“การเกิดขึ้นของกฎหมาย”
(ข้อมูลส่วนหนึ่งในตำรา หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน)
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการเกิดของกฎหมาย จะเห็นได้ว่าการที่มนุษย์กำหนดกติกาอยู่ร่วมกันในสังคมภายในรัฐและสามารถพัฒนากฎหมายเป็นระบบกฎหมายดังที่ปรากฏและมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน คือ ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law System) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System) นั้นได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางความคิดทางรูปแบบและโครงสร้างของกฎหมายหลายยุคหลายสมัย ซึ่งพอสรุปอย่างคร่าว ๆ ได้ ว่า กฎหมายได้ปรากฏตัวขึ้นโดยมีวิวัฒนาการกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม แยกออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคกฎหมายชาวบ้าน ยุคกฎหมายของนักกฎหมายและยุคกฎหมายเทคนิค ดังนี้
1. ยุคกฎหมายชาวบ้าน
ยุคกฎหมายชาวบ้าน (Folk Law) กฎหมายในยุคนี้ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตามวิถีของคนในสังคมภายในรัฐ มีข้อพิจารณา อยู่ 2 ประการ ดังนี้
1.1 การอยู่รวมกันเป็นสังคมภายในรัฐเพื่อต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมนุษย์แต่ละคนย่อมมีชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข ซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่มนุษย์กำเนิดขึ้นในธรรมชาติ มนุษย์ไม่อาจอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวในธรรมชาติ จึงต้องรวมตัวกันเพื่อแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันในสังคมภายในรัฐมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวของคนแต่ละคนเกิดจากตัณหาภายในและความเสื่อมถอยแห่งคุณธรรมของคน ก็จะทำให้มนุษย์บางคนกระทำความผิด เช่น การละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การหยิบฉวยสิ่งของอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมหรือเจ้าของไม่ยินยอม การพรากลูกผิดเมียเขา การทำร้ายร่างกายและชีวิตของผู้อื่น ฯลฯ ความผิดเหล่านี้เมื่อมีมากขึ้นย่อมจะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยส่วนรวมในสังคมวุ่นวายไม่สงบ มนุษย์ส่วนใหญ่ได้รวมตัวกันแบบสมาคมเพื่อต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจึงจำเป็นต้องอาศัยข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากความเชื่อระหว่างศีลธรรมและเหตุผลของเรื่อง อันเป็นเงื่อนไขข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนในสังคมภายในรัฐยึดถือปฏิบัติร่วมกัน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่านี้ค่อยพัฒนาจนเรียกว่า “กฎหมาย” (Law) แต่เป็นไปลักษณะในรูปขนบธรรมเนียมประเพณี
1.2 กฎเกณฑ์การควบคุมความประพฤติปรากฏออกมาในของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี
กฎเกณฑ์ความประพฤติที่ปรากฏออกมาในรูปของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1.อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้ ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย เป็นต้น
2. ต้องเป็นที่ยอมรับกันในชุมชนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าไม่ปฏิบัติตามเช่นนั้นก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิด
3. ต้องเป็นการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และตลอดเวลาเมื่อมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น
2.ยุคกฎหมายนักกฎหมาย
ยุคกฎหมายนักกฎหมาย (Juris Law) เป็นยุคที่กฎหมายเจริญขึ้นต่อจากยุคแรก ซึ่งยังไม่สามารถแยกกฎหมายออกจากศีลธรรม ต่อมาถึงยุคกฎหมายของนักกฎหมายมองเห็นว่า กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากศีลธรรมและขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี มีกระบวนการพิจารณาและบังคับคดีชุมชน คือ เริ่มจากการปกครองที่เป็นรูปธรรมทำให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เจริญมีกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะเป็นชุมชนที่มีการวางกฎ กติกาที่อยู่ร่วมกัน ทำให้มีกฎเกณฑ์เกิดขึ้นใหม่เป็นการเสริมกฎเกณฑ์เก่าที่มีอยู่ในรูปแบบขนบธรรมเนียมประเพณี เติมแต่งให้มีรายละเอียด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีที่สลับซับซ้อน เมื่อตัดสินคดีไปหลายคดี ข้อที่เคยปฏิบัติในการพิจารณาคดีก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่เราเรียกว่า “กฎหมายของนักกฎหมาย” ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นยุคกฎหมายของนักกฎหมายมีข้อพิจารณาการเกิดกฎหมายอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 การนำจารีตประเพณีมาบัญญัติให้มีความชัดเจนแน่นอน
การนำจารีตประเพณีมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นข้อบังคับที่มีความแน่นอน เป็นกติกาที่อยู่ร่วมกันของคนในสังคมภายในรัฐ การเกิดของกฎหมายในลักษณะนี้เป็นที่มาของระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law System)
2.2 การปรุงแต่งการตัดสินวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแล้วยอมรับปฏิบัติตาม
การปรุงแต่งหลักการปฏิบัติมาปรุงแต่งในการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทในสังคมและเดินตามการปฏิบัติการการตัดสินคดีนั้นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องจึงปฏิบัติตามและเป็นการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอเป็นกฎหมายประเพณี การเกิดของกฎหมายในลักษณะนี้เป็นที่มาของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System)
3.ยุคกฎหมายเทคนิค
ยุคกฎหมายเทคนิค (Technical Law) เมื่อสังคมเจริญขึ้นการติดต่อระหว่างคนในสังคมภายในรัฐ มีมากขึ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นซับซ้อนยิ่งขึ้น เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำรงชีวิตก็มีมากขึ้น ความขัดแย้งในสังคมภายในรัฐ ก็มีมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไม่เพียงพอ จึงจำต้องมีกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือวางหลักเกณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้นตามสถานการณ์บ้านเมือง กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมคนในสังคมภายในรัฐ
