#ผลกระทบของCOVID19ต่อการเติบโตของเด็ก
#เรารู้อะไรจากงานวิจัย
.
ใครๆก็รู้ว่าเด็กที่เติบโตในยุคที่มีการระบาดของโรค COVID19
ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน...ไม่เห็นต้องไปอ่านงานวิจัยที่ไหน
แค่หันมามองลูกเราเอง ก็รู้แล้ว😅
.
แต่ข้อดีของการอ่านข้อมูลจากงานวิจัย
ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าขนาดของปัญหาที่เราคิดว่า
อาจจะเกิดกับลูกของเรา มันกว้าง มันลึกประมาณเท่าไหร่
และเมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้ เราเองจะมีทางทำให้ดีขึ้นได้บ้างมั้ย
.
1) งานวิจัยแรกที่หยิบยกมาเล่าให้ฟัง
เป็น systematic review( เป็นงานเขียนที่รวบรวมงานวิจัยที่คล้ายๆกันมากลั่นกรองข้อมูลอีกที )
เค้าศึกษาเรื่องผลกระทบของ การระบาด COVID19
ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็ก
ความน่าสนใจของงานวิจัยนี้
ไม่ใช่แค่หาข้อมูลเรื่อง COVID เพียงอย่างเดียว
แต่เค้ายังหยิบยกข้อมูลตอนที่เกิด pandemic อื่นๆมาเปรียบเทียบอีกด้วย
ในการศึกษานี้พบว่า
จากจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย 1210 ราย
(คนที่ตอบจะเป็นผู้หญิง เป็นตัวแทนของครอบครัวที่มีสมาชิก 2-5 คน)
53% มีคนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพจิตในระดับปานกลางถึงรุนแรง
โดย 16% มีอาการของซึมเศร้า
29% เป็นโรควิตกกังวล
8% เป็นโรคเครียด
ซึ่งเมื่อเทียบกับ การระบาดของ H1N1 การระบาดของ Ebola, การที่ครอบครัวมีคนติดเชื้อ HIV ในแอฟริกา
จะพบว่าผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ที่เกิด COVID19 ระบาด จะส่งผลกว้างกว่า
ซึ่งโดยส่วนตัว หมอคิดว่า ไม่ว่า Pandemic อะไรก็คงส่งผลให้เกิดความเครียดทั้งนั้น มันไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องตัวโรคเพียงอย่างเดียว
(ไม่ใช่ว่า COVID เครียดกว่า H1N2 หรือ Ebola)
แต่ยังมีเรื่องของสภาพสังคมปัจจุบัน ข่าวสาร
ที่ทำให้เกิดความเครียดได้มากกว่าในยุคก่อน
หรืออีกแง่มุมหนึ่งคือ การเก็บข้อมูลที่ดี ทำได้รวดเร็วกว่าในยุคก่อน ทำให้ข้อมูลเที่ยงตรงมากขึ้น
*** จุดสำคัญของงานวิจัยนี้คือ การที่มีคนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพจิต ก็จะไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการเด็ก เพราะหากเด็กเติบโตในครอบครัวที่ผู้ใหญ่มีความเครียดสูง จะทำให้เกิดความเครียดที่รุนแรง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของโครงสร้างสมอง (toxic stress)
2) งานวิจัยที่ 2 ทำในประเทศเกาหลีใต้
พ่อแม่ 217 ครอบครัว ของเด็กวัย 7-12 ปี เป็นผู้ตอบคำถามวิจัย
และแบบทดสอบประเมินสุขภาพจิต เด็กในเกาหลีใต้กลุ่มนี้ เรียนออนไลน์ 97%
พ่อแม่บอกว่า มีปัญหาเรื่องการใช้หน้าจอ
โดยพบว่าเด็กใช้ Youtube มาก 87.6%
เล่นเกมส์ 78%
ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมด้านลบ และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียด พบว่า บ้านที่เด็กมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม และเด็กมีปัญหาเรื่องการนอน สัมพันธ์กับแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าชัดเจน
3) งานวิจัยที่ 3 ทำในประเทศจีน 1062 ครอบครัว พ่อแม่ตอบแบบสอบถาม 1062 ราย ให้เด็กตอบแบบสอบถามเองได้ 738 ราย
ทำวิจัยในเด็กประถมเช่นกัน พบว่า ทั้งพ่อแม่ และเด็กมีความเครียดเพิ่มขึ้น
18% มีปัญหาด้านพฤติกรรม นอกจากนี้โดยส่วนใหญ่มีสมาธิลดลง และมีปัญหาเรื่องการเรียน
=======================
ตัวอย่างงานวิจัยที่หมอยกมา
ทำให้เรามองเห็นภาพว่า
1) เด็กปฐมวัย (เด็กเล็ก-อนุบาล)
เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่สำคัญสุดๆ
เพราะประสบการณ์ในวัยนี้ กำหนด โครงสร้างสมอง
เด็กไม่ได้รับรู้
เข้าใจความเลวร้ายของโรคระบาดดีนัก
เด็กไม่เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ
เด็กไม่เข้าใจปัญหาความล้มเหลวในการบริหารระบบอะไรใดๆ
เด็กเพียงแค่เข้าใจว่าพ่อแม่ #มีหรือไม่มีความสุข เท่านั้น
ถ้าคุณเป็น พ่อแม่ ที่ลูกที่บ้านอายุน้อยกว่า 6 ปี
หมอต้องบอกว่า....เวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง
เวลาของ COVID19 ผ่านเข้ามา
แล้วสักวันต้องผ่านไป
แต่หากลูกเล็กของเรา
ต้องเติบโตพร้อมกับบรรยากาศที่พ่อแม่ทุกข์ระทม พ่อแม่ทะเลาะกัน มีปัญหาเรื่องปากท้อง คนในบ้านเจ็บป่วย ไม่ได้เล่น ไม่มีรอยยิ่ม (toxic stress) ฯลฯ
2-3 ปีที่ต้องอยู่ในสภาพนี้
จะกำหนดโครงสร้างสมองของลูก
และเค้าต้องอยู่กับสมองที่ได้รับผลกระทบนี้ไปตลอดชีวิต
หมอรู้ว่าปัญหาบางอย่างแก้ไม่ได้ที่ #ระดับตัวเรา
แค่ลองดูว่า ปัญหาที่เราแก้ได้ด้วยตัวเอง เราทำแะไรให้ดีขึ้นบ้างมั้ย
2) พ่อแม่วัยประถม
จะเห็นว่า ไม่ใช่แค่ประเทศเรา
พ่อแม่เด็กวัยนี้จะเป็นกังวลเรื่องการเรียนของลูก
การใช้หน้าจอ ปัญหาความสนใจในเรียนลดลง
ปัญหาสุขภาพแฝงที่มากับการไม่ได้ออกไปเล่นไปปลดปล่อยนอกบ้าน
ความเครียดของแม่ การทะเลาะกันของพ่อแม่กับลูก
หมอเองก็เป็นแม่ของเด็กวัยประถมเช่นกัน
เด็กวัยนี้ เข้าใจสถานการณ์ของสังคมได้ดีพอสมควร
แต่ตามพัฒนาการของเค้า สิ่งสำคัญคือการไปเข้าสังคมกับเพื่อน
การทำงานด้วยกัน เล่นกัน โกรธกัน คืนดีกัน
เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญคือ
การเข้าสังคม การปรับตัว การยืดหยุ่น
ซึ่งเค้าไม่ได้ทำสิ่งที่ควรจะทำ ก็เกิดความเครียดได้มากมายแล้ว
สิ่งที่ได้กลับมา
คือ ต้องเรียนหน้าจอที่ไม่สนุก ไม่มีเพื่อน
ถามจริงว่า ถ้าคุณมีหน้าจอกับมือ มีเนื้อหาในหน้าจอที่หน้าเบื่อ กับเนื้อหาสนุกเลือกเองได้ เราจะอยากได้อย่างไหน
ตัวเลขในวิจัยก็ไม่เกินความคาดหมายใช่มั้ย
ถ้าเรามองลูกอย่างเข้าใจ
อย่างน้อย ก็อาจจะให้หงุดหงิดลูกได้น้อยลงบ้างนะคะ
3) พ่อแม่วัยรุ่น
ต้องบอกว่า เราคงทำอะไรไม่ได้มาก
นอกจากจะดูผลแห่งการเลี้ยงดูลูกในอดีตของเราเอง
ถ้าเราหล่อเลี้ยงใจเค้าตั้งแต่ปฐมวัย และประถม
วัยนี้ หมอเข้าใจว่า สิ่งที่เราทำได้คือ เฝ้าดู และบอกลูกว่า แม่อยู่ตรงนี้นะ
