#Covidวันนี้อาจส่งตรงถึงบ้าน
ถึงแม้Lockdownก็อาจไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด
ข้อสังเกตจากตอนหมอไปช่วยดูแลคนไข้ติดเชื้อโควิดที่ Hospitel
ตอนนี้อาจเป็นเราเอง ที่เปิดประตูให้โควิดเข้ามาหาเองเลยโดยไม่รู้ตัวเลย ก่อนหน้านี้เราเคยกลัวกันว่า บรรดาอาหารที่เราสั่งมาส่งถึงบ้านจะนำเอาเชื้อโควิดมาให้ได้หรือไม่
แรกๆ อาจจะเป็นแค่ทฤษฎี แต่เราไม่ได้ lockdown เต็มที่เหมือนทุกวันนี้ ที่การแพร่ของเชื้อมีไปทุกหนแห่งและความสามารถของสายพันธุ์ Delta ที่ติดได้ง่ายมาก
แต่จากที่ซักประวัติคนไข้โควิดในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมที่ Hospitel ต้องบอกเลยว่าแนวคิดนี้เป็นไปได้แน่นอน! มีคนไข้สัดส่วนที่สูงพอสมควรที่บอกว่าอยู่กับห้องตลอด อยู่คนเดียว อาจจะทำงานหรือเรียน online ทุกคนล้วนกลัวว่าจะติดโควิด สั่งแต่อาหารมาทาน และวันดีคืนดีก็มีอาการไข้ ไอ คล้ายหวัด แต่พอมาตรวจ ก็พบว่าเป็นโควิดไปเรียบร้อย
คนที่ทำงานที่บ้าน ไม่ออกไปไหนเลย สั่งอาหารมาทานอย่างเดียว ถึงเวลานี้ก็บอกได้เต็มปากเต็มคำ ว่ายังไม่ปลอดภัย
เหตุผลเพราะไวรัสพวกนี้อาจติดตามพื้นผิวต่างๆได้เป็นเวลานานพอสมควร
#โอกาสที่จะสัมผัสเชื้อคือเมื่อรับของจากข้างนอก (สันนิษฐาน)
- จากมือของ Rider
- จากภาชนะหรือถุงที่ใส่
- ช้อนส้อมพลาสติกที่แถมมาให้ (ถ้าตอนบรรจุไม่สะอาด)
- จากอาหารที่สั่งมามีการปนเปื้อนไม่รู้ตัว
ดังนั้นรับของรับอาหารมา ต้องใส่ mask เสมอ รับมาแล้วก็อาจทำเช็ดทำความสะอาดหรือไม่ก็ล้างมือของเราบ่อยๆ และที่สำคัญ #ต้องอุ่นให้ร้อนก่อนที่จะทานเพื่อความแน่นอน
พวกอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน หรือต้องใช้มือหยิบเพื่อบรรจุ เช่นแนวที่ต้องมีคนหั่น สับ และเอามือโปะลงบนข้าว อันนี้ก็ลุ้นกันเอาเองละกัน ว่าคนสับจะมีเชื้อหรือเปล่า เพราะว่าต้องใช้มือจับสับอาหาร ระหว่างทำอาจเอามือขึ้นมาเกาหน้าหรือขยับหน้ากากก็ได้ ดังนั้นแม้ใส่ถุงมือก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเชื้อจะไปถึงอาหารได้อยู่ดี
ดังนั้นยังไงการอุ่นร้อนอีกรอบก็ปลอดภัยที่สุด!! รวมถึงการล้างจาน ช้อน ส้อม ก่อนทานทุกครั้งด้วยนะครับ
ถ้ากักตัวอยู่ตลอดแล้วมีไข้ ไอ เจ็บคอ โอกาสตอนนี้สูงมาก ว่าจะเป็นโควิด เท่าที่หมอเห็นคนรอบตัว เรียกว่ามากกว่า 50% ว่าหากมีโอกาสคล้ายหวัด ไปตรวจมักจะเจอว่าเป็นโควิด (แต่ถ้าตามสถิติก็ประมาณ 20% ซึ่งโอกาสถูกสูงกว่าการซื้อหวยมากมาย) ดังนั้นอย่าวางใจ อย่างน้อยมีชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) อยู่กับบ้านก็จะดีกว่า
#วัคซีนทุกชนิดช่วยได้แน่นอน