ดังนั้นเมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายเทคนิคเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนิติบัญญัติ มีข้อพิจารณาอยู่ 2 ประการ ดังนี้
3.1 กฎหมายที่บัญญัติขึ้นทันทีเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นทันทีเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ ซึ่งเป็นเหตุผลทางเทคนิค เป็นการสร้างแนวคิดที่ส่งเสริมให้ระบบกฎหมายเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่และ เน้นบทบาทในการควบคุมสังคมภายในรัฐ ที่สำคัญ คือ เป็นฐานความคิดหลักกฎหมายที่ผลักดันให้มีการตรากฎหมายใหม่ ๆ ที่มุ่งควบคุมระเบียบของสังคมภายในรัฐ ให้เกิดความสมดุล
3.2 กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์เหล่านั้นเกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือไม่
ในทางสากลในแง่ของการถกเถียงทางปรัชญากฎหมายของตะวันตกเกี่ยวกับศีลธรรมนี้ มีข้อถกเถียงถึงเราควรนำศีลธรรมมาการควบคุมโดยกฎหมายหรือไม่ ศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมกฎหมายโดยศีลธรรม อยู่ 2 กลุ่มแนวคิด ดังนี้
3.2.1 กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์ใช้ควบคุมคนในสังคมภายในรัฐ ต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรมเสมอ
กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์ใช้ควบคุมคนในสังคมภายในรัฐ ต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรมเสมอ คือ “กลุ่มศีลธรรมนิยม” ที่ให้ความสำคัญกับหลักภยันตรายต่อผู้อื่นและตัวเราเองหรือ เรียกว่า “หลักละเมิดต่อผู้อื่นกับหลักการละเมิดตนเอง” ควรนำศีลธรรมมาควบคุมโดยกฎหมาย เช่น เซอร์เจมกลุ่มศีลธรรมนิยม: หลักศีลธรรมควบคุมโดยกฎหมายที่ “เป็นเรื่องละเมิดผู้อื่น” กับ “เป็นเรื่องละเมิดตนเอง” มีนักปรัชญาหลานท่านด้วยกันที่มีมุมมองในเรื่องของการให้ความสำคัญของการควบคุมศีลธรรมโดยกฎหมาย ได้แก่ ลอร์ด เดฟลิน (Lord Devlin) เซอร์เจมส์ ฟิทส์เจมส์ สตีเฟน (Sir James Fish stefen) เฮช แอล เอ ฮาร์ท ดังนี้
1. ลอร์ด เดฟลิน (Lord Devlin) ได้บรรยายในหัวข้อ “การบังคับให้เป็นไปตามศีลธรรม” (The Enforcement of Morals) ขึ้นในปี ค.ศ.1959 มองว่า “หน้าที่ของกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายอาญานั้นควรจะเข้ามามีหน้าที่ในการบังคับควบคุมศีลธรรม” (ในทัศนะลอร์ด เดฟลิน) ซึ่งคล้ายกับเพลโตซึ่งได้กล่าวไว้ว่า ผู้บัญญัติกฎหมายนั้นจะต้องตราด้วยว่าสิ่งใดเป็นความเลวความชั่วร้าย สิ่งใดเป็นความดีด้วย ไม่ใช่เป็นเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างเดียว แต่ต้องเป็นตัวชี้ว่า ดีคืออะไร เลวคืออะไร แล้วเข้าบงการ ลอร์ด เดฟลิน (Lord Devlin) ได้บรรยายในหัวข้อ “การบังคับให้เป็นไปตามศีลธรรม” (The Enforcement of Morals) ขึ้นในปี ค.ศ.1959
เดฟลิน เสนอทัศนะว่า สังคมมีสิทธิลงโทษการกระทำผิดใดๆ ซึ่งในสายตาของบุคคลผู้มีจิตใจเที่ยงธรรมเห็นว่าขัดต่อศีลธรรมอย่างแจ้งชัดและไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะมาพิสูจน์ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือบุคคลโดยเฉพาะอื่นๆหรือไม่ และ เดฟลิน ได้เสนอทัศนะ เรื่อง “การสมานสามัคคีของสังคม” (Social Cohesion) เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนให้มีการบังคับศีลธรรมในสังคมโดยอาศัยกฎหมาย เช่น การตรากฎหมายจัดการกับปัญหารักร่วมเพศ เป็นต้น เดฟลิน ยืนยันว่าในสังคมมนุษย์ใด ๆ ก็ตามจะมีส่วนที่เรียกว่า “ศีลธรรมของส่วนรวม” (Public Morality) เป็นตัวเชื่อมต่อผูกพันระหว่างปัจเจกชนด้วยกันเสมือนท่วงทีที่มองไม่เห็น และกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญาต้องถือว่าเป็นพื้นฐานในการรักษาไว้ซึ่งศีลธรรมของส่วน รวม กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือการควบคุมลงโทษพฤติกรรมซึ่งผิดศีลธรรมนั้นเป็น “สิทธิของสังคม” (Social Rights) เพื่อปกป้องความอยู่รอดของตัวเองเช่นเดียวกับความจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อปกป้องการกบฏต่าง
2. เซอร์เจมส์ ฟิทส์เจมส์ สตีเฟน (Sir James Fish stefen) พยายามคิดค้าน โดยกล่าวว่าหลักภยันตรายต่อตนเองของ มิลล์ ไม่มีจริง เพราะการกระทำที่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อตัวผู้กระทำนั้นล้วนแต่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อบุคคลอื่นด้วย สตีเฟน บอกว่าเราไม่สามารถจะลากเส้นแบ่งแยกอันชัดเจนระหว่างการกระทำที่เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้กระทำได้ เช่น การเที่ยวโสเภณี เรื่องการทำแท้ง หรือค้าประเวณี จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นแน่นอน (การกระทำแท้งนั้นจะเห็นได้ว่ามีผู้อื่นปรากฏอยู่ในท้องแล้วคือเด็ก ซึ่งเด็กก็คือผู้อื่นแล้ว) ดังนั้น สตีเฟน จึงสนับสนุนการลงโทษที่เป็นความผิดบาปทางศีลธรรมอันชัดแจ้ง โดยถือว่าวัตถุประสงค์อันชอบธรรมของกระบวนการตรานิติบัญญัติ (การตรากฎหมาย) ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ถือว่าเป็นการตัดรอนเสรีภาพ แต่กลับเห็นว่าเป็นความถูกต้อง เพราะสามารถควบคุมความเลวร้ายดังกล่าว ซึ่งเป็นการทดแทนยับยั้งมิให้เกิดการผูกพยาบาทตอบโต้อย่างสับสน
3. เฮช แอล เอ ฮาร์ท (H.L.A Hart) ให้ความสำคัญต่อเรื่อง “จิตวิทยาสังคม” โดย “ฮาร์ท” ตั้งคำถามว่า “การพิจารณาแนวทางเลือกใหม่ซึ่งมิใช่เรื่องการปกป้องศีลธรรมร่วมนั้นแต่จะนำไปสู่ภาวะความขัดแย้งปรปักษ์ตามธรรมชาติดั้งเดิม” (แบบที่อยู่กันแบบเห็นแก่ตัว) ฮาร์ท เห็นว่าคำตอบที่ถูกน่าจะเป็นภาวะการดำรงอยู่ร่วมกันมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งมีคำตอบ อยู่ 2 คำตอบ ดังนี้
