Wurkon ชวนคุย ( ภาคต่อ ตอนจบ ) , ขอบคุณอีกครั้งครับ 🙏✨
คุยสบายๆ สไตล์อาร์ต กับ ป๊อด โมเดิร์นด็อก ในบทบาทศิลปินภาพวาดแอบสแตรก (ตอนจบ)
ต่อจากตอนแรก https://goo.gl/BmV9BC
……………………………………..…………………………………
WURKON:
สิ่งที่เราพบเห็นจาก โมเดิร์นด็อก เสมอๆ ก็คือการไม่ค่อยตามความสำเร็จของตัวเอง และเปลี่ยนแนวทางตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น คนฟังเซอไพรซ์กันมากจากชุดแรกที่เป็นอัลเทอร์เนทีฟ พอชุดสองก็มาเป็นเป็นอิเลคโทรนิคส์เลย
ป๊อด:
ที่เราทำออกมาแตกต่างกันทุกชุด เพราะว่าเราไม่อยากติดอยู่กับสูตรสำเร็จ อยากท้าทายกรอบสำเร็จที่ตัวเองสร้างเอาไว้
WURKON:
แล้วพี่ป๊อดกลับมาวาดภาพเมื่อไหร่
ป๊อด:
ผมกลับมาวาดภาพ ตอนเสร็จภารกิจอัลบั้มที่สอง คือเมื่อไหร่ที่ผมตันเรื่องดนตรี ผมจะหันมาหาศิลปะ ตอนที่ผมเสร็จชุดสอง แล้วผมไปบวชเป็นพระอยู่ในป่ามาด้วย ทีนี้ผมแต่งเพลงไม่ออกไง ผมก็เลยตัดสินใจไปนิวยอร์คเดือนนึง พอไปถึงที่โน่น ก็ไปเจอรุ่นพี่ คือพี่ตั๋ง (อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ) ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่ครุอาร์ต เลยไปเป็นผู้ช่วยพี่ตั๋งในสตูดิโอ ไปช่วยแต้มสีวงกลมให้เขาน่ะ วงๆ สีไปตามที่พี่เค้าบอก เอ้า ป๊อดตรงนี้สีนี้ สักพักก็เปลี่ยนสีเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ตกเย็นแกก็พาไปไดร์ฟกอล์ฟ ตอนแรกกะอยู่เดือนเดียวก็ไหลไปเป็นสามเดือน มีช่วงนึงพี่ตั๋งย้ายสตูดิโอ ไปอยู่อัพสเตท นิวยอร์ก ซึ่งเป็นเมืองที่ แจ็คสัน พอลล็อค (Jackson Pollock) เคยอยู่ บรรยากาศโคตรจะเหงาเลย เป็นเมืองที่อ้างว้างมาก แต่เราก็ได้แฮงค์เอาท์กัน ช่วงนั้นยังไม่มีไอเดียเพลงใหม่ แต่ความรู้สึกอยากทำศิลปะมันกลับมา เราก็ไปซื้อสมุดสเก็ตซ์ แล้วก็เก็บเอาพวกใบปิด, ใบปลิว แคตตาล๊อคของร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เค้าแจกอะไรต่างๆ เนี่ย กลับมาทำคอลลาจที่บ้าน ทำจนเป็นเล่มหนาเลย ซึ่งไอ้งานในเล่มนี้ ก็ได้เอามาใช้เป็นปกอัลบั้มชุด Love me love my life ด้วย และเมื่อปีที่แล้วก็เลือกหลายๆภาพมาแสดงในนิทรรศการ Pod Art ที่ Woof Pack
WURKON:
เริ่มทำจากคอลลาจก่อน
ป๊อด:
ถ้าเริ่มแรกจริงๆ เลย ก็คือถ่ายภาพก่อน ช่วงปี 96 พี่โก๋ นพดล (ขาวสำอางค์) ชวนให้เอางานมาแสดงที่ About photography เป็นนิทรรศการแรก นั่นถือเป็นครั้งแรกที่ได้มาแสดงงานศิลปะ แล้วก็มาอีกทีตอนปี 1999 ก็เริ่มทำคอลลาจ แต่มันมีช่วงนึงที่ดันไปสะดุด ตอนที่มีรุ่นน้องที่สนิทกันบอกว่า วาดอะไรยังกับเด็กอนุบาล! ก็ช็อกไป (หัวเราะลั่น) เลยหยุดเลย มาคุยกันอีกทีในวันเปิดงานนิทรรศการของเราเมื่อปีที่แล้ว เขาบอกว่า ที่พูดน่ะ หมายถึงวาดเหมือนเด็กอนุบาล น่ารักดี เราก็เลยโวยไปว่าทำไมตอนนั้นไม่พูดให้ครบวะ (หัวเราะ) เลยไม่ได้แตะงานศิลปะไปเลยเป็นสิบปี พอมาช่วงปี 2012 เห็นเมธีชอบถือ iPad แล้วเอานิ้วเขี่ยๆ หน้าจอ เราก็ดูว่า เฮ้ย เมธีเขี่ยอะไรวะ? เมธีก็เลยโชว์ App ที่เอาไว้วาดรูปให้ดู เราก็เลยโหลดมาเล่นมั่ง สนุกดี ทำเสร็จก็เอาลงไอจี พอดี พี่ติ้ว วศินบุรี (สุพานิชวรภาชน์) มาเห็น ก็เลยชวนให้เอางานมาแสดงที่หอศิลป์ดีคุ้น (d Kunst) เราก็ จริงเหรอพี่? มันแสดงได้เหรอ? เพราะมันเป็นแค่การระบายเล่นของเราน่ะ คือไว้ทำสนุกๆฆ่าเวลา ตอนนั้นเลยได้ไปแสดงที่แกลอรี่ของพี่ติ้ว ช่วงนั้นเราไปเห็นงานของพี่สมยศ (หาญอนันทสุข) แล้วก็ชอบมาก ตอนดูนี่รู้สึกได้เลยว่าเราใจเต้น พี่ติ้วบอก พี่สมยศเนี่ย สนิทกันเลย เดี๋ยวนัดทานข้าวกัน เราก็เลยได้นั่งกินข้าวกับพี่สมยศ ก็เลยหยิบเอางานที่เราทำในโทรศัพท์ เปิดให้แกดู พี่สมยศก็ยังบอกว่า ดีๆ สวยดีๆ พี่ติ้วเลยเสนอขึ้นมาว่า เอางี้ไหม เชิญพี่สมยศมาทำงานร่วมกันเลย หูย เราก็แบบ โอ้ มาย ก๊อด จริงเหรอครับ ก็เลยกลายเป็นงานโชว์ที่ ดีคุ้น ตอนปี 2013 ซึ่งมีพี่ๆมาร่วม collab เยอะเลย มี พี่สมยศ พี่ชลิต (นาคพะวัน) พี่เป้ (อุดม อุดมศรีอนันต์) แล้วก็พี่ติ้วด้วย เป็นงานที่ช่วยกันยำ เหมือนกับได้พี่ๆ เขามา collabในภาพของเราอีกที
หลังจากนั้นมา เราก็เริ่มรู้สึกสนุกแระ ก็อยากจะท้าทายตัวเองต่อว่า ถ้าเราจะเปลี่ยนจากการวาดในมือถือ มาเพนท์บนแคนวาสด้วยสีอะคริลิค เราจะเอาอยู่มั้ย ก็เลยทำงานเพนท์มาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2013 จนมาเจอกับอังกฤษ (อัจฉริยโสภณ) ที่แวะเข้ามาดูงานของผมที่บ้าน แล้วก็มาช่วยเป็น Curator ในการจัดนิทรรศการทั้งสองครั้งให้เมื่อปีที่แล้ว
WURKON:
เคยคุยกับคุณสมยศเหมือนกันว่า เวลาวาดภาพแอบสแตรกเนี่ย เราไม่ต้องคิดว่าจะวาดอะไร แต่เราจะปล่อยให้มันไปของมันเอง พี่ป๊อดเป็นแบบนั้นด้วยไหม
ป๊อด:
เป็นเหมือนกันนะ มันเป็นเหมือนกับการเดินทางอ่ะ
WURKON:
พูดเหมือนกับคุณสมยศเลย
ป๊อด:
จริงเหรอ! พี่สมยศใช้คำนี้เลยเหรอ? อืมม .. มันเป็นเหมือนกับเราจะไปเจอกับอะไรก็ไม่รู้ แล้วบางชิ้นก็เดินทางนานข้ามปีด้วยนะ เช่นบางชิ้นทำตั้งแต่ปีที่แล้ว แล้วเพิ่งมาทำเพิ่มต่อ อย่างชิ้นนี้ก็เพิ่งเสร็จเมื่อวาน (ชี้ไปที่ภาพที่วาดค้างอยู่) เหมือนกับว่าเราเดินทางไปกับมันน่ะ จนกว่าเราจะรู้สึกว่าเราอยากจะหยุดแล้ว