จากที่หมอรีวิวคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด ที่เห็นความต่างชัดๆเลยคือ คนที่ฉีดวัคซีนแล้ว มักจะติดแล้วอาการน้อย ยิ่งคนที่ฉีดสองเข็มแล้ว อาการยิ่งน้อย ประมาณไอ เจ็บคอธรรมดา อาจจะมีไข้แค่วันสองวันเท่านั้น
การที่จะรอวัคซีน mRNA จนไม่ยอมฉีดอะไรเลย ณ ตอนนี้น่าจะถือว่าเสี่ยง เพราะไวรัสมันมาถึงบ้านได้ตลอดเวลาแล้วทุกวันนี้ ฉีดวัคซีนที่มึ ไม่ว่าจะ sinovac sinoppharm astra อะไรก็ได้ที่ได้ฉีดก่อนก็รีบเอาเลย เพราะวัคซีน mRNA น่าจะอีกนานพอสมควรสำหรับประชาชนทั่วไป
#วัคซีนไม่ได้ฆ่าไวรัส
เซลภูมิคุ้มกันตัวเองต่างหากที่ฆ่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนคือการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หมายถึงการสร้างความจำให้กับเซลทหารภูมิคุ้มกันของเรา เพื่อจะได้จดจำได้ว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาคือไวรัสโควิด จะได้รีบจัดการให้สิ้นซากก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เพราะหากไม่มีภูมิคุ้มกัน เวลาไวรัสโควิดเข้ามาในร่างกาย เซลภูมิคุ้มกันเราก็จะยังไม่รู้จัก จนกระทั่งไวรัสโควิดออกฤทธิ์อาละวาดทำร้ายเซลอื่นในร่างกายเราแล้ว จึงจะค่อยรู้จัก ซึ่งอาจจะช้าเกินไป
#ทำไมเวลาผ่านไปอาการหนักขึ้น
เวลาไวรัสโควิดเข้ามาบุกรุกร่างกาย เซลที่ถูกไวรัสกินจะแตกและเกิดลูกหลานไวรัสเพิ่มขึ้น ทำให้เซลเม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันเราต้องไปต่อสู้ หากร่างกายเราไม่รู้จักว่าตัวไหนคือโควิด มันก็สู้แบบคนตาบอดหรือยิงกราดไปหมด ทำให้เรามีอาการไข้ ไอ เหนื่อย เนื่องจากเป็นผลจากการต่อสู้ระหว่างไวรัสและทหารภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา
หากยิ่งเวลาผ่านไป ไวรัสยิ่งขยายพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเราก็ยิ่งทำงานหนัก แม้จะรู้แล้วว่าใครเป็นใคร แต่เชื้อโรคจำนวนมันเยอะแล้ว ทำให้ร่างกายเราไข้ขึ้น อาการก็มากขึ้นเรื่อยๆ หากเราควบคุมโรคไม่ได้ เชื้อโรคก็ชนะ เพราะโจมตีไปทุกส่วนจนไม่เหลืออะไร และเราก็จะตายไป
#การฉีดวัคซีนคือการสร้างเซลทหารภูมิคุ้มกันที่จำโควิดได้
ดังนั้นวัคซีนที่ดี จะกระตุ้นภูมิไดัมาก ทำให้มีทหารที่รู้จักโควิดเป็นอย่างดีและพร้อมรบมาก เวลาไวรัสเข้ามา ก็จะถูกตรวจพบได้ง่ายและถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จนไม่มีอาการ แบบนี้แหละที่เรียกว่ามีภูมิคุ้มกัน
ส่วนวัคซีนเทคโนโลยีเดิม ช่วงแรกอาจสร้างเซลทหารได้เหมือนกัน แต่อาจไม่มากเท่าวัคซีน mRNA แต่อย่างน้อยก็สร้างกองกำลังภูมิคุ้มกันได้ระดับหนึ่ง และอาจจะจำเพาะกับไวรัสรุ่นเดิม ทำให้ไวรัสเดลต้าเข้ามา จึงแพร่กระจายและมีอาการได้ แต่ในเมื่อมีทหารอยู่บ้าง การปรับตัวก็เร็ว และต่อสู้ได้ดีกว่า ซึ่งแน่นอนว่าก็ย่อมดีกว่าไม่มีเลย
