #ข้อกังวลเรื่องการห้ามเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไปปลูกต่อ
- ไม่ได้ห้ามเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชในกลุ่มพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์ป่าของพืชทุกชนิด รวมถึงสมุนไพร และพันธุ์การค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ไปปลูกต่อได้เหมือนเดิม
- มีข้อยกเว้นให้เกษตรกร สามารถเก็บพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการจดทะเบียนคุ้มครอง ไว้ใช้เพาะปลูกต่อในพื้นที่ของตนได้ และยังนำพันธุ์พืชใหม่นึ้ไปพัฒนาต่อยอด โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของพันธุ์ (ตาม UPOV 1991 Article 15)
- เมื่อซื้อเมล็ดพันธุ์มาอย่างถูกต้อง เกษตรกรมีสิทธิเพาะปลูก และจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากผลผลิตนั้น โดยไม่ผิดกฎหมาย และไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของพันธุ์
2. #ข้อกังวลเรื่องการผูกขาดเมล็ดพันธุ์แก่บริษัทเอกชน
- ไม่ได้เกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ให้แก่บริษัทเอกชนนั้น เนื่องจากคุ้มครองสิทธิแก่ผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ทั้งหมด ทั้งบริษัทเอกชน นักวิจัยภาครัฐ นักปรับปรุงพันธุ์พืชอิสระ นักศึกษา เกษตรกร หรือบุคคลทั่วไป ก็สามารถยื่นจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ได้
- ช่วยทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ทั้งหลายเพิ่มการวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชมากขึ้น มีพันธุ์พืชใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เกิดการแข่งขันด้วยเรื่องคุณภาพของพันธุ์ ไม่ให้จำกัดอยู่เฉพาะรายใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท
3. #ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
- ไม่มีข้อห้าม หรือลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ (Access and Benefit-Sharing: ABS) ไทยก็เป็นสมาชิกของอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) ซึ่งไทยก็มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์
4. #ข้อกังวลว่าเกษตรจะซื้อเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น
- เมล็ดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่ได้จดทะเบียนคุ้มครองอาจจะมีราคาแพงขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อพันธุ์พืชพื้นเมือง พันธุ์พืชป่า หรือพันธุ์การค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง
- ราคาเมล็ดพันธุ์ในตลาดจะถูกกำหนดด้วยความดีเด่นของพันธุ์ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ และผลผลิตตอบแทนที่ ซึ่งหากเกษตรกรเห็นว่าแพงไป ไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุน เกษตรกรก็จะไม่ซื้อและไปซื้อพันธุ์อื่นที่ถูกกว่าได้
- นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถเลือกใช้พันธุ์ของหน่วยงานรัฐได้ด้วย
- การมีพันธุ์พืชใหม่ๆ หลากหลาย ออกสู่ตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น ได้พันธุ์ที่ตรงกับตามความต้องการของตลาด
5. #ข้อกังวลเรื่องGMO
- ความตกลง CPTPP ไม่ได้กำหนดให้สมาชิกต้องปรับกฎหมายภายในประเทศในเรื่องสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) แต่อย่างใด ไม่ได้มีการบังคับเรื่องการเพาะปลูกพืช GMO แต่อย่างไร
จะเห็นว่า นี่แค่เรื่องเกี่ยวกับการเกษตรเรื่องเดียว ยังต้องอธิบายกันยาวขนาดนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่ถูกนำมาอ้างแบบผิดๆ (เช่น สิทธิบัตรยา) ... ซึ่งก็หวังว่า ถ้าใครสนใจด้วยจริงๆ ควรจะพยายามศึกษาข้อมูลเยอะๆ จากทุกด้าน .. อย่าแค่ตามกระแส ว่าต้องไปช่วยกันคัดค้าน ไม่งั้นจะตกขบวนคนดีไปกับเขาด้วยครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เอกสาร FAQ
https://www.upov.int/about/en/faq.html#QF30
ข้อมูลจาก https://thestandard.co/commerce-announced-cptpp-issue/
และ
https://www.dtn.go.th/th/news/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88-cptpp-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A5?cate=5cff753c1ac9ee073b7bd1c5
「ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ」的推薦目錄:
- 關於ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ 在 #ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากร ... 的評價
- 關於ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ 在 กลยุทธ์ นโยบาย และการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน - ปตท. 的評價
ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ 在 กลยุทธ์ นโยบาย และการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน - ปตท. 的推薦與評價
ได้กำหนดกรอบกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กรซึ่งสอดรับกับ Aspiration “PTT by ... ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถผลักดันการดำเนินงานไปสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ ... ... <看更多>
ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ 在 #ข้อกังวลว่าจะลดทอนกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากร ... 的推薦與評價
"อ.เจษฎา"แจงประเด็นเข้าใจผิด ชี้ CPTPP ด้านเกษตร ไม่ผูกขาดเมล็ดพันธุ์-หนุนการวิจัย. รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะ ... ... <看更多>