ถ้าอยากให้ช่วยเหลือ
===================
ข้อมูลเรื่องการแก้ปัญหา
หมอขออ้างอิง Center on developing child (Havard University)
https://developingchild.harvard.edu/resources/how-to-help-families-and-staff-build-resilience-during-the-covid-19-outbreak/
เรื่องการสร้างเด็กที่ ล้มแล้วลุกได้ไว (Resilience)
ซึ่งหมอเคยได้เขียนไปในบทความก่อนหน้านี้
ปัจจัยสำคัญของการสร้างเด็กที่มี Reilience ต้องการ 4 ข้อ
1. จะต้องมีสายสัมพันธ์ที่มั่นคง กับผู้เลี้ยงดูอย่างน้อย 1 คน
2. จะต้องไม่มี toxic stress กล่าวคือ เหตุการณ์ที่ทำให้สมองหลั่งสารความเครียดอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อพัฒนการโครงสร้างสมองโดยตรง
โดยความเครียดที่ว่า เด็ก(รู้สึก)ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการตอบสนองเมื่อเค้าตต้องการ พ่อแม่ที่มีภาวะสุขภาพจิตรุนแรง เช่น โรคซึมเศร้า เป็นจิตเภท
ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิด เป็นต้น
3. มี positive stress กล่าวคือ มีการฝึกวินัย ที่เด็กต้องบังคับ ฝึกตนเองให้ก้าวผ่านอุปสรรคไปได้ เป็นอุปสรรคที่คาดเดาได้ เช่น
แม่ให้ล้างจมูก ไม่อยากล้าง แต่ก็ต้องทำ
แม่ให้ช่วยทำงานบ้าน ไม่อยากทำ แต่ท้ายที่สุดก็ทำจนเสร็จ
ทำการบ้านได้เสร็จ
เรียนออนไลน์ ไม่สนุกแต่ก็บังคับตัวเองให้เรียนได้
4. เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ตามความสามารถที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัย
สำหรับอุปสรรคที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทั้งโลก
อย่างการระบาดของ COVID19
ในบทความได้เขียนบรรยาย และวาดภาพเอาไว้เข้าใจง่าย
เค้าเปรียบเทียบ สิ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
ในช่วงชีวิตของเด็กจะต้องมีทั้งด้านบวก และด้านลบ
การที่เราจะสร้างเด็กที่มีคุณสมบัติ Resilience ได้
ตาชั่ง ด้านบวกต้องมากกว่า หรือเท่ากับด้านลบ
เราจะทำอย่างไร
1) ลดปัจจัยด้านลบ ที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก
ลองกลับไปทบทวนดูว่า ในตอนนี้เราสามารถลดปัจจัยนั้นได้มากน้อยแค่ไหน เช่น หงุดหงิดใส่ลูกบ่อยๆ เพราะเครียดจากเรื่องอื่น เราจะลดได้มั้ย
หรือ รู้ตัวว่าเริ่มมีภาวะซึมเศร้า...เราจะขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง
(เห็นแผนภาพแล้วหมอก็เศร้า....เราอยู่ในประเทศ ที่ต้องพึ่งตัวเองเป็นหลักเลยค่ะ...อะไรที่พอทำได้ ก็ต้องทำไปค่ะ เพื่อลูก)
2) เพิ่มปัจจัยด้านบวก
อย่างที่บอก คือ เด็กต้องการเงื่อนไข 4 ข้อ ลองขึ้นไปอ่านด้านบน ว่าเราได้ทำได้หรือยัง ถ้ายัง จะเพิ่มเติมตรงไหนได้อีกบ้าง แต่บอกเลยว่า ข้อ 1 สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีข้อ 1 ไม่ต้องคิดถึงข้อถัดๆไป ดังนั้น อย่าไปคิดอะไรไกลตัว...ไม่ต้องไปคิดถึงคะแนนสอบ ไม่ต้องไปคิดว่าเราไม่ค่อยมีเวลาสอนการบ้านลูก.....แค่บรรยากาศในบ้าน ที่ไม่เครียด ลูกยังรู้ว่าเรารักเค้า...นั่นก็ดีพอแล้วค่ะ
.....