คำตอบที่ 1 จะเป็นแบบปล่อยให้ทำได้ตาม “อำเภอใจ” (Permissiveness) โดยที่ผู้ปฏิเสธแนวทางนี้ต้องมีการแสดงให้เห็นว่าความเสื่อมของศีลธรรมเช่นว่าจะนำไปสู่ความอ่อนในความสามารถควบคุมตัวเองของปัจเจกบุคคลอีกทั้งส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงหรือความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมเพิ่มขึ้น
คำตอบที่ 2 ในอีกด้านหนึ่งเป็นความเชื่อใน “ความหลากหลายของศีลธรรม” (Moral Pluralism) ในมโนภาพของ โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) หรือว่าจะนำไปสู่ภาวะสังคมที่มี “ขันติธรรม” อดกลั้นต่อกัน เป็นภาวการณ์ดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างของศีลธรรม
อย่างไรก็ตาม แม้ ฮาร์ท จะคัดค้านทัศนะแบบเคร่งศีลธรรมของ เดฟลิน อย่างมากในข้างต้นก็ตาม แต่ ฮาร์ท ก็ยอมรับถึงความจำเป็นในการใช้กลไกทางกฎหมายบังคับควบคุมศีลธรรมบางอย่างที่สำคัญต่อสังคม ศีลธรรมในส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็น “หลักคุณค่าสากล” (Universal Values) ตัวอย่างเช่น กรณีการทำร้ายชีวิตมนุษย์ด้วยกัน เป็นต้น นอกจากนี้ในแต่ละสังคมย่อมมีแกนกลางของกฎเกณฑ์หรือหลักการที่ประกอบกันเป็นพื้นฐานของวิถีชีวิตซึ่งมีลักษณะเฉพาะของสังคมนั้น อาทิเช่น ระบบการมี “คู่สมรสคนเดียว” (Monogamy)
ข้อที่น่าสนใจ ฮาร์ท ยังยอมรับเรื่องข้อยกเว้นในการควบคุมศีลธรรมโดยกฎหมายข้างต้นแล้ว ฮาร์ท ยังยอมรับบทบาทของกฎหมายในการจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลบางประการกับปัจเจกบุคคลด้วย โดยฮาร์ทเสนอให้ “หลักปิตาธรรม” ผนวกเข้ากับหลักภยันตรายของ มิลล์ เพื่อเป็นเหตุผลรับรองบทบาทหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นของกฎหมาย ซึ่งหลักปิตาธรรมนั้นเป็นหลักการที่เกิดขึ้นในฐานะเหตุผลเพื่อการปกป้องมิให้บุคคลกระทำสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเขาเองมากกว่าผู้อื่น หลักปิตาธรรมจึงอาจนำไปใช้เพื่อแทรกแซงให้ยุติหรือมิให้กระทำการใด ๆ ที่เป็นผลร้ายหรือ “สร้างความทุกข์” (Suffering) ต่อบุคคลนั้น ๆ เอง ตัวอย่างเช่น การห้ามมิให้เสพยาเสพติดหรือบุหรี่ หรือการบังคับให้รัดเข็มขัดนิรภัยในระหว่างขับขี่รถยนต์ การบังคับให้ต้องสวมหมวกกันน๊อค (หมวกนิรภัย) ขณะที่ขี่จักรยานยนต์ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่า “หลักปิตาธรรม” นั้นมีความแตกต่างไปจาก “หลักศีลธรรมนิยมทางกฎหมาย” (Legal Moralism) ของ เดฟลิน เนื่องจากมิใช่เป็นหลักที่มุ่งบังคับควบคุมศีลธรรมที่ยึดถือกัน แต่เป็นหลักที่เกิดสืบแต่ความรู้สึกเมตตาห่วงใยทำนองเดียวกับที่บิดามีต่อบุตร ไม่แน่ใจในความสามารถใช้ดุลยพินิจอย่างถูกต้องของผู้อาจตกเป็นเหยื่อของความเสียหายได้ ดังนั้น “หลักปิตาธรรม”นับเป็นเหตุผลพื้นฐานที่สำคัญข้อหนึ่ง ในการอธิบายบทบาทหน้าที่ของกฎหมายในสังคมควบคู่ไปกับ “หลักอันตรายต่อผู้อื่น” (Harm principle) “หลักศีลธรรมนิยมทางกฎหมาย” (Legal Moralism) รวมทั้งหลักการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาอาทิ เช่น “หลักการล่วงเกิน” (Offeness principle) สนับสนุนให้รัฐแทรกแซงจำกัดเสรีภาพในการกระทำซึ่งเห็นว่าล่วงเกินความรู้สึกของคนทั่วๆไป แม้ว่าการกระทำนั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลร้ายโดยชัดเจนใด ๆ หลักการนี้จึงมักนำมาใช้เป็นเหตุผลเพื่อการปราบปรามสิ่งพิมพ์หรือการกระทำอันเป็นลามกอนาจารต่าง ๆ “หลักสวัสดิการ” (Welfare principle) เป็นหลักสำหรับออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังกรณีการบังคับให้เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อการให้ “บริการสาธารณะ” (Public service) หรือการวางหลักประกันสังคม เป็นต้น ภายใต้หลักการปกครอง “แบบนิติรัฐ” (Legal State) และ หลักกการปกครอง “แบบนิติธรรม” (The Rule of Law)
3.2.2 กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์ใช้บังคับควบคุมคนในสังคมภายในรัฐ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรม
กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับควบคุมคนในสังคมภายในรัฐ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับศีลธรรม คือ “กลุ่มแนวคิดเสรีนิยม” ที่ให้ความสำคัญกับหลักภยันตรายต่อผู้อื่นเป็นสำคัญ ไม่ควรนำศีลธรรมมาควบคุมโดยกฎหมายในกรณีที่กระทำเดือดร้อนตนเอง เช่น จอห์น สจ๊วต มิลล์ (Jhon Stuart Mill),เซอร์ จอห์น วูลฟ์เฟนเดน (Sir John Wolfenden)
1. จอห์น สจ๊วต มิลล์: เสรีภาพเป็นประโยชน์สุขของคนในสังคม จอห์น สจ๊วต มิลล์ (Jhon Stuart Mill) เป็นนักเสรีนิยมและนักอรรถประโยชน์ (อรรถประโยชน์ หมายความว่า เป็นคนที่มองว่า “สิ่งที่ดีถูกต้องดูที่ผลลัพธ์การกระทำซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความสุข” ตามแบบอรรถประโยชน์เชิงกระทำ) มิลล์ เน้นในเรื่องเสรีภาพในแง่ที่เป็นประโยชน์สุขของคนในสังคม เพราะมนุษย์คงไม่สามารถมีความสุขได้ ถ้าหากว่าขาดเสรีภาพ ดังนั้นเสรีภาพกับสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของคนจึงมีความเชื่อมโยงกัน มิลล์ พยายามที่จะเน้นเรื่องคุณค่าของเสรีภาพว่ามันเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตของคนและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยคุณภาพแห่งเสรีภาพนี้เอง มิลล์ จึงพยายามที่จะนำมาขีดเป็นกรอบจำกัดบทบาทของกฎหมาย มิลล์ ได้เขียนเรื่อง “ความเรียงว่าด้วยเสรีภาพ” (Essay on Liberty) ในความเรียงของ มิลล์ ในเรื่องดังกล่าวได้ประกาศถึง “หลักอันตรายต่อสังคม” โดยมีความที่สำคัญท่อนหนึ่งว่า เป้าหมายของความเรียงนี้ คือ การประกาศยืนยันหลักการง่าย ๆ ข้อหนึ่ง ซึ่งชอบที่จะใช้ควบคุมอย่างเด็ดขาดต่อความสัมพันธ์ของสังคมกับปัจเจกบุคคลในรูปการบังคับ และควบคุมไม่ว่าจะเป็นไปโดยกำลังกาย ภายในลักษณะของบทลงโทษทางกฎหมายหรือโดยการข่มขู่เชิงศีลธรรมในลักษณะของมติมหาชน หลักการดังกล่าวคือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวสำหรับค้ำประกันมนุษย์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือโดยส่วนรวมให้ปลอดจากการล่วงละเมิดเสรีภาพ ในการกระทำของสมาชิกในสังคม คือ “การป้องกันตนเอง” (Self protection) ในสังคมศิวิไลซ์นั้น “รัฐมีความชอบธรรมที่จะใช้อำนาจบังคับสมาชิกของชุมชน เพียงเพื่อวัตถุประสงค์จะป้องกันภยันตรายอันจะเกิดกับบุคคลอื่นในสังคม ส่วนภยันตรายที่เกิดขึ้นแก่ตนโดยไม่มีบุคคลใดเป็นผู้ก่อให้เกิด ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางจริยธรรม แล้วย่อมไม่เป็นข้ออ้างอันเพียงสำหรับจำกัดเสรีภาพในการกระทำของมนุษย์”