#คนแข็งแรงทั่วไปแม้จะติดก็มักจะหาย
น่าจะเกิน80%ที่หายเองได้ ต้องยกเครดิตให้เซลทหารภูมิคุ้มกันของร่างกายนี่เลย เพราะในที่สุด ภูมิคุ้มกันเราก็จะพัฒนาศักยภาพตัวเองจนสามารถ ป้องกันตัวเราเองได้ ถึงไม่ได้ฉีดวัคซีน ในคนที่แข็งแรงก็อาจจะพอสู้กับไวรัสโควิดไหว เพราะเจอเยอะเหมือนกัน
แต่จะลุ้นทำไมถ้าเราเข้าถึงวัคซีนได้…ปัญหาคือวัคซีนมีให้ฉีดรึเปล่า
#ยาFavipiravirก็ไม่ได้ฆ่าไวรัส
แต่คือการหยุดการขยายตัวของไวรัส เพื่อรอให้ให้เซลทหารภูมิคุ้มกันเราไปจัดการ การได้ยาเร็ว คือการหยุดไวรัสไม่ใหัขยายจำนวนในช่วงแรก เพราะยาไม่ได้ฆ่าไวรัสแต่อย่างใด
คนที่กำจัดไวรัสแท้จริงแล้วคือทหารเซลภูมิคุ้มกันของเรานี่เอง ดังนั้นการให้ยา favipiravir เร็วจึงสำคัญมาก แต่ถ้าให้ช้าเหมือนไวรัสขยายตัวจนเยอะแยะไปหมด ยา Favipiravir ก็อาจจะไม่มีประโยชน์ แถมทำให้ดื้อยาได้ด้วย ซึ่งทางการแพทย์เรากลัวการดื้อยาของไวรัสมาก เพราะจะทำให้อาวุธที่เรามี กลายเป็นของเด็กเล่นไปเลย
#ฟ้าทะลายโจรก็ไม่ได้ฆ่าไวรัสแต่มีประโยชน์
ทานเพื่อลดการอักเสบ ซึ่งเปรียบเสมือนการเคลียร์พื้นที่ให้ทหารเซลภูมิคุ้มกันเราเข้าไปสู้กับไวรัสได้ง่ายและเร็วขึ้น
เวลาทหารภูมิคุ้มกันปะทะกับไวรัส ย่อมเกิดความเสียหาย ก็ออกมาในรูปของปอดที่ถูกทำลาย หรือปอดบวม เพราะไวรัสมันกินเซลปอดของเรา เซลที่ถูกทำลายจะเกิดการอักเสบเปรียบเหมือนอาคารถูกไฟไหม้จากการยิงอาวุธหนัก ฟ้าทะลายโจรจะไปช่วยดับไฟให้ และทำให้เซลทหารภูมิคุ้มกันทำการค้นหาไวรัสต่อไปง่ายขึ้น
#สรุปจากการซักประวัติคนไข้ตอนอยู่เวรHospitel
1. การติดเชื้อโควิดแม้อยู่บ้านไม่ออกไปไหนเลยคือเรื่องจริง
2. การส่งอาหารจากdelivery มีโอกาสที่จะมีไวรัสโควิดติดมาด้วย ตอนนี้น่าพอประมาณ จึงควรอุ่นร้อนก่อนทานทุกครั้ง
3. วัคซีนฉีดไปเถอะ ตัวไหนก็ได้ที่ฉีดได้ก่อน แต่ถ้ามีให้เลือกพร้อมกัน แน่นอนก็ mRNA
4. ถ้าต้องรอเพราะถูกเท หรือมัวแต่รอวัคซีน mRNA แล้วไม่ยอมฉีดวัคซีนอื่น อาจจะติดโควิดไปเสียก่อน เพราะมันระบาดไปทั่วจริงๆ
#หมายเหตุ ทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่หมอซักประวัติคนไข้โควิดตอนหมอไปอาสาช่วยดูแลคนไข้ ซึ่งดูแลคนไข้ถึงตอนนี้ก็มากกว่าร้อยคนแล้ว แต่ไม่ใช่งานวิจัยวิชาการ จึงเป็นแค่การเล่าสู่กันฟังเท่านั้น
Search
คนแข็งแรงทั่วไปแม้จะติดก็มักจะหาย 在 ภาวะ Long COVID กลุ่มอาการพึงระวังหลังป่วยโควิด - YouTube 的推薦與評價
... COVID-19 และรักษา หาย แล้ว แต่ว่าความเสี่ยงของกลุ่ม คน ที่ จะ เกิด Long COVID ได้มากขึ้น คือในกรณีที่มีอาการที่รุนแรงตอนที่ ติด เชื้อ COVID-19 ... ... <看更多>