#คิดเรื่องความคิด
#Metacognition
.
ในหนังสือ ประถม 4.0 ที่อาจารย์ประเสริฐเขียน
มีคำหนึ่งที่หมออ่านแล้ว รู้สึกติดใจในความหมาย
จนต้องไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม คือคำว่า
Metacognition
(อ.ประเสริฐใช้คำภาษาไทยว่า เมตตาคอกนิชั่น
คิดเองว่า เมตตา จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าใจจิตใจตัวเอง
และนึกถึงจิตใจผู้อื่น ซึ่งคล้องกับความหมายของ
metacognition คือ think about thinking)
เมตตาคอกนิชั่น
สำคัญต่อการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งของมนุษย์ เพราะ
#เราต้องรู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร
ต้องรู้จักประเมินตนเอง ประเมินสถานการณ์
ประเมินความคิดของผู้อื่น ณ เวลาหรือ เหตุการณ์นั้นๆ
(ใครมีหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เขียนไว้ในตอนที่ 25-26/100 นะคะ)
.
และเมื่อวันก่อน
ได้ไปฟังเรื่อง visual learner ที่ อาจารย์ประภาภัทร กรุณา live ให้ได้ฟังกัน
(ใครยังไม่ได้ฟัง ไปฟังย้อนหลังที่ page สานอักษร ได้นะคะ) ซึ่งมาพ้องกับเรื่องนี้พอดี
.
เมื่อเอาความรู้ที่ได้อ่าน +ได้ฟัง+ การเลี้ยงลูก มารวมกัน เหมือนเป็น จิ๊กซอว์ เพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ในเด็ก
.
ตอนเด็กอายุ 2-3 ขวบ
เด็กมี cognition เด็กเรียนรู้ได้เร็ว
แต่เค้ายังมี metacognition ไม่มากนัก
การประเมินตัวเองไม่แม่นยำ
จึงเกิดปรากฏการณ์
“ไม่นะ....หนูจะทำเอง” อยู่ร่ำไป
สร้างความลำบากใจให้พ่อแม่ ว่าจะปล่อยให้ทำได้เหรอ?
เด็กเล็กรู้แต่สิ่งที่ (คิดว่า) ตัวเองทำได้
แต่ไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง
ตัดสินจากตัวเอง เป็นความคิด
ความรู้สึกของที่ไม่ซับซ้อน
ชอบ สนุก ไม่ชอบ กลัว ฯลฯ
แต่เมื่อได้ทำ ได้ประสบความความผิดหวัง
ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้
แท้จริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ก็เกิดความรู้....เกิดทักษะในการประเมินตัวเอง
สั่งสมเป็นประสบการณ์
และ เมื่อโตขึ้น
มีพัฒนาการทางความคิดและความรู้สึกที่มากขึ้นตามอายุ
ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
เอามาประมวลผล คาดคะเนสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
เช่น ผลงานของตัวเองในครั้งก่อนๆ ความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
ผลตอบรับของคนรอบตัว (สีหน้า ท่าทาง คำพูด ของพ่อแม่ ครู เพื่อนๆเป็นอย่างไร )
ได้เป็นผลลัพธ์ล่วงหน้า....
ทำแล้วจะได้อะไร และอยากจะทำหรือไม่
เป็นความคิดขั้นสูงที่ คาดคะเน การกระทำของตัวเองล่วงหน้า
.
จริงๆเหมือนไม่มีอะไรใหม่
แต่ทำให้หมอได้ฉุกใจคิด ว่าทุกย่างก้าวของการเติบโตของเด็ก
เกิดจากประสบการณ์เมื่อวานของลูกทั้งนั้น
และการเกิด metacognition
ไม่ได้มาจากแค่การขยายขนาดหรือเพิ่มจำนวนของเซลล์สมอง
แต่มันขึ้นกับ
👉จำนวนประสบการณ์ ที่ได้ทำเอง
👉กลวิธีที่ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วล้มเหลว
👉ผลของการกระทำของตัวเอง
👉สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
👉ความคิดเห็น ความรู้สึกของคนอื่น ต่อการกระทำนั้น
👉แม้แต่ เรื่องของวัฒนธรรม ค่านิยม ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญให้คนคนหนึ่งพัฒนาเรื่อง metacognition
.