สรุป ได้ว่าแนวคิดของมิลล์ การนำหลักศีลธรรมควบคุมโดยกฎหมาย ที่เรียกว่าหลักการละเมิด แยกได้ 2 หลัก คือ เป็นเรื่อง “ละเมิดผู้อื่น” กับ เป็นเรื่อง “ละเมิดตนเอง” ดังนั้นการที่ออกกฎหมายมาบังคับใช้ได้นั้นจะต้องเป็นเรื่องของ “การละเมิดผู้อื่น” เท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องของ “การละเมิดตนเอง” มิลล์ บอกว่า ไม่สมควรจะมีกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อเพียงเหตุผลทางศีลธรรมหรือเพื่อเพียงสวัสดิภาพของปัจเจกชน ถ้าการตรากฎหมายในลักษณะนี้ ถือว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพถือเป็นการทำลายความสุขส่วนบุคคล เมื่อเราพิจารณาศึกษา “ถึงศีล 5 ในพระพุทธศาสนา” นำมาจัดแบ่งกลุ่มตามหลักแนวคิดหลักการละเมิด ตามแนวคิดของ มิลล์ มาพิจาณา ดังตารางเปรียบเทียบ ดังนี้
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบศีล 5 ในพระพุทธศาสนากับหลักการละเมิด
ตามแนวคิดของมิลล์
ศีล 5 ในพระพุทธศาสนา หลักการละเมิด หลักการละเมิดของ มิลล์
ศีลข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ การละเมิดผู้อื่น หลักแนวคิดของ มิลล์ สามารถออกกฎหมายมาบังคับได้
ศีลข้อที่ 2 ห้ามลักทรัพย์ การละเมิดผู้อื่น หลักแนวคิดของ มิลล์ สามารถออกกฎหมายมาบังคับได้
ศีลข้อที่ 3 ห้ามประพฤติผิดในกาม การละเมิดผู้อื่น หลักแนวคิดของ มิลล์ สามารถออกกฎหมายมาบังคับได้
ศีลข้อที่ 4 ห้ามพูดเท็จ การละเมิดผู้อื่น หลักแนวคิดของ มิลล์ สามารถออกกฎหมายมาบังคับได้
ศีลข้อที่ 5 ห้ามดื่มสุราของมึนเมา การละเมิดตนเอง หลักแนวคิดของ มิลล์ สามารถออกกฎหมายมาบังคับไม่ได้
2. เซอร์ จอห์น วูลฟ์เฟนเดน (Sir John Wolfenden) ได้เสนอ “รายงานของคณะกรรมการว่าด้วยความผิดฐานรักร่วมเพศและการค้าประเวณี” ในปี ค.ศ.1957 โดยมีเนื้อหาสาระสะท้อนความคิดของ มิลล์ พยายามเสนอ กำหนดบทบาทหน้าที่อันชัดเจนของกฎหมายอาญา ให้แยกความแตกต่างระหว่างอาชญากรรมกับบาปกรรม รวมทั้งยืนยันถึงขอบเขตอันเป็นเรื่องส่วนตัวของศีลธรรมและการผิดศีลธรรมซึ่งถือว่าไม่ใช่กิจธุระอันกฎหมายสมควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ตัวอย่างเช่น การค้าประเวณี มันคือ เสรีภาพของบุคคลที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เป็นส่งเสริมความสุขของคน ศีลธรรมไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะไม่เป็นการกระทำที่เดือดร้อนผู้อื่น เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงความ โดยทั่วไปของกฎหมาย พบว่า “กฎหมาย” (Law) คือ กฎระเบียบข้อบังคับควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคมภายในรัฐ ที่ออกโดยรัฐ เป็นข้อบังคับที่มีความแน่นอนบังคับอย่างเป็นกิจลักษณะที่แตกต่างไปจากกฎเกณฑ์ทางสังคมภายในรัฐ และกฎหมายมีสภาพบังคับ ส่วน “ศีลธรรม” (Moral) หมายถึง ความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ว่าการกระทำนั้นผิดหรือถูก ดังนั้นเราจะพบว่า “ศีลธรรมกับกฎหมายมีอิทธิพลต่อกันมาก” การที่มีศีลธรรมสูงเป็นที่เชื่อได้ว่าไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด ในทางกลับกันคนที่ไม่มีศีลธรรม กฎหมายก็จะช่วยยกฐานะให้คน ๆ นั้นมีศีลธรรมดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การลักเล็กขโมยน้อยกฎหมายก็ให้ติดคุกรับโทษเพื่อขัดเกลาให้มีความคิด มีศีลธรรม เมื่อออกมาแล้วมีศีลธรรมสูงไม่กล้าลักขโมยอีต่อไป เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามศีลธรรมกับกฎหมายอาจเป็นศัตรูกันได้ ในกรณีกฎหมายอาจบังคับให้มนุษย์งดเว้นกระทำการแต่ศีลธรรมบังคับให้กระทำ ตัวอย่างเช่น การเบิกความเท็จต่อศาลซึ่งกฎหมายลงโทษห้ามกระทำแต่ความจริงแล้วการกระทำนั้นกระทำลงไปเพื่อช่วยเหลือผู้มีอุปการะคุณต่อตนตามหลักศีลธรรม เป็นต้นกฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์เหล่านั้นเกี่ยวข้องกับศีลธรรมก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่ได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมภายในรัฐ ให้ถูกต้องเป็นธรรมและยุติธรรม
ดังนั้นกฎหมายเทคนิคจะเป็นกฎหมายที่มาจากการบัญญัติด้วยเหตุผลบางประการโดยเฉพาะ เช่น กฎหมายจราจรแต่เดิมไม่มีรถยนต์ในการสัญจรของคนในสังคมภายในรัฐ มีแต่เทียมเกวียนใช้ในการสัญจรซึ่งไม่มีความสลับซับซ้อน แต่ต่อมาสังคมภายในรัฐ มีความเจริญก้าวหน้ามีรถยนต์ใช้ในการสัญจรจำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดกติกาขึ้นมาแก้ไขปัญหาการสัญจรของคนในสังคมภายในรัฐ ก็มีการออกกฎหมายจราจรขึ้นมา เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการเกิดของกฎหมายทั้ง 3 ยุค ในปัจจุบันเราถือว่า อยู่ใน “ยุคกฎหมายเทคนิค” เพราะต้องออกฎหมายมาแก้ไขปัญหาสังคมภายในรัฐ หรือบังคับใช้กับประชาชนภายใต้สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคมภายในรัฐ เพื่อให้มีความสงบเรียบร้อยหรือความสงบสุขของคนในสังคมภายในรัฐ ตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal State) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law)
「จิตวิทยาสังคม」的推薦目錄:
- 關於จิตวิทยาสังคม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於จิตวิทยาสังคม 在 K.S. Khunkhao Facebook 的最佳解答
- 關於จิตวิทยาสังคม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於จิตวิทยาสังคม 在 ทำความเข้าใจ จิตวิทยาสังคม คืออะไร? Social Psychology 的評價
- 關於จิตวิทยาสังคม 在 จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาอิทธิพลของ ... 的評價
จิตวิทยาสังคม 在 K.S. Khunkhao Facebook 的最佳解答
ใครชอบจิตวิทยา
หรือน้องคนไหนอยากเรียนจิตวิทยา
รอติดตามนะครับ เดี๋ยวผมจะมี
Facebook Live interview
กับ This is Me - นี่แหละตัวฉัน
ในไม่ช้านี้...