WURKON:
ถ้างั้น อะไรที่ทำให้พี่รู้สึกว่าอยากหยุดแล้ว เวลาเราวาดภาพภาพหนึ่งอะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราพอแล้วเราเสร็จแล้ว
ป๊อด:
อันนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจมากเลย แล้วก็เป็นคำถามที่หาคำตอบมาตลอด ซึ่งเราก็รู้สึกว่า มันมีไอ้ตัวรู้อยู่ตัวหนึ่ง ที่มันจะบอกเราว่า เฮ้ย มันใช่แล้วหรือยัง หรือวันนี้เรารู้สึกว่ามันใช่ วันพรุ่งนี้เรากลับรู้สึกว่า ยังไม่ใช่ว่ะ แล้วเราก็ไปเติม แล้วปรากฏว่าเมื่อวานนี้มันใช่แล้ว ทำเกินไปก็มี (หัวเราะ) มันเป็นอย่างนั้น
WURKON:
มันเป็นความรู้สึกแบบไหนเหรอ อธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ไหมครับ
ป๊อด:
ความลงตัว ความลงตัวในความรู้สึกของเราน่ะ แต่เราว่าข้อดีของแอบสแตรก มันอยู่ตรงที่ความไม่ตายตัวของมันน่ะ ก็เลยทำให้ความเป็นไปได้มันมหาศาล
WURKON:
สำหรับคนที่ดูงานแอบสแตรกไม่เป็น พี่ป๊อดมีวิธีการดูยังไงให้เข้าใจ
ป๊อด:
มันไม่ต้องใช้ความเข้าใจไง คือเราอยากจะบอกว่า ไม่ต้องรู้เรื่องก็ได้ แต่ให้รู้สึก เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่คนที่บอกว่าไม่เข้าใจ เพราะกำลังใช้หัวคิดไง แต่เราอยากให้ลองใช้ใจ คือออกจาก Head เข้าสู่ Heart เพราะฉะนั้นเนี่ย ไอ้ภาพแต่ละภาพ เราจะสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกของเรา ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกแบบไหน อาจจะรู้สึกเบา รู้สึกหนัก รู้สึกเย็นหรือร้อน อะไรก็ตาม มันเป็นเรื่องของนามธรรม
WURKON:
เคยถามคุณสมยศเหมือนกัน ว่าเขารู้ได้ไงว่าภาพวาดภาพไหนต้องเสร็จเมื่อไหร่ เขาบอกว่า เวลากินข้าว คุณรู้ได้ยังไงว่าคุณอิ่มเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้นแหละ
ป๊อด:
(หัวเราะลั่น) เออ เฮ้ย แกอธิบายเก่งมาก ใช่เลย มันอิ่มแล้วน่ะ
WURKON:
การทำงานศิลปะมันเทียบได้กับความรู้สึกแบบนั้นหรือเปล่า ที่เราฟินกับมัน
ป๊อด:
ได้นะ มันทดแทนความฟิน ที่ไม่ต้องไปพึ่งพามนุษย์ด้วยกันได้เลย (หัวเราะลั่น)
WURKON:
เคยดูหนังเรื่อง Ex Machina (2014) เขาเปรียบเทียบการสร้างหุ่นยนต์ AI กับภาพวาดของแจ็คสัน พอลล็อค ว่า ถ้า พอลล็อค มัวแต่คิดว่าเขาจะวาดอะไร จะวาดภาพออกมาไม่ได้เลยสักภาพ เขาบอกว่ามันเป็นภาวะที่อยู่ระหว่าง การทำด้วยความความตั้งใจ และการทำแบบส่งเดช เพราะฉะนั้นคนที่ทำงานแอบสแตรคหลายคน ก็จะไม่ร่างภาพก่อน พี่ป๊อดเป็นแบบนั้นเหมือนกันไหม
ป๊อด:
ใช่ ไม่ร่างเลย และบางครั้ง สีก็เป็นสีที่อยู่ใกล้ตัว คือเราใช้สัญชาตญาณเยอะมากเลยน่ะ ในการจัดการกับมัน ความรู้สึกจะบอกเองว่า เฮ้ย เราอยากหยิบสีนี้ เราอยากเล่นกับสีนั้น เรามองไปแล้วเราเจอสี เออ สวยดีนะ มันเริ่มตั้งแต่ตอนที่เราไปเลือกซื้อสีที่ร้านแล้ว ผมว่ามันเป็นเรื่องความชอบ ถ้าให้อธิบายง่ายๆ ว่า เราชอบอะไร เราก็ใส่สิ่งนั้นลงไป
WURKON:
ฟังดูแล้วรู้สึกว่า การทำงานศิลปะกับการทำงานเพลงมันก็คล้ายๆ กันเลยนะ คือใช้สัญชาติญาน ใช่ไหมครับ
ป๊อด:
ใช่ เหมือนกันเลย แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การทำงานศิลปะ การทำงานแอบสแตรกของเรา เราได้ออกจาก Story (เรื่องเล่า) อันนี้คือทางออกของเราเลยล่ะ เพราะในช่วงหลังเนี่ย เราเริ่มรู้สึกว่า เราอยากออกจากเรื่อง ถ้าเป็นคน ก็เหมือนคนที่ไม่อยากเอาเรื่อง ซึ่งเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ เออ เราก็เลยรู้สึกว่า เฮ้ย งานแอบสแตรกมันตอบโจทย์เราน่ะ เราไม่อยากตัดสิน เราไม่อยากไปว่าใครถูกใครผิด
WURKON:
แต่เพลงมันต้องเล่าเรื่อง
ป๊อด:
ใช่
WURKON:
แต่ถ้าเป็นดนตรีมันก็แค่บรรเลงไง
ป๊อด:
ซึ่งเราเป็นนักร้องไง (หัวเราะ) ถ้าเราเป็นมือเปียโน เราก็คงทำเพลงบรรเลงแอบสแตรกไปแล้ว
WURKON:
แต่พี่ก็แต่ง Happiness Is ... ด้วยนี่
ป๊อด:
ใช่ เราก็ยังอยากทำอะไรอย่างนั้นออกมาอีกนะ แต่ตอนนี้บังเอิญเราสนุกกับการเขียนรูป และมันทำให้เราได้ปลดปล่อย เรามีชิ้นงานที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราได้พูดอะไรบางอย่าง คือเราก็ยังอยากพูดอยู่ แต่เราอยากพูดด้วยภาษานี้ ภาษาศิลปะ อย่างเพลงชุดล่าสุดของเราเนี่ย มันมีอยู่เพลงนึง ชื่อเพลง ลอยมาลอยไป คือทั้งเพลง พูดอยู่แค่นี้ ลอยมากับลอยไป เรารู้สึกว่ามันบอกทุกอย่างเลย บอกทุกเรื่องด้วยประโยคนี้ ก็เลยรู้สึกว่าจากนี้ เราจะหาอะไรมาพูดต่อดี ถ้าพูดเราก็ต้องกลับไปอธิบายสิ่งต่างๆ ในขณะที่บทสรุปของเรื่องพวกนั้นก็แค่ ลอยมา แล้วก็ลอยไป
WURKON:
แล้วมันเป็นไปได้ไหมทำเพลงแบบนี้ มันขายได้ไหม
ป๊อด:
จริงๆ ไม่ได้ห่วงเรื่องขายนะ แต่อย่างที่บอกก็คือ เราทำในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งเราก็คงต้องหาวิธีการพูดแบบใหม่ ในแง่ภาษาเพลงนะ
WURKON:
แต่ในขณะที่พี่ป๊อดบอกว่า เวลาแต่งเพลงพี่ไม่ประนีประนอม แต่เพลงของพี่ก็สื่อสารกับคนจำนวนมากได้