หมอแพม
ปล. ไม่ได้เขียนบทความนานมากแล้ว เพราะมาเติมปัจจัย Resilience ของตัวเองและเด็กในบ้าน
งานวิจัยที่3 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
#สมองลูกเกิดอะไรขึ้น_เมื่อคุณอ่านหนังสือให้เค้าฟัง
#บทความส่งเสริมการอ่าน_ตอนที่ 1
.
อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นเรื่องที่ดี
หมอคิดว่า พูดเช่นนี้ ใครๆก็คงจะรู้แล้ว😁
หากย้อนกลับไปสัก 50 ปีก่อน
ที่เทคโนโลยี ยังไม่ทันสมัยขนาดนี้
ถ้าเราจะวัดว่า อ่านหนังสือให้เด็กฟังมันดียังไง
ก็คงบอกว่า
เด็กที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง หรือเด็กที่รักการอ่าน
จะประสบความสำเร็จมากกว่า
(มักจะวัดจาก ผลการเรียน การจบมหาวิทยาลัย คะแนนสอบ ฯลฯ)
ตัวชี้วัด ในงานวิจัยส่วนใหญ่
เป็นเรื่องในอนาคตของเด็กคนนั้น
ซึ่งสำหรับนักวิจัยที่ดี การจะบอกได้ว่า
เด็กคนหนึ่งประสบความสำเร็จได้ดีกว่าอีกคนเป็นเพราะ การอ่านที่มากกว่า
คงต้องตัดปัจจัยกวนทั้งหมดออก
(confounding factors)
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เช่น เชื้อชาติ ฐานอารมณ์ของเด็ก สติปัญญาของเด็กเอง รายได้และการศึกษาพ่อแม่ โรงเรียน ฯลฯ
แถมยังมีปัจจัยกวนที่เราไม่สามารถวัดเป็นค่าตัวเลขได้อีกมากมาย
นักวิจัยก็ได้แต่เพียงอนุมานผล
ดังนั้นในงานวิจัยยุคก่อน
แม้ผลจะชัดเจนมากแค่ไหน ก็ยังมีข้อค้านได้
ลองคิดดูดีๆ เด็กที่ได้อ่านหนังสือมากกว่า
เป็นเพราะอะไร??
👉พ่อแม่ให้ความสำคัญกับการอ่าน
👉มีเวลาให้ลูก ไม่ต้องปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ
👉มีเงินซื้อหนังสือ หรือพ่อแม่ขวนขวายในการหาหนังสือให้ลูกอ่าน
ซึ่งมักจะสัมพันธ์โดยตรงกับ ระดับการศึกษา รายได้ เศรษฐานะของพ่อแม่ (ถ้าเป็นยุคนี้ต้องบอกว่า ความรู้และ mindset) แม้แต่นโยบายรัฐ
.
การศึกษาที่โด่งดังมาก ในอดีต
(งานวิจัยในปี 1960) เป็นที่มาของคำว่า
“ช่องว่าง 30 ล้านคำ” ศึกษาพัฒนาการด้านภาษาในเด็กอายุ 2.5 ปี ใน 42 ครอบครัว
โดยแบ่งครอบครัวเป็น
ฐานะดี ฐานปานกลาง และกลุ่มยากจน
นักวิจัยจะเข้าไปประเมินพัฒนาการด้านภาษาของเด็กทุกเดือน เก็บข้อมูลการเลี้ยงดูอย่างละเอียด
จนเด็กอายุครบ 4 ปี พบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะดี เด็กมีคลังศัพท์ 46 ล้านคำ
ในกลุ่มปานกลาง มีคลังศัพท์ 26 ล้านคำ ในขณะที่เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะยากจน มีคลังศัพท์ 13 ล้านคำ
และนักวิจัยยังรายงานอีกว่า 98%ของคำศัพท์ที่เด็กใช้ คือสิ่งคำที่พ่อแม่ใช้ พ่อแม่พูดคุยกับลูก
(พูดให้ตรงมากขึ้น คือ #เด็กเรียนรู้ภาษาเกือบทั้งหมดผ่านจากปากของพ่อแม่)
หลังจากที่วิจัยนี้ได้เผยแพร่ออกไป ก็ทำให้วงการปฐมวัย สั่นสะเทือนเลยทีเดียว (ไม่ได้เว่อนะคะ🤣)
เพราะนักวิจัยสนใจทำวิจัยเรื่องปฐมวัยมากขึ้น
และรัฐบาลของ US สมัยนั้น
ก็ทุ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาด้านปฐมวัยมากขึ้นด้วย
อย่างนั้นก็เถอะ
นักวิจัยรุ่นหลังก็มีข้อกังขาหลายอย่าง
เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยน้อยมาก 42 ครอบครัว สามารถเป็นตัวแทนของเด็กทั้งประเทศเลยหรือ?