เนื่องจากอาชีพ 'นักจิตวิทยา' ได้รับผลโหวตกันอย่างถล่มทลาย
ว่าเป็นอาชีพที่ลูกเพจอยากฟังสัมภาษณ์มากที่สุด (http://bit.ly/2GNfnZe)
แต่รู้กันไหมนะ ว่านักจิตวิทยามีแบบไหนบ้าง?
อาชีพด้านจิตวิทยาแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ
1. สายจิตวิทยาทั่วไป
2. สายปฏิบัติ
---------
1. สายจิตวิทยาทั่วไป (Pure Branch) - ช่วยขยายขอบเขตความรู้ความเข้าใจด้านจิตวิทยาผ่านการค้นคว้าและทฤษฎี
#จิตชีววิทยา (Biopsychology)
เราคงเคยได้ยินว่าจิตกับกายนั้นมีผลต่อกัน? สายนี้นี่แหละที่ศึกษาบทบาทของสมอง ยีนส์ ร่างกาย ต่อพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของเรา
#จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์ (Developmental Psychology)
ทำไมบางทีพ่อแม่ไม่เข้าใจทั้งๆที่เค้าก็เคยอายุเท่าเรามาก่อน? อ่ะแน่นอน ส่วนหนึ่งเพราะคนเราเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงวัย สายนี้มีการเชี่ยวชาญตั้งแต่จิตวิทยาเด็กจนไปถึงวัยชราเลยทีเดียว
#จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology)
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์ ศึกษาการพัฒนาโดยทั่วไป แต่การพัฒนาบางอย่างก็ใช่จะ "ทั่วไป" เสมอ ใครอยากเข้าใจอาการทางจิตแปลกๆหรือโรคทางจิตต่างๆก็สายนี่ล่ะ
#จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)
มนุษย์เราพออยู่เป็นกลุ่ม ก็ย่อมมีผลต่อกันและกัน แต่การปฏิสัมพันธ์นั้นมีผลต่อเราแต่ละคนยังไง ต้องไปถามนักจิตวิทยาสังคมนะจ๊ะ
#จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Psychology)
อารมณ์เรานั้นอ่อนไหว แสงสีเสียงสภาพอากาศใดๆก็อาจเปลี่ยนสภาพจิตของเราได้ สายนี้ถูกใช้บ่อยๆในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับมนุษย์ตั้งแต่บ้าน ที่ทำงาน และเมืองที่อยู่
#ปรจิตวิทยา (Parapsychology)
นอกจากรับได้รับผลกระทบจากกันและกัน และจากสภาพแวดล้อมแล้ว บางคนยังได้รับผลกระทบจากสิ่งเหนือธรรมชาติอีกด้วย! ปรจิตวิทยาเลยต้องศึกษาว่าอาการเหนือธรรมชาติต่างๆเหล่านี้ มันมีที่มาที่ไปยังไงกันแน่
#จิตวิทยาสัตว์ (Animal Psychology)
มนุษยๆๆๆๆ พูกถึงแต่มนุษย์ ทั้งๆที่เราเป็นเพียงแค่ 1 ในเ ~2 ล้านสายพันธุ์ของสัตว์บนโลกนี้ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีรูปแบบความคิดและสมองที่ต่างกันเหลือเกิน ใครอยากเข้าไปศึกษาโลกพิศวงนี่ ต้องสายนี้เลยครับ
#จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology)
สายนี้ไม่เกี่ยวกับ 'สิ่ง' ที่ศึกษา เท่า 'วิธีการ' ซึ่งเน้นการทดลองปรากฎการณ์ทางจิตอย่างเป็นระบบ และยังรวมถึงพัฒนากระบวนการทดลองให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย
2. สายปฏิบัติ - ความรู้ด้านจิตวิทยาที่มีมาแก้ปัญหาในชีวิตจริง
#นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology)
ถ้าให้นึกถึงนักจิตวิทยา คนส่วนใหญ่ก็คงนึกถึงสายนี้ก่อน ภาพของนักจิตวิทยาให้การบำบัดคนไข้ที่ต้องการรักษาสุขภาพจิต ซึ่งจะเน้นที่พฤษติกรรมของคนไข้ ซึ่งต่างจาก 'จิตแพทย์' (psychiatrist) ผุ้จบสายแพทย์มา สามารถสั่งยาได้ และเน้นที่ชีว/กายภาพของคนไข้มากกว่า บางครั้งทั้งสองคนก็ทำงานร่วมกัน หรือบางคนก็ศึกษาทั้งสองสายเลยก็มี
#จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) - [*เขียนเพิ่มเติมตามคำแนะนำของเจ้าของอาชีพครับ]
เป็นสายที่คาบเกี่ยวกับจิตวิทยาคลินิกในหลายๆด้าน แต่จิตวิทยาการปรึกษามักต่อยอดไปถึงการ 'พัฒนา' ด้านต่างๆของชีวิตอีกด้วย โดยมักพบได้ในการแนะแนวด้านการศึกษา อาชีพ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางชีวิต หรือการบำบัดชีวิตคู่
#จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (I/O Psychology)
ทุกคนคงได้ทำงานในองค์กร หรือเป็นเจ้าขององค์กร ณ จุดหนึ่งในชีวิต แต่ละองค์กรก้อาจมีพนักงานได้ตั้งแต่ 2 - 2.2 ล้านคน (Walmart) การจะทำให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพนั้นก็เป็นศิลปะในตัวมันเองทีเดียว
#จิตวิทยาเฉพาะอุตสาหกรรม
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเฉพาะทางยังเป็นที่ต้องการในอีกหลายสาย ทั้งการศึกษา กฎหมาย (นิติจิตวิทยา) การทหาร การเมือง อาชญากร (อาชญาวิทยา) แถมเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนการใช้ชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อย (http://bit.ly/2FSWLpd) แอดเชื่อว่าจะยังมีนักจิตวิทยาเฉพาะทางด้านใหม่ๆก็จะเกิดอีกมาก
3. อื่นๆ
สายจิตวิทยาสุดท้ายแล้วก็คือศาสตร์ของการเข้าใจมนุษย์
ไม่ว่าเราจะทำอะไรในชีวิตก็สามารถนำความรู้จิตวิทยาไปปรับใช้ให้อยู่ร่วมกับมนุษย์ที่เราพบเจอได้ดีขึ้น มีความสุขขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
แถมต่อให้สิ่งที่เราทำไม่ต้องยุ่งกับใครเลย อย่างน้อยที่สุดจิตวิทยาก็ช่วยให้เรา 'เข้าใจ' และอยู่กับตัวเองได้อย่างมีความสุขขึ้นครับ