ป๊อด:
ใช่ๆ คำว่าไม่ประนีประนอมของเราไม่ได้หมายความว่า เราเอาแต่ใจสุดเหวี่ยง โดยไม่สนใจผู้คนนะ บางทีเราก็อยากเห็นคนเขามีความสุข เหมือนที่เราอยากแต่งเพลงให้คนที่กำลังมีความทุกข์ อยากแต่งเพลงเพื่อเยียวยาจิตใจ นี่ก็คือโจทย์ข้อหนึ่ง ที่ทำให้เขียนเพลงแบบ ทบทวน หรือ เพลงผ่าน ขึ้นมา
WURKON:
คือยังอยากสื่อสารอยู่
ป๊อด:
ใช่ครับ ยังอยากสื่อสารอยู่
WURKON:
แล้วงานเพ้นติ้งล่ะครับ พี่อยากสื่อสารกับคนไหม
ป๊อด:
แน่นอน มันเป็นการปลีกวิเวกของเรา มันเป็นการที่เรากลับมาสื่อสารกับตัวเอง แต่ว่าสุดท้ายเมื่อเราทำเสร็จ เราก็เอามันออกไปสื่อสารกับผู้คนอยู่ดี เช่นเอางานไปลงไอจีเป็นต้น (หัวเราะ)
WURKON:
เหมือนว่าตอนทำ เราอยู่กับตัวเอง แต่พอเราทำเสร็จเราก็อยากแบ่งปันให้คนอื่นดู เพราะเราทำเสร็จเราคงไม่เก็บไว้ดูเองคนเดียวหรอกนะ
ป๊อด:
ใช่ๆ อย่างอาจารย์ วรภัทร์ ภู่เจริญ แกเคยบอกเราว่าการทำงานศิลปะเนี่ยะ เราได้ประโยชน์จากมันตั้งแต่ในขณะที่เราทำแล้ว มันเหมือนเราเคี้ยวอ้อย แล้วได้ความหวานในตอนที่เราเคี้ยวไปแล้ว แล้วผลงานของเราคือชานอ้อยน่ะ
WURKON:
แสดงว่าตอนไปดูงานแสดงนี่เราไปดูชานอ้อยของพี่ใช่ป่ะ
ป๊อด:
ใช่ (หัวเราะลั่น) เฮ้ย มันก็มีประโยชน์นะ เอาไปทำกระดาษได้ ไม่ใช่เป็นแค่ของเหลือจากการขบเคี้ยว ใช้คำว่าขับเคี่ยวละกัน อย่าใช้คำว่าเคี้ยวเลย เดี๋ยวมันจะดูเป็นเศษวัสดุไปหน่อย (หัวเราะลั่น)
WURKON:
อย่างศิลปินหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลปินแอบสแตรกเขาฟังเพลงเวลาวาดรูป พี่ป๊อดฟังไหม
ป๊อด:
ฟังครับ และมันมีผลมากเลยกับเพลงที่เปิดอยู่ บางที ทำไมรู้สึกแน่นๆ รู้สึกอื้ออึงๆ กดๆ อ๋อ จริงๆ แล้ว คลื่นของเพลงที่เลือกฟังขณะที่ทำมันกำลังผลักเรา บางทีเราอาจไม่ทันรู้ตัว
WURKON:
มีภาพไหนที่วาดจากเพลงไหนเป็นพิเศษไหม
ป๊อด:
ผมเปิดไปเรื่อยๆ มากกว่า จะไม่ค่อยได้จำว่าภาพนี้วาดตอนฟังเพลงอะไร
WURKON:
แล้วชื่องานล่ะครับ พี่ป๊อดตั้งจากอะไร
ป๊อด:
เป็นตัวเลขฮะ วัน เดือน ปี ซึ่งดีใจมากเลยที่เราเจอไอเดียนี้ (หัวเราะ)
WURKON:
ไม่ต้องตั้งชื่อใช่ไหม
ป๊อด:
ถูก! (หัวเราะลั่น) คือจริงๆ มันเกิดจาการที่เราทำงานทุกวันไง ถ้าไปดูในไอจีเก่าๆ เราจะลงไว้ แต่ละวันๆๆ มันก็เหมือนทำให้รู้ว่าเป็นงานปีอะไรด้วยไง
WURKON:
แล้วทำไมถึงเลือกใช้สีอะครีลิค
ป๊อด:
เราอยู่คอนโดไง
WURKON:
กลิ่นใช่ไหม
ป๊อด:
ใช่ๆ แต่ก็อยากทดลองสีน้ำมันนะ เพราะรู้สึกว่ามันน่าจะได้เอฟเฟกต์ แต่ว่าก็ยังไม่ได้เริ่มเลย เคยคุยกับพี่ตั๋ง แกก็บอก สีอะครีลิคนั่นแหละ ดีแล้ว (หัวเราะ) แต่ถ้าเรามีสตูดิโอที่ไม่ต้องเปิดแอร์ ก็อาจจะลองใช้ดู
WURKON:
ตอนนี้ถือว่าพี่ป๊อดทำงานศิลปะเป็นงานอดิเรกไหมครับ
ป๊อด:
เป็นงานอดิเรกที่จริงจังครับ (หัวเราะ)
WURKON:
นั่นสิ ถึงขนาดทำสตูดิโอนี่ก็เรียกว่าจริงจังน่าดูเลย
ป๊อด:
ใช่ๆ (หัวเราะ)
WURKON:
ถ้าไม่นับงานดนตรีเนี่ย พี่ป๊อดว่าทำงานศิลปะนี่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ไหม
ป๊อด:
จริงๆ ก็พอได้นะ แต่น่าจะเป็นส่วนเสริมมากกว่า เพราะถ้าจะให้เลี้ยงชีพได้จริงๆเลย คงต้องให้เวลากับมันแบบ Full time และต้องพัฒนาตัวเองอีกมากๆๆ
WURKON:
แล้ว โมเดิร์นด็อก จะมีทำอัลบั้มใหม่ออกเมื่อไหร่เหรอครับ
ป๊อด:
ยังไม่ทราบเลยครับ ยังไม่มีกำหนด (ยิ้ม)
……………………………………..…………………………………
ขอบคุณภาพผลงานจาก คุณป๊อด โมเดิร์นด็อก
ถ่ายภาพบุคคลโดย อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา
#WURKON #art #contemporaryart #podart #painting #ธนชัยอุชชิน #โมเดิร์นด็อก #moderndog #ศิลปิน #แอบสแตรก #งานจิตรกรรม #ดนตรี #inpiration #music #song #แรงบันดาลใจจากงานศิลปะ
สัมผัสแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์แห่งการออกแบบวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัย www.wurkon.com
สามารถติดตามข่าวสารทุกวันได้ที่ : www.facebook.com/WURKON
Tel : 02-005-3550 Fax : 02-005-2557
Official Line : @wurkon / Twitter : @wurkon / Follow Instagram : @wurkon
*** สำหรับแฟนๆ และผู้ติดตามเพจ WURKON เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความบันเทิงจากเพจของเราในทุกๆ วัน คุณสามารถตั้งค่าให้เห็นคอนเทนต์ของเราบน News Feed ได้อย่างง่ายๆ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เข้ามาที่เพจ WURKON
2. คลิกที่ปุ่ม Following (กำลังติดตาม) หรือ Liked (ถูกใจแล้ว) ด้านบนของเพจ WURKON
3. เลื่อนไปที่ See First (เห็นโพสต์ก่อน) แล้วคลิกเลือก
ง่ายๆ แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จ แล้วท่านจะไม่พลาดเรื่องราวที่น่าสนใจจากเราอีกต่อไป
「งานจิตรกรรม」的推薦目錄:
- 關於งานจิตรกรรม 在 Pod Thanachai Ujjin Facebook 的最佳解答
- 關於งานจิตรกรรม 在 Pod Thanachai Ujjin Facebook 的精選貼文
- 關於งานจิตรกรรม 在 Mr.Sexman Facebook 的最讚貼文
- 關於งานจิตรกรรม 在 painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการ ... 的評價