การเก็บข้อมูลทำอย่างไร นับจำนวนศัพท์อย่างไร? เด็กอายุแค่ 2.5-4 ขวบ
มีคนแปลกหน้าไปสัมภาษณ์ เด็กพูดน้อย ถือว่าเด็กมีศัพท์น้อย? มีข้อสงสัย และข้อโต้แย้งมากมาย
หลังจาก งานวิจัยนี้ ก็มีงานวิจัยเรื่อง
พัฒนาการด้านภาษาในเด็กเล็กเต็มไปหมด
.
สำหรับตัวหมอเองในฐานะนักวิจัย ก็ต้องยอมรับว่า งานวิจัย 30 million gap มีจุดบกพร่องมากมาย
แต่ก็ต้องยกย่องงานวิจัยนี้ เพราะถือว่าเป็น viral information ในยุคนั้นเลยก็ว่าได้😁😁
.
ตัดมาที่ปัจจุบันเลยค่ะ
ยุคนี้ วิทยาศาสตร์สมอง
มีเทคโนโลยีทันสมัย ไม่ต้องคาดเดา
สามารถถ่ายรูปการทำงานของสมองได้แบบ real time (เอาให้เห็นกันจะจะ😂)
งานวิจัยแรกที่จะเล่าให้ฟัง เป็นงานวิจัยของ Dr. John S. Hutton
เพื่อจะตอบคำถามว่า
❤#สื่อแบบไหนที่กระตุ้นให้สมองเด็กเกิดการเชื่อมโยงด้านภาษาได้มากที่สุด❤
โดยทำการศึกษาในเด็กอายุ 4 ขวบ 27 คน
ให้เด็กแต่ละคน ฟังนิทานเรื่องเดียวกัน จาก 3 สื่อ
และถ่ายภาพสมองเด็กจากเครื่อง fMRI ขณะที่ได้ฟังแต่ละสื่อ
👉นิทานเป็นแบบ animation
👉นิทานเป็นเล่มให้แม่อ่าน
👉นิทานที่มีแต่เสียง
•ผลคือ animation มีข้อมูล ภาพ เสียง การเคลื่อนไหว แค่รับข้อมูลอย่างเดียว สมองเด็กก็ต้องทำงานหนักมากแล้ว เมื่อดูจาก fMRI สมองส่วนอื่น ถูกกระตุ้นอย่างมาก แต่ส่วนที่ควบคุมด้านการเรียนรู้ภาษากลับถูกกระตุ้นน้อย
เพราะสมองเอาพลังงานไปรับข้อมูลที่มากล้น รวดเร็ว จนเชื่อมโยงไม่ทัน เรียกว่า #Too_hot
• นิทานภาพ: สมองของตอนเด็กขณะได้ฟังนิทานภาพ สมองส่วนรับภาพรับเสียงถูกกระตุ้น และพบว่า สมองส่วนภาษาถูกกระตุ้นมากพอกัน
อธิบายได้ว่า เมื่อมีภาพ และมีเสียง ทำให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ และเชื่อมโยงภาษาได้ดี เรียกว่า #just_right
• audio: สมองเด็กตอนฟัง นิทานเสียงไม่มีภาพ สมองถูกกระตุ้นน้อย อาจเพราะมีเสียง แต่ศัพท์บางคำเด็กไม่เคยรู้จักมาก่อน เมื่อไม่มีภาพมาให้ดู ก็ไม่เกิดการเชื่อมโยง เรียกว่า #too_cold
** การศึกษานี้ ตอกย้ำว่า ถ้าจะให้ลูกฟังนิทาน สิ่งที่ดีที่สุดคือ ฟังจากนิทานภาพ และเสียงของพ่อแม่นะคะ*
งานวิจัยที่ 2 ที่หมออยากจะเล่าให้ฟัง
เพื่อจะตอบคำถามว่า
❤ #เด็กที่ได้อ่านต่างกันที่บ้าน_เมี่อมาฟังนิทานจากครูที่โรงเรียนสมองทำงานต่างกันหรือไม่❤
การศึกษานี้ทำในประเทศอังกฤษในเด็ก 3-5 ปี
30 ราย นักวิจัยเก็บข้อมูล ระดับการอ่านของที่บ้านเด็กแต่ละคน
(เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง, จำนวน ความหลากหลาย)
และแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่มีสิ่งแวดล้อมในการอ่านที่บ้านสูง
และ กลุ่มอ่านน้อย
เมื่อถ่ายภาพสมองเด็กด้วย fMRI ตอนเด็กฟังนิทานจากครูที่โรงเรียน
พบว่าสมองของเด็กกลุ่มสิ่งแวดล้อมอ่านสูง ถูกกระตุ้นมากกว่า เด็กอีกกลุ่มอย่างชัดเจน
(ดูภาพประกอบได้ สีแดง จะเกิดเมื่อบริเวณนั้นของสมองถูกกระตุ้น)
ซึ่งหมอเคยเขียนถึงงานวิจัยนี้เอาไว้ในบทความเรื่อง
#ช่องว่างที่ไม่มีวันตามทัน นะคะ
ลองย้อนกลับไปอ่านกันได้
.
คิดว่าเรื่องที่เล่าวันนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน
มั่นใจในแนวทางการเลี้ยงดูลูกด้วยหนังสือมากขึ้น
และหมอคิดว่า เราสามารถส่งต่อความรู้นี้ได้
เพราะวิธีการที่ลดความเหลื่อมล้ำ โดยที่พวกเราสามารถสร้างให้ลูกได้เองที่บ้าน
โดยไม่ต้องพึ่งนโยบายใดๆ คือการสร้างความเท่าเทียมให้กับสมองของลูก
ที่ต้องสร้างจากที่บ้าน เพราะถ้ารอให้ถึงอนุบาล....ก็สายไปเสียแล้วจริงๆ
ภาพถ่ายสมองก็บอกคำนี้เหมือนกันค่ะ
.
หมอแพม
ไม่ได้เขียนบทความนานมาก เหตุเกิดจากความเครียด😅
Link
1.วิจัยเรื่อง 30 million gap
https://www.aft.org/sites/default/files/periodicals/TheEarlyCatastrophe.pdf
2. เรื่องชนิดของสื่อนิทานต่อสมองเด็ก
New studies measure screen-based media use in children
https://www.eurekalert.org/pub_releases/2018-05/pas-nsm042618.php
3. เรื่อง สิ่งแวดล้อมของการอ่านในบ้านต่อสมองเด็ก
Home Reading Environment and Brain Activation in Preschool Children Listening to Stories
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26260716/
งานวิจัยที่3 在 Meanion Guitar Tutor Facebook 的最佳解答
จริงมั้ยครับ
Is it true?Translated
7 เหตุผลที่น่าเลือก "มือกีตาร์" เป็นคู่ชีวิต
1.มีความเป็นไปได้ที่จะได้ลูกฉลาด
เนื่องจากกีตาร์เป็นทั้งเครื่องริทึมและเมโลดี้ มือกีตาร์จึงสามารถแยกประสาทได้ดี ในการเล่นเมโลดี้และนึกถึงทำนองจังหวะของเพลงไปด้วย มีผลการวิจัยมากมายชี้ว่า คนเล่นกีตาร์จะมีจิตใจ สมาธิ และความคล่องตัว ซึ่งแน่นอนว่าหากได้พ่อที่ดี ลูกก็มีโอกาสที่จะได้รับทักษะดีๆเช่นกัน
2.เสียงดนตรีจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย
นอกจากเปียโน หนึ่งในเครื่องที่สามารถเล่นทั้งเมโลดี้และทำนองเป็นเพลงได้ก็คือกีตาร์
งานวิจัยที่ I-LABS ของ University of Washington กล่าวว่า