เผลอแป๊บเดียว ตอนนี้ลูกสาววัย 7 ปีของหมอ
ก็มีเมตตาคอกนิชั่น
ที่เราไม่รู้ว่ามันพัฒนามาเมื่อไหร่ อย่างไร
แต่มันน่าทึ่งมาก
ยกตัวอย่างเหตุการณ์เล็กๆที่ เค้าเล่าให้หมอฟังว่า
มีอยู่วันหนึ่งที่เค้าถูกทำโทษหลังเลิกเรียน
แต่คุณครูอนุญาตให้ไปเข้าห้องน้ำก่อนได้
ขณะที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
เค้ามองเห็นว่าแม่มารับแล้ว
เค้าคิดว่า เค้าจะหนีกลับบ้านกับแม่เลยก็ได้
เพราะกระเป๋านักเรียนก็อยู่นอกห้อง
แม่ก็มารับแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไปแก้ตัวกับคุณครูว่าแม่มีเรื่องด่วนต้องพากลับบ้านก่อน
แต่ถ้าครูรู้ว่าเค้าโกหก
คุณครูก็อาจจะผิดหวังในตัวเค้าที่ไม่ซื่อสัตย์
และตัวเองก็อาจจะไม่สบายใจ
ที่สำคัญหนีกลับวันนี้
ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ในวันพรุ่งนี้อยู่ดี
เค้าจึงตัดสินใจกลับเข้าห้องเรียน
ไปรับโทษเลยดีกว่า
ทั้งหมดนี้ อยู่ในสมองของเค้าในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
ภาพที่หมอเห็นคือ ลูกเดินมาจากห้องน้ำ เค้ายิ้มทักทาย และเรียกว่า “แม่”
และเดินกลับเข้าห้องไป ทำงานที่ครูให้ทำเป็นการไถ่โทษที่ทำผิด
.
ประเด็นคือ
1.เค้าคาดการล่วงหน้าได้อย่างไร ?
ครูคงผิดหวัง และตัวเองคงไม่สบายใจที่โกหก พรุ่งนี้ก็ต้องแก้ปัญหาใหม่ที่เกิดจากวันนี้
2. ความรู้สึกของคนอื่นที่ว่า “ผิดหวังในตัวเค้า” เค้าจะรู้ได้อย่างไร
3. สิ่งที่เค้าคาดคะเน อาจจะเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงก็ได้
แต่เค้ารู้จัก สมมติเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เอามาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และเค้าเลือกทางที่คิดว่าได้ผลลัพธ์ดีกว่าสำหรับตัวเอง
.
ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ใ น เ ม ตต า ค อ ก นิชั่น (Metacognitive Experiences)
เป็นประสบการณ์ทาง
ความคิดหรือความรู้สึกที่มีต่อการใช้ “ปัญญา “ในการแก้ปัญหา และทำให้เกิดการกำกับตนเอง (Self-Regulation) นำไปสู่การกระทำที่ทำให้เกิดเป้าหมายที่เราต้องการ
.
เมตตาคอกนิชั่น.....