- 關於งานจิตรกรรม 在 รูปแบบและวัสดุในงานจิตรกรรม - YouTube 的評價
- 關於งานจิตรกรรม 在 งานจิตรกรรม-ปักผ้า สวนจิตรลดา (thaiart2557) - Profile | Pinterest 的評價
งานจิตรกรรม 在 Pod Thanachai Ujjin Facebook 的精選貼文
Wurkon ชวนคุย , ขอบคุณมากครับ 🙏✨
คุยสบายๆ สไตล์อาร์ต กับ ป๊อด โมเดิร์นด็อก ในบทบาทศิลปินภาพวาดแอบสแตรก (ตอนแรก)
ถ้าเอ่ยชื่อ ป๊อด โมเดิร์นด็อก หรือ ธนชัย อุชชิน ขึ้นมา สำหรับคอดนตรีก็คงไม่ต้องบอกเล่ากันให้มากความ ว่าเขาเป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลง ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องนำของวงดนตรีอัลเทอร์เนทีฟสัญชาติไทยอย่าง โมเดิร์นด็อก ที่กลายเป็นตำนานหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทย กับผลงานชุดแรกอย่าง โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ อันแปลกใหม่ ทรงพลัง และเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ จนโด่งดังถล่มทลายตั้งแต่ครั้งเปิดตัว และจุดกระแสดนตรีอัลเทอร์เนทีฟและโมเดิร์นร็อคให้เป็นที่แพร่หลายในวงการดนตรีเมืองไทยยุคนั้นอย่างมาก นอกจากนั้นเขายังมีบทบาทโดดเด่นในฐานะนักร้องให้กับอัลบั้มของ บอย โกสิยพงษ์ หลายอัลบั้ม ซึ่งเสียงร้องอันน่าทึ่งจนมหัศจรรย์ของเขา ก็จุดกระแสดนตรีอาร์แอนด์บีให้เป็นที่นิยมในบ้านเราอย่างสูงเช่นเดียวกัน และเขาก็ยังไม่หยุดตัวเองอยู่กับแนวทางเดิมๆ ที่คุ้นเคย หากท้าทายและทดลองกับแนวทางดนตรีหลากหลาย และแสวงหาหนทางใหม่ๆ ในงานดนตรี จนกลายเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือและเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดของเมืองไทยคนหนึ่ง
แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเขายังมีอีกบทบาทหนึ่งที่ท้าทายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือการเป็นศิลปิน Visual Art ที่มีนิทรรศการแสดงศิลปะมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการภาพถ่าย Homonid ที่หอศิลป์ About Photography ในปี 1997 และนิทรรศการ Happy Accidents ที่หอศิลป์ดีคุ้น (D kunst) ในปี 2013 และล่าสุด ในปี 2017 ที่ผ่านมา กับนิทรรศการ POD ART by Thanachai Ujjin ที่ Woof Pack Space และนิทรรศการ POD ART at YELO House ณ โครงการเยโลเฮ้าส์ (YELO House) ที่เผยให้เราได้เห็นผลงานภาพวาดแอบสแตรกสีสันสดใส เปี่ยมจินตนาการ ที่เต็มไปด้วยสเน่ห์ ความเป็นอิสระ และความท้าทาย ไม่แพ้งานเพลงของเขาเลย
นับเป็นโชคดีที่ในคราวนี้เรามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนเขาถึงในสตูดิโอวาดภาพอันอบอุ่นน่ารักของเขาที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และพูดคุยสนทนาถึงความเป็นมาเป็นไป และแรงบันดาลใจในการเดินบนเส้นทางสายศิลปะของเขา เพื่อเอามาเป็นของฝากให้คุณได้อ่านในช่วงวันหยุดยาวนี้กัน
……………………………………..…………............
WURKON:
แรกเลย พี่ป๊อดเริ่มเล่นดนตรีมาตั้งแต่ตอนไหนครับ
ป๊อด:
ม.ต้นครับ
WURKON:
จำได้ว่าตอนพี่ป๊อดเข้าประกวดเวที โค้ก มิวสิค อวอร์ดส์ ปกติวงที่เข้าประกวดยุคนั้นเขาจะเล่นฟิวชั่นแจ๊สอะไรกัน แต่วงพี่เล่นร็อคเลย
ป๊อด:
ใช่ครับ คือเราอยากหนีสูตรสำเร็จไง ตอนนั้นได้ไปดูเพื่อนประกวดปีก่อนหน้า แล้วก็ไปเห็นว่าแต่ละวงเหมือนจะเล่นแนวฟิวชั่นแจ๊สกันหมด เราเลยคิดในใจว่าปีหน้าเราจะตั้งวงบ้าง แต่จะเล่นเพลงที่หนวกหูที่สุด
WURKON:
ตอนนั้นเลือกเพลงอะไรไปเล่นนะครับ
ป๊อด:
หลักๆ ก็มี Smells Like Teen Spirit ของ Nirvana แล้วก็ Give It Away ของ Red Hot Chili Peppers โจทย์ของวงเรามีแค่นี้เลย คือเล่นเพลงที่หนวกหูที่สุด นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่มาเป็นโมเดิร์นด็อกจนถึงวันนี้ (หัวเราะ)
WURKON:
แต่เพลงของ โมเดิร์นด็อก หลังๆ ก็ไม่ค่อยหนวกหูแล้วนะ
ป๊อด:
วันนี้กลับอยากจะเล่นเพลงที่เงียบที่สุด แต่ถึงยังไงเราก็ยังต้องเล่นเพลงที่ตัวเองสร้างไว้ในยุคเริ่มต้น
WURKON:
แล้วหลังชนะเลิศ โค้ก มิวสิค อวอร์ดส์ ตอนนั้นมันมีความต่อเนื่องอะไรบ้าง
ป๊อด:
สมัยนั้นพวกเวทีประกวดต่างๆ ประกวดเสร็จแล้ว ก็แยกย้ายกันไป ไม่ได้มีการต่อยอดอะไร ต่างจากยุคหลังๆ ที่อาจมีการส่งต่อ เอาวงไปทำอัลบั้มโน่นนี่นั่น ซึ่งเราเองก็รู้สึกเสียดาย เพราะกว่าจะผ่านแต่ละด่านของการประกวดมาได้ มันต้องมุ่งมั่นทุ่มเทกันมาก ก็เลยบอกเพื่อนๆว่า เฮ้ย ! มาทำเพลงกันดีกว่า ทุกคนก็ตัดสินใจมาทำอัลบั้มกัน
WURKON:
ได้เอาไปเสนอค่ายไหนไหม
ป๊อด:
ตอนนั้นไม่ได้คิดเรื่องค่ายเลย แค่คิดว่าอยากทำกับใครมากกว่า พอดีไปเจอเพลงของวง TKO แล้วชอบมาก แล้วก็ไปอ่านเจอบทสัมภาษณ์ของพี่สุกี้ (กมล สุโกศล แคลปป์) ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ของ TKO เราก็เลยมาบอกเพื่อนว่า คนนี้น่าสนใจ จากนั้นก็บุกไปที่หลังเวทีของ TKO (หัวเราะ) เข้าไปเสนอตัว บอกว่า พี่ครับ ผมอยากทำงานกับพี่
WURKON:
แล้วเขาว่าไง?