เสียงดนตรีไม่ใช่แค่เพื่อผ่อนคลาย แต่ยังอาจช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถตอบสนองต่อรูปแบบต่างๆ บนโลกที่ซับซ้อนนี้ ได้ดียิ่งขึ้น
3.คำนวนค่าใช้จ่ายเก่ง
มือกีตาร์ต้องคิดที่โน้ตที่เล่นตลอดเวลา บางครั้งต้องนับโน้ตเป็นตัวเลขและคิดพลิกกลับไปมา นอกจากนั้นยังต้องคำนวนค่าเอฟเฟ็กและอุปกรณ์ส่วนตัวมากมาย ที่แทบจะมากกว่าเครื่องดนตรีหลายๆชิ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตคู่เป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นมือกีตาร์กับการวางแผนการเงินมาคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เอ๊ะทุกคนมั้ยนะ)
4.มีความโรแมนติก
ไม่ว่าจะมีกีตาร์แนวไหน ก็มักจะแอบมีอารมณ์อ่อนหวานซ่อนอยู่
เพราะตอนหัดเล่น จะเจอเพลงง่ายๆเพราะๆ ที่ติดตัวมาตอนฝึกเล่น แถมเจอเพลงหวานๆตอนฝึกดันสาย บวกกับเหตุผลที่หลายคนฝึกเล่นเพราะอยากจะจีบสาว ทำให้มือกีตาร์มีมุมโรแมนติกซ่อนอยู่เสมอ
5.มีดนตรีให้ฟังตลอดเวลา
กีตาร์สามารถเล่นเครื่องเดียวเป็นเพลงได้ ฉะนั้นสาวๆจะได้ฟังเพลงไม่ว่าจะบรรเลงเมโลดี้เพราะๆ หรือเป็นโฟคสดๆแบบส่วนตั๊วส่วนตัว อาจจะช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายอีกด้วย
7.ใช้นิ้วเก่ง
กีตาร์เป็นเครื่องที่ใช้นิ้วเป็นหลักในการเล่น กว่าจะเล่นเป็นใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี เพราะฉะนั้นนิ้วมีกำลังและความไวขั้นสุดยอด ชนิดที่หาที่เปรียบมิได้
8.ท่ายากเยอะ
นอกจากฟรอนต์แมนแล้ว ก็มีมือกีตาร์นี่แหละที่เป็นแผงหน้าที่ต้องมีท่าเด็ด มือกีตาร์จึงมักจะมีท่ายากและลีลาในการโซโล่ที่เฟี้ยวฟ้าว ไม่ว่าจะลีลาในการยกขา กางขา (หมายถึงท่าเล่นกีตาร์นะ) โยกหัว กระโดด ไหนจะการส่ายเอว ส่ายสะโพก บิดตัว ตามอารมณ์ในการบรรเลงอีกด้วย เชือว่าลีลาบนเตียงก็คงไม่แพ้กันอย่างแน่นอน
สองเพลงนี้ก็เป็นอีกเพลงจากพวกเรา Girlfriend For Rent ที่มีไลน์กีตาร์ที่น่าสนใจ เหมาะที่จะโซโล่แล้วฝึกท่าให้เฟี้ยวฟ้าว ฟังเลยครับ !!!
พอสักที (No Mercy) https://youtu.be/ub5LnTW8CqI
อีกนานแค่ไหน (Remove )https://youtu.be/CAKDbG5JTe8
#MeanGuitaristGFR #GFRGuitarist #FloydRecords #MeanYsterGates
งานวิจัยที่3 在 การเขียนบทที่ 3 - YouTube 的推薦與評價
บท ที่ 3 (ทั่วๆไป) ประกอบด้วย1.กลุ่มประชากร/ตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย2.เครื่องมือ ที่ ใช้ใน การวิจัย3. ... <看更多>