ไม่ได้โตเหมือนกับ น้ำหนักและส่วนสูง
และไม่สามารถ เปิดคอร์สสำเร็จรูป สอนให้เด็กมีเมตตาคอกนิชั่นได้ชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในทุกๆวันของการเติบโต
เช่นกัน #ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร
นอกจากจะสร้างปัญหาให้กับตัวเอง
อาจจะสร้างปัญหาให้ผู้อื่นและสังคมอีกด้วย
สิ่งที่เราช่วยลูกได้
❤เติมประสบการณ์ดีๆให้แก่สมองลูก
❤อ่านหนังสือด้วยกัน หนังสือเป็นเครื่องมือที่ดีมาก ที่ทำให้เค้าเข้าใจผู้อื่น ผ่านเหตุการณ์ณ์ของตัวละคร
❤พาไปท่องเที่ยวเห็นสิ่งใหม่ๆ ไม่ต้องหรูแต่ให้เห็นชีวิต เห็นสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
❤ประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำเอง และผลลัพธ์ที่ได้ เป็นข้อมูลที่แม่นยำที่สุดที่คนๆหนึ่งจะใช้ในการประเมินตัวเอง ดังนั้น ปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเองให้มาก
❤รับฟังสิ่งที่ลูกคิด อย่างให้เกียรติว่าเค้าก็เป็นปัจเจก และปลูกฝังสิ่งดีๆจากการพูดคุยที่ให้เกียรติกัน ถ้าเราฟังลูก ลูกก็จะฟังเราอย่างเปิดใจ
ขอจบที่คำพูดของอาจารย์ประภาภัทร นิยม
“ทฤษฎี ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก ที่ได้อ่าน ได้รับรู้กันมากมาย ไม่ใช่เพื่อเอาไปคิด เอาไปเครียดว่าจะสอนลูกอย่างไรให้ได้ตามทฤษฎี แต่ให้รู้เพื่อให้วางใจได้ว่า เด็กเค้าเรียนรู้เองได้เองจริงๆ”
.
ทำยาก แต่จะพยายามค่ะ
.
หมอแพม
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過35萬的網紅Mew Mook Channel,也在其Youtube影片中提到,❤ฝากเพื่อนๆกดติดตาม เพื่อรับการแจ้งเตือนชมคลิปใหม่ๆจากพี่หมิว น้องมุกนะคะ:https://www.youtube.com/channel/UCHyY9Z1zzyKZC1hdPB8-NSw ❤ทักทาย พูดค...
คาดคะเน 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的精選貼文
และแล้ว เหตุการณ์น้ำท่วม (รอระบาย) ก็กลับมาเยือนกรุงเทพฯ อีก ซึ่งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทางฝั่งนักคำนวณนักวิเคราะห์กับทางฝั่งผู้กำหนดนโยบายได้ประสานงานกันไว้อย่างไร
.
เรื่องพวกนี้จริงๆ สามารถ predict หรือ คาดคะเน โดยหลักสถิติหรือคณิตศาสตร์ประกันภัยได้ เหมือนอย่างทีคุณกรณ์ เคยให้ปาฐกถาไว้
.
#มาช่วยกันคิด #มาช่วยกันทำ #คณิตศาสตร์ประกันภัย
"คุณกรณ์ จาติกวณิช" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้ปาฐกถากับสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ไว้ดังนี้
.
“ผมเชื่อว่าเราต้องการนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมากขึ้นกว่าเดิม ที่ผมบอกแบบนี้ก็เพราะผมเห็นว่าสังคมเรานั้น very short-term focused เกินไป ทุกวันนี้คนสนใจแต่การแก้ปัญหาระยะสั้น โดยไม่มีใครสนใจที่จะมองการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างเพียงพอ เราจึงต้องการคนที่ไม่หลงตามกระแส ไม่หลงตามประชานิยม แต่มองภาพไปที่ระยะยาว โดยสรุป เราต้องการนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
.
จากประสบการณ์ของผม ทั้งในภาครัฐบาลและในภาคธุรกิจ ผมสามารถบอกได้ว่าแนวคิดที่มองไปที่ ข้อมูลและข้อเท็จจริงเท่านั้นที่จะช่วยจัดการความเสี่ยงและทำให้อยู่รอด โดยเป็นตัวแบ่งแยกระหว่างความสำเร็จออกจากความล้มเหลว
.
ผมได้ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดกับประเทศไทยหลายครั้งในช่วงการทำงาน 20 ปีที่ผ่านมาของผม เราสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดีทุกครั้ง ถ้าเราให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มีอยู่ให้มากพอ เคยเกิดวิกฤตการเงินซึ่งบางคนคงจำกันได้ในช่วงปี พ.ศ. 2540 โดยก่อนที่จะเกิดวิกฤตนี้ ได้มีนักวิเคราะห์ได้ออกมาเตือนล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา 3 ปีเต็มๆ แต่คนทั่วไปเลือกที่จะไม่สนใจกับคำเตือนนี้
.
และก็อีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 ที่เกิดน้ำท่วมซึ่งธนาคารโลกได้ประมาณความเสียหายของประเทศไทยถึง 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้ถูกจัดอันดับเป็นความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์ของโลกตั้งแต่ที่เคยมีการเก็บสถิติมหันภัยมา
.
คำถามคือ น้ำท่วมของประเทศไทยนี้ เป็นการเกิดจากธรรมชาติโดยไม่มีปี่มีขลุ่ย หรือ เราสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าได้หรือไม่
.
หลังจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งใน ปี พ.ศ. 2540 เราได้มีการปรับปรุงการกำกับดูแลในเรื่องงบประมาณและการตรวจสอบสถาบันการเงินให้เข้มงวดขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถพัฒนากระบวนการต่างๆ เหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตที่จะเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่แรก (วัวหายล้อมคอก) และในปี พ.ศ. 2551 (hamburger crisis) ที่เป็นวิกฤตการทางการเงินของโลกอีกครั้ง จะเห็นว่ามันมีผลกับทางฝั่งโลกตะวันตกเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบกับสถาบันการเงินในฝั่งเอเชียเท่าใดนัก ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์ในประเด็นนี้ได้ว่าการพัฒนาในเรื่องการกำกับดูแลของเรานั้นได้ผล และถ้าเราทำมันขึ้นมาก่อน พ.ศ. 2540 ก็คงจะไม่เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำยุ้ง เป็นแน่
.
และก็เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าหน่วยงานทุกฝ่ายเข้าใจข้อมูลและได้มีการวิเคราะห์เรื่องน้ำกันอย่างดีพอ เราก็คงจะหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในไทยได้เป็นแน่
.
คำถามคือ ในปีพ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้น นักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้ทำหน้าที่ของตัวเองในการประเมินวิเคราะห์ความเสี่ยงในอนาคตหรือไม่? หรือ policymaker (ผู้กำหนดนโยบาย) อย่างผมที่ทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ? หรือ policymaker (ผู้กำหนดนโยบาย) ตัดสินใจกันผิดพลาดจากข้อมูลที่ได้จากนักคณิตศาสตร์ประกันภัย? หรือเป็นเพราะเราไม่สามารถมีข้อมูลที่ดีพอ?
.
ในความคิดของผม ผมว่าเป็นความผิดพลาดของทั้งสองฝ่าย ในส่วนของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เราไม่ได้ขาดข้อมูลแต่เราขาดการนำเสนอข้อมูลให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รู้ตัว ในส่วนของระดับนโยบายเองที่ยิ่งแย่ไปกว่า ผมบอกได้ว่าเรามีข้อมูลที่วิเคราะห์เอาไว้เพียงแต่ขาดการนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจแต่ละอย่าง โดยเฉพาะการตัดสินใจแต่ละอย่างส่วนใหญ่เกิดจากการหวังผลทางการเมืองในระยะสั้นเสียมากกว่า
.
มันไม่ใช่ความผิดของนักการเมือง แต่มันเป็นเรื่องของการจัดการความคาดหวังของประชาชนกับนักการเมืองเสียมากกว่า เช่น เหตุกาณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากน้ำท่วมใหญ่ไปแล้ว 1 ปี โดยในตอนนั้นทางภาครัฐได้ตัดสินใจที่จะลดระดับน้ำในเขื่อนลง ทั้งๆ ข้อมูลระบุออกมาชัดเจนอยู่แล้วว่าหลังจากน้ำท่วมไปแล้ว 1 ปี (พ.ศ. 2555) จะเกิดภาวะแล้งขึ้น และแล้วในปี พ.ศ. 2555 นั้นก็เกิดภาวะแล้งครั้งใหญ่ขึ้นจริง โดยที่น้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอ
.
คำถามคือนักการเมืองตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผล หรือเป็นเพราะไม่ยอมเชื่อในข้อมูลจากนักวิเคราะห์กันแน่ ซึ่งในคำตอบนั้น จริงๆ แล้วเป็นเพราะความเสี่ยงทางการเมืองมากกว่า เนื่องจากรัฐบาลไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นมาซ้ำรอยเดิม โดยถึงแม้ว่าภาวะแล้งจะแย่ แต่ก็ถือว่าเป็นปัญหาใหม่ ซึ่งจะไม่มีใครกล่าววิพากษ์วิจารณ์กันเท่าไร แต่ลองคิดดูว่า ถ้าเกิดภาวะน้ำท่วมซ้ำรอยอีกครั้ง อันนั้นประชาชนคงจะรับไม่ได้เป็นแน่
.
ดังนั้น นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะทำให้รู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลที่ให้นั้นจะทำให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะถ้าคนที่เอาข้อมูลเหล่านั้นไปตัดสินใจ แล้วปรากฎว่าออกมาผิดทาง (เช่น ปรากฎว่าไม่มีภาวะแล้ง แต่เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยแทน) ก็จะมีผลทางการเมืองอย่างมากกับคนที่ตัดสินใจ
.
หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ policymaker (ผู้กำหนดนโยบาย) ได้ตัดสินใจบนการพยากรณ์หรือจำลองอนาคตถึงภัยพิบัติล่วงหน้า ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถ้าทำแล้วก็จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ในทันที (แต่จะเกิดในระยะยาว ซึ่งผู้กำหนดนโยบายตอนนั้นอาจจะเปลี่ยนคน และปิดทองหลังพระไป)
.
ในความเห็นของผม ผมคิดว่าคำตอบนั้นคือ ผู้กำกับดูแล (regulator) ซึ่งเป็นคนที่ใช้อำนาจกฎหมายระหว่าง policymaker (ผู้กำหนดนโยบาย) และ นักวิเคราะห์ นักวางระบบ เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นต้น
.
ธนาคารกลาง (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เป็นตัวอย่างที่ดี ที่วิเคราะห์ความเสี่ยงในตลาดการเงิน และออกมาสื่อสารกับสาธารณะ พร้อมทั้งเตือนเรื่องอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบการเงินของประเทศ ซึ่งถ้าภาคธนาคารก้าวกระโดดเร็วเกินไป ธนาคารกลางก็จะออกมากำกับให้ใกล้ชิดขึ้น หรือถ้าการผู้ยืมมีมากเกินไป ธนาคารกลางก็จะออกมาขึ้นดอกเบี้ย
.
ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแล (regulator) จึงเกิดขึ้นมา เพราะการตัดสินใจในทิศทางของประเทศเหล่านี้ไม่ควรตกอยู่ในมือของนักการเมืองแต่เพียงผู้เดียว
.
ยังมีหลายๆ อย่างที่ หน่วยงานกำกับทั้งหลายต้องใช้ความพยายามเพื่อที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างบทวิเคราะห์ของนักคณิตศาสตร์ประกันกันภัยกับการตัดสินใจทางการเมือง เพราะถ้าเราล้มเหลวที่จะสร้างการเชื่อมต่อเหล่านี้ ประเทศของเราคงจะเผชิญกับความลำบากในอนาคตข้างหน้าเป็นแน่ และสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยแห่งเดียวที่ต้องเผชิญ แต่มันเป็นเรื่องท้าทายกับประเทศในแถบเอเชียทั้งหมด ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี พ.ศ. 2540 นั้น เราได้เชื่อมโยงกัน เพราะการกำกับดูแลได้พัฒนาขึ้นแล้ว
.
ขออนุญาตยกอีกตัวอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับปัญหาประชากรศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย โดยไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตนี้มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ไทยเองก็แทบจะไม่ได้เตรียมการอย่างเพียงพอ เรื่องปัญหาสวัสดิการหลังการเกษียณอายุจะอยู่กับประเทศไปอีกนาน และนี่ไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาในระดับการเมือง แต่จะมีผลกระทบกับสังคมเราอย่างมาก โดยภายในอีก 20 ปีข้างหน้า ไทยเรากำลังจะเปลี่ยนจาก “คนทำงาน 4 คน ต่อ คนสูงอายุ 1 คน” กลายเป็น “คนทำงาน 2 คน ต่อคนสูงอายุ 1 คน” และเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้
.
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเรื่องน้ำ ที่ไม่ใช่น้ำท่วม แต่เป็นเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำที่ขาดแคลน จะมีต้นไม้หรือพืชเศรษฐกิจชนิดไหนที่ควรปลูกในสถานการณ์ที่น้ำเป็นสิ่งหายาก ควรจะปลูกมันที่ไหน คำถามเหล่านี้ยังเป็นประเด็นที่รอคำตอบอยู่
.
ในบางครั้งคราว ที่วิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัยและ policymaker (ผู้กำหนดนโยบาย) ได้ทำงานร่วมกัน โดยจากนโยบายที่ผ่านมาที่ผมได้รับผิดชอบในช่วงสมัยปี พ.ศ. 2554 นั้นคือการประกันพืชผล โดยเอาเรื่องความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศออกไปจากการทำการเกษตร และเพิ่มความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างเท่าไรนัก เพราะความเสี่ยงควรที่จะต้องถูกกระจายออกไปให้เพียงพอมากกว่านี้ เพื่อให้เบี้ยประกันภัยอยู่ในระดับที่รับได้
.
แต่ผมเชื่อว่าประเทศไทยในอนาคตจะสามารถก้าวผ่าน “กับดักรายได้ปานกลาง” ไปได้ ถ้าเราสามารถจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อการนั้น ไม่เพียงแต่เราจะต้องพัฒนาวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัยให้มีมาตรฐานและจำนวนมากเพียงพอ แต่เรายังจะต้องสร้างความชัดเจนระหว่างวิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย กับกระบวนการตัดสินใจต่างๆ ของประเทศ และถ้าเราทำให้มันสำเร็จได้ เราจะพัฒนาประเทศไปด้วยกัน ...ด้วยข้อมูลและตัวเลขที่เหมาะสม”
.
Credit : งาน The 19th Asian Actuarial Conference ณ โรงแรงแชงกรีล่า 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
เรียบเรียงและแปลโดย : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี) นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
คาดคะเน 在 Mew Mook Channel Youtube 的最佳貼文
❤ฝากเพื่อนๆกดติดตาม เพื่อรับการแจ้งเตือนชมคลิปใหม่ๆจากพี่หมิว น้องมุกนะคะ:https://www.youtube.com/channel/UCHyY9Z1zzyKZC1hdPB8-NSw
❤ทักทาย พูดคุยกับพี่หมิว น้องมุกได้ที่นี่เลยค่ะ
?Facebook:https://www.facebook.com/Mew-Mook-Channel-734228893446521/
?Google:https://plus.google.com/109432983836666504119
?Instagram:https://www.instagram.com/mew_mook_channel/
??สนใจส่งพัสดุหรือสินค้ามาให้พี่หมิว น้องมุกรีวิวตามที่อยู่ด้านล่างนี้เลยได้เลยค่ะ??
Mew Mook Channel
224 ซอยพุทธบูชา39 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กทม.10140
ติดต่องานได้ที่: Mamiew1982@Gmail.com
?หรือโทร?
?099-154-5252 แม่เหมี่ยว
?062-591-6159 พ่อแจ็ค
คาดคะเน 在 STAG FLATION Youtube 的最佳貼文
Indigo Prophecy ไอ้เส้นเขียวๆข้างขวาจอใครเเก้ได้บอกด้วย 480P เเก้ไม่ได้อะ-*-
เกมเเนว.. งงวะ โรคจิต + นักสืบ ละมั้ง