ป๊อด:
เขาก็ถามประมาณว่า พวกยูคือใคร? (หัวเราะลั่น) มีอะไรให้ไอดูบ้าง เราก็เลยเอาวิดีโอตอนประกวดรอบชิง โค้ก มิวสิค อวอร์ดส์ ไปให้ จนเขาก็โทรกลับมา บอกว่า น่าสนใจนะ แต่อยากเห็นพวกเราเล่นสดด้วย ก็เลยเชิญพี่สุกี้มาที่ห้องซ้อม ตอนนั้นซ้อมกันอยู่ที่จุฬาฯ พอเขาได้ดูพวกเราเล่น ก็เซย์เยส แล้วก็เริ่มทำอัลบั้มกันหลังจากนั้น
WURKON:
คิดไหมว่าทำอัลบั้มแรกแล้วจะประสบความสำเร็จขนาดนั้น เพราะตอนนั้นนี่ดังระเบิดระเบ้อมากเลย กลายเป็นวงที่เปิดศักราชดนตรีอัลเทอร์เนทีฟในเมืองไทยวงแรกเลย
ป๊อด:
ไม่กล้าคิดนะ กะว่าทำเอามันส์อย่างเดียวเลย คือใส่สุด ไม่ได้คิดเรื่องผลลัพธ์ ตอนนั้นสุกี้ยังถามว่า ป๊อด ยูว่าเราจะขายได้เท่าไรวะ เราบอกว่า ซีเปีย ขายดี ตอนนั้นซีเปียออกมาก่อน กำลังดัง เป็นเพื่อนๆกันด้วย ซีเปียขายได้สัก 50,000 มั้ง ถ้าเราได้อย่างซีเปียก็คงดี ก็ตั้งใจไว้อย่างนั้น
WURKON:
สรุปขายไปได้เท่าไหร่นะครับตอนนั้น
ป๊อด:
ไปๆ มาๆ ตอนนั้นน่าจะเกือบล้านน่ะ น่าจะแตะล้านตลับ ตื่นเต้นมาก
WURKON:
อะไรที่ทำให้พี่ป๊อดชอบเกี่ยวกับศิลปะหรือดนตรีมาตั้งแต่ต้นครับ
ป๊อด:
จริงๆ ก็ตั้งแต่ ป.1 ป.2 จำได้ว่าเคยคุยกับแม่นะ ว่าชอบวาดรูป ระบายสี แล้วสมัยป.3 เดินผ่านห้องดนตรีไทย เห็นเขาเตร้งๆ อะไรกันอยู่ เราก็ไปเกาะกระจกดู อีท่าไหนไม่รู้ มารู้ตัวอีกที เราก็เข้าไปนั่งอยู่ในฆ้องวงเล็กแล้วน่ะ (หัวเราะ) ครูเขาจับไปเล่นฆ้องวงเล็ก ตั้งฉายาให้ว่า นกเล็ก เพราะตัวเล็กสุด (หัวเราะ) ก็เล่นดนตรีมาตั้งแต่ตอนนั้น พอเข้า ม.1 มันก็จะมีวันเลือกชุมนุมที่โรงเรียน เราก็พุ่งเข้าไปที่ชุมนุมศิลปะเลย ก็เลยกลายเป็นเด็กชุมนุมศิลป์ ไปช่วยเขาเพนท์ฉาก คัทเอาท์ เวที โน่นนี่นั่น
WURKON:
ตอนนั้นเล่นดนตรีไทยไปด้วยเหรอครับ
ป๊อด:
ดนตรีไทยนี่มาเลิกตอน ม.2 นะ มันมีเกิดเหตุการณ์ที่ว่า ตอนนั้นเริ่มจับกีต้าร์แล้ว เพราะอยากเล่นเพลง เริ่มแกะเพลง เริ่มแกะกีต้าร์ แล้วในวิชาดนตรีไทยที่โรงเรียน อาจารย์ก็ให้ทุกคนออกมาร้องเพลง ลาวดวงเดือนหน้าห้อง พอเลิกชั้น อาจารย์ก็เรียกมาคุย บอกให้เราขึ้นมาฝึกระนาดเอกหลังกินข้าวเสร็จ ตอนพักเที่ยง (หัวเราะ) ไม่รู้ว่าแกเห็นอะไรจากการร้องลาวดวงเดือนนะ เราก็ไปฝึกระนาดได้พักนึง แต่ช่วงนั้นเราก็เล่นกีต้าร์อยู่ที่บ้านด้วยไง ก็มานั่งคิดว่า เอ จะไประนาดต่อ หรือจะไปกีต้าร์ดีวะ สุดท้ายกีต้าร์ชนะ (หัวเราะ) แล้วก็เริ่มตั้งวงดนตรีตั้งแต่ตอนนั้น เริ่มหาเพื่อน ใครเล่นอะไรกันได้บ้าง แล้วก็รวมตัวกันเป็นวงตอน ม.3
WURKON:
ตอนนั้นเล่นเพลงของใคร
ป๊อด:
อัสนี-วสันต์เลย ตอนนั้นคือคลั่งมาก ตั้งวงเพราะอยากเล่น บ้าหอบฟาง มีเดือนเพ็ญ กับ Last Chritmas ด้วย มีจับกัง คาราบาว ซึ่งเป็นคนละเรื่องเลย (หัวเราะ) แนวเพลงมันต่างกันมาก แล้วก็ลงประกวดในงานสมานมิตรที่โรงเรียน ซึ่งเจอแต่วง ม.ปลายทั้งนั้น พวกเราเลยเป็นวง ม.ต้นวงเดียว มีพวกรุ่นพี่ที่จบไปแล้ว ตะโกนแซว เฮ้ย นกแล โว้ย นกแล! (หัวเราะ)
WURKON:
ชนะไหม
ป๊อด:
มาชนะตอนอยู่ม.5 ครับ แต่เรื่องที่ปลื้มปริ่มมากคือ วันเสาร์นี้ (3 มีนาคม) พี่ป้อมพี่โต๊ะ ชวนเราไปเป็น Guest ที่อิมแพค หลังจาก 30 กว่าปี ตั้งแต่บ้าหอบฟางของเด็ก ม.3 วันนั้น ความจริงตลอดชีวิตการเป็นนักดนตรีของเรานี่ มีโอกาสไปเป็นแขกรับเชิญให้ศิลปินหลายคน แต่ในใจนี่รอมาตลอดเลยว่าเมื่อไหร่พี่ๆจะเรียกเรา จนเมื่อเดือนที่แล้ว ได้รับโทรศัพท์จากพี่ป้อม บอกว่า เฮ้ ป๊อด มาสนุกกันหน่อย (หัวเราะ) ซึ่งถ้าพี่ป้อมพี่โต๊ะมาเล่นเพลง บุษบา กับเราด้วยนี่จะเป็นอะไรที่ฟินมาก (ยิ้ม)
WURKON:
แล้วพอมาเล่นดนตรีแล้วได้ทำศิลปะต่อไหมครับ
ป๊อด:
พอจบม.ปลาย เราก็เอ็นติดที่ ครุอาร์ต (สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งก็ต้องเรียนศิลปะทุกแขนงเพราะว่ามันเป็นคณะที่จบออกไปเพื่อเป็นครูศิลปะ ก็จะมีทั้งเพ้นติ้ง, ดรออิ้ง, ประติมากรรม, ภาพพิมพ์, อินทีเรีย, เขียนแบบ, ออกแบบ พอช่วงปีสามถึงมาตั้งวงโมเดิร์นด็อกเพื่อไปประกวดโค้ก พอปีสี่ก็เข้าห้องอัดทำอัลบั้มแรก จบปุ๊ปก็ออกอัลบั้ม งานเพลงเลยเป็นอาชีพแรกของเรา คือทำอาชีพโมเดิร์นด็อกมาโดยตลอด
WURKON:
ไม่ได้ทำตามสายที่เรียนมา
ป๊อด:
ใช่ครับ แต่ก็มีโอกาสได้ใช้วิชาที่เรียนมา เช่นคิดเรื่องอาร์ตเวิร์คปกอัลบั้ม หรือออกแบบเวทีเจ็ดสีคอนเสิร์ต ซึ่งตอนนั้นเราก็รู้ว่า ค่ายเราอินดี้ไม่ค่อยมีงบ แล้วเราจะทำยังไงกับเวทีดีวะ ตอนนั้นเราก็มีไอเดียว่าเฮ้ย ลองทำออกมาให้มันเป็นเหมือนเวทีลูกทุ่งงานวัดนี่แหละ ประหยัดดี ใช้โปรดักชั่นทีมงานวงลูกทุ่งมาวาดดอกไม้ มีผ้าเจ็ดสีอะไรไป สมัยนั้นก็ดูเป็นเรื่องที่ประหลาดดี (หัวเราะ)
WURKON:
การแต่งตัวของ โมเดิร์นด็อก เองก็มีความแตกต่างจากวงดนตรีร็อกในยุคนั้น คือการเอาเสื้อมือสอง เสื้อลูกเสือ เสื้อตัวเล็กๆ มาใส่
ป๊อด:
ใช่ครับ คือเราก็เห็นว่า ยุคนั้นนักร้องเค้าจะแต่งตัวให้มัน Glam หน่อย ใช้ผ้ามันๆ วาวๆ ดูหรูหรา เอ๊ะ หรือเราลองแต่งเป็นภารโรงดู ก็เลยนึกถึงเสื้อลูกเสือ เสื้อมือสอง ลองเอาสิ่งใกล้ตัวเหล่านี้มาปรับใช้ คือเราอยากเปิดมุมมองให้เห็นว่า ทุกอย่างมันเป็นไปได้ไง ความธรรมดา หรือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน พวกเสื้อแถม อะไรอย่างงี้
WURKON:
ทรงผมด้วย
ป๊อด:
ใช่ครับ เรื่องทรงผม เรื่องแต่งตัวเนี่ย ก็มีสไตลิสต์มาช่วยด้วย ชื่อคุณ ฟิโอน่า เกรแฮม เป็นเพื่อนของพี่สุกี้ ซึ่งเค้าเรียนจบการแสดงจากอังกฤษมา แล้วกลับมาเมืองไทยพอดี เจอกันครั้งแรกนี่ เค้าแต่งชุดส่าหรีมาเลย ทรงผมแบบแมนจู โกนครึ่งหัว เราก็ได้คุยกันถึงทิศทางว่า พวกเราคิดอะไร ยังไง ซึ่งเราก็อยากจะดึงอะไรที่มันเป็นไทยๆ ออกมา เพราะว่าในเพลงเราก็ใช้คำศัพท์และเรื่องราวแบบไทยๆ พวก บุษบา, มานี , ทุเรียน, กะลา เราเลยอยากจะดึงความเป็นไทยออกมาใช้ ทั้งในส่วนอาร์ต, ปก, เครื่องแต่งตัว ซึ่งพี่เฟี่ยวก็ชอบด้วย ก็เลยไปเดินสำเพ็งกัน ไปหาผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้าโสร่ง กลับมาตัดเป็นเสื้อ กางเกง แล้วเค้าก็ไปหาเสื้อเด็กตัวเล็กๆ มาให้เราใส่ ตอนแรกก็แบบ โอ้โหเฮ้ย ใส่แล้วดูเป็นกิ้งก่า ตุ๊กแกกันเลยว่ะ (หัวเราะ) แต่เขาก็เชียร์จนเราเชื่อ คือสมัยก่อนตอน ปี 37 เนี่ย ผู้ชายจะยังใส่เสื้อตัวใหญ่ๆ การใส่เสื้อพอดีตัวมันยังไม่มี มีแต่ตัวโคร่งๆ พวกเราก็ลองแหวกมาใส่เสื้อพอดีตัว ถึงขั้นลีบและรัดรูปด้วย บางตัวก็เอวลอยซะ เห็นสะดือเลย (หัวเราะ)
WURKON:
เรื่องการเต้นก็เหมือนกัน พี่ป๊อดมีวิธีการเต้นไม่เหมือนกับวงดนตรีในยุคนั้นเลย มันดูหลุดโลกมาก ส่วนนี้ได้มาจากไหน ได้มาจากคุณฟิโอน่าด้วยไหม
ป๊อด:
มีส่วนอย่างมากครับ เพราะว่าเราได้ทำเวิร์คช็อปกัน มันเหมือนเราได้เปิดโลก น่ะ คือพี่เฟี่ยวพยายามผลักให้เราเอาข้างในออกมา โดยไม่ไปปิดกั้น อย่างเช่นการคุยกันโดยไม่ใช้ภาษาพูด แต่ใช้เสียงแทน เหมือนเราคุยกันเป็นเสียงที่ไม่มีความหมาย (ทำเสียงประหลาดๆ) นึกออกมั้ย (หัวเราะ) มันเข้าไปสื่อกันจากใจสู่ใจเลยน่ะ ไม่ได้ใช้ความหมายของถ้อยคำน่ะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยู่ข้างในเรา มันก็จะพุ่งออกมา
WURKON:
มันก็เลยดูไม่เป็นแพทเทิร์น มันเหมือนไหลออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ
ป๊อด:
ใช่ครับ ประกอบกับความที่เราก็เป็นเด็กดื้อด้วย ตอนนั้น อย่างเพลงกะลา ซึ่งมันก็เป็นเรื่องของการแหกกรอบออกมาจากขนบ จากการที่พ่อแม่ หรือครูวางเอาไว้ มันเลยเป็นสิ่งที่ลงตัวกันพอดี
WURKON:
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือการร้องเพลง การร้องของพี่ป๊อดในยุคนั้นค่อนข้างหลุดมาก ทั้งการบิดคำภาษาไทย การแอดลิบ การร้องมีหางเสียง คือนักร้องในยุคนั้นจะไม่ทำแบบนั้น พี่ป๊อดได้มากจากไหนเหรอครับ
ป๊อด:
คือเราชอบ Prince มากตอน ม.1 แล้ว ช่วงหนังเรื่อง Purple Rain ซึ่งก็เป็นอัลบั้มโปรดปราน เราคงได้ซึมซับมาจาก Prince ในเรื่องของการออกเสียงแบบ โซล อาร์แอนด์บี ซึ่งเป็นวิธีการร้องที่เราชอบ
WURKON:
แล้วพี่ป๊อดมีอารมณ์อยากทำเพลงแบบอาร์ตมิวสิค เพลงที่เป็นตัวเราโดยไม่สนใจคนฟังเลยบ้างไหม
ป๊อด:
ก็มีครับ คือจริงๆ ตอนที่เราเขียนเพลง หรือทำเพลง เราก็จะทำอย่างที่เราชอบจริงๆ ใช้คำว่า ทำออกมาจากใจดีกว่า ทุกๆเพลงในทุกชุด แต่ในเวลาที่ไปแสดงสดต่อหน้าผู้ชม เราก็ต้องมีการปรับให้เข้ากับพื้นที่ด้วย คือเคยไปเล่นอัลบั้ม Love Me Love My Life ตอนไปทัวร์ต่างจังหวัด แล้วเล่นเพลงชุดนั้นอย่างเดียวเลย เพราะเป็นอัลบั้มล่าสุดตอนนั้น คนในร้านก็นั่งหน้าเศร้ากัน (หัวเราะ) คือตอนนั้นเรา pure มากไง ก็คิดว่าออกชุดใหม่มา ก็ควรเล่นเพลงใหม่ แล้วก็ไปเล่นร้านที่อยู่สุดขอบชายแดน โดยไม่เล่นเพลงฮิตเลย เล่นแต่เพลงชุดใหม่ พวก เวตาล, Happiness is ... อะไรแบบนั้น ซึ่งก็รู้เลยว่าเครียดทั้งคู่ ทั้งคนดูและคนเล่น (หัวเราะ)
WURKON:
ดนตรีกับภาพวาดถึงมันจะเป็นงานศิลปะเหมือนกัน แต่มันก็มีความแตกต่างกันอยู่ตรงที่ดนตรีมันต้องเอนเตอร์เทนคนฟังมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาแสดงสด
ป๊อด:
ใช่ๆ ก็ต้องยอมรับเลยว่ามันก็คืองานเอนเตอร์เทน แต่ก็มีบางกรณี อย่างล่าสุด เดือนที่แล้ว ไปเล่นที่ร้าน Play Yard เมธีบอกว่าร้านนี้เป็นร้านที่คนดูเป็นตัวจริงที่มาเพื่อเสพดนตรี ไม่ต้องใช้เซ็ตลิสต์เอนเตอร์เทนของเราก็ได้ เราก็เลย เฮ้ย ถ้าอย่างนั้นก็สวยสิ เลยเอาเพลง side B พวก อีสานคลาสสิค, Happiness is ..., แดดส่อง, ที่จริงในใจ อะไรพวกนี้มาเล่น ซึ่งปรากฏว่าคนที่มาดูเต็มร้านประมาณ 200 คน ร้องตามทุกคำของทุกเพลง และที่อะเมซิ่งมากคือร้องแม้กระทั่งเพลงบรรเลง แบบ ตื่อ ตือ ตื้อ , ตือ ตื้อ ตื่อ (ฮัมทำนอง Happiness is ...) คือเราเล่นไปน้ำตาจะไหลอ่ะ หรืออย่างงานคอนเสิร์ตใหญ่ 22 ปี เราก็รู้ว่าเป็นงานใหญ่มาก ที่จะมีทั้งแฟนแบบฮาร์ดคอร์ที่อินกับทุกเพลง กับแฟนที่อยากจะได้ภาพรวม เราก็เลยต้องพยายามหาสัดส่วนให้เหมาะสมระหว่างเพลงฮิตกับเพลงลึก
โปรดติดตามตอนต่อไป
……………………………………..…………............
ขอบคุณภาพผลงานจาก คุณป๊อด โมเดิร์นด็อก
ถ่ายภาพบุคคลโดย อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา
#WURKON #art #contemporaryart #podart #painting #ธนชัยอุชชิน #โมเดิร์นด็อก #moderndog #ศิลปิน #แอบสแตรก #งานจิตรกรรม #ดนตรี #inpiration #music #song #แรงบันดาลใจจากดนตรี #แรงบันดาลใจจากงานศิลปะ
สัมผัสแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์แห่งการออกแบบวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัย www.wurkon.com
สามารถติดตามข่าวสารทุกวันได้ที่ : www.facebook.com/WURKON
Tel : 02-005-3550 Fax : 02-005-2557
Official Line : @wurkon / Twitter : @wurkon / Follow Instagram : @wurkon
*** สำหรับแฟนๆ และผู้ติดตามเพจ WURKON เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความบันเทิงจากเพจของเราในทุกๆ วัน คุณสามารถตั้งค่าให้เห็นคอนเทนต์ของเราบน News Feed ได้อย่างง่ายๆ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เข้ามาที่เพจ WURKON
2. คลิกที่ปุ่ม Following (กำลังติดตาม) หรือ Liked (ถูกใจแล้ว) ด้านบนของเพจ WURKON
3. เลื่อนไปที่ See First (เห็นโพสต์ก่อน) แล้วคลิกเลือก
ง่ายๆ แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จ แล้วท่านจะไม่พลาดเรื่องราวที่น่าสนใจจากเราอีกต่อไป
งานจิตรกรรม 在 Mr.Sexman Facebook 的最讚貼文
อ่ะ ตอบจบฮะ ขอบคุณเพจ WURKON นะครับ สำพลาดละเอียดมากก!!!!
คุยกับปาล์ม Instinct จิตรกรภายใต้โฉมหน้านักร้องเพลงร็อก (ตอนจบ)
……………………………………………………………..
WURKON:
ปาล์มทำงานดนตรีไปด้วย ทำงานศิลปะไปด้วยควบคู่กัน แบ่งเวลาการทำงานยังไงเหรอ
ปาล์ม:
แบ่งไม่ได้ครับ (หัวเราะ) บอกเลยตรงๆ ว่าบางครั้งผมก็มีผู้ช่วยคอยวาดให้ด้วย บางทีก็ส่งสเก็ตซ์ให้เขาวาดให้
WURKON:
เหมือนขึ้นแบบแล้วให้เขาช่วยลงสี?
ปาล์ม:
ใช่ครับ เราค่อยมาตบทีหลังในบางส่วน บางคนที่รู้ใจมานาน เขาจะรู้ว่าต้องวาดยังไง อย่างสมมุติถ้าผมมีงานเยอะๆ แล้วต้องไปออกทัวร์คอนเสิร์ตยันสิ้นปี ไม่มีวันพักเลย แล้วผมจะเอาเวลาไหนไปวาดรูป ไม่มีหรอก นี่ขนาดผมยังมีงานไม่เยอะมาก ยังวาดช้าเลยน่ะ ขนาดผมมีผู้ช่วยหลายคนทำงานสำหรับนิทรรศการนี้ (Siam Rangers) งานยังทำไม่เสร็จตามกำหนดเลย
WURKON:
ปาล์มมีผู้ช่วยมาตั้งแต่เมื่อไหร่
ปาล์ม:
ก็เพิ่งมีตั้งแต่ตอนทำงานชุดที่แสดงล่าสุดนี่แหละครับ
WURKON:
ความจริงการมีผู้ช่วยในการทำงานศิลปะก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนะ เพราะศิลปินระดับโลกอย่าง เจฟฟ์ คูนส์ (Jeff Koon) หรืออีกหลายๆ คนก็มีผู้ช่วยทำงานกันทั้งนั้น
ปาล์ม:
ใช่ คือผมเชื่อตลอดว่าเราทำยังไงก็ได้ ให้ท้ายที่สุดงานมันออกมาตามที่เราต้องการ ไม่งั้นเมื่อไหร่จะเสร็จล่ะ จริงไหม ศิลปินอย่างมูราคามิจะวาดรูปใหญ่เป็น 100 เมตรหลายรูปคนเดียว ก็ไม่ไหวหรอก เขาก็มีผู้ช่วยแหละ แต่เขาก็วาดเองบางส่วน
WURKON:
รูปแบบและเนื้อหาของภาพเราก็คิดขึ้นมาเอง
ปาล์ม:
ใช่ครับ ทุกรูปที่เราทำ เรามีแบบสเก็ตซ์ที่ชัดเจนให้เขา แล้วเราก็ซื้อสีให้เขาวาด บางคนนี่วาดได้อารมณ์มาก
WURKON:
ไปหามาจากไหนเหรอ ผู้ช่วยพวกนี้
ปาล์ม:
รุ่นน้องหามาให้ เป็นเด็กมหาวิทยาลัยนี่แหละ บางคนจบแล้วก็มี มีคนนึงเป็นน้องรักเลย เขาวาดดีมาก
WURKON:
จ้างเป็นพนักงานประจำเลยไหม
ปาล์ม:
ไม่ๆ ถ้าเรารวยขนาดนั้น ก็คงจ้างมาเต็มบ้านแล้ว (หัวเราะ)
WURKON:
อย่างคุณ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล เขาก็เปิดสตูดิโอศิลปะ มีทีมงานประจำหลายสิบคน ทำเป็นรูปแบบบริษัทเลย
ปาล์ม:
อยากมีแบบนั้นบ้างเหมือนกัน แต่เรายังไม่ดังขนาดนั้น (หัวเราะ) อย่างงานปั้นเนี่ย ผมปั้นเป็นที่ไหนล่ะ ก็ต้องจ้างเขาปั้นเอา ถ้าให้เปรียบเทียบมันก็เหมือนเราเป็นผู้กำกับหนังแหละนะ
WURKON:
แต่เราก็มีไอเดียอยู่แล้วว่าอยากให้งานออกมาแบบไหน?
ปาล์ม:
ใช่ มีไอเดียอยู่แล้ว อีกหน่อยนะ ถ้าทุกอย่างลงตัว ผมจะแบบ นอนอยู่บ้าน แล้วโทรศัพท์สั่ง เอ้า มาเอาสีไปวาดกัน (หัวเราะ)
WURKON:
ปาล์มไม่ได้เชื่อว่าศิลปินเป็นคนที่ต้องทำงานศิลปะด้วยตัวเองทั้งหมดใช่ไหม
ปาล์ม:
ใช่ มันก็เป็นแค่กระบวนการ จิตวิญญานของงานมันมาจากเราอยู่แล้ว อันนี้เป็นเรื่องที่ผมอยากเปลี่ยนความคิดของคนในบ้านเรามากเลย อย่างแม่ผมเนี่ย เมื่อก่อนเขาก็ไม่เข้าใจ เขาบอก ทำไมไม่วาดเองล่ะ เขาไม่เก็ทน่ะ
WURKON:
คือถ้าเป็นงานแบบเรียลลิสติก (Realsitic), งานแอบสแตรก (Abstract), แอบสแตรกเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Abstract Expressionist) หรืออิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionist) มันก็คงต้องทำเอง เพราะมันต้องสื่อเรื่องฝีมือหรืออารมณ์ความรู้สึกของศิลปินผ่านการวาดออกมา
ปาล์ม:
ใช่ๆ อะไรแบบนั้น แต่งานแบบผมใครๆ ก็วาดได้ ถ้าเขาจับแพทเทิร์นถูกนะ
WURKON:
คือเราต้องการสื่อสารความคิดออกมามากกว่า
ปาล์ม:
ใช่ ก็ยังมีคนที่ไม่ค่อยเข้าใจเยอะเหมือนกัน
WURKON:
แต่ปาล์มก็ไม่ได้ปิดบังใช่ไหม ที่เราไม่ได้วาดรูปเองทั้งหมด
ปาล์ม:
ไม่นะ ผมไปออกรายการโทรทัศน์ ผมก็บอกว่าผมมีผู้ช่วย บอกไปตรงๆ เลย
WURKON:
มีบางคนเขาผิดหวังไหม ที่เราไม่ได้ทำงานเอง
ปาล์ม:
ก็อาจจะมีบ้าง แต่ส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้ว่าอะไรนะ เขาก็บอกว่า เพิ่งรู้ว่าเป็นแบบนี้นี่เอง แต่ผมยังไม่เคยมีใครมาบอกว่าผิดหวังนะ เขาอาจจะรู้สึก แต่ไม่ได้บอกผม (หัวเราะ)
WURKON:
บางทีเราก็ทำทุกอย่างเองไม่ได้แหละนะ
ปาล์ม:
ใช่ๆ ไม่งั้นผมมิต้องทอผ้าเป็นแคนวาสเองเลยเหรอ หรือต้องปลูกต้นไม้ก่อน รอให้โตแล้วค่อยตัดมาทำเฟรม ใช่มะ (หัวเราะ)
WURKON:
ถ้าปาล์มไม่ทำงานเพลง แล้วหันมาทำงานศิลปะอย่างเดียว คิดว่ามันจะเป็นอาชีพที่มั่นคงไหม เราจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้หรือเปล่า
ปาล์ม:
จริงๆ ร้องเพลงก็ไม่มั่นคงนะ มั่นคงตรงไหน (หัวเราะ) ร้องเพลงนี่ลำบากนะตอนนี้ ผมร้องเพลงมา 18 ปี ผมไม่เคยเห็นวงการดนตรีมันซบเซาเท่าครั้งนี้มาก่อน ปัจจุบันพฤติกรรมการฟังเพลงมันเปลี่ยนไปตลอดเวลา ตอนนี้ผมเลยยังไม่ปล่อยเพลงใหม่ออกมา เพราะว่ายังไม่นิ่ง ดูสถานการณ์ไปก่อน แต่งานศิลปะนี่ เวลามันขายได้ มันก็ขายดีเลยนะ ผมเคยขายภาพวาดในนิทรรศการหมดเกลี้ยงนะ โหย แบบ ดีกว่าร้องเพลงอีก แต่งานดนตรีผมก็มีเล่นคอนเสิร์ตทุกเดือน มากบ้าง น้อยบ้าง สลับๆ กันไปแหละ บางทีเราก็ต้องเอาเงินจากงานดนตรีเจียดมาทำงานศิลปะบ้าง ก็แบ่งกันไปกันมา
WURKON:
แล้วการทำงานศิลปะตอนนี้ถือว่าอยู่ตัวหรือยัง
ปาล์ม:
ก็ถือว่าโอเคนะ คือตั้งแต่ทำซีรีส์นี้มา มีแต่ต่างชาติซื้อ ซึ่งก็ดีนะ เพราะใจผมก็อยากไปเมืองนอก แล้วเราก็จะไม่วาดในสิ่งที่เราไม่อยากวาดเพื่อให้คนอยากซื้อนะ
WURKON:
แล้วเพลงล่ะ เราร้องในสิ่งที่เราไม่อยากร้องได้ไหม
ปาล์ม:
ไม่ได้ครับ ผมถึงต้องแต่งเองไง เพราะผมอยากร้องในสิ่งที่ผมอยากร้อง
WURKON:
เพราะอารมณ์มันไม่ได้?
ปาล์ม:
ใช่ อย่างบางคนแต่งเพลงมาให้ผม แล้วมันไม่ตรงใจเรา เราก็เลยตัดสินใจแต่งเอง อย่างเพลง ขอโทษหัวใจ เนี่ย เป็นเพลงที่ผมภูมิใจนำเสนอมาก คือเราพูดกับตัวเอง ขอโทษหัวใจตัวเองที่ทำให้เจ็บ แต่ถึงเจ็บยังไงก็ต้องทนต่อไป เพราะเรายังลืมเขาไม่ได้ โอ๊ย ชอบมาก แต่งเองชอบเอง (หัวเราะ) ส่วนงานศิลปะนี่ชอบ 100% เลย เพราะไม่มีกั๊ก ปล่อยเต็มที่
WURKON:
เวลาทำงานปาล์มคิดถึงตลาดบ้างไหม
ปาล์ม:
ในส่วนของเพลงนี่มองอยู่แล้ว หรือแม้กระทั่งศิลปะ เราก็เป็นแบบกึ่งคอมเมอร์เชียลนะ เราทำงานแบบป๊อป ให้มันดูง่ายๆ คือเราไม่อยากเขียนเรื่องเครียดๆ เพราะเราไม่ได้เป็นคนเครียด สังคมเราทุกวันนี้มันเครียดพอแล้วล่ะ เราไม่อยากเอาความเครียดไปให้ใคร แต่ว่าในส่วนของศิลปะผมปล่อยได้เต็มที่กว่าดนตรีน่ะนะ
WURKON:
ดูๆ ไปปาล์มมีลักษณะคล้ายๆ ศิลปินญี่ปุ่นเหมือนกันนะ
ปาล์ม:
ใช่ ผมชอบ ทาคาชิ มูราคามิ มากๆ แต่ผมก็ชอบศิลปินอยู่ไม่กี่คนหรอกนะ ผมชอบ เจฟฟ์ คูนส์, ทาคาชิ มูราคามิ, เดเมียน เฮิร์สต์ (Damien Hirst), แบงก์ซี (Banksy) แล้วก็ ยู่ มินจุน (Yue Minjun) อีกคนที่ชอบมากคือ มัวริชิโอ คาตาลาน (Maurizio Cattelan) คนนี้สุดๆมาก
WURKON:
คิดว่าจะทำงานศิลปะไปถึงเมื่อไร
ปาล์ม:
ก็คงทำไปตลอดชีวิตแหละครับ
WURKON:
แล้วร้องเพลงล่ะ
ปาล์ม:
อันนี้ต้องดูก่อนแหละ คือเราอยากเป็นศิลปินที่อายุมากแล้วก็ยังแต่งเพลงได้อยู่ เราไม่อยากให้คนไปนึกถึงแต่เพลงเก่า แบบ อีกสิบปียี่สิบปีก็ยังนึกถึงแต่ โปรดส่งใครมารักฉันที อันนี้ก็ไม่ใช่แล้ว มันก็ต้องขยันทำเพลงออกมาใหม่เรื่อยๆ
WURKON:
งานศิลปะกับดนตรี ปาล์มรักอะไรมากกว่ากัน
ปาล์ม:
ผมรักทั้งคู่ แต่งานเพลงมันขึ้นอยู่กับคนฟัง ขึ้นอยู่กับลูกค้า แต่ศิลปะมันเป็นสากล มันไปได้ทั้งโลกไง เราเชื่อว่ามันต้องมีคนที่ชอบงานเราอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของโลกบ้างแหละนะ
……………………………………………………………..
ขอบคุณภาพผลงานศิลปะจาก หอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์
ภาพถ่ายบุคคลโดย อักษร สุดเสนาะ
#WURKON #art #contemporaryart #music #ปรียวิศว์นิลจุลกะ #ปาล์ม #Instinct #girl #จิตรกรในร่างทรงของนักร้องเพลงร็อก #งานจิตรกรรม #ดนตรี #แต่งเพลง #โซเชียลมีเดีย #แรงบันดาลใจจากงานศิลปะ
สัมผัสแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์แห่งการออกแบบวิถีชีวิตการทำงานยุคใหม่ได้ที่ WURKON ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะสมัย www.wurkon.com
สามารถติดตามข่าวสารทุกวันได้ที่ : www.facebook.com/WURKON
สอบถามข้อมูลได้ที่ Tel : 02-005-3550 Fax : 02-005-2557
Official Line : @wurkon (มี @ ด้วย) / Twitter : @wurkon
Follow Instagram : @wurkon
*** สำหรับแฟนๆ และผู้ติดตามเพจ WURKON เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความบันเทิงจากเพจของเราในทุกๆ วัน คุณสามารถตั้งค่าให้เห็นคอนเทนต์ของเราบน News Feed ได้อย่างง่ายๆ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เข้ามาที่เพจ WURKON
2. คลิกที่ปุ่ม Following (กำลังติดตาม) หรือ Liked (ถูกใจแล้ว) ด้านบนขวามือของเพจ WURKON
3. เลื่อนไปที่ See First (เห็นโพสต์ก่อน) แล้วคลิกเลือก
ง่ายๆ แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จ แล้วท่านจะไม่พลาดเรื่องราวที่น่าสนใจจากเราอีกต่อไป
งานจิตรกรรม 在 รูปแบบและวัสดุในงานจิตรกรรม - YouTube 的推薦與評價
Ep.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 รูปแบบและวัสดุใน งานจิตรกรรม มัธยมศึกษาศึกษา 2 รายวิชาพื้นฐานทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. ... <看更多>
งานจิตรกรรม 在 งานจิตรกรรม-ปักผ้า สวนจิตรลดา (thaiart2557) - Profile | Pinterest 的推薦與評價
See what งานจิตรกรรม-ปักผ้า สวนจิตรลดา (thaiart2557) has discovered on Pinterest, the world's biggest collection of ideas. ... <看更多>
งานจิตรกรรม 在 painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการ ... 的推薦與評價
จบจิตรกรรมทำงานอะไร จิตรกรรม (อังกฤษ: painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ... ... <看更多>