จิตวิทยาสังคม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"บทวิเคราะห์แนวคิดกลุ่มเสรีนิยมกับแนวคิดกลุ่มศีลธรรมนิยม"
บทวิเคราะห์แนวคิดทั้งสองกลุ่ม การพยายามจะชี้ให้เห็นว่าในสังคมศิวิไลซ์นั้นความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐบังคับสมาชิกของชุมชนจะทำได้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะปกป้องภยันตรายอันจะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นในสังคมเท่านั้น ส่วนภยันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองโดยไม่ได้มีบุคคลอื่นก่อให้เกิด ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางจริยธรรมไม่สามารถนำเป็นข้ออ้างในการจำกัดเสรีภาพ ในการกระทำของมนุษย์ ประเด็นในเรื่องกฎหมายกับศีลธรรมที่ได้กล่าวมาข้างต้นเราสามารถจับประเด็นที่จะวิเคราะห์ได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1.ประเด็นเรื่องตัวเรากับผู้อื่น
ประเด็นเรื่องตัวเรากับผู้อื่น เรื่องตัวเรากับผู้อื่นนี้เป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนในการแยกแยะว่า เราจะมองผลกระทบทางตรงและทางอ้อม คนที่เป็นนักศีลธรรมนิยมก็จะมองในแง่ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งคนมองแบบนี้จะไม่มีเส้นแบ่ง สิ่งที่เป็นเรื่องผิดศีลธรรมอย่างมากก็จะเอากฎหมายเข้าไปจับ เช่น การมีเมียสองคนในเวลาเดียวกันถือว่าผิด ต้องเอากฎหมายอาญาเข้าไปจับด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเอากฎหมายเข้าไปจับก็จะเกิดการต่อต้านหรือมีผลกระทบตามมาได้ เช่น กรณีห้ามร้านค้าขายเหล้า อาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่เรียกว่าผลข้างเคียง อาทิ เช่น
1) ทำให้เจ้าหน้าที่คอรัปชั่นมากขึ้น
2) คนอาจจะต้องจ่ายราคามากขึ้นในการซื้อสิ่งนั้น
ตัวอย่าง ในประเทศไทยที่ผู้เขียนสังเกต คือ การให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องยาบ้า ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่ายาม้า ต่อมาได้กำหนดให้ยาบ้าเป็นยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรงและผิดกฎหมาย ทำให้มีการเพิ่มราคาของยาบ้า มีการลักลอบค้าขายยาบ้าจนเป็นปัญหาสังคมไทย เพราะว่าผลิตง่าย ขายได้ง่าย และรวยเร็ว เป็นเหตุที่สำคัญให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการคอรัปชั่นมากขึ้น ต่อมาเมื่อมีราคาแพงจะต้องจ่ายราคามากขึ้นในการซื้อขายยาบ้าและเมื่อไม่มีเงินซื้อก็ต้องหาเงินซึ่งจะทำทุกวีถีทาง เช่น การลักขโมย การปล้น หรือขั้นอาจทำร้ายคนอื่นที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้
มิลล์ พยายามขีดวงจำกัดของกฎหมายไว้ว่ากฎหมายไม่ใช่เป็นเครื่องมือในการควบคุมศีลธรรมของคน กฎหมายมีหน้าที่เพียง ควบคุมอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับคนในสังคม จากการละเมิดเบียดเบียนของคนด้วยกันเท่านั้น
ดังนั้นถ้าเรานำหลักมาวิเคราะห์ปัญหาในเรื่องทำแท้ง ปัญหารักร่วมเพศ ก็จะเห็นว่า มิลล์ ถือว่าปล่อยไปเพราะไม่เป็นอันตรายต่อคนอื่น แต่อย่างไรก็ตามหลักอันตรายต่ออื่นของ มิลล์ นี้ได้มีนักปรัชญาอย่าง สตีเฟน พยายามคิดค้าน โดยกล่าวว่าหลักภยันตรายต่อตนเองของ มิลล์ ไม่มีจริง เพราะการกระทำที่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อตัวผู้กระทำนั้นล้วนแต่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อบุคคลอื่นด้วย สตีเฟน บอกว่าเราไม่สามารถจะลากเส้นแบ่งแยกอันชัดเจนระหว่างการกระทำที่เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้กระทำได้ เช่นการเที่ยวโสเภณี เรื่องการทำแท้ง หรือค้าประเวณี จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นแน่นอน (การกระทำแท้งนั้นจะเห็นได้ว่ามีผู้อื่นปรากฏอยู่ในท้องแล้วคือเด็ก ซึ่งเด็กก็คือผู้อื่นแล้ว)
ดังนั้น สตีเฟน จึงสนับสนุนการลงโทษที่เป็นความผิดบาปทางศีลธรรมอันชัดแจ้ง โดยถือว่าวัตถุประสงค์อันชอบธรรม ของการออกนิติบัญญัติ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ถือว่าเป็นการตัดรอนเสรีภาพ แต่กลับเห็นว่าเป็นความถูกต้อง เพราะสามารถควบคุมความเลวร้ายดังกล่าว ซึ่งเป็นการทดแทนยับยั้งมิให้เกิดการผูกพยาบาทตอบโต้อย่างสับสน
2.ประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย
ประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การบังคับใช้เป็นเรื่องใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาพิจารณาพร้อม ๆ กับการคิดประกอบไปด้วยว่ากฎหมายที่บังคับใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีประสิทธิภาพน้อย ไม่สมควรเป็นกฎหมายหรือควรยกเลิกไป และบางกรณีกฎหมายอาจจะพัฒนาประสิทธิภาพได้ ในแง่ที่ว่าครั้งแรกอาจบังคับใช้น้อยแต่ค่อย ๆ ดีขึ้น เช่น ครั้งแรกที่ออกฎหมายห้ามกินเหล้านอกบ้าน อาจจะมีคนฝ่าฝืนแต่นานเข้าอาจดีขึ้น เมื่อเริ่มเป็นค่านิยมวัฒนธรรม
เซอร์ จอห์น วูลฟ์เฟนเดน (Sir John Wolfenden) ได้เสนอ “ รายงานของคณะกรรมการว่าด้วยความผิดฐานรักร่วมเพศและการค้าประเวณี” ในปี ค.ศ.1957 โดยมีเนื้อหาสาระสะท้อนความคิดของ มิลล์ พยายามเสนอ กำหนดบทบาทหน้าที่อันชัดเจนของกฎหมายอาญา ให้แยกความแตกต่างระหว่างอาชญากรรม กับบาปกรรมรวมทั้งยืนยันถึงขอบเขตอันเป็นเรื่องส่วนตัวของศีลธรรมและการผิดศีลธรรมซึ่งถือว่าไม่ใช่ กิจธุระอันกฎหมายสมควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ส่วนการค้าประเวณีนั้นคณะกรรมการเห็นว่าสมควรตรากฎหมายมิให้มีการหรือชักชวนแขกในที่สาธารณะ อันถือเป็นการสร้างความรำคาญรบกวนต่อประชาชนทั่วไป สรุปได้แนวความคิดทัศนะของ เซอร์ จอห์น วูลฟ์เฟนเดน นั้นเป็นแนวคิดกลุ่มเสรีนิยม
ลอร์ด เดฟลิน (Lord Devlin) ได้บรรยายในหัวข้อ “การบังคับให้เป็นไปตามศีลธรรม” (The Enforcement of Morals) ขึ้นในปี ค.ศ.1959 เดฟลิน เสนอทัศนะว่า สังคมมีสิทธิลงโทษการกระทำผิดใดๆ ซึ่งในสายตาของบุคคลผู้มีจิตใจเที่ยงธรรมเห็นว่าขัดต่อศีลธรรมอย่างแจ้งชัดและไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะมาพิสูจน์ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือบุคคลโดยเฉพาะอื่นๆหรือไม่
เดฟลิน ได้เสนอทัศนะ เรื่อง “การสมานสามัคคีของสังคม” (Social Cohesion) เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนให้มีการบังคับศีลธรรมในสังคมโดยอาศัยกฎหมาย เช่น การตรากฎหมายจัดการกับปัญหารักร่วมเพศ เป็นต้น เดฟลิน ยืนยันว่าในสังคมมนุษย์ใด ๆ ก็ตามจะมีส่วนที่เรียกว่าศีลธรรมของส่วนรวม (Public Morality) เป็นตัวเชื่อมต่อผูกพันระหว่างปัจเจกชนด้วยกันเสมือนท่วงทีที่มองไม่เห็น และกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญาต้องถือว่าเป็นพื้นฐานในการรักษาไว้ซึ่งศีลธรรมของส่วน รวม กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือการควบคุมลงโทษพฤติกรรมซึ่งผิดศีลธรรมนั้นเป็น “สิทธิของสังคม” เพื่อปกป้องความอยู่รอดของตัวเองเช่นเดียวกับความจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อปกป้องการกบฏต่าง
เฮช แอล เอ ฮาร์ท (H.L.A Hart) ได้โต้แย้ง เดฟลิน ด้วยการยกประเด็นเรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสังคมที่ผ่านมา โดยเสนอให้พิจารณาถึงปัญหาว่าด้วยความแตกต่างแยกหรือการเสื่อมทรุดของสังคมและปัญหาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของศีลธรรมส่วนรวม เพื่อนค้นหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของปัญหาทั้งสอง ฮาร์ท กลับให้ความสำคัญต่อเรื่อง จิตวิทยาสังคม โดย ฮาร์ท เชื่อว่าในการพิจารณาแนวทางเลือกใหม่ซึ่งมิใช่เรื่องการปกป้องศีลธรรมร่วมนั้น
คำตอบอันแรก จะเป็นแบบปล่อยให้ทำได้ตามอำเภอใจ (Permissiveness) โดยที่ผู้ปฏิเสธแนวทางนี้ต้องมีการแสดงให้เห็นว่าความเสื่อมของศีลธรรมเช่นว่าจะนำไปสู่ความอ่อนในความสามารถควบคุมตัวเองของปัจเจกบุคคลอีกทั้งส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงหรือความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมเพิ่มขึ้น
คำตอบที่สองในอีกด้านหนึ่งเป็นความเชื่อใน “ความหลากหลายของศีลธรรม” (Moral Pluralism) ซึ่งก็มีคำถามว่าความเชื่อเช่นนี้จะนำไปสู่ภาวะความขัดแย้งปรปักษ์ นำไปสู่ภาวะสังคมตามธรรมชาติที่ดั้งเดิม (แบบที่อยู่กันแบบเห็นแก่ตัว) ในมโนภาพของ โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) หรือว่าจะนำไปสู่ภาวะสังคมที่มีขันติธรรมอดกลั้นต่อกัน ภาวะการดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างของศีลธรรม คำถามเหล่านี้ ฮาร์ท เห็นว่าคำตอบที่ถูกน่าจะเป็นภาวะการดำรงอยู่ร่วมกันมากกว่าอย่างอื่น
อย่างไรก็ตาม แม้ ฮาร์ท จะคัดค้านทัศนะแบบเคร่งศีลธรรมของ เดฟลิน อย่างมากในข้างต้นก็ตาม แต่ ฮาร์ท ก็ยอมรับถึงความจำเป็นในการใช้กลไกทางกฎหมายบังคับควบคุมศีลธรรมบางอย่างที่สำคัญต่อสังคม ศีลธรรมในส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็น“หลักคุณค่าสากล” (Universal Values)
ตัวอย่างเช่น กรณีการทำร้ายชีวิตมนุษย์ด้วยกันเป็นต้น นอกจากนี้ในแต่ละสังคมย่อมมีแกนกลางของกฎเกณฑ์หรือหลักการที่ประกอบกันเป็นพื้นฐานของวิถีชีวิตซึ่งมีลักษณะเฉพาะของสังคมนั้น อาทิเช่น ระบบการมีคู่สมรสคนเดียว (Monogamy)
ข้อที่น่าสนใจ ฮาร์ท ยังยอมรับเรื่องข้อยกเว้นในการควบคุมศีลธรรมโดยกฎหมายข้างต้นแล้ว ฮาร์ทยังยอมรับบทบาทของกฎหมายในการจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลบางประการกับปัจเจกบุคคลด้วย โดยฮาร์ทเสนอให้ หลักปิตาธรรม ผนวกเข้ากับหลักภยันตรายของ มิลล์ เพื่อเป็นเหตุผลรับรองบทบาทหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นของกฎหมาย
หลักปิตาธรรม เป็นหลักการที่เกิดขึ้นในฐานะเหตุผลเพื่อการปกป้องมิให้บุคคลกระทำสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเขาเองมากกว่าผู้อื่น หลักปิตาธรรมจึงอาจนำไปใช้เพื่อแทรกแซงให้ยุติหรือมิให้กระทำการใด ๆ ที่เป็นผลร้ายหรือสร้างความทุกข์ (Suffering) ต่อบุคคลนั้น ๆ เอง ตัวอย่าง เช่น การห้ามมิให้เสพยาเสพติดหรือบุหรี่ หรือการบังคับให้รัดเข็มขัดนิรภัยในระหว่างขับขี่รถยนต์ การบังคับให้ต้องสวมหมวกกันน๊อคขณะที่ขี่จักรยานยนต์ เป็นต้น
ข้อสังเกต หลักปิตาธรรมย่อมต่างจากหลักศีลธรรมนิยมทางกฎหมาย (Legal Maralism) แบบของ เดฟลิน เนื่องจากมิใช่เป็นหลักที่มุ่งบังคับควบคุมศีลธรรมที่ยึดถือกันแต่เป็นหลักที่เกิดสืบแต่ความรู้สึกเมตตาห่วงใยทำนองเดียวกับที่บิดามีต่อบุตร ไม่แน่ใจในความสามารถใช้ดุลยพินิจอย่างถูกต้องของผู้อาจตกเป็นเหยื่อของความเสียหายได้
หลักปิตาธรรมก็นับเป็นเหตุผลพื้นฐานที่สำคัญข้อหนึ่ง ในการอธิบายบทบาทหน้าที่ของกฎหมายในสังคมควบคู่ไปกับ “หลักอันตรายต่อผู้อื่น” (Harm principle) หลักศีลธรรมนิยมทางกฎหมาย (Legal Moralism) รวมทั้งหลักการอื่นๆนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาอาทิ เช่น หลักการ
ล่วงเกิน (Offeness principle) หรือหลักสวัสดิการ (Welfare principle)
หลักการล่วงเกิน (Offeness principle) สนับสนุนให้รัฐแทรกแซงจำกัดเสรีภาพในการกระทำซึ่งเห็นว่าล่วงเกินความรู้สึกของคนทั่วๆไป แม้ว่าการกระทำนั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลร้ายโดยชัดเจนใด ๆ หลักการนี้จึงมักนำมาใช้เป็นเหตุผลเพื่อการปราบปรามสิ่งพิมพ์หรือการกระทำอันเป็นลามกอนาจารต่าง ๆ
หลักสวัสดิการ (Welfare principle) เป็นหลักสำหรับออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังกรณีการบังคับให้เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อการให้บริการสาธารณะหรือเพิ่มการประกันสังคม
3.ประเด็นเรื่องปัจเจกชน เสรีภาพและศีลธรรมของสังคม
ประเด็นถกเถียงทางความคิดเรื่องขอบเขตกฎหมายในปัจจุบันจะมีการพัฒนาแนวคิดที่จะพยายามให้เสรีภาพกับประชาชนและพยายามลดขอบเขตทาง กฎหมายในการเข้าไปแทรกแซงชีวิตส่วนตัวในโลกแห่งเสรีนิยมแต่ขณะเดียวกันความคิดของฝ่ายศีลธรรม นิยมก็ยังมีกระแสคัดค้านกันอยู่ แต่ยังคงเห็นว่ากระแสนิยมเป็นกระแสที่แรงกว่า
บทวิเคราะห์เรื่องเสรีภาพมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบดังนี้ คือในท่ามกลางกระแสเสรีนิยมเรามองเห็นว่าแนวโน้มของกฎหมายมีลักษณะแยกมากขึ้น ในแง่ที่ว่าจะไม่เข้าไปเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเราไม่สมควรมีกฎหมายของรัฐใดที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่คาบเกี่ยวศีลธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำแท้ง การค้าขายสิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์เรื่องรักร่วมเพศ การค้าประเวณี การเปลือยกายหรือมีเพศสัมพันธ์ในที่สาธารณะ การพนัน การเสพยาเสพติด การมีคู่สมรสหลายคนฯลฯ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งการเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยนับแต่จะสร้าง “ปัญหาต่างๆ ในทางปฏิบัติ” นับแต่การสูญเสียเวลา,พลังงานหรือบุคลากรด้านกระบวบการยุติธรรมโดยใช้เหตุ(ทางที่จะนำไปใช้ต่อสู้กับอาชญากรรมที่ร้ายแรงอื่น),การสร้างตลาดมืด (ยาเสพติด),การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมหรือการเฟื่องฟูของการคอรัปชั่นตัดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความคิดเช่นนี้ย่อมนับเป็นเหตุผลเชิงปฏิบัติที่น่ารับฟัง แต่เรายังอาจตัดใจว่าการเปิดกว้างของเสรีภาพเชิงอุดมคติหรือไม่ ถือว่าเป็นการเปิดกว้างอย่างไร้ทิศทางตามความเชื่อว่า “มนุษย์” มีสิทธิอันไม่อาจจำหน่ายจ่ายโอนได้ ในการไปตกนรกมกไหม้ที่ไหนก็ได้ ตามแบบฉบับเขาเองหากไม่เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินหรือบุคคลอื่น
สรุป ในเรื่องของการควบคุมศีลธรรมโดยกฎหมาย เราไม่อาจหรือสามารถชี้ขาดความชอบธรรมที่เหนือกว่าได้เลยเมื่อต้องเลือก ระหว่างหลักเสรีนิยม (หลักภยันตรายต่อบุคคลอื่น) หลักศีลธรรมนิยม (หลักภยันตรายต่อบุคคลอื่นและตัวเราเองด้วย) เราไม่อาจวินิจฉัยตัวหลักการหรือแนวคิดดังกล่าวอย่างรวม ๆ ได้ ทางออกที่น่าจะเหมาะสม (ภายใต้กรอบการเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค) คงต้องเป็นเรื่องการปรับใช้แต่ละหลักการต่อข้อเท็จจริง, ต่อสภาพสังคมเฉพาะหนึ่ง ๆ เป็นกรณี ๆ ไปว่าจะให้ผลดีหรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแค่ไหนทั้งต่อตัวบุคคลและเป้าหมายอุดมคติแห่งเสรีภาพ
จิตวิทยาสังคม 在 จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาอิทธิพลของ ... 的推薦與評價
จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ... หลัก 3 ประการที่เป็นฐานของจิตวิทยาสังคมคือ ABC triad **A คือความรู้สึก (affect) นักจิตวิทยาสังคมสนใจวิธีที่คนรู้สึกกับตนเอง ... ... <看更多>
จิตวิทยาสังคม 在 ทำความเข้าใจ จิตวิทยาสังคม คืออะไร? Social Psychology 的推薦與評價
อธิบาย # จิตวิทยา สังคม ฉบับย่อ ❏1. จิตวิทยาสังคม คืออะไร (0:30)2. ตัวอย่างทฤษฎี (2:36)3. Stanford Prison Experiment (3:40)4. ... <